วันพฤหัสบดี, มิถุนายน 30, 2565

Wirochana

 
น้ำผึ้งน้ำอ้อยเป็นต้น เป็นของควรบริโภค. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
สํโยคปรมาเตฺวว สมฺโภคา สพฺพปาณินํ ดังนี้ . บทว่า นิปฺผนฺนโสภิโน
อตฺถา ความว่า ชื่อว่าประโยชน์เหล่านี้สำเร็จแล้ว จึงงาม. คาถาที่ ๔
ก็เป็นของท้าวสักกะอีก แม้ในคาถาที่ ๔ นั้น พึงทราบความโดยนัยที่กล่าวแล้ว.
จบอรรถกถาวิโรจนอาทิผิด สระอสุรินทสูตรที่ ๘

๙. อารัญญกสูตร

ว่าด้วยกลิ่นของผู้มีศีล

[๘๙๕] สาวัตถีนิทาน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ฤๅษีผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมมาก
รูปด้วยกัน อาศัยอยู่ในกุฎีที่มุงบังด้วยใบไม้ ในราวป่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทวดากับท้าวเวปจิตติจอมอสูร เข้าไปหาฤๅษีผู้มีศีล
มีกัลยาณธรรมเหล่านั้นถึงที่อยู่.
[๘๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูร
สวมรองเท้าหนาหลายชั้น สะพายดาบ มีผู้กั้นร่มให้ เข้าไปสู่อาศรมทางทวาร
อันเลิศ เข้าไปใกล้ฤๅษีผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านั้นห่างไม่ถึงวา ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ครั้งนั้นแลท้าวสักกะจอมเทวดาทรงถอดฉลองพระบาท ประทาน
พระขรรค์ ให้แก่ผู้อื่นรับสั่งให้ลดฉัตร เสด็จเข้าไปทางอาศรมโดยทางทวารเข้า
ประทับยืน ประคองอัญชลีนมัสการฤๅษีผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านั้นอยู่ใต้ลม.
[๘๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น แลฤๅษีผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม
เหล่านั้นได้กล่าวกะท้าวสักกะจอมเทวดาด้วยคาถาว่า
 
๒๕/๘๙๔/๔๘๔

วันพุธ, มิถุนายน 29, 2565

Lup

 
พวกมีกลิ่นคล้ายกลิ่นเหงื่อ บางพวกมีกลิ่นคล้ายกลิ่นเลือด. แม้ถึงอย่าง
นั้น คนผู้บอดเขลาก็ยังยินดีในหญิงเหล่านั้นอยู่นั่นแหละ.
ส่วนนางแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ มีกลิ่นจันทน์ฟุ้งออกจากกาย
กลิ่นอุบลฟุ้งออกจากปาก กลิ่นดังกล่าวมานี้ ย่อมไม่มีแก่หญิงทั่วไป
เพราะเหตุนั้น กลิ่นเครื่องลูบอาทิผิด อักขระไล้ที่จัดหามาเสริมเข้าในร่างกายหญิง พึง
ทราบว่า อิตถีคันธะ กลิ่นหญิง.
บทว่า สารตฺโต ได้แก่ กำหนัดนักแล้ว คือยินดี สยบแล้ว, ก็
บทว่า สารตฺโต นี้ พึงประกอบแม้ในบทว่า อิตฺถิรูเป เป็นต้นไป.
บทว่า วิวิธํ วินฺทเต ทุขํ ความว่า ย่อมได้เฉพาะทุกข์มีประการ
ต่าง ๆ ที่เป็นไปในปัจจุบัน ด้วยการฆ่าและการจองจำเป็นต้น ที่เป็นไป
ในภายภาคหน้าด้วยเครื่องจองจำครบ ๕ ประการเป็นต้น ซึ่งมีความ
กำหนัดนักในรูปหญิงเป็นต้นเป็นเหตุ.
บทว่า อิตฺถิโสตานิ สพฺพานิ ความว่า กระแสตัณหา ๕ ประการ
ทั้งหมด คือไม่เหลือ มีรูปเป็นต้น ของหญิงเป็นอารมณ์ ย่อมไหลไป.
บทว่า ปญฺจสุ ได้แก่ ในทวารทั้ง ๕ ของบุรุษ.
บทว่า เตสํ ได้แก่ กระแสทั้ง ๕ เหล่านั้น.
บทว่า อาวรณํ ได้แก่ การปิดกั้น, อธิบายว่า บุคคลผู้สามารถ
เพื่อตั้งสติสัมปชัญญะแล้วยังความสำรวมให้ดำเนินไป โดยประการที่ความ
ไม่สำรวมจะเกิดขึ้นไม่ได้นั้นเป็นผู้มีความเพียร คือเป็นผู้ปรารภความเพียร
เพื่อละอกุศลธรรมแล้วยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม.
พระเถระ ครั้นแสดงข้อปฏิบัติของบรรพชิตในอารมณ์มีรูปเป็นต้น
 
๕๓/๓๘๖/๓๒

วันอังคาร, มิถุนายน 28, 2565

Phasa

 
ปฏิสัมภิทาแล้วกล่าวปวารณา. ด้วยว่า พระเถระนั้น ท่านให้บุคคลบอกแล้ว ๆ
ท่านก็เรียนเอาภาษานั้น ๆ เพราะความที่ท่านมีปัญญามาก ถัดจากนั้นมาท่าน
จึงปวารณาอย่างนี้ เพราะตั้งอยู่แล้วในการศึกษาเล่าเรียน.

ภาษามคธเป็นภาษาทั่วไปของสัตว์โลก
ก็แลครั้นท่านกล่าวแล้ว จึงกล่าวคำในที่นี้ต่อไปอีกว่า ธรรมดาว่า
สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมเรียนภาษาอาทิผิด อักขระ ดังนี้ จริงอยู่ มารดาและบิดาให้ลูกน้อย
นอนที่เตียงหรือที่ตั้งในเวลาที่ลูกยังเป็นทารก แล้วพูดซึ่งกิจนั้น ๆ เด็กทั้งหลาย
ย่อมกำหนดภาษาของมารดาหรือของบิดาว่า คำนี้ผู้นี้กล่าวแล้ว คำนี้ผู้นี้
กล่าวแล้ว เมื่อกาลผ่านไป ๆ พวกเด็กย่อมรู้ภาษาแม้ทั้งหมด. มารดาเป็น
ชาวทมิฬ บิดาเป็นชาวอันธกะ เด็กที่เกิดแต่ชนทั้งสองนั้น ถ้าเขาฟังถ้อยคำ
ของมารดาก่อน เขาจักพูดภาษาทมิฬก่อน ถ้าฟังถ้อยคำของบิดาก่อน เขาจัก
พูดภาษาชาวอันธกะก่อน. แต่เมื่อไม่ได้ฟังถ้อยคำของชนแม้ทั้งสอง ก็จักกล่าว
(พูด) ภาษาของชนชาวมคธ. ทารกแม้ใดเกิดในป่าใหญ่ไม่มีบ้าน คนอื่น
ชื่อว่ากล่าวอยู่ไม่มีในป่าใหญ่นั้น ทารกแม้นั้น เมื่อจะยังวาจาให้ตั้งขึ้นตาม
ธรรมดาของตน ก็จักกล่าวภาษาของชนชาวมคธนั่นแหละ.
ภาษาของชนชาวมคธเท่านั้นหนาแน่นแล้ว (มากมาย) ในที่ทั้งปวง
คือ
๑. ในนิรยะ (นรก)
๒. ในกำเนิดแห่งสัตว์ดิรัจฉาน
๓. ในปิตติวิสัย (กำเนิดเปรต)
๔. ในมนุษย์โลก
๕. ในเทวโลก
 
