วันพุธ, พฤศจิกายน 30, 2565

Fai

 
คลุมผ้าผืนใหญ่เข้าไปหานางวิสาขาแล้ว เข้าไปวิหารพร้อมกับนางวิสาขา
นั้น นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง ดื่มสุราด้วยขวดอันมีสัณฐานดุจกำมือนั่นเอง
แล้วทิ้งขวดเสีย นั่งตรงพระพักตร์พระศาสดาในโรงธรรม. นางวิสาขา
กราบทูลว่า “ พระเจ้าข้า ขอพระองค์แสดงธรรมแก่หญิงเหล่านี้. ”
ฝ่ายอาทิผิด อักขระหญิงเหล่านั้น มีตัวสั่นเทิ้มอยู่ด้วยฤทธิ์เมา เกิดความคิดขึ้นว่า “ เรา
ทั้งหลายจักฟ้อน จักขับ. ”
เทวบุตรมารบันดาลให้แสดงกายวิการแต่ไม่สำเร็จ
ลำดับนั้น เทวดาองค์หนึ่ง ซึ่งนับเนื่องในหมู่มาร คิดว่า “ บัดนี้
เราจักสิงในสรีระของหญิงเหล่านี้แล้ว จักแสดงประการอันแปลกตรง
พระพักตร์พระสมณโคดม ” แล้วเข้าสิงในสรีระของหญิงเหล่านั้น บรรดา
หญิงเหล่านั้น บางพวกจะเริ่มปรบมือหัวเราะ, บางพวกเริ่มจะฟ้อน ตรง
พระพักตร์พระศาสดา. พระศาสดาทรงรำพึงว่า “ นี้อย่างไรกัน ? ” ทรง
ทราบเหตุนั้นแล้ว ทรงดำริแล้วว่า “ บัดนี้ เราจักไม่ให้เทวดาผู้นับเนื่องใน
หมู่มารได้ช่อง. เพราะเมื่อเราบำเพ็ญบารมีตลอดกาลเท่านี้ ก็หาได้บำเพ็ญ
เพื่อมุ่งจะให้พวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารได้ช่องไม่ ” เพื่อจะให้หญิง
เหล่านั้นสังเวช จึงทรงเปล่งรัศมีจากพระโลมาระหว่างพระโขนง ทันใด
นั้นเอง ความมืดมนอนธการได้มีแล้ว. หญิงเหล่านั้นได้หวาดหวั่น อัน
มรณภัยคุกคามแล้ว ด้วยเหตุนั้น สุราในท้องของหญิงเหล่านั้นจึงสร่างคลาย
ไป. พระศาสดาทรงหายไป ณ บัลลังก์ที่ประทับนั่ง ประทับยืนอยู่บน
ยอดเขาสิเนรุ ทรงเปล่งพระรัศมีจากพระอุณาโลม. ขณะนั้น แสงสว่าง
ได้มีเหมือนพระจันทร์ขึ้นตั้งพันดวง. ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสเรียกหญิง
๑. ภมุกโลมโตติ. ภมุกนฺตเร โลมโต.
 
๔๒/๒๑/๑๔๕

วันอังคาร, พฤศจิกายน 29, 2565

Trakun

 
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิกฺกมถ ความว่า พวกท่าน จงก้าว
มาข้างหน้า. ถามว่า ก็พวกเจ้ามัลละแห่งกรุงกุสินารา ไม่ทรงทราบว่าพระผู้มี
พระภาคเจ้าเสด็จมา ดอกหรือ. ตอบว่าทรงทราบ. ธรรมดาว่า ในสถานที่ๆ
พระพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จไป ๆ ย่อมโกลาหลมากทั้งที่ยังไม่เสด็จมา ก็เพราะ
ทรงประชุมกันด้วยกรณียะบางอย่าง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่าพวกเจ้า
มัลละเหล่านั้น มาแล้วจักต้องจัดโอกาสที่ยืนที่นั่งถวายแก่ภิกษุสงฆ์ จึงส่ง
พระอานนท์ไปที่สำนักของเจ้ามัลละเหล่านั้น แม้ในเวลาอันไม่ควร. โน อักษร
ในคำว่า อมฺหากํ จ โน นี้ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า อฆาวิโน ได้แก่ ผู้เกิด
ทุกข์. บทว่า เจโตทุกฺขสมปฺปิโต ได้แก่ผู้เปี่ยมด้วยโทมนัส. บทว่า กุล-
ปริวตฺตโส กุลปริวตฺตโส ฐเปตฺวา ความว่า พวกเจ้ามัลละเป็นตระกูล ๆ
คือสังเขปว่า ตระกูล เป็นส่วน ๆ โดยอยู่ถนนเดียวกันและตรอกเดียวกัน.
บทว่า สุภทฺโท นาม ปริพฺพาชโก ได้แก่ ปริพาชกผู้นุ่งห่มผ้า
จากตระกูลอาทิผิด สระอุทิจจพราหมณมหาศาล. บทว่า กงฺขาธมฺโม ได้แก่ธรรมคือ
ความเคลือบแคลง. ถามว่าก็เพราะเหตุไร สุภัททปริพาชกนั้นจึงมีความคิด
อย่างนี้ในวันนี้. ตอบว่า เพราะมีอุปนิสัยอย่างนั้น. ได้ยินว่า แต่ก่อนได้มีพี่
น้อง ๒ คน ในการบำเพ็ญบุญ. พี่น้อง ๒ คนนั้น ได้กระทำข้าวกล้าร่วมกัน
ใน ๒ คนนั้น พี่ชายคิดว่าเราจักถวายทานข้าวกล้าอันเลิศปีละ ๙ ครั้ง. ฤดู
หว่าน ถวายเมล็ดอันเลิศ. ในฤดูข้าวตั้งท้องปรึกษากับน้องชายว่า จักผ่า
ท้องกล้าถวาย. น้องชายบอกว่า พี่ต้องการจะให้ข้าวกล้าอ่อนพินาศไปหรือ.
พี่ชายรู้ว่าน้องชายไม่ยินยอม จึงแบ่งนากัน ผ่าท้องข้าวจากส่วนของตน คั้นน้ำ
นม ปรุงด้วยเนยใสและน้ำอ้อย. ในฤดูเป็นข้าวเม่าก็ให้กระทำข้าวเม่าถวาย.
ในเวลาเกี่ยวก็ให้ถวายข้าวอันเลิศ. ในเวลามัดขะเน็ด ก็ได้ถวายข้าวอันเลิศ
ในเวลาทำขะเน็ด. ในเวลาทำเป็นฟ่อนเป็นต้น ก็ได้ถวายข้าวอันเลิศเวลาทำ
 
