วันพุธ, มกราคม 31, 2567

Muea

 
ถ้าบิณฑบาตมี และสัทธิวิหาริกก็ประสงค์จะฉัน พึงให้น้ำแล้วนำ
บิณฑบาตเข้าไป พึงถามสัทธิวิหาริกถึงน้ำฉัน เมื่อสัทธิวิหาริกฉันแล้ว พึง
ให้น้ำ รับบาตรมา ถือต่ำ ๆ ล้างให้ดี อย่าให้ครูดสี เช็ดให้หมดน้ำ ผึ่งไว้
ที่แดดสักครู่หนึ่ง แต่อย่าผึ่งทิ้งไว้ที่แดด พึงเก็บบาตร จีวร เมื่ออาทิผิด อาณัติกะเก็บบาตร
พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียง หรือใต้ตั่งแล้ว
เก็บบาตร แต่อย่าเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ปราศจากเครื่องรอง เมื่อเก็บจีวร พึง
เอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวร หรือสายระเดียง แล้วทำชาย
ไว้ข้างนอก ขนดไว้ข้างใน แล้วเก็บ เมื่อสัทธิวิหาริกลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ
น้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย.
ถ้าสัทธิวิหาริกใคร่จะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงให้ ถ้าต้องการน้ำเย็น
พึงจัดน้ำเย็นให้ ถ้าต้องการน้ำร้อน พึงจัดน้ำร้อนให้ ถ้าสัทธิวิหาริกจะใคร่
เข้าเรือนไฟ พึงบดจุณ แช่ดิน ถือตั่งสำหรับเรือนไฟไปให้ แล้วรับจีวรมา
วางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พึงให้จุณ ให้ดิน ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงเข้าเรือนไฟ
เมื่อเข้าเรือนไฟ พึงเอาดินทาหน้า ปิดทั้งข้างหน้าทั้งข้างหลัง แล้วเข้าเรือนไฟ
อย่านั่งเบียดภิกษุผู้เถระ อย่าเกียดกันอาสนะภิกษุใหม่ พึงทำบริกรรมแก่
สัทธิวิหาริกในเรือนไฟ เมื่อเข้าเรือนไฟ เมื่อออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่ง
สำหรับเรือนไฟ แล้วปิดทั้งข้างหน้าและข้างหลังออกจากเรือนไฟ พึงทำ
บริกรรมแก่สัทธิวิหาริกแม้ในน้ำ อาบเสร็จแล้ว พึงขึ้นมาก่อนทำตัวของตน
ให้แห้งน้ำ นุ่งผ้า แล้วพึงเช็ดน้ำจากตัวสัทธิวิหาริกพึงให้ผ้านุ่ง ผ้าสังฆาฏิ ถือ
ตั่งสำหรับเรือนไฟมาก่อน แล้วปูอาสนะไว้ จัดตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า
กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ใกล้ ๆ พึงถามสัทธิวิหาริกด้วยน้ำฉัน.
 
๙/๔๔๑/๓๖๗

วันอังคาร, มกราคม 30, 2567

Prakhoteo

 
อุปัชฌายะรับว่า ดีละ เบาใจละ ชอบแก่อุบายละ สมควรละ หรือ
รับว่า จงยังความปฏิบัติให้ถึงพร้อมด้วยอาการอันน่าเลื่อมใสเถิด ดังนี้ ก็ได้.
รับด้วยกาย รับด้วยวาจา รับด้วยกายด้วยวาจาก็ได้ เป็นอันสัทธิ-
วิหาริก ถืออุปัชฌายะแล้ว.
ไม่รับด้วยกาย ไม่รับด้วยวาจา ไม่รับด้วยทั้งกายและวาจา ไม่เป็น
อันสัทธิวิหาริกถืออุปัชฌายะ.

อุปัชฌายะวัตร
[๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกพึงประพฤติชอบในอุปัชฌายะ
วิธีประพฤติชอบในอุปัชฌายะนั้น มีดังต่อไปนี้:-
สัทธิวิหาริกพึงลุกแต่เช้าตรู่ ถอดรองเท้า ห่มผ้าเฉวียงบ่า แล้วถวาย
ไม้ชำระฟัน ถวายน้ำล้างหน้า ปูอาสนะไว้.
ถ้ายาคูมี พึงล้างภาชนะแล้วน้อมยาคูเข้าไปถวาย เมื่ออุปัชฌายะดื่ม
ยาคู แล้วพึงถวายน้ำ รับภาชนะมาถือต่ำ ๆ อย่าให้กระทบกัน ล้างให้สะอาด
แล้วเก็บไว้ เมื่ออุปัชฌายะลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ.
ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย.
ถ้าอุปัชฌายะประสงค์จะเข้าบ้าน พึงถวายผ้านุ่ง พึงรับผ้านุ่งผลัดมา
พึงถวายประคดเอว พึงพับผ้าสังฆาฏิเป็นชั้นถวาย พึงล้างบาตรแล้ว ถวายพร้อม
ทั้งน้ำด้วย.
ถ้าอุปัชฌายะปรารถนาจะให้เป็นปัจฉาสมณะ พึงปกปิดมณฑล ๓ นุ่ง
ให้เป็นปริมณฑล แล้วคาดประคดอาทิผิด อักขระเอว ห่มสังฆาฏิ ทำเป็นชั้น กลัดดุม
ล้างบาตรแล้ว ถือไป เป็นปัจฉาสมณะของอุปัชฌายะ ไม่พึงเดินให้ห่างนัก
ไม่พึงเดินให้ชิดนัก พึงรับวัตถุที่เนื่องในบาตร
 
๖/๘๑/๑๓๙

วันจันทร์, มกราคม 29, 2567

Waiyawatchakon

 
ปัจจัย ๔ ย่อมตั้งอยู่ในฐานเป็นมารดาและบิดาของภิกษุสงฆ์. ถ้าในตระกูลนั้น
มีคนบางคน เป็นไข้, ชนทั้งหลายเรียนขอเพื่อประโยชน์แก่ผู้เป็นไข้นั้นว่า
ท่านขอรับ ! ขอพระคุณท่านทำเภสัชให้ ด้วยความวิสาสะเถิด, ไม่ควรให้
ทั้งไม่ควรทำเลย. ก็ถ้าพวกเขารู้สิ่งที่ควร เรียนถามอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ !
เขาปรุงเภสัชอะไรแก้โรคชื่อโน้น ? ภิกษุจะตอบว่า เขาเอาสิ่งนี้และสิ่งนี้ ทำ
(เภสัช) ดังนี้ ก็ควร. ก็ภิกษุถูกคฤหัสถ์เรียนถามอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ !
มารดาของกระผมเป็นไข้ ขอได้โปรดบอกเภสัชด้วยเถิด ดังนี้ ไม่ควรบอก.
แต่ควรสนทนาถ้อยคำกะกันและกันว่า อาวุโส ! ในโรคชนิดนี้ ของภิกษุ
ชื่อโน้น เขาปรุงเภสัชอะไรแก้ ? ภิกษุทั้งหลายเรียนว่า เขาเอาสิ่งนี้และนี้
ปรุงเภสัช ขอรับ ! ฝ่ายชาวบ้าน ฟังคำสนทนานั้นแล้ว ย่อมปรุงเภสัชแก่
มารดา; ข้อที่ภิกษุสนทนากันนั้น ย่อมควร.
[เรื่องพระมหาปทุมเถระสนทนาเรื่องยาแก้โรค]
ได้ยินว่า แม้พระมหาปทุมเถระ เมื่อพระเทวีของพระเจ้าวสภะเกิด
ประชวรพระโรคขึ้น ก็ถูกนางนักสนมคนหนึ่งมาเรียนถาม ท่านก็ไม่พูดว่า
ไม่รู้ ได้สนทนากับพวกภิกษุเหมือนอย่างที่กล่าวมาแล้วนี้แล. ข้าราชบริพาร
ฟังคำสนทนานั้นแล้ว ได้ปรุงเภสัชถวายแด่พระเทวีพระองค์นั้น. และเมื่อ
พระโรคสงบลงแล้ว ข้าราชบริพารได้บรรทุกผอบเภสัชให้เต็มพร้อมทั้งไตร
จีวรและกหาปณะ ๓๐๐ นำไปวางไว้ใกล้เท้าของพระเถระ แล้ว เรียนว่า ท่าน
เจ้าข้า ! โปรดทำการบูชาด้วยดอกไม้เถิด. พระเถระคิดว่า นี้ชื่อว่าเป็นส่วน
ของอาจารย์ แล้วให้ไวยาวัจกรอาทิผิด รับไว้ด้วยอำนาจเป็นของกับปิยะ ได้ทำการบูชา
ด้วยดอกไม้แล้ว. ภิกษุควรปฏิบัติในเภสัชอย่างนี้ก่อน.
 
