วันเสาร์, พฤษภาคม 18, 2567

Amit

 
บุคคลไม่ควรเปิดเผยข้อความลับเลย ควรรักษา
ข้อความลับนั้นไว้ ดุจบุคคลรักษาขุมทรัพย์ ฉะนั้น
ข้อความลับอันบุคคลผู้รู้แจ้งไม่ทำให้ปรากฏนั่นแลดี.
บัณฑิตไม่ควรบอกความลับแก่สตรี และแก่คน
ไม่ใช่มิตร กับอย่าบอกความในใจแก่บุคคลที่อามิส
ลากไป และแก่คนไม่ใช่มิตร.
ผู้มีปรีชาย่อมอดทนต่อคำด่าคำบริภาษ และการ
ประหารแห่งบุคคลผู้รู้ข้อความลับซึ่งผู้อื่นไม่รู้ เพราะ
กลัวแต่แพร่ความลับที่คิดไว้ ประหนึ่งคนเป็นทาส
อดทนต่อคำด่าเป็นต้นแห่งนาย ฉะนั้น ชนทั้งหลาย
รู้ความลับที่ปรึกษากันของบุคคลผู้หนึ่งเพียงใด ความ
หวาดสะดุ้งของบุคคลนั้น ย่อมเกิดขึ้นเพียงนั้น เพราะ
เหตุนั้น ผู้ฉลาดไม่ควรสละความลับ.
บุคคลกล่าวความลับในเวลากลางวัน พึงหา
โอกาสที่เงียบ เมื่อจะพูดความลับในเวลาค่ำคืน อย่า
ปล่อยเสียงให้เกินเขต เพราะว่าคนแอบฟังความ ย่อม
จะได้ยินความลับที่ปรึกษากัน เพราะฉะนั้น ความลับ
ที่ปรึกษากันจะถึงความแพร่งพรายทันที.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ถิยา แปลว่า แก่สตรี. บทว่า อมิตฺ-
ตสฺส จ ความว่า ไม่ควรบอกแก่ศัตรู. บทว่า สํหีโร ความว่า ก็บุคคล
ใดถูกอามิสอาทิผิด อักขระอย่างใดอย่างหนึ่งลากไป คือถึงการพูดชักชวนและสงเคราะห์ ไม่พึง
บอกความลับแก่บุคคลแม้นั้น. บทว่า หทยตฺเถ โน ความว่า ก็บุคคลใด
 
๖๓/๖๘๖/๔๒๔

วันศุกร์, พฤษภาคม 17, 2567

Nayok

 
รุ่งเรืองควรบูชา ดังกองไฟ เราได้เห็นพระนายกอาทิผิด อักขระของโลก
ทรงรุ่งโรจน์ดุจดวงไฟ เหมือนสายฟ้าในอากาศ เช่นกับ
พญารัง มีดอกบานสะพรั่ง เพราะอาศัยการได้เห็น
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐ เป็นมหาวีระ ทรงทำที่
สุดทุกข์ เป็นมุนีนี้ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ครั้นเรา
ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นเทวดาล่วงเทวดาแล้ว
ได้ตรวจดูลักษณะว่าเป็นพระพุทธเจ้าหรือมิใช่ มิฉะนั้น
เราจะดูพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีจักษุ เราได้เห็นจักรมีกำ
พันหนึ่งที่พื้นฝ่าพระบาท ครั้นได้เห็นพระลักษณะของ
พระองค์แล้ว จึงถึงความตกลงในพระตถาคต.
ในกาลนั้น เราจับไม้กวาดกวาดที่นั่นแล้ว ได้นำเอา
ดอกไม้ ๘ ดอกมาบูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ครั้น
บูชาพระพุทธเจ้าผู้ข้ามโอฆะไม่มีอาสวะนั้นแล้ว ทำ
หนังเสือดาวเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นมัสการพระนายกของ
โลก พระสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีอาสวะ ทรงอยู่ด้วย
พระญาณใด เราจักประกาศพระญาณนั้น ท่านทั้งหลาย
จงฟังคำเรากล่าว พระสยัมภูผู้มีความเจริญมากที่สุด ทรง
ถอนสัตวโลกนี้แล้ว สัตว์เหล่านั้นอาศัยการได้เห็น
พระองค์ ย่อมข้ามกระแสน้ำคือความสงสัยได้ พระองค์
เป็นพระศาสดา เป็นยอด เป็นธงชัย เป็นหลัก เป็น
ร่มเงา เป็นที่พึ่ง เป็นประทีปส่องทาง เป็นพระ-
พุทธเจ้าของสัตว์ทั้งหลาย น้ำในสมุทรอาจประมาณด้วย
 
๕๓/๓๙๖/๒๕๑

วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 16, 2567

Haeng

 
๗. อิสสรสูตร

[๒๑๑] เทวดาทูลถามว่า
อะไรหนอเป็นใหญ่ในโลก อะไร
หนอเป็นสูงสุดแห่งอาทิผิด อักขระภัณฑะทั้งหลาย อะไร
หนอเป็นดังสนิมศัสตราในโลก อะไรหนอ
เป็นเสนียดในโลก ใครหนอนำของไปอยู่
ย่อมถูกห้าม แต่ใครนำไปกลับเป็นที่รัก
ใครหนอมาหาบ่อย ๆ บัณฑิตย่อมยินดี
ต้อนรับ.
[๒๑๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
อำนาจเป็นใหญ่ในโลก หญิงเป็น
สูงสุดแห่งภัณฑะทั้งหลาย ความโกรธเป็น
ดังสนิมศัสตราในโลก พวกโจรเป็นเสนียด
ในโลก โจรนำของไปอยู่ย่อมถูกห้าม แต่
สมณะนำไปกลับเป็นที่รัก สมณะมาหา
บ่อย ๆ บัณฑิตย่อมยินดีต้อนรับ.
 
