วันพฤหัสบดี, สิงหาคม 31, 2566

Na Rak

 
ดูก่อนอุบาลี เปรียบเหมือนเด็กอ่อนนอนหงาย ย่อมเล่นมูตรและ
คูถของตน ดูก่อนอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การเล่นนี้
เป็นการเล่นของเด็กอ่อนอย่างเต็มที่สิ้นเชิงมิใช่หรือ ท่านพระอุบาลีกราบ
ทูลว่า เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนอุบาลี สมัยต่อมา เด็กนั้นแล อาศัยความเจริญ อาศัย
ความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ ย่อมเล่นเครื่องเล่นทั้งหลายที่เป็นของเล่นของ
พวกเด็ก ๆ คือเล่นไถน้อย ๆ เล่นตีไม้หึ่ง เล่นกังหันไม้ เล่นกังหันใบไม้
เล่นตวงทราย เล่นรถน้อย ๆ เล่นธนูน้อย ๆ ดูก่อนอุบาลี เธอจะสำคัญ
ความข้อนั้นเป็นไฉน การเล่นนี้ เป็นการเล่นดียิ่งกว่า และประณีตกว่า
การเล่นที่มีในครั้งก่อนมิใช่หรือ.
อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนอุบาลี สมัยต่อมา เด็กนั้นแล อาศัยความเจริญ อาศัย
ความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ เป็นผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำเรออยู่
ด้วยรูปทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอ
ใจ น่าอาทิผิด สระรัก ยั่วยวนชวนให้กำหนัด ด้วยเสียงทั้งหลายอันบุคคลพึงรู้ด้วยหู ....
ด้วยกลิ่นทั้งหลายอันบุคคลพึงรู้ด้วยจมูก ... ด้วยรสทั้งหลายอันบุคคลพึงรู้
ด้วยลิ้น... ด้วยโผฏฐัพพะทั้งหลายอันบุคคลพึงรู้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวนชวนให้กำหนัด ดูก่อนอุบาลี เธอจะ
สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การเล่นนี้ เป็นการเล่นที่ดียิ่งกว่า และประณีต
กว่าการเล่นที่มีในครั้งก่อนมิใช่หรือ.
อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี ก็พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์
 
๓๘/๙๙/๓๒๕

วันพุธ, สิงหาคม 30, 2566

Ubekkha

 
เป็นอารมณ์บ้าง มีสังขารเป็นอารมณ์บ้าง ด้วยสามารถแห่งรูปที่ได้เห็น
เสียงที่ได้ฟังและอารมณ์ที่ได้ทราบแล้วรู้แจ้งแล้ว. อภิชฌาก็อย่างนั้น.
พยาบาทมีสัตว์เป็นอารมณ์. มิจฉาทิฏฐิ มีสังขารเป็นอารมณ์ ด้วยสามารถ
แห่งธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ บ้าง มีสัตว์เป็นอารมณ์ ด้วยสามารถแห่ง
บัญญัติบ้าง. บทว่า เวทนาโต ความว่าปาณาติบาต เป็นทุกขเวทนา.
เหมือนอย่างว่า พระราชาทั้งหลาย ทรงเห็นโจรแล้ว แม้จะทรงร่าเริงอยู่
ตรัสว่า พวกท่านจงไปฆ่าโจรนั้น ดังนี้ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น สันนิฏฐาปก-
เจตนา ( เจตนาที่ให้สำเร็จ ) ก็ชื่อว่า สัมปยุตด้วยทุกข์แท้. อทินนาทาน
มีเวทนา ๓. มิจฉาจาร มีเวทนา ๒ คือ สุข และมัชฌัตตเวทนา (อุเบกขาอาทิผิด อักขระ)
ส่วนว่า ในสันนิฏฐาปกจิต (จิตที่ให้สำเร็จ) มิจฉาจาร ไม่เป็นมัชฌัตต
เวทนา. มุสาวาท มีเวทนา ๓. ปิสุณวาจาก็อย่างนั้น. ผรุสวาจา เป็น
ทุกขเวทนา. สัมผัปปลาปะ มีเวทนา ๓. อภิชฌามีเวทนา ๒ คือ สุข
และมัชฌัตตเวทนา ( อุเบกขา ). มิจฉาทิฏฐิก็อย่างนั้น. พยาบาทเป็นทุกข-
เวทนา. บทว่า มูลโต ความว่า ปาณาติบาต มีมูล ๒ คือ โทสะ และโมหะ.
อทินนาทานก็มีมูล ๒ เหมือนกัน คือโทสะและโมหะบ้าง โลภะและโมหะ
บ้าง. มิจฉาจาร มีมูล ๒ คือ โลภะและโมหะ. มุสาวาท ก็มีมูล ๒ คือ
โทสะและโมหะบ้าง โลภะและโมหะบ้าง. ปิสุณวาจา และสัมผัปปลาปะ
ก็อย่างนั้น. ผรุสวาจามีมูล ๒ คือ โทสะและโมหะ. อภิชฌามีมูลเดียว
คือโมหะ. พยาบาทก็อย่างนั้น. มิจฉาทิฏฐิมีมูล ๒ คือ โลภะและโมหะ
ดังนี้แล.
กุศลกรรมบถทั้งหลายมีเจตนางดเว้น จากปาณาติบาตเป็นต้น
บัณฑิตพึงทราบด้วยสามารถแห่งสมาทานวิรัติ สัมปัตตวิรัติ. และสมุจเฉท-
 
๑๖/๓๖๓/๓๙๙

วันอังคาร, สิงหาคม 29, 2566

Chatuttha

 
และสุภกิณหพรหม มีอายุ ๑๖ กัป ๓๒ กัป ๖๔ กัป ด้วย
อำนาจจตุตถฌานอย่างอ่อน อย่างกลาง มีกายเป็นอย่างเดียวกัน และ
พรหมเหล่านั้นทั้งหมด พึงทราบว่า มีกายเป็นอย่างเดียวกัน และ
มีสัญญาเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยสัญญาในจตุตถอาทิผิด สระฌาน
ฝ่ายเวหัปผลาพรหม ก็ย่อมเทียบวิญญาณฐิติ ที่ ๔ เท่านั้น
เหล่าอสัญญีสัตว์ หรือวิญญาณาภาพรหม ย่อมไม่สงเคราะห์เข้า
ในข้อนี้ แต่ไปในสัตตวาสทั้งหลาย. สุทธาวาสพรหม ตั้งอยู่ในฝ่าย
วิวัฏฏะ. ย่อมไม่มีตลอดกาลทุกเมื่อ คือไม่เกิดขึ้นในโลก ที่ว่างจาก
พระพุทธเจ้า ตลอดแสนกัปบ้าง อสงไขยหนึ่งบ้าง. เมื่อพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย ทรงอุบัติขึ้นแล้วนั่นแล ย่อมเกิดขึ้นในภายในเขตกำหนด
อายุ ๑๖,๐๐๐ กัป ย่อมเป็นเสมือนค่ายพักของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้เป็นพระธรรมจักรพรรดิ์ เพราะเหตุนั้น จึงไม่เทียบวิญญาณฐิติ
และสัตตาวาส. ส่วนพระมหาสิวเถระ กล่าวว่า แม้พรหมชั้นสุทธาวาส
ก็ย่อมเทียบวิญญาณฐิติที่ ๔ และสัตตาวาสที่ ๔ โดยสูตรนี้ว่า
ดูก่อนสารีบุตร ก็สัตตวาส ไม่ใช่โอกาสที่จะได้โดยง่ายแล
สัตตาวาสนั้นเราไม่เคยอยู่ โดยกาลอันยืดยาวนานนี้ เว้นเทวดา
เหล่าสุทธาวาส. คำนั้น ท่านอนุญาตไว้แล้ว เพราะไม่มีพระสูตร
ห้ามไว้. เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ชื่อว่า มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มี
สัญญาก็มิใช่ เพราะแม้วิญญาณ เป็นของละเอียดเหมือนสัญญา
ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ท่านจึงกล่าว
ไว้ในวิญญาณฐิติ ทั้งหลาย.
จบ อรรถกถาจิตตสูตรที่ ๑
 
