วันเสาร์, กรกฎาคม 12, 2568

Mai

 
พระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึง
นุ่งผ้าอย่างคฤหัสถ์ คือ นุ่งห้อยชายเหมือนงวงช้าง นุ่งปล่อยชายคล้ายหางปลา
นุ่งปล่อยชายเป็นสี่แฉก นุ่งห้อยชายคล้ายก้านตาล นุ่งยกกลีบตั้งร้อย รูปใดนุ่ง
ต้องอาบัติทุกกฏ.
[๑๗๐] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ห่มผ้าอย่างคฤหัสถ์ ชาวบ้าน
เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า . . . เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม . . .ภิกษุ
ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงห่มผ้าอย่างคฤหัสถ์ รูปใดห่ม ต้องอาบัติทุกกฏ.
[๑๗๑] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์นุ่งผ้าเหน็บชายกระเบน ชาวบ้าน
เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า...เหมือนคนหาบของหลวง . ..ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงนุ่งผ้าเหน็บชายกระเบน รูปใดนุ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ.
[๑๗๒] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์หาบของสองข้าง ชาวบ้านเพ่งโทษ
ติเตียน โพนทะนาว่า. . .เหมือนคนหาบของหลวง. ..ภิกษุทั้งหลายกราบทูล
เรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงหาบของสองข้าง รูปใดหาบ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้คอน หาม เทิน แบก กระเดียด
หิ้ว.
เรื่องไม้อาทิผิด อาณัติกะชำระฟัน
[๑๗๓] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่เคี้ยวไม้ชำระฟัน ปากมีกลิ่นเหม็น
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า. . .
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การไม่เคี้ยวไม้ชำระฟันมีโทษ ๕ ประการนี้ คือ
 
๙/๑๗๓/๖๒

วันศุกร์, กรกฎาคม 11, 2568

Phra

 
พร้อมกับบริษัท จึงเที่ยวขอในสกุลทั้งหลายมาฉันเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระอาทิผิด สระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า .. . ตรัสถามว่า ดูก่อนเทวทัต ข่าวว่า เธอ
พร้อมกับบริษัทเที่ยวขอในสกุลทั้งหลายมาฉัน จริงหรือ.
พระเทวทัตทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา
รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติ
โภชนะสำหรับ ๓ คนในสกุลแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๓ ประการ
คือ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่ผาสุกของภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อ
อนุเคราะห์สกุลด้วยหวังว่า ภิกษุทั้งหลายที่มีความปรารถนาลามกอย่าอาศัยฝัก
ฝ่ายทำลายสงฆ์ ๑ ในการฉันเป็นหมู่ พึงปรับอาบัติตามธรรม.
เรื่องวัตถุ ๕ ประการ
[๓๘๓] ครั้งนั้น พระเทวทัตเข้าไปหาพระโกกาลิกะ พระกตโมรก-
ติสสกะ พระขัณฑเทวีบุตร พระสมุทรทัตตะ แล้วได้กล่าวว่า มาเถิดท่าน
ทั้งหลาย พวกเราจักทำสังฆเภท จักรเภท แก่พระสมณโคดม เมื่อพระเทวทัต
กล่าวอย่างนี้แล้ว.
พระโกกาลิกะได้กล่าวว่า พระสมณโคดมมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก
พวกเราจักทำสังฆเภท จักรเภท แก่สมณโคดมอย่างไรได้.
พระเทวทัตกล่าวว่า มาเถิดท่านทั้งหลาย พวกเราจักเข้าไปเฝ้าพระ-
สมณโคดม แล้วทูลขอวัตถุ ๕ ประการว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคุณแห่ง
ความเป็นผู้มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่า
เลื่อมใส การไม่สั่งสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย พระพุทธ
 
๙/๓๘๓/๓๐๐

วันพฤหัสบดี, กรกฎาคม 10, 2568

Pathama

 
แต่ในที่นี้ (ปริยายศัพท์นั้น) ย่อมลงสู่ในอรรถว่า การณะบ้าง
เทศนาบ้าง. เพราะฉะนั้น ปริยายศัพท์ ในคำนี้ว่า สพฺพธมฺมมูลปริยายํ
ดังนี้ พึงทราบอย่างนี้ว่า การณะ ที่รู้กันว่า เหตุที่ไม่ทั่วไปแก่ธรรมทั้ง-
ปวง หรือว่าเทศนา คือ การณะ (เหตุ) แห่งธรรมทั้งปวง ดังนี้.
อนึ่ง สภาวธรรมทั้งหลาย แม้ที่เป็นในภูมิ ๔ ไม่พึงเข้าใจว่า
ชื่อว่า ธรรมทั้งปวง เพราะเหตุที่สูตรนั้นมีเนื้อความที่จะต้องแนะนำ แต่
สภาวธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ เท่านั้น ที่นับเนื่องอาทิผิด อาณัติกะในสักกายทิฏฐิ พึงเข้า
ใจว่า ธรรมทั้งปวง โดยไม่มีส่วนเหลือ. ในข้อนี้มีการอธิบายความดังว่า
มานี้แล.
หลักการใช้ โว ศัพท์
โว ศัพท์ ในบทว่า โว นี้ ย่อมใช้ในปฐมาวิภัตติ ทุติยาวิภัตติ
ตติยาวิภัตติ จตุตถีวิภัตติ ฉัฏฐีวิภัตติ และปทปูรณะ (ทำบทให้เต็ม).
อธิบายว่า
โว ศัพท์ ใช้ในปฐมาอาทิผิด สระวิภัตติ ดังในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อน
อนุรุทธะ ก็เธอทั้งหลาย ยังเป็นผู้สามัคคี บันเทิงอยู่ ไม่โกรธกัน
อยู่หรือ ดังนี้.
ใช้ในทุติยาวิภัตติ ดังในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอจงไป เราตถาคตขอประฌามพวกเธอ ดังนี้.
ใช้ในตติยาวิภัตติ ดังในประโยคเป็นต้นว่า อันพวกเธอไม่ควรอยู่
ในสำนักของเราตถาคต ดังนี้.
ใช้ในจตุตถีวิภัตติ ดังในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
 