๒/๒๒๖/๔๓๔

วันอาทิตย์, มกราคม 28, 2567

Riak

 
ทั้งแยกจากท่านพระอานนท์นั้นได้ เพราะท่านพระอานนท์นั้นยังเป็นพระเสขะ
มีกิจจำต้องทำอยู่, ฉะนั้นจึงไม่อาจทำร่วมกับท่านได้, แต่เพราะนวังคสัตถุศาสน์
มีสุตตะ เคยยะ เป็นต้น อะไร ๆ ที่พระทศพลแสดงแล้ว ชื่อว่าท่านมิได้รับ
เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มี, เพราะฉะนั้น จึงไม่อาจจะเว้น
ท่านได้, ถามว่า ถ้าเมื่อไม่อาจทำอย่างนั้นได้ ถึงแม้ท่านยังเป็นพระเสขะอยู่
พระเถระควรเลือก เพราะเป็นผู้มีอุปการะมากแก่การสังคายนาพระธรรม
เมื่อมีความจำเป็นต้องเลือกอย่างนั้น เพราะเหตุไร พระเถระจึงไม่เลือกท่าน.
แก้ว่า เพราะจะเว้นคำค่อนขอดของผู้อื่น. ความจริง พระเถระเป็นผู้คุ้นเคย
ในท่านพระอานนท์อย่างยิ่งยวด. จริงอย่างนั้น แม้เมื่อศีรษะหงอกแล้ว ท่าน
พระมหากัสสป ก็ยังเรียกอาทิผิด อักขระท่านพระอานนท์นั้นโดยใช้กุมารกวาทะว่า เด็กคนนี้
ไม่รู้จักประมาณเสียเลย ดังนี้. อนึ่ง ท่านพระอานนท์นี้ประสูติในศากยสกุล
เป็นพระภาดาของพระตถาคต เป็นโอรสของพระเจ้าอาว์, จริงอยู่ ภิกษุทั้งหลาย
จะสำคัญในพระมหากัสสปเถระนั้นเหมือนถึงฉันทาคติ จะพึงกล่าวค่อนขอดว่า
พระเถระเว้นภิกษุทั้งหลายผู้ได้บรรลุปฏิสัมภิทาเป็นอเสขะเสียเป็นอันมาก ได้
เลือกเอาพระอานนท์ผู้บรรลุปฏิสัมภิทาเป็นเสขะ. พระเถระเมื่อจะเว้นคำ
ค่อนขอดของผู้อื่นนั้นเสีย, คิดว่า การสังคายนาไม่อาจทำโดยเว้นพระอานนท์
เสีย เราจักรับเอาพระอานนท์เข้าด้วย ตามอนุมัติของภิกษุทั้งหลายเท่านั้น
จึงมิได้เลือกพระอานนท์นั้นเข้าด้วย.
[ภิกษุทั้งหลายขอให้เลือกพระอานนท์]
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงพากันวิงวอนพระเถระ เพื่อต้องการให้เลือก
พระอานนท์เสียเองทีเดียว เหมือนอย่างที่พระโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า พวก
ภิกษุได้กล่าวคำนี้กะท่านพระมหากัสสปว่า ท่านผู้เจริญ ! ถึงท่านอานนท์นี้
 
๑/๙/๒๗

วันเสาร์, มกราคม 27, 2567

Yang

 
ไม่ต้องอาบัติ
ยังอาทิผิด สระมิได้ห้ามภัต ภิกษุสำคัญว่ายังมิได้ห้ามภัต . . .ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๕๐๗] ภิกษุให้ทำเป็นเดนแล้วให้ ๑ ภิกษุให้ด้วยบอกว่า จงให้ทำ
เป็นเดนแล้วจึงฉันเถิด ๑ ภิกษุให้ด้วยบอกว่า จงนำไปเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุ
อื่น ๑ ภิกษุให้อาหารที่เหลือของภิกษุอาพาธ ๑ ภิกษุให้ด้วยบอกว่า ในเมื่อ
มีเหตุสมควรจงฉันยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑
ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
ทุติยปวารณาสิกขาบทที่ ๖
ในสิกขาบทที่ ๖ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
[แก้อรรถปฐมบัญญัติ เรื่องภิกษุ ๒ รูป]
สองบทว่า อนาจารํ อาจรติ ได้แก่ ทำการล่วงละเมิดพระบัญญัติ.
บทว่า อุปนทฺธิ มีความว่า เมื่อให้ความผูกโกรธเกิดขึ้น ชื่อว่า
ได้ผูกความโกรธของตนไว้ในบุคคลผู้นั้น. อธิบายว่า ให้ความอาฆาตเกิดขึ้น
บ่อย ๆ.
สองบทว่า อุปนทฺโธ ภิกฺขุ ได้แก่ ภิกษุผู้เกิดมีความผูกโกรธนั้น.
สองบทว่า อภิหฏฺฐุํ ปวาเรยฺย มีความว่า พึงนำไปปวารณา
อย่างนี้ นิมนต์เถิดภิกษุ ! เคี้ยวก็ตาม ฉันก็ตาม. แต่ในบทภาชนะพระ-
 
๔/๕๐๗/๕๒๕

วันศุกร์, มกราคม 26, 2567

Pramat

 
นำออกจากทุกข์ของภิกษุผู้กำหนดขันธ์เป็นอารมณ์. คำที่เหลือก็เช่นนั้น
เหมือนกัน
จบขันธบรรพ

อายตนบรรพ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกธัมมานุปัสสนาด้วยอำนาจขันธ์ ๕
อย่างนี้แล้ว บัดนี้เพื่อจะทรงจำแนก โดยอายตนะ จึงตรัสว่า ปุน จปรํ ยังมีอีก
ข้อหนึ่ง ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉสุ อชฺฌตฺติกพาหิเรสุ อายตเนสุ ใน
อายตนะภายใน และภายนอก ๖ ความว่า ในอายตนะภายใน ๖ เหล่านี้ คือ ตา
หู จมูก ลิ้น กาย ใจ. ในอายตนะภายนอก ๖ เหล่านี้คือรูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์. บทว่า จกฺขุญฺจ ปชานาติ รู้ชัดจักษุ ความว่า ย่อมรู้
ชัดจักษุประสาท โดยลักษณะพร้อมด้วยกิจตามความเป็นจริง. บทว่า รูเป จ
ปชานาติ รู้ชัดรูป ความว่า ย่อมรู้ชัดรูปอันเกิดแต่ ๔ สมุฏฐาน (กรรม อุตุ จิต
อาหาร) ในภายนอกโดยลักษณะพร้อมด้วยกิจตามความเป็นจริง. คำว่า ยญฺจ ตทุภยํ
ปฏิจฺจ อุปฺปชฺชติ สํโยชนํ สังโยชน์ ย่อมอาศัย อายตนะทั้งสองเกิดขึ้น ความ
ว่า สังโยชน์ ๑๐ อย่าง คือ กามราคะ ปฏิฆะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา
สีลัพพตปรามาสอาทิผิด สระ ภวราคะ อิสสา มัจฉริยะ และ อวิชชา สังโยชน์ เกิดขึ้น เพราะ
อาศัยอายตนะทั้งสอง คือจักษุ กับรูป. และย่อมรู้ชัดสังโยชน์ ๑๐ นั้น โดย
ลักษณะพร้อมด้วยกิจตามเป็นจริง.

