วันพุธ, กุมภาพันธ์ 12, 2568

Yuet Thue

 
มิได้วิปริต ดังนี้ ย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ คือ เป็นธรรมอัน
พระตถาคตละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสีย
แล้วติดไฟคือญาณ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า การถึงความตกลงในธรรม
ทั้งหลายแล้วถือมั่น.
[๓๒๘] คำว่า เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย ไม่ยึดอาทิผิด สระถือ มี
ความว่า เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย ย่อมไม่ถือ คือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือ
มั่นซึ่งทิฏฐิทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลายเราไม่พึงถือ ไม่พึงยึดมั่น
ไม่พึงถือมั่น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า และเราเห็นโทษในทิฏฐิ
ทั้งหลาย ไม่ยึดถือ.
อีกอย่างหนึ่ง เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลายว่า ทิฏฐินี้ว่า โลกเที่ยง
สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้ เป็นทิฏฐิรกเรี้ยว เป็นทิฏฐิเสี้ยนหนาม
เป็นทิฏฐิข้าศึก เป็นทิฏฐิดิ้นรน เป็นทิฏฐิเครื่องประกอบไว้ มีทุกข์ มี
ความลำบาก มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อ
หน่าย ไม่เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความดับ ไม่เป็น
ไปเพื่อความสงบ ไม่เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน จึงไม่ถือ ไม่ลูบคลำ ไม่ยึดมั่นซึ่งทิฏฐิทั้งหลาย
อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลายเราไม่พึงถือ ไม่พึงยึดมั่น ไม่พึงถือมั่น
แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า และเราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย
ไม่ยึดถือ.
อีกอย่างหนึ่ง เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลายว่า ทิฏฐินี้ว่า โดยโลก
เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพเป็นอื่นอาทิผิด สระ
 
๖๕/๓๒๘/๘๐๔

ไม่มีความคิดเห็น:

คลังบทความของบล็อก