๗๘/๗๙๔/๕๔๕

วันจันทร์, มิถุนายน 27, 2565

Mai Thiang

 
วิมติเฉทนาปุจฉา เป็นไฉน ?
โดยปกติ คนที่แล่นไปสู่ความสงสัยเคลือบแคลงใจ เกิดความเห็น ๒
แง่ว่า อย่างนี้หรือหนอ มิใช่หรือหนอ อะไรหนอ อย่างไรหนอ เขาย่อม
ถามปัญหา เพื่อต้องการตัด ความสงสัย นี้ ชื่อว่า วิมติเฉทนาปุจฉา.
อนุมติปุจฉา เป็นไฉน ?
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสถามปัญหา เพื่อความเห็นชอบของภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอย่อมสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยงอาทิผิด เล่า ? ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
หรือเป็นสุขเล่า ? เป็นทุกข์พระเจ้าข้า ก็สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวน
ไปเป็นธรรมดา ควรหรือหนอเพื่อพิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า นั้นเป็นของเรา
เราเป็นนั่น นั่นอัตตาของเรา ? ข้อนั้นไม่ควรเลยพระเจ้าข้า นี้ ชื่อว่า อนุมติ-
ปุจฉา.
กเถตุกัมยตาปุจฉา เป็นไฉน ?
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสถามปัญหา เพื่อประสงค์ตรัสแก่ภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ ก็สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้
เป็นไฉน ? นี้ ชื่อว่า กเถตุกัมยตาปุจฉา.
บรรดาคำปุจฉา ๕ เหล่านั้น คำถาม ๓ เบื้องต้นไม่มีแก่พระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย เพราะเหตุไร. เพราะธรรมอะไร ๆ ที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้วในกาลทั้ง ๓
หรือพ้นจากกาล เป็นอสังขตะอันพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทรงเห็นแล้ว ไม่
โชติช่วงแล้ว ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ไม่แจ่มแจ้ง ไม่ชัดเจนแล้ว มิได้มี
เพราะเหตุนั้น อทิฏฐโชตนาปุจฉา จึงไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ธรรมชาติ
ใดอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแทงตลอดแล้วด้วยพระญาณของพระองค์ กิจที่
 
๗๕/๑๖/๒๑๔

วันอาทิตย์, มิถุนายน 26, 2565

Nikhantha

 
บทว่า อนฺวายิกํ โหติ ความว่า ย่อมถึงพร้อม เหมือนการ
กำหนดข้อธรรมชี้แจงเนื้อความเป็นอันมากของ ชาติศัพท์ ในบทว่า
ชาติทุกฺขํ ก่อนเหมือนอย่างที่กล่าวไว้ว่า :-
เนื้อความของชาติศัพท์ ท่านประกาศไว้ว่า ภพ สกุล
นิกาย ศีล บัญญัติ ลักษณะ ประสูติ และปฏิสนธิ.
จริงอย่างนั้น ศัพท์ว่า ชาติ มีเนื้อความว่า ภพ ในข้อความเป็นต้น
ว่า เอกมฺปิ ชาตึ เทฺวปิ ชาติโย ภพหนึ่งบ้าง สองภพบ้าง.
มีเนื้อความว่า สกุล ในข้อความนี้ว่า อกฺขิตฺโต อนูปกฏโฐ
ชาติวาเทน ซัดไป ไม่เข้าไปใกล้ ด้วยวาทะว่าสกุล.
มีเนื้อความว่า นิกาย ในข้อความนี้ว่า อตฺถิ วิสาเข นิคคณฺฐาอาทิผิด
นาม สมณชาติ ดูก่อนวิสาขา ชื่อว่านิครนถ์ทั้งหลายเป็นนิกายสมณะ
มีอยู่.
มีเนื้อความว่า อริยศีล ในข้อความนี้ว่า ยโตหํ ภคินิ อริยาย
ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ ดูก่อนน้องหญิง ตั้งแต่เราเกิดแล้ว โดย
อริยชาติ จะได้รู้สึกว่าแกล้งปลงสัตว์เสียจากชีวิตหามิได้.
มีเนื้อความว่า บัญญัติ ในข้อความนี้ว่า ติริยา นาม ติณชาติ
นาภิยา อุคฺคนฺตวา นภํ อาหจฺจ ฐิตา อโหสิ บัญญัติว่าหญ้า ถึง
มีศูนย์กลางสูงขึ้นไปตั้งอยู่จดท้องฟ้า ก็ชื่อว่า ต่ำต้อย.
มีเนื้อความว่า สังขตลักษณะ ในข้อความนี้ว่า ชาติ ทฺวีหิ
ขนฺเธหิ สงฺคหิตา สังขตลักษณะ สงเคราะห์ด้วยขันธ์ ๒.

๑. ม.ม. ๑๓/๕๓๑.
 
๖๕/๒๙/๑๕๐

วันเสาร์, มิถุนายน 25, 2565

Prasut

 
ลูกทั้งสองที่พราหมณ์นำไปเป็นแน่. บทว่า ยญฺจ อญฺญฆเร ธนํ ได้แก่
สวิญญาณกทรัพย์และอวิญญาณกทรัพย์อย่างอื่นในเรือน. บทว่า ทชฺชา
สปฺปุริโส ทานํ ความว่า สัตบุรุษเมื่อปรารถนาประโยชน์สูงสุด พึงผ่าอุระ
ควักเนื้อหัวใจให้เป็นทาน.
พระนางมัทรีทูลว่า
ข้าแต่สมมติเทพ หม่อมฉันขออนุโมทนาปิย-
บุตรทานอันอุดมของพระองค์ พระองค์ทรงบริจาค
ทานแล้วจงยังพระหฤทัยให้เลื่อมใส ขอจงทรงบำเพ็ญ
ทานให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปเถิด ข้าแต่พระชนาธิปราช ใน
เมื่อชนทั้งหลายมีความตระหนี่ พระองค์ผู้ยังแคว้น
ของชาวสีพีให้เจริญ ได้ทรงบริจาคบุตรทานแก่
พราหมณ์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุโมทามิ เต ความว่า พระนางมัทรี
ทรงอุ้มพระครรภ์ ๑๐ เดือน ประสูติอาทิผิด อักขระแล้วให้สรงสนาน ให้ทรงดื่ม ให้เสวย
วันละสองสามครั้ง ประคับประคองพระลูกน้อยทั้งสองนั้นให้บรรทมบนพระ
อุรประเทศ ครั้นพระโพธิสัตว์พระราชทานพระลูกน้อยทั้งสองไป จึงทรง
อนุโมทนาส่วนบุญเอง พระนางมัทรีตรัสอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้ ด้วยเหตุนี้
พึงทราบว่า บิดาเท่านั้นเป็นเจ้าของเด็กๆ ทั้งหลาย. บทว่า ภิยฺโย ทานํ
ทโท ภว ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์จงเป็นผู้บริจาคทาน
บ่อยๆ ให้ยิ่งๆ ขึ้นไปเถิด ทานอันพระองค์ทรงบริจาคดีแล้วด้วยประการฉะนี้
ขอพระองค์ผู้ได้พระราชทานพระปิยบุตรทั้งสองในเมื่อสัตว์ทั้งหลายมีความ
ตระหนี่นั้นจงยังพระหฤทัยให้เลื่อมใสเถิด
 
๖๔/๑๒๖๙/๗๕๙

วันศุกร์, มิถุนายน 24, 2565

Maha Samut

 
เสพการทายเสียงสัตว์ร้อง การปรุงยาให้ตั้งครรภ์ และ
การรักษาโรค.