เหตุเกิดสังโยชน์

ถามว่า ก็สังโยชน์นั้นเกิดได้อย่างไร. ตอบว่า เกิดได้อย่างนี้ จะกล่าว
ในจักษุทวารก่อน เมื่อบุคคลยินดี. เพลิดเพลินอิฏฐารมณ์ อันมาปรากฏทางจักษุ
 
๑๔/๓๐๐/๓๒๘

วันพฤหัสบดี, มกราคม 25, 2567

Patikha

 
อนึ่ง วิหิงสานี้ เพราะยังไม่มา (ยังไม่ได้กล่าวไว้) ในหนหลัง จึง
ควรทราบโดยการจำแนกอรรถเป็นต้น ดังต่อไปนี้
คำว่า วิหึสํ มีวิเคราะห์ว่า ที่ชื่อว่า วิหิงสา เพราะอรรถว่า มี
เจตนาเป็นเหตุเบียดเบียนสัตว์ หรือสัตว์มีความเบียดเบียน. วิหิงสานั้น บัณฑิต
พึงทราบว่า มีความเบียดเบียนเป็นลักษณะ หรือว่ามีความเป็นปฏิปักษ์ต่อ
กรุณาเป็นลักษณะ มีความให้เกิดความหวาดเสียวในสันดานของสัตว์อื่นเป็นรส
หรือว่า มีความกำจัดความกรุณาในสันดานของคนเป็นรส มีความเป็นบ่อเกิด
แห่งทุกข์เป็นปัจจุปัฏฐาน มีปฏิฆะอาทิผิด อักขระเป็นปทัฏฐาน.
อโลภะ (ความไม่โลภ) เรียกว่า เนกขัมมะ เพราะออกจากความ
โลภ. ปฐมฌานก็เรียกว่า เนกขัมมะ เพราะออกจากนิวรณ์ทั้งหลาย กุศลทั้ง
หมดก็เรียกว่า เนกขัมมะ เพราะออกจากอกุศลทั้งหมด. ธาตุประกอบด้วย
เนกขัมมะ ชื่อว่า เนกขัมมธาตุ คำว่าเนกขัมมธาตุนี้ เป็นชื่อของเนกขัมม-
วิตก. ธาตุที่ประกอบด้วยความไม่พยาบาท ชื่อว่า อัพยาปาทธาตุ คำว่า
อัพยาปาทธาตุนี้เป็นชื่อของเมตตา. ธาตุที่ประกอบความไม่เบียดเบียน ชื่อว่า
อวิหิงสาธาตุ คำว่า อวิหิงสาธาตุนี้เป็นชื่อของอวิหิงสาวิตก ธาตุคืออวิหิงสา
นั้นเอง ชื่อว่า อวิหิงสาธาตุ คำว่า อวิหิงสาธาตุนี้เป็นชื่อของกรุณา.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะแสดงเนื้อความ (ธาตุ ๖)
นั้นนั่นแหละจึงเริ่มบทภาชนะ (บทขยายความ) ว่า ตตฺถ กตมา กามธาตุ
(ในธาตุ ๖ นั้น กามธาตุเป็นไฉน) เป็นต้น .
ในพระบาลีนั้น บทว่า ปฏิสํยุตฺโต (ประกอบ) ที่ชื่อว่า ปฏิสํยุตฺโต
(ประกอบ) ด้วยอำนาจสัมปโยคะ.๑ บทว่า ตกฺโก วิตกฺโก (ความตรึก
๑ สัมปโยคะ ประกอบด้วยองค์ ๔ คือ เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีอารมณ์อันเดียวกัน และ
มีวัตถุที่อาศัยเกิดอันเดียวกัน
 
๗๗/๑๒๓/๒๔๖

วันพุธ, มกราคม 24, 2567

Chao Na

 
น้ำนม เนยใส น้ำอ้อย อยู่ที่ตรงโน้น เจ้าจงหุงภัตพร้อมด้วยน้ำนมเนยใส
และน้ำอ้อยถวายในเวลาที่พระผู้เป็นเจ้ามิตตะพี่ชายของเจ้ามา แล้วเจ้าจง
บริโภค ” ดังนี้. ธิดากล่าวว่า “ ก็แม่เล่า จะบริโภคอะไร. ” อุบาสิกากล่าวว่า
“ เมื่อวานนี้ ปาริวาสิกภัต ( ข้าวที่หุงสำหรับภิกษุผู้อยู่ปริวาส ) เหลืออยู่ แม่
จะบริโภคภัตนั้นกับน้ำผักดอง.” ธิดากล่าวว่า “กลางวันแม่จะบริโภคอะไร.”
มารดากล่าวว่า “ เจ้าจงเอาใบผักใส่เข้าไปแล้วหุงข้าวต้มมีรสเปรี้ยวด้วยข้าว
ปลายเกรียน (ข้าวสารแหลก ๆ) แล้วตั้งไว้เถิดแม่” ดังนี้. พระเถระห่มจีวร
นำบาตรออกมา ได้ยินเสียงนั้น จึงโอวาทตนเองว่า “ได้ยินว่า มหาอุบาสิกา
จะกินปาริวาสิกภัตด้วยน้ำผักดอง แม้กลางวันก็จะกินข้าวต้มรสเปรี้ยวด้วยใบผัก
แต่ว่าอุบาสิกาบอกข้าวสารเก่าเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่ท่าน ก็มหาอุบาสิกานั้น
แล มิได้หวังนา สวน ข้าวและวัตถุ เพราะอาศัยท่านเลย แต่เขาปรารถนาอยู่
ซึ่งสมบัติ ๓ (คือ มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ) จึงให้ ท่าน
จักอาจเพื่อให้สมบัติเหล่านั้นแก่เขาหรือไม่ ก็แลบิณฑบาตนี้ ท่านยังมีราคะ
โทสะ โมหะ ไม่ควรจะกิน” ครั้นโอวาทตนแล้ว ก็เก็บถุงบาตรปลดลูกดุม
(ที่จีวร) กลับเข้าไปสู่ถ้ำชาวนาอาทิผิด อักขระนั้นแหละ แล้ววางบาตรไว้ใต้เตียง พาดจีวร
ไว้ที่ราวจีวรแล้วนั่งอธิษฐานความเพียรว่า “เรายังไม่บรรลุพระอรหัตแล้ว
จักไม่ออกไป” ดังนี้เป็นผู้ไม่ประมาทตลอดกาลนาน เป็นภิกษุผู้มั่นคงแล้ว
เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตในเวลาก่อนภัตทีเดียว เป็นพระขีณาสพผู้
เบิกบานนั่งอยู่ ราวกะดอกปทุมแย้มบานอยู่ฉะนั้น. เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นไม้ใกล้
ประตูถ้ำชาวนา เปล่งอุทานว่า
 