๑๓/๑๖๒/๔๓๔

วันจันทร์, พฤศจิกายน 28, 2565

Ropkuan

 
[พระเถระทรมานพวกรากษสให้หนีไปแล้วป้องกันเกาะไว้]
ก็ในขณะนั้นเอง นางรากษสตนหนึ่ง พร้อมด้วยบริวาร ขึ้นมาจาก
สมุทรด้วยคิดว่า เด็กเกิดในราชตระกูล, พวกเราจักเคี้ยวกินเด็กนั้น. พวก
มนุษย์เห็นนางรากษสตนนั้นแล้ว ก็กลัวร้องเสียงดังว่า นางรากษสนี้กำลังมา
เจ้าข้า ! พระเถระนิรมิตอัตภาพมากหลายกว่าพวกรากษสเป็นสองเท่า ปิด
ล้อมข้างทั้งสองด้วยอัตภาพเหล่านั้น กั้นนางรากษสนั้น พร้อมทั้งบริวารไว้
ตรงกลาง. นางรากษสตนนั้น พร้อมทั้งบริษัท ได้คิดดังนี้ว่า สถานที่นี้
จักเป็นของอันรากษสเหล่านี้ได้แล้วแน่นอน, ส่วนพวกเราก็จักเป็นภักษาของ
รากษสเหล่านี้. พวกรากษสทั้งหมดได้รีบหนีไปแล้ว.
ฝ่ายพระเถระ ขับไล่รากษสเหล่านั้นให้หนีไปแล้ว จนมองไม่เห็น
จึงได้ตั้งอารักขาไว้โดยรอบเกาะ๑. อนึ่ง ท่านให้หมู่มหาชน ซึ่งประชุมพร้อม
กันอยู่ในสมัยนั้นเลื่อมใส ด้วยพรหมชาลสุตตันตกถา ทั้งให้ตั้งอยู่ในสรณคมน์
และศีลแล้ว. ก็ในสันนิบาตนี้ ประชาชนประมาณหกหมื่น ได้บรรลุธรรม
แล้ว. พวกเด็กในตระกูลประมาณสามพันห้าร้อย บวชแล้ว. กุลธิดาประมาณ
หนึ่งพันห้าร้อยนาง ก็บวชแล้ว. พระเถระนั้น ได้ประดิษฐานพระศาสนาให้
ดำรงมั่นอยู่ในแคว้นสุวรรณภูมินั้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้. จำเดิมแต่นั้นมา
๑. นักปราชญ์ทางประวัติศาสตร์สันนิษฐานกันว่า ประเทศไทยของเรานี้อยู่ในแหลมทอง คือแคว้น สุวรรณภูมิ ได้รับพระพุทธศาสนาในคราวที่พระโสณกเถระและพระอุตตรเถระถูกส่งให้มาประกาศพระศาสนาในภาคนี้ แต่ถ้าจะสันนิษฐานอีกแง่หนึ่งแล้วไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะใจความในเรื่องนี้บ่งชัดอยู่แล้วว่า สถานที่ท่านทั้งสองไปประกาศนั้นเป็นเกาะไม่ใช่เป็นแผ่นดินเชื่อมติดต่อกัน และท่านก็ทำการป้องกันเกาะไว้โดยรอบ มิให้พวกผีเสื้อน้ำมารบกวนอาทิผิด อักขระประชาชนได้, อนึ่ง ถ้าแหลมทองนี้รวมทั้งประเทศพม่า ญวน ลาว เขมร และไทย อย่างที่พวกนักปราชญ์ทางประวัติศาสตร์เข้าใจแล้ว ก็ยิ่งกว้างใหญ่ไพศาล เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ท่านจะป้องกันได้อย่างไร ? ขอได้โปรดพิจารณาดูเถิด.
๒. ที. สี. ๙/๑
 
๑/๙/๑๑๙

วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 27, 2565

Okat

 
กาศแล้ว สำรวมในศีลสังวรที่พระตถาคตเจ้า
ผู้มีจักษุเป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ทรงแสดง
แล้ว คุ้มครองอินทรีย์ มีสติทุกเมื่อ ไม่ชุ่มด้วย
กิเลส ตัดอนุสัยทั้งปวงอันแล่นไปตามกระแส
บ่วงมาร ชนเหล่านั้นแล บรรลุความสิ้นอาสวะ
ถึงฝั่ง คือ นิพพานในโลกแล้ว.
จบ อักขณสูตรที่ ๙

อรรถกถาอักขณสูตรที่ ๙
อักขณสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ชาวโลกย่อมทำกิจทั้งหลายในขณะ เพราะเหตุนั้นชาวโลก
นั้นชื่อว่า ขณกิจจะ ผู้ทำกิจในขณะ อธิบาย พอได้โอกาสอาทิผิด อักขระทำกิจ
ทั้งหลาย บทว่า ธมฺโม ได้แก่ ธรรมคือสัจจะทั้ง ๔. บทว่า อุปสมิโก
ได้แก่ นำความสงบกิเลสมาให้. บทว่า ปรินิพฺพานิโก ได้แก่ กระทำ
การดับกิเลสได้สิ้นเชิง. ชื่อว่า สมฺโพธคามี เพราะถึงคือบรรลุ
สัมโพธิญาณ กล่าวคือ มรรคญาณ ๔. คำว่า ทีฆายุกํ เทวนิกายํ นี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงเหล่าอสัญญีเทพ. บทว่า อวิญฺญา-
ตาเรสุ ความว่า ในพวกมิลักขะ ผู้ไม่รู้อย่างยิ่ง.
บทว่า สุปฺปเวทิเต ความว่า อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว
บทว่า อนฺตรายิกา แปลว่า อันกระทำอันตราย. บทว่า ขโณ โว มา
อุปจฺจคา ความว่า ขณะที่ท่านได้แล้วนี้ อย่าล่วงเลยท่านทั้งหลาย
ไปเสีย. บทว่า อิธ เจ น วิราเธติ ความว่า ถ้าใคร ๆ มีปกติประพฤติ
 
๓๗/๑๑๙/๔๕๕

วันเสาร์, พฤศจิกายน 26, 2565

Ngam

 
๖. โรหิตัสสสูตร

[๒๙๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร
เชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.
ครั้งนั้น เมื่อล่วงปฐมยาม โรหิตัสสเทวบุตรมีวรรณะงามอาทิผิด อักขระยิ่งนัก ทำ
พระวิหารเชตวันให้สว่างทั่วแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ
ครั้น แล้วจึงถวายอภิวาทแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
โรหิตัสสเทพบุตรยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้ทูลพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ณ โอกาสใดหนอ บุคคลจึงจะไม่เกิด ไม่แก่
ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อันบุคคลอาจ หรือบรรลุ
ที่สุดโลกได้ด้วยการเดินทางได้บ้างไหมหนอ.
[๒๙๖] พระผู้มีพระภาคเจ้า. ผู้มีอายุ โอกาสใดบุคคลไม่เกิด ไม่แก่
ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ เราไม่เรียกโอกาสนั้นว่าที่สุดของโลกว่า ที่ควรรู้
ควรเห็น ควรบรรลุด้วยการเดินทาง.
ร. น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า ไม่เคยมีมา พระเจ้าข้า. พระดำรัสนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วว่า ผู้มีอายุ โอกาสใดบุคคลไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย
ไม่จุติ ไม่อุปบัติ เราไม่เรียกโอกาสนั้นว่าที่สุดของโลก ที่ควรรู้ ควรเห็น
ควรบรรลุด้วยการเดินทาง.
[๒๙๗] ร. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่ปางก่อน ข้าพระองค์เป็นฤาษี
ชื่อโรหิตัสสะ เป็นบุตรของอิสรชน มีฤทธิ์ เหาะไปในอากาศได้ มีความเร็ว
ประดุจอาจารย์สอนศิลปธนู จับธนูมั่น ชาญศึกษา ชำนาญมือ เคยประลอง
ยิงธนูมาแล้ว ยิงผ่านเงาตาลตามขวางได้ด้วยลูกศรขนาดเบาโดยสะดวกดาย
 