๓๗/๔๑/๑๐๙

วันจันทร์, สิงหาคม 28, 2566

Sao Sok

 
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปนียติ ความว่า ชีวิตของพี่ใกล้จะขาด
อยู่แล้ว. บทว่า อิทํ ได้แก่ ชีวิต. บทว่า ปาณา ความว่า ดูก่อนจันทา
ลมปราณคือชีวิตของพี่ย่อมจะดับ. บทว่า โอสธิ เม ความว่า ชีวิตของพี่
ย่อมจะจมลง. บทว่า นิตมานิ แปลว่า พี่ย่อมลำบากอย่างยิ่ง. บทว่า ตว
จนฺทิยา ความว่า นี้เป็นความทุกข์ของพี่. บทว่า น นํ อญฺเญหิ โสเกหิ
ความว่า โดยที่แท้นี้เป็นเหตุแห่งความโศกของเธอผู้ชื่อว่าจันทีเมื่อกำลังเศร้าโศก
อยู่ เพราะเหตุที่เธอเศร้าโศกอาทิผิด เพราะความพลัดพรากของเรา. ด้วยบทว่า ติณมิว
มิลายามิ เธอกล่าวว่า ข้าจะเหี่ยวเฉา เหมือนต้นหญ้าที่ถูกทอดทิ้งบนแผ่นหิน
อันร้อน เหมือนป่าไม้ที่ถูกตัดรากฉะนั้น . บทว่า สเร ปาเท ความว่า
เหมือนสายฝนที่ตกบนเชิงเขาไหลซ่านไปไม่ขาดสายฉะนั้น.
พระมหาสัตว์คร่ำครวญด้วยคาถาสี่เหล่านี้ นอนเหนือที่นอนดอกไม้
นั่นเอง ชักดิ้นสิ้นสติ. ฝ่ายพระราชายังคงยืนอยู่. จันทากินรีเมื่อพระมหาสัตว์
รำพัน กำลังเพลิดเพลินเสียด้วยความรื่นเริงของตน มิได้รู้ว่าเธอถูกยิง แต่
ครั้นเห็นเธอไร้สัญญานอนดิ้นไป ก็ใคร่ครวญว่า ทุกข์ของสามีเราเป็นอย่างไร
หนอ พอเห็นเลือดไหลออกจากปากแผล ก็ไม่อาจสะกดกลั้นความโศกอัน
มีกำลังที่เกิดขึ้นในสามีที่รักไว้ได้ ร่ำไห้ด้วยเสียงดัง. พระราชาทรงดำริว่า
กินนรคงตายแล้ว ปรากฏพระองค์ออกมา. จันทาเห็นท้าวเธอหวั่นใจว่าโจร
ผู้นี้คงยิงสามีที่รักของเรา จึงหนีไปอยู่บนยอดเขา พลางบริภาษพระราชา ได้
กล่าวคาถา ๕ คาถา ดังนี้
พระราชบุตรใด ยิงสามีผู้เป็นที่ปรารถนาของเรา
เพื่อให้เป็นหม้ายที่ชายป่า พระราชบุตรนั้นเป็นคน
เลวทรามแท้ สามีของเรานั้นถูกยิงแล้วนอนอยู่ที่พื้นดิน
 
๖๐/๑๘๙๐/๓๖๗

วันอาทิตย์, สิงหาคม 27, 2566

Phuang

 
สุมนาเวฬิยเถราปทานที่ ๘ (๓๒๘)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยพวงอาทิผิด อักขระมาลัยดอกมะลิ
[๓๓๐] ชนทั้งปวงมาประชุมกันทำการบูชาใหญ่ แด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าพระนามว่า เวสสภู ผู้เป็นเชษฐบุรุษของโลก
ผู้คงที่.
ในกาลนั้นเราใส่ก้อนปูนขาวแล้ว วางอาทิผิด อักขระพวงมาลัยดอกมะลิ
ไว้บูชา ข้างหน้าแห่งอาสนะทอง.
ชนทั้งปวงมามุงดูดอกไม้อันอุดม ด้วยดำริว่า ใครบูชา
ดอกไม้นี้แด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ผู้คงที่.
เราได้เข้าถึงชั้นนิมมานรดี เพราะจิตอันเลื่อมใสนั้น ได้
เสวยกรรมของตน ที่ตนทำไว้ดีในกาลก่อน.
เราเข้าถึงกำเนิดใด ๆ คือ ความเป็นเทวดาหรือมนุษย์
ย่อมเป็นที่รักของปวงชน นี้เป็นผลแห่งการบูชาด้วยดอกไม้.
เราไม่รู้จักทุคติด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจเลย เรา
ทำการบำรุงแก่ภิกษุทั้งหลายผู้สำรวมแล้ว ผู้มีตบะ.
ด้วยความประพฤติชอบนั้น และด้วยการตั้งจิตมั่น เรา
เป็นผู้ที่รักของปวงชนบูชา นี้เป็นผลแห่งการไม่ด่า.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้
ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา.
 
๗๑/๓๓๐/๗๘๙

วันเสาร์, สิงหาคม 26, 2566

Khong

 
ครั้นเห็นแล้วก็ได้มีความดำริอย่างนี้ว่า พระราชาทรงรับดอกไม้ทั้งหลายแล้ว
จะพึงประทานทรัพย์ ๑๐๐ กหาปณะ หรือ ๑,๐๐๐ กหาปณะ (แก่เรา) ก็ทรัพย์
นั้นพึงเป็นความสุขยิ่งกว่าในโลกนี้ แต่การบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้ามีผลประมาณ
มิได้ นับมิได้ ย่อมนำความสุขมาสิ้นกาลนาน เอาเถิด เราจะบูชาพระผู้มี-
พระภาคเจ้า.
นายสุมนมาลาการนั้น มีใจเลื่อมใส ถือดอกไม้กำมือหนึ่ง ซัดไปแล้ว
เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดอกไม้ทั้งหลายไปทางอากาศ ได้เป็น
เพดานดอกไม้ ดำรงอยู่แล้วเบื้องบนของอาทิผิด อักขระพระผู้มีพระภาคเจ้า นายมาลาการ
เห็นอานุภาพนั้นแล้ว ย่อมมีใจเลื่อมใสยิ่งขึ้น ได้ซัดดอกไม้ไปอีกกำมือหนึ่ง
ดอกไม้เหล่านั้น ไปเป็นเกราะดอกไม้ดำรงอยู่แล้ว นายมาลาการซัดดอกไม้ไป
ถึง ๘ กำมือด้วยอาการอย่างนี้ ดอกไม้เหล่านั้นไปเป็นเรือนยอด. พระผู้มี-
พระภาคเจ้าได้ประทับอยู่แล้วภายในเรือนยอด หมู่มหาชนประชุมกันแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงสรรเสริญนายมาลาการ จึงได้ทรงกระทำการแย้ม
พระโอษฐ์ให้ปรากฏ พระอานนทเถระคิดว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่ทำการ
แย้มทั้งหลายให้ปรากฏ เพราะเรื่องมิใช่เหตุ มิใช่ปัจจัย ดังนี้แล้วจึงทูลถาม
ถึงเหตุที่ทำให้แย้มพระโอษฐ์. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อานนท์ นายมาลา-
การนี้ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายสิ้นแสนกัป ในที่สุดก็จะได้เป็น
พระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อว่า สุมนิสสระ ด้วยอานุภาพแห่งการอาทิผิด อักขระบูชานี้.
ก็ในที่สุดแห่งพระวาจา เพื่อจะแสดงพระธรรมเทศนา จึงได้ตรัส
พระคาถานี้ว่า
บุคคลทำกรรมใดแล้ว ไม่เดือดร้อน
ในภายหลัง กรรมนั้นแลที่บุคคลทำแล้วเป็น
 