๑๗/๙/๔๙

วันพุธ, กรกฎาคม 09, 2568

Khlat

 
เขลาไม่ฉลาด กระด้างด้วยมานะ เป็นคนขลาดอาทิผิด อักขระ ไม่อาจเข้าเฝ้าพระสมณ-
โคดมได้ เข้ามาใกล้ถึงเพียงนี้แล้ว ยังไม่ทันเฝ้าพระสมณโคดม ไฉนจึง
กลับเสีย ผู้ที่ถูกชุมนุมชนดูหมิ่นพึงเสื่อมยศ ผู้เสื่อมยศก็พึงเสื่อมโภคสมบัติ
เพราะได้ยศเราจึงได้โภคสมบัติ.
[๑๘๔] ลำดับนั้น พราหมณ์โสณทัณฑะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค-
เจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัย
พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ฝ่ายพราหมณ์
และคฤหบดีชาวนครจัมปา บางพวกก็ถวายอภิวาท บางพวกก็ปราศรัย
บางพวกก็ประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า บางพวกก็ประกาศชื่อ
และโคตร บางพวกก็นิ่งอยู่ แล้วต่างก็นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ๆ. ได้
ยินว่า ในขณะนั้น พราหมณ์โสณทัณฑะนั่งครุ่นคิดถึงแต่เรื่องนั้นว่า ถ้า
เราจะพึงถามปัญหากะพระสมณโคดม หากพระองค์จะพึงตรัสกะเราอย่างนี้
ว่า พราหมณ์ ปัญหาข้อนี้ท่านไม่ควรถามอย่างนั้น ที่ถูกควรจะถามอย่างนี้
ดังนี้ ชุมนุมชนนี้จะพึงดูหมิ่นเราด้วยเหตุนั้นว่า พราหมณ์โสณทัณฑะเป็น
คนเขลา ไม่ฉลาด ไม่อาจถามปัญหาโดยแยบคายกะพระสมณโคดมได้ ผู้
ที่ถูกชุมนุมชนดูหมิ่น พึงเสื่อมยศ ผู้เสื่อมยศก็พึงเสื่อมโภคสมบัติ เพราะได้
ยศเราจึงมีโภคสมบัติ ถ้าพระสมณโคดมจะพึงตรัสถามปัญหากะเรา ถ้าเรา
แก้ไม่ถูกพระทัย ถ้าพระองค์จะพึงตรัสกะเราอย่างนี้ว่า พราหมณ์ ปัญหา
ข้อนี้ท่านไม่ควรแก้อย่างนี้ ที่ถูกควรจะแก้อย่างนี้ ดังนี้ ชุมนุมชนนี้จะพึงดู
หมิ่นเราได้ด้วยเหตุนั้นว่า พราหมณ์โสณทัณฑะเป็นคนเขลา ไม่ฉลาด ไม่
อาจแก้ปัญหาให้ถูกพระทัยพระสมณโคดมได้ ผู้ที่ถูกชุมนุมชนดูหมิ่นพึงเสื่อม
ยศ ผู้เสื่อมยศก็พึงเสื่อมโภคสมบัติ เพราะได้ยศเราจึงมีโภคสมบัติ ถ้า
 
๑๒/๑๘๓/๘

วันอังคาร, กรกฎาคม 08, 2568

Makkha

 
แสดงพระปาฏิหาริย์สามพันห้าร้อยแก่ชฎิลสามพี่น้อง ให้บรรพชาแล้วพาไป
คยาสีสประเทศ ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตร ประทานพระอรหัตแก่ชฎิล
พันหนึ่ง เสด็จไปต้อนรับพระมหากัสสประยะทางสามคาวุต ประทานอุปสมบท
ด้วยโอวาทสามข้อ ครั้งหนึ่งเวลาปัจฉาภัตร เสด็จแต่พระองค์เดียวล่วงมรรคา
สิบห้าโยชน์ ให้ปุกกุสาติกุลบุตรตั้งอยู่ในอนาคามิผล เสด็จไปต้อนรับมหากัปปินะ
ระยะทางยี่สิบโยชน์ ประทานพระอรหัต ครั้งหนึ่งเวลาปัจฉาภัตร เสด็จแต่
พระองค์เดียว ล่วงมรรคาสามสิบโยชน์ ให้พระองคุลีมาลซึ่งเป็นคนหยาบช้า
ตั้งอยู่ในพระอรหัต ครั้งหนึ่งเสด็จล่วงมรรคาอาทิผิด อักขระสามสิบโยชน์ โปรดอาฬวกยักษ์
ให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ทรงกระทำความสวัสดีแก่กุมารที่จะเป็นอาหารยักษ์
ครั้งหนึ่งเสด็จจำพรรษาในดาวดึงส์พิภพ ให้เทวดาแปดสิบโกฏิบรรลุธรรมา-
ภิสมัย แล้วเสด็จไปพรหมโลก ทำลายทิฏฐิของพวกพรหม ประทานพระอรหัต
แก่พวกพรหมหมื่นหนึ่ง เสด็จจาริกไปสามมณฑลตามลำดับปี ประทานสรณะ
และศีลแก่พวกมนุษย์ที่มีอุปนิสัยสมบูรณ์ ทรงประพฤติประโยชน์มีประการ
ต่าง ๆ แม้แก่นาคและสุบรรณเป็นต้น.
พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ
นั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตบรรลุอภิสัมโพธิญาณแล้วประพฤติเป็นประโยชน์
แก่สัตวโลกในบัดนี้ ไม่น่าอัศจรรย์ แม้ในกาลก่อนเมื่อตถาคตยังมีกิเลสมีราคะ
เป็นต้น ก็ได้ประพฤติเป็นประโยชน์แก่สัตวโลกมาแล้วเหมือนกัน ทรงนำ
อดีตนิทานมาดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล ครั้งพระศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเจ้าอุส-
สินนรราชเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี เมื่อพระกัสสปสัมมาสัม-
 