๒๔/๒๑๑/๓๑๐

วันพุธ, พฤษภาคม 15, 2567

Kamnot

 
ท่านแสดงถึงอาพาธนั้นมีกรรมเป็นสมุฏฐาน จึงห้ามความที่กรรมเกิดจาก
ฤดูเปลี่ยนแปรเป็นต้นอันรู้สึกเจ็บปวด. บทว่า ทุกฺขํ ได้แก่ ทุกข์อัน
ปุถุชนไม่สามารถจะทานได้. บทว่า ติปฺปํ แปลว่า แรงกล้า หรือหนัก
เพราะครอบงำเป็นไป. บทว่า ขรํ แปลว่า กล้าแข็ง. บทว่า กฏุกํ
แปลว่า ไม่สำราญ. บทว่า อธิวาเสนฺโต แปลว่า ยับยั้ง คือ อดกลั้น
อดทน เป็นอย่างสูง. บทว่า สโต สมฺปชาโน ได้แก่ มีสติ มีสัมปชัญญะ
ด้วยอำนาจสติและสัมปชัญญะ อันเป็นตัวกำหนดอาทิผิด สระเวทนา. ท่านกล่าวคำ
อธิบายนี้ไว้ว่า ธรรมดาว่าเวทนานี้ ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะอรรถว่ามีแล้ว
กลับไม่มี ชื่อว่า ปฏิจจสมุปปันนะ เพราะอาศัยปัจจัยมีอารมณ์ที่ไม่น่า
ปรารถนาเป็นต้นเกิดขึ้น ชื่อว่า มีความสิ้น มีความเสื่อม มีคลายกำหนัด
มีดับเป็นธรรมดา เพราะมีการเกิดขึ้นแล้วแตกไปโดยส่วนเดียวเป็นสภาวะ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สโต มีสติ เพราะเป็นผู้กระทำสติโดยกำหนด
เวทนาว่าเป็นอนิจจตาความไม่เที่ยง และชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะ เพราะ
แทงตลอดสภาวะที่ไม่แปรผัน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ เพราะมี
สติปรากฏด้วยดีในกาย เวทนา จิต และธรรม ในที่ทุกแห่ง โดยถึงความ
เป็นผู้ไพบูลย์ด้วยสติ ชื่อว่า เป็นผู้มีสัมปชัญญะ เพราะเป็นผู้กำหนด
สังขาร โดยถึงความเป็นผู้ไพบูลย์ด้วยปัญญา โดยประการนั้น. บทว่า
อวิหญฺญมาโน ความว่า ไม่เดือดร้อนเหมือนอันธปุถุชน โดยนัยดังตรัส
ไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ อันทุกขธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
ถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ย่อมลำบาก ย่อมร่ำไร คร่ำครวญ ตีอก ถึง
ความงมงาย ดังนี้ ไม่ให้ทุกข์ทางใจเกิดขึ้น เพราะถอนขึ้นได้ด้วยมรรค
นั่นเอง นั่งอดกลั้นทุกข์ในร่างกายซึ่งเกิดแต่วิบากแห่งกรรมอย่างเดียว
 
๔๔/๖๖/๒๗๙

วันอังคาร, พฤษภาคม 14, 2567

Ton

 
พึงทราบคาถาว่า วิสชฺช คนฺถานิ มุนีสละแล้วซึ่งกิเลสเครื่องร้อย-
รัดทั้งหลายในโลกนี้ ดังนี้เป็นต้นต่อไป. ในบทเหล่านั้น บทว่า อนุคฺคโห
คือเว้นจากความถือมั่น. ชื่อ อนุคฺคโห เพราะไม่มีการถือมั่น หรือเพราะ
ไม่ถือมั่น. บทว่า คนฺเถ โวสฺสชฺชิตฺวา วา วางกิเลสเครื่องร้อยรัด
ทั้งหลาย คือสละกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลายมีอภิชฌาเป็นต้น. บทว่า
วิสชฺช สละแล้ว คือละโดยไม่ยึดมั่นอีก. บทว่า คถิเต รัด คือผูกแน่น.
บทว่า คนฺถิเต พัน คือพันไว้เหมือนจับด้าย. บทว่า พนฺเธ เหนี่ยวรั้ง
คือรั้งไว้อย่างดี. บทว่า วิพนฺเธ เกาะเกี่ยว คือเกาะเกี่ยวหลายอย่าง.
บทว่า ปลิพุทฺเธ พัวพัน คือผูกติดกันโดยรอบ. บทว่า พนฺธเน ผูก
ไว้ คือผูกไว้ด้วยกิเลส. บทว่า โผฏยิตฺวา คือ คลายแล้ว. บทว่า สชฺชํ
วิสชฺชํ กโรนฺติ ทำการปลดปล่อย คือทำให้เป็นของใช้ไม่ได้. บทว่า
วิโกปนฺติ คือ ทำให้แหลกไปเป็นชิ้น ๆ. มีอะไรที่จะกล่าวยิ่งกว่านั้นอีก
มีดังต่อไปนี้.
นรชนเห็นปานนั้นพึงทราบคาถาว่า ปุพฺพาสเว มุนีละอาสวะอันมี
ก่อน ดังนี้เป็นต้นต่อไป.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺพาสเว ได้แก่ กิเลสอันเกิดขึ้นปรารภ
รูปในอดีตเป็นต้น. บทว่า นเว ไม่ทำอาสวะใหม่ ได้แก่ กิเลสอันเกิดขึ้น
ปรารภรูปในปัจจุบันเป็นต้น. บทว่า น ฉนฺทคู ไม่เป็นผู้ดำเนินไปด้วย
ความพอใจ คือไม่ไปด้วยอำนาจฉันทาคติเป็นต้น. บทว่า อนตฺตครหี ไม่
เป็นผู้ติเตียนตนอาทิผิด อักขระ คือไม่ติเตียนตนด้วยการกระทำและไม่กระทำ อย่างนี้แล
ชื่อว่าไม่ติเตียนตน. พึงทราบคาถาต่อไปว่า ส สพฺพธมฺเมสุ มุนีนั้น
กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง.

