วันพุธ, มีนาคม 29, 2566

Chalat

 
จริงอยู่ อวันทิยกรรมนั้น เป็นลักษณะคือกรรมแห่งอปโลกนกรรม
นั้น หากลายเป็นอย่างอื่นมีโอสารณาเป็นต้นไม่. เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า
กรรมลักษณะ. การทำอวันทิยกรรมนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ใน
ภิกขุนีขันธกะนั้นแล้วแล.
อีกประการหนึ่ง เพื่อแสดงอวันทิยกรรมนั้นกับทั้งกิริยาที่ระงับโดย
พิสดาร ข้าพเจ้าจะกล่าวไว้ในกัมมวัคค์แม้นี้ :-
ภิกษุณีผู้ฉลาดอาทิผิด อักขระ พึงสวดประกาศโดยอนุมัติของภิกษุณีสงฆ์ ซึ่งประชุม
กันในสำนักภิกษุณีว่า แม่เจ้า ข้าพเจ้าถามภิกษุณีสงฆ์ว่า พระผู้เป็นเจ้าชื่อโน้น
แสดงอาการไม่น่าเลื่อมใสแก่ภิกษุณีทั้งหลาย, การทำพระผู้เป็นเจ้านั้น ให้เป็น
ผู้อันภิกษุณีทั้งหลายไม่พึงไหว้ ชอบใจสงฆ์หรือ ? ข้าพเจ้าถามภิกษุณีสงฆ์
เป็นครั้งที่ ๒ ฯลฯ เป็นครั้งที่ ๓ ว่า แม่เจ้า พระผู้เป็นเจ้าชื่อโน้น แสดง
อาการไม่น่าเลื่อมใส แก่ภิกษุณีทั้งหลาย, การทำพระผู้เป็นเจ้านั้น ให้เป็นผู้
อันภิกษุณีทั้งหลายไม่พึงไหว้ ชอบใจสงฆ์หรือ ? อวันทิยกรรมอันภิกษุณีสงฆ์
พึงสวดประกาศ ๓ ครั้ง ทำด้วยอปโลกนกรรมอย่างนี้.
จำเดิมแต่นั้น ภิกษุนั้น อันภิกษุณีทั้งหลายไม่พึงไหว้. ถ้าว่าภิกษุนั้น
อันภิกษุณีทั้งหลายไม่ไหว้อยู่ กลับเกิดหิริและโอตตัปปะขึ้นแล้ว ประพฤติ
ชอบไซร้, ภิกษุณีทั้งหลายอันเธอพึงขอโทษ. เมื่อจะขอโทษ ไม่พึงไปสู่สำนัก
ภิกษุณี พึงเข้าหาสงฆ์หรือคณะหรือภิกษุรูปหนึ่ง ในวิหารนั่นเอง นั่งกระโหย่ง
ประคองอัญชลี ขอโทษว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าพิจารณาแล้ว จะตั้งอยู่ใน
สังวรต่อไป, จักไม่แสดงอาการไม่น่าเลื่อมใสอีก, ขอภิกษุณีสงฆ์ จงอดโทษ
แก่ข้าพเจ้าเถิด.
 
๑๐/๑๓๖๖/๑๐๐๐

ไม่มีความคิดเห็น: