วันศุกร์, มีนาคม 31, 2566

Phirom

 
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ยังอีก ๙ วัน หรือ ๑๐ วัน พระพุทธเจ้าข้า.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล
นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ทรงอดิเรกจีวรไว้ได้ ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง.

พระพุทธานุญาตให้วิกัปอดิเรกจีวร
สมัยต่อมา อดิเรกจีวรบังเกิดแก่ภิกษุทั้งหลาย ขณะนั้น ภิกษุทั้งหลาย
ได้มีความปริวิตกว่า พวกเราจะพึงปฏิบัติในอดิเรกจีวรอย่างไรหนอ แล้วกราบ
ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตให้วิกัปอดิเรกจีวร.

พระพุทธานุญาตผ้าปะเป็นต้น
[๑๕๒] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครเวสาลีตาม
พระพุทธาภิรมย์อาทิผิด อักขระ แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินไปทางพระนครพาราณสี เสด็จ
พระพุทธดำเนินผ่านระยะทางโดยลำดับ ถึงพระนครพาราณสี ทราบว่า พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อิสิปตนะมฤคทายวันเขตพระนครพาราณสีนั้น
สมัยนั้น ผ้าอันตรวาสกของภิกษุรูปหนึ่งขาดทะลุ และท่านได้มีความปริวิตกว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตผ้า ๓ ผืน คือ ผ้าสังฆาฏิสองชั้น ผ้าอุตราสงค์
ชั้นเดียว ผ้าอันตรวาสกชั้นเดียว ก็ผ้าอันตรวาสกของเรานี้ขาดทะลุ ไฉนหนอ
เราพึงดามผ้าปะ โดยรอบจักเป็นสองชั้นตรงกลางจักเป็นชั้นเดียว ดังนี้แล้ว
ดามผ้าปะทันที พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จพระพุทธดำเนินไปตามเสนาสนะ ได้
ทอดพระเนตรเห็นภิกษุนั้นกำลังดามผ้าปะ ครั้นแล้วเสด็จเข้าไปใกล้ภิกษุนั้น
ได้ตรัสถามว่า เธอกำลังทำอะไร ภิกษุ.
 
๗/๑๕๒/๒๘๐

วันพฤหัสบดี, มีนาคม 30, 2566

Kot mai

 
จักพรรดินั้น ถึงความมั่นคงถาวร เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ผู้ทรง
มีชนบทถึงความมั่นคงถาวร.
บทว่า ปโรสหสฺสํ แปลว่า มีพระโอรสมากเกิน ๑,๐๐๐
พระองค์. บทว่า สูรา ได้แก่ผู้ไม่ขลาด ในบทว่า วีรงฺครูปา มีรูป
วิเคราะห์ดังต่อไปนี้ องค์ของผู้แกล้วกล้า ชื่อว่า วีรังคะ วีรังคะ
องค์ผู้กล้าหาญเป็นรูปของโอรสเหล่านั้น เหตุนั้นโอรสเหล่านั้น
ชื่อว่า วิรังครูปา ผู้มีองค์แห่งผู้กล้าหาญเป็นรูป. ท่านอธิบายไว้ว่า
โอรสเหล่านั้น ไม่เกียจคร้าน เหมือนผู้มีความเพียรเป็นปกติ มีความ
เพียรเป็นสภาวะ และมีความเพียรมาก. ท่านอธิบายว่าแม้จะรบ
ทั้งวันก็ไม่เหน็ดเหนื่อย. บทว่า สาครปริยนฺตํ ความว่า มีมหาสมุทร
ตั้งจดขุนเขาจักรวาฬเป็นขอบเขตล้อมรอบ. บทว่า อทณฺเฑน ได้แก่
เว้นจากอาชญา คือการปรับสินไหมด้วยทรัพย์บ้าง ลงอาชญา
ทางตัวบทกฎอาทิผิด อักขระหมาย โดยสั่งจำคุก ตัดมือเท้าและประหารชีวิตบ้าง
บทว่า อสตฺเถน ได้แก่ เว้นจากใช้ศัสตราเบียดเบียนผู้อื่นมีศัสตรา
มีคมข้างเดียวเป็นต้น บทว่า ธมฺเมน อภิวิชิย ความว่า ทรงชนะ
ตลอดแผ่นดิน มีประการดังกล่าวแล้ว โดยธรรมอย่างเดียว โดยนัย
อาทิว่า ไม่พึงฆ่าปาณะ สัตว์ที่พระราชาผู้เป็นข้าศึก ต้อนรับ
เสด็จอย่างนี้ว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์โปรดเสด็จมาเถิด.
บทว่า สุเขสินํ ความว่า ย่อมเรียกสัตว์ทั้งหลายผู้แสวงหา
ความสุข. บทว่า สุญฺญพฺรหฺมูปโค ความว่า ผู้เข้าถึงวิมานอาทิผิด อักขระพรหม
 
๓๗/๕๙/๑๙๕

วันพุธ, มีนาคม 29, 2566

Chalat

 
จริงอยู่ อวันทิยกรรมนั้น เป็นลักษณะคือกรรมแห่งอปโลกนกรรม
นั้น หากลายเป็นอย่างอื่นมีโอสารณาเป็นต้นไม่. เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า
กรรมลักษณะ. การทำอวันทิยกรรมนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ใน
ภิกขุนีขันธกะนั้นแล้วแล.
อีกประการหนึ่ง เพื่อแสดงอวันทิยกรรมนั้นกับทั้งกิริยาที่ระงับโดย
พิสดาร ข้าพเจ้าจะกล่าวไว้ในกัมมวัคค์แม้นี้ :-
ภิกษุณีผู้ฉลาดอาทิผิด อักขระ พึงสวดประกาศโดยอนุมัติของภิกษุณีสงฆ์ ซึ่งประชุม
กันในสำนักภิกษุณีว่า แม่เจ้า ข้าพเจ้าถามภิกษุณีสงฆ์ว่า พระผู้เป็นเจ้าชื่อโน้น
แสดงอาการไม่น่าเลื่อมใสแก่ภิกษุณีทั้งหลาย, การทำพระผู้เป็นเจ้านั้น ให้เป็น
ผู้อันภิกษุณีทั้งหลายไม่พึงไหว้ ชอบใจสงฆ์หรือ ? ข้าพเจ้าถามภิกษุณีสงฆ์
เป็นครั้งที่ ๒ ฯลฯ เป็นครั้งที่ ๓ ว่า แม่เจ้า พระผู้เป็นเจ้าชื่อโน้น แสดง
อาการไม่น่าเลื่อมใส แก่ภิกษุณีทั้งหลาย, การทำพระผู้เป็นเจ้านั้น ให้เป็นผู้
อันภิกษุณีทั้งหลายไม่พึงไหว้ ชอบใจสงฆ์หรือ ? อวันทิยกรรมอันภิกษุณีสงฆ์
พึงสวดประกาศ ๓ ครั้ง ทำด้วยอปโลกนกรรมอย่างนี้.
จำเดิมแต่นั้น ภิกษุนั้น อันภิกษุณีทั้งหลายไม่พึงไหว้. ถ้าว่าภิกษุนั้น
อันภิกษุณีทั้งหลายไม่ไหว้อยู่ กลับเกิดหิริและโอตตัปปะขึ้นแล้ว ประพฤติ
ชอบไซร้, ภิกษุณีทั้งหลายอันเธอพึงขอโทษ. เมื่อจะขอโทษ ไม่พึงไปสู่สำนัก
ภิกษุณี พึงเข้าหาสงฆ์หรือคณะหรือภิกษุรูปหนึ่ง ในวิหารนั่นเอง นั่งกระโหย่ง
ประคองอัญชลี ขอโทษว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าพิจารณาแล้ว จะตั้งอยู่ใน
สังวรต่อไป, จักไม่แสดงอาการไม่น่าเลื่อมใสอีก, ขอภิกษุณีสงฆ์ จงอดโทษ
แก่ข้าพเจ้าเถิด.
 
