วันศุกร์, กันยายน 30, 2565

Samoe

 
๑๐. ธัมมิกเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระธัมมิกเถระ
[๓๓๒] ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรมอันบุคคล
ประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้ นี้เป็นอานิสงส์ในธรรม
อันบุคคลประพฤติดีแล้ว ผู้ประพฤติธรรมย่อมไม่ไปสู่
ทุคติ สภาพทั้งสองคือ ธรรมและอธรรม ย่อมมีวิบาก
ไม่เสมออาทิผิด อักขระกัน อธรรมย่อมนำไปสู่นรก ธรรมย่อมนำให้ถึง
สุคติ เพราะฉะนั้นแหละ บุคคลเมื่อบันเทิงอยู่ด้วยการ
ให้โอวาทที่พระตถาคตผู้คงที่ตรัสไว้อย่างนี้ ควรทำความ
พอใจในธรรมทั้งหลาย เพราะพระสาวกทั้งหลายของ
พระตถาคตผู้ประเสริฐ เป็นนักปราชญ์ ตั้งอยู่แล้วใน
ธรรม นับถือธรรมว่าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐสุด ย่อมนำตน
ให้พ้นจากทุกข์ได้ ผู้ใดกำจัดรากเหง้าแห่งหัวฝี ถอนข่าย
คือตัณหาได้แล้ว ผู้นั้นเป็นผู้สิ้นสงสาร ไม่มีกิเลสเครื่อง
กังวลอีก เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญปราศจากโทษ
ฉะนั้น.
จบธัมมิกเถรคาถา

อรรถกถาธัมมิกเถรคาถาที่ ๑๐

คาถาของท่านพระธัมมิกเถระมีคำเริ่มต้นว่า ธมฺโม หเว ดังนี้.
เรื่องนั้น มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?
พระเถระแม้นี้ ได้ทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน
 
๕๒/๓๓๒/๕๐

วันพฤหัสบดี, กันยายน 29, 2565

Ru

 
พระองค์นั้น แหละจักเป็นบุคคลผู้เลิศในโลกนี้ เกิดศรัทธาในพระผู้มีพระภาคเจ้า
บวชในสำนักของพระศาสดาแล้ว ประกอบเนือง ๆ ซึ่งกัมมัฏฐาน บรรลุพระ
อรหัตต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ในภิกษุสงฆ์
ผู้ยอดเยี่ยมของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า
ปทุมุตตระ จึงได้ตักน้ำใส่หม้อน้ำฉันจนเต็ม ในเวลา
ที่เราจะต้องการน้ำ จะเป็นยอดภูเขา ยอดไม้ในอากาศ
หรือพื้นดิน น้ำย่อมเกิดแก่เราทันที ในกัปที่แสนแต่
กัปนี้ เราได้ให้ทานใด ในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เรา
ไม่รู้อาทิผิด อาณัติกะจักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการให้น้ำเป็นทาน เรา
เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ภพทั้งปวงเราถอนขึ้นแล้ว ฯ ล ฯ
อภิญญา ๖ เรากระทำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระ-
พุทธเจ้าเรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็ท่านครั้นบรรลุพระอรหัตอย่างนี้แล้ว เสวยวิมุตติสุขอยู่ เพื่อจะ
ให้เกิดความอุตสาหะแก่เพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ด้วยการแสดงให้เห็นชัดซึ่ง
ข้อที่พระศาสนาเป็นนิยยานิกธรรม จึงได้ภาษิตคาถาว่า
ภิกษุมีกำลังปัญญา สมบูรณ์ด้วยศีลและวัตร
มีจิตตั้งมั่น ยินดีในฌาน มีสติ บริโภคโภชนะตามมี
ตามได้ มีราคะไปปราศแล้ว พึงหวังได้ซึ่งกาลปริ
นิพพานในศาสนานี้ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺญาพลี ความว่า ผู้ประกอบไปด้วย
ปัญญา อันดียิ่งเนือง ๆ ด้วยสามารถแห่งปาริหาริกปัญญาและวิปัสสนาปัญญา.
 
๕๐/๑๔๙/๑๑๙

วันพุธ, กันยายน 28, 2565

Wang

 
อรรถกถารถสูตรที่ ๒
ในรถสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ .
บทว่า สุขโสมนสฺสพหุโล ความว่า ภิกษุชื่อว่าผู้มากด้วยสุขและ
โสมนัส เพราะภิกษุนั้นมีสุขทางกาย และมีสุขทางใจมาก. บทว่า โยนิ
จสฺส อารทฺธา โหติ ความว่า และเหตุของภิกษุนั้นบริบูรณ์. ในบท
อาสวานํ ขยา นี้ท่านประสงค์เอาพระอรหัตตมรรคว่าอาสวักขัย. อธิบายว่า
เพื่อประโยชน์แก่พระอรหัตนั้น. บทว่า โอธตปโตโท ได้แก่แส้ที่วางอาทิผิด อักขระขวาง
ไว้กลางรถ บทว่า เยนิจฺฉกํ ได้แก่ปรารถนาไปทางทิศใด บทว่า ยทิจฺฉกํ
ได้แก่ ปรารถนาการไปใดๆ. บทว่า สาเรยฺย แปลว่า พึงส่งไปวิ่งไปข้างหน้า
บทว่า ปจฺจาสาเรยฺย แปลว่า พึงวิ่งกลับ ( ถอยหลัง ) บทว่า อารกฺขาย
แปลว่า เพื่อประโยชน์แก่อันรักษา. บทว่า สญฺญมาย ได้แก่ เพื่อห้าม
ความสลดใจ. บทว่า ทมาย ได้แก่ เพื่อหมดพยศ. บทว่า อุปสมาย
ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่การเข้าไปสงบกิเลส.
ในบทว่า เอวเมวโข มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- เหมือนอย่างว่า
เมื่อนายสารถี ผู้ไม่ฉลาด เทียมม้าสินธพที่ไม่ได้ฝึก ขับรถไปตามทางขรุขระ
(ไม่สม่ำเสมอ) แม้ล้อก็ย่อมแตก แม้เพลาและกีบของม้าสินธพ ก็ถึงความ
ย่อยยับกับทั้งตนเอง และไม่สามารถจะให้แล่นไปได้ตามทางไปตามที่ต้อง
การได้ฉันใด ภิกษุผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ๖ ก็ฉันนั้น ไม่สามารถ
เสวยความยินดีในความสงบตามที่ต้องการได้. ส่วนนายสารถีผู้ฉลาด
เทียมม้าสินธพที่ฝึกแล้ว ให้รถแล่นในพื้นที่เรียบ จับเชือก ตั้งสติไว้
ที่กีบม้าสินธพทั้งหลาย ถือแส้จับให้หมดพยศขับไป ให้มันวิ่งไปตามทาง
ไปที่ตนต้องการ ๆ ฉันใด ภิกษุผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้ง ๖ ก็ฉันนั้น
 