๖๐/๑๖๗๒/๑๗๑

วันจันทร์, กรกฎาคม 07, 2568

Cham Doem

 
จำพวกข้าพระพุทธเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเดิมอาทิผิด อักขระแต่วันนี้เป็น
ต้นไป

เศรษฐีบุตรโสณ - โกฬิวิสะออกบวช
[๒] ครั้งนั้น เศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะได้มีความปริวิตก ดังนี้ ว่า
ด้วยวิธีอย่างไร ๆ เราจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว
อันบุคคลที่ยังครองเรือนอยู่ จะประพฤติพรหมจรรย์นี้ให้สมบูรณ์โดยส่วนเดียว
ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดแล้ว ทำไม่ได้ง่าย ไฉนหนอ เราพึง
ปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ครั้น
ประชาชนเหล่านั้นชื่นชมยินดี ภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ลุกจากที่นั่ง
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณหลีกไปแล้ว หลังจากประชาชน
พวกนั้นหลีกไปแล้วไม่นานนัก เขาได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง .
เศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะนั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่นั้นแล ได้กราบทูลคำนี้แด่อาทิผิด อักขระ
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ด้วยวิธีอย่างไร ๆ ข้าพระพุทธเจ้าจึง
จะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระองค์ทรงแสดงแล้ว อันบุคคลที่ยังครองเรือนอยู่จะประ-
พฤติพรหมจรรย์นี้ ให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ให้บริสุทธิ์ โดยส่วนเดียว ดุจสังข์
ที่ขัดแล้ว ทำไม่ได้ง่าย ข้าพระพุทธเจ้าปรารถนาจะปลงผมและหนวดครองผ้า
กาสายะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ขอพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดให้
ข้าพระพุทธเจ้าบวชเถิด พระพุทธเจ้าข้า เศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะได้รับ
บรรพชา อุปสมบทในพุทธสำนักแล้ว ก็แลท่านพระโสณะอุปสมบทแล้วไม่
นาน ได้พำนักอยู่ ณ ป่าสีตวัน ท่านปรารภความเพียรเกินขนาด เดินจงกรม
จนเท้าทั้ง ๒ แตก สถานที่เดินจงกรมเปื้อนโลหิต ดุจสถานที่ฆ่าโค ฉะนั้น
 
๗/๒/๕

วันอาทิตย์, กรกฎาคม 06, 2568

Phuttha Chao

 
ภ. อย่าเลย โมคคัลลานะ การพลิกแผ่นดิน เธออย่าพอใจเลย
สัตว์ทั้งหลายจะพึงได้รับผลตรงกันข้าม.
ม. ขอประทานพระวโรกาส ขอภิกษุสงฆ์ทั้งหมดพึงไปบิณฑบาตใน
อุตรกุรุทวีป พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็ภิกษุผู้ไม่มีฤทธิ์เล่า เธอจักทำอย่างไรแก่ภิกษุเหล่านั้น
ม. ข้าพระพุทธเจ้าอาทิผิด จักทำให้ภิกษุทั้งหมดไปได้ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. อย่าเลย โมคคัลลานะ การที่ภิกษุสงฆ์ทั้งหมดไปบิณฑบาตถึง
อุตรกุรุทวีป เธออย่าพอใจเลย.
เหตุให้พระศาสนาดำรงอยู่ไม่นานและนาน
[๗] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ได้มีความ
ปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทั้งหลาย พระองค์ไหนไม่ดำรงอยู่นาน ของพระองค์ไหนดำรงอยู่นาน ดังนี้
ครั้นเวลาสายัณห์ท่านออกจากที่เร้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า
ข้าพระพุทธเจ้าไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ณ ตำบลนี้ ได้มีความปริวิตกแห่งจิต
เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย พระองค์
ไหน ไม่ดำรงอยู่นาน ของพระองค์ไหนดำรงอยู่นาน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนสารีบุตร พระศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามวิปัสสี พระนามสิขี และพระนามเวสสภู ไม่ดำรง
อยู่นาน ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามกกุสันธะ พระนามโกนาคมนะ และ
พระนามกัสสปะดำรงอยู่นาน.
 