๒๔/๒๙๕/๓๘๑

วันศุกร์, พฤศจิกายน 25, 2565

Tathagatassa

 
ระหว่างสาละคู่ มีพระสติสัมปชัญญะ จักปรินิพพานเวลาจวนรุ่ง แต่แว่วเสียง
ถามว่า พวกท่านร้อยมาลัยเพื่อใคร กล่าวว่า นี่อะไรกันหนอ วันนี้นี่เอง พระ-
มหาบุรุษทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระมารดา วันนี้ก็ออกจากพระครรภ์
ของมารดา วันนี้ก็เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ วันนี้ก็เป็นพระพุทธเจ้า วันนี้ก็
ประกาศพระธรรมจักร วันนี้ก็แสดงยมกปาฏิหาริย์ วันนี้ก็เสด็จลงจากเทวโลก
วันนี้ก็ทรงปลงอายุสังขาร ทราบว่า วันนี้ก็จักเสด็จปรินิพพาน พระองค์พึงทรง
ดำรงอยู่ชั่วดื่มยาคู ในวันที่ ๒ หรือไม่หนอ ข้อนี้ไม่สมควรแก่พระองค์ ผู้ทรง
บำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ แล้วบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้า จำเราจักถือเอาพวง
มาลัยที่ยังไม่เสร็จมา เมื่อไม่ได้โอกาสภายในจักรวาล ก็จักคล้องที่ขอบปาก
จักรวาลวิ่งแล่นไปตามขอบปากจักรวาล เอาหัตถ์เกี่ยวหัตถ์เรียงศอสลอน ขับ
กล่อมปรารภพระรัตนตรัย ปรารภมหาปุริสลักษณะ ๓๒ พระฉัพพัณรังสี
ทสบารมี ชาดก ๕๕๐ พระพุทธญาณ ๑๔ ในที่สุดแห่งพระพุทธคุณนั้น ๆ ก็
ต้องละไป ๆ. ท่านอาศัยสังคีตะนั้น จึงกล่าวคำนี้ว่า ทิพฺพานิปิ สงฺคีตานิ
อนฺตลิกฺเข วชฺชนฺติ ตถาคตสฺส ปูชาย ทั้งสังคีตที่เป็นทิพย์ ก็บรรเลง
ในอากาศ เพื่อบูชาพระตถาคต ดังนี้.
ก็แล พระผู้มีพระภาคเจ้า บรรทมตะแคงข้างขวา ระหว่างต้นสาละคู่
ทรงเห็นความอุตสาหะอย่างใหญ่ ของบริษัทที่ประชุมกันตั้งแต่ปฐพีจดขอบปาก
จักรวาล และตั้งแต่ขอบปากจักรวาลจดพรหมโลก จึงตรัสบอกท่านพระอานนท์.
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถโข ภควา อายสฺมนฺตํ อานนฺทํ ฯเปฯ
ตถาคตสฺสอาทิผิด อักขระ ปูชาย. ครั้นทรงแสดงมหาสักการะอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดง
ความที่พระองค์เป็นผู้อันบริษัทไม่สักการะด้วยมหาสักการะแม้นั้น จึงตรัสว่า
น โข อานนฺท เอตฺตาวตา เป็นต้น.
 
๑๓/๑๖๒/๔๒๐

วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 24, 2565

Makham

 
มะพร้าว ผลขนุน ผลสาเก น้ำเต้า ฟักเขียว แตงไท แตงโม ฟักทอง
เป็นอันทรงห้าม และอปรัณณชาติทุกชนิด มีคติอย่างธัญญชาติเหมือนกัน.
มหาผลและอปรัณณชาตินั้น ไม่ได้ทรงห้ามไว้ก็จริง ถึงกระนั้น ย่อมเข้ากับ
สิ่งที่เป็นอกัปปิยะ; เพราะเหตุนั้น จึงไม่ควรในปัจฉาภัต.
น้ำปานะ ๘ อย่าง ทรงอนุญาตไว้ น้ำปานะแห่งผลไม้เล็กมี หวาย
มะขามอาทิผิด อักขระ มะงั่ว มะขวิด สะคร้อ และเล็บเหยี่ยว เป็นต้น มีคติอย่างอัฏฐบาน
แท้ น้ำปานะแห่งผลไม้เหล่านั้น ไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ก็จริง. ถึงกระนั้น ย่อม
เข้ากับสิ่งที่เป็นกัปปิยะ; เพราะฉะนั้น จึงควร.
ในกุรุนทีแก้ว่า จริงอยู่ เว้นรสแห่งเมล็ดข้าวกับทั้งสิ่งที่อนุโลมเสีย
แล้ว ขึ้นชื่อว่าน้ำผลไม้อื่น ที่ไม่ควร ย่อมไม่มี น้ำผลไม้ทุกชนิดเป็นยาม
กาลิกแท้.
จีวรพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ ๖ ชนิด. จีวรอื่นอีก ๖ ชนิดที่
อนุโลมจีวรเหล่านั้น คือ ผ้าทุกุละ ผ้าแคว้นปัตตุนนะ ผ้าเมืองจีน ผ้าเมือง
แขก ผ้าสำเร็จด้วยฤทธิ์ ผ้าเทวดาให้ พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายอนุญาต
แล้ว.
บรรดาผ้าเหล่านั้น ผ้าปัตตุนนะนั้น ได้แก่ ผ้าที่เกิดด้วยไหมใน
ปัตตุนประเทศ. ผ้า ๒ ชนิด เรียกตามชื่อของประเทศนั่นเอง. ผ้า ๓ ชนิด
นั้น อนุโลมผ้าไหม ผ้าทุกุละ อนุโลมผ้าป่าน นอกจากนี้ ๒ ชนิด อนุโลม
ผ้าฝ้ายหรือผ้าทุกอย่าง.
บาตรพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้าม ๑๑ อย่าง อนุญาต ๒ อย่าง คือ
บาตรเหล็ก บาตรดิน. ภาชนะ ๓ อย่าง คือ ภาชนะเหล็ก ภาชนะดิน ภาชนะ
ทองแดง อนุโลมแก่บาตรนั้นแล.
 