๑๐/๑๓๖๖/๑๐๐๐

วันอังคาร, มีนาคม 28, 2566

Thamma

 
ภูมินั้น, เมื่อบุคคลเหล่านั้นเกิดอยู่ในสุทธาวาสภูมิก็ดี บุคคลที่เกิดอยู่
ในอสัญญสัตตภูมิก็ดี ฆานายตนะไม่ใช่กำลังเกิด และมนายตนะก็ไม่ใช่
เคยเกิดแก่บุคคลเหล่านั้นในภูมินั้น.
ก็หรือว่า มนายตนะไม่ใช่เคยเกิดแก่บุคคลใดในภูมิใด, ฆานา-
ยตนะก็ไม่ใช่เคยเกิดแก่บุคคลนั้นในภูมินั้น ใช่ไหม ?
ใช่.
จบ ฆานายตนมูละ มนายตนมูลี

ฆานายตนมูละ มนายตนมูลี :-
[๔๓๙] ฆานายตนะ.ไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลใดในภูมิใด, ธัมมาอาทิผิด อักขระ-
ยตนะก็ไม่ใช่เคยเกิดแก่บุคคลนั้นในภูมินั้น ใช่ไหม ?
เมื่อบุคคลเหล่านั้นทั้งหมดกำลังตายก็ดี บุคคลที่ฆานะเกิดไม่ได้
เหล่านั้นกำลังเกิดก็ดี ฆานายตนะไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลเหล่านั้นใน
ภูมินั้น แต่ธัมมายตนะเคยเกิดแก่บุคคลเหล่านั้นในภูมินั้น, เมื่อบุคคล
เหล่านั้นเกิดอยู่ในสุทธาวาสภูมิ ฆานายตนะไม่ใช่กำลังเกิด และธัมมา-
ยตนะก็ไม่ใช่เคยเกิดแก่บุคคลเหล่านั้นในภูมินั้น.
 
๘๒/๔๓๙/๔๔๘

วันจันทร์, มีนาคม 27, 2566

Nuea

 
ตามลำดับแล้ว ทักนิมิตในทิศเหนือแล้ว หยุดเสียแค่ทิศเหนืออาทิผิด นั่นเอง, สีมา
ย่อมมีนิมิตขาด.
สีมาใด ที่สงฆ์สมมติ จัดเอาต้นไม้มีเปลือกแข็งก็ดี ตอไม้ก็ดี กองดิน
กองทรายอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ซึ่งไม่ควรเป็นนิมิต ให้เป็นนิมิตอันหนึ่งใน
ระหว่าง สีมานั้นจัดเป็นสีมามีนิมิตขาดอีกชนิดหนึ่ง.
สีมาใดที่สงฆ์สมมติ กะเอาเงาภูเขาเป็นต้นเงาอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้
เป็นนิมิต สีมานั้น ชื่อว่ามีฉายาเป็นนิมิต.
สีมาใด ที่สงฆ์สมมติ ไม่ทักนิมิตโดยประการทั้งปวง, สีมานั้น ชื่อว่า
หานิมิตมิได้.
ภิกษุทักนิมิตแล้ว ยืนอยู่ภายนอกนิมิตสมมติสีมา ชื่อว่ายืนอยู่นอกสีมา
สมมติสีมา.
ภิกษุสมมติสีมาในน่านน้ำมีแม่น้ำเป็นต้นเหล่านี้ ชื่อว่าสมมติสีมาใน
แม่น้ำ ในทะเล ในสระเกิดเอง. สีมานั้น แม้สงฆ์สมมติแล้วอย่างนั้น ย่อม
ไม่เป็นอันสมมติเลย เพราะพระบาลีว่า ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำทั้งปวง ไม่ใช่สีมา
ทะเลทั้งปวง ไม่ใช่สีมา, สระเกิดเองทั้งปวง ไม่ใช่สีมา.
หลายบทว่า สีมาย สีมํ สมฺภินฺทติ มีความว่า คาบเกี่ยวสีมา
ของผู้อื่นด้วยสีมาของตน.
บทว่า อชฺโฌตฺถรติ ได้แก่ สมมติทับสีมาของผู้อื่น ด้วยสีมา
ของตน.
 
๑๐/๑๓๖๖/๙๙๔

วันอาทิตย์, มีนาคม 26, 2566

To

 
ในวันขนานนามทารกนั้น เหล่าญาติตั้งชื่อว่าอุทายี เพราะเกิด
ในวันที่ชาวนครทั่วไปมีจิตใจฟูขึ้น (สูง). แต่เพราะเขาเป็นคนดำนิด
หน่อย จึงเกิดชื่อว่า กาฬุทายี กาฬุทายีนั้นเล่นของเล่นสำหรับเด็กชาย
กับพระโพธิสัตว์จนเจริญวัย ต่ออาทิผิด อักขระมาพระโพธิสัตว์เสด็จออกมหาภิเนษ-
กรมณ์ บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ตามลำดับ ทรงประกาศธรรมจักร
อันประเสริฐ. ทรงกระทำการอนุเคราะห์โลก ทรงอาศัยกรุงราชคฤห์
ประทับอยู่. สมัยนั้น พระเจ้าสุทโธทนมหาราช ทรงสดับว่า สิทธัตถ
กุมารบรรลุอภิสัมโพธิญาณ อาศัยกรุงราชคฤห์ประทับอยู่ ณ พระ-
เวฬุวันวิหาร จึงทรงส่งอำมาตย์ผู้หนึ่ง มีบุรุษพันคนเป็นบริวารไปด้วย
พระดำรัสสั่งว่า เจ้าจงนำโอรสของเรามาในที่นี้. อำมาตย์นั้นเดินไป
๖๐ โยชน์เข้าไปยังพระวิหาร ในเวลาที่พระทศพลประทับนั่งกลาง
บริษัท ๔ ทรงแสดงธรรม อำมาตย์นั้นคิดว่า ข่าวสาส์นที่พระราชา
ทรงส่งไปพักไว้ก่อน แล้วยืนท้ายบริษัทฟังพระธรรมเทศนาของพระ-
ศาสดา ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมกับบุรุษพันคน ตรงที่ยืนอยู่นั่นแหละ
ครั้งพระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์แก่อำมาตย์และบุรุษนั้นคนนั้น
ด้วยพระดำรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุเถิด ทันใดนั้นเอง ทุกคนก็
ทรงบาตรและจีวรสำเร็จมาแต่ฤทธิ์ ได้เป็นเหมือนพระเถระร้อยพรรษา
นับแต่เวลาบรรลุพระอรหัตกันแล้ว ธรรมดาว่าพระอริยะทั้งหลาย
ย่อมเป็นผู้วางเฉย เพราะฉะนั้น อำมาตย์นั้นจึงไม่ได้ทูลข่าวสาส์นที่
พระราชาทรงส่งไปแด่พระทศพล พระราชาทรงพระดำริว่า อำมาตย์
ยังไม่กลับ มาจากที่นั้น ข่าวคราวก็ไม่ได้ยิน จึงทรงส่งอำมาตย์คนอื่น ๆ
ไปโดยทำนองนั้นนั่นแล อำมาตย์แม้นั้นไปแล้วก็บรรลุพระอรหัตพร้อม
กับบริษัทโดยนัยก่อนนั่นแหละ แล้วก็นิ่งเสีย ทรงส่งบุรุษเก้าพันคน
 