๑/๗/๑๒

วันเสาร์, กรกฎาคม 05, 2568

At

 
ธรรมนั้นแล้ว ย่อมไม่พิจารณาอรรถอาทิผิด แห่งธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา ธรรม
เหล่านั้นย่อมไม่ควรต่อการเพ่งพินิจแก่พวกเขา ผู้ไม่พิจารณาอรรถด้วยปัญญา
พวกเขาเรียนธรรมมีการโต้แย้งเป็นอานิสงส์ และมีหลักการบ่นเพ้อว่าอย่างนี้
เป็นอานิสงส์ และย่อมไม่ได้รับประโยชน์แห่งธรรมที่พวกกุลบุตรต้องประสงค์
เล่าเรียน ธรรมเหล่านั้นที่เขาเรียนไม่ดี ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อ
ทุกข์ สิ้นกาลนาน แก่โมฆบุรุษเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะอะไรเป็นเหตุ ? ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะธรรมทั้งหลายอันโมฆบุรุษเหล่านั้นเรียนไม่ดี.
อนึ่ง ปริยัติอันบุคคลเรียนดีแล้วคือจำนงอยู่ซึ่งความบริบูรณ์แห่งคุณ
มีสีลขันธ์เป็นต้นนั่นแล เรียนแล้ว ไม่เรียนเพราะเหตุมีความโต้แย้งเป็นต้น,
ปริยัตินี้ ชื่อว่าปริยัติมีประโยชน์ที่จะออกจากวัฏฏะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
หมายตรัสไว้ว่า ธรรมเหล่านั้น อันกุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนานแก่กุลบุตรเหล่านั้น ข้อนั้น
เพราะอะไรเป็นเหตุ ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะธรรมทั้งหลายอัน
กุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว ดังนี้.
ส่วนพระขีณาสพผู้มีขันธ์อันกำหนดรู้แล้ว มีกิเลสอันละแล้ว มีมรรค
อันอบรมแล้ว มีธรรมอันไม่กำเริบแทงตลอดแล้ว มีนิโรธอันกระทำให้แจ้ง
แล้ว ย่อมเรียนซึ่งปริยัติใด เพื่อต้องการแก่อันดำรงซึ่งประเพณี เพื่อต้องการ
แก่อันตามรักษาซึ่งวงศ์ ปริยัตินี้ ชื่อว่าปริยัติของท่านผู้ประดุจขุนคลัง.
[ภิกษุผู้ปฏิบัติดีใน ๓ ปิฎกได้ผลดีต่างกัน]
อนึ่ง ภิกษุผู้ปฏิบัติในพระวินัย อาศัยสีลสมบัติ ย่อมได้บรรลุวิชชา
๓ ก็เพราะตรัสจำแนกประเภทวิชชา ๓ เหล่านั้นนั่นแลไว้ในพระวินัยนั้น. ผู้
๑, ๒. ม. มู ๑๒/๒๖๘-๒๖๙.
 
๑/๙/๕๒

วันศุกร์, กรกฎาคม 04, 2568

Dueat Ron

 
ด้วยปัญญาอันใด ก็ปัญญาอันนั้นสูงสุดกว่าทรัพย์. บทว่า อโพฺยสิตตฺตา
ความว่า เพราะยังอยู่ไม่จบพรหมจรรย์ อธิบายว่า เพราะยังไม่มีการบรรลุ
อรหัต. บทว่า ภวาภเวสุ ได้แก่ ในภพเลวและประณีต. บทว่า อุเปติ
คพฺภญฺจ ปรญฺจ โลกํ ความว่า เมื่อคนเหล่านั้นกระทำบาปอยู่ สัตว์ผู้ใด
ผู้หนึ่งต้องประสบสังสารวัฏสืบ ๆ ไป ย่อมเข้าถึงครรภ์และโลกอื่น. บทว่า
ตสฺสปฺปปญฺโย ความว่า คนไม่มีปัญญาอื่นก็เชื่อถือคนไม่มีปัญญาเช่นนั้นนั้น.
บทว่า สกมฺมุนา หญฺติ ความว่า ย่อมเดือดอาทิผิด อักขระร้อนด้วยกรรมกรณ์ มีตีด้วย
หวายเป็นต้น ด้วยอำนาจกรรมที่ตนเองทำไว้. บทว่า เปจฺจ ปรมฺหิ โลเก
ความว่า ไปจากโลกนี้แล้ว เดือดร้อนในอบายโลกอื่น. บทว่า วิรูปรูเปน
มีรูปต่าง ๆ อธิบายว่า มีสภาวะต่าง ๆ. บทว่า กามคุเณสุ ได้แก่ เห็น
อาทีนพในกามคุณทั้งปวงทั้งในปัจจุบันและภายภาคหน้า. บทว่า ทหรา แปลว่า
อ่อน โดยที่สุดเพียงเป็นกลละ. บทว่า วุฑฺฒา คือเกินร้อยปี. บทว่า อปณฺณกํ
สามญฺญเมว เสยฺโย ความว่า มหาราช อาตมภาพ บวชเพราะใคร่ครวญแล้วว่า
สามัญญผลเท่านั้นไม่ผัดไม่แยกเป็นสองนำสัตว์ออกจากทุกข์โดยส่วนเดียว เป็น
ธรรมอันยิ่งกว่าด้วย ประณีตกว่าด้วย เพราะฉะนั้น พระองค์ทรงเห็น ทรง
สดับอย่างไร จึงตรัสข้อใด จงจำอาตมภาพว่า อาตมภาพเห็นและฟังข้อนี้จึง
ออกบวช แล้วก็จบเทศนาแล.

จบ อรรถกถารัฏฐปาลสูตรที่ ๒
 
๒๑/๔๕๑/๖๔

วันพฤหัสบดี, กรกฎาคม 03, 2568

Si

 
ภิกษุจงใจว่า จักปล่อยสุกกะสีแดง พยายาม สุกกะสีเหมือนเปรียง
เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจว่า จักปล่อยสุกกะสีขาว พยายาม สุกกะสีเหมือนเปรียง
เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
ปิฏฐิจักร รอบที่ ๕ จบ
ปิฏฐิจักร รอบที่ ๖
[๓๓๖] ภิกษุจงใจว่า จักปล่อยสุกกะสีอาทิผิด เหมือนน้ำมัน พยายาม สุกกะ
สีเหมือนน้ำท่า เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจว่า จักปล่อยสุกกะสีเหมือนนมสด พยายาม สุกกะสี
เหมือนน้ำท่า เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจว่า จักปล่อยสุกกะสีเหมือนนมส้ม พยายาม สุกกะสี
เหมือนน้ำท่า เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจว่า จักปล่อยสุกกะสีเหมือนเนยใส พยายาม สุกกะสี
เหมือนน้ำท่า เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจว่า จักปล่อยสุกกะสีเขียว พยายาม สุกกะสีเหมือนน้ำท่า
เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจว่า จักปล่อยสุกกะสีเหลีอง พยายาม สุกกะสีเหมือนน้ำท่า
เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ภิกษุจงใจว่า จักปล่อยสุกกะสีแดง พยายาม สุกกะสีเหมือนน้ำท่า
เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
 
๓/๓๓๖/๖๖

วันพุธ, กรกฎาคม 02, 2568

Sattawalok

 
อรรถกถาพระวินัย
ชื่อสมันตปาสาทิกาแปล
มหาวิภังควรรณนา
ภาค ๑
อารัมภกถา
ข้าพเจ้าขอถวายนมัสการแด่พระผู้เป็น
ที่พึ่ง ผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณา
พระองค์ผู้ทรงกระทำกรรมที่ทำได้ยากยิ่ง
ตลอดกาลซึ่งจะนับประมาณมิได้ แม้ด้วย
หลายโกฏิกัป ทรงถึงความยากลำบาก เพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตวโลกอาทิผิด อาณัติกะ. ข้าพเจ้าขอ
ถวายนมัสการแก่พระธรรมอันประเสริฐ อัน
ขจัดเสียซึ่งข่ายคือกิเลส มีอวิชชาเป็นต้น
ที่พระพุทธเจ้าทรงเสพอยู่เป็นนิตย์ ซึ่งสัตว-
โลก เมื่อไม่หยั่งรู้ต้องท่องเที่ยวไปสู่ภพน้อย
และภพใหญ่. ข้าพเจ้าขอถวายนมัสการด้วย
เศียรเกล้า ซึ่งพระอริยสงฆ์ ผู้ประกอบ
องค์การศึกษาแผนกบาลี แปลออกสอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๔๘๙อาทิผิด -๒๕๐๖
 
๑/๙/๑๙

วันอังคาร, กรกฎาคม 01, 2568

Klop Kluean

 
ภิกษุทั้งหลายได้ยินเดียรถีย์พวกนั้น เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่
จึงเข้าไปหาพระหัตถกะ ศากยบุตรถึงสำนัก ครั้นแล้วได้ถามพระหัตถกะว่า
อาวุโสหัตถกะ ข่าวว่าท่านเจรจาอยู่กับพวกเดียรถีย์ กล่าวปฏิเสธแล้วรับ กล่าว
รับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องอื่นกลบเกลื่อนเรื่องอื่น กล่าวเท็จทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ พูด
นัดหมายไว้แล้ว ทำให้คลาดเคลื่อน จริงหรือ.
พระหัตถกะ ศากยบุตรตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าพวกเดียรถีย์
เหล่านี้ เราต้องเอาชนะด้วยวิธีใดอาทิผิด วิธีหนึ่ง เราไม่ควรให้ความชนะแก่เดียรถีย์
พวกนั้น.
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่
ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระหัตถกะ ศากยบุตร
เจรจาอยู่กับพวกเดียรถีย์ จึงได้กล่าวปฏิเสธแล้วรับ กล่าวรับแล้วปฏิเสธอาทิผิด อักขระ เอา
เรื่องอื่นกลบเกลื่อนเรื่องอื่น กล่าวเท็จทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ พูดนัดหมายไว้แล้ว ทำให้
คลาดเคลื่อนเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุ
เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถาม พระหัตถกะ
ศากยบุตรว่า จริงหรือหัตถกะ ข่าวว่าเธอเจรจาอยู่กับพวกเดียรถีย์ กล่าวปฏิเสธ
แล้วรับ กล่าวรับแล้ว ปฏิเสธ เอาเรื่องอื่นกลบอาทิผิด เกลื่อนเรื่องอื่น กล่าวเท็จทั้งๆ
ที่รู้อยู่ พูดนัดหมายไว้แล้ว ทำให้คลาดเคลื่อน.
พระหัตถกะ ศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
 
๔/๑๗๓/๒

วันจันทร์, มิถุนายน 30, 2568

Kamarom

 
[๗๐๑] ข้าพระองค์พร้อมด้วยบุตรเข้าไปสู่ป่า
แสวงหาเนื้อ ญาติเหล่านั้นไม่รู้ว่าข้าพระองค์ตายหรือ
เป็น ข้าพระองค์ขอทูลลาพระภูริทัตผู้เรืองยศ โอรส
แห่งกษัตริย์แคว้นกาสี พระองค์ทรงอนุญาตแล้ว ข้า-
พระบาทก็จะได้ไปเยี่ยมญาติ.
[๗๐๒] การที่ท่านได้มาอยู่ในสำนักของเรานี้
เป็นความพอใจของเราหนอ แต่ว่ากามารมณ์อาทิผิด อักขระเช่นนี้
เป็นของหาไม่ได้ง่ายในมนุษย์ ถ้าท่านไม่ปรารถนาจะ
อยู่ เราจะบูชาท่านด้วยกามารมณ์ทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ท่านไปเยี่ยมญาติได้โดยสวัสดี.
[๗๐๓] ดูกรพราหมณ์ เมื่อท่านทรงทิพยมณี
นี้อยู่ ย่อมได้ปศุสัตว์และบุตรทั้งหลายตามปรารถนา
ท่านจงถือเอาทิพยมณี ไปปราศจากโรคภัยเป็นสุขเถิด.
[๗๐๔] ข้าแต่พระภูริทัต พระดำรัสของพระ
องค์หาโทษมิได้ ข้าพระองค์ยินดียิ่งนัก ข้าพระองค์
แก่แล้วจักบวช ไม่ปรารถนากามทั้งหลาย.
[๗๐๕] ถ้าหากพรหมจรรย์มีการแตกหัก กิจที่
ต้องทำด้วยอาทิผิด สระโภคทรัพย์ทั้งหลายเกิดขึ้น ท่านอย่าได้มี
ความหวั่นใจ ควรมาหาเรา เราจะให้ทรัพย์แก่ท่าน
มาก ๆ.
[๗๐๖] ข้าแต่พระภูริหัต พระดำรัสของพระ-
องค์หาโทษมิได้ ข้าพระองค์ยินดียิ่งนัก ข้าพระองค์
จักกลับมาอีก ถ้าจักมีความต้องการ.
 