๗/๙๔/๑๙๐

วันพุธ, พฤศจิกายน 23, 2565

Chit

 
ประทุษร้ายภิกษุณี ปฏิญาณเป็นผู้ทำลายสงฆ์ ปฏิญาณเป็นผู้ทำโลหิตุปบาท
ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญชนก สงฆ์พึงมอบให้แก่ภิกษุรูปอื่นด้วยสั่งว่า อย่าให้
ของสงฆ์เสียหาย.
[๓๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถือเอานว-
กรรมแล้วหลีกไปในเมื่อยังทำไม่เสร็จ สงฆ์พึงมอบให้แก่ภิกษุรูปอื่นด้วยสั่งว่า
อย่าให้ของสงฆ์เสียหาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถือเอานวกรรมแล้ว
สึกในเมื่อทำยังไม่เสร็จ. . . ถึงมรณภาพ ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญชนก สงฆ์พึง
มอบให้แก่ภิกษุรูปอื่นด้วยสั่งว่า อย่าให้ของสงฆ์เสียหาย.
[๓๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถือเอานว-
กรรมแล้วหลีกไปในเมื่อทำเสร็จแล้ว นวกรรมนั้นตกเป็นของภิกษุนั้นเอง.
[๓๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถือเอา
นวกรรมแล้ว พอทำเสร็จแล้ว ก็สึก ถึงมรณภาพ ปฏิญาณเป็นสามเณร
ปฏิญาณเป็นผู้บอกลาสิกขา ปฏิญาณเป็นผู้ต้องอันติมวัตถุ สงฆ์เป็นเจ้าของ.
[๓๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถือเอา
นวกรรมแล้ว พอทำเสร็จ ก็ปฏิญาณเป็นผู้วิกลจริต ปฏิญาณเป็นผู้มีจิตอาทิผิด อักขระ ฟุ้งซ่าน
ปฏิญาณเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ปฏิญาณเป็นผู้ถูกยกวัตรฐานไม่เห็น
อาบัติ ปฏิญาณเป็นผู้ถูกยกวัตรฐานไม่กระทำคืนอาบัติ ปฏิญาณเป็นผู้ถูกยก
วัตรฐานไม่สละคืนทิฏฐิอันลามก นวกรรมนั้นตกเป็นของภิกษุนั้นเอง.
[๓๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถือเอา
นวกรรมแล้ว พอทำเสร็จ ก็ปฏิญาณเป็นบัณเฑาะก์ ปฏิญาณเป็นผู้ลักเพศ
ปฏิญาณเป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์ ปฏิญาณเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่ามารดา
ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่าบิดา ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์ ปฏิญาณเป็นผู้ประทุษร้าย
 
๙/๓๐๗/๑๖๑

วันอังคาร, พฤศจิกายน 22, 2565

Phro

 
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปฺปตนฺเตสุ ได้แก่ ยกตนให้สูง คือ
เมื่อสัตว์ทั้งหลายไม่เข้าไปสงบแล้ว โดยยกตนขึ้น ด้วยกิเลสมีมานะ. อุทธัจจะ
ถัมภะ และสารัมภะเป็นต้น.
บทว่า นิปเต ได้แก่ พึงน้อมตนลง คือพึงเป็นผู้มีความประพฤติ
นอบน้อม โดยเว้นบาปธรรมเหล่านั้นเสียทุกอย่าง.
บทว่า นิปตนฺเตสุ ได้แก่ ตกต่ำ คือ เมื่อสัตว์ทั้งหลายเสื่อมจากคุณ
เพราะอาทิผิด สระกระทำอธิมุตติให้ต่ำ และเพราะความเกียจคร้าน.
บทว่า อุปฺปเต ได้แก่ พึงยกขึ้น คือ พึงสนับสนุนขวนขวายโดยคุณ
เพราะกระทำให้มีอธิมุตติประณีต และเพราะการปรารภความเพียร.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อุปฺปตนฺเตสุ ได้แก่ โอหัง คือ ยกศีรษะขึ้น
(ชูคอ) ด้วยสามารถแห่งความกลุ้มรุมของกิเลสทั้งหลาย.
บทว่า นิปเต ความว่า พึงถ่อมตนด้วยการพิจารณาอันสมควร
โดยประการที่กิเลสเหล่านั้น จะไม่เกิดขึ้นด้วยกำลังแห่งการพิจารณา.
บทว่า นิปตนฺเตสุ ความว่า ตกไปโดยรอบ คือ เมื่อความเพียร
และความพยายามอ่อน ในเพราะการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย หรือเมื่อธรรม
คือสมถะ และวิปัสสนา ตามที่ปรารภแล้วเสื่อมไป.
บทว่า อุปฺปเต ความว่า พึงยังคนเหล่านั้นให้เข้าไปตั้งไว้ คือให้เกิด
และพึงให้เจริญ ด้วยโยนิโสมนสิการ และด้วยการถึงพร้อมแห่งวิริยารัมภะ
(ปรารภความเพียร).
บทว่า วเส อวสมาเนสุ ความว่า เมื่อสัตว์ทั้งหลายไม่อยู่อย่างผู้
ประพฤติมรรคพรหมจรรย์ และอยู่อย่างพระอริยเจ้า ตนเองพึงอยู่แบบมรรค-
พรหมจรรย์ และแบบพระอริยะนั้น อีกอย่างหนึ่ง หมายความว่า เมื่อพระ
อริยเจ้าทั้งหลายไม่อยู่อย่างผู้มีกิเลส คือไม่อยู่อย่างผู้มีคู่ (มีบุตรมีภรรยา) คน
เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมอยู่อย่างผู้มีกิเลส (ส่วน) ตนเองต้องอยู่อย่างพระอริยเจ้านั้น
 
๕๐/๒๑๓/๓๘๐

วันจันทร์, พฤศจิกายน 21, 2565

Upachan

 
ก็ในคำว่า บุรุษกลางคน ผู้ยืนอยู่ที่อุปจารอาทิผิด อักขระเรือนแห่งบ้านที่ไม่ได้ล้อม
ขว้างก้อนดินไปตก นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- บุรุษกลางคน ผู้ยืนอยู่ที่
น้ำตกแห่งชายคา โยนกระด้งหรือสากให้ตกไป ชื่อว่า อุปจารเรือน. ใน
อรรถกถากุรุนทีท่านกล่าวไว้ว่า บุรุษกลางคนผู้ยืนอยู่ที่อุปจารเรือนนั้น ขว้าง
ก้อนดินไปตก ชื่อว่า อุปจารบ้าน. ถึงในอรรถกถามหาปัจจรี ท่านก็กล่าวไว้
เช่นนั้นเหมือนกัน. อนึ่ง ในมหาอรรถกถา ท่านตั้งมาติกาไว้ว่า ชื่อว่าเรือน
ชื่อว่าอุปจารเรือน ชื่อว่าบ้าน ชื่อว่าอุปจารบ้าน แล้วกล่าวว่า ภายในที่น้ำตก
แห่งชายคา ชื่อว่าเรือน. ส่วนที่ตกแห่งน้ำล้างภาชนะ ซึ่งมาตุคาม ผู้ยืนอยู่ที่
ประตูสาดทิ้งลงมา และที่ตกแห่งกระด้งหรือไม้กวาด ที่มาตุคามเหมือนกันซึ่ง
ยืนอยู่ภายในเรือนโยนออกไปข้างนอกตามปกติ และเครื่องล้อมที่เขาต่อที่มุม
สองด้านข้างหน้าเรือน ตั้งประตูกลอนไม้ไว้ตรงกลางทำไว้สำหรับกันพวกโค
เข้าไป แม้ทั้งหมดนี้ ชื่อว่าอุปจารเรือน. ภายในเลฑฑุบาตของบุรุษมีกำลัง
ปานกลาง ผู้ยืนอยู่ที่อุปจารเรือนนั้น ชื่อว่า บ้าน. ภายในเลฑฑุบาตอื่นจาก
นั้น ชื่อว่าอุปจารบ้าน. คำที่ท่านกล่าวไว้ในมหาอรรถกถานี้ ย่อมเป็นประมาณ
ในคำนี้ว่า บุรุษมีกำลังปานกลางผู้ยืนอยู่ที่อุปจารเรือนแห่งบ้านที่ไม่ได้ล้อม
ขว้างก้อนดินไปตก. เหมือนอย่างว่า คำที่ท่านกล่าวไว้ในมหาอรรถกถานี้
ย่อมเป็นประมาณในที่นี้ ฉันใด, อรรถกถาวาทะก็ดี เถรวาทะก็ดี ที่ข้าพเจ้า
จะกล่าวในภายหลัง ก็พึงเห็นโดยความเป็นประมาณในที่ทั้งปวง ฉันนั้น.
ถามว่า ก็คำที่ท่านกล่าวไว้ในมหาอรรถกถานี้ นั้นปรากฏเหมือนขัด
แย้งพระบาลี เพราะในพระบาลี พระองค์ตรัสไว้เพียงเท่านี้ว่า บุรุษมีกำลัง
ปานกลาง ผู้ยืนอยู่ที่อุปจารเรือนขว้างก้อนดินไปตก. แต่ในมหาอรรถกถา
๑. วิ. มหา. ๑/๘๕. ๒-๓ วิ. มหา. ๑/๘๕.
 