ว่าด้วยการทำอาถรรพณ์
[๗๕๕] คำว่า ภิกษุผู้นับถือ ไม่พึงประกอบการทำอาถรรพณ์
การทำนายฝัน การทายลักษณะ และการดูฤกษ์ ความว่า พวกคน
ที่มีมนต์ทำอาถรรพณ์ ย่อมประกอบการทำอาถรรพณ์ คือเมื่อนครถูกล้อม
หรือเมื่อสงครามตั้งประชิดกัน ย่อมทำให้เสนียดจัญไรเกิดขึ้น ให้อุปัทวะ
เกิดขึ้น ให้โรคเกิดขึ้น ให้โรคจุกเสียดเกิดขึ้น ให้โรคลงรากเกิดขึ้น
ให้โรคไข้เชื่อมซึมเกิดขึ้น ให้โรคบิดเกิดขึ้น ในพวกข้าศึกที่เป็นศัตรูกัน
พวกชนที่มีมนต์ทำอาถรรพณ์ ย่อมประกอบการทำอาถรรพณ์อย่างนี้.

ว่าด้วยการทำนายฝัน
พวกชนที่ทำนายฝัน ย่อมทำนายฝันว่า คนฝันเวลาเช้า จะมีผล
อย่างนี้ คนฝันเวลาเที่ยง จะมีผลอย่างนี้. คนฝันเวลาเย็น จะมีผลอย่างนี้
คนฝันยามต้น จะมีผลอย่างนี้ คนฝันยามกลาง จะมีผลอย่างนี้ คนฝัน
ยามหลัง จะมีผลอย่างนี้ คนนอนข้างขวาฝัน จะมีผลอย่างนี้ คนนอน
ข้างซ้ายฝัน จะมีผลอย่างนี้ คนนอนหงายฝัน จะมีผลอย่างนี้ คนนอน
คว่ำฝัน จะมีผลอย่างนี้ คนฝันเห็นพระจันทร์ จะมีผลอย่างนี้ คนฝัน
เห็นพระอาทิตย์ จะมีผลอย่างนี้ ฝันเห็นมหาอาทิผิด สมุทร จะมีผลอย่างนี้
ฝันเห็นขุนเขาสิเนรุราช จะมีผลอย่างนี้ ฝันเห็นช้าง จะมีผลอย่างนี้
 
๖๖/๗๕๕/๓๓๕

วันพฤหัสบดี, มิถุนายน 23, 2565

Kraduk

 
กรรมฐานคือทวัตติงสาการนั้นใด เป็นปริยายแห่งภาวนาส่วนหนึ่งของกายคตา-
สติ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสงเคราะห์มันสมองไว้ด้วยเยื่อในกระดูกอาทิผิด อักขระ
ในบาลีประเทศนั้น ๆ อย่างนี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นกายนี้นี่แล
ตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบเต็มไปด้วยของ
ไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ ว่า ในการนี้มี ผม ขน ฯลฯ มูตร ดังนี้
ข้าพเจ้าเริ่มไว้แล้ว กรรมฐานคือทวัตติงสาการนั้น จะพรรณนาความดังต่อไปนี้
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถิ แปลว่า มีอยู่. บทว่า อิมสฺมึ
ความว่า ที่กล่าวว่าตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มโดยรอบ
เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีประการต่าง ๆ. บทว่า กาเย ได้แก่ ในสรีระ.
จริงอยู่ สรีระ เรียกกันว่า กาย เพราะสะสมของไม่สะอาด หรือเพราะเป็นที่
เจริญเติบโตของผมเป็นต้นที่น่าเกลียด และของโรคตั้งร้อยมี โรคตา เป็นต้น
บทว่า เกสา ฯ เป ฯ มุตฺตํ คืออาการ ๓๒ มีผมเป็นต้นเหล่านั้น ใน
ทวัตติงสาการนี้ พึงทราบความสัมพันธ์เชื่อมความอย่างนี้ว่า ผมอยู่ในกายนี้
ขนมีอยู่ในกายนี้ เป็นต้น. เป็นอันตรัสอะไรไว้ ด้วยทวัตติงสาการกรรมฐาน
นั้น เป็นอันตรัสไว้ว่าใครๆ เมื่อพิจารณานั้น แม้โดยอาการทุกอย่างในกเฬวระ
เรือนร่างขนาดวาหนึ่งนี้ คือประมาณเท่านี้คือ เบื้องบนตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป
เบื้องล่างตั้งแต่ปลายผมลงมา หุ้มด้วยหนังโดยรอบ ย่อมจะไม่เห็นอะไร ไม่ว่า
แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ กฤษณา จันทน์ หญ้าฝรั่น การบูร หรือผงอบ
เป็นต้นแม้ขนาดเล็กว่าสะอาด โดยที่แท้ย่อมจะเห็นกายต่างโดยผมขนเป็นต้น
ที่มีกลิ่นเหม็นน่าเกลียดอย่างยิ่ง ไม่มีสิริที่น่าดูเลยมีประการต่างๆ ว่าไม่สะอาด
อย่างเดียว.

๑. ม.อุปริ. ๑๔/ข้อ ๒๙๗
 
๓๙/๓/๔๙

วันพุธ, มิถุนายน 22, 2565

Anuyat

 
อาณัติกพจน์ของพระอุปัชฌายะ ๕ ประการ
ท่านพระมหากัจจานะ กล่าวว่าดีละ ดีละ โสณะ จงไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น จักเห็นพระองค์ผู้น่าเลื่อมใส
ผู้เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส มีพระอินทรีย์สงบ มีพระทัยสงบ ทรงถึงความ
ฝึกกายและความสงบจิตอันสูงสุด ทรงทรมานแล้ว คุ้มครองแล้ว มีอินทรีย์อัน
สำรวมแล้ว ผู้ไม่ทำบาป โสณะ ถ้าเช่นนั้น จงถวายบังคมพระยุคลบาท
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้าตามที่เราสั่งว่า ท่านพระมหากัจจานะ
อุปัชฌายะของข้าพระพุทธเจ้า ถวายบังคม พระยุคลบาทของพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้ และจงกราบทูลอย่างนี้ว่า :-
๑. พระพุทธเจ้าข้า อวันตีทักขิณาบถ มีภิกษุน้อยรูป ข้าพระพุทธ-
เจ้าได้จัดหาภิกษุสงฆ์แต่ที่นั้น ๆ ให้ครบองค์ประชุมทสวรรคได้ยากลำบาก
นับแต่วันข้าพระพุทธเจ้าบรรพชาล่วงไป ๓ ปี จึงได้อุปสมบท ถ้ากระไรเฉพาะ
ในอวันตีทักขิณาบถ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า พึงทรงอนุญาตอุปสมบทด้วย
คณะสงฆ์น้อยรูปกว่านี้ได้.
๒. พระพุทธเจ้าข้า พื้นดินในอวันตีทักขิณาบถ มีดินสีดำมาก
ขรุขระ ดื่นดาษด้วยระแหงกีบโค ถ้ากระไร เฉพาะในอวันตีทักขิณาบถ ขอ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตอาทิผิด อักขระรองเท้าหลายชั้น.
๓. พระพุทธเจ้าข้า คนทั้งหลายในอวันตีทักขิณาบถนิยมการอาบน้ำ
ถือว่าน้ำทำให้บริสุทธิ์ ถ้ากระไร เฉพาะในอวันตีทักขิณาบถ ขอพระผู้มี
พระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตการอาบน้ำได้เป็นนิตย์.
 