๔๗/๓๑๘/๑๕๓

วันศุกร์, สิงหาคม 25, 2566

Yai

 
อรรถกถามหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร

มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับ มาอย่างนี้:-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตโปทาราเม ความว่า ในอารามที่มีชื่อ
อย่างนี้ ด้วยอำนาจแห่งสระชื่อ ตโปทะ คือ มีน้ำร้อน. ได้ยินว่า ภายใต้
เวภารบรรพตมีภพนาคประมาณห้าร้อยโยชน์ของนาคที่อยู่ ในแผ่นดินทั้งหลาย
เป็นเช่นกับเทวโลก ถึงพร้อมด้วยพื้นอันสำเร็จด้วยแก้วมณี และสวนอันเป็น
ที่รื่นรมย์ทั้งหลาย. ในสถานที่เป็นที่เล่นของนาคทั้งหลายในภพนาคนั้น มี
สระน้ำใหญ่อาทิผิด แม่น้ำชื่อ ตโปทา มีน้ำร้อนเดือดพล่านไหลจากสระนั้น. ก็เพราะ
เหตุไร แม่น้ำนั้นจึงเป็นเช่นนี้. ได้ยินว่า โลกแห่งเปรตใหญ่ล้อมกรุงราชคฤห์.
แม่น้ำตโปทา นี้มาในระหว่างมหาโลหกุมภีนรก ทั้งสองในมหาเปรต โลกนั้น.
เพราะฉะนั้น แม่น้ำตโปทานั้น จึงเดือดพล่านไหลมา. สมจริงดังพระดำรัส
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำตโปทานี้ย่อม
ไหลโดยประการที่สระนั้น มีน้ำใสสะอาด. เย็น ขาว มีท่าดี รื่นรมย์ มีปลาและ
เต่ามาก และมีปทุมประมาณวงล้อบานสะพรั่ง อนึ่ง แม่น้ำตโปทานี้ ไหลผ่าน
ระหว่างมหานรกทั้งสอง เพราะเหตุนั้น แม่น้ำตโปทานี้จึงเดือดพล่านไหลมา
ดังนี้. ก็สระน้ำใหญ่ เกิดข้างหน้าพระอารามนี้ ด้วยอำนาจแห่งชื่อ สระน้ำ
ใหญ่นั้น วิหารนี้ จึงเรียกว่า ตโปทาราม. บทว่า สมิทฺธิ ความว่า นัยว่า
อัตภาพของพระเถระนั้น ละเอียด มีรูปสวย น่าเลื่อมใส เพราะฉะนั้น จึงถึง
อันนับว่า สมิทธิ. บทว่า อาทิพฺรหฺมจริยโก ได้แก่เป็นเบื้องต้นแห่งมรรค
พรหมจรรย์ คือเป็นข้อปฏิบัติ ในส่วนเบื้องต้น. บทว่า อทํ ว วา สุคโต
อฏฺฐายาสนา เป็นต้น พึงให้พิสดารโดยนัยที่กล่าวแล้วในมธุบิณฑิกสูตร.
 
๒๓/๕๖๔/๒๔๐

วันพฤหัสบดี, สิงหาคม 24, 2566

Phu khao

 
๑๐. อัณฑภารีสูตร

ว่าด้วยบุรุษมีอัณฑะเท่าหม้อ

[๖๔๙] ฯ ล ฯ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ตอบว่า เมื่อผมลงมา
จากภูเขาอาทิผิด อักขระคิชฌกูฏ ได้เห็นบุรุษมีอัณฑะใหญ่เท่าหม้อลอยอยู่ในเวหาส บุรุษ
นั้นแม้เมื่อเดินไปก็แบกอัณฑะนั้นไว้บนบ่า แม้เมื่อนั่งก็ทับอัณฑะนั้นแหละ
แร้งบ้าง กาบ้าง พญาแร้งบ้าง ต่างก็โผถลาตามจิกทึ้งอาทิผิด สระบุรุษนั้น ได้ยินว่า
บุรุษนั้นส่งเสียงร้องครวญคราง ฯ ล ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์นี้ได้
เป็นผู้พิพากษาตัดสินอรรถคดีโกง อยู่ในกรุงราชคฤห์นี้เอง ฯ ล ฯ.
จบอัณฑภารีสูตรที่ ๑๐
จบปฐมวรรคที่ ๑๐

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัฏฐิสูตร ๒. เปสิสูตร ๓. ปิณฑสูตร
๔. นิจฉวิสูตร ๕. อสิสูตร ๖. สัตติสูตร
๗. อุสุสูตร ๘. ปฐมสูจิสูตร ๙. ทุติยสูจิสูตร
๑๐. อัณฑภารีสูตร.

อรรถกถาอัณฑภารีสูตรที่ ๑๐

ในเรื่องบุรุษมีอัณฑะเท่าหม้อ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า คามกูโฏ ได้แก่อำมาตย์ผู้วินิจฉัยคดี เพราะเขามีส่วนเสมอ
กับกรรม จึงมีอัณฑะประมาณเท่าหม้อ คือขนาดหม้อใหญ่. เพราะเขารับ
 
๒๖/๖๔๙/๗๑๔

วันพุธ, สิงหาคม 23, 2566

Oprom

 
ห้อง ครั้นนั้น ท่านพระเรวตะคิดว่า พระผู้เฒ่านี้ยังไม่นอน จึงไม่สำเร็จการ
นอน ท่านพระสัพพกามีคิดว่า พระอาคันตุกะรูปนี้เหนื่อยมา ยังไม่นอน จึงไม่
สำเร็จการนอน.
[๖๔๗] ครั้นถึงเวลาใกล้รุ่ง. แห่งราตรี ท่านพระสัพพกามีลุกขึ้น กล่าว
กะท่านพระเรวตะว่า ท่านผู้เจริญ บัดนี้ ท่านอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไรโดยมาก
ร. ท่านเจ้าข้า บัดนี้ ผมอยู่ด้วยเมตตาวิหารธรรมโดยมาก
ส. ได้ยินว่า บัดนี้ ท่านอยู่ด้วยวิหารธรรมตื้นๆ โดยมากวิหารธรรม
ตื้น ๆ นี้ คือเมตตา.
ร. ท่านเจ้าข้า แม้เมื่อก่อนครั้งผมเป็นคฤหัสถ์ได้อบรมเมตตามา
เพราะฉะนั้น ถึงบัดนี้ ผมก็อยู่ด้วยเมตตาวิหารธรรมโดยมาก และผมได้บรรลุ
พระอรหัตมานานแล้ว ท่านเจ้าข้า ก็บัดนี้พระเถระอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร
โดยมาก
ส. ท่านผู้เจริญ บัดนี้ ฉันอยู่ด้วยสุญญตาวิหารธรรมโดยมาก
ร. ท่านเจ้าข้า ได้ยินว่า บัดนี้ พระเถระอยู่ด้วยวิหารธรรมของพระ
มหาบุรุษโดยมาก วิหารธรรมของพระมหาบุรุษนี้ คือ สุญญตสมาบัติ
ส. ท่านผู้เจริญ แม้เมื่อก่อนครั้งฉันเป็นคฤหัสถ์ ได้อบรมอาทิผิด อักขระสุญญต-
สมาบัติมาแล้ว เพราะฉะนั้น บัดนี้ ฉันจึงอยู่ด้วยวิหารธรรม คือ สุญญต-
สมาบัติและฉันได้บรรลุพระอรหัตมานานแล้ว.
เรื่องพระสัมภูตสาณวาสีถาม
[๖๔๘] พระเถระทั้งสองสนทนากันมาโดยลำดับค้างอยู่เพียงเท่านี้
ครั้งนั้น. ท่านพระสัมภูตสาณวาสีมาถึงโดยลำดับจึงเข้าไปหาท่านพระสัพพกามี
 
