วันศุกร์, กุมภาพันธ์ 21, 2568

Sangsatheti

 
ได้ยินว่า แม้พระเถระก็คิดว่า พราหมณ์นี้ไม่ประสงค์จะตอบปัญหา
จึงเสความ เราจักให้พราหมณ์นี้ ตอบปัญหานี้ให้จงได้ เพราะฉะนั้น ท่าน
จึงกล่าวอย่างนี้ กะพราหมณ์นั้น. บทว่า สหธมฺมิกํ แปลว่า มีเหตุ. บทว่า
สํสาเทติอาทิผิด สระ แปลว่า ขยาด. บทว่า โน วิสชฺเชติ แปลว่า จะไม่ตอบ.
บทว่า ยนฺนูนาหํ ปริโมจยํ ความว่า อย่ากระนั้นเลย เราจะ
ปลดเปลื้องคนทั้งสองให้พ้นจากความลำบากใจ. เพราะว่าพราหมณ์เมื่อไม่
ตอบปัญหาที่พระอานนท์ถาม ย่อมลำบากใจ ฝ่ายพระอานนท์ เมื่อจะให้
พราหมณ์ผู้ไม่ยอมตอบ ตอบให้ได้ ก็ลำบากใจ ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระดำริว่า เราจักปลดเปลื้องคนทั้งสองนี้ จากความลำบากใจ จึงตรัส
อย่างนี้. บทว่า กานฺวชฺช ตัดบทเป็น กา นุ อชฺช. บทว่า อนฺตรากถา
อุทปาทิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ในระหว่างที่สนทนากันถึง
เรื่องอื่น มีเรื่องอะไรเกิดขึ้นบ้าง. พระศาสดาตรัสอย่างนี้ โดยมีพุทธประสงค์
ว่า ได้ยินว่า ครั้งนั้นในพระราชวัง มีกถาปรารภปาฏิหาริย์ ๓ เกิดขึ้น เรา
จะถามความข้อนั้น.
ลำดับนั้น พราหมณ์คิดว่า บัดนี้ เราสามารถจะพูดได้ เมื่อจะกราบ
ทูลข้อความที่เกิดขึ้นในพระราชวัง จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อยํ ขฺวชฺช โภ
โคตม ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อยํ ขฺวชฺช ตัดบทเป็น อยํ
โข อชฺช. บทว่า สุทํ ในคำว่า ปุพฺเพ สุทํ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า
อุตฺตริมนุสฺสธมฺมา ได้แก่มนุษยธรรมชั้นสูง กล่าวคือ กุศลกรรมบถ ๑๐.
ด้วยบทว่า อิทฺธิปาฏิหาริยํ ทสฺเสสุํ พราหมณ์กล่าวหมายเอาการเหาะขึ้น
ไปบนอากาศ ที่เป็นไปแล้วในสมัยก่อนอย่างนี้ คือ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อไป
 
๓๔/๕๐๐/๒๖๒

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น