๑. ม. สจฺจํ.
 
๖๖/๖๙๙/๒๗๕

วันจันทร์, พฤษภาคม 13, 2567

Bueang

 
ทรงทราบว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่าง
หนึ่ง เมื่อไม่ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ก็ขอจงตรัสบอกตรง ๆ เถิดว่า เราไม่รู้ ไม่
เห็น ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ ขอจง
ทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์เถิดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ ถ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงทราบว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปไม่มีอยู่ ขอจงทรงพยากรณ์
แก่ข้าพระองค์เถิดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปไม่มีอยู่ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ไม่ทรงทราบว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ หรือว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไป
ไม่มีอยู่ เมื่อไม่ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ก็ขอจงตรัสบอกตรง ๆ เถิดว่า เราไม่รู้ เรา
ไม่เห็น ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มี
ไม่มีอยู่ก็มี ขอจงทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์เถิดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไป
มีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย
ไปมีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่ ขอจงทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์เถิดว่า สัตว์
เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรง
ทราบว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี หรือว่าสัตว์เบื้องอาทิผิด อักขระหน้า
แต่ตายไปมีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่ เมื่อไม่ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ก็ขอจงตรัสบอก
ตรง ๆ เถิดว่า เราไม่รู้ เราไม่เห็น.
[๑๔๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมาลุงกยบุตร เราได้พูด
ไว้อย่างนี้กะเธอหรือว่า เธอจงมาประพฤติพรหมจรรย์ในเราเถิด เราจัก
พยากรณ์ทิฏฐิ ๑๐ แก่เธอ ฯ ล ฯ
ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ก็หรือว่า ท่านได้พูดไว้กะเราอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้า
พระองค์จักประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
จักทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์ ฯ ล ฯ
 
๒๐/๑๔๙/๓๐๐

วันอาทิตย์, พฤษภาคม 12, 2567

Pao

 
๑๐๐. อรรถกถาพุทธุปัฏฐากเถราปทาน
อปทานของท่านพระพุทธุปัฏฐากเถระ มีคำเริ่มต้นว่า วิปสฺสิสฺส
ภควโต ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี บังเกิดในตระกูลคนเป่าอาทิผิด สระสังข์ เจริญ
วัยแล้วได้เป็นผู้ฉลาดในศิลปะ คือในการเป่าสังข์ของตน. ท่านเป่าสังข์
ถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าตลอดกาลเป็นนิตย์ แล้วบูชาด้วยเสียงสังข์นั่นเอง.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ท่านได้
มีชื่อเสียงกึกก้องบันลือลั่นปรากฏไปทั่วทุกสถาน. ในพุทธุปบาทกาลนี้
บังเกิดในตระกูลที่ปรากฏแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว ปรากฏโดยชื่อว่า
มธุสสระ ดังนี้ เลื่อมใสในพระศาสดา บวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระ-
อรหันต์. ภายหลังท่านปรากฏชื่อว่า มธุรัสสรเถระ ดังนี้.
วันหนึ่ง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศ
ปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า วิปสฺสิสฺส ภควโต ดังนี้. คำนั้น
ท่านได้กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล. บทว่า อโหสึ สงฺขธมโก ความว่า
ชื่อว่า สังขะ เพราะขุดด้วยดีไป. อธิบายว่า เที่ยวไปในที่สุดแห่งน้ำใน
สมุทร. ชื่อว่า สังขธมกะ ผู้เป่าสังข์นั้นทำเสียงให้กึกก้อง อธิบายว่า
เรานั้นได้เป็นผู้เป่าสังข์นั้นเอง. คำที่เหลือในบททั้งปวง มีอรรถตื้น
ทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาพุทธุปัฏฐากเถราปทาน
จบอรรถกถาสุธาวรรคที่ ๑๐
 
๗๑/๑๐๒/๓๕๑

วันเสาร์, พฤษภาคม 11, 2567

Phrangphrom

 
ผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมอาทิผิด อาณัติกะด้วยอริยมรรค เจริญอริย-
มรรคอยู่ นี้แลคือ สัมมากัมมันตะที่เป็นอริยะเป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ
เป็นองค์มรรค.
ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉากัมมันตะ เพื่อบรรลุสัมมากัม
มันตะ ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ.
ภิกษุนั้นมีสติ ละมิจฉากัมมันตะได้ มีสติบรรลุสัมมากัมมันตะ
อยู่ สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ.