๙/๖๔๗/๕๔๘

วันอังคาร, สิงหาคม 22, 2566

Lao ni

 
อนึ่ง บทว่า ปาฏิหาริยปกฺขญฺจ นี้ ในคาถานั้น ท่านกล่าวหมาย
เอาดิถีที่ ๗ และดิถีที่ ๙ อันเป็นดิถีรับและส่งแห่งอัฏฐมีอุโบสถ และดิถีที่ ๑๓
และปาฏิบทอันเป็นดิถีรับและส่งแห่งจาตุททสีอุโบสถและปัณณรสีอุโบสถ.
ครั้นกล่าวกรรมของโสณทินนเทพบุตรอย่างนี้แล้ว มาตลีเทพสารถี
ก็ขับรถต่อไป แสดงวิมานแก้วผลึก วิมานแก้วผลึกนั้นสูง ๒๕๐ โยชน์ ประกอบ
ด้วยเสาซึ่งแล้วไปด้วยแก้ว ๗ ประการหลายร้อยต้น ประดับด้วยอดหลายร้อย
ยอด ห้อยกระดิ่งเป็นแถวรอบ มีธงที่แล้วด้วยทองและเงินปักไสว ประดับด้วย
อุทยานและวนะวิจิตรด้วยบุปผชาตินานาชนิด ประกอบด้วยสระโบกขรณี
น่ายินดี มีไพทีที่น่ารื่นรมย์ เกลื่อนไปด้วยอัปสรผู้ฉลาดในการฟ้อนรำขับร้อง
และประโคม พระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นวิมานแก้วผลึกนั้น มีพระ-
หฤทัยยินดี ตรัสถามถึงกุศลกรรมแห่งอัปสรเหล่านั้น แม้มาตลีเทพสารถีนอกนี้
ก็ได้ทูลบอกแด่พระองค์
วิมานอันบุญญานุภาพตกแต่งดีแล้วนี้ เกลื่อน
ไปด้วยหมู่อัปสรผู้ประเสริฐ รุ่งเรืองด้วยยอดบริบูรณ์
ด้วยข้าวและน้ำ งดงามด้วยการฟ้อนรำขับร้อง เปล่ง
แสงสว่างจากฝาแก้วผลึก ความปลื้มใจย่อมปรากฏ
แก่เรา เพราะได้เห็นความเป็นไปนี้ ดูก่อนมาตลี-
เทพสารถี เราขอถามท่าน อัปสรเหล่านี้อาทิผิด ได้ทำกรรมดี
อะไรไว้ จึงถึงสวรรค์บันเทิงอยู่ในวิมาน.
มาตลีเทพสารถีทูลพยากรณ์พระดำรัสถาม ตาม
ที่ทราบวิบากแห่งสัตว์ผู้ทำบุญทั้งหลาย แด่พระราชา
ผู้อาทิผิด ไม่ทรงทราบว่า อัปสรเหล่านั้นเมื่อยังอยู่ในมนุษย-
 
๖๓/๕๙๙/๒๘๓

วันจันทร์, สิงหาคม 21, 2566

Thiap khiang

 
ย่อม ทรงทราบแม้ซึ่งพระบัญญัติแห่งพระพุทธเจ้าในอดีตทั้งหลายว่า พระ-
พุทธเจ้าทั้งหลายแม้ในปางก่อน ย่อมทรงบัญญัติปาราชิกด้วยทรัพย์เท่านี้
ถุลลัจจัยด้วยทรัพย์เท่านี้ ทุกกฏด้วยทรัพย์เท่านี้ แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น ถ้า
พระองค์ไม่ทรงเทียบเคียงกับคนที่รู้บัญญัติแห่งโลกเหล่าอื่นแล้ว พึงทรงบัญญัติ
ปาราชิกด้วยทรัพย์เพียงบาทหนึ่ง ก็จะพึงมีผู้กล่าวตำหนิพระองค์เพราะเหตุ
เท่านั้นว่า ชื่อว่าศีลสังวรแม้ของภิกษุรูปหนึ่ง ก็ประมาณไม่ได้ นับไม่ได้
กว้างขวางยิ่งนัก ดุจมหาปฐพี สมุทร และอากาศ, พระผู้มีพระภาคเจ้า มายัง
ศีลสังวรนั้นให้พินาศเสีย ด้วยทรัพย์เพียงบาทหนึ่ง, แต่นั้น ภิกษุทั้งหลายผู้
ไม่รู้กำลังพระญาณของพระตถาคต พึงยังสิกขาบทให้กำเริบสิกขาบทแม้ที่ทรง
บัญญัติไว้แล้ว ก็ไม่พึงตั้งอยู่ในที่อันควร, แต่เมื่อทรงเทียบเคียงกับคนที่รู้
บัญญัติของโลกแล้ว จึงทรงบัญญัติสิกขาบท การตำหนิติเตียนนั้นย่อมไม่มี,
ย่อมมีแต่ผู้กล่าวอย่างนี้โดยแท้ว่า แม้คนครองเรือนเหล่านี้ ก็ยังฆ่าโจรเสียบ้าง
จองจำไว้บ้าง เนรเทศเสียบ้าง เพราะทรัพย์เพียงบาทหนึ่ง, เหตุไฉนเล่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า จักไม่ทรงยังบรรพชิตให้ฉิบหายเสีย เพราะบรรพชิตไม่
ควรลักทรัพย์ของผู้อื่น แม้เป็นเพียงหญ้าเส้นหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายก็จักรู้กำลัง
พระญาณของพระตถาคต และสิกขาบทแม้ที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว ก็จักไม่กำเริบ
จักตั้งอยู่ในที่อันควร. เพราะฉะนั้น ทรงพระประสงค์จะเทียบอาทิผิด อักขระเคียงกับคนผู้รู้
บัญญัติของโลกแล้วจึงทรงบัญญัติ ทรงชำเลืองดูบริษัททุกหมู่เหล่า ครั้งนั้นแล
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทอดพระเนตรเห็นภิกษุนั้นผู้นั่งอยู่ในที่ไม่ไกลได้ตรัส
คำนี้กะภิกษุนั้น ( คือได้ตรัสคำนี้ ) ว่า ดูก่อนภิกษุ ! พระราชาผู้เป็นใหญ่แห่ง
มคธรัฐ เพียบพร้อมด้วยเสนา ทรงพระนามว่าพิมพิสาร จับโจรได้แล้ว
ทรงฆ่าเสียบ้าง จองจำไว้บ้าง เนรเทศเสียบ้าง เพราะทรัพย์ประมาณเท่าไร
หนอ ดังนี้.
 