๗/๒๐/๓๓

วันอังคาร, มิถุนายน 21, 2565

Si Dam

 
คุนฺนํ ความว่า ของแม่โคทั้งหลายเป็นฉันใด จริงอยู่ โคทั้งหลายมีสีดำอาทิผิด อักขระบ้าง
มีสีแดงบ้าง มีสีขาวเป็นต้นบ้าง แต่ว่า ลาไม่มีสีเช่นนั้น และสีเป็นฉันใด
เสียงก็ดี รอยเท้าก็ดี ก็เหมือนกันฉันนั้นนั่นแหละ.
บทที่เหลือมีความหมายง่ายทั้งนั้น แม้ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็ตรัสสิกขา ๓ ไว้คละกันแล.
จบอรรถกถาคัทรภสูตรที่ ๒

๓. เขตตสูตร

กิจเบื้องต้นของชาวนาและภิกษุ

[๕๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุพกรณียะ (กิจที่ต้องทำก่อน)
ของคฤหบดีชาวนา ๓ นี้ บุพกรณียะ ๓ คืออะไร คือ คฤหบดีชาวนา
ไถคราดพื้นที่นาให้ดีก่อน ครั้นแล้ว ปลูกพืชลงในเวลาอันควร ครั้นแล้ว
ไขน้ำเข้าบ้าง ไขน้ำออกบ้างตามคราว นี้แล บุพกรณียะของคฤหบดี
ชาวนา ๓
ฉันเดียวกันนั่นเทียว ภิกษุทั้งหลาย บุพกรณียะของภิกษุ ๓ นี้
๓ คืออะไร คือการสมาทานอธิสีลสิกขา การสมาทานอธิจิตตสิกขา การสมา-
ทานอธิปัญญาสิกขา นี้ บุพกรณียะของภิกษุ ๓
เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกในข้อนี้ว่า ฉันทะของเรา
อย่างแรงกล้าในการสมาทานอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขาและอธิปัญญาสิกขา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล.
จบเขตตสูตรที่ ๓
 
๓๔/๕๒๓/๔๔๙

วันจันทร์, มิถุนายน 20, 2565

Kharuehabodi

 
๑๐. ทุติยาปุตตกสูตร

[๓๙๐] ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าในเวลาเที่ยงวัน ถวายบังคมแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะพระเจ้าปเสนทิโกศลว่าเชิญเถิดมหาบพิตร
พระองค์เสด็จจากไหนมา ในเวลาเที่ยงวัน.
พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐี
ในกรุงสาวัตถีนี้ กระทำกาลกิริยาแล้ว ข้าพระองค์ให้ขนทรัพย์สมบัติอันไม่มี
บุตรรับมรดกนั้น มาไว้ในวังแล้วก็มา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เฉพาะเงิน
เท่านั้นมี ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ ส่วนเครื่องรูปิยะไม่ต้องพูดถึง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ก็คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้น ได้บริโภคอาหารเห็นปานนี้ คือบริโภคปลายข้าว
กับน้ำส้มพะอูม ได้ใช้ผ้าเครื่องนุ่งห่มเห็นปานนี้ คือนุ่งห่มผ้าเนื้อหยาบที่ตัด
เป็นสามชิ้นเย็บติดกัน ได้ใช้ยานพาหนะเห็นปานนี้ คือใช้รถเก่า ๆ กั้นร่มทำ
ด้วยใบไม้.
[๓๙๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร ข้อนี้เป็น
อย่างนั้น ดูก่อนมหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ดูก่อนมหาบพิตร เรื่องเคยมี
มาแล้ว คฤหบดีอาทิผิด อักขระผู้เป็นเศรษฐีนั้น ได้สั่งให้จัดบิณฑบาตถวายพระปัจเจก-
สัมพุทธะ นามว่า ตครสิขี ว่าท่านทั้งหลาย จงถวายบิณฑะแก่สมณะแล้วลุก
จากอาสนะเดินหลีกไป แต่ครั้นถวายแล้ว ภายหลังได้มีความเสียดายว่า
บิณฑบาตนี้ ทาสหรือกรรมกรพึงบริโภคยังดีกว่า นอกจากนี้เขายังปลงชีวิต
บุตรน้อยคนเดียวของพี่ชาย เพราะเหตุทรัพย์สมบัติอีก ดูก่อนมหาบพิตร
การที่คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้น สั่งให้จัดบิณฑบาตถวายพระตครสิขีปัจเจก
 
๒๔/๓๙๑/๔๙๖

วันอาทิตย์, มิถุนายน 19, 2565

Ubali

 
คาถาสังคณิกะอีกนัยหนึ่ง
เรื่องโจทเป็นต้น
[๑,๐๖๙] ท่านพระอุบาลีอาทิผิด อักขระทูลถามว่า
การโจทเพื่อประสงค์อะไร การสอบสวน
เพื่อเหตุอะไร สงฆ์เพื่อประโยชน์อะไร ส่วน
การลงมติเพื่อเหตุอะไร
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า การโจท
เพื่อประสงค์ให้ระลึกถึงความผิด การสอบ
สวนเพื่อประสงค์จะข่ม สงฆ์เพื่อประชาชน
ให้ช่วยกันพิจารณา ส่วนการลงมติ เพื่อให้
การวินิจฉัยแต่ละเรื่องเสร็จสิ้นไป
เธออย่าด่วนพูด อย่าพูดเสียงดุดัน
อย่ายั่วความโกรธถ้าเธอเป็นผู้วินิจฉัยอธิกรณ์
อย่าพูดโดยผลุนผลัน อย่ากล่าวถ้อยคำชวน
วิวาท ไม่กอปรด้วยประโยชน์ วัตรคือการ
ซักถามอนุโลมแก่สิกขาบทอันพระพุทธเจ้าผู้
เฉียบแหลม มีพระปัญญาทรงวางไว้ ตรัส
ไว้ดีแล้ว ในพระสูตรอุภโตวิภังค์ ในพระ-
วินัย คือ ขันธกะ ในอนุโลม คือ บริวาร
 