๓๒/๑๔๙/๔๖๒

วันเสาร์, มีนาคม 25, 2566

Kratham

 
[๓๖๕] ข้าพระองค์ผู้มีความสงสัย
มีความเคลือบแคลง มาหวังจะทูลถามปัญหา
พระองค์อันข้าพระองค์ทูลถามปัญหาแล้ว
ขอจงตรัสพยากรณ์แก่ข้าพระองค์ตามลำดับ
ปัญหาให้สมควรแก่ธรรมเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนสภิยะ ท่านมาแต่ไกล หวังจะ
ถามปัญหา เราอันท่านถามปัญหาแล้ว จะ
กระทำที่สุดแห่งปัญหาเหล่านั้น จะพยากรณ์
แก่ท่านตามลำดับปัญหา ให้สมควรแก่ธรรม
ดูก่อนสภิยะ ท่านปรารถนาปัญหาข้อใด
ข้อหนึ่งในใจ ก็เชิญถามเราเถิด เราจะกระอาทิผิด -
ทำอาทิผิด ที่สุดเฉพาะปัญหานั้น ๆ แก่ท่าน.
[๓๖๖] ลำดับนั้น สภิยปริพาชกดำริว่า น่าอัศจรรย์จริงหนอ ไม่
เคยมีมาเลยหนอ เราไม่ได้แม้เพียงการให้โอกาสในสมณพราหมณ์เหล่าอื่นเลย
พระสมณโคดมได้ทรงให้โอกาสนี้แก่เราแล้ว สภิยปริพาชกมีใจชื่นชม เบิกบาน
เฟื่องฟูเกิดปีติโสมนัส ได้กราบทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
บัณฑิตกล่าวบุคคลผู้บรรลุอะไรว่า
เป็นภิกษุ กล่าวบุคคลว่าผู้สงบเสงี่ยมด้วย
อาการอย่างไร กล่าวบุคคลว่าผู้ฝึกตนแล้ว
 
๔๗/๓๖๕/๔๗๓

วันศุกร์, มีนาคม 24, 2566

At

 
ชื่อว่า ปุพฺพุฏฐายี ด้วยอรรถว่า เห็นนายแต่ไกล ลุกขึ้นก่อน
ทันที.
ชื่อว่า ปจฺฉานิปาตี ด้วยอรรถว่า ลุกขึ้นอย่างนี้แล้วปูอาสนะให้นาย
ทำกิจที่ควรทำมีล้างเท้า เป็นต้น แล้วจึงพักผ่อน คือนอนในภายหลัง.
อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่า ปุพฺพุฏฐายี ด้วยอรรถว่า ลุกขึ้นก่อน เมื่อนาย
ยังไม่ลุกจากที่นอน.
ชื่อว่า ปจฺฉานิปาตี ด้วยอรรถว่า ทำกิจทั้งปวงตั้งแต่เช้าตรู่จนนาย
เข้านอนในราตรี ตนจึงพักผ่อน คือนอนในภายหลัง.
ชื่อว่า กึการปฏิสฺสาวี ด้วยอรรถว่า คอยเฝ้าฟังบัญชาจะโปรดให้
ทำอะไรด้วยตั้งใจอย่างนี้ว่า เราจะทำอะไร.
ชื่อว่า มนาปจารี ด้วยอรรถว่า ทำแต่กิริยาที่น่าพอใจเท่านั้น.
ชื่อว่า ปิยวาที ด้วยอรรถว่า พูดแต่คำที่น่ารักเท่านั้น.
ชื่อว่า มุขมุลฺลิโก ด้วยอรรถว่า คอยดูหน้านายที่แจ่มใสร่าเริง.
บทว่า เทโว มญฺเญ ได้แก่เหมือนเทวดา.
บทว่า โส วตสฺสาหํ ปุญฺญานิ กเรยฺยํ ความว่า แม้เรานั้นหนอ
ก็พึงเป็นพระเจ้าแผ่นดินอย่างองค์นี้ ถ้าเราทำบุญทั้งหลาย.
ปาฐะว่า โส วตสฺสายํ ดังนี้ก็มี ความก็อย่างนี้เหมือนกัน.
ด้วยบทว่า ยนฺนูนาหํ แสดงความคิดอย่างนี้ว่า ถ้าเราจักให้ทาน
แม้ตลอดชีวิตเรา ก็ไม่อาจอาทิผิด สระให้แม้เพียงส่วนหนึ่งในร้อยของทานที่พระราชา
พระราชทานในวันเดียวได้ จึงทำอุตสาหะในบรรพชา.
บทว่า กาเยน สํวุโต ได้แก่สำรวมกาย ปิดประตูมิให้อกุศลเข้า
ไปได้.
 
๑๑/๑๔๐/๓๙๒

วันพฤหัสบดี, มีนาคม 23, 2566

Sakuno

 
[๙๓๕] เมื่อบ่นเพ้ออยู่อย่างนี้ว่า ของกู ๆ หวง-
แหนไว้ภายหลังพระราชาบ้าง โจรบ้าง ทายาท
ผู้ไม่เป็นที่รักบ้าง เอาทรัพย์ไป คนนั้นก็จะบ่น
เพ้ออยู่นั่นแหละ.
[๙๓๖] ส่วนผู้มีปรีชาใช้เองด้วย สงเคราะห์ญาติ
ทั้งหลายด้วย เขาจะได้รับเกียรติ เพราะการ
สงเคราะห์นั้น ละโลกนี้ไปแล้ว ก็จะบันเทิงอาทิผิด สระ
ในสวรรค์.
จบ มัยหกสกุณชาดกที่ ๕

อรรถกถามัยหกสกุณชาดกที่ ๕

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
อาคันตุกเศรษฐี จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า สกุโณอาทิผิด อักขระ มยฺหโกอาทิผิด อักขระ นาม
ดังนี้.
ความพิสดารว่า ที่นครสาวัตถี ได้มีเศรษฐีชื่ออาคันตุกะ เป็นคน
มั่งคั่งมีทรัพย์มาก. แต่เขาไม่ใช้สอยโภคทรัพย์ด้วยตนเองเลย และไม่ได้
ให้แก่คนอื่น. เมื่อเขานำโภชนะที่ประณีตมีรสอร่อยต่าง ๆ มาให้ เขาจะ
ไม่รับประทานโภชนะนั้น รับประทานแต่ปลายข้าว มีกับ คือน้ำผักดอง
๒ อย่างเท่านั้น. เมื่อเขานำผ้าจากแคว้นกาสีที่เขารีดแล้ว อบแล้วมาให้
 