๒/๑๗๕/๙๗

วันอาทิตย์, สิงหาคม 20, 2566

Khao

 
[๒๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขา
ทิ้งในป่าช้า อันตายได้วันหนึ่ง หรือสองวัน หรือสามวัน ที่ขึ้นพองเขียวช้ำ
มีน้ำเหลืองเยิ้ม จึงนำเข้าอาทิผิด อาณัติกะมาเปรียบเทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แลก็เหมือนอย่างนี้
เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้ เมื่อภิกษุนั้นไม่
ประมาท มีความเพียร ส่งตนไป ในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริ
พล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไป
ภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ.
[๓๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขา
ทิ้งในป่าช้า อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง ฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง ฝูงนกตะกรุมจิกกิน
อยู่บ้าง หมู่สุนัขบ้านกัดกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขป่ากัดกินอยู่บ้าง สัตว์เล็กสัตว์
น้อยต่างๆชนิดย่อมกินอยู่บ้าง จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แล
ก็เหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้ เมื่อ
ภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไป ในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละ
ความดำริพล่านที่เป็นเจ้าเรือนเสียได้. เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิต
อันเป็นไปภายในเท่านั้นย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ.
[๓๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขา
ทิ้งในป่าช้า ยังคุมเป็นรูปร่างอยู่ด้วยกระดูก มีทั้งเนื้อและเลือดเส้นเอ็นผูกรัด
ไว้...
เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า ยังคุมเป็นรูปร่างด้วยกระดูก ไม่มีเนื้อ มีแต่
เลือดเปรอะเปื้อนอยู่ เส้นเอ็นยังผูกรัดไว้...
 
๒๒/๒๙๙/๓๘๙

วันเสาร์, สิงหาคม 19, 2566

Ya

 
โลก) ภิกษุ. เพราะเหตุนั้น เราจึงขอบอกกะท่านอย่างนี้ว่า ท่านผู้นิรทุกข์
เชิญเถิด ท่านจงทำตามคำที่พรหมบอกแก่ท่านเท่านั้น อย่าอาทิผิด อักขระฝ่าฝืนคำของ
พรหมเลย ภิกษุ. ถ้าท่านจักฝ่าฝืนคำของพรหม โทษจักมีแก่ท่าน เปรียบ
เหมือนบุรุษเอาท่อนไม้ตีไล่สิริที่มาหา หรือเปรียบเหมือนบุรุษผู้จะตก
เหวนรก ชักมือและเท้าให้ห่างแผ่นดินเสีย ฉะนั้น ท่านผู้นิรทุกข์. เชิญ
เถิด ท่านจงทำอย่างที่พรหมบอกแก่ท่านเท่านั้น อย่าฝ่าฝืนคำของพรหมเลย
ภิกษุ. ท่านเห็นพรหมบริษัทประชุมกันแล้วมิใช่หรือ. ภิกษุทั้งหลาย. มารผู้
ลามกย่อมเปรียบเทียบเรากะพรหมบริษัทดังนี้แล ภิกษุทั้งหลาย. เมื่อ
มารกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวกะมารผู้ลามกนั้นว่า แน่ะมาร เราย่อมรู้
จักท่าน ท่านอย่าเข้าใจว่า พระสมณะไม่รู้จักเรา แน่ะมาร. ท่านเป็น
มาร พรหมก็ดี พวกพรหมบริษัทก็ดี พวกพรหมปาริสัชชะก็ดี ทั้งหมดนั่น
แลอยู่ในมือของท่าน ตกอยู่ในอำนาจของท่าน และท่านมีความดำริว่า
แม้สมณะนี้ก็ต้องอยู่ในมือของเรา ต้องตกอยู่ในอำนาจของเรา ก็แต่ว่าเราไม่
ได้อยู่ในมือของท่าน ไม่ได้ตกอยู่ในอำนาจของท่าน.

[๕๕๔] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว พกพรหมได้กล่าว
ว่า ท่านผู้นิรทุกข์. ก็เรากล่าวสิ่งที่เที่ยงนั่นแลว่า เที่ยง กล่าวสิ่งที่มั่นคงนั่นแล
ว่า มั่นคง กล่าวสิ่งที่ยั่งยืนนั่นแลว่า ยั่งยืน กล่าวสิ่งที่แข็งแรงนั่นแลว่า แข็ง
แรง กล่าวสิ่งที่ไม่มีความเคลื่อนเป็นธรรมดานั่นแลว่า ไม่มีความเคลื่อนเป็น
ธรรมดา ก็แหละสัตว์ย่อมไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ ในพรหม
สถานใด เรากล่าวพรหมสถานนั้นแหละว่า พรหมสถานนี้แลไม่เกิด ไม่
แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ และกล่าวเหตุที่ออกไปจากทุกข์อย่างอื่นอันยิ่งขึ้น
ไปไม่มีว่า เหตุที่ออกไปจากทุกข์อย่างอื่นยิ่งขึ้นไปไม่มี ภิกษุ. สมณะ
พราหมณ์พวกที่มีก่อนท่านได้มีแล้วในโลก อายุทั้งสิ้นของท่านเท่าไร กรรม
 
๑๙/๕๕๔/๔๔๓

วันศุกร์, สิงหาคม 18, 2566

Mot

 
ในบรรดากุศลอกุศลทั้งสองฝ่ายนี้ อุปปัชชเวทนียกรรมในฝ่ายที่เป็นกุศล พึง
ทราบด้วยสามารถแห่งสมาบัติ ๘ ในฝ่ายที่เป็นอกุศล พึงทราบด้วยสามารถ
แห่งอนันตริยกรรม ๕. บรรดากรรมทั้งสองฝ่ายนั้น ผู้ที่ได้สมาบัติ ๘ จะเกิด
ในพรหมโลก ด้วยสมาบัติอย่างหนึ่ง. ฝ่ายผู้กระทำอนันตริยกรรม ๕ จะบังเกิด
ในนรกด้วยกรรมอย่างหนึ่ง. สมาบัติที่เหลือ และกรรม (ที่เหลือ) จะถึงความ
เป็นอโหสิกรรมไปหมดอาทิผิด อักขระ คือเป็นกรรมที่ไม่มีวิบาก. แม้ความข้อนี้ พึงทราบ
ตามข้อเปรียบเทียบข้อแรกเทอญ.

อธิบายอปรปริยายเวทนียกรรม

ก็ชวนเจตนา ๕ ดวง ที่เกิดขึ้นในระหว่าง แห่งชวนะ ๒ ดวง (ชวน
เจตนาดวงที่ ๑ และชวนเจตนาดวงที่ ๗) ชื่อว่า อปรปริยายเวทนียกรรม.
อปรปริยายเวทนียกรรมนั้น ได้โอกาสเมื่อใดในอนาคตกาล เมื่อนั้น จะให้ผล
เมื่อความเป็นไปแห่งสังสารวัฏฏะยังมีอยู่ กรรมนั้นจะชื่อว่า เป็นอโหสิกรรม
ย่อมไม่มี. กรรมทั้งหมดนั้นควรแสดงด้วย (เรื่อง) พรานสุนัข. เปรียบเหมือน
สุนัขที่นายพรานเนื้อปล่อยไป เพราะเห็นเนื้อ จึงวิ่งตามเนื้อไป ทันเข้าในที่ใด
ก็จะกัดเอาในที่นั้นแหละ ฉันใด กรรมนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้โอกาสในที่ใด
ก็จะอำนวยผลในที่นั้นทันที. ขึ้นชื่อว่าสัตว์ จะรอดพ้นไปจากกรรมนั้น เป็น
ไม่มี.