๗๘/๔๖๔/๑๔๐

วันอังคาร, มกราคม 23, 2567

Kraden

 
พาไปอย่างนี้ จักทำเราให้ตกลงมา เราจักไม่ไปกับท่าน. นกยางกล่าวว่า
อย่ากลัวเลย เราจักคาบท่านให้ดีแล้วจึงไป. ปูคิดว่า ชื่อว่าการคาบเอาปลา
ไปปล่อยในสระ ย่อมไม่มีแก่นกยางนี้ ก็ถ้านกยางจักปล่อยเราลงในสระ ข้อนี้
เป็นการดี หากจักไม่ปล่อย เราจักตัดคอนั้นเอาชีวิตเสีย. ลำดับนั้น ปูจึงกล่าว
กะนกยางนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนนกยางผู้สหาย ท่านจักไม่อาจคาบเอาเราไปให้
ดีได้ ก็เราคาบด้วยจึงจะเป็นการคาบที่ดี ถ้าเราจักได้เอาก้ามคาบคอท่านไซร้
เราจักกระทำคอของท่านให้เป็นของอันเราคาบดีแล้ว จึงจักไปกับท่าน. นก
ยางนั้นคิดแค่จะลวงปูนั้น หารู้ไม่ว่า ปูนี้ลวงเรา จึงรับคำว่าตกลง. ปูจึง
เอาก้ามทั้งสองของมันคาบคอนกยางนั้นไว้แน่น ประหนึ่งคีบด้วยคีมของช่าง
ทอง แล้วกล่าวว่า ท่านจงไปเดี๋ยวนี้. นกยางนั้นนำปูนั้นไปให้เห็นสระแล้ว
บ่ายหน้าไปทางต้นกุ่ม. ปูกล่าวว่า ลุง สระนี้อยู่ข้างโน้น แต่ท่านจะนำไป
ข้างนี้. นกยางกล่าวว่า เราเป็นลุงที่น่ารัก แต่เจ้าไม่ได้เป็นหลานเราเลยหนอ
แล้วกล่าวว่า เจ้าเห็นจะทำความสำคัญว่า นกยางนี้เป็นทาสของเรา พาเรา
เที่ยวไปอยู่ เจ้าจงดูก้างปลาที่โคนต้นกุ่มนั่น แม้เจ้า เราก็จักกินเสีย เหมือน
กินปลาทั้งหมดนั้น. ปูกล่าวว่า ปลาเหล่านั้น ท่านกินได้ เพราะความที่ตน
เป็นปลาโง่ แต่เราจักไม่ให้ท่านกินเรา แต่ท่านนั่นแหละจัก ถึงความพินาศ
ด้วยว่า ท่านไม่รู้ว่าถูกเราลวง เพราะความเป็นคนโง่ เราแม้ทั้งสอง เมื่อจะ
ตายก็จักตายด้วยกัน เรานั่นจักตัดศีรษะของท่านให้กระเด็นอาทิผิด อาณัติกะลงบนภาคพื้นกล่าว
แล้วจึงเอาก้ามปานประหนึ่งคีมหนีบคอนกยางนั้น. นกยางนั้นอ้าปาก น้ำตา
ไหลออกจากนัยน์ตาทั้งสองข้าง ถูกมรณภัยคุกคาม จึงกล่าวว่า ข้าแต่นาย
เราจักไม่กินท่าน ท่านจงให้ชีวิตเราเถิด. ปูกล่าวว่า ถ้าเมื่อเป็นอย่างนั้นท่าน
ร่อนลงแล้วปล่อยเราลงในสระ. นกยางนั้นหวนกลับ มาร่อนลงยังสระนั่นแหละ
แล้ววางปูไว้บนหลังเปือกตม ณ ที่ริมสระ. ปูตัดคอนกยางนั้นขาดจมลงไป
 
๕๕/๓๘/๓๕๙

วันจันทร์, มกราคม 22, 2567

Khao

 
๑๐. ภริยาสูตร
[๖๐] ครั้งนั้น เมื่อเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว
ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดแล้ว ก็สมัยนั้นมนุษย์ทั้งหลาย
ในนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีส่งเสียงอื้ออึง ท่านอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวาย
บังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสถามว่า ดูก่อนคฤหบดี เหตุไรหนอ มนุษย์ทั้งหลายในนิเวศน์
ของท่านจึงส่งเสียงอื้ออึง เหมือนชาวประมงแย่งปลากัน อนาถ-
บิณฑิกเศรษฐีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นางสุชาดา
คนนี้ข้าพระองค์นำมาจากตระกูลมั่งคั่งมาเป็นสะใภ้ในเรือน นาง
ไม่เชื่อถือ แม่ผัว พ่อผัว สามี แม้แต่พระผู้มีพระภาคเจ้านางก็ไม่
สักการะเคารพนับถือบูชา ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก
นางสุชาดาหญิงสะใภ้ในเรือนว่า มานี่แน่ะนางสุชาดา นางสุชาดา
หญิงสะใภ้ในเรือนทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เข้าอาทิผิด อาณัติกะไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อน
นางสุชาดา ภริยาของบุรุษ ๗ จำพวกนี้ ๗ จำพวกเป็นไฉน คือ
ภริยาเสมอด้วยเพชฌฆาต ๑ เสมอด้วยโจร ๑ เสมอด้วยนาย ๑
เสมอด้วยแม่ ๑ เสมอด้วยพี่สาวน้องสาว ๑ เสมอด้วยเพื่อน ๑
 
๓๗/๖๐/๑๙๗

วันอาทิตย์, มกราคม 21, 2567

Mai

 
ทำอุโบสถ สวดปาติโมกข์ พอพวกเธอสวดปาติโมกข์จบ บริษัทยังไม่ทันลุก
ไป ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึงมีจำนวนเท่ากัน.
๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. . .มีจำนวนน้อยกว่า ปาติโมกข์ที่สวดแล้ว
ก็เป็นอันสวดดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลัง พึงบอกปาริสุทธิในสำนักพวกเธอ
พวกภิกษุผู้สวด ไม่ต้องอาบัติ.
๑๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง. ถึงวันอุโบสถ
มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง
พวกเธอไม่รู้ว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอมีความสำคัญว่า
เป็นธรรม มีความสำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกัน จึง
ทำอุโบสถ สวดปาติโมกข์ พอพวกเธอสวดปาติโมกข์จบ บริษัทบางพวกลุก
ไปแล้ว ขณะนั้นมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้น
ต้องสวดปาติโมกข์ใหม่อาทิผิด สระ พวกภิกษุผู้สวด ไม่ต้องอาบัติ,
๑๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถมีภิกษุ
เจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง พวก
เธอไม่รู้ว่ายังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอมีความสำคัญว่าเป็นธรรม
มีความสำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกัน จึงทำอุโบสถ
สวดปาติโมกข์ พอภิกษุเหล่านั้น สวดปาติโมกข์จบ บริษัทบางพวกลุกไปแล้ว
ขณะนั้นมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน. . .
๑๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย . . .มีจำนวนน้อยกว่า ปาติโมกข์ที่สวดแล้ว
ก็เป็นอันสวดดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลัง พึงบอกปาริสุทธิในสำนักพวกเธอ พวก
ภิกษุผู้สวด ไม่ต้องอาบัติ.
๑๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ มี
ภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้ มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง
 
๖/๑๙๑/๔๘๗

วันเสาร์, มกราคม 20, 2567

Orot

 
ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้เพื่อทรงอนุ-
เคราะห์เศรษฐีว่า ดูก่อนบุตร ท่านจะได้ตำแหน่ง
ที่ตนปรารถนา จงเป็นผู้เย็นใจเถิด
ในกัปที่หนึ่งแสนแต่กัปนี้ พระศาสดา
พระนามว่าโคดม จักมีสมภพในวงศ์พระเจ้า
โอกกากราช เสด็จอุบัติขึ้นในโลก
ท่านนี้จักได้เป็นธรรมทายาท ของพระ
ศาสดาพระองค์นั้น จักเป็นโอรสอาทิผิด อักขระอันธรรมนิรมิต
จักเป็นสาวกของพระศาสดา มีนามว่ากัสสปะ
เศรษฐีได้ฟังพระพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว
มีความเบิกบานใจ มิจิตประกอบด้วยเมตตา
บำรุงพระพิชิตมารผู้เป็นนายกชั้นพิเศษ ด้วย
ปัจจัยทั้งหลายจนตลอดชีวิต
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงยัง
พระศาสนาให้รุ่งเรืองแล้ว ทรงกำจัดเดียรถีย์ที่ชั่ว
และทรงแนะนำประชาชนที่ควรแนะนำแล้ว พระ
องค์กับทั้งพระสาวกก็ปรินิพพาน
เมื่อพระสุคตเจ้าซึ่งเป็นผู้เลิศในโลก พระ
องค์นั้นปรินิพพานแล้ว เศรษฐีนั้นเชิญญาติและ
มิตรมาประชุมแล้ว พร้อมกับญาติและมิตรเหล่า
นั้น ได้สร้างพระสถูปสำเร็จด้วยรัตนะ สูง ๗ โยชน์
งามเหมือนดวงอาทิตย์ และต้นพระยารังที่มี
ดอกบาน เพื่อสักการะบูชาพระศาสดา
 