ธรรมะที่ห้อมล้อมสัมมากัมมันตะ

ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวา-
ยามะ ๑ สัมมาสติ ๑ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมากัมมันตะของ
ภิกษุนั้น.
[๒๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิ
ย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จัก มิจฉา-
อาชีวะว่าเป็นมิจฉาอาชีวะ รู้จักสัมมาอาชีวะว่าเป็นสัมมาอาชีวะ ความ
รู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ.

มิจฉาอาชีวะ

[๒๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาอาชีวะเป็นไฉน ? ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย การโกง ๑ การล่อลวง ๑ การตลบตะแลง ๑ การทำ
อุบายโกง ๑ การเอาลาภต่อลาภ ๑ นี้คือ มิจฉาอาชีวะ.

สัมมาอาชีวะ ๒

[๒๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะเป็นไฉน ? ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสัมมาอาชีวะไว้เป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาอาชีวะที่
 
๒๒/๒๗๓/๓๔๘

วันศุกร์, พฤษภาคม 10, 2567

Winyan

 
ดังนี้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงจำแนกอารมณ์อันแตกต่าง
โดยประเภทอารมณ์ ๖ พร้อมวิญญาณกาย ๖ อย่างย่อและตามความพอใจ
ของพาหิยะ ด้วยวิปัสสนา โดยโกฏฐาสทั้ง ๔ มีรูปอันตนเห็นแล้วเป็นต้น
แล้วจึงทรงแสดงญาตปริญญาและตีรณปริญญาในข้อนั้นแก่เธอ. อย่างไร ?
เพราะว่า ในข้อนี้รูปารมณ์เป็นอันชื่อว่า ทิฏฐะ เพราะอรรถว่าอันจักขุ-
วิญญาณพึงเห็น. ส่วนจักขุวิญญาณพร้อมวิญญาณที่เป็นไปทางจักขุทวาร
นั้น ชื่อว่า ทิฏฐะ เพราะอรรถว่าเห็น. แม้ทั้งสองอย่างนั้น เป็นเพียง
ธรรมที่เป็นไปตามปัจจัยเท่านั้น. ในข้อนี้ ใคร ๆ จะทำเองหรือให้ผู้อื่น
ทำก็หาได้ไม่. จริงอยู่ ในข้อนี้ มีอธิบายดังนี้ ว่า จักขุวิญญาณอาทิผิด อักขระนั้นชื่อว่า
ไม่เที่ยง เพราะมีแล้วกลับไม่มี ชื่อว่า เป็นทุกข์ เพราะถูกความเกิดขึ้น
และดับไปบีบคั้น ชื่อว่า เป็นอนัตตา เพราะอรรถว่าไม่เป็นไปในอำนาจ
เหตุนั้น ในข้อนั้น จะจัดเป็นโอกาสของธรรมมีความกำหนัดเป็นต้นแห่ง
บัณฑิตได้ที่ไหน.
พึงทราบวินิจฉัยแม้ในสุตะเป็นต้น บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงปหาน-
ปริญญาพร้อมมูลเหตุเบื้องสูง แก่บัณฑิตผู้ตั้งอยู่ในญาตปริญญาและตีรณ-
ปริญญา จึงเริ่มคำมีอาทิว่า ยโต โข เต พาหิย ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยโต ได้แก่ ในกาลใดหรือเพราะเหตุ
ใด. บทว่า เต ได้แก่ ตว แก่เธอ. บทว่า ตโต ได้แก่ ในกาลนั้นหรือ
เพราะเหตุนั้น. บทว่า เตน ความว่า ด้วยรูปอันเธอเห็นแล้วเป็นต้น
หรือด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น อันเนื่องกับรูปที่เธอเห็นแล้วเป็นต้น. ตรัส
คำนี้ไว้ว่า พาหิยะ ในกาลใด หรือเพราะเหตุใด เพียงรูปที่เธอเห็นแล้ว
เป็นต้น จักมีแก่เธอผู้ปฏิบัติตาม วิธีที่เรากล่าวแล้วในรูปที่เห็นแล้ว
 