๕๙/๙๓๖/๑๖๒

วันพุธ, มีนาคม 22, 2566

Anantariyakam

 
ถือเอาวจีทุจริต และด้วยการถือเอามโนทุจริตในการติเตียนพระอริยเจ้า
คำกล่าวของทั้งสองอย่างเหล่านั้นพึงทราบว่า เพื่อแสดงความมีโทษมาก
เพราะผู้ติเตียนพระอริยเจ้าเป็นผู้มีโทษมาก เช่นเดียวกับอนันตริยกรรมอาทิผิด อักขระ
แม้ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนสารีบุตร ภิกษุถึง
พร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา พึงให้ผู้อื่นยินดีในทิฏฐธรรมด้วย แม้
ฉันใด ดูก่อนสารีบุตร ข้อนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น เรากล่าวว่าผู้ไม่ละคำพูด
นั้น ไม่ละจิตนั้น ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเก็บสะสมไว้ เหมือนยินดีใน
นรก.
ไม่มีอย่างอื่นที่มีโทษมากกว่ามิจฉาทิฏฐิเลย. เหมือนอย่างที่พระผู้-
มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้
สักอย่างเดียว ที่มีโทษมากเหมือนมิจฉาทิฏฐินี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
โทษทั้งหลายมีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง.
บทว่า กายสฺส เภทา กายแตก คือสละขันธ์ที่ยังมีชีวิตอยู่. บทว่า
ปรมฺมรณา เมื่อตายไป คือยึดขันธ์อันจะเกิดในลำดับนั้น . อีกอย่างหนึ่ง
บทว่า กายสฺส เภทา คือ ตัดชีวิตินทรีย์. บทว่า ปรมฺมรณา เบื้องหน้า
แต่จุติจิต. บทว่า อปายํ เป็นต้น เป็นไวพจน์ของนรกทั้งหมด. เพราะ
ว่านรกชื่อว่า อบาย เพราะปราศจากความเจริญที่สมมติว่าบุญ อันเป็น
เหตุแห่งสวรรค์และนิพพาน หรือเพราะไม่มีความเจริญแห่งความสุข
ทั้งหลาย. นรกชื่อว่า ทุคติ เพราะเป็นที่อยู่อาศัยของทุกข์. อีกอย่างหนึ่ง
ชื่อว่า ทุคติ เพราะเกิด คือถึงด้วยกรรมชั่วอันมากไปด้วยโทษ. นรก
ชื่อว่า วินิปาตะ เพราะเป็นที่ที่อวัยวะน้อยใหญ่แตกพินาศไป. ชื่อว่า
นิรยะ เพราะเป็นที่ที่ไม่มีความเจริญที่รู้กันว่าเป็นความชอบใจ.
 
๖๖/๗๘๘/๓๘๐

วันอังคาร, มีนาคม 21, 2566

Manomayamhi

 
ตลอด ๒๕ ครั้ง. บทว่า จตุตฺตึสติกขตฺตุญฺจ ความว่า จักได้เป็น
พระเจ้าจักรพรรดิในมนุษย์โลกตลอด ๓๔ ครั้ง.
บทว่า ยํ ยํ โยนึ ความว่า ย่อมระลึกได้ถึงชาติในกำเนิดมนุษย์
เป็นต้น. อธิบายว่า ดอกปทุมจักทรงไว้ กั้นไว้ซึ่งเธอผู้ตั้งอยู่ คือ นั่งอยู่
หรือยืนอยู่ ในอัพโภกาสคือที่ว่าง-ในกำเนิดนั้น ๆ. บทว่า ปกาสิเต
ปาวจเน ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงประกาศ คือแสดง
พระไตรปิฎกทั้งสิ้น จักได้คือเข้าถึงความเป็นมนุษย์คือชาติแห่งมนุษย์.
บทว่า มโนมยมฺหิอาทิผิด อักขระ กายมฺหิ ความว่า ชื่อว่า มโนมยะ เพราะอรรถว่า
เกิดด้วยใจ คือด้วยฌานจิต อธิบายว่า จิตย่อมเป็นไปด้วยประการใด เขา
จะให้กายเป็นไป คือกระทำให้มีคติจิตเป็นไปอย่างนั้น. ในเพราะกาย
อันสำเร็จด้วยใจนั้น ดาบสนั้น จักมีชื่อว่าจูฬปันถกะผู้สูงสุด คือเป็นผู้เลิศ.
คำที่เหลือเป็นคำที่รู้ได้ง่าย เพราะท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลัง และเพราะ
มีอรรถตื้นทั้งนั้น.
บทว่า สรึ โกกนทํ อหํ ความว่า เราลูบคลำท่อนผ้าที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงนิรมิต ระลึกถึงดอกบัวชื่อโกกนท. บทว่า ตตฺถ จิตฺตํ
วิมุจฺจิ เม ความว่า จิตของเราสดชื่นน้อมไปในดอกบัวชื่อว่าโกกนท.
เชื่อมความว่า ลำดับนั้น เราบรรลุพระอรหัตแล้ว.
เชื่อมความว่า บรรลุถึงบารมี คือที่สุดในกายอันสำเร็จด้วยใจ คือ
อันมีคติแห่งจิต ในที่ทุกสถานคือที่ทั้งปวง. คำที่เหลือ มีนัยดังกล่าว
แล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาจูฬปันถกะเถราปทาน
 
๗๑/๑๖/๒๗

วันจันทร์, มีนาคม 20, 2566

Patisonthi

 
นั้น แต่สมุทยสัจจะเคยดับแก่บุคคลเหล่านั้นในภูมินั้น, ในอุปปาทขณะ-
แห่งปฏิสนธิจิตของบุคคลผู้เกิดอยู่ในสุทธาวาสภูมิก็ดี บุคคลที่กำลังเกิด
ในอสัญญสัตตภูมิก็ดี ทุกขสัจจะไม่ใช่กำลังดับ และสมุทยสัจจะก็ไม่ใช่
เคยดับแก่บุคคลเหล่านั้นในภูมินั้น.
ก็หรือว่า สมุทยสัจจะไม่ใช่เคยดับแก่บุคคลใดในภูมิใด, ทุกข-
สัจจะก็ไม่ใช่กำลังดับแก่บุคคลนั้นในภูมินั้น ใช่ไหม ?
ในภังคขณะแห่งปฏิสนธิอาทิผิด จิตของบุคคลผู้เกิดอยู่ในสุทธาวาสภูมิก็ดี
บุคคลที่กำลังตายในอสัญญสัตตภูมิก็ดี สมุทยสัจจะไม่ใช่เคยดับแก่บุคคล
เหล่านั้นในภูมินั้น แต่ทุกขสัจจะกำลังดับแก่บุคคลเหล่านั้นในภูมินั้น,
ในอุปปาทขณะแห่งปฏิสนธิจิตของผู้เกิดอยู่ในสุทธาวาสภูมิก็ดี
บุคคลที่กำลังเกิดในอสัญญสัตตภูมิก็ดี สมุทยสัจจะไม่ใช่เคยดับ และ
ทุกขสัจจะก็ไม่ใช่กำลังดับแก่บุคคลเหล่านั้นในภูมินั้น.
จบ ทุกขสัจจมูละ สมุทยสัจจมูลี

ทุกขสัจจมูละ มัคคสัจจมูลี :-
[๙๕๔] ทุกขสัจจะไม่ใช่กำลังดับแก่บุคคลใดในภูมิใด, มรรค-
สัจจะก็ไม่ใช่เคยดับแก่บุคคลนั้นในภูมินั้น ใช่ไหม ?
บุคคลผู้ที่เข้าถึงความเป็นผู้เคยรู้อริยสัจ ๔ มาแล้วกำลังเกิดก็ดี
ในอุปปาทขณะแห่งจิตในปวัตติกาลก็ดี ในภังคขณะแห่งมัคคจิตและผล
 
๘๒/๙๕๓/๙๗๒

วันอาทิตย์, มีนาคม 19, 2566

Khana

 
โอกาสวาระ
ทุกขสัจจมูล
ทุกขสัจจมูละ ฯ ล ฯ
[๙๔๕] ทุกขสัจจะกำลังดับในภูมิใด, ฯ ล ฯ
ทุกขสัจจมูล จบ
โอกาสวาระ จบ

ปุคคโลกาสวาระ
ทุกขสัจจมูล
ทุกขสัจจมูละ สมุทยสัจจมูลี :-
[๙๔๖] ทุกขสัจจะกำลังดับแก่บุคคลใดในภูมิใด, สมุทยสัจจะ
ก็เคยดับแก่บุคคลนั้นในภูมินั้น ใช่ไหม ?
ในภังคขณะแห่งปฏิสนธิจิตของบุคคลผู้เกิดอยู่ในสุทธาวาสภูมิ
ก็ดี บุคคลผู้ที่กำลังตายในอสัญญสัตตภูมิก็ดี ทุกขสัจจะกำลังดับแก่บุคคล
เหล่านั้นในภูมินั้น แต่สมุทยสัจจะไม่ใช่เคยดับแก่บุคคลเหล่านั้นใน
ภูมินั้น, บุคคลที่นอกนี้ผู้กำลังตายในจตุโวการภูมิ ปัญจโวการภูมิ
เหล่านั้นก็ดี ในภังคขณะอาทิผิด อักขระแห่งจิตในปวัตติกาลของบุคคลเหล่านั้นก็ดี
ทุกขสัจจะกำลังดับและสมุทยสัจจะก็เคยดับแก่บุคคลเหล่านั้นในภูมินั้น.
 