๗๒/๑๖๗/๖๓๒

วันศุกร์, มกราคม 19, 2567

Khum khon

 
บุรพจริยาอีกอย่างหนึ่งของพระมังคลพุทธเจ้า ได้ยินว่า พระมังคล-
พุทธเจ้านั้น ในเวลาที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์ เห็นเจดีย์พระพุทธเจ้า
พระองค์หนึ่ง ได้คิดว่า เราควรสละชีวิตบูชาพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ จึงพัน
สรีระทั้งสิ้นดุจพันประทีปคบเพลิง แล้วเอาเนยใสใส่ถาดทองคำสูงประมาณ
หนึ่งศอก มีราคาแสนกหาปณะจนเต็มแล้ว จุดประทีปพันไส้ในถาดนั้นให้โพลง
แล้วทูนถาดนั้นด้วยศีรษะ ยังสรีระทั้งสิ้นให้โพลงแล้วกระทำประทักษิณ
พระเจดีย์ตลอดราตรีทั้งสิ้น เมื่อพระโพธิสัตว์อยู่อย่างนี้จนอรุณขึ้น แม้สักว่า
ขุมอาทิผิด อาณัติกะขนเส้นหนึ่งก็ไม่ไหม้ ได้เป็นเหมือนเวลาเข้าไปสู่กอปทุม ฉะนั้น จริงอยู่
ชื่อว่า ธรรมนั้นย่อมรักษาตนไว้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส
ไว้ว่า
ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
ธรรมอันบุคคลประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมา
ให้ นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมที่บุคคลประพฤติ
ดีแล้ว ผู้มีปกติประพฤติธรรมย่อมไม่ไปสู่
ทุคติ.
ด้วยวิบากเป็นเครื่องไหลออกแห่งกรรมแม้นี้ รัศมีพระวรกายของพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า มังคละนั้น จึงแผ่ซ่านไปสู่หมื่นโลกธาตุตั้งอยู่แล้ว.
ในครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลายเป็นพราหมณ์ นามว่า สุรุจิ
คิดว่า เราจะทูลนิมนต์พระศาสดา ดังนี้ จึงเข้าไปเฝ้า ได้สดับมธุรธรรมกถา
แล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงรับภิกษาของข้า-
พระองค์ในวันพรุ่งนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า พราหมณ์ เธอต้องการ
ภิกษุเท่าไร. พราหมณ์สุรุจิทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้เป็นบริวาร
 
๗๕/๑/๑๑๔

วันพฤหัสบดี, มกราคม 18, 2567

Thiao

 
พระปฐมบัญญัติ
๑. ก็ภิกษุใดเสพเมถุนธรรมเป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ
ทั้งหลายด้วยประการฉะนี้.
สุทินนภาณวาร จบ
เรื่องลิงตัวเมีย
[๒๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเอาเหยื่อล่อลิงตัวเมียในป่า
มหาวัน เขตพระนครเวสาลี แล้วเสพเมถุนธรรมในลิงตัวเมียนั้นเสมอ ครั้น
เวลาเช้า ภิกษุนั้นครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตใน
พระนครเวสาลี
ครั้งนั้นแล ภิกษุหลายรูปเที่ยวจาริกตามเสนาสนะ เดินผ่านเข้าไป
ทางที่อยู่ของภิกษุนั้น ลิงตัวเมียนั้นแลเห็นภิกษุเหล่านั้นกำลังเดินมาแต่ไกลเทียวอาทิผิด อาณัติกะ
ครั้นแล้วได้เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น ยกสะเอวบ้าง โก่งหางบ้าง แอ่นตะโพกบ้าง
ทำนิมิตบ้าง เบื้องหน้าภิกษุเหล่านั้น จึงภิกษุเหล่านั้นสันนิษฐานว่า ภิกษุ
เจ้าของถิ่นเสพเมถุนธรรมในลิงตัวเมียนี้แน่ไม่ต้องสงสัย แล้วแฝงอยู่ ณ ที่
กำบังแห่งหนึ่ง
เมื่อภิกษุเจ้าของถิ่นเที่ยวบิณฑบาตในพระนครเวสาลี ถือบิณฑบาต
กลับมาแล้ว ลิงตัวเมียนั้นได้เข้าไปหา ครั้นภิกษุเจ้าของถิ่นฉันบิณฑบาตนั้น
 
๑/๒๑/๓๙๔

วันพุธ, มกราคม 17, 2567

Baeng

 
ครั้นทรงฟังอนุโมทนาแล้ว จึงทรงนมัสการพระเถระกระทำ
ประทักษิณ แล้วเสด็จกลับ.
พระเถระก็ได้ถวายผ้าสาฎก ๕๐๐ ผืนที่ได้มาครั้งแรกแก่
ภิกษุผู้มีจีวรเก่า. อนึ่งพระเถระมีสัทธิงวิหาริกอยู่ประมาณ
๕๐๐. บรรดาท่านเหล่านั้น ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งมีอุปการะแก่
พระเถระมาก เช่นกวาดบริเวณสถานที่ เข้าไปตั้งน้ำใช้น้ำฉัน
ถวายไม้สีฟัน น้ำล้างหน้าและน้ำสรง ชำระล้างวัจจกุฏี จัด
เรือนไฟและเสนาสนะ. นวดมือ นวดเท้า นวดหลังเป็นต้น. พระ-
เถระได้ถวายผ้า ๕๐๐ ผืน ที่ได้ครั้งหลังทั้งหมดแก่ภิกษุหนุ่ม
รูปนั้นด้วยเห็นเหมาะสมว่า ภิกษุหนุ่มรูปนี้เป็นผู้มีอุปการะมาก.
แม้ภิกษุรูปนั้น ก็ได้แบ่งอาทิผิด สระผ้าเหล่านั้นทั้งหมด ถวายแก่ภิกษุผู้ร่วม
อุปัชฌาย์ของตน.
ภิกษุทั้งหลายผู้ได้ผ้าสาฎกเหล่านั้นทั้งสิ้น ก็ตัดย้อม
แล้วนุ่งและห่มผ้ากาสายะอันมีสีดุจดอกกรรณิกา พากันเข้าไป
เฝ้าพระศาสดา นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ พระอริยสาวกชั้นโสดาบัน ยังมีการให้เห็นแก่หน้า
อยู่หรือ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระอริยสาวกให้เพราะเห็นแก่หน้านั้นไม่มี. ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเถระผู้เป็นธรรมภัณ-
ฑาคาริก (คลังธรรม) อุปัชฌายะของข้าพระองค์ทั้งหลาย ให้
ผ้าสาฎก ๕๐๐ ผืนราคาหนึ่งพันแก่ภิกษุรูปเดียวเท่านั้น แต่
 
๕๗/๑๖๔/๔๗

วันอังคาร, มกราคม 16, 2567

Yokyong

 
เข้าไปจับโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง จึงต้อนโคทั้งหมดเข้าไปในคอกเดียวกัน ทีนั้น
เขาจึงต้อนออกไปทีละตัว มันก็ออกมาโดยลำดับ จึงชี้ให้จับว่า โคตัวนี้ คือ
โคดุนั้น พวกท่านจงจับมัน ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงเวทนาเหล่านั้น ที่ทรงประมวลมา
ด้วยอาการอย่างนี้แล้ว ใคร ๆ ก็อาจเพื่อให้บุคคลกำหนดเวทนานั้นได้ว่า
สภาวะใดไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่โสมนัส ไม่ใช่โทมนัส สภาวะนี้เป็น
อทุกขมสุขเวทนา ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเวทนาเหล่านั้น
เพื่อทรงชี้ถึงปัจจัยเพื่อเจโตวิมุตติ (คือ ความหลุดพ้นแห่งใจ) ที่ไม่มีทุกข์และ
สุข เพราะว่า การละสุขและทุกข์เป็นเป็นปัจจัยเพื่อเจโตวิมุตตินั้น เหมือน
อย่าง พระธรรมทินนาเถรี กล่าวไว้ว่า จตฺตาโร โข อาวุโส ปจฺจยา
อทุกฺขมสุขาย เจโตวิมุตฺติยา สมาปตฺติยา ฯเปฯ สมาปตฺติยา
ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ปัจจัยแห่งสมาบัติ ที่เป็นเจโตวิมุตติ อันไม่มีทุกข์ ไม่มี
สุข มี ๔ อย่างแล ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าถึงจตุตถ-
ฌานอันไม่มีทุกข์และสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสในก่อน
เสียได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ปัจจัยแห่ง
สมาบัติที่เป็นเจโตวิมุตติอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ๔ อย่างนี้แล.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า สังโยชน์มีสักกายทิฏฐิเป็นต้น ที่พระอริย-
เจ้าละได้แล้วในมรรคอื่น (ปฐมมรรคเป็นต้น ) พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะ
ทรงยกย่องอาทิผิด อักขระมรรคที่ ๓ จึงตรัสว่า ละแล้วในมรรคที่ ๓ นั้น ดังนี้ ฉันใด
ม. มู เล่ม ๑๒. ๕๐๓/๕๔๓
 