อธิบายครุกกรรม

ส่วนในบรรดากรรมหนักและกรรมไม่หนัก ทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล
กรรมใดหนัก กรรมนั้นชื่อว่า ครุกกรรม. ครุกกรรมนี้นั้น ในฝ่ายกุศล
พึงทราบว่าได้แก่ มหัคคตกรรม ในฝ่ายอกุศล พึงทราบว่าได้แก่ อนันตริย-
 
๓๔/๔๗๓/๑๒๓

วันพฤหัสบดี, สิงหาคม 17, 2566

Nai

 
สิกขาบทที่เป็นโลกวัชชะ เลวทรามกว่าทั้ง ๒ อย่าง. กรรมวาจาแห่ง
ปริวาสท่านเรียกว่ากรรม, ไม่พึงติด้วยคำเป็นต้นว่า กรรมนั้น ไม่เป็น
อันทำ ทำเสีย หรือด้วยคำเป็นต้นว่า กรรมชนิดนี้เป็นกสิกรรม เป็น
โครักขกรรมด้วยหรือ?
บทว่า กมฺมิกา มีความว่า กรรมอันภิกษุเหล่าใดทำแล้วภิกษุ
เหล่านั้น ท่านเรียกว่า กัมมิกา.
ไม่พึงติภิกษุเหล่านั้นด้วยคำว่า เป็นพาล ไม่ฉลาด เป็นต้น.
ข้อว่า น สวจนียํ กาตพฺพํ มีความว่า ไม่พึงทำความ
เป็นผู้มีคำจำต้องกล่าว เพื่อประโยชน์แก่การประวิงหรือเพื่อประโยชน์แก่
การเกาะด้วย.
จริงอยู่ เมื่อจะทำเพื่อประโยชน์แก่การประวิง ย่อมทำอย่างนี้ว่า
ข้าพเจ้าจะทำท่านให้เป็นผู้ให้การในอาทิผิด สระคดีนี้, ท่านอย่าได้ย่างออกจากอาวาสนี้
แม้เพียงก้าวเดียว ตลอดเวลาที่อธิกรณ์ยังระงับไม่เสร็จ ดังนี้, เมื่อจะ
ทำเพื่อประโยชน์แก่การเกาะตัว ย่อมทำอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าจะทำท่านให้
เป็นผู้ให้การ, ท่านจงมา ไปต่อหน้าพระวินัยธร พร้อมกับข้าพเจ้า
ไม่พึงทำความเป็นผู้มีคำจำต้องกล่าวทั้ง ๒ อย่างนั้น.
บทว่า น อนุวาโท มีความว่า ไม่พึงรับตำแหน่งหัวหน้าใน
วิหาร, คือ ไม่พึงเป็นผู้สวดปาติโมกข์ หรือเชิญแสดงธรรม ไม่พึง
ทำการเนื่องด้วยความเป็นใหญ่ แม้ด้วยอำนาจสมมติอย่างหนึ่งในสมมติ
๑๓.
 
๘/๓๗๖/๒๕๙

วันพุธ, สิงหาคม 16, 2566

Sue trong

 
อุบาสิกาของพระผู้มีจักษุ เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์
งดเว้นจากการลักทรัพย์ ยินดีเฉพาะสามีของตน
ไม่กล่าวคำเท็จ และไม่ดื่มน้ำเมา อนึ่ง ดีฉันมีใจ
เลื่อมใส เมื่อบริจาคข้าวและน้ำ ได้ถวายทานอย่าง
ไพบูลโดยเคารพ เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะ
อย่างนี้ เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่ดีฉัน และ
โภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ดีฉัน.
ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันขอบอก
แก่ท่าน ครั้งเป็นอาทิผิด อักขระมนุษย์อยู่ ดีฉันได้ทำบุญใดไว้
เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ
วรรณะของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.
จบทุติยปติพพตาวิมาน
อรรถกถาทุติยปติพพตาวิมาน
ทุติยปติพพตาวิมาน มีคาถาว่า เวฬุริยถมฺภํ เป็นต้น. ทุติยปติพพ-
ตาวิมานนั้น เกิดขึ้นอย่างไร ?
ดังได้สดับมา อุบาสิกาผู้หนึ่งในกรุงสาวัตถี เป็นผู้ซื่ออาทิผิด อักขระตรงต่อสามี
มีความเชื่อเลื่อมใส [ ในพระรัตนตรัย ] รักษาศีล ๕ ทำให้บริสุทธิ์ และ
ได้ให้ทานตามสมควรแก่ทรัพย์สมบัติ ตายแล้วก็ไปบังเกิดในภพดาวดึงส์.
คำที่เหลือมีนัยที่กล่าวมาแล้วในหนหลังทั้งนั้น. ท่านพระโมคคัลลานะ
 
๔๘/๑๒/๙๘

วันอังคาร, สิงหาคม 15, 2566

Khit

 
ชวนกันออกบวช
[๖๔๙] เด็กชายอุบาลีได้ยินถ้อยคำที่มารดาบิดาสนทนาหารือกันดังนี้
จึงเข้าไปหาเพื่อนเด็กเหล่านั้น ครั้นแล้วได้พูดชวนดังนี้ว่า มาเถิดพวกเจ้า
เราจักพากันไปบวชในสำนักพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร.
เด็กชายพวกนั้นพูดว่า ถ้าเจ้าบวช แม้พวกเราก็จักบวชเหมือนกัน.
ไม่รอช้า เด็กชายเหล่านั้นต่างคนต่างก็ไปหามารดาบิดาของตน ๆ แล้ว
ขออนุญาตว่า ขอท่านทั้งหลายจงอนุญาตให้พวกข้าพเจ้าออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตเถิด.
มารดาของเด็กเหล่านั้นก็อนุญาตทันที ด้วยคิดอาทิผิด อักขระเห็นว่า เด็กเหล่านี้
ต่างก็มีฉันทะร่วมกัน มีความมุ่งหมายดีด้วยกันทุกคน
เด็กพวกนั้นเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายขอบรรพชาแล้ว .
ภิกษุทั้งหลายก็ได้ให้เด็กพวกนั้นบรรพชาและอุปสมบท.
ครั้นปัจจุสสมัยแห่งราตรี ภิกษุใหม่เหล่านั้นลุกขึ้นร้องไห้วิงวอนว่า
ขอท่านทั้งหลาย จงให้ข้าวต้ม จงให้ข้าวสวย จงให้ของเคี้ยว.
ภิกษุทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย จงรอให้ราตรีสว่างก่อน
ถ้าข้าวต้มมี จักดื่มได้ ถ้าข้าวสวยมี จักฉันได้ ถ้าของเคี้ยวมี จักเคี้ยวฉันได้
ถ้าข้าวต้มข้าวสวยหรือของเคี้ยวไม่มี ต้องเที่ยวบิณฑบาตฉัน .
ภิกษุใหม่เหล่านั้นอันภิกษุทั้งหลายแม้กล่าวอยู่อย่างนี้แล ก็ยังร้องไห้
วิงวอนอยู่อย่างนั้นแลว่า จงให้ข้าวต้ม จงให้ข้าวสวย จงให้ของเคี้ยว ดังนี้
ย่อมถ่ายอุจจาระรดบ้าง ถ่ายปัสสาวะรดบ้าง ซึ่งเสนาสนะ.
[๖๕๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตื่นบรรทม ณ เวลาปัจจุสสมัยแห่ง
ราตรี ได้ทรงสดับเสียงเด็ก ๆ ครั้นแล้วตรัสเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสถามอาทิผิด อักขระ
ว่า นั่นเสียงเด็ก ๆ หรือ อานนท์.
 