๒๘/๓๑๙/๓๙๗

วันอังคาร, กันยายน 27, 2565

To

 
มาในบาลีนี้ว่า บุคคลพึงปลูกพืชทั้งหลายที่พื้นที่ดี ที่นาดี ที่ปราศจากตออาทิผิด อักขระ.
บทว่า จาตุมฺมหาปเถ ได้แก่ ในที่ทางใหญ่สองสายผ่านแยกกันไป. บทว่า
อาชญฺญรโถ ได้แก่ รถเทียมด้วยม้าที่ฝึกแล้ว. บทว่า โอสตปโฏโท
ความว่า ปฏักที่ห้อย ตั้งขวางไว้โดยอาการที่สารถีขึ้นรถยืนอยู่ สามารถถือ
เอาได้. บทว่า โยคฺคาจริโย แปลว่า อาจารย์ฝึกม้า. ชื่อว่า อสฺสทมฺม-
สารถิ (สารถีผู้ฝึกม้า) เพราะอาจารย์ฝึกม้านั้นแหละ ยังม้าที่ฝึกให้วิ่งไป.
บทว่า เยนิจฺฉกํ ได้แก่ ปรารถนาจะไปโดยทางใด ๆ. บทว่า ยทิจฺฉกํ
ได้แก่ ประสงค์การไปใด ๆ. บทว่า สาเรยฺย ได้แก่ ขับตรงไปข้างหน้า.
บทว่า ปจฺจาสาเรยย ได้แก่ พึงขับกลับ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัส
สมาปัตติบริกรรมด้วยองค์ ๕ ในภายหลังอย่างนี้แล้วทรงแสดงอานิสงส์แห่ง
สมาบัติอันคล่องแคล่วด้วยอุปมา ๓ เหล่านี้ บัดนี้ เพื่อทรงแสดงลำดับแห่ง
อภิญญาของพระขีณาสพ จึงตรัสคำมีอาทิว่า โส สเจ อากงฺขติ ดังนี้.
คำนั้นมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอังคิกสูตรที่ ๘
๙. จังกมสูตร
ว่าด้วยอานิสงส์แห่งการจงกรม ๕ ประการ
[๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการจงกรม ๕ ประการนี้
๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เดินจงกรมย่อมเป็นผู้อดทนต่อการเดินทางไกล ๑
ย่อมเป็นผู้อดทนต่อการบำเพ็ญเพียร ๑ ย่อมเป็นผู้มีอาพาธน้อย ๑ อาหาร
 
๓๖/๒๙/๕๔

วันจันทร์, กันยายน 26, 2565

Nipunang

 
บทว่า พุทฺธสฺส ได้แก่ พระสัพพัญญูพุทธเจ้า. บทว่า อาทิจฺจ-
พนฺธุโน ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า อาทิจจพันธุ์ เพราะ
อรรถว่า มีพระอาทิตย์เป็นเผ่าพันธุ์ เพราะประสูติในอาทิตยวงศ์. ของพระผู้มี
พระภาคเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพระอาทิตย์พระองค์นั้น. อีกอย่างหนึ่ง พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า อาทิจจพันธุ์ เพราะอรรถว่า เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระอาทิตย์ เพราะความที่พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นโอรสแห่งพระ-
อาทิตย์นั้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
สุริยะใดเป็นผู้ส่องแสง กระทำความสว่างในที่
มืดมิด มีสัณฐานเป็นวงกลม มีเดชสูง ดูก่อนราหู
ท่านอย่ากลืนกินสุริยะนั้น ผู้เที่ยวไปในอากาศ ดูก่อน
ราหู ท่านจงปล่อยสุริยะ ผู้เป็นบุตรของเรา ดังนี้.
บทว่า ปจฺจพฺยธึ แปลว่า แทงตลอดแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า
หิ เป็นเพียงนิบาต.
บทว่า นิปุณํอาทิผิด สระ ความว่า ละเอียดอ่อน คือ สุขุมอย่างยิ่ง ได้แก่
นิโรธสัจ หรืออริยสัจนั่นเอง. อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า หิ เป็นนิบาต ลงใน
อรรถแห่งเหตุ. ความก็ว่า เพราะแทงตลอดแล้ว ซึ่งสัจจธรรมทั้ง ๔ อัน
ละเอียดอ่อน ฉะนั้น สิ่งอะไรที่จะต้องแทงตลอดอีก ในบัดนี้จึงไม่มี. เพื่อ
จะตอบคำถามที่ว่า เหมือนแทงตลอดซึ่งอะไร พระเถระจึงกล่าวว่า เหมือน
บุคคลแทงปลายขนทรายด้วยลูกศร ฉะนั้น. ประกอบความว่า แทงตลอด
อริยสัจ ๔ อันละเอียดอ่อน เหมือนนายขมังธนูผู้ฉลาด ผู้ศึกษาดีแล้ว ยิง
ปลายขนทราย ที่ผ่าแล้ว ๗ ส่วน ด้วยลูกศร คือลูกเกาทัณฑ์ไม่ให้พลาดฉะนั้น.
จบอรรถกถาอภัยเถรคาถา
 
๕๐/๑๖๓/๑๗๘

วันอาทิตย์, กันยายน 25, 2565

Nang Suea

 
ครั้งนั้น ศิษย์ของเราคนหนึ่งได้บอกแก่
ศิษย์ทั้งหลายของเรา พวกเขาได้ฟังความนั้น จึง
ได้บอกแก่เรา เราคิดว่าพระสัพพัญญูพุทธเจ้า
ผู้เป็นนายกของโลก เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ชนย่อม
อนุวัตรตามพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เราไม่มีลาภ
พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้มีการอุบัติ
เลิศลอย มีจักษุ ทรงยศใหญ่ ไฉนหนอ เราพึง
เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด เป็นผู้นำโลก
เราถือหนังเสืออาทิผิด สระ ผ้าเปลือกไม้กรอง และ
คนโทน้ำของเรา แล้วออกจากอาศรม เชิญชวน
พวกศิษย์ว่า
ความเป็นผู้นำโลกหาได้ยาก เหมือนกับ
ดอกมะเดื่อ กระต่ายในดวงจันทร์หรือเหมือนกับ
น้ำนมกา ฉะนั้น
พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว
แม้ความเป็นมนุษย์ก็หาได้ยาก และเมื่อความมี
พระพุทธเจ้าผู้นำโลกและความเป็นมนุษย์ทั้งสอง
อย่างมีอยู่ การได้ฟังธรรมก็ยังได้ยาก
พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พวก
เราจักได้ดวงตาเห็นธรรมอันเป็นของพวกเรา มา
เถอะท่านทั้งหลาย เราจักไปยังสำนักของพระ-
พุทธเจ้าด้วยกันทุกคน
 
๗๒/๗๒/๑๑๗

วันเสาร์, กันยายน 24, 2565

Phop

 
มีความเพ่งอยู่ไม่หวั่นไหว ไม่มีความสงสัย
ดับแล้วเพราะไม่ถือมั่น เราเรียกผู้นั้นว่า
เป็นพราหมณ์ ผู้ใดละกามได้ขาดแล้ว
เป็นบรรพชิต เว้นรอบในโลกนี้ เราเรียก
ผู้มีกามและภพอาทิผิด สระสิ้นรอบแล้วนั้น ว่าเป็น
พราหมณ์ ผู้ใดละตัณหาได้ขาดแล้ว เป็น
บรรพชิต เว้นรอบในโลกนี้ เราเรียกผู้มี
กามและภพสิ้นรอบแล้วนั้น ว่าเป็น
พราหมณ์ ผู้ใดละกามคุณอันเป็นของ
มนุษย์ ล่วงกามคุณอันเป็นของทิพย์แล้ว
เราเรียกผู้ไม่ประกอบด้วยกิเลสเครื่องประ-
กอบทั้งปวงนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เราเรียก
บุคคลผู้ละความยินดี และความไม่ยินดี
เป็นผู้เย็น ไม่มีอุปธิครอบงำโลกทั้งปวง
ผู้แกล้วกล้านั้น ว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ใดรู้
จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย โดยประ-
การทั้งปวง เราเรียกผู้ไม่ข้อง ผู้ไปดี
ตรัสรู้แล้วนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เทวดา
คนธรรพ์และหมู่มนุษย์ไม่รู้คติของผู้ใด
เราเรียกผู้นั้นผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นพระ-
อรหันต์ ว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ใดไม่มีกิเลส
เครื่องกังวลทั้งข้างหน้า ข้างหลัง และ
ท่ามกลาง เราเรียกผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล
 