๘๒/๙๔๖/๙๖๔

วันเสาร์, มีนาคม 18, 2566

Suphuti

 
เอกนิบาต
เถรคาถา เอกนิบาต วรรคที่ ๑
๑. สุภูติอาทิผิด สระเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระสุภูติเถระ
[๑๓๘] ได้ยินว่า ท่านพระสุภูติเถระ ได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ ว่า
ดูก่อนฝน กุฎีเรามุงดีแล้ว มีเครื่องป้องกัน
อันสบาย มิดชิดดี ท่านจงตกลงมาตามสะดวกเถิด
จิตของเราตั้งมั่นดีแล้ว หลุดพ้นแล้ว เราเป็นผู้มี
ความเพียรอยู่ เชิญตกลงมาเถิดฝน.
เอกนิบาตอรรถวรรณนา
วรรควรรณนาที่ ๑
อรรถกถาสุภูติเถรคาถา
บัดนี้ (ข้าพเจ้า จะเริ่ม) พรรณนาความแห่งเถรคาถาทั้งหลาย อัน
เป็นไปแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า ฉนฺนา เม กุฏิกา ดังนี้. ก็เพราะเหตุที่
เมื่อข้าพเจ้า กล่าวประกาศความเป็นไปแห่งเรื่องราวของคาถาเหล่านั้น ๆ การ
พรรณนาความนี้ จึงจะปรากฏและรู้ได้ง่าย ฉะนั้น ข้าพเจ้า จักประกาศ
เหตุเกิดแห่งเรื่องไว้ในคาถานั้น ๆ แล้วทำการพรรณนาความ.
 
๕๐/๑๓๗/๓๒

วันศุกร์, มีนาคม 17, 2566

Bali

 
บทว่า อีสิกฏฺฐายิฏฺฐิตา คือตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียดในหญ้ามุงกระต่าย. ในบท
นั้นมีอธิบายว่า สิ่งใด ที่ท่านกล่าวว่าย่อมเกิด สิ่งนั้นมีอยู่ ดุจเสาระเนียดย่อมออก
ไปจากหญ้ามุงกระต่าย. ปาฐะว่า เอสิกฏุฐายฏฺฐิตา ก็มี. อธิบายว่า เสาระเนียด
ที่ฝังไว้ดีแล้ว ไม่หวั่นไหวตั้งอยู่มั่นคง. สภาวะ ๗ กอง ตั้งมั่นแล้วอย่างนั้น.
แม้ด้วยบทที่ ๒ นี้ท่านแสดงถึงความไม่พินาศไปแห่งสภาวะ ๗ กองเหล่านั้น.
บทว่า น อิญฺชนฺติ สภาวะ ๗ กองไม่หวั่นไหว คือไม่สั่นคลอนเพราะตั้งอยู่
มั่นคง ดุจเสาระเนียดฉะนั้น. บทว่า น วิปริณามนฺติ ไม่แปรปรวนคือไม่
ละปรกติไป. บทว่า อญฺญมญฺญํ พฺยาพาเธนฺติ คือไม่เบียดเบียนกันและ
กัน. บทว่า นาลํ คือไม่สามารถ.
พึงทราบความในบทมีอาทิว่า ปฐวีกาโย กองดินดังต่อไปนี้. กอง
ดินหรือหมู่ดิน. บทว่า ตตฺถ คือในกองมีชีวะเป็นที่ ๗ เหล่านั้น. บทว่า
นตฺถิ หนฺตา วา ผู้ฆ่าเองไม่มี ท่านแสดงไว้ว่าไม่มีผู้สามารถเพื่อฆ่าเองก็ดี
เพื่อใช้ให้ฆ่าก็ดี เพื่อให้เดือดร้อนก็ดี เพื่อกระทบกระทั่งก็ดี เพื่อเศร้าโศกเอง
ก็ดี เพื่อให้ผู้อื่นเศร้าโศกก็ดี เพื่อได้ยินเองก็ดี เพื่อเข้าใจเองก็ดี. บทว่า
สตฺตนฺนํเยว กายานํ แห่งสภาวะ ๗ กอง ท่านแสดงไว้ว่า เหมือนศัสตราที่ทำ
ลายในกองถั่วเขียวเป็นต้น ย่อมเข้าไปโดยระหว่างกองถั่วเขียว ฉันใด ศัสตรา
สอดเข้าไปโดยช่องในระหว่างสภาวะ ๗ กองก็ฉันนั้น ศัสตราเป็นเพียงสัญญา
อย่างเดียวเท่านั้นว่า เราจะฆ่าผู้นี้เสีย. บทว่า โยนิปฺปมุขสตสหสฺสานิ ท่าน
แสดงทิฏฐิไร้ประโยชน์โดยเพียงคาดคะเนอย่างเดียวว่า กำเนิดที่เป็นประธานและ
กำเนิดสูงสุด ๑,๔๐๖,๖๐๐ กรรม. บทว่า ปญฺจ กมฺมุโน สตานิ ความว่า ๕๐๐
กรรม. แม้ในบทมีอาทิว่า ปญฺจ กมฺมานิ ตีณิ จ กมฺมานิ ๕ กรรมและ
๓ กรรม ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่า ปญฺจ กมฺมานิ
กรรม ๕ ท่านกล่าวด้วยสามารถอินทรีย์ ๕. บทว่า ตีณิ กรรม ๓ ท่านกล่าวด้วย