๖๔/๗๐๒/๕

วันอาทิตย์, มิถุนายน 29, 2568

Doi

 
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกปัจจัยทั้งหลายขึ้นโดยอาทิผิด อักขระอนุโลมตามนัยที่ตรัสไว้
ในกุสลติกะในปัจจนียนัย แล้วทรงแสดงวาระ ๙ ในปัจจัยทั้งปวงว่า นเหตุยา
นว เป็นต้น ด้วยอำนาจการนับโดยปัจจนียะ เกี่ยวกับวาระที่ได้ในปัจจัยเหล่า-
นั้น วาระเหล่านั้นผู้ศึกษาพึงยกบาลีขึ้นแสดงโดยนัยว่า บุคคลถวายทานด้วยจิต
ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนา โดยนเหตุปัจจัย ดังนี้ เป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งวิสัชนา ๙
วาระ อันมีปัจจัยที่มีมูละ ๑ และมีมูลี ๑ เป็นที่สุด.
ก็ในการรวมปัจจัยในอธิการนี้ คำว่า นเหตุปจฺจยา ฯเปฯ นอุป-
นิสฺสเย อฏฺฐ ผู้ศึกษาพึงทราบวาระด้วยอำนาจนานักขณิกกัมมปัจจัย. จริงอยู่
กรรมที่มีกำลังทรามย่อมไม่เป็นอุปนิสสยปัจจัย แต่เป็นปัจจัยโดยนานักขณิก-
กัมมปัจจัยอย่างเดียวเท่านั้น ก็ฆฏนาที่เหลือทั้งในอนุโลมปัจจนียะและปัจจนียา-
นุโลมในอธิการนี้ ผู้ศึกษาสามารถนับได้โดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในหนหลัง
ด้วยอำนาจแห่งวาระที่ได้แล้วในการประกอบแห่งปัจจัยนั้น ๆ เพราะฉะนั้นจึง
ไม่อธิบายอย่างพิสดาร แล.
อรรถกถาวรรณนาเนื้อความแห่งเวทนาติกปัฏฐาน จบแล้ว
 
๘๖/๑๒๓๗/๗๔

วันเสาร์, มิถุนายน 28, 2568

Bencha Khan

 
เหยียดออกแล้ว ขูดจนเกลี้ยงเกลา. แท้จริงหนังโคที่เขาใช้ขอไม่ถึงร้อยเล่ม
ขูดออก ยังไม่เกลี้ยงเกลา ใช้ขอถึงร้อยเล่มย่อมเกลี้ยงเกลา เหมือนพื้นกลอง
เพราะฉะนั้นจึงตรัสอย่างนี้. บทว่า อุกฺกุลวิกุลํ แปลว่า สูง ๆ ต่ำ ๆ คือ
เป็นที่ดอนบ้าง เป็นที่ลุ่มบ้าง. บทว่า นทีวิทุคฺคํ ได้แก่ แม่น้ำและที่ซึ่ง
เดินไม่สะดวก บทว่า ปฐวีสญฺํ ปฏจฺจ มนสิกโรติ เอกตฺตํ ความว่า
ใส่ใจสัญญาอย่างเดียวที่อาศัยกันเกิดขึ้นในปฐวีกสิณ. บทว่า ทรถมตฺตา
ความว่า จำเดิมแต่นี้ พึงทราบความกระวนกระวาย โดยความกระวนกระวาย
ที่เป็นไปในวาระทั้งปวง. บทว่า อนิมิตฺตํ เจโต สมาธึ ได้แก่ วิปัสสนา-
จิตตสมาธิ. เจโตสมาธิที่เว้น จากนิมิตว่าเที่ยงเป็นต้นนั้น ท่านกล่าวว่า อนิมิต.
บทว่า อิมเมวกายํ ท่านแสดงวัตถุด้วยวิปัสสนา. ในบทเหล่านั้น บทว่า
อิมเมว ได้แก่ มหาภูตรูปทั้ง ๔ นี้. บทว่า สฬายตนิกํ แปลว่า ปฏิอาทิผิด อักขระสังยุต
ด้วยสฬายตนะ. บทว่า ชีวิตปจฺจยา ความว่า ชีวิตยังเป็นอยู่ได้ ก็ชั่วชีวิ-
ตินทรีย์ยังเป็นไป อธิบายว่า ปฐวีสัญญานั้น ยังมีความกระวนกระวายที่เป็นไป.
เพื่อจะทรงแสดงความเห็นแจ้งโดยเฉพาะของวิปัสสนา จึงตรัสว่า อนิมิตฺตํ อีก.
บทว่า กามาสวํ ปฏิจฺจ แปลว่า อาศัยกามาสวะ. อธิบายว่า ความกระวน
กระวายที่จะเกิดขึ้นและที่เป็นไปแล้ว ไม่มีในที่นี้ คือไม่มีในอริยมรรคและ
อริยผล. บทว่า อมิเมว กายํ นี้ ตรัสเพื่อแสดงความกระวนกระวายของ
เบญจอาทิผิด อาณัติกะขันธ์ที่ยังเหลืออยู่. ด้วยประการฉะนี้ เป็นอันทรงเปลี่ยนมนุสสสัญญาเป็น
คามสัญญา ฯลฯ มรรคเป็นวิปัสสนา แล้วทรงแสดงความว่างเปล่าล่วงส่วน
โดยลำดับ. บทว่า ปริสุทฺธํ ได้แก่ ปราศจากอุปกิเลส. บทว่า อนุตฺตรํ
แปลว่าเว้น จากสิ่งอื่นที่ยอดเยี่ยม คือประเสริฐสุดกว่าทุกอย่าง บทว่า สุญฺญตํ
ได้แก่ สุญญตาผลสมาบัติ บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะสมณพราหมณ์
 
๒๓/๓๔๒/๑๒

วันศุกร์, มิถุนายน 27, 2568

Duang Ta

 
อานุภาพมากถึงเพียงนี้ พระศาสดาต้องอัศจรรย์แน่ ดังนี้ แล้วพากัน สนใจต่อ
พระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น หาสนใจต่อท่านพระสาคตะไม่.