๒/๑๗๕/๑๐๒

วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 20, 2565

Soet

 
พี่น้องชายของสตรีมีพี่น้องชายปกครองวานภิกษุว่า ข้าแต่พระคุณ
เจ้า ขอพระคุณเจ้าจงไปบอกบุรุษผู้มีชื่อนี้ว่า หญิงนั้นจะขอเป็นภรรยาที่
อยู่ด้วยความเต็มใจ... เป็นภรรยาที่อยู่เพราะสมบัติ... เป็นภรรยาที่อยู่
เพราะผ้า... เป็นภรรยาที่สมรส... เป็นภรรยาที่ถูกปลงเทริด... เป็น
ภรรยาที่เป็นทั้งคนใช้เป็นทั้งภรรยา... เป็นภรรยาที่เป็นทั้งลูกจ้างเป็นทั้ง
ภรรยา... เป็นภรรยาเชลย... เป็นภรรยาชั่วคราว ของบุรุษผู้มีชื่อนี้
ภิกษุรับคำ นำไปบอก และกลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส...ขัณฑ-
จักร... พัทธจักร...
ภาตุรักขิตาภาตุจักร จบ
๕ ภคินีรักขิตาภคินีจักร
นิกเขปบท
พี่น้องหญิงของสตรีมีพี่น้องหญิงปกครองวานภิกษุว่า ข้าแต่พระ-
คุณเจ้า ขอพระคุณเจ้าจงไปบอกบุรุษผู้มีชื่อนี้ว่า หญิงนั้นจะขอเป็นภรรยา
สินไถ่ ของบุรุษผู้มีชื่อนี้ ภิกษุรับคำ นำไปบอก และกลับมาบอก
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
พี่น้องหญิงของสตรีมีพี่น้องหญิงปกครองวานภิกษุว่า ข้าแต่พระ-
คุณเจ้า ขอพระคุณเจ้าจงไปบอกบุรุษผู้มีชื่อนี้ว่า หญิงนั้นจะขอเป็นภรรยา
ที่อยู่ด้วยความเต็มใจ... เป็นภรรยาที่อยู่เพราะสมบัติ... เป็นภรรยาที่อยู่
เพราะผ้า... เป็นภรรยาที่สมรส... เป็นภรรยาที่ถูกปลงเทริดอาทิผิด สระ... เป็น
ภรรยาที่เป็นทั้งคนใช้เป็นทั้งภรรยา... เป็นภรรยาที่เป็นทั้งลูกจ้างเป็นทั้ง
 
๓/๔๗๑/๓๑๓

วันเสาร์, พฤศจิกายน 19, 2565

Songsep

 
บทว่า มติกุสเลน ความว่า ผู้มีปรีชา คือ ปัญญาฉลาดเฉียบแหลม
ได้แก่ ฉลาดในการยังธรรมวิจยสัมโพชฌังคปัญญาให้เกิดขึ้นว่า ปัญญาย่อม
เจริญแก่ผู้ประพฤติอย่างนี้ ไม่เจริญแก่ผู้ประพฤติอย่างนี้ ดังนี้.
บทว่า นิวาตวุตฺตินา ความว่า มีปกติประพฤตินอบน้อมถ่อมตน
ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย และประพฤติปฏิบัติโดยสมควรในพระเถระผู้สูง
อายุและในภิกษุใหม่.
บทว่า สํเสวิตพุทฺธสีลินา ความว่า ศีลของพระพุทธเจ้า
อันพระโยคาวจรซ่องเสพอาทิผิด แล้ว คือประพฤติแล้วโดยเอื้อเฟื้อ ชื่อว่า ผู้มีศีล
ของพระพุทธเจ้าอันประพฤติแล้วโดยเอื้อเฟื้อ อันพระโยคาวจรผู้มีศีลของ
พระพุทธเจ้า อันประพฤติแล้วโดยเอื้อเฟื้อนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ศีลของพระ-
พุทธเจ้า อันพระโยคาวจรนั้น ซ่องเสพแล้ว คือเข้าไปบำเรอแล้ว เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่า มีศีลของพระพุทธเจ้าอันเสพแล้ว อันพระโยคาวจรผู้มี
ศีลของพระพุทธเจ้าอันเสพแล้วนั้น.
หิ ศัพท์ มีเหตุเป็นอรรถ ขยายความว่า เพราะพระโยคาวจรมีความ
ประพฤติถ่อมตน มีศีลของพระพุทธเจ้าอันซ่องเสพแล้ว มีปัญญาเฉียบแหลม
มีปกติเห็นเนื้อความอันสุขุมและละเอียด ฉะนั้น พระนิพพานอันพระโยคาวจร
นั้น จึงได้โดยไม่ยาก. อธิบายว่า บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมสำคัญพระโยคาวจร
นั้นว่า ควรโอวาท ควรสั่งสอน เพราะเป็นผู้มีปกติประพฤติอ่อนน้อม และ
เพราะเป็นผู้มีศีลของพระพุทธเจ้าอันตนซ่องเสพอาทิผิด อักขระแล้ว ทั้งพระโยคาวจรนี้ ก็ตั้ง
อยู่ในโอวาทของบัณฑิตเหล่านั้น บำเพ็ญวิปัสสนา ย่อมบรรลุพระนิพพาน
ต่อกาลไม่นานนัก เพราะเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม และเพราะเป็นผู้มีปกติ
เห็นเนื้อความอันสุขุมและละเอียด ดังนี้ ก็คาถานี้นั่นแหละ ได้เป็นคาถา
พยากรณ์พระอรหัตผลของพระเถระ ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาวัจฉปาลเถรคาถา
 