๑๐/๑๐๖๙/๖๖๔

วันเสาร์, มิถุนายน 18, 2565

Khrueang

 
ที่ระงับแห่งกิเลสเครื่องกังวล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีกิเลสเครื่อง
กังวล.
คำว่า ไม่มีตัณหาเครื่องอาทิผิด สระถือมั่น ความว่า ตัณหา ราคะ สาราคะ
ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ตรัสว่า เครื่องถือมั่น เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ไม่มีตัณหาเครื่องถือมั่น.
[๓๘๐] คำว่า เป็นที่พึ่ง ไม่ใช่ธรรมอย่างอื่น ความว่า เป็นที่
พึ่ง คือ เป็นที่ต้านทาน เป็นที่ซ่อนเร้น เป็นสรณะ เป็นคติที่ไป.
คำว่า ไม่ใช่ธรรมอย่างอื่น คือ ที่พึ่งอื่น คือ อย่างอื่นจากนิพพาน
นั้นมิได้มี โดยที่แท้ที่พึ่งนั้นนั่นแหละเป็นที่พึ่งอันเลิศ ประเสริฐ วิเศษ
เป็นประธานสูงสุด และอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ที่พึ่งนี้ไม่ใช่
อย่างอื่น.
[๓๘๑] ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล
ตรัสว่า วานะ ในอุเทศว่า นิพฺพานํ อิติ นํ พฺรูมิ ดังนี้.
อมตนิพพานเป็นที่ละ เป็นที่สงบ เป็นที่สละคืน เป็นที่ระงับแห่ง
ตัณหาเครื่องร้อยรัด.
คำว่า อิติ เป็นบทสนธิ ฯ ล ฯ บทว่า อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับ.
คำว่า เราขอบอก คือ เราขอบอก ... ขอประกาศ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า เราขอบอกนิพพานนั้น.
[๓๘๒] คำว่า เป็นที่สิ้นชราและมัจจุ ความว่า อมตนิพพาน
เป็นที่ละ เป็นที่สงบ เป็นที่สละคืน เป็นที่ระงับแห่งชราและมรณะ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นที่สิ้นชราและมัจจุ เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
 
๖๗/๓๗๙/๒๖๓

วันศุกร์, มิถุนายน 17, 2565

Chet

 
คิลานวรรควรรณนาที่ ๒

อรรถกถาปาณูปมสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปาณูปมสูตรที่ ๑ แห่งคิลานวรรคที่ ๒.
บทว่า จตุตาโร อิริยาปเถ กปฺเปนฺติ ความว่า อิริยาบถ ๔
ของสัตว์เหล่าใด มีอยู่ คำนั้น ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งสัตว์เหล่านั้นเท่านั้น.
บทว่า สีลํ นิสฺสาย ได้แก่ ทำจตุปาริสุทธิศีลให้เป็นที่อาศัย บทว่า
สตฺต โพชฺณงฺเค ได้แก่ โพชฌงค์อันเป็นมรรคที่เห็นแจ้งร่วมกัน. สุริยู-
ปมสูตรที่ ๒ และที่ ๓ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาปาณูปมสูตร ที่ ๑

๒. ปฐมสุริยูปมสูตร

อาศัยกัลยาณมิตรเจริญโพชฌงค์ ๗

[๔๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน
สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง ฉันใด สิ่งที่เป็นเบื้องต้น
เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งโพชฌงค์ ๗ แก่ภิกษุ คือ ความ
เป็นผู้มีมิตรดี ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มีมิตรดี
พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญโพชฌงค์ อาทิผิด จักกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗
[๔๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗
ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ
 
๓๐/๔๑๑/๒๒๐

วันพฤหัสบดี, มิถุนายน 16, 2565

Thudong 13

 
นุ่งห่มผ้ากาสายะ มีภิกขุบริขาร ๘ สวมในร่างกาย นั่งถวายนมัสการพระผู้มี
พระภาคเจ้าดุจพระเถระมีพรรษา ๒๐.
ในบทว่า สนฺทสฺเสสิ เป็นต้น ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงถึงประโยชน์ในโลกนี้และประโยชน์ในโลกหน้า. เมื่อทรงแสดงถึงประ-
โยชน์ในโลกนี้ทรงแสดงว่า อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ดังนี้ ทรงแสดง ขันธ์
ทั้งหลาย ธาตุทั้งหลาย อายตนะทั้งหลายปฏิจจสมุปบาท เมื่อทรงแสดงความ
เกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ทรงแสดงถึงลักษณะ ๕ เมื่อทรงแสดงความเสื่อมแห่งเวทนา
ขันธ์เป็นต้น ก็อย่างนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงลักษณะ
๕๐ ด้วยสามารถความเกิดขึ้นและความเสื่อม. เมื่อทรงแสดงถึงประโยชน์ใน
โลกหน้า ทรงแสดงถึงนรกกำเนิดเดียรัจฉาน เปรตวิสัย อสุรกาย ทรงแสดง
อันเป็นวิบากแห่งกุศล ๓ อย่าง สมบัติแห่งเทวโลก ๖ ชั้น พรหมโลก ๙ ชั้น.
บทว่า สมาทเปสิ ความว่า ให้ถือกัลยาณธรรมมีปาริสุทธิศีล ๔ ธุดงค์ ๑๓
กถาวัตถุ ๑๐ เป็นต้น.
บทว่า สมุตฺเตเชสิ คือ ให้อาจหาญด้วยดี ให้อุตสาหะยิ่ง ๆ ขึ้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้หวาดสะดุ้งให้หวาดกลัวประโยชน์ในโลกนี้และประ-
โยชน์ในโลกหน้าตรัสทำดุจบรรลุแล้ว. ก็เมื่อพระพุทธเจ้าผู้มีพระภาคทรงทำ
ให้สัตว์หวาดสะดุ้งหวาดกลัวแล้วตรัสถึงประโยชน์โลกนี้ อันมีประเภท เช่น
กัมมกรณ์ ๓๒ และมหาภัย ๒๕ ย่อมทำให้เกิดความหวาดสะดุ้ง ดุจถูกมัดแขน
ไพล่หลังจนแน่นแล้วโบย ๑๐๐ ครั้ง ที่ทาง ๔ แพร่ง นำออกไปทางประตู
ทิศใต้ ดุจวางศีรษะที่ระฆังสำหรับประหาร ดุจเสียบบนหลาวและดุจถูกช้าง
ซับมันเหยียบ. และเมื่อทรงกล่าวถึงประโยชน์ในโลกหน้าย่อมเป็นดุจเกิดใน
นรกเป็นต้นและดุจเสวยสมบัติในเทวโลก.
 