๔๔/๕๐/๑๔๙

วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 09, 2567

Mi Yot

 
เมื่อคราวก่อน เพราะเหตุนางสุชาดาลูกสาวของอสูร แม้เหล่าใด แม้เหล่า
นั้นทั้งหมด เป็นพี่น้องของท้าววาสวะ. (พระอินทร์) พวกเหล่านั้นมีฤทธิ์ มียศอาทิผิด อาณัติกะ
บทว่า พวกกาลกัญชามีกายใหญ่พิลึก คือ และพวกอสูรกาลกัญชานิรมิต
ร่างใหญ่ น่าสะพึงกลัวแล้วก็มา. บทว่า พวกอสูรตระกูลทานเวฆัส ได้แก่
พวกอสูรถือธนู เหล่าอื่นชื่อทานเวฆัส. บทว่า เวปจิตติ สุจิตติ และ
ปหาราทะกับนมุจี ได้แก่ และพวกอสูรเหล่านี้ คือ อสูรชื่อเวปจิตติ ๑ อสูร
ชื่อสุจิตติ ๑. บทว่า กับนมุจี ได้แก่ และมาร ชื่อนมุจิ ผู้เป็นเทวบุตร ก็มา
พร้อมกับอสูรเหล่านั้นนั่นแล. อสูรเหล่านี้อยู่ในทะเล แต่นมุจีนี้อยู่ในเทวโลก
ชั้นปรนิมมิต เหตุไรจึงมาพร้อมกับอสูรเหล่านั้น ? เพราะเป็นพวกไม่ถูกใจ
เป็นพวกอภัพ. ส่วนนมุจีนี้ก็เช่นกันนั่นแหละ ธาตุถูกกัน เพราะฉะนั้นจึงมา.
บทว่า และพวกลูกของพลิผู้อสูรหนึ่งร้อย คือ ลูกร้อยหนึ่งของพลีผู้อสูร
ใหญ่ บทว่า ทุกตนชื่อไพโรจน์ คือทรงชื่อราหูผู้เป็นลุงของตนนั่นเอง.
บทว่า ผูกสอดเครื่องเสนาอันมีกำลัง คือ ผูกสอดเครื่องเสนาอันมีกำลัง
ของตนทุกตนกลายเป็นผู้จัดเครื่องสนามเสร็จแล้ว. บทว่า เข้าใกล้ราหุภัทร
แล้ว คือ เข้าหาจอมอสูรชื่อราหู. บทว่า ท่านผู้เจริญ บัดนี้ เป็นสมัย
ของท่าน คือ ความเจริญจงมีแก่ท่าน บัดนี้เป็นเวลาประชุม. อธิบายว่า
ท่านจงเข้าไปสู่ป่าเป็นที่ประชุมแห่งภิกษุทั้งหลาย เพื่อดูหมู่ภิกษุ.
บทว่า เหล่าอาโปเทพ เหล่าปฐวีเทพ เหล่าเตโชเทพ และ
เหล่าวาโยเทพ ก็มาในครั้งนั้น คือ เหล่าเทพที่มีชื่อขึ้นต้นว่า น้ำ เพราะ
ทำบริกรรมในกสิณน้ำเป็นต้นจึงเกิดขึ้นมา ก็มาในครั้งนั้น. บทว่า เหล่า
วรุณเทพ เหล่าวารุณเทพ และโสมเทพ กับยศเทพ ความว่า พวกเทพ
ที่มีชื่ออย่างนี้ คือ วรุณเทพ วารุณเทพ โสมเทพ ก็มาด้วยกัน กับยศเทพ.
๑. ปหาราทะ หายไป.
 
๑๔/๒๔๖/๑๑๐

วันพุธ, พฤษภาคม 08, 2567

Tang Yu

 
องค์ ๕๐ รูป แก่พวกข้าพระองค์ ๑๐๐ รูป ดังนี้ แล้วรับบาตรแม้ของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ปูลาดอาสนะน้อมนำถวายบิณฑบาตโดยเคารพ. พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า ทำภัตกิจเสร็จแล้ว ทรงตรวจดูจิตสันดานของสัตว์เหล่า
นั้น ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดให้บางพวกตั้งอยู่ในสรณคมน์ บาง
พวกตั้งอยู่ในศีล ๕ บางพวกตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคา-
มิผล อย่างใดอย่างหนึ่ง บางพวกบวชแล้วตั้งอาทิผิด อักขระอยู่ในพระอรหัต ซึ่งเป็นผล
เลิศ ทรงอนุเคราะห์มหาชนดังพรรณนามาฉะนั้นแล้ว ทรงลุกจากอาสนะ
เสด็จไปยังพระวิหาร ครั้นแล้วประทับนั่งบนพุทธอาสน์อันบวรซึ่งปูลาด
ไว้ในมัณฑลศาลา ทรงรอคอยการเสร็จภัตกิจของภิกษุทั้งหลาย ครั้นภิกษุ
ทั้งหลายเสร็จกิจเรียบร้อยแล้ว ภิกษุผู้อุปฐากก็กราบทูลพระผู้มีพระภาค-
เจ้าให้ทรงทราบ ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จเข้าพระคันธกุฎี.
นี้เป็นกิจในปุเรภัตก่อน.
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงบำเพ็ญกิจในปุเรภัต
เสร็จแล้วอย่างนี้ ประทับนั่ง ณ ศาลาปรนนิบัติใกล้พระคันธกุฎี ทรง
ล้างพระบาทแล้วประทับยืนบนตั่งรองพระบาท ประทานโอวาทภิกษุสงฆ์
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงยังประโยชน์ตนและประโยชน์
ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด และว่า
ทุลฺลภญฺจ มนุสฺสตฺตํ พุทฺธุปฺปาโท จ ทุลฺลโภ
ทุลฺลภา ขณสมฺปตฺติ สทฺธมฺโม ปรมทุลฺลภา
ทุลฺลภา สทฺธาสมฺปตฺติ ปพฺพชฺช จ ทุลฺลภา
ทุลฺลภํ สทฺธมฺมสฺสวนํ
 