๒๑/๗๐๗/๔๑๒

วันศุกร์, กันยายน 23, 2565

Phuea

 
ราหุลสูตรที่ ๑๑
ว่าด้วยไม่ดูหมิ่นบัณฑิต
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า
[๓๒๘] เธอทั้งหลายย่อมไม่ดูหมิ่น
บัณฑิต เพราะการอยู่ร่วมกันเนือง ๆ แล
หรือ การทรงคบเพลิง เพื่อมนุษย์ทั้งหลาย
เธอนอบน้อมแล้วแลหรือ.
พระราหุลกราบทูลว่า
ข้าพระองค์ย่อมไม่ดูหมิ่นบัณฑิต
เพราะการอยู่ร่วมกันเนือง ๆ การทรงคบ
เพลิงเพื่ออาทิผิด อักขระมนุษย์ทั้งหลาย ข้าพระองค์นอบ-
น้อมแล้วเป็นนิตย์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
เธอละกามคุณห้ามีรูปเป็นที่รัก เป็น
ที่รื่นรมย์ใจ ออกบวชด้วยศรัทธาแล้ว จง
กระทำที่สุดทุกข์เถิด.
เธอจงคบกัลยาณมิตร จงเสพที่นอน
ที่นั่งอันสงัดเงียบ ปราศจากเสียงกึกก้อง
จงรู้จักประมาณในโภชนะ.
 
๔๗/๓๒๘/๒๙๔

วันพฤหัสบดี, กันยายน 22, 2565

Phuen

 
พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องหญิงตาย ดังนี้:- เป็นถุลลัจจัยในเวลา
พอจะเป็นปาราชิก นอกจากนั้น เป็นทุกกฏ.
พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องดิรัจฉาน ดังนี้:- (เคล้าคลึงกาย) กับ
นางนาคมาณวิกาก็ดี กับนางสุบรรณมาณวิกาก็ดี กับนางกินรีก็ดี กับ
แม่โคก็ดี เป็นทุกกฏทั้งนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องตุ๊กตาไม้ ดังนี้:- มิใช่กับไม้อย่างเดียว
เท่านั้น โดยที่สุดแม้ในรูปหญิงที่เขาเขียนจิตรกรรมไว้ ก็เป็นทุกกฏ
เหมือนกัน. เรื่องบีบบังคับภิกษุ มีอรรถกระจ่างทั้งนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องสะพาน ดังนี้:- สะพานที่คนเดินได้
จำเพาะคนเดียวก็ตาม สะพานที่เป็นทางเกวียนข้ามก็ตามที เพียงแต่
ภิกษุกระทำประโยคด้วยตั้งใจว่า เราจักเขย่าสะพาน ดังนี้ จะเขย่าก็ตาม
ไม่เขย่าก็ตาม เป็นทุกกฏ เรื่องหนทาง ปรากฏชัดแล้วแล.
พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องต้นไม้ ดังนี้:- ต้นไม้เป็นไม้ใหญ่ขนาด
เท่าต้นหว้าใหญ่ก็ตาม เป็นต้นไม้เล็กก็ตาม ภิกษุอาจเพื่อเขย่าก็ตาม
ไม่อาจเพื่อจะเขย่าก็ตาม เป็นทุกกฏ เพราะเหตุเพียงแต่มีความพยายาม
แม้ในเรื่องเรือ ก็มีนัย เช่นนี้เหมือนกัน.
พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องเชือก ดังนี้:- ภิกษุอาจเพื่อจะดึงเชือก
ให้เคลื่อนจากฐานได้ เป็นถุลลัจจัยในเพราะเชือกนั้น. เชือกชนิดใดเป็น
เชือกเส้นใหญ่ ย่อมไม่เคลื่อนไหวจากฐาน แม้เพียงเล็กน้อยเป็นทุกกฏ
ในเพราะเชือกนั้น. แม้ในขอนไม้ก็มีนัยเช่นนี้ เหมือนกัน. จริงอยู่ แม้
ต้นไม้ใหญ่ที่ล้มลงบนพื้นอาทิผิด อักขระดิน ก็ทรงถือเอาแล้วด้วยทัณฑศัพท์เหมือนกัน
ในเรื่องขอนไม้นี้. เรื่องบาตรปรากฏชัดแล้วแล.
 
๓/๓๙๖/๑๘๐

วันพุธ, กันยายน 21, 2565

Chettana

 
กรรม ชื่อว่า ธุระ. เจตนา แม้ที่จะถึงในพระสูตรลำดับต่อไป อย่างนี้ว่า
บุญกรรม ๔ เหล่านี้ เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองประกาศแล้ว ชื่อว่า
ธุระ. เจตนาที่เป็นไปในกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ มีประเภทเช่น กรรมดำ
มีวิบากดำ เป็นต้น. แม้ในนิทเทสวารแห่งกรรมนั้น ท่านก็กล่าวเจตนาอาทิผิด สระนั้น
ไว้โดยนัยว่า ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร พร้อมทั้งความเบียดเบียน ดังนี้เป็นต้น.
ส่วนเจตนาที่เป็นไปในกายทวาร ท่านหมายเอาว่ากายกรรมในสูตรนี้. เจตนาที่
เป็นไปในวจีทวาร เป็นวจีกรรม. เจตนาที่เป็นไปในมโนทวารเป็นมโนกรรม
เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวว่า กรรม ในพระสูตรนี้ชื่อว่า ธุระ, เจตนาในพระ
สูตรลำดับต่อไป ก็ชื่อว่า ธุระ. แท้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติกรรม
ว่ากรรม เหมือนอย่าง แม้เจตนาในพระสูตรนี้นี่แล ก็ชื่อว่า กรรมเหมือน
กัน. สมดังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนา
ว่ากรรม เพราะคนคิดแล้วจึงทำกรรม.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร จึงตรัสเรียก เจตนาว่ากรรม.
ตอบว่า เพราะกรรมมีเจตนาเป็นมูล.
ก็ในอกุศลและกุศลทั้งสองนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสกายกรรม
วจีกรรม ที่ถึงอกุศลว่าเป็นใหญ่ ดังนี้ ย่อมไม่ลำบาก ตรัสมโนกรรมฝ่ายกุศล
ว่า เป็นใหญ่ ดังนี้ ก็ไม่ลำบาก จริงอย่างนั้น บุคคลพยายามด้วยกายอย่าง
เดียวกระทำกรรม ๔ (อนันตริยกรรม) มีมาตุฆาตเป็นต้น ก็ด้วยกายเท่านั้น
บุคคลกระทำกรรมคือ สังฆเภท (ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน) อันจะยังผลให้บุคคล
ตั้งอยู่ในนรกถึงกัปหนึ่ง ก็ด้วยวจีทวาร ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
กายกรรม วจีกรรม ฝ่ายอกุศลว่าเป็นใหญ่ จึงชื่อว่า ไม่ลำบาก. ส่วนเจตนา
ในฌานอย่างเดียวย่อมนำสวรรค์สมบัติมาให้ถึง ๘๔,๐๐๐ กัป เจตนาในมรรค
อย่างเดียวเพิกถอนอกุศลทุกอย่างย่อมถือเอาพระอรหัตได้ ดังนั้น พระผู้มีพระ-
 