๗๕/๑๔๘/๔๖๗

วันจันทร์, มกราคม 15, 2567

Haeng

 
บทว่า สมฺพหุลา มีความว่า โดยบรรยายแห่งพระวินัย ภิกษุ ๓ รูป
เรียกว่า ภิกษุเป็นอันมาก เกินกว่านั้นเรียกว่า สงฆ์ โดยบรรยายแห่งอาทิผิด อักขระพระสูตร
ภิกษุ ๓ รูป คงเรียกว่า ๓ รูปนั่นแล, ตั้งแต่ ๓ รูปขึ้นไป จึงเรียกว่า ภิกษุ
เป็นอันมาก. ภิกษุเป็นอันมากในที่นี้พึงทราบว่า มากด้วยกัน โดยบรรยายแห่ง
พระสูตร.
ชนทั้งหลาย ที่ไม่คุ้นเคยกันนัก คือไม่ใช่มิตรที่สนิท ท่านเรียกว่า
เพื่อนเห็น. จริงอยู่ ภิกษุเหล่านั้น ท่านเรียกว่า เพื่อนเห็น เพราะได้พบเห็น
กันในที่นั้น ๆ. ชนทั้งหลายที่คุ้นเคยกัน คือเป็นเพื่อนสนิท ท่านเรียกว่า
เพื่อนคบ. จริงอยู่ ภิกษุเหล่านั้น คบกันแล้วคือกำลังคบกันเป็นอย่างดี ท่าน
เรียกว่า เพื่อนคบ เพราะทำความสนิทสมโภคและบริโภคเป็นอันเดียวกัน.
บทว่า อิสิคิลิปสฺเส มีความว่า ภูเขาอิสิคิลิ ที่ข้างภูเขานั้น.
ได้ยินว่า ครั้งดึกดำบรรพ์ พระปัจเจกพุทธเจ้าประมาณ ๕๐๐ องค์ เที่ยวไป
บิณฑบาตในชนบททั้งหลาย มีกาสีและโกสลเป็นต้น เวลาภายหลังภัตประชุม
กันที่ภูเขานั้น ยังกาลให้ล่วงไปด้วยสมาบัติ. มนุษย์ทั้งหลาย เห็นท่านเข้าไป
เท่านั้น ไม่เห็นออก, เพราะเหตุนั้น จึงพูดกันว่า ภูเขานี้ กลืนพระฤๅษีเหล่านี้.
เพราะอาศัยเหตุนั้น ชื่อภูเขานั้น จึงเกิดขึ้นว่า อิสิคิลิ ทีเดียว. ที่ข้างภูเขานั้น
คือ ที่เชิงบรรพต.

[ ภิกษุจำพรรษาไม่มีเสนาสนะปรับอาบัติทุกกฏ ]
อันภิกษุผู้จะจำพรรษา แม้ปฏิบัติตามปฏิปทาของพระนาลกะก็ต้องจำ
พรรษาในเสนาสนะพร้อมทั้งระเบียง ซึ่งมุงด้วยเครื่องมุง ๕ อย่าง ๆ ใดอย่าง
หนึ่งเท่านั้น. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !
ภิกษุผู้ไม่มีเสนาสนะ ไม่พึงจำพรรษา ภิกษุใดจำ ภิกษุนั้น ต้องทุกกฏ. เพราะ
วิ มหา. ๔/๒๙๙.
 
๒/๑๗๕/๗๘

วันอาทิตย์, มกราคม 14, 2567

Soet

 
พี่น้องชายของสตรีมีพี่น้องชายปกครองวานภิกษุว่า ข้าแต่พระคุณ
เจ้า ขอพระคุณเจ้าจงไปบอกบุรุษผู้มีชื่อนี้ว่า หญิงนั้นจะขอเป็นภรรยาที่
อยู่ด้วยความเต็มใจ... เป็นภรรยาที่อยู่เพราะสมบัติ... เป็นภรรยาที่อยู่
เพราะผ้า... เป็นภรรยาที่สมรส... เป็นภรรยาที่ถูกปลงเทริด... เป็น
ภรรยาที่เป็นทั้งคนใช้เป็นทั้งภรรยา... เป็นภรรยาที่เป็นทั้งลูกจ้างเป็นทั้ง
ภรรยา... เป็นภรรยาเชลย... เป็นภรรยาชั่วคราว ของบุรุษผู้มีชื่อนี้
ภิกษุรับคำ นำไปบอก และกลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส...ขัณฑ-
จักร... พัทธจักร...
ภาตุรักขิตาภาตุจักร จบ
๕ ภคินีรักขิตาภคินีจักร
นิกเขปบท
พี่น้องหญิงของสตรีมีพี่น้องหญิงปกครองวานภิกษุว่า ข้าแต่พระ-
คุณเจ้า ขอพระคุณเจ้าจงไปบอกบุรุษผู้มีชื่อนี้ว่า หญิงนั้นจะขอเป็นภรรยา
สินไถ่ ของบุรุษผู้มีชื่อนี้ ภิกษุรับคำ นำไปบอก และกลับมาบอก
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
พี่น้องหญิงของสตรีมีพี่น้องหญิงปกครองวานภิกษุว่า ข้าแต่พระ-
คุณเจ้า ขอพระคุณเจ้าจงไปบอกบุรุษผู้มีชื่อนี้ว่า หญิงนั้นจะขอเป็นภรรยา
ที่อยู่ด้วยความเต็มใจ... เป็นภรรยาที่อยู่เพราะสมบัติ... เป็นภรรยาที่อยู่
เพราะผ้า... เป็นภรรยาที่สมรส... เป็นภรรยาที่ถูกปลงเทริดอาทิผิด สระ... เป็น
ภรรยาที่เป็นทั้งคนใช้เป็นทั้งภรรยา... เป็นภรรยาที่เป็นทั้งลูกจ้างเป็นทั้ง
 
๓/๔๗๑/๓๑๓

วันเสาร์, มกราคม 13, 2567

Lae

 
ในภายหลัง.... อาบัติเหล่าใดไม่สงสัยได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัยปิดบัง
อาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่าใดสงสัยไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน
ไม่สงสัยไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง.... อาบัติเหล่าใดไม่สงสัยได้
ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัยปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง อาบัติเหล่า
ใดสงสัยไม่ได้ปิดบังไว้เมื่อก่อน ไม่สงสัยปิดบังอาบัติเหล่านั้นในภายหลัง
พึงชักภิกษุนั้นเข้าหาอาบัติเดิม และพึงให้ปริวาสประมวลอาบัติตัวก่อนเข้า
ด้วยกัน เพื่ออาบัติตามที่ปิดบังไว้แก่ภิกษุนั้น.
[๕๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว มีประมาณ ไม่ได้ปิดบังไว้แล้วสึก.... ไม่มี
ประมาณ ไม่ได้ปิดบังไว้แล้วสึก.... อาบัติมีชื่ออย่างเดียวกัน ไม่ได้
ปิดบังไว้แล้วสึก.... อาบัติมีชื่อต่าง ๆ กัน ไม่ได้ปิดบังไว้แล้วสึก...
อาบัติเป็นสภาคกัน ไม่ได้ปิดบังไว้แล้วสึก.... อาบัติไม่เป็นสภาคกัน
ไม่ได้ปิดบังไว้แล้วสึก.... อาบัติกำหนดได้ ไม่ได้ปิดบังไว้แล้วสึก....
อาบัติเจือกัน ไม่ได้ปิดบังไว้แล้วสึก....
ให้มานัตแก่ภิกษุ ๒ รูป
[๕๕๕] ภิกษุ ๒ รูป ต้องอาบัติสังฆาทิเสส พวกเธอมีความเห็น
ว่าเป็นอาบัติสังฆาทิเสส รูปหนึ่งปิดบังไว้ รูปหนึ่งไม่ปิดบังไว้ รูปใด
ปิดบังไว้ พึงให้รูปนั้นแสดงอาบัติทุกกฏ และอาทิผิด สระให้ปริวาสในกองอาบัติ
ตามที่ปิดบังไว้แก่รูปที่ปิดบังนั้น แล้วให้มานัตแก่ภิกษุทั้งสองรูป.
 