๕๐/๒๐๘/๓๕๘

วันศุกร์, พฤศจิกายน 18, 2565

Long

 
เวลาที่สามารถเดินได้ ชื่อว่า อุชุคตภูมิ
ระยะเวลาที่ศึกษาศิลปะ. ชื่อว่า เสขภูมิ.
เวลาที่ออกจากเรือนบวช ชื่อว่า สมณภูมิ
เวลาที่มีความรู้เพราะส้องเสพ (ศึกษามาจาก) อาจารย์ ชื่อว่า
ชานนภูมิ.
เขากล่าวถึงสมณะผู้ไม่ฉลาดอย่างนี้ว่า ก็ภิกษุเป็นผู้พลัดตก
(จากประโยชน์) เสียแล้ว (เพราะ) พระชินเจ้า หาตรัสอะไรไว้ด้วยไม่
นี้ชื่อว่า ปันนภูมิ.
บทว่า เอกูนปญฺญาส อาชีวสเต ได้แก่ วิธีดำเนินชีวิต ๔,๙๐๐
บทว่า ปริพฺพาชกสเต ได้แก่ การบวชเป็นปริพพาชก ๑๐๐.
บทว่า นาควาสสเต ได้แก่ นาคมณฑล ๑๐๐.
บทว่า วีเส อินฺทฺริยสเต ได้แก่ อินทรีย์ ๒,๐๐๐
บทว่า ตึเส นิรยสเต ได้แก่ นรก ๓,๐๐๐
มิจฉาทิฏฐิกบุคคลกล่าวหมายถึงหลังมือและหลังเท้าเป็นต้น
ซึ่งเป็นที่โปรยธุลีลงอาทิผิด สระ ด้วยบทว่า รโชธาตุโย.
กล่าวหมายถึง อูฐ โค ฬา แพะ สัตว์เลี้ยงเนื้อ และกระบือ ด้วยบทว่า
สตฺตสญฺญีคพฺภา.
กล่าวหมายถึง ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ข้าวเหนียว ข้าวละมาน
ข้าวฟ่าง ลูกเดือย และหญ้ากับแก้ ด้วยบทว่า อสญฺญีคพฺภา.
กล่าวหมายถึง ต้นอ้อย ต้นไผ่ และต้นอ้อเป็นต้น ซึ่งมีต้น (ใหม่)
งอกขึ้นที่ตา ด้วยบทว่า นิคณฺฐิคพฺภา.
 
๒๗/๔๓๕/๔๙๒

วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 17, 2565

Samret

 
๖. บุญกิริยาวัตถุสูตร
[๑๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการนี้
๓ ประการเป็นไฉน คือ บุญกิริยาวัตถุสำเร็จแล้วด้วยทาน ๑ บุญกิริยา
วัตถุสำเร็จด้วยศีล ๑ บุญกิริยาวัตถุสำเร็จอาทิผิด สระด้วยภาวนา ๑ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
ทานนิดหน่อย ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลนิดหน่อย ไม่เจริญ
บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความ
เป็นผู้มีส่วนชั่วในมนุษย์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุ
ที่สำเร็จด้วยทานพอประมาณ ทำบุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยศีลพอ
ประมาณ ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป
เขาเข้าถึงความเป็นผู้มีส่วนดีในมนุษย์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยา
วัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
ศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย
เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาราชทั้ง ๔ ในชั้นนั้น ทำบุญกิริยาวัตถุที่
สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็น
อดิเรก ย่อมก้าวล่วงเทวดาชั้นจาตุมมหาราชโดยฐานะ ๑๐ ประการ
คือ อายุทิพย์ วรรณทิพย์ สุขทิพย์ ยศทิพย์ อธิปไตยทิพย์ รูปทิพย์
เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ โผฏฐัพพทิพย์.
 
๓๗/๑๒๖/๔๘๔

วันพุธ, พฤศจิกายน 16, 2565

Yom

 
พระวัฑฒเถระฟังคำมารดานั้น แล้วคิดว่า โยมมารดาของเรา คงตั้ง
อยู่ในพระอรหัตแน่แล้ว เมื่อจะประกาศความข้อนั้น จึงกล่าวคาถาว่า
โยมมารดาบังเกิดเกล้ากล้ากล่าวความนี้แก่ลูก
โยมมารดา ลูกเข้าใจว่า ตัณหาของโยมอาทิผิด อักขระมารดาคง
ไม่มีแน่ละ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิสารทา ว ภณสิ เอตมตฺถํ ชเนตฺติ
เม ความว่า ท่านโยมมารดาบังเกิดเกล้ากล่าวความนี้ คือโอวาทนี้ว่า ลูกวัฑฒะ
ตัณหา ความอยาก ในโลก อย่าได้มีแก่ลูก ไม่ว่าในกาลไหน ๆ เลย ดังนี้
โยมมารดาเป็นผู้ปราศจากความขลาดกลัว ไม่ติดไม่ข้องในอารมณ์ไหน ๆ กล่าว
แก่ลูก ท่านโยมมารดา เพราะฉะนั้น ลูกจึงเข้าใจว่า ตัณหาของโยมมารดา
คงไม่มีแน่ละ อธิบายว่า ท่านโยมมารดา คือท่านโยมมารดาของลูก ลูก
เข้าใจว่า ตัณหาแม้เพียงความรักระหว่างครอบครัวของโยมมารดา คงไม่มีใน
ตัวลูก อธิบายว่า ตัณหาที่ยึดถือว่าของเราไม่มี.
พระเถรีฟังคำบุตรนั้นแล้ว กล่าวว่ากิเลสแม้เพียงเล็กน้อย ไม่มีใน
อารมณ์ไหนๆ ของแม่เลย ดังนี้ เมื่อจะประกาศความที่ตนทำกิจเสร็จแล้ว
จึงกล่าว ๒ คาถา ดังนี้ว่า
พ่อวัฑฒะ สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง มีทั้ง ต่ำ
สูง กลาง ตัณหาของแม่ในสังขารเหล่านั้น อณูหนึ่ง
ก็ดี ขนาดอณูหนึ่งก็ดี ไม่มีเลย.
แม่ผู้ไม่ประมาท เพ่งฌานอยู่ สิ้นอาสวะหมด
แล้ว วิชชา ๓ ก็บรรลุแล้ว คำสอนของพระศาสดา
ก็กระทำเสร็จแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย เกจิ เป็นคำกล่าวความไม่มีกำหนด.
บทว่า สงฺขารา ได้แก่สังขตธรรม. บทว่า หีนา ได้แก่ ต่ำ น่ารังเกียจ.
 