๑๓/๕๖/๑๕๕

วันพุธ, มิถุนายน 15, 2565

Khon

 
อย่างหนึ่ง ในบรรดาพระพุทธเจ้าเป็นต้น . บทว่า จิตฺตํ สมาธิยติ ความว่า
จิตรับอารมณ์โดยชอบ ย่อมตั้งมั่นดี. บทว่า ปฏิสํหรามิ ได้แก่ เราจะ
คุมจิต จากฐานะอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส อธิบายว่า เราจะทำจิตนั้น
ให้มุ่งตรงต่อมูลกัมมัฏฐาน. บทว่า โส ปฏิสํหรติ เจว ความว่า เธอ
ส่งจิตมุ่งตรงต่อมูลกัมมัฏฐาน. บทว่า น จ วิตกฺเกติ น จ วิจาเรติ
ความว่า ไม่ตรึกถึงกิเลส ไม่ตรองถึงกิเลส. บทว่า อวิตกฺโกมฺหิ อวิจาโร
ความว่า เราไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร โดยวิตกวิจารในกิเลส. บทว่า อชฺฌตฺตํ
สติมา สุขมสฺมิ ความว่า เธอย่อมรู้ชัดว่า เรามีสติ และมีความสุขดังนี้
ด้วยสติที่ดำเนินไปในภายในอารมณ์.
บทว่า เอวํ โข อานนฺท ปณิธาย ภาวนา โหติ ความว่า
อานนท์ ภาวนามีก็เพราะตั้งจิตไว้อย่างนั้น. ก็ภาวนาของภิกษุนี้ ผู้ถือเอา
กัมมัฏฐานไปเพื่อบรรลุพระอรหัต เมื่อความเร่าร้อนในกายเป็นต้น เกิดขึ้นแล้ว
พักกัมมัฏฐานนั้นไว้ ยังจิตให้เลื่อมใส ด้วยการระลึกในพระพุทธคุณเป็นต้น
ทำให้เป็นที่ตั้งแห่งการงาน ดำเนินไปแล้ว เหมือนการเดินไปของคนอาทิผิด อักขระแบกอ้อย
หนักมาก ไปยังโรงหีบอ้อย ในเวลาเหนื่อยแล้วและเหนื่อยแล้ว วางลงบน
แผ่นดิน เคี้ยวกินท่อนอ้อยแล้ว ก็แบกไปอีกฉะนั้น. เพราะฉะนั้น พระองค์
จึงตรัสว่า ภาวนามีเพราะตั้งใจไว้. พึงทราบการเสวยสุขในผลสมาบัติของ
ภิกษุนี้ ผู้บำเพ็ญกัมมัฏฐานถึงที่สุดแล้ว ได้บรรลุพระอรหัต เหมือนคนนั้น
นำอ้อยหนักนั้นไปยังโรงหีบอ้อย บีบอ้อยเสร็จแล้ว ดื่มรสฉะนั้น.
บทว่า พหิทฺธา ความว่า ละมูลกัมมัฏฐานไปในอารมณ์อื่นภายนอก
บทว่า อปฺปณิธาย แปลว่า มิได้ตั้งจิตไว้. ในบทว่า อถ ปจฺฉา ปุเร
อสงฺขิตฺตํ วิมุตฺตํ อปฺปณิหิตนฺติ ปชานาติ นี้ พึงทราบความหมาย
ด้วยอำนาจกัมมัฏฐานบ้าง ด้วยอำนาจสรีระบ้าง ด้วยอำนาจเทศนาบ้าง.
 
๓๐/๗๒๓/๔๐๘

วันอังคาร, มิถุนายน 14, 2565

Ong

 
ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ใช้น้ำโคลนรดภิกษุณีด้วยหวังว่า แม้ไฉน
ภิกษุณีพึงรักใคร่ในพวกเรา.. . ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ๆ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้น้ำโคลนรดนางภิกษุณี
รูปใดรด ต้องอาบัติทุกกฏ
เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรมแก่ภิกษุนั้น ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พวกเรา
จะพึงลงทัณฑกรรมอย่างไร แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ.
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์พึงทำภิกษุนั้นให้เป็นผู้ไม่ควรไหว้.
ภิกษุแสดงอวัยวะมีกายเป็นต้นอวดภิกษุณี
[๕๓๔] สมัยนั้น ภิกษุฉัพพัคคีย์เปิดกายอวดภิกษุณี เปิดขาอ่อนอวด
ภิกษุณี เปิดองค์อาทิผิด อักขระกำเนิดอวดภิกษุณี พูดเกี้ยวภิกษุณี ชักจูงบุรุษให้สมสู่กับ
ภิกษุณีด้วยหวังว่า แม้ไฉน ภิกษุณีพึงรักใคร่ในพวกเรา . . . ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงเปิดกายอวดภิกษุณี ไม่พึงเปิดขาอ่อนอวดภิกษุณี ไม่พึงเปิดองค์
กำเนิดอวดภิกษุณี ไม่พึงพูดเกี้ยวภิกษุณี ไม่พึงชักจูงบุรุษให้สมสู่กับภิกษุณี
รูปใดชักจูง ต้องอาบัติทุกกฏ
เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรมแก่ภิกษุนั้น ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พวกเราพึง
ลงทัณฑกรรมอย่างไรหนอ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ. ..
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์ พึงทำภิกษุนั้นให้เป็นผู้ไม่ควรไหว้.
[๕๓๕] สมัยนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ใช้น้ำโคลนรดภิกษุ ด้วยหวังว่าแม้
ไฉน ภิกษุพึงรักใคร่ในพวกเรา ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ๆ...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้น้ำโคลนรด
ภิกษุ รูปใดรด ต้องอาบัติทุกกฏ
 
๙/๕๓๔/๔๕๖

วันจันทร์, มิถุนายน 13, 2565

Khamam

 
คนหนึ่ง ตกลงในหลุมแล้ว, นิครนถ์ที่เหลือ อย่านั่งแล้ว.” นิครนถ์
เหล่านั้น กล่าวว่า “ดี” แล้วคิดว่า “การที่พวกเราทำตามถ้อยคำ
ที่คนพวกนี้บอกแล้ว สมควร.”
พวกนิครนถ์ตกหลุมคูถ
ครั้งนั้น นิครนถ์ทั้งหมด ได้ยืนอยู่ใกล้อาสนะที่ถึงแล้วแก่ตน ๆ
โดยลำดับ. ลำดับนั้น พวกมนุษย์ กล่าวกะนิครนถ์เหล่านั้นว่า “ พวก
ท่านจงรีบนั่งพร้อมกันทีเดียว ขอรับ” รู้ภาวะคือการนั่งของนิครนถ์
เหล่านั้นแล้ว จึงนำเครื่องลาดเบื้องบนอาสนะทั้งหลายออก. พวกนิครนถ์
นั่งพร้อมกันทีเดียว. เท้าอาสนะที่ตั้งไว้บนเชือก พลัดตกแล้ว. พวก
นิครนถ์หัวคะมำอาทิผิด อักขระตกลงในหลุม. สิริคุตต์ เมื่อพวกนิครนถ์นั้น ตกลงแล้ว
จึงปิดประตู ให้เอาท่อนไม้ตีพวกนิครนถ์ที่ตะกายขึ้นแล้ว ๆ ด้วยพูดว่า
“ พวกท่าน ไม่รู้เหตุที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เพราะเหตุไร ?”
แล้วบอกว่า “ การทำเท่านี้ จักสมควรแก่พวกนิครนถ์เหล่านั้น” ดังนี้
แล้ว จึงให้เปิดประตู. พวกนิครนถ์เหล่านั้นออกแล้ว ปรารภเพื่อจะหนี
ไป. ก็ในทางไปแห่งพวกนิครนถ์นั้น สิริคุตต์ให้คนทำพื้นที่อันทำ
บริกรรมด้วยปูนอาทิผิด สระขาวไว้ให้ลื่น. สิริคุตต์ ให้คนโบกซ้ำพวกนิครนถ์นั้น
ผู้ยืนอยู่ไม่ได้ในที่นั้น ล้มลงแล้ว ๆ จึงส่งไปด้วยคำว่า “การทำเท่านี้
พอแก่ท่านทั้งหลาย.” นิครนถ์เหล่านั้นคร่ำครวญอยู่ว่า “ พวกเรา อัน
ท่านให้ฉิบหาย, พวกเรา อันท่านให้ฉิบหาย” ได้ไปสู่ประตูเรือนของ
อุปัฏฐากแล้ว.
 