๑๑/๙๐/๑๔๙

วันอังคาร, พฤษภาคม 07, 2567

Ying

 
เรานั้นคิดว่า จะถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ก็ซวนล้ม ณ ที่นั้นเอง เพราะความ
ที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. เรานั้นเมื่อจะยังร่างกายให้คล่องแคล่ว ก็ลูบตัวด้วย
ฝ่ามือ. เมื่อเราลูบตัวด้วยฝ่ามือ ขนทั้งหลายมีรากอันเน่าก็หลุดจากกาย เพราะ
ความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง.
วาทะและทิฐิของสมณพราหมณ์บางพวก
[๑๘๖] ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่าง
นี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า ความหมดจดย่อมมีได้ด้วยอาหาร. พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า
เราย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยถั่วเขียว ฯลฯ พวกเราย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยงา
ฯลฯ พวกเราย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยข้าวสาร ดังนี้. พวกเขาเคี้ยวกิน
ข้าวสารบ้าง ข้าวสารป่นบ้าง ดื่มน้ำข้าวสารบ้าง ย่อมบริโภคข้าวสารที่จัดทำ
ให้แปลกมีประการมิใช่น้อยบ้าง. ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมรู้สึกว่า กินข้าวสาร
เมล็ดเดียวเท่านั้น. ดูก่อนสารีบุตร เธอจะพึงมีความสำคัญว่า ข้าวสารในสมัย
นั้น ชะรอยจะเมล็ดใหญ่เป็นแน่. ข้อนี้ เธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น. แม้ในกาล
นั้น ข้าวสารที่เป็นขนาดใหญ่นั้นเทียว ก็มีเมล็ดเท่าข้าวสารในบัดนี้. ดูก่อน
สารีบุตร เมื่อเรากินข้าวสารเมล็ดเดียวเท่านั้น ร่างกายก็ถึงความซูบผอมยิ่งอาทิผิด สระนัก.
อวัยวะน้อยใหญ่ของเรา เปรียบเหมือนเถาวัลย์ที่มีข้อมากและข้อดำ เพราะความ
ที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. ตะโพกของเราเปรียบเหมือนรอยเท้าอูฐ เพราะความ
ที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. กระดูกสันหลังของเรานูนขึ้นเป็นปุ่ม ๆ เหมือนเถา
สะบ้า เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. กระดูกซี่โครงของเราเหลื่อมขึ้น
เหลื่อมลงเห็นปรากฏเหมือนกลอนแห่งศาลาเก่าเหลื่อมกันฉะนั้น เพราะความ
ที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. ดวงตาของเราลึกเข้าไปในเบ้าตาเหมือนเงาดวงดาว
ปรากฏในบ่อน้ำอันลึกฉะนั้น เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. หนัง
 
๑๘/๑๘๖/๕๙

วันจันทร์, พฤษภาคม 06, 2567

Itthibat

 
ปาสาทกัมปนวรรคที่ ๒

๑. ปุพพสูตร

วิธีเจริญอิทธิบาทอาทิผิด สระ

[๑๑๓๖] ในกรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อก่อนแต่ตรัสรู้ ครั้งเราเป็นพระโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ ได้มี
ความคิดอย่างนี้ว่า อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยของการเจริญอิทธิบาท.
[๑๑๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร
ดังนี้ว่า ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่
ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและ
เบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด
เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด
เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด
กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่.
[๑๑๓๘] ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธาน
สังขาร ดังนี้ว่า วิริยะของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป....
ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่.
[๑๑๓๙] ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิและ
ปธานสังขาร ดังนี้ว่า จิตของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคอง
เกินไป...ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่.
 
๓๑/๑๑๓๖/๑๓๘

วันอาทิตย์, พฤษภาคม 05, 2567

Utchara

 
มีกลิ่นเหม็น ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตหลุมถ่ายอุจจาระ
ขอบปากหลุมพัง... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อกรุ ๓ อย่าง
คือ ก่อด้วยอิฐ ก่อด้วยศิลา ก่อด้วยไม้ หลุมอุจจาระมีพื้นต่ำน้ำท่วมได้...ตรัส
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถมพื้นให้สูง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตให้ก่อกรุ ๓ อย่าง คือ ก่อด้วยอิฐ ก่อด้วยศิลา ก่อด้วยไม้ ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาต บันได ๓ อย่าง คือ บันไดอิฐ บันไดหิน บันไดไม้ ภิกษุทั้งหลาย
ขึ้นลงพลัดตกลงมา.. .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด
ภิกษุทั้งหลายนั่งถ่ายอุจจาระที่ริมหลุมพลัดตกลงไป. ..ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลาดพื้น แล้วเจาะช่องถ่ายอุจจาระตรงกลาง ภิกษุ
ทั้งหลายนั่งถ่ายอุจจาระลำบาก . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเขียง
รองเท้าถ่ายอุจจาระ ภิกษุทั้งหลายถ่ายปัสสาวะออกไปข้างนอก. . . ตรัสว่า ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรางรองปัสสาวะ ไม้ชำระไม่มี ...ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้ชำระ ตะกร้ารองรับไม้ชำระ หลุมอุจจาระอาทิผิด สระไม่
ได้ปิดมีกลิ่นเหม็น...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตฝาปิด.
พุทธานุญาตวัจจกุฎี
[๑๙๑] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถ่ายอุจจาระในที่แจ้งลำบากด้วยร้อน
บ้าง หนาวบ้าง จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตวัจจกุฎี วัจจกุฎีไม่มีบานประตู ...ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบานประตู กรอบเช็ดหน้า ครกรับเดือยบานประตู
ห่วงข้างบน สายยู ไม้หัวลิง กลอน ลิ่ม ช่องดาล ช่องเชือกชัก เชือกชัก
ผงหญ้าที่มุงวัจจกุฎี ตกลงเกลื่อน. . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
 