๘/๕๕๕/๔๔๔

วันศุกร์, มกราคม 12, 2567

Khela

 
มีอยู่ในดงใหญ่ ท่านจงเข้าไปอาศัยอัญชนบรรพตนั้นอยู่เถิด. ในวาระที่สี่
พระโพธิสัตว์เรียกกาลเทวลดาบสมาสั่งไปว่า ท่านกาลเทวละ ในแคว้นอวันตี
ในทักขิณาชนบท มีภูเขาชื่อฆนเสลบรรพต ท่านจงเข้าไปอาศัยฆนเสลบรรพต
นั้นอยู่เถิด อาศรมในกปิฎฐวันก็เต็มบริบูรณ์อีก ในสถานที่ทั้ง ๕ แห่งได้มี
หมู่ฤๅษีจำนวนแสนเศษ ส่วนกีสวัจฉดาบส อำลาพระมหาสัตว์ เข้าไปอาศัย
ท่านเสนาบดีอยู่ในพระราชอุทยาน ในกุมภวตีนคร แว่นแคว้นของพระเจ้า
ทัณฑกีราช. ท่านนารทดาบส ไปอยู่ที่เวิ้งเขาชื่ออัญชนคิรีในมัชฌิมประเทศ
ส่วนอนุสิสสดาบสคงอยู่ในสำนักของพระมหาสัตว์นั่นเอง.
กาลครั้งนั้น พระเจ้าทัณฑกีราช ทรงถอดหญิงแพศยาคนหนึ่ง ซึ่งได้
สักการะแล้วจากตำแหน่ง นางเที่ยวไปตามธรรมดาของตน เดินไปสู่พระราช
อุทยานพบท่านกีสวัจฉดาบส คิดว่า ดาบสผู้นี้คงจักเป็นคนกาลกรรณี เราจัก
ลอยตัวกลี ลงบทสรีระของดาบสผู้นี้ อาบน้ำก่อนจึงจักไป ดังนี้แล้ว จึงเคี้ยว
ไม้สีฟัน แล้วถ่มเขฬะอาทิผิด อาณัติกะหนา ๆ ลงบนสรีระของท่านดาบสนั้น ก่อนที่อื่นทั้งหมด
แล้วถ่มลงไประหว่างชฎา แล้วโยนไม้สีฟันไปบนศีรษะของท่านกีสวัจฉดาบส
นั้นอีก ตนเองสนานเกล้าแล้วไป. ต่อมาพระราชาทรงระลึกถึงนางแล้วจัดการ
สถาปนาไว้ตามเดิม. นางเป็นคนหลงงมงาย ได้ทำความสำคัญว่า เพราะเรา
ลอยตัวกลีไว้บนสรีระของคนกาลกรรณี พระราชาจึงทรงสถาปนาเราไว้ใน
ตำแหน่งเดิม เราจึงกลับได้ยศอีก ต่อมาไม่นานนัก พระราชาก็ทรงถอดปุโรหิต
เสียจากฐานันดรศักดิ์. ปุโรหิตนั้นจึงไปยังสำนักของหญิงคณิกานั้น ถามว่า
เพราะเหตุไรท่านจึงได้ตำแหน่งคืน. ลำดับนั้น หญิงคณิกาจึงบอกว่า เพราะดิฉัน
ลอยกลีโทษ บนสรีระของคนกาลกรรณี ในพระราชอุทยาน. ปุโรหิตจึงไป
ลอยกลีโทษ บนสรีระของท่านกีวัจฉดาบส อย่างนั้นเหมือนกัน พระราชา
ก็กลับทรงสถาปนาแม้ปุโรหิตนั้นไว้ในฐานันดรอีก.
 
๖๑/๒๔๗๗/๖๐๑

วันพฤหัสบดี, มกราคม 11, 2567

Ruesi

 
นั่งประชุมสนทนากันในสำนักของพระศาสดาว่า อาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัต
แม้ตนเองก็ลามก แม้บริษัทของเธอก็ลามก พระเทวทัตนั้นเป็นคนลามก
มีบริวารลามกอยู่อย่างนี้ พระศาสดาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอประชุม
สนทนาอะไรกัน ? เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย ใช่แต่ในชาตินี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในชาติก่อน พระเทวทัตก็เป็น
คนลามก มีบริวารลามกเหมือนกัน แล้วทรงนำอดีตนิทานมาตรัสดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล พระราชาพระนามว่า ปัญจาละ เสวยราชสมบัติอยู่ใน
อุตตรปัญจาลนคร กาลนั้น พระมหาสัตว์บังเกิดเป็นลูกพญานกแขกเต้า
ตัวหนึ่ง สองตัวพี่น้องอยู่ที่สิมพลีวันใกล้สานุบรรพตแห่งหนึ่ง ในแนวป่า.
ก็ในด้านเหนือของภูเขาลูกนั้น มีบ้านโจรเป็นที่อยู่อาศัยของโจร ๕๐๐ ในด้าน
ใต้เป็นอาศรมสถานที่อยู่ของหมู่ฤๅษีอาทิผิด สระ ๕๐๐ ตน. ในกาลเมื่อสุวโปดกสองพี่น้อง
นั้นกำลังสอนบิน บังเกิดลมหัวด้วนขึ้น สุวโปดกตัวหนึ่ง ถูกลมพัดไปตก
ระหว่างอาวุธของพวกโจรในโจรคาม เพราะสุวโปดกตกลงในระหว่างกองอาวุธ
พวกโจรจับได้จึงตั้งชื่อว่า “ สัตติคุมพะ ”. ส่วนสุวโปดกตัวหนึ่งลมพัดไปตก
ในระหว่างกองดอกไม้ ที่เนินทรายใกล้อาศรมพระฤๅษี เพราะสุวโปดกนั้น
ตกลงในระหว่างกองดอกไม้ พระฤๅษีทั้งหลายจึงพากันตั้งชื่อนกนั้นว่า “ ปุปฺผ-
กะ ”.
สัตติคุมพสุวโปดก เจริญเติบโตในระหว่างพวกโจร. บุปผกสุวโปดก
เจริญเติบโตในระหว่างพระฤๅษีทั้งหลาย อยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้าปัญจาลราช
ประดับตกแต่งองค์ด้วยเครื่องสรรพาลังการ เสด็จทรงรถพระที่นั่งอันประเสริฐ
เสด็จสู่ชายป่าอันเป็นรมณียสถานมีดอกไม้ผลไม้ผลิดอกออกผลงามดี ณ ที่
ใกล้พระนคร โดยทรงประสงค์จะล่ามฤค พร้อมด้วยบริวารเป็นจำนวนมาก
 
๖๑/๒๑๕๒/๑๓๒

วันพุธ, มกราคม 10, 2567

Dai

 
สีสปาปัณณวรรควรรณนาที่ ๔

อรรถกถาสีสปาสูตร

พึงทราบอธิบายในสีสปาสูตรที่ ๑ แห่งสีสปาปัณณวรรคที่ ๔.
คำว่า ยทิทํ อุปริ คือ ใบประดู่เหล่านี้ เหล่าใด. . . ในเบื้องบน.
คำว่า สีสปาวเน ได้แก่ บนต้นไม้ประดู่ลาย.
จบอรรถกถาสีสปาสูตรที่ ๑