๔๑/๑๔/๑๓๙

วันอาทิตย์, มิถุนายน 12, 2565

Banthoeng

 
พละ โพชฌงค์ อริยมรรค สามัญญผล อภิญญา นิพพาน อันมีคุณมาก.
ปุถุปัญญา เป็นไฉน ปุถุปัญญา คือ ญาณ ย่อมเป็นไปในขันธ์
ต่าง ๆ มาก ย่อมเป็นไปในญาณธาตุต่าง ๆ มาก ในอายตนะต่าง ๆ มาก
ในปฏิจจสมุปบาทมาก ในการได้รับสุญญตะต่าง ๆ มาก ในอรรถต่าง ๆ มาก
ในธรรมทั้งหลาย ในนิรุตติทั้งหลาย ในปฏิภาณทั้งหลาย ในสีลขันธ์ต่าง ๆ
มาก ในสมาธิปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ต่าง ๆ มาก ในฐานะ
และอฐานะต่าง ๆ มาก ในวิหารสมาบัติต่าง ๆ มาก ในอริยสัจต่าง ๆ มาก
ในสติปัฏฐานต่าง ๆ มาก ในสัมมัปปธานทั้งหลาย ในอิทธิบาททั้งหลาย
ในอินทรีย์ทั้งหลาย ในพละทั้งหลาย ในโพชฌงค์ทั้งหลาย ในอริยมรรค
ต่างๆ มาก ในสามัญญผลทั้งหลาย ในอภิญญาทั้งหลาย ในพระนิพพาน
อันเป็นปรมัตถ์ ล่วงธรรมอันสาธารณ์แก่ปุถุชน.
ทาสปัญญา เป็นไฉน ทาสปัญญา คือ บุคคลบางพวกในโลกนี้
เป็นผู้มากด้วยความรื่นเริง มากด้วยเวท มากด้วยความยินดี มากด้วยความ
บันเทิงอาทิผิด ย่อมบำเพ็ญศีลบริบูรณ์ บำเพ็ญอินทรียสังวรบริบูรณ์ บำเพ็ญ
โภชเนมัตตัญญู ชาคริยานุโยค สีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์
วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ให้บริบูรณ์ บุคคลเป็นผู้มากด้วยความ
รื่นเริง มากด้วยเวท มากด้วยความยินดี มากด้วยความบันเทิงอาทิผิด สระ ย่อมแทง
ตลอดฐานะและอฐานะ บุคคลผู้มากด้วยความรื่นเริง ย่อมบำเพ็ญ วิหาร
สมาบัติให้บริบูรณ์ บุคคลมากด้วยความรื่นเริง ย่อมแทงตลอดอริยสัจ
บุคคลย่อมเจริญสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์
อริยมรรค บุคคลผู้มากด้วยความรื่นเริง ย่อมทำให้แจ้งซึ่งสามัญญผล
 
๑๖/๑๗๑/๖๓

วันเสาร์, มิถุนายน 11, 2565

Songkhram

 
๓. สัททสูตร
ว่าด้วยสมัย ๓ อย่าง
[๒๖๐] ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เสียง (ที่เกิดขึ้นเพราะปีติ) ของเทวดา
๓ อย่างนี้ ย่อมเปล่งออกไปในเหล่าเทวดาเพราะอาศัยสมัยแต่สมัย ๓ อย่าง
เป็นไฉน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยใด พระอริยสาวกย่อมคิดเพื่อจะปลงผม
และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต ในสมัยนั้น เสียงของ
เทวดาย่อมเปล่งออกไปในเหล่าเทวดาว่า พระอริยสาวกนี้ย่อมคิดเพื่อทำสงคราม
กับมาร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเสียงของเทวดาข้อที่ ๑ ย่อมเปล่งออกไป
ในเหล่าเทวดาเพราะอาศัยสมัยแต่สมัย.
อีกประการหนึ่ง ในสมัยใด พระอริยสาวกประกอบความเพียรในการ
เจริญโพธิปักขิยธรรม ๗ ประการ ในสมัยนั้น เสียงของเทวดาย่อมเปล่งออก
ไปในเหล่าเทวดาว่า พระอริยสาวกนั้นทำสงครามกับมาร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นเสียงของเทวดา ข้อที่ ๒ ย่อมเปล่งออกไปในเหล่าเทวดาเพราะอาศัยสมัย
แต่สมัย.
อีกประการหนึ่ง ในสมัยใด พระอริยสาวกกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ในสมัยนั้น เสียงของเทวดาย่อมเปล่งออกไปในเหล่า
เทวดาว่า พระอริยสาวกนี้พิชิตสงครามอาทิผิด อักขระ ชนะแดนแห่งสงครามนั้นแล้ว
ครอบครองอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเสียงของเทวดาข้อที่ ๓ ย่อมเปล่ง
ออกไปในเหล่าเทวดาเพราะอาศัยสมัยแต่สมัย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เสียง เทวดา ๓ ประการนี้แล ย่อมเปล่งออกไป
ในเหล่าเทวดาเพราะอาศัยสมัยแต่สมัย.
 
๔๕/๒๖๐/๔๙๕

วันศุกร์, มิถุนายน 10, 2565

Mo

 
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันกระเทียม รูปใดฉัน ต้อง
อาบัติทุกกฏ
[๑๘๘] สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรอาพาธเป็นลมเสียดท้อง ครั้งนั้น
ท่านพระมหาโมคคัลลานะเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรแล้วถามว่า เมื่อก่อนท่าน
เป็นลมเสียดท้อง หายด้วยยาอะไร ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ผมหายด้วยกระ
เทียม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันกระเทียมได้ เพราะเหตุอาพาธ.
เรื่องหม้ออาทิผิด อาณัติกะปัสสาวะ
[๑๘๙] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถ่ายปัสสาวะลงในที่นั้น ๆ ในอาราม
อารามสกปรก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถ่ายปัสสาวะในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง อาราม
มีกลิ่นเหม็น...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตหม้อปัสสาวะ ภิกษุ
ทั้งหลายนั่งปัสสาวะลำบาก . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเขียง
รองเท้าถ่ายปัสสาวะ เขียงรองเท้าปัสสาวะเปิดเผย ภิกษุทั้งหลายละอายที่จะถ่าย
ปัสสาวะ...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ล้อมเครื่องล้อ ชนิด
คือ เครื่องล้อมอิฐ เครื่องล้อมหิน ฝาไม้ หม้อปัสสาวะไม่มีฝาปิด มีกลิ่น
เหม็น. . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตฝาปิด.
พุทธานุญาตหลุมถ่ายอุจจาระ
[๑๙๐] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถ่ายอุจจาระลงในที่นั้น ๆ ในอาราม
อารามสกปรก . . . ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า . . . ตรัส
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถ่ายอุจจาระในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง อาราม
 