๕๔/๔๖๓/๒๙๗

วันอังคาร, พฤศจิกายน 15, 2565

Tang

 
อีกอย่างหนึ่ง คำใด ตรัสว่า ภาสิตํ ท้ายคาถาต้น ทรงอ้างคำนั้น
เป็นตัวเหตุ จึงตรัสว่า เพราะเหตุที่ธรรมดาภาษิตของเรา หาได้ยากยิ่ง เพราะ
ขณะที่เว้นจากอขณะทั้งปวง หาได้ยาก และมีอานิสงส์มาก เพราะปฏิบัติด้วย
พระคุณมีปัญญาคุณและกรุณาคุณเป็นต้น ทั้งเราก็ประสงค์จะกล่าวภาสิตนั้น
จึงได้กล่าวว่า สุณนฺตุ ภาสิตํ ฉะนั้นแล ขอท่านภูตทั้งหลายทุกท่านโปรด
ตั้งอาทิผิด ใจฟังเถิด. พระดำรัสนี้เป็นอันทรงอธิบายด้วยบทแห่งคาถานี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงยกเหตุนี้อย่างนี้ ทรงประกอบภูตทั้ง
หลายไว้ในการตั้งใจฟังภาษิตของพระองค์ จึงทรงเริ่มตรัสภาษิต ที่พึงตั้งใจฟัง
ว่า เมตฺตํ กโรถ มานุสิยา ปชาย. ภาษิตนั้นมีความว่า ประชาชน
ชาวมนุษย์นี้ใดถูกอุปัทวะทั้ง ๓ ขัดขวางแล้วขอท่านทั้งหลายจงเข้าไปตั้งเมตตา
ความเป็นมิตร ความมีอัธยาศัย เอื้อประโยชน์แก่ประชาชนคนมนุษย์นั้นเถิด.
แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า มานุสิกํ คำนั้น ไม่ถูก เพราะภูตที่อยู่พื้นดินไม่
เกิด อาจารย์พวกอื่นพรรณนาความแม้อันใด ความแม้อันนั้นก็ไม่ถูก. ส่วน
ในที่นี้มีอธิบายว่า เราไม่กล่าวด้วยกำลังความเป็นใหญ่ว่าเป็นพุทธะ. ก็แต่ว่า
สิ่งไรเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกท่าน และแก่ประชาชนคนมนุษย์นี้ เราจะ
กล่าวสิ่งนั้น ว่า เมตฺตํ กโรถ มานุสิยา ปชาย ขอพวกท่านจงทำเมตตา
แก่ประชาชนคนมนุษย์เถิด.
อนึ่งในข้อนี้ เมตตาพึงทราบว่าเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้ทำเมตตา
โดยพระสูตรทั้งหลายเป็นต้นอย่างนี้ว่า
ราชฤษีเหล่าใด ชนะแผ่นดิน ๗ ทวีป ท่อง
เที่ยวบูชายัญ อัสสเมธะ ปริสเมธะ สัมมาปาสะ
วาชเปยยะและนิรัคคฬะ ราชฤษีเหล่านั้น ไม่ได้เสวย
 
๓๙/๗/๒๓๑

วันจันทร์, พฤศจิกายน 14, 2565

Phutthachao

 
เพราะข้าพระองค์ได้ฟังพระดำรัสของพระมุนี จึงได้มี
ความดำริ ณ ที่นั้นว่า เราจักก่อสร้างบุญสมภาร ด้วยประการ
ที่จะได้เห็นพระโคดม.
ครั้นข้าพระองค์คิดอย่างนี้แล้ว จึงคิดถึงบุญกิริยาของ
ข้าพระองค์ว่า จะประพฤติกรรมอะไร ในบุญเขตอัน
ยอดเยี่ยม.
ก็ภิกษุนี้ชำนาญบาลีทั้งปวงในศาสนา พระศาสดาทรงตั้ง
ไว้ในตำแหน่งอันเลิศฝ่ายพระวินัย ข้าพระองค์จึงได้ปรารถนา
ตำแหน่งนั้น.
โภคสมบัติของข้าพระองค์ประมาณมิได้ เปรียบดังสาคร
อันอะไรให้กระเพื่อมไม่ได้.
ข้าพระองค์ได้สร้างอารามถวายแด่พระพุทธอาทิผิด สระเจ้า ด้วย
โภคสมบัตินั้น.
ได้ซื้ออารามนามว่าโสภณ ณ เบื้องหน้าพระนคร ด้วย
ทรัพย์แสนหนึ่ง ถวายให้เป็นสังฆาราม
ข้าพระองค์ได้สร้างเรือนยอด ปราสาท มณฑป เรือนโล้น
และถ้ำอย่างสวยงามไว้ ในที่จงกรมใกล้สังฆาราม.
ได้สร้างเรือนไฟ โรงไฟ และห้องอาบน้ำ แล้วได้ถวาย
แก่ภิกษุสงฆ์.
ได้ถวายเก้าอี้นอน ตั่ง ภาชนะเครื่องใช้สอย คนเฝ้า
อารามและเภสัชทุกอย่างนั้น.
ได้ตั้งอารักขาไว้ แล้วให้สร้างกำแพงอย่างมั่นคง ด้วย
 
๗๐/๘/๕๖๕

วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 13, 2565

Phu

 
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสว่า ดูก่อนกัสสป เธอจงกล่าวสอนภิกษุทั้งหลาย จงกระทำธรรมี-
กถาแก่ภิกษุทั้งหลาย กัสสป เราหรือเธอพึงกล่าวสอนภิกษุทั้งหลาย เรา
หรือเธอพึงกระทำธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย.
ท่านพระมหากัสสปได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ
ภิกษุทั้งหลายในบัดนี้ เป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
ไม่อดทน ไม่รับอนุศาสนีโดยเคารพ.
[๔๙๕] พ. ดูก่อนกัสสป ก็เป็นความจริงอย่างนั้น ครั้งก่อน
ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ เป็นผู้อาทิผิด สระถือการอยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญ
คุณแห่งความเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็น
วัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
เป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ทรง
ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่ง
ความเป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร เป็นผู้มีความปรารถนาน้อย และกล่าว
สรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย เป็นผู้สันโดษ และ
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษ เป็นผู้สงัดจากหมู่ และกล่าวสรร-
เสริญคุณแห่งความสงัดจากหมู่ เป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ และกล่าวสรร-
เสริญคุณแห่งความไม่คลุกคลีด้วยหมู่ เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าว
สรรเสริญ คุณแห่งการปรารภความเพียร บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุใด
เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือการ
อยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญ
คุณแห่งความเป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็น
 
๒๖/๔๙๕/๕๗๗

วันเสาร์, พฤศจิกายน 12, 2565

Man

 
จิตนั้นเป็นไฉน ? วิญญาณจิต ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว จิต
คือ มนะ มานัส หทัย ปัณฑระ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์
มโนวิญญาณธาตุอันสมควรแก่จิตนั้น วิญญาณจิต ด้วยสามารถลมหายใจออก
ยาว ฯลฯ ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับจิตสังขารหายใจเข้า จิต คือ มนะ...
มโนวิญญาณธาตุอันสมควรแก่จิตนั้น นี้เป็นจิต.
จิตปรากฏอย่างไร ? บุคคลเมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว สติย่อมตั้งมั่นอาทิผิด อาณัติกะ จิตนั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วย
ญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจ
ออกยาว สติย่อมตั้งมั่น จิตนั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ
เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง จิตนั้นย่อมปรากฏ จิตนั้นย่อมปรากฏ
อย่างนี้ วิญญาณจิต ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้ง จิตหายใจเข้าหายใจออก
ปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ จิตปรากฏไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัว
สติด้วย บุคคลย่อมพิจารณาจิตนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้
นั้น ท่านจึงกล่าวว่าสติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาจิตในจิต.
คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาจิตนั้นอย่างไร ฯลฯ
ย่อมพิจารณาจิตอย่างนี้.
ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่าเป็นที่
เสพสีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าความรู้แจ้งจิตระวังลมหายเข้าลมหายใจออก ฯลฯ
เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งจิต
หายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์.
[๔๑๓] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักให้จิตเบิกบานหายใจเข้า ย่อมศึกษา
ว่า จักให้จิตเบิกบานหายใจออกอย่างไร ?
 