๙/๑๙๑/๖๙

วันเสาร์, พฤษภาคม 04, 2567

Khatika

 
[ว่าด้วยจงกรมและเรือนไฟ]
บทว่า อภิสนฺนกายา คือ ผู้มีกายหมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษมี
เสมหะเป็นต้น.
เสาสำหรับใส่ลิ่ม ขนาดเท่ากับบานประตูพอดี เรียกชื่อว่าอัคคฬวัฏฏิ
เสาสำหรับใส่ลิ่มนั้น เป็นเสาที่เขาเจาะรูไว้ ๓-๔ รู แล้ว ใส่ลิ่ม.
ห่วงสำหรับใส่ดาล ที่เขาเจาะบานประตูแล้วตรึงติดที่บานประตูนั้น
เรียกชื่อว่า สลักเพชร. ลิ่มที่เขาทำช่องที่ตรงกลางสลักเพชรแล้วสอดไว้ ชื่อ
สูจิกา กลอนที่เขาติดไว้ข้างบนสลักเพชร ชื่อฆฏิกาอาทิผิด อักขระ.
สองบทว่า มณฺฑลิกํ กาตุํ มีความว่า เราอนุญาตให้ก่อพื้นให้ต่ำ.
ปล่องควันนั้น ได้แก่ ช่องสำหรับควันไฟออก.
บทว่า วาเสตุํ มีความว่า เราอนุญาตให้อบด้วยของหอมทั้งหลาย.
อุทกนิธานนั้น ได้แก่ ที่สำหรับขังน้ำ ภิกษุใช้หม้อตักน้ำขังไว้ใน
นั้นแล้ว เอาขันตักน้ำใช้.
ซุ้มน้ำ ได้แก่ ซุ้มประตู.
วินิจฉัยในคำว่า ติสฺโส ปฏิจฺฉาทิโย นี้ พึงทราบดังนี้ :-
เครื่องปกปิด คือ เรือนไฟ ๑ เครื่องปกปิด คือ น้ำ ๑ ควรแก่
ภิกษุผู้ทำบริกรรมเท่านั้น. ไม่ควรในสามีจิกรรมทั้งหลายมีอภิวาทเป็นต้นที่ยัง
เหลือ. เครื่องปกปิด คือ ผ้า ควรในกรรมทั้งปวง
ข้อว่า น้ำไม่มีนั้น ได้แก่ ไม่มีสำหรับอาบ.
บทว่า ตุลํ ได้แก่ คันสำหรับโพงเอาน้ำขึ้น ดังคันชั่งของพวกชาว
ตลาด.
ยนต์ที่เทียมโค หรือใช้มือจับชักด้วยเชือกอันยาว เรียกว่า
ระหัด.
 
๙/๑๙๗/๙๒

วันศุกร์, พฤษภาคม 03, 2567

Trong

 
บัดนี้เราจะคุมจิตไว้. เมื่อเธอคุมจิตไว้ และไม่ตรึก ไม่ตรอง ย่อมรู้ชัดว่า
เราไม่มีวิตก เราไม่มีวิจาร มีสติในภายใน เป็นผู้มีความสุข ดังนี้ ดูก่อน
อานนท์ ภาวนาย่อมมีเพราะตั้งจิตไว้ ด้วยประการฉะนี้แล.
[๗๑๙] ดูก่อนอานนท์ ก็ภาวนาย่อมมีเพราะไม่ตั้งจิตไว้ในภายนอก.
อย่างไร. ดูก่อนอานนท์ ภิกษุมิได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า จิต
อันเรามิได้ตั้งไว้ในภายนอก ในลำดับนั้น เธอย่อมรู้ชัดว่า จิตของเราไม่ได้
ฟุ้งซ่านไปข้างหลังและข้างหน้า พ้นแล้วมิได้ตั้งอยู่ ก็แลในกาลนั้น เธอย่อม
รู้ชัดว่า เราย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ เป็นผู้มีความสุข ดังนี้.
[๗๒๐] ดูก่อนอานนท์ ภิกษุมิได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า
จิตอันเรามิได้ตั้งไว้ในภายนอก ในลำดับนั้น เธอย่อมรู้ชัดว่า จิตของเราไม่
ฟุ้งซ่านไปข้างหลังและข้างหน้า พ้นแล้ว มิได้ตั้งอยู่ ก็แลในกาลนั้น เธอ
ย่อมรู้ชัดว่า เราย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ เป็นผู้มีความสุข ดังนี้.
[๗๒๑] ดูก่อนอานนท์ ภิกษุมิได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า
จิตอันเรามิได้ตั้งไว้ในภายนอก ในลำดับนั้น เธอย่อมรู้ชัดว่า จิตของเราไม่
ฟุ้งซ่านไปข้างหลังและข้างหน้า พ้นแล้ว มิได้ตั้งอยู่ ก็แลในกาลนั้น เธอ
ย่อมรู้ชัดว่า เราย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ เป็นผู้มีความสุข ดังนี้.
[๗๒๒] ดูก่อนอานนท์ ภิกษุมิได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า
จิตอันเรามิได้ตั้งไว้ในภายนอก ในลำดับนั้น เธอย่อมรู้ชัดว่า จิตของเรามิได้
ฟุ้งซ่านไปข้างหลังและข้างหน้า พ้นแล้ว มิได้ตั้งอยู่ ก็แลในกาลนั้น เธอย่อม
 