๒๐/๘๓/๑๓๘

วันอังคาร, กันยายน 20, 2565

Phra

 
พ่อคุณในเพราะบทนี้ พระราชาทรงพระราชทานทรัพย์ให้พ่อเท่าไร. พวก
พ่อค้ากราบทูลว่า ๑ แสนพระเจ้าข้า. พระราชเทวีตรัสว่า พ่อคุณ พระราชา
พระราชทานทรัพย์ ๑ แสนแก่พวกท่าน เพราะได้สดับข่าวสารถึงขนาดนี้
นับว่าทรงกระทำไม่สมควรเลย เราจะให้ทรัพย์ ๓ แสน ในเพราะบรรณา
การอันยากแค้นของเรา แก่พวกท่าน พวกท่านได้กราบทูลเรื่องอะไรอย่างอื่น
อีกหรือไม่ พวกพ่อค้าเหล่านั้น กราบทูลถึงข่าวสาร ๒ อย่างแม้นอกนี้ให้
ทรงทราบว่า เรื่องนี้ และเรื่องนี้ พระราชเทวี ไม่อาจจะกำหนดอะไร ๆ
ได้ตลอด ๓ วาระ เหมือนกับนัยที่กล่าวแล้วในตอนแรกนั่นแล ทุก ๆ ครั้งที่
๔ ได้พระราชทานทรัพย์ครั้งละ ๓ แสน รวมความว่า พวกพ่อค้าเหล่านั้น
ได้รับทรัพย์ทั้งหมดไปถึง ๑๒ แสน.
ลำดับนั้น พระราชเทวีจึงตรัสถามพวกพ่อค้าเหล่านั้นว่า พ่อคุณ พระ-
ราชาเสด็จไปในที่ไหนเล่า พวกพ่อค้าจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระเทวี พระอาทิผิด อักขระราชา
ตรัสว่า เราจักบวชอุทิศพระศาสดาแล้วก็เสด็จไป พระราชเทวี ตรัสถามว่า
ข่าวสารอะไรที่พระราชาพระองค์นั้น ได้มอบแก่เรามีไหม พวกพ่อค้ากราบ
ทูลว่า นัยว่า ทรงสละมอบความเป็นใหญ่ทั้งหมดแด่พระองค์ นัยว่า พระ-
องค์จงเสวยสมบัติตามความสุขสำราญเถิด. พระราชเทวี ตรัสถามว่า พวก
อำมาตย์ไปไหนเสียเล่าพ่อคุณ. พวกพ่อค้ากราบทูลว่า ข้าแต่พระราชเทวี แม้
พวกอำมาตย์เหล่านั้นก็พูดว่า พวกเราจักบวชกับพระราชาแล้วไปแล้ว พระ-
ราชเทวีพระองค์นั้น จึงรับสั่งเรียกหาพวกภรรยาของอำมาตย์เหล่านั้นมาแล้ว
ตรัสว่า แม่คุณ สามีของพวกเจ้าสั่งไว้ว่า พวกเราจักบวชกับพระราชา แล้ว
 
๗๒/๑๒๓/๒๔๘

วันจันทร์, กันยายน 19, 2565

Kasawaphat

 
รำลึกอยู่ว่า บัดนี้ เราทำลายกระท่อมคือท้องของมารดาแล้ว. การปฏิสนธิ
ในภพทั้ง ๓ เราตัดขาดแล้ว. ส้วมแหล่งอุจจาระ คือสงสารเราล้างแล้ว.
ทะเลน้ำตาเราวิดแห้งแล้ว. กำแพงกระดูกเราพังแล้ว. เราจะไม่มีการ
ปฏิสนธิอีกดังนี้ ได้ทรงแต่งองค์ด้วยเครื่องประดับทั้งหมดประทับยืนอยู่
แล้ว. จึงอำมาตย์ทั้งหลายได้ทูลพระองค์ว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์
เสด็จประทับยืนนานเกินไปแล้ว.
รา. เราไม่ใช่พระราชา แต่เราเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า.
อำ. ข้าแต่สมมติเทพ ธรรมดา พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย
จะไม่เป็นเช่นกับด้วยพระองค์.
รา. ถ้าเช่นนั้นเป็นอย่างไร ?
อำ. โกนผมโกนหนวด ปกปิดร่างกายด้วยผ้ากาสาวพัสตร์อาทิผิด อักขระมี
ส่วนเปรียบเทียบด้วยดวงจันทร์ที่พ้นจากปากพระราหู พำนักอยู่ที่เงื้อม
นันทมูลในป่าหิมพานต์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเช่นนี้.
ในขณะนั้น พระราชาทรงยกพระหัตถ์ขึ้นลูบพระเกษา. ในทัน
ทีนั้นเอง เพศคฤหัสถ์ก็อันตรธานไป เพศสมณะก็ปรากฏขึ้น สมณ-
บริขารทั้งหลายที่พระองค์ตรัสถึงอย่างนี้ว่า :-
ไตรจีวร บาตร มีดโกน เข็ม รัดประคดพร้อมด้วยกระบอก
กรองน้ำ ๘ อย่างเหล่านี้ เป็นบริขารของภิกษุผู้ประกอบความเพียร
 
๕๙/๑๐๖๔/๓๔๙

วันอาทิตย์, กันยายน 18, 2565

Chalat

 
ก็นางนาคมาณวิกานั้นได้สดับพระดำรัสของพระ
บิดาแล้ว เป็นผู้มีจิตชุ่มด้วยกิเลส ออกเที่ยวแสวงหา
สามีในเวลากลางคืน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวสฺสตี จริ ความว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย นางนาคมาณวิกานั้น ได้สดับคำพระบิดาแล้ว จึงปลอบโยนพระ-
บิดาให้เบาพระทัยแล้วไปสู่สำนักพระมารดาแล้ว ไปยังห้องอันประกอบด้วยสิริ
ของตน ประดับพร้อมสรรพนุ่งผ้าสีดอกคำผืนหนึ่ง ทำเฉวียงบ่าผืนหนึ่ง แหวก
น้ำเป็นสองส่วน ออกจากนาคพิภพไปในคืนนั้นเอง เหาะไปสู่กาฬคิรีบรรพต
มีแท่งทึบเป็นอันเดียว มีสีดังดอกอัญชันสูงได้ ๖๐ โยชน์ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ฝั่ง
สมุทร ณ หิมวันตประเทศ เป็นผู้มีจิตชุ่มด้วยอำนาจกิเลส ได้เที่ยวแสวงหา
ภัสดาแล้ว.
นางอิรันทตีนาคกัญญานั้น เก็บดอกไม้ในหิมวันตประเทศนั้น ที่
สมบูรณ์ด้วยสีและกลิ่น มาประดับยอดบรรพตทั้งสิ้น ให้เป็นดุจพนมแก้วมณี
ลาดดอกไม้ที่พื้นเบื้องบนแห่งบรรพตนั้น ฟ้อนรำด้วยท่าทางอันงามเพริศพริ้ง
ขับร้องเพลงขับไพเราะจับใจ ได้กล่าวคาถาที่ ๗ ว่า
คนธรรพ์ รากษส นาค กินนร หรือมนุษย์
คนไหนเป็นผู้ฉลาดสามารถจะให้สิ่งทั้งปวงได้ คนนั้น
จักได้เป็นสามีของเราตลอดกาลนาน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เก คนฺธพฺเพ จ รกฺขเส นาเค ความว่า
คนธรรพ์ รากษส หรือนาคก็ตาม. บทว่า เก ปณฺฑิเต สพฺพกามทเท
ในบรรดาคนธรรพ์เป็นต้นนั้น คนไหนเป็นผู้ฉลาดอาทิผิด อักขระสามารถเพื่อจะให้สมบัติ
อันน่าใคร่ทุกอย่าง เมื่อนำมโนรถของมารดาของเราผู้ปรารถนาดวงหทัยของ
วิธุรบัณฑิตมา ผู้นั้นจักได้เป็นภัสดาของเราตลอดกาลนาน.
 