๑. บาลีอาทิผิด ว่า เอสิกฏฺฐายิฏฺฐิตา ม. มัช. เล่ม ๑๓/ข้อ ๓๐๒
 
๒๐/๓๑๓/๕๔๕

วันพฤหัสบดี, มีนาคม 16, 2566

Mana

 
ท่านเข้าไปถึงที่ภิกษุณีนั้นแล้ว นั่ง ณ อาสนะที่เขาจัดไว้ ครั้นนั่งแล้วจึงกล่าว
กะภิกษุณีนั้นว่า
ดูก่อนน้องหญิง ร่างกายนี้เกิดเป็นมาด้วยอาหาร เธอพึงอาศัยอาหาร
ละอาหารเสีย
ร่างกายนี้เกิดเป็นมาด้วยตัณหา เธอพึงอาศัยตัณหาละตัณหาเสีย
ร่างกายนี้เกิดเป็นมาด้วยมานะอาทิผิด อักขระ เธอพึงอาศัยมานะละมานะเสีย
ร่างกายนี้เกิดเป็นมาด้วยเมถุน ควรละเมถุนนั้นเสีย เมถุนนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนให้ชักสะพานเสีย
ดูก่อนน้องหญิง ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ร่างกายนี้เกิดเป็นมาด้วยอาหาร
เธอพึงอาศัยอาหารละอาหารเสีย ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้วน้องหญิง
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงกลืนกินอาหาร มิใช่
บริโภคเพื่อเล่น มิใช่เพื่อเมา มิใช่เพื่อประดับ มิใช่เพื่อประเทืองผิว เพียง
เพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้ เพื่อยังชีวิตให้เป็นไป เพื่อระงับความกระหายหิว
เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า ด้วยการกินอาหารนี้ เราจักระงับ
เวทนาเก่าด้วย จักไม่ยังเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้นด้วย ความเป็นไปได้ ความ
ไม่มีโทษ และความอยู่ผาสุกจักมีแก่เรา ต่อมา ภิกษุนั้นก็อาศัยอาหารละอาหาร
เสีย ดูก่อนน้องหญิง ข้อที่เรากล่าวว่า ร่างกายนี้เกิดเป็นมาด้วยอาหาร
เธอพึงอาศัยอาหารละอาหารเสีย ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้แลกล่าวแล้ว
ก็ข้อที่ว่า ร่างกายนี้เกิดเป็นมาด้วยตัณหา เธอพึงอาศัยตัณหาละตัณหา
เสีย นี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ได้ยินข่าวว่า
ภิกษุชื่อนั้น เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ
อันหาอาสวะมิได้ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองสำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี่ เธอมี
ความปรารถนาว่า เมื่อไรนะ เราจักทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ ฯลฯ
 
๓๕/๑๕๙/๓๗๗

วันพุธ, มีนาคม 15, 2566

Manneyya

 
อนึ่ง โทษของบริษัทแล จะตกอยู่กับหัวหน้าบริษัทเท่านั้น ดังนี้ เหลียวมอง
รอบ ๆ ก็เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า โปฏฐปาท-
ปริพาชกได้เห็นแล้วแล ฯลฯ ปริพาชกเหล่านั้น ได้พากันนิ่ง.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สณฺฐเปสิ อธิบายว่า ให้สำเหนียกถึงโทษแห่ง
เสียงนั้น คือให้เงียบเสียง พักเสียงนั้นโดยประการที่เสียงจะต้องเงียบอย่างดี.
เพื่อปกปิดโทษของเสียงนั้น เหมือนอย่างบุรุษเข้ามาสู่ท่ามกลางบริษัท ย่อม
นุ่งผ้าเรียบร้อย ห่มผ้าเรียบร้อย เช็ดถูสถานที่สกปรกด้วยธุลีเพื่อปกปิดโทษ
ฉะนั้น. บทว่า อปฺปสทฺทา โภนฺโต ความว่า เมื่อให้สำเหนียก ก็ให้เงียบ
เสียงนั้นโดยประการที่เสียงจะเงียบอย่างดี. บทว่า อปฺปสฺทกาโม ความว่า
โปรดเสียงเบา คนหนึ่งนั่ง คนหนึ่งยืน ย่อมไม่ให้เป็นไปด้วยการคลุกคลีด้วย
หมู่. บทว่า อุปสงฺกมิตพฺพํ มญฺเญยฺยอาทิผิด อักขระ ความว่า สำคัญว่าจะเสด็จเข้ามาใน
สถานนี้. ถามว่า ก็เพราะเหตุอะไร โปฏฐปาทปริพาชกนั่น จึงหวังการเสด็จ
เข้ามาของพระผู้มีพระภาคเจ้า. แก้ว่า เพราะปรารถนาความเจริญแก่ตน.
ได้ยินว่า ปริพาชกทั้งหลาย ครั้นพระพุทธเจ้าหรือสาวกของพระพุทธ-
เจ้ามาสู่สำนักของตนแล้ว ย่อมยกตนขึ้นในสำนักของผู้บำรุงทั้งหลายของตน
ย่อมตั้งตนไว้ในที่สูงว่า ในวันนี้สมณโคดมเสด็จมาสู่สำนักของพวกเรา พระ-
สารีบุตรก็มา ท่านไม่ไปยังสำนักของใครเลย ท่านทั้งหลายพึงดูความยิ่งใหญ่
ของพวกเรา ดังนี้. ย่อมพยายามเพื่อคบอุปัฎฐากทั้งหลายของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าด้วย. ได้ยินว่า ปริพาชกเหล่านั้นเห็นอุปัฏฐากทั้งหลายของพระผู้มี
พระภาคเจ้าแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า ครูของพวกท่านจะเป็นพระโคดมก็ตาม จะเป็น
สาวกของพระโคดมก็ตาม เป็นผู้เจริญย่อมมาสู่สำนักของพวกเรา พวกเรา
พร้อมเพรียงกัน แต่ท่านทั้งหลายไม่อยากมองดูพวกเราเลย ไม่ทำสามีจิกรรม
 
๑๒/๓๑๓/๑๘๒

วันอังคาร, มีนาคม 14, 2566

Sawettachat

 
พระคุณของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายว่า สิริสมบัติแม้ทั้งหมดนี้ คือ
ห่อทองห่อนี้ ๑ ดอกไม้ทอง ๑ เศวตฉัตรอาทิผิด อักขระ ๑ ช้างม้าและรถที่เป็น
ราชพาหนะเหล่านี้ จำนวนหลายพัน ๑ ห้องคลังที่เต็มด้วยแก้วมณี
และแก้วมุกดาเป็นต้น ๑ แผ่นดินใหญ่ที่เต็มไปด้วยธัญชาตินานาชนิด ๑
เหล่านารีที่เทียบเคียงกับสาวอัปสร ๑ เป็นสมบัติของเรา ไม่ใช่ของ
คนอื่น แต่เป็นสิ่งที่อาศัยการถวายขนมกุมมาส ๔ ก้อน แก่พระปัจเจก
๔ องค์นั่นเอง สมบัตินั้นเราได้มาเพราะอาศัยพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่า
นั้น ดังนี้ แล้วได้กระทำกรรมของตนให้ปรากฏแล้ว. เมื่อพระองค์
ทรงรำลึกถึงผลกรรมนั้นแล้ว พระสรีระทั้งสิ้นเต็มเปี่ยมไปด้วยปีติ.
พระองค์ทรงมีพระราชหฤทัยชุ่มเย็นด้วยปีติ เมื่อทรงขับเพลงขับที่ทรง
อุทานออกมา ที่ท่ามกลางมหาชน ได้ตรัสคาถา ๒ คาถา ว่า :-
ได้ยินว่า การปรนนิบัติพระอโนมทัสสี-
ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย มีผลหาน้อยไม่ เชิญ
ดูผลของการถวายก้อนขนมกุมมาสที่แห้งและ
มีรสจืดชืดเถิด โปรดดูผลแห่งการถวายก้อน
ขนมกุมมาสที่เป็นเหตุให้เรามีช้าง โคม้า ทรัพย์
และข้าวเปลือกมากมาย ทั้งแผ่นดิน ทั้งสิ้น
และนางนารีเหล่านี้ ที่เปรียบด้วยนางอัปสร
เชิญดูผลของการถวายก้อนขนมกุมมาสเถิด.
 