ทรงแสดงอนุปุพพิกถาและจตุราริยสัจ
ลำดับนั้นอาทิผิด อาณัติกะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของพวก
เขาด้วยพระทัย แล้วทรงแสดงอนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศ ทานกถา
ศีลกถา สัคคกถา ซึ่งโทษแห่งกามอันต่ำทรามอันเศร้าหมอง และ
อานิสงส์ในการออกบรรพชา เมื่อพระองค์ทรงทราบว่า พวกเขามีจิตสงบ
มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรง
ประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง
คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงตาอาทิผิด อักขระเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจาก
มลทิน ได้เกิดแก่พวกเขา ณ ที่นั่งนั้นเองว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น
ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับอาทิผิด อักขระเป็นธรรมดา ดุจผ้าที่สะอาด ปราศจากมลทิน
ควรได้รับน้ำย้อมเป็นอย่างดี ฉะนั้นพวกเขาได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรม
แล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว
ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นใน
คำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลคำนี้ ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ภาษิตของ
พระองค์แจ่มแจ้งนัก พระพุทธเจ้าข้า ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธ
เจ้าข้า พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงาย
ของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด
ด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ข้าพระพุทธเจ้าเหล่านี้ขอถึงพระผู้มี-
พระอาทิผิด อักขระภาคเจ้า พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่า เป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรง
 
๗/๑/๔

วันพฤหัสบดี, มิถุนายน 26, 2568

La Loei

 
ให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าถักด้วยขนสัตว์ ภิกษุเหล่านั้นได้ละเลยอาทิผิด อาณัติกะอุเทศ ปริปุจฉา
อธิศีล อธิจิต อธิปัญญาเสีย แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าพวกภิกษุชาวพระนครภัททิยะตั้งหน้าพากเพียรตกแต่งเขียงเท้าหลากหลาย
อยู่ คือ ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้า ทำเองบ้าง สั่ง
ให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้ามุงกระต่าย ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่ง
เขียงเท้าสานด้วยหญ้าปล้อง ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วย
ใบเป้ง ทำเองบ้าง สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยแฝก ทำเองบ้าง สั่ง
ให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าถักด้วยขนสัตว์ ย่อมละเลยอุเทศ ปริปุจฉา อธิศีล
อธิจิต อธิปัญญา จริงหรือ ?
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
เล่าโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้ตั้งหน้าพากเพียรตกแต่งเขียงเท้าหลากหลายอยู่ คือ
ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้า ได้ทำเองบ้าง ได้
สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้ามุงกระต่าย ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำ
บ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยหญ้าปล้อง ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียง-
เท้าสานด้วยใบเป้ง ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าสานด้วยแฝก
ได้ทำเองบ้าง ได้สั่งให้ทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าถักด้วยขนสัตว์ โมฆบุรุษเหล่านั้น
ได้ละเลยอุเทศ ปริปุจฉา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญาเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
การกระทำของเหล่าโมฆบุรุษนั้นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
เลื่อมใส . . . ครั้น แล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมเขียงเท้าสานด้วยหญ้า เขียงเท้าสานด้วยหญ้ามุงกระ-
 
๗/๑๒/๒๓

วันพุธ, มิถุนายน 25, 2568

Huang

 
ว่า เราเป็นน้องชายของสุทัสสนะ ผู้เป็นพี่ชายเรา. อธิบายว่า ความว่า ชน
ทั้งหมดย่อมรู้จักเราในนาคพิภพระยะทาง ๕๐๐ โยชน์ อย่างนี้ว่า วิทู ผู้รู้วิเศษ.
ก็แลพระมหาสัตว์ ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วจึงคิดว่า พราหมณ์นี้ เป็นผู้
ดุร้ายหยาบคาย ถ้าเขาจะไปบอกแก่หมองูแล้ว พึงทำแม้อันตรายแก่อุโบสถกรรม
ของเรา ไฉนหนอเราจะนำพราหมณ์ผู้นี้ไปยังนาคพิภพ พึงให้ยศแก่ท่านเสีย
ให้ใหญ่โตแล้ว จะพึงทำอุโบสถกรรมของเราให้ยืนยาวนานไปได้. ลำดับนั้น
พระโพธิสัตว์จึงกล่าวกะพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ เราจะให้ยศ
แก่ท่านให้ใหญ่โต นาคพิภพเป็นสถานอันน่ารื่นรมย์นัก มาไปกันเถิด ไปใน
นาคพิภพนั้นด้วยกัน. พราหมณ์กล่าวว่า ข้าแต่นาย บุตรของข้าพเจ้ามีอยู่คน
หนึ่ง เมื่อบุตรนั้นมา ข้าพเจ้าก็จักไป. ลำดับนั้นพระมหาสัตว์จึงกล่าวกะ
พราหมณ์นั้นว่า ดูกรพราหมณ์ ท่านจงไปนำบุตรของท่านมาเถิด เมื่อจะบอกที่
อยู่ของพระองค์จึงกล่าวว่า
ท่านเพ่งดูห้วงน้ำลึกวนอยู่ทุกเมื่อ น่ากลัวใด ห้วงอาทิผิด อาณัติกะ
น้ำนั้น เป็นที่อยู่อันรุ่งเรืองของเรา ลึกหลายร้อยชั่ว
บุรุษ ท่านอย่ากลัวเลย จงเข้าไปยังแม่น้ำยมุนา เป็น
แม่น้ำที่มีสีเขียวไหลจากกลางป่า กึกก้องด้วยเสียงนก
ยูงและนกกระเรียน เป็นที่เกษมสำราญของผู้มีอาจารวัตร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทาวฏฺฏํ แปลว่า วนเวียนเป็นไปอยู่
ทุกเมื่อ. บทว่า เภสฺมึ แปลว่า น่าสะพรึงกลัว. บทว่า อเปกฺขสิ ความว่า
ท่านเพ่งดูห้วงน้ำเห็นปานนี้นั้นใด. บทว่า มยูรโกญฺจาภิรุทํ ความว่า กึก-
ก้องด้วยเสียงร้องของนกยูงและนกกระเรียนที่อยู่ในกลุ่มป่าที่ฝั่งทั้ง ๒ ของแม่น้ำ
ยมุนา. บทว่า นีโลทกํ แปลว่า น้ำมีสีเขียว. บทว่า วนมชฺฌโต ได้แก่
 