๖๔/๑๐๔๔/๓๖๘

วันเสาร์, กันยายน 17, 2565

Thamlai

 
เกิดขึ้นโดยปราศจากหิริ เป็นนิสัยของเชือกทั้งหลาย โดยเป็นนิสสยปัจจัยแห่ง
เชือกคือสมาธิ กล่าวคือใจ ย่อมทรงไว้ซึ่งการไปโดยร่วมกันแห่งโคพลิพัท
คือความเพียร เพราะปฏิเสธการปรารภความเพียรจัดและความย่อหย่อนเกินไป.
ก็ไถประกอบกับผาลแล้ว ย่อมทำลายก้อนดิน ในเวลาไถย่อมชำแรก
วัชพืชที่มีราก ฉันใด ปัญญาที่ประกอบด้วยสติก็ฉันนั้น ย่อมทำลายอาทิผิด สระก้อนแห่ง
อารมณ์อันมีหน้าที่ประชุมความสืบต่อแห่งธรรมทั้งหลาย ในเวลาวิปัสสนา ย่อม
ชำแรกการสืบต่อแห่งกิเลสมูลทั้งหมด ก็ปัญญานั้นแล เป็นโลกุตระอย่างเดียว
และปัญญานอกนี้พึงเป็นโลกิยะ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ปัญญาของเราเป็นแอกและไถ ดังนี้.
ชื่อว่า หิริ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า เป็นเครื่องละอายของบุคคล
หรือบุคคลย่อมละอายเอง คือเกลียดความเป็นไปแห่งอกุศล โอตตัปปะเป็นอัน
ถือเอาแล้วเทียว โดยความเป็นธรรมไปร่วมกันกับหิริศัพท์นั้น. บทว่า อีสา
ได้แก่ ท่อนไม้ที่ทรงแอกและไถไว้. เปรียบเหมือนงอนไถของพราหมณ์ ย่อม
ทรงไว้ซึ่งแอกและไถ ฉันใด หิริแม้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น ชื่อว่า
ย่อมทรงไว้ซึ่งแอกและไถ กล่าวคือโลกิยปัญญาและโลกุตรปัญญา เพราะเมื่อ
หิริไม่มี ปัญญาก็ไม่มี แอกและไถที่เนื่องด้วยงอนไถ ย่อมทำหน้าที่ไม่ให้หวั่น
ไหว ไม่ย่อหย่อน ฉันใด ก็ปัญญาอันเนื่องด้วยหิริก็ฉันนั้น ย่อมทำหน้าที่
ไม่ให้หวั่นไหว ไม่ย่อหย่อน ไม่เกลื่อนกล่นด้วยความไม่มีหิริ เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า หิริ เป็นงอนไถ ดังนี้.
ชื่อว่า มโน ด้วยอรรถวิเคราะห์ว่า ย่อมรู้ คำว่า มโน นั่นเป็นชื่อ
ของจิต ก็สมาธิที่ประกอบพร้อมด้วยจิตนั้น โดยใจเป็นประธาน ทรงพระ-
 
๔๖/๓๐๑/๒๗๒

วันศุกร์, กันยายน 16, 2565

Chue

 
ชื่อว่ากถาเป็นที่มา มีอีกอย่างหนึ่ง. ส่วนแม้วิปัสสนา ท่านก็เรียกว่า
สุญญตะ อนิมิตตะและอัปปณิหิตะ. บรรดาบทเหล่านั้น ภิกษุใด กำหนด
สังขารทั้งหลายโดยความเป็นของไม่เที่ยง เห็นโดยความไม่เที่ยง ย่อมออก
จากความไม่เที่ยง วิปัสสนา อันเป็นวุฏฐานคามินีของภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่า
อนิมิตะ ภิกษุใดกำหนดโดยความเป็นทุกข์เห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อม
ออกจากความทุกข์ วิปัสสนาของภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่าอัปปณิหิตะ ภิกษุใด
กำหนดโดยความเป็นอนัตตา เห็นโดยความเป็นอนัตตาย่อมออกจากความ
เป็นอนัตตา วิปัสสนาของภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าสุญญตะ บรรดาบทเหล่านั้น
มรรคของอนิมิตตวิปัสสนา ชื่อว่า อนิมิต, ผลของอนิมิตตมรรค ชื่อว่า
อนิมิต, เมื่อผัสสะที่เกิดพร้อมกับอนิมิตตผลสมาบัติถูกต้องอยู่ ท่านเรียกว่า
อนิมิตตผัสสะ ย่อมถูกต้อง. แม้ในอัปปณิหิตะและสุญญตะ ก็มีนัยนี้
เหมือนกัน. เมื่อท่านกล่าว โดยเป็นที่มา พึงถึงความกำหนดว่า สุญญต-
ผัสสะ อนิมิตตผัสสะ หรืออัปปณิหิตผัสสะ เพราะฉะนั้น ผู้ดำรงอยู่
โดยที่เป็นที่มา พึงกล่าวโดยมีคุณ และโดยอารมณ์. ก็ผัสสะทั้งหลาย ๓
ย่อมถูกต้องอย่างนี้ดังนั้น จึงเหมาะสม.
นิพพานชื่อว่าวิเวกในบทเป็นอาทิว่า วิเวกนินฺนํ ชื่ออาทิผิด สระว่า วิเวก
นินนะ เพราะอรรถว่า น้อมไป คือ โน้มไปในวิเวกนั้น. บทว่า วิเวก
โปณํ ชื่อว่า วิเวกโปณะ เพราะอรรถว่า ดำรงอยู่ดุจความคดด้วยเหตุ
แห่งวิเวกซึ่งมาจากอื่น. ชื่อว่า วิเวกปพฺภารํ เพราะอรรถว่าดำรงอยู่เป็น
ดุจตกไปด้วยเหตุแห่งวิเวก.
จบ อรรถกถาทุติยกามภูสูตรที่ ๖
 
๒๙/๕๗๐/๑๕๘

วันพฤหัสบดี, กันยายน 15, 2565

Ruea

 
ทุกข์ย่อมติดตามนรชนผู้ถูกอันตรายครอบงำ
เหมือนน้ำไหลเข้าสู่เรืออาทิผิด อักขระที่แตกแล้ว ฉะนั้น.
เพราะฉะนั้น สัตว์พึงเป็นผู้มีสติ
ทุกเมื่อ งดเว้นกามทั้งหลายเสีย สัตว์ละกาม
เหล่านั้นได้แล้ว พึงข้ามโอฆะได้เหมือนบุรุษ
วิดน้ำในเรือแล้วพึงไปถึงฝั่ง ฉะนั้น.
จบกามสูตรที่ ๑
อรรถกถาอัฏฐกวรรคที่ ๔
อรรถกถากามสูตรที่ ๑
กามสูตรที่ ๑ มีคำเริ่มต้นว่า กามํ กามยนฺตสฺส หากวัตถุกาม
สำเร็จแก่สัตว์ผู้ปรารถนาอยู่ไซร้ ดังนี้.
การเกิดขึ้นของพระสูตรนี้เป็นอย่างไร ?
มีเรื่องเล่าว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี พรา-
หมณ์ผู้หนึ่งคิดว่า เราจักหว่านข้าวเหนียวใกล้ฝั่งแม่น้ำอจิรวดี ในระหว่างกรุงสา
วัตถีและพระเชตวันมหาวิหารจึงไถนา. พระผู้มีพระภาคเจ้าแวดล้อมด้วยภิกษุ
สงฆ์เสด็จเข้าไปบิณฑบาตเห็นพราหมณ์นั้นทรงรำพึงเห็นว่า ข้าวเหนียวของ
พราหมณ์นั้นจักเสียหาย จึงทรงรำพึงถึงอุปนิสัยสมบัติของพราหมณ์นั้นต่อไป
ได้ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติมรรคของพราหมณ์นั้น ทรงรำพึงว่าพราหมณ์
 
๔๗/๔๐๘/๖๙๔

วันพุธ, กันยายน 14, 2565

Phop

 
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายพุทรา
ใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายพุทรา
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพอาทิผิด ขึ้นได้
ทั้งหมดแล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือก
แล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่
การที่เราได้มายังสำนักของพระพุทธเจ้า
ของเรานี้ เป็นการมาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราได้
บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔
วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราได้ทำให้แจ้งชัด
แล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว
ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระโกลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบโกลทายกเถราปทาน

เวลุวผลิยเถราปทานที่ ๓ (๔๔๓)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลมะตูม

[๓๓] เราสร้างอาศรมไว้อย่างสวยงาม
ใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา อาศรมนั้นเกลื่อนกล่น
ไปด้วยต้นมะตูม เป็นที่รวมหมู่ไม้นานาชนิด
 
๗๒/๓๓/๖๘

วันอังคาร, กันยายน 13, 2565

Tatiya

 
[๑๙๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ข้อนี้เป็นอย่าง
นั้น ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ปัญญาอันศีลชำระให้บริสุทธิ์ ศีลอันปัญญาชำระ
ให้บริสุทธิ์ ศีลมีในบุคคลใด ปัญญาก็มีในบุคคลนั้น ปัญญามีในบุคคลใด
ศีลก็มีในบุคคลนั้น ปัญญาเป็นของบุคคลผู้มีศีล ศีลเป็นของผู้มีปัญญา
และนักปราชญ์ย่อมกล่าวศีลกับปัญญาว่าเป็นยอดในโลก เหมือนบุคคล
ล้างมือด้วยมือ หรือล้างเท้าด้วยเท้าฉะนั้น ดูก่อนพราหมณ์ ศีลนั้นเป็นไฉน
ปัญญานั้นเป็นไฉน. พราหมณ์โสณทัณฑะกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้
เจริญ พวกข้าพระองค์ มีความรู้เท่านี้เอง เมื่อเนื้อความมีเช่นไร ขอเนื้อ
ความแห่งภาษิตนี้ จงแจ่มแจ้งแก่พระโคดมผู้เจริญเองเถิด.
[๑๙๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าอย่างนั้น
ท่านจงฟัง จงตั้งใจให้ดี เราจักกล่าว. พราหมณ์โสณทัณฑะรับสนอง
พระพุทธพจน์แล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้กะพราหมณ์
โสณทัณฑะว่า ดูก่อนพราหมณ์ พระตถาคตอุบัติขึ้นในโลกนี้เป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้เองโดยชอบ ฯ ล ฯ (พึงดูพิสดารในสามัญญผลสูตร) ดูก่อนพราหมณ์
ก็ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้แล. แม้ข้อนี้แล คือศีลนั้น. เข้าถึง
ปฐมฌานอยู่. เข้าถึงทุติยฌานอยู่. เข้าถึงตติยอาทิผิด อักขระฌานอยู่. เข้าถึงจตุตถฌาน
อยู่ ฯ ล ฯ เธอนำเฉพาะน้อมเฉพาะจิตเพื่อญาณทัสสนะ ฯ ล ฯ แม้ข้อนี้จัด
อยู่ในปัญญา ของเธอ ฯ ล ฯ เธอย่อมรู้ชัดว่า กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
มิได้มี. แม้ข้อนี้จัดอยู่ในปัญญาของเธอ. ดูก่อนพราหมณ์ นี้แลคือปัญญานั้น.
โสณทัณฑพราหมณ์แสดงตนเป็นอุบาสก
[๑๙๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์โสณ-
ทัณฑะได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
 
๑๒/๑๙๕/๑๕

วันจันทร์, กันยายน 12, 2565

Waiyawatchakon

 
ภิกษุทั้งหลาย จงมาเพื่อเป็นบริวาร (เพื่อน) ของคนตาย, ไม่ควรไป. ภิกษุ
จะไปด้วยมุ่งกรรมฐานเป็นหลักว่า เราจักกลับได้มรณสติ เพราะเห็นกระดูกใน
ป่าช้า และเพราะเห็นอสุภ ดังนี้ ควรอยู่. ภิกษุควรปฏิบัติในพระปริตร ดัง
พรรณนามาฉะนี้.
[ว่าด้วยเรื่องอนามัฏฐบิณฑบาต]
ส่วนในบิณฑบาต มีวินิจฉัยดังนี้:- ถามว่า อนามัฏฐบิณฑบาต
ควรให้แก่ใคร ไม่ควรให้แก่ใคร ? แก้ว่า ควรให้แก่มารดาและบิดาก่อน. ก็หาก
ว่า บิณฑบาตนั้น จะเป็นของมีราคาตั้งกหาปณะ ก็ไม่จัดว่าเป็นการยังศรัทธา-
ไทยให้ตกไป, ควรให้แม้แก่คนเหล่านี้ คือ พวกคนบำรุงมารดาบิดา ไวยาวัจกรอาทิผิด
คนปัณฑุปลาส. บรรดาคนเหล่านั้น สำหรับคนปัณฑุปลาส จะใส่ในภาชนะ
ให้ ก็ควร. เว้นคนปัณฑุปลาสนั้นเสีย จะใส่ในภาชนะให้แก่คฤหัสถ์เหล่าอื่น
แม้เป็นมารดาบิดา ก็ไม่ควร. เพราะว่า เครื่องบริโภคของบรรพชิตทั้งอยู่ใน
ฐานเป็นเจดีย์ของพวกคฤหัสถ์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าอนามัฏฐบิณฑบาตนี้พึง
ให้แก่โจรผู้ลือชื่อบ้าง ทั้งแก่อิสรชนบ้าง ผู้มาถึงเข้า. เพราะเหตุไร ? เพราะ
เหตุว่า ชนเหล่านั้นแม้เมื่อไม่ให้ ก็โกรธว่า ไม่ให้ แม้เมื่อจับต้องให้ ก็
โกรธว่า ให้ของเป็นเดน. ชนเหล่านั้น โกรธแล้วย่อมปลงจากชีวิตเสียบ้าง
ย่อมทำอันตรายแก่พระศาสนาบ้าง. ก็ในข้อนี้ พึงแสดงเรื่องพระเจ้าโจรนาคผู้
เที่ยวปรารถนาราชสมบัติ (เป็นอุทาหรณ์). ภิกษุควรปฏิบัติในบิณฑบาต ดัง
พรรณนามาฉะนี้.
[ว่าด้วยเรื่องปฏิสันถาร]
ส่วนในปฏิสันถาร มีวินิจฉัยดังนี้:- ถามว่า ปฏิสันถาร ควรทำ
แก่ใคร ไม่ควรทำแก่ใคร แก้ว่า ชื่อว่าปฏิสันถาร อันภิกษุควรทำทั้งนั้นแก่
 