๕๙/๑๑๑๓/๔๒๕

วันจันทร์, มีนาคม 13, 2566

Sampayut

 
ก็เมื่อรูปในจักขุทวารไปสู่คลอง เมื่ออาวัชชนะเป็นต้นเกิดแล้วดับไป
ด้วยสามารถทำกิจของตนให้สำเร็จเบื้องบนจากภวังคจลนะในที่สุด ชวนะย่อม
เกิดขึ้น. ชวนะนั้นย่อมเป็นเหมือนอาคันตุกบุรุษในจักขุทวารอันเป็นเรือนของ
อาวัชชนะเป็นต้นที่เกิดขึ้นในครั้งก่อน. เมื่ออาคันตุกบุรุษนั้นเข้าไปในเรือน
ของคนอื่นเพื่อขออะไร ๆ แม้เมื่อเจ้าของบ้านนั่งนิ่งก็ไม่ควรบังคับ ฉันใด
แม้เมื่ออาวัชชนะเป็นต้น ในจักขุทวารอันเป็นเรือนของอาวัชชนะเป็นต้น ไม่-
กำหนัด ไม่โกรธ และไม่หลง ก็ไม่ควรกำหนัด โกรธ และหลงฉันนั้น. พึงทราบ
อสัมโมหสัมปชัญญะ ด้วยสามารถความเป็นอาคันตุกะ (ผู้จรมา) อย่างนี้
ด้วยประการฉะนี้.
ก็จิตเหล่านี้ใด อันมีโวฏฐัพพนะเป็นที่สุด เกิดขึ้นในจักขุทวาร จิต
เหล่านั้น ย่อมแตกทำลายไปในที่นั้น ๆนั่นเอง พร้อมกับสัมปยุตตธรรม ย่อม
ไม่เห็นกันและกัน จิตนอกนี้ ย่อมเป็นไปชั่วคราว. ในข้อนั้น อุปมาเหมือน
ในเรือนหลังหนึ่ง เมื่อคนตายกันหมด คนหนึ่งที่เหลือไม่ควรยินดีในการฟ้อน
การขับเป็นต้น ของผู้มีมรณธรรมในขณะนั้น ฉันใด เมื่ออาวัชชนะเป็นต้น
สัมปยุตในทวารหนึ่ง ตายไปในที่นั้น ๆ แม้ชวนะแห่งมรณธรรมในขณะนั้น
ที่เหลือก็ไม่ควรยินดีด้วยสามารถ ความกำหนัด ความโกรธ และความหลง
พึงทราบ อสัมโมหสัมปชัญญะ ด้วยสามารถความเป็นตาวกาลิก (เป็นไป
ชั่วคราว) อย่างนั้น ด้วยประการฉะนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบ อสัมโมหสัมปชัญญะ ด้วยสามารถการ
พิจารณาขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปัจจัย. ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ จักษุและรูปเป็น
รูปขันธ์ เวทนาสัมปยุตด้วยรูปขันธ์นั้น เป็นเวทนาขันธ์ สัญญาสัมปยุตอาทิผิด อักขระด้วย
เวทนานั้น เป็นสัญญาขันธ์ สังขารมีผัสสะเป็นต้น เป็นสังขารขันธ์. การแล
และการเหลียวย่อมปรากฏในการพร้อมเพรียงแห่งขันธ์ทั้งหลาย ๕ เหล่านี้ ด้วย
 
๓๐/๖๘๔/๓๙๖

วันอาทิตย์, มีนาคม 12, 2566

Hai

 
อาสน์ออกต้อนรับทรงปฏิสันถาร ตรัสสั่งให้ช่างกัลบกมาแต่งผมและ
หนวด แล้วให้อาทิผิด สระประดับเครื่องสรรพาภรณ์ และให้บริโภคโภชนะอันประ-
ณีตที่มีรสอันเลิศ แล้วประทับตรัสด้วยถามฉันมิตรกับโปติกะ ตรัสถาม
ถึงข่าวคราวของพระชนกชนนี ทรงทราบว่าท่านไม่ยอมมา.
แม้สาขเสนาบดีก็คิดว่า นายโปติกะคงทำลายเราในสำนักพระ-
ราชา แต่เมื่อเราไปเฝ้าเขาคงไม่อาจกล่าวโทษอะไร ๆ คิดดังนี้แล้วจึงไปเฝ้า
ณ พระราชสำนักนั้นแหละ นายโปติกะได้กราบทูลพระราชาต่อหน้า
สาขเสนาบดีนั้นแลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระองค์เหน็ด
เหนื่อยมาตามทาง คิดว่าจะไปเรือนท่านสาขะพักผ่อนแล้วจักเข้าเฝ้า แต่
ท่านสาขะกล่าวกะข้าพระองค์ว่า จำข้าพระองค์ไม่ได้ให้คนทุบถองจับคอ
ไสออกไป ขอพระองค์ได้ทรงเชื่อดังนี้เถิด แล้วกล่าวคาถา ๓ คาถาว่า :-
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงนามว่านิโครธ ท่าน
สาขะเสนาบดีพูดว่า เราไม่รู้จักคนนี้เลยว่า
เป็นใครกัน หรือเป็นเพื่อนของใคร พระองค์
จะทรงเข้าพระทัยอย่างไร.
ลำดับนั้น บุรุษผู้ทำตามคำของท่านสาขะ
เสนาบดีเข้าจับคอ ตบหน้าข้าพระองค์ขับไส
ออกไป.
 
๕๙/๑๓๙๙/๘๖๐

วันเสาร์, มีนาคม 11, 2566

Khati

 
อนุพยัญชนะ ๘๐ เป็นต้น แลเพราะมีพระธรรมกายอันประดับด้วยคุณ มี
ทศพลญาณ และจตุเวสารัชญาณเป็นต้น และมีทัสสนะอันชาวโลกทั้งสิ้น
จะพึงประมาณมิได้ และเพราะมีทัสสนะหาผู้เสมอเหมือนมิได้.
ชื่อว่า มหานาคะ เพราะเป็นผู้เสมือนกุญชรเชือกประเสริฐใหญ่
เหตุเพียบพร้อมด้วยคติอาทิผิด กำลังและความบากบั่น และเพราะมีอานุภาพมาก
แม้ในบรรดาท่านผู้ประเสริฐคือพระขีณาสพ. ชื่อว่า มหาวีระ เพราะย่ำยี
มารและเสนามารเสียได้ และเพราะมีความกล้าหาญอย่างใหญ่หลวง.
บทว่า มหาชุตึ ความว่า ผู้มีเดชเกิดจากมีคลังทรัพย์จับจ่ายมาก
คือผู้มีเดชมาก. ชื่อว่า อนาสวะ ไม่มีอาสวะ เพราะท่านไม่มีอาสวะทั้ง ๔.
ชื่อว่า สิ้นอาสวะทั้งปวง เพราะอาสวะทั้งปวงพร้อมด้วยวาสนาของท่าน
หมดสิ้นแล้ว. เพราะจะแสดงว่า สาวกพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธะ
เป็นผู้ชื่อว่าสิ้นอาสวะโดยแท้ ถึงอย่างนั้น เฉพาะพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย
ย่อมชื่อว่าย่อมทำอาสวะพร้อมด้วยวาสนาให้สิ้นไป ท่านจึงกล่าวว่า อนาสวํ
แล้วกล่าวอีกว่า สพฺพาสวปริกฺขีณํ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
ชื่อว่าผู้สิ้นอาสวะทั้งปวง เพราะท่านสิ้นอาสวะทั้งปวงพร้อมทั้งวาสนาสิ้น
แล้ว. มีวาจาประกอบความว่า ชื่อว่าเป็นศาสดา เพราะทรงพร่ำสอน
เวไนยสัตว์ตามสมควร ด้วยประโยชน์ในปัจจุบัน และด้วยประโยชน์ใน
สมัยปรายภพ ชื่อว่าผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ เพราะไม่มีภัยแม้แต่ที่ไหน ๆ
เหตุเป็นผู้แกล้วกล้าด้วยเวสารัชญาณ ๔ เพราะเหตุได้เห็นพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าเห็นปานนั้น ฉะนั้น เราจึงเป็นผู้ชื่อว่ามาดีแล้ว.
บัดนี้ เมื่อจะแสดงคุณที่ตนได้แล้ว เพราะได้เห็นพระศาสดา จึง
ได้กล่าวคาถาที่ ๔
 