๒. ขทิรสูตร

ว่าด้วยการทำที่สุดแห่งทุกข์เพราะตรัสรู้อริยสัจ ๔

[๑๗๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราไม่ได้
ตรัสรู้ ทุกขอริยสัจ...ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ตามความเป็นจริงแล้ว
จัก กระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้อาทิผิด อาณัติกะ เปรียบเหมือน
ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักเอาใบตะเคียน ใบทองหลาง หรือใบมะขามป้อม
ห่อน้ำหรือตาลปัตรนำไป ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฉันใด ผู้ใดพึงกล่าว
อย่างนี้ว่า เราไม่ได้ตรัสรู้ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ตามความเป็นจริงแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่
จะมีได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
 
๓๑/๑๗๑๔/๔๕๐

วันอังคาร, มกราคม 09, 2567

Thing

 
แก่ภิกษุรูปนั้น; เพราะเหตุนั้น จึงไม่เป็นอวหารก่อน. แต่เวลาใด พวก
มนุษย์เหล่านั้นประสงค์จะเข้าไปภายในบ้าน แม้เมื่อค้นหาสิ่งของนั้น ก็ไม่เห็น
จึงคิดว่า บัดนี้ ค่ำมืดแล้ว, พรุ่งนี้ก่อนเถิด พวกเราจึงจักรู้ แล้วก็ไปทั้งที่
ยังมีความอาลัยอยู่นั่น เอง, เวลานั้น เมื่อภิกษุนั้น ยกสิ่งของนั้นขึ้น เป็น
ปาราชิกในขณะที่ยกขึ้น. แต่เมื่อภิกษุถือเอาในเวลาที่ปกปิดไว้แล้ว นั่นเอง
ด้วยสกสัญญาว่า เป็นของเรา หรือด้วยบังสุกุลสัญญาว่า บัดนี้ มนุษย์เหล่านั้น
ไปแล้ว พวกเขาได้ทิ้งอาทิผิด สระสิ่งของนี้แล้ว เป็นภัณฑไทย. เมื่อมนุษย์เหล่านั้น
กลับมาในวันที่ ๒ แม้ตรวจค้นดูแล้วก็ไม่เห็น จึงได้ทอดธุระกลับไป สิ่งของ
ที่เธอถือเอาเป็นภัณฑไทยเหมือนกัน. เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่าพวกเขา
ไม่เห็นสิ่งของด้วยความพยายามของภิกษุนั้น. ส่วนภิกษุใด พบเห็นสิ่งของ
เห็นปานนั้น ซึ่งยังคงตั้งอยู่ในที่เดิมนั่นเอง ไม่ได้ปกปิดไว้ แต่มีไถยจิต
เอาเท้าเหยียบกดให้จมลงในเปือกตม หรือในทราย, พอเธอกดให้จมลงเท่านั้น
เป็นปาราชิก.

[ อรรถาธิบายกุสาวหาร ]
การสับเปลี่ยนสลากแล้ว ลัก ท่านเรียกว่า กุสาวหาร. แม้กุสาวหาร
นั้น. พึงทราบดังนี้:- ภิกษุรูปใด เมื่อภิกษุจีวรภาชกะกำลังจัดวางสลากแจก
จีวร ใคร่จะนำเอาส่วนของภิกษุรูปอื่น ซึ่งมีราคามากกว่า ที่ตั้งอยู่ใกล้ส่วน
ของตนไป ใคร่จะวางไม้สลากที่จีวรภาชกภิกษุวางไว้ในส่วนของตน ลงไว้
ในส่วนของภิกษุรูปอื่น จึงยกขึ้น ยังรักษาอยู่ก่อน. เธอวางลงไว้ในส่วนของ

ประโยควรรคนี้ ตามเชิงอรรถไว้ก็ดี ในอรรถโยชนาก็ดี และสารัตถทีปนีก็ดี มีตกหล่นอยู่หลายศัพท์ แปลตามเชิงอรรถดังนี้ :- ภิกษุรูปใด ใคร่จะนำเอาส่วนของภิกษุรูปอื่น ซึ่งมีราคาน้อยกว่าหรือมากกว่า หรือเท่า ๆ กัน โดยราคาแห่งส่วนของตน ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ส่วนของตนไป ดังนี้. สามนต์ฉบับที่เราใช้อยู่นี้ จะลอกคัดตกไปกระมัง เพราะในอรรถโยชนาและสารัตถทีปนี ก็มีแก้ไว้.
 
๒/๑๗๕/๒๓๐

วันจันทร์, มกราคม 08, 2567

Maha Nak

 
ว่า ชื่อว่า การบัญญัติสิกขาบทอันสมควรแก่โทษ ธรรมดาว่า สิกขาบทนี้
ย่อมมีเพราะโทษนี้ เพราะการก้าวล่วงอันนี้ ดังนี้ และเกิดแก่ผู้พิจารณา
อุตริมนุสธรรมเปยยาล แก่ผู้พิจารณานีลเปยยาล ผู้พิจารณาสัญจริตเปยยาลว่า
การบัญญัติสิกขาบท ไม่ใช่วิสัยของชนเหล่าอื่น เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายเท่านั้น.
ปีติและโสมนัสอันไม่มีที่สุด ย่อมเกิดแม้แก่ภิกษุผู้เรียนพระอภิธรรม
ผู้พิจารณาอยู่ซึ่งตันติแห่งพระอภิธรรมว่า พระศาสดาของเราทั้งหลายเมื่อทรง
จำแนกแม้ความแตกต่างแห่งขันธ์ แม้ความแตกต่างแห่งอายตนะ แม้ความ
แตกต่างแห่งธาตุ ความแตกต่างแห่งอินทรีย์ พละ โพชฌงค์ กรรม วิบาก
การกำหนดรูปและอรูป ธรรมอันละเอียดสุขุม ทรงกระทำแต่ละข้อในรูปธรรม
และอรูปธรรมให้เป็นส่วน ๆ แสดงไว้ เหมือนการนับดาวทั้งหลายในท้องฟ้า
ฉะนั้น. ก็ในการเกิดขึ้นแห่งปีติโสมนัสนั้น พึงทราบแม้เรื่องดังต่อไปนี้.
ดังได้สดับมา พระเถระชื่อว่า มหานาคอาทิผิด อักขระติมิยติสสทัตตะ เมื่อไปสู่ฝั่งโน้น
ด้วยคิดว่า เราจักไหว้ต้นมหาโพธิ์ จึงนั่งที่พื้นเบื้องบนเรือแลดูมหาสมุทร
ทีนั้น ในครั้งนั้น ฝั่งโน้นไม่ปรากฏแก่ท่านเลย ฝั่งนี้ก็ไม่ปรากฏ เป็นเช่นกับ
แผ่นเงินอันเขาแผ่ออก และเช่นกับเครื่องลาดทำด้วยดอกมะลิฉะนั้น. ท่านคิดว่า
กำลังคลื่นของมหาสมุทรมีกำลังหรือหนอ หรือว่านยมุข (เนื้อความที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงแนะนำไว้) ในสมันตปัฏฐาน ๒๔ ประเภทมีกำลัง ดังนี้.
ทีนั้น ปีติมีกำลังก็เกิดขึ้นแก่ท่านผู้พิจารณาธรรมอันละเอียดสุขุมว่า การกำหนด
ในมหาสมุทรย่อมปรากฏ เพราะว่า มหาสมุทรนี้ เบื้องล่างกำหนดด้วยแผ่นดิน
เบื้องบนกำหนดด้วยอากาศ ข้างหนึ่งกำหนดด้วยภูเขาจักรวาล ข้างหนึ่งกำหนด
ด้วยฝั่ง แต่การกำหนดสมันตปัฏฐานย่อมไม่ปรากฏ ดังนี้ ท่านข่มปีติแล้ว
 
๗๕/๑/๓๑