๙/๑๘๙/๖๘

วันพฤหัสบดี, มิถุนายน 09, 2565

Singkhi

 
ทางอันสงบ เป็นต้นนั้น ? แสดงว่า ข้าพเจ้ามิได้ยินดีแล้วในการเซ่นและการ
บูชา ซึ่งให้สำเร็จสมบัติในเทวโลกและมนุษยโลก ข้าพเจ้านั้นจะกล่าวอย่างไร ?
ครั้งนั้นแล พระอุรุเวลกัสสปผู้มีอายุ ครั้นประกาศความไม่ยินดีใน
โลกทั้งปวงอย่างนี้ว่า ใจของข้าพเจ้าไม่ยินดีแล้วในเทวโลกและมนุษยโลก ชื่อ
นี้ ดังนี้แล้ว จึงประกาศข้อที่คนเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า
ข้าพเจ้าเป็นสาวก ก็แลท่านแสดงปาฏิหาริย์หลายอย่างในอากาศ เพื่อประกาศ
ข้อที่ตนเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล แล้วลงถวายบังคมพระผู้มี-
พระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
บทว่า ธมฺมจกฺขุํ ได้แก่ โสดาปัตติมรรคญาณ.
บทว่า อสฺสาสกา ได้แก่ ความหวัง อธิบายว่า ความปรารถนา.
ก็วินิจฉัยในข้อว่า เอสาหํ ภนฺเต นี้ ผู้ศึกษาพึงทราบดังต่อไปนี้:-
อันที่จริง สรณคมน์ของพระเจ้าพิมพิสารนั้น สำเร็จแล้วด้วยความ
ตรัสรู้มรรคเป็นแท้ แต่ว่าท้าวเธอทรงตัดสินตกลงพระหฤทัยในสรณคมน์นั้น
แล้ว บัดนี้จึงทรงทำการมอบพระองค์ถวายด้วยพระวาจา คือว่า พระเจ้าพิมพิ-
สารนี้ ได้ทรงถึงสรณคมน์ที่แน่นอน ด้วยอำนาจแห่งมรรคทีเดียวแล้ว เมื่อ
จะทรงทำการถึงสรณะนั้นให้ปรากฏแก่ผู้อื่นด้วยพระวาจา และเมื่อจะทรงถึง
ด้วยความนอบน้อม จึงตรัสอย่างนั้น.
บทว่า สิงฺคีนิกฺขสุวณฺโณ มีความว่า มีวรรณะเสมอด้วยลิ่มทองคำ
ชื่อสิงคีอาทิผิด อักขระ.
บทว่า ทสวาโส ได้แก่ ทรงอยู่ประจำในธรรมเป็นที่อยู่ของพระ
อริยเจ้า ๑๐ ประการ.
บทว่า ทสธมฺมวิทู ได้แก่ ทรงทราบกรรมบถ ๑๐ ประการ.
สองบทว่า ทสภิ จุเปโต ได้แก่ ทรงประกอบด้วยองค์ของพระอเสข-
บุคคล ๑๐ อย่าง๑.

๑. สัมมาทิฎฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ. ๙. สัมมญาน ๑๐. สัมมาวิมุตติ. ม.ม. ๑๓/๑๗๔
 
๖/๖๓/๑๒๐

วันพุธ, มิถุนายน 08, 2565

Sakawathi

 
ทิพพโสตกถา
[๘๐๙] สกวาทีอาทิผิด อักขระ มังสโสต อันธรรมอุปถัมถ์แล้ว เป็น
ทิพยโสต หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. มังสโสต ก็คือทิพยโสต ทิพยโสต ก็คือ มังสโสต
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[๘๑๐] ส. มังสโสต อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยโสต
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. มังสโสตเป็นเช่นใด ทิพยโสตก็เป็นเช่นนั้น
ทิพยโสตเป็นเช่นใด มังสโสตก็เป็นเช่นนั้น
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[๘๑๑] ส. มังสโสต อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยโสต
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. มังสโสตอันนั้น ทิพยโสตก็อันนั้นแหละ ทิพย-
โสตอันนั้น มังสโสตก็อันนั้นแหละ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
 
๘๐/๘๐๙/๖๔๔

วันอังคาร, มิถุนายน 07, 2565

Lamphaen

 
ไม่มีโทษที่ควรเว้นกิเลส โทษที่ประทุษร้ายคือกิเลส โทษที่กระวนกระวาย
คือกิเลส. ปัญญา ท่านเรียกว่า โกสัลละ (ความเป็นผู้ฉลาด) ธรรมที่ชื่อว่า
กุศล ด้วยอรรถว่า เกิดแต่ความฉลาด เพราะความเกิดขึ้นแต่ปัญญาชื่อว่า
โกสัลละ.
คำว่า กุศล ที่เป็นญาณสัมปยุตจงพักไว้ก่อน แต่คำว่ากุศลที่เป็น
ญาณวิปปยุต เป็นอย่างไร. แม้กุศลที่เป็นญาณวิปปยุตนั้นก็เป็นกุศลนั่นแหละ
ด้วยรุฬหีศัพท์. เหมือนอย่างว่า พัดที่บุคคลทำด้วยเสื่อลำแพนอาทิผิด อักขระไม่ได้ทำด้วย
ใบตาล เขาก็เรียกกันว่า พัดใบตาลนั่นแหละ ด้วยรุฬหิศัพท์ เพราะสิ่งนั้น
คล้ายกัน ฉันใด กุศลแม้เป็นญาณวิปปยุต บัณฑิตก็พึงทราบว่า เป็นกุศล
นั่นแหละฉันนั้น. แต่เมื่อว่าโดยนิปปริยาย (โดยตรง) กุศลที่เป็นญาณสัมปยุต
ได้ชื่อว่า กุศล ถึง ๓ อย่าง คือ ด้วยอรรถว่าไม่มีโรค ด้วยอรรถว่าไม่มีโทษ
ด้วยอรรถว่าเกิดแต่ความฉลาด. กุศลที่เป็นญาณวิปปยุต ได้ชื่อว่า กุศล
เพียง ๒ อย่างเท่านั้น. เพราะฉะนั้น กุศลใดที่กล่าวไว้แล้วโดยการบรรยายถึง
ชาดกก็ดี โดยการบรรยายถึงพาหิรสูตรก็ดี โดยการบรรยายถึงพระอภิธรรมก็ดี
กุศลนั้นทั้งหมดย่อมได้ในจิตนี้ด้วยอรรถแม้ทั้ง ๓. กุศลนี้นั้น ว่าโดยลักขณา-
ทิจตุกะ คือ กุศล
มีสุขวิบากอันไม่มีโทษ เป็นลักษณะ
มีการกำจัดอกุศล เป็นรส มีการผ่องแผ้ว
เป็นปัจจุปัฏฐาน มีโยนิโสมนสิการ หรือมี
ความไม่มีโทษเป็นปทัฏฐาน.
อีกอย่างหนึ่ง กุศลชื่อว่า มีความไม่มีโทษ เป็นลักษณะนั้นแหละ
เพราะความเป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมที่มีโทษ มีความผ่องแผ้วเป็นรส มีวิบาก
 
๗๕/๑๖/๒๒๗