๒/๒๒๖/๔๓๖

วันอาทิตย์, กันยายน 11, 2565

Kratai

 
บทว่า สริตานิ คือแผ่ซ่านไป ได้แก่ซึมซาบไป.
บทว่า สิเนหิตานิ จ ความว่า และเปื้อนตัณหาเพียงดังยางเหนียว
ด้วยอำนาจตัณหาเพียงดังยางเหนียว อันเป็นไปในบริขาร มีจีวรเป็นต้น,
อธิบายว่า อันยางเหนียวคือตัณหาฉาบทาแล้ว.
บทว่า โสมนสฺสานิ ความว่า โสมนัสทั้งหลายเห็นปานนั้น ย่อม
มีแก่สัตว์ผู้เป็นไปในอำนาจตัณหา.
สองบทว่า เต สาตสิตา ความว่า บุคคลเหล่านั้น คือผู้เป็นไป
ในอำนาจแห่งตัณหา เป็นผู้อาศัยความสำราญ คืออาศัยความสุขนั่นเอง
จึงเป็นผู้แสวงหาความสุข คือเป็นผู้เสาะหาความสุข.
บทว่า เต เว เป็นต้น ความว่า เหล่านระผู้เห็นปานนี้ย่อมเข้าถึง
ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ และความตายแท้ ฉะนั้นจึงเป็นผู้ชื่อว่า
เข้าถึงชาติและชรา.
บทว่า ปชา เป็นต้น ความว่า สัตว์เหล่านี้เป็นผู้อันตัณหาที่ถึง
ซึ่งอันนับว่า “ ตสิณา ” (ความดิ้นรน) เพราะทำซึ่งความสะดุ้งแวดล้อม
คือห้อมล้อมแล้ว.
บทว่า พาธิโต ความว่า (สัตว์เหล่านั้น) ย่อมกระเสือกกระสน
คือ หวาดกลัว ดุจกระต่ายอาทิผิด อาณัติกะตัวที่นายพรานดักได้ในป่าฉะนั้น.
บทว่า สํโยชนสงฺคตฺตา ความว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้อันสังโยชน์
๑๐ อย่าง และกิเลสเครื่องข้องคือราคะเป็นต้นผูกไว้แล้ว หรือเป็นผู้ติด
แล้วในสังโยชน์เป็นต้นนั้น.
 
๔๓/๓๔/๒๘๖

วันเสาร์, กันยายน 10, 2565

Samoe

 
ในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้ พระศาสดา
พระนามชื่อว่าโคดม ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้า
โอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก เศรษฐีบุตร
ผู้นี้ จักได้เป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระ-
องค์นั้น เป็นโอรสอันธรรมเนรมิต เป็นสาวก
ของพระศาสดา มีนามชื่อว่า ภัททิยะ
เพราะกรรมที่ทำไว้ดีนั้น และเพราะการ
ตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไป
สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ในกัปที่ ๙๒ แต่ภัทรกัปนี้พระพิชิตมาร
พระนามว่าผุสสะ เป็นผู้นำยากที่จะหาผู้เสมออาทิผิด อักขระ
ยากที่จะข่มขี่ได้ สูงสุดกว่าโลกทั้งปวงได้เสด็จ
อุบัติขึ้นแล้ว
และพระพุทธองค์ทรงสมบูรณ์ด้วยจรณะ
เป็นผู้ประเสริฐเที่ยงตรง ทรงมีความเพียรเผา
กิเลสทรงแสวงหาประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์
ทรงเปลื้องสัตว์เป็นอันมากจากกิเลสเครื่องจองจำ
เราเกิดเป็นนกดุเหว่าขาวในพระอาราม
อันน่าเพลิดเพลินเจริญใจ ของพระผุสสสัมมา-
สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เราอยู่ที่ต้นมะม่วงใกล้
พระคันธกุฎี
ครั้งนั้น เราเห็นพระพิชิตมารผู้สูงสุด
เป็นพระทักขิไณยบุคคล เสด็จพระราชดำเนินไป
 
๗๒/๑๓๑/๓๒๒

วันศุกร์, กันยายน 09, 2565

Yom

 
พระวัฑฒเถระฟังคำมารดานั้น แล้วคิดว่า โยมมารดาของเรา คงตั้ง
อยู่ในพระอรหัตแน่แล้ว เมื่อจะประกาศความข้อนั้น จึงกล่าวคาถาว่า
โยมมารดาบังเกิดเกล้ากล้ากล่าวความนี้แก่ลูก
โยมมารดา ลูกเข้าใจว่า ตัณหาของโยมอาทิผิด อักขระมารดาคง
ไม่มีแน่ละ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิสารทา ว ภณสิ เอตมตฺถํ ชเนตฺติ
เม ความว่า ท่านโยมมารดาบังเกิดเกล้ากล่าวความนี้ คือโอวาทนี้ว่า ลูกวัฑฒะ
ตัณหา ความอยาก ในโลก อย่าได้มีแก่ลูก ไม่ว่าในกาลไหน ๆ เลย ดังนี้
โยมมารดาเป็นผู้ปราศจากความขลาดกลัว ไม่ติดไม่ข้องในอารมณ์ไหน ๆ กล่าว
แก่ลูก ท่านโยมมารดา เพราะฉะนั้น ลูกจึงเข้าใจว่า ตัณหาของโยมมารดา
คงไม่มีแน่ละ อธิบายว่า ท่านโยมมารดา คือท่านโยมมารดาของลูก ลูก
เข้าใจว่า ตัณหาแม้เพียงความรักระหว่างครอบครัวของโยมมารดา คงไม่มีใน
ตัวลูก อธิบายว่า ตัณหาที่ยึดถือว่าของเราไม่มี.
พระเถรีฟังคำบุตรนั้นแล้ว กล่าวว่ากิเลสแม้เพียงเล็กน้อย ไม่มีใน
อารมณ์ไหนๆ ของแม่เลย ดังนี้ เมื่อจะประกาศความที่ตนทำกิจเสร็จแล้ว
จึงกล่าว ๒ คาถา ดังนี้ว่า
พ่อวัฑฒะ สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง มีทั้ง ต่ำ
สูง กลาง ตัณหาของแม่ในสังขารเหล่านั้น อณูหนึ่ง
ก็ดี ขนาดอณูหนึ่งก็ดี ไม่มีเลย.
แม่ผู้ไม่ประมาท เพ่งฌานอยู่ สิ้นอาสวะหมด
แล้ว วิชชา ๓ ก็บรรลุแล้ว คำสอนของพระศาสดา
ก็กระทำเสร็จแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย เกจิ เป็นคำกล่าวความไม่มีกำหนด.
บทว่า สงฺขารา ได้แก่สังขตธรรม. บทว่า หีนา ได้แก่ ต่ำ น่ารังเกียจ.
 