๔/๖๔๙/๖๙๙

วันจันทร์, สิงหาคม 14, 2566

Lao

 
อรรถกถาโพชฌงคสังยุต
ปัพพตวรรควรรณนาที่ ๑

อรรถกถาหิมวันตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในหิมวันตสูตรที่ ๑ แห่งโพชฌังคสังยุต.
บทว่า นาคา ความว่า นาคแม้เหล่านี้ อยู่ระหว่างคลื่น บนหลัง
มหาสมุทร หาอยู่ในวิมานไม่. นาคเหล่าอาทิผิด นั้นมีกายเติบโตเป็นต้น เพราะอาศัย
ภูเขาหิมวันต์ ทั้งหมดพึงทราบโดยนัยอันกล่าวแล้วในหนหลัง. ในบทว่า
โพชฺณงฺเค นี้ ชื่อว่าโพชฌงค์เพราะเป็นองค์แห่งความตรัสรู้ หรือองค์ของ
ผู้ตรัสรู้. มีคำที่ท่านอธิบายไว้อย่างไร ธรรมสามัคคีนี้ท่านเรียกว่า โพธิ
เพราะอธิบายไว้ว่า พระอริยสาวกย่อมตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคี กล่าวคือ สติ
ธรรมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา ซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่ออุปัทวะ
หลายอย่างมี ลีนะ ความหดหู่ อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน ปติฏฐานะ
ความตั้งอยู่ อายูหนะ การรวบรวม กามสุขัลลิกานุโยค ทำความเพียร
ในกามสุข อัตตกิลมถานุโยค ทำความเพียรในการทำตนให้ลำบาก อุจเฉท-
ทิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง และอภินิเวส
ความยึดมั่นเป็นต้น เมื่อธรรมสามัคคีเกิดขึ้นอยู่ ในขณะแห่งมรรคที่เป็น
โลกิยะและโลกุตระดังนี้ บทว่า พุชฺฌติ มีอธิบายว่า พระอริยสาวก ย่อม
ลุกขึ้นจากความหลับคือกิเลสสันดาน คือตรัสรู้อริยสัจ ๔ หรือย่อมกระทำ
นิพพานให้แจ้ง. สมดังที่ท่านกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเจริญโพชฌงค์ ๗
ตรัสรู้แล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ. ชื่อว่า โพชฌงค์เพราะเป็นองค์
 
๓๐/๓๕๖/๑๘๕

วันอาทิตย์, สิงหาคม 13, 2566

Moha

 
กันโดยความเกิดพร้อมกันในกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันด้วยการประมาณ
เพราะฉะนั้น ท่านจึงนำกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันโดยการเกิดพร้อมกันนี้มา
แสดงไว้ ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า ตํสมฺปยุตโต (อันสัมปยุตด้วยสังโยชน์ ๓ นั้น) ได้แก่
สัมปยุตด้วยกิเลส ๘ ซึ่งตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับสังโยชน์ ๓ นั้นเหล่านั้น อีก
อย่างหนึ่ง พึงทำการแยกแสดงความเป็นขันธ์สัมปยุตแต่ละขันธ์อย่างนี้ คือ
สัมปยุตด้วยโลภะนั้น และสัมปยุตด้วยโทสะนั้น. บรรดากิเลสเหล่านั้น เมื่อ
ถือโลภะ หมู่กิเลสซึ่งเป็นสังขารขันธ์นี้ คือ โมหะ มานะ ถีนะ อุทธัจจะ
อหิริกะ อโนตตัปปะ ก็ชื่อว่า สัมปยุตด้วยโลภะ เมื่อถือเอาโทสะ หมู่กิเลส
ซึ่งเป็นสังขารขันธ์นี้คือ โมหะ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ ก็ชื่อว่า
สัมปยุตด้วยโทสะ เมื่อถือเอาโมหะ หมู่กิเลสซึ่งเป็นสังขารขันธ์นี้ คือ โลภะ
โทสะ มานะ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ ก็ชื่อว่า สัมปยุตด้วยโมหะอาทิผิด อักขระ
เมื่อท่านถือเอามานะ หมู่กิเลสซึ่งเป็นสังขารขันธ์นี้ คือ โลภะ โทสะ โมหะ
ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ ซึ่งเกิดพร้อมกับมานะนั้น ก็ชื่อว่า
สัมปยุตตด้วยมานะ.
โดยอุบายนี้ บัณฑิตพึงทำการประกอบว่า ขันธ์สัมปยุตด้วยถีนะนั้น
สัมปยุตด้วยอุทธัจจะนั้น สัมปยุตด้วยอหิริกะ สัมปยุตด้วยอโนตตัปปะนั้น
ดังนี้.
บทว่า ตํสมุฏฺฐานํ ได้แก่ ตั้งขึ้นด้วยโลภะนั้น ฯลฯ ตั้งขึ้นด้วย
อโนตตัปปะ. ในบทว่า อิเม ธมฺมา ทสฺสเนน ปหาตพฺพา (สภาวธรรม
เหล่านี้ อันโสดาปัตติมรรคพึงประหาณ) นี้อธิบายว่า โสดาปัตติมรรค ชื่อว่า
ทัสสนะ อธิบายว่า ธรรมทั้งหลายอันโสดาปัตติมรรคนั้นพึงละ.
 
๗๖/๖๘๘/๓๗๓

วันเสาร์, สิงหาคม 12, 2566

Satsata

 
ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีรูปอย่างไร ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
โดยความเป็นตนอาทิผิด อักขระ เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่า
ตัวตนของเรานี้นั้นแล มีรูปด้วยรูปนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีรูป เปรียบ
เหมือนต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้
เป็นอย่างหนึ่ง เงาเป็นอย่างหนึ่ง แต่ว่าต้นไม้นี้นั้นแล มีเงาด้วยเงานี้ ดังนี้
ชื่อว่าย่อมเห็นต้นไม้ว่ามีเงา ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมเห็นเวทนา...โดยความเป็นตน นี้เป็นสัสสตอาทิผิด อักขระทิฏฐิอันมีสักกายทิฏฐิเป็น
วัตถุที่ ๑ สัสสตทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ
ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีรูปอย่างนี้ ฯลฯ สัสสตทิฏฐิอันมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุ
มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๕ เหล่านี้.
[๓๓๖] อุจเฉททิฏฐิอันมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุ มีความถือผิดด้วย
อาการ ๑๕ เป็นไฉน ?
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า...ไม่ได้รับ
แนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน เห็นเวทนาโดย
ความเป็นตน เห็นสัญญาโดยความเป็นตน เห็นสังขารโดยความเป็นตน เห็น
วิญญาณโดยความเป็นตน.
ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างไร ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นปฐวีกสิณ ฯลฯ โอทาตกสิณโดยความ
เป็นตน คือ ย่อมเห็นโอทาตกสิณและตนไม่เป็นสองว่า โอทาตกสิณอันใด
เราก็อันนั้น เราอันใด โอทาตกสิณก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมัน
ลุกโพลงอยู่ ฯลฯ นี้เป็นอุจเฉททิฏฐิอันมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุที่ ๑ อุจเฉททิฏฐิ
 