๖๔/๗๗๔/๔๙

วันอังคาร, มิถุนายน 24, 2568

Yoeiyan

 
กับทาส ทาสี และรถม้านี้เป็นการกระทำครั้งแรกของเกล้ากระหม่อม ขอให้
ฝ่าพระบาทจงทรงพระกรุณาโปรดรับค่าอาทิผิด อักขระเลี้ยงดูเกล้ากระหม่อมเถิด พระเจ้าข้า.
พระราชกุมารรับสั่งว่า อย่าอาทิผิด สระเลย พ่อชีวก ทรัพย์นี้จงเป็นของเจ้า
คนเดียวเถิด และเจ้าจงสร้างบ้านอยู่ในวังของเราเถิด.
ชีวกโกมารภัจจ์ทูลรับพระบัญชาเจ้าชายอภัยว่า เป็นพระกรุณายิ่งพระ
เจ้าข้า แล้วได้สร้างบ้านอยู่ในวังของเจ้าชายอภัย.

เรื่องพระเจ้าพิมพิสารทรงประชวรโรคริดสีดวงงอก
[๑๓๑] ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชทรง
ประชวรโรคริดสีดวงงอก พระภูษาเปื้อนพระโลหิต พวกพระสนมเห็นแล้วพา
กันเย้ยหยันอาทิผิด อาณัติกะว่า บัดนี้พระเจ้าอยู่หัวทรงมีระดู ต่อมอาทิผิด อักขระพระโลหิตบังเกิดแก่พระองค์
แล้ว ไม่นานเท่าไรนัก พระองค์จักประสูติ พระราชาทรงเก้อเพราะคำเย้ยหยัน
ของพวกพระสนมนั้น ต่อมาท้าวเธอได้ตรัสเล่าความนั้นแก่เจ้าชายอภัยว่า พ่อ
อภัย พ่อป่วยเป็นโรคเช่นนั้นถึงกับภูษาเปื้อนโลหิต พวกพระสนมเห็นแล้ว
พากันเย้ยหยันว่า บัดนี้พระเจ้าอยู่หัวทรงมีระดู ต่อมพระโลหิตบังเกิดแก่พระ-
องค์แล้ว ไม่นานเท่าไรนัก พระองค์จักประสูติ เอาเถอะ พ่ออภัย เจ้าช่วยหา
หมอชนิดที่พอจะรักษาพ่อได้ให้ทีเถิด.
อ. ขอเดชะ นายชีวกผู้นี้เป็นหมอประจำข้าพระพุทธเจ้า ยังหนุ่ม
ทรงคุณวุฒิ เธอจักรักษาพระองค์ได้.
พ. พ่ออภัย ถ้าเช่นนั้นพ่อจงสั่งหมอชีวก เขาจักได้รักษาพ่อ.
ครั้งนั้นเจ้าชายอภัย สั่งชีวกโกมารภัจจ์ว่า พ่อชีวก เจ้าจงไป
รักษาพระเจ้าอยู่หัว ชีวกโกมารภัจจ์รับสนองพระบัญชาว่าอย่างนั้นพระเจ้าข้า
แล้วเอาเล็บตักยาเดินไปในราชสำนัก ครั้นถึงแล้วเข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารจอม
 
๗/๑๓๑/๒๔๘

วันจันทร์, มิถุนายน 23, 2568

Yom

 
[๑๖] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่ง เป็นแผลที่หน้า เธอถามภิกษุ
ทั้งหลายว่า แผลของผมอาทิผิด เป็นเช่นไร ขอรับ ภิกษุทั้งหลายตอบอย่างนี้ว่า
แผลของคุณเป็นเช่นนี้ ขอรับ เธอไม่เชื่อ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดู
เงาหน้าที่แว่นหรือทำภาชนะนี้ได้ เพราะเหตุอาพาธ.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ทาหน้าเป็นต้น
[๑๗] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ทาหน้า ถูหน้า ผัดหน้า เจิมหน้า
ด้วยมโนศิลา ย้อมตัว ย้อมหน้า ย้อมทั้งตัวและหน้า ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า. . . เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลาย. .. กราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า. . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทาหน้า
ไม่พึงถูหน้า ไม่พึงผัดหน้า ไม่พึงเจิมหน้าด้วยมโนศิลา ไม่พึงย้อมตัว ไม่
พึงย้อมหน้า ไม่พึงย้อมอาทิผิด อักขระทั้งตัวและหน้า รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ.
[๑๘] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธด้วยโรคนัยน์ตา ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า. .. ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้
ทาหน้าได้ เพราะเหตุอาพาธ.
[๑๙] สมัยต่อมา ที่พระนครราชคฤห์ มีงานมหรสพบนยอดเขา
พระฉัพพัคคีย์ได้ไปเที่ยวดูงานมหรสพ ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึงได้ไปดูการฟ้อนรำ การขับร้อง และ
 
๙/๑๗/๗