๕๔/๔๖๓/๒๙๗

วันพฤหัสบดี, กันยายน 08, 2565

Lohit

 
ปรารถนาลามก ผู้มีอาจาระและโคจรลามก ถึง
ชื่อว่าอยู่ร่วมกับสมณะผู้บริสุทธิ์และผู้ไม่บริสุทธิ์ มี
สติมั่นคง แต่นั้นพวกเธอมีความพร้อมเพรียงกัน
มีปัญญารักษาตน ก็จักทำที่สุดทุกข์ได้.
ธรรมนี้ ชื่อว่า ปราศจากสมณะผ้าขี้ริ้ว แม้เพราะสมณะหยากเยื่อถูก
ตัดขาดแล้วด้วยประการฉะนี้. บทว่า อลเมว แปลว่า สมควรแท้. บทว่า
สทฺธาปพฺพชิเตน แปลว่า ผู้บวชด้วยศรัทธา. ในบทว่า กุลปุตฺเตน
กุลบุตรมี ๒ คือ อาจารกุลบุตรและชาติกุลบุตร. บรรดากุลบุตรทั้งสองนั้น
กุลบุตรผู้ใด ออกบวชจากตระกูลใดตระกูลหนึ่ง บำเพ็ญธรรมขันธ์ ๕
มีศีลขันธ์เป็นต้น กุลบุตรผู้นี้ ชื่อว่า อาจารกุลบุตร ส่วนกุลบุตรผู้ใด
ออกบวชจากตระกูลที่สมบูรณ์ด้วยชาติ ดั่งเช่นพระยศกุลบุตรเป็นต้น
กุลบุตรผู้นี้ ชื่อว่า ชาติกุลบุตร ในกุลบุตรทั้งสองนั้น ในที่นี้ท่านประสงค์
เอาอาจารกุลบุตร. ก็ถ้าชาติกุลบุตร มีอาจาระ ชาติกุลบุตรนี้ ก็จัดว่า
สูงสุดทีเดียว. อันกุลบุตรเห็นปานนั้น. บทว่า วิริยํ อารภิตุํ ได้แก่
เพื่อทำความเพียรประกอบด้วยองค์ ๔.
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความเพียรมีองค์ ๔ จึงตรัสว่า กามํ ตโจ
เป็นต้น. ในองค์ทั้ง ๔ นั้น ตโจ เป็นองค์ ๑ นหารุ เป็นองค์ ๑
อฏฺฐิ เป็นองค์ ๑. มํสโลหิตํอาทิผิด เป็นองค์ ๑. ก็แลกุลบุตรผู้อธิษฐาน
ความเพียรประกอบด้วยองค์ ๔ นี้ พึงใช้ในฐานะทั้ง ๙ คือ ก่อน
อาหาร หลังอาหาร ยามต้น ยามกลาง ยามสุดท้าย เวลาเดิน เวลายืน
เวลานั่ง เวลานอน. บทว่า ทุกฺขํ ภิกฺขเว กุสิโต วิหรติ ความว่า
ในพระศาสนานี้ บุคคลใดเกียจคร้าน บุคคลนั้นย่อมอยู่เป็นทุกข์ แต่
 
๒๖/๖๗/๑๑๖

วันพุธ, กันยายน 07, 2565

Khrai

 
[พระเถระให้โอวาทพวกยักษ์และรากษสเป็นต้น]
ลำดับนั้น ท่านพระมัชฌันติกเถระ เรียกพวกนาคและรากษสแม้
ทั้งหมดมาแล้ว จึงกล่าวอย่างนี้ว่า
จำเดิมแต่บัดนี้เป็นต้นไป พวกท่าน
อย่าให้ความโกรธเกิดขึ้นเหมือนในกาลก่อน
เลย และอย่าทำลายข้าวกล้า ( ให้เสียหาย )
เพราะว่า สัตว์ทั้งหลาย ใคร่อาทิผิด อาณัติกต่อความสุข
จงแผ่เมตตาไปในสัตว์ทั้งหลายว่า ขอมวล
มนุษย์ จงอยู่เป็นสุขเถิด.
นาคและยักษ์เป็นต้นเหล่านั้นทั้งหมด รับโอวาทของอาทิผิด อักขระพระเถระว่า ดีละ
ท่านผู้เจริญ ! ได้ปฏิบัติตามที่ท่านพร่ำสอนแล้ว. ก็ในวันนั้นแล เป็นสมัยทำ
การบูชาพญานาค. เวลานั้น พญานาค สั่งให้นำรัตนบัลลังก์ของตน มาแต่งตั้ง
ถวายพระเถระ. พระเถระ ก็นั่งบนบัลลังก์. ฝ่ายพญานาค ได้ยืนพัดพระเถระ
อยู่ในที่ใกล้. ในขณะนั้น มนุษย์ทั้งหลายผู้อยู่ในแคว้นกัสมีรคันธาระมาเห็น
พระเถระแล้ว ก็พูดกันว่า พระเถระมีฤทธิ์มากแม้กว่าพญานาคของพวกเรา
แล้วได้นั่งลงไหว้พระเถระนั่นแล. พระเถระ ก็แสดงอาสิวิโสปมสูตร แก่
มนุษย์เหล่านั่น. ในเวลาจบพระสูตร สัตว์ประมาณแปดหมื่น ได้บรรลุ
ธรรมาภิสมัย. แสนตระกูลออกบวชแล้ว, ก็แลจำเดิมแต่กาลนั้นมา แคว้น
กัสมีรคันธาระ ก็รุ่งเรืองไปด้วยผ้ากาสาวพัสตร์ อบอวลไปด้วยลมพวกฤษีจน
ตราบเท่าทุกวันนี้.
น่าจะเป็นอลคัททูปมสูตร ม. ม. ๑๒/๒๖๑.
 
๑/๙/๑๑๔

วันอังคาร, กันยายน 06, 2565

Tok

 
๓. คิริมานันทเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระคิริมานันทเถระ
[๓๓๗] ฝนตกเสียงไพเราะเหมือนเพลงขับ กุฎีของเรามุงดี
แล้ว มีประตูหน้าต่างมิดชิดดี เราเป็นผู้สงบอยู่ในกุฎีนั้น
ถ้าประสงค์จะตกก็ตกลงมาเถิดฝน ฝนตกไพเราะเหมือน
เพลงขับ กุฎีของเรามุงดีแล้ว มีประตูหน้าต่างมิดชิดดี
เราเป็นผู้มีจิตสงบอยู่ในกุฎีนั้น ถ้าประสงค์จะตกอาทิผิด ก็ตกลง
มาเถิดฝน ฯลฯ เราเป็นผู้ปราศจากราคะอยู่ในกุฏี
นั้น ฯลฯ เราเป็นผู้ปราศจากโทสะอยู่ในกุฎีนั้น ฯลฯ เรา
เป็นผู้ปราศจากโมหะอยู่ในกุฎีนั้น ถ้าประสงค์จะตกก็ตก
ลงมาเถิดฝน.
จบคิริมานันทเถรคาถา

อรรถกถาคิริมานันทเถรคาถาที่ ๓

คาถาของท่านพระคิริมานันทเถระ มีคำเริ่มต้นว่า วสฺสติ เทโว
ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?
พระเถระแม้นี้ ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน
สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าสุเมธ
บังเกิดในเรือนมีตระกูล เจริญวัยแล้วอยู่ครองฆราวาส เมื่อภรรยาและบุตร
ของตนทำกาละแล้ว เพียบพร้อมไปด้วยลูกศรคือความโศก เข้าไปสู่ป่า
เมื่อพระศาสดาเสด็จไปในที่นั้นแสดงธรรม ถอนลูกศรคือความโศกได้แล้ว
 
๕๒/๓๓๗/๘๑