๖๙/๓๓๖/๒๐

วันศุกร์, สิงหาคม 11, 2566

Karuna

 
เดินติดตามภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขมากว่า ๒ เดือนอาทิผิด อักขระแล้ว ด้วยหมาย
ใจว่าได้โอกาสเมื่อใดจักทำภัตตาหารถวายเมื่อนั้น แต่ก็หาโอกาสไม่ได้ อนึ่ง
ตนตัวคนเดียวและยังเสียประโยชน์ทางฆราวาสของตนไปมาก ไฉนหนอตนพึง
ตรวจดูโรงอาหาร สิ่งใดไม่มีในโรงอาหาร พึงตกแต่งสิ่งนั้นถวาย ดังนี้ ข้า
แต่พระคุณเจ้าอานนท์ข้าพเจ้านั้นตรวจดูโรงอาหาร มิได้เห็นมีของ ๒ สิ่ง คือ
ยาคู ๑ ขนมปรุงด้วยน้ำหวาน ๑ ถ้าข้าพเจ้าตกแต่งยาคู และขนมปรุงด้วยน้ำ
หวานถวาย ท่านพระโคดมจะพึงรับของข้าพเจ้าไหม เจ้าข้า ?.
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้นฉันจักทูลถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าทันที.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ถ้าเช่นนั้นพราหมณ์จงตก
แต่ง ถวายเถิด.
ท่านพระอานนท์ บอกพราหมณ์ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้นท่าน
ตกแต่งถวายได้ละ.
พราหมณ์นั้น จึงตกแต่งยาคูและขนมปรุงด้วยน้ำหวานมากมายโดยผ่าน
ราตรีนั้น แล้วน้อมเข้าไปถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้ากราบทูลว่า ขอท่านพระ
โคดมโปรดกรุณาอาทิผิด สระรับยาคูและขนมปรุงด้วยน้ำหวานของข้าพระพุทธเจ้าด้วยเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้นเธอจงถวาย
แก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ รังเกียจไม่รับ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย พวกเธอจงรับประเคนฉันเถิด.
พราหมณ์นั้นจึงอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยยาคู
และขนมปรุงด้วยน้ำหวานมากมายด้วยมือของตน จนยังพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้
เสวยเสร็จล้างพระหัตถ์แล้ว ทรงนำพระหัตถ์ออกจากบาตร ให้ห้ามภัตรแล้ว
จึงนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
 
๗/๖๑/๑๐๒

วันพฤหัสบดี, สิงหาคม 10, 2566

Thiao

 
ของพ่อแม่ของตน นกมูลไถตอบว่า คือ ที่ก้อนดินรอยไถ. ภิกษุทั้งหลาย
ครั้งนั้นแล เหยี่ยวนกเขาทรนงในกำลังของตน เชื่อในกำลังของอาทิผิด อักขระ
ตน ปล่อยนกมูลไถไปโดยกล่าวว่า ดูก่อนนกมูลไถ เจ้าจงไปเถิด
ถึงเจ้าไปในที่นั้นก็ไม่พ้น. ครั้งนั้นแล นกมูลไถบินโผไปสู่ที่ก้อนดิน
รอยไถ ขึ้นยังก้อนดินก้อนใหญ่ ยืนท้าเหยี่ยวนกเขาว่า มาเดี๋ยวนี้ซิ เจ้า
เหยี่ยวนกเขา มาเดี๋ยวนี้ซิ เจ้าเหยี่ยวนกเขา.
ครั้นนั้นเหยี่ยวนกเขา ผู้ทรนงในกำลังของตน เชื่อมั่นใน
กำลังของตน ลู่ปีกทั้งสองพลันโฉบลงตรงนกมูลไถ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ครั้งใดแล นกมูลไถรู้ตัวว่า เหยี่ยวนกเขาตัวนี้สามารถพุ่งตัวลงมาแล้ว
ครั้งนั้นแล นกมูลไถก็หลบซ่อนตรงระหว่างก้อนดินนั้นนั่นเอง. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล เหยี่ยวนกเขา จึงได้แต่ให้อกกระแทก
ที่ก้อนดินนั้นแล. ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นก็เหมือนกับที่ภิกษุเที่ยวไปในที่
อโคจร อันเป็นถิ่นของปรปักษ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล
พวกเธอจงอย่าเที่ยวไปในที่อโคจร อันเป็นถิ่นของปรปักษ์. เมื่อเธอเที่ยว
ไปในแดนอโคจร อันเป็นถิ่นของปรปักษ์ มารย่อมได้ช่อง มารย่อมได้อา-
รมณ์. ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าคืออโคจร ถิ่นของปรปักษ์ สำหรับภิกษุ คือ
กามคุณ ๕. กามคุณ ๕ เป็นไฉน ? ได้แก่รูปที่พึงรู้ได้ด้วยจักษุอันน่าปรารถนา
น่าใคร่น่าพึงใจประกอบด้วยความใคร่เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ฯลฯ โผฏ-
ฐัพพะที่พึงรู้ด้วยกาย ฯลฯ อันเป็นที่ตั้งแห่งอาทิผิด อักขระความกำหนัด. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย นี้ คืออโคจรอันเป็นถิ่นของปรปักษ์สำหรับภิกษุ. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวอาทิผิด อักขระในโคจร ฯลฯ มารย่อมไม่ได้อารมณ์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อะไรคือโคจรของภิกษุ ซึ่งเป็นถิ่นของบิดามารดา
ของตน คือสติปัฏฐาน ๔. สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯลฯ ธรรมที่
เป็นถิ่นบิดาของตน.
 
๑๕/๕๐/๑๒๗

วันพุธ, สิงหาคม 09, 2566

Khao

 
ทั้งหลาย เพราะในตัวคนพาลนี้ไม่มีความประพฤติธรรม ความประพฤติสงบ
การทำกุศล การทำบุญ มีแต่การกินกันเอง การเบียดเบียนคนอ่อนแอ.
[๔๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลนั้นนั่นแล ถ้าจะมาสู่ความเป็น
มนุษย์ในบางครั้งบางคราว ไม่ว่ากาลไหน ๆ โดยล่วงระยะกาลนาน ก็ย่อมเกิด
ในสกุลต่ำ คือ สกุลคนจัณฑาล หรือสกุลพรานล่าเนื้อ หรือสกุลคนจักสาน
หรือสกุลช่างรถ หรือสกุลคนเทขยะ เห็นปานนั้น ในบั้นปลาย อันเป็นสกุล
คนจน มีข้าวน้ำและโภชนาหารน้อย มีชีวิตเป็นไปลำบาก ซึ่งเป็นสกุลที่จะ
ได้ของกิน และเครื่องนุ่งห่มโดยฝืดเคือง และเขาจะมีผิวพรรณทราม น่าเกลียด
ชัง ร่างม่อต้อ มีโรคมาก เป็นคนตาบอดบ้าง เป็นคนง่อยบ้าง เป็นคนกระ-
จอกบ้าง เป็นคนเปลี้ยบ้าง ไม่ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม
เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และเครื่องตามประทีป เขาจะประพฤติกาย-
ทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ครั้นแล้วเมื่อตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก.
[๔๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนนักเลงการพนัน เพราะเคราะห์
ร้าย ประการแรกเท่านั้น จึงต้องเสียลูกบ้าง เสียเมียบ้าง เสียสมบัติทุกอย่าง
บ้าง ยิ่งขึ้นไปอีก ต้องถึงถูกจองจำ เคราะห์ร้ายของนักเลงการพนันที่ต้องเสีย
ไปดังนั้น เพียงเล็กน้อย ที่แท้แลเคราะห์ร้ายอันใหญ่หลวงกว่านั้น คือ เคราะห์
ที่คนพาลนั้นประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตแล้ว ตายไป เข้าอาทิผิด อักขระถึง
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก นั่นเอง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ภูมิของคนพาลครบถ้วนบริบูรณ์.
[๔๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลักษณะ เครื่องหมาย เครื่องอ้างว่า
เป็นบัณฑิตของบัณฑิตนี้มี ๓ อย่าง ๓ อย่างเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บัณฑิตในโลกนี้มักคิดความคิดที่ดี มักพูดคำพูดที่ดี มักทำการทำที่ดี ถ้า
 
๒๓/๔๘๒/๑๕๖