๓๐/๗๑๘/๔๐๕

วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 02, 2567

Athi

 
บัดนี้ พึงทราบการพรรณนาตามบทในคำวินิจฉัยว่า ยสฺมึ สมเย
เป็นต้นนี้ ต่อไป.
บทว่า ยสฺมึ เป็นอรรถแสดงถึงสัตตมีวิภัตติโดยไม่แน่นอน.
บทว่า สมเย เป็นคำแสดงถึงสมัยที่แสดงไว้โดยไม่กำหนด. สมัยทรง
แสดงโดยไม่กำหนดไว้ด้วยคำมีประมาณเท่านี้. ในคำว่า สมัยนั้น สมยศัพท์
ท่านใช้ในอรรถว่า พร้อมเพรียง ในขณะ ในกาล ในการประชุม
ในเหตุ ในทิฏฐิ การได้เฉพาะ การละ การแทงตลอด.
จริงอย่างนั้น สมยศัพท์นั้น ใช้ในความหมายว่า ความพร้อมเพรียง
ดังในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า ถ้ากระไรแม้วันพรุ่งนี้ พวกเราใคร่ครวญ
กาลและความพร้อมเพรียงกันแล้วพึงเข้าไปหา. ใช้ในความหมายว่า ขณะ
ดังประโยคมีอาทิอาทิผิด ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขณะ (โอกาส) และสมัยในการอยู่
ประพฤติพรหมจรรย์มีประการเดียวแล. ใช้ในความหมายถึงกาล (เวลา) ดัง
ในประโยคมีอาทิว่า ฤดูร้อนเป็นเวลาเร่าร้อน. ใช้ในความหมายว่า ประชุม
ดังในประโยคมีอาทิว่า การประชุมใหญ่ มีในป่าใหญ่. ใช้ในความหมายว่า
เหตุ ดังในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนภัททาลิ แม้เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่พระนครสาวัตถีแล แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็จักทรงทราบเราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิไม่ทำให้บริบูรณ์ ในสิกขา ในศาสนา
ของพระศาสดาดังนี้ ดูก่อนภัททาลิ เหตุแม้นี้แล เธอก็ไม่แทงตลอดแล้ว.
ใช้ในความหมายว่า ทิฏฐิ ดังในประโยคมีอาทิว่า ก็ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่อ
อุคคาหมานะ เป็นบุตรของนางสมณมุณฑิกา อาศัยอยู่ในอารามของพระนาง
มัลลิกาเทวี อันมีศาลาหลังเดียว แวดล้อมด้วยแถวต้นมะพลับ เป็นที่ประชุม
แสดงลัทธิ. ใช้ในความหมายว่า การได้เฉพาะ ดังในประโยคมีอาทิว่า
 
๗๕/๑๖/๒๑๗

วันพุธ, พฤษภาคม 01, 2567

Yot

 
บำเพ็ญตบะ ส่วนนางจันทวดี จงอยู่ในแว่น
แคว้นของพระองค์เถิด.
จบ โลมสกัสสปชาดกที่ ๗

อรรถกถาโลมสกัสสปชาดกที่ ๗

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุผู้กระสันรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อสฺส อินฺทสโม
ราชา ดังนี้.
ความย่อมีว่า พระศาสดาตรัสถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ
เขาว่าเธอกระสันจริงหรือ ? เมื่อภิกษุรูปนั้น กราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า
จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ก็ลมที่พัดภูเขาสิเนรุให้หวั่นไหว ทำไมจึงจักไม่
พัดใบไม้เก่า ๆ ให้หวั่นไหวเล่า แม้ผู้ที่เพียบพร้อมไปด้วยยศอาทิผิด อักขระทั่ว ๆ ไป ยัง
ถึงความเสื่อมยศได้ ชื่อว่ากิเลส ย่อมทำสัตว์ที่บริสุทธิ์ให้เศร้าหมองได้
จะป่วยกล่าวไปไยถึงคนเช่นเธอ ดังนี้ แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมา
สาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล โอรสของพระเจ้าพรหมทัตผู้ครองพระนครพาราณ-
สี ชื่อว่า พรหมทัตตกุมาร และบุตรของปุโรหิต ชื่อว่า กัสสปะ เป็น
สหายกัน เรียนศิลปะทุกอย่างในตระกูลอาจารย์คนเดียวกัน ต่อมา
เมื่อพระราชบิดาสวรรคต พรหมทัตตกุมารได้ครองราชสมบัติ ทีนั้น
 
๕๙/๑๒๗๓/๖๘๖