๕๒/๓๒๘/๓๔

วันศุกร์, มีนาคม 10, 2566

Duang

 
ปลอบจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรปลอบจิตให้ร่าเริง ๑ เพ่งดูจิตในสมัยที่ควร
เพ่งดู ๑ เว้นบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ๑ เสพบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น ๑ น้อมไปใน
สมาธินั้น ๑.
เมื่อพระโยคีนั้นหมั่นประกอบโดยนัยดังกล่าวมาอย่างนี้อยู่ มโนทวารา-
วัชชนะ ซึ่งมีนิมิตเป็นอารมณ์ ตัดภวังค์แล้วก็เกิดขึ้นขณะที่ควรกล่าวว่า
อัปปนา จักเกิดขึ้นในบัดนี้. ก็เมื่อมโนทวาราวัชชนะนั้นดับไป บรรดาชวนะ
ทั้งหลาย ๔ หรือ ๕ ดวงอาทิผิด อักขระ ยึดเอาอารมณ์นั้นนั่นแลแล่นไป ซึ่งชวนะดวงแรก
ชื่อบริกรรม ที่ ๒ ชื่ออุปจาระ ที่ ๓ ชื่ออนุโลม ที่ ๔ ชื่อโคตรภู ที่ ๕ ชื่อ
อัปปนาจิต อีกอย่างหนึ่ง ดวงอาทิผิด อักขระแรกเรียกว่าบริกรรมและอุปจาระ ที่ ๒ เรียกว่า
อนุโลม ที่ ๓ เรียกว่า โคตรภู ที่ ๔ เรียกว่า อัปปนาจิต. จริงอยู่ ชวนะ
ดวงที่ ๔ เท่านั้น บางทีที่ ๕ ย่อมเป็นไป๑. ไม่ถึงดวงที่ ๖ หรือที่ ๗ เพราะ
อาสันนภวังค์ (ภวังค์ใกล้อัปปนา) ตกไป.
ส่วนพระโคทัตตเถระ ผู้ชำนาญอภิธรรม กล่าวไว้ว่า กุศลธรรม
ทั้งหลาย ย่อมเป็นธรรมมีกำลัง โดยอาเสวนปัจจัย เพราะฉะนั้น ชวนะย่อม
ถึงที่ ๖ หรือที่ ๗. คำนั้นถูกคัดค้านในอรรถกถาทั้งหลาย. ในชวนจิตเหล่านั้น
จิตที่เป็นบุรพภาค เป็นกามาวจร ส่วนอัปปนาจิตเป็นรูปาวจร. ปฐมฌาน
ซึ่งละองค์ ๕ ประกอบด้วยองค์ ๕ สมบูรณ์ด้วยลักษณะ ๑๐ มีความงาม ๓
ย่อมเป็นอันพระโยคีนี้บรรลุแล้ว โดยนัยดังกล่าวมาฉะนี้. เธอยังองค์ฌาน
ทั้งหลาย มีวิตกเป็นต้นให้สงบราบคาบในอารมณ์นั้นนั่นเอง ย่อมบรรลุฌาน
ที่ ๒ ที่ ๓ และที่ ๔. และด้วยเหตุมีประมาณเพียงนี้ เธอย่อมเป็นผู้ถึงที่สุด
แห่งภาวนา ด้วยอำนาจแห่งการหยุดไว้. ในอธิการนี้ มีสังเขปกถาเท่านี้ ส่วน
๑. โยชนา ๑/๓๓๘ แก้ อปฺเปติ เป็น ปวตฺตติ
 
๒/๒๒๖/๓๖๙

วันพฤหัสบดี, มีนาคม 09, 2566

Patipak

 
ก็ในสมัยใด จิตเป็นธรรมชาติฟุ้งซ่าน ในสมัยนั้นเป็นเวลาเหมาะ
ที่จะเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เหมาะที่จะเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เหมาะที่
จะเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดังนี้ . ก็ในบรรดาโพชฌงค์เหล่านี้ สติ-
สัมโพชฌงค์เป็นเอกให้สำเร็จประโยชน์แก่โพชฌงค์ทุกข้อ. เหมือนอย่าง
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ก็เรากล่าวสติแลว่ามีประโยชน์แก่โพชฌงค์ทุกข้อ
ดังนี้ บาลีว่า สพฺพตฺถกํ ดังนี้ก็มี. บาลีทั้ง ๒ (นั้น) ความหมายก็
คือว่า จำต้องปรารถนาในโพชฌงค์ทุกข้อ (เหมือนกัน). พึงทราบวินิจฉัย
ในโพชฌงค์นี้แม้โดยไม่ขาดไม่เกินอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
โพชฌงค์ไว้ ๗ ประการเท่านั้นไม่ขาดไม่เกิน เพราะ ๓ ข้อเป็นปฏิปักษ์
ต่อความหดหู่, ๓ ข้อเป็นปฏิอาทิผิด อักขระปักษ์ต่อความฟุ้งซ่าน, และเพราะสติเป็น
ประโยชน์แก่โพชฌงค์ทุกข้ออย่างนี้.
บัณฑิตครั้นทราบอรรถวรรณนาของบททั้ง ๗ ที่กล่าวโดยนัยเป็นต้น
ว่า สติสมฺโพชฺฌงฺคํ อย่างนี้ก่อนแล้ว บัดนี้ พึงทราบอรรถวรรณนา
อย่างนี้ ในประโยคเป็นต้นว่า ภาเวติ วิเวกนิสฺสิตํ ดังนี้ (ต่อไป).
บทว่า ภาเวติ ความว่า ย่อมให้เจริญ อธิบายว่า ย่อมให้เกิด
ขึ้น คือให้บังเกิดขึ้นเฉพาะในจิตสันดานของตนบ่อย ๆ.
บทว่า วิเวกนิสฺสิตํ คืออาศัยวิเวก. ความสงัด ชื่อว่าวิเวก. วิเวกนั้น
มี ๕ อย่างคือ ตทังควิเวก วิกขัมภนวิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัส-
สัทธิวิเวก และนิสสรณวิเวก ความที่วิเวกนั้นเป็นต่าง ๆ กัน พึงทราบ
โดยนัยที่ท่านกล่าวไว้ในคำนี้ว่า อริยธมฺเม อวินีโต ดังนี้ . ความจริง
วิเวกนี้นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า วินัย ในบทว่า อริยธมฺเม
 
๑๗/๑๙/๑๙๖

วันพุธ, มีนาคม 08, 2566

Mahaphinetsakrom

 
๔. อสทิสวรรค

๑. อสทิสชาดก

ว่าด้วยอสทิสกุมาร
[๒๑๑] เจ้าชายพระนามว่าอสทิสกุมาร เป็นนัก
ธนู มีกำลังมาก ยิงธนูให้ไปตกในที่ไกล ๆ ได้
ยิงไม่ค่อยพลาด สามารถทำลายของกองใหญ่ ๆ
ได้.
[๒๑๒] พระองค์ทรงทำการรบให้ข้าศึกทั้งปวง
หนีไปแต่มิได้เบียดเบียนใคร ๆ เลย ทรงทำพระ-
กนิษฐภาดาให้มีความสวัสดีแล้ว ก็เข้าถึงความ
สำรวม.
จบ อสทิสชาดกที่ ๑

อรรถกถาอสทิสวรรคที่ ๔

อรรถกถาอสทิสชาดกที่ ๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ
มหาภิเนษกรมณ์อาทิผิด (การออกเพื่อคุณยิ่งใหญ่) ตรัสพระธรรมเทศนา
นี้ มีคำเริ่มต้นว่า ธนุคฺคโห อสทิโส ดังนี้.
 
๕๗/๒๑๒/๑๗๑