๖๙/๔๑๓/๑๒๖

วันศุกร์, พฤศจิกายน 11, 2565

Dok Mai

 
มา ๆ ในเทวโลก และมนุษยโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในสักย-
ราชตระกูล ได้นามว่าภคุ เจริญวัยแล้ว ออกบวชพร้อมท่านพระอนุรุทธะ
และพระกิมิละ อยู่ในพาลกโลณกคาม วันหนึ่ง เพื่อจะบรรเทาความที่ถูก
ถีนมิทธะครอบงำ จึงออกจากวิหาร ขึ้นสู่ที่จงกรมล้มลง ทำการล้มนั้น
นั่นแหละให้เป็นขอสับ บรรเทาถีนมิทธะ เจริญวิปัสสนาบรรลุพระ-
อรหัตแล้ว. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตระ ผู้มี
ยศใหญ่ปรินิพพานแล้ว เราได้เอาผอบอันเต็มด้วยดอกไม้อาทิผิด อาณัติกะ
ไปบูชาพระสรีระ เรายังจิตให้เลื่อมใสในบุญกรรมนั้นแล้ว
ได้ไปสู่สวรรค์ชั้นนิมมานรดี เราถึงจะไปอยู่ยังเทวโลก ก็
ยังประพฤติพรหมจรรย์อยู่ ฝนดอกไม้ตกจากฟากฟ้า
เพื่อเราตลอดกาลทั้งปวง เราสมภพในมนุษย์ก็เป็นพระ-
ราชาผู้มียศใหญ่ ในอัตภาพนั้นฝนดอกโกสุมตกลงมาเพื่อ
เราทุกเมื่อ เพราะอำนาจที่เอาดอกไม้บูชาที่พระสรีระของ
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นเหตุนี้เป็นการเห็นครั้งสุดท้ายของ
เรา ภพที่สุดกำลังเป็นไป ถึงทุกวันนี้ ฝนดอกไม้ก็ตกลง
มาเพื่อเราทุกเวลา ในแสนกัปแต่ภัทรกัปนี้ เราเอาดอกไม้
ใดบูชา ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
การบูชาพระสรีระ เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว...ฯลฯ...
พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ก็แลครั้น ท่านบรรลุพระอรหัตแล้ว ปล่อยให้กาลล่วงไปด้วยสุขอัน
เกิดแต่ผลจิต และสุขอันเกิดแต่พระนิพพาน อันพระศาสดาผู้เสด็จเข้าไป

๑. ม. ม. ๑๓/ข้อ ๑๙๕. กิมพิละ. ๒. ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๔๘.
 
๕๒/๓๒๔/๘

วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 10, 2565

Kan

 
๒๗. ทรงมีพระชิวหาใหญ่ยาว
๒๘. ทรงมีพระสุรเสียงดังเสียงพรหม
๒๙. ทรงมีพระเนตรดำสนิท
๓๐. ทรงมีดวงพระเนตรดังตาโค
๓๑. ทรงมีพระอุณาโลมขาวละเอียดอ่อนดังสำลี เกิด
ระหว่างพระโขนง
๓๒. มีพระเศียรกลมเป็นปริมณฑลดังประดับด้วยกรอบ
พระพักตร์.
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านพระโคดมพระองค์นั้นทรงประกอบด้วย
มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการนี้แล และท่านพระโคดมพระองค์นั้น เมื่อจะ
เสด็จดำเนิน ทรงก้าวพระบาทเบื้องขวาก่อน ไม่ทรงยกพระบาทไกลนัก ไม่ทรง
วางพระบาทใกล้นัก ไม่เสด็จดำเนินเร็วนัก ไม่เสด็จดำเนินช้านัก เสด็จ-
ดำเนินพระชานุไม่กระทบพระชานุ ข้อพระบาทไม่กระทบข้อพระบาท ไม่ทรง
ยกพระอุรุสูง ไม่ทรงทอดพระอุรุไปข้างหลัง ไม่ทรงกระแทกพระอุรุ ไม่ทรง
ส่ายพระอุรุ เมื่อเสด็จดำเนินพระกายส่วนบนไม่หวั่นไหว ไม่เสด็จดำเนินด้วย
กำลังพระกาย เมื่อทอดพระเนตร ก็ทอดพระเนตรด้วยพระกายทั้งหมด ไม่
ทอดพระเนตรขึ้นเบื้องบน ไม่ทอดพระเนตรลงเบื้องต่ำ เสด็จดำเนินไม่ทรง
เหลียวแล ทอดพระเนตรประมาณชั่วแอก ยิ่งกว่านั้น พระองค์ทรงมีพระ-
ญาณทัสสนะอันไม่มีอะไรกั้นอาทิผิด อาณัติกะ เมื่อเสด็จเข้าสู่ละแวกบ้าน ไม่ทรงยืดพระกาย
ไม่ทรงย่อพระกาย ไม่ทรงห่อพระกาย ไม่ทรงส่ายพระกาย เสด็จเข้าประทับ
นั่งอาสนะไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นัก ไม่ประทับนั่งเท้าพระหัตถ์ ไม่ทรงพิงพระกาย
ที่อาสนะ เมื่อประทับนั่งในละแวกบ้าน ไม่ทรงคะนองพระหัตถ์ ไม่ทรงคะนอง
พระบาท ไม่ประทับนั่งชันพระชานุ ไม่ประทับนั่งซ้อนพระบาท ไม่ประทับ
 
๒๑/๕๘๙/๒๓๖

วันพุธ, พฤศจิกายน 09, 2565

Character

 
๑๘. อรรถกถารัฐปาลเถราปทาน
อปทาน ของท่านพระรัฐปาลเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตรสฺส
ภควโต ดังนี้.
ท่านผู้มีอายุแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ก่อนแต่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระเสด็จอุบัตินั่นเอง บังเกิดในตระกูล
คฤหบดีมหาศาล ในหังสวดีนคร เจริญวัยแล้ว โดยกาลล่วงไปแห่ง
บิดา ดำรงการครองเรือน ผู้จัดการในเรือนคลังแสดงทรัพย์ที่เป็นมาตาม
วงศ์ตระกูลหาประมาณมิได้ คิดว่าปิยชนมีบิดา ปู่ ตา ยาย ทวด เป็นต้น
ของเรา ไม่สามารถจะถือเอากองทรัพย์มีประมาณเท่านี้ให้เป็นสิทธิ
ของตนไปได้ แต่เราควรจะถือเอาไป ดังนี้แล้วได้ให้มหาทานแก่คน
กำพร้าและคนเดินทางเป็นต้น. ท่านเข้าไปหาดาบสรูปหนึ่งผู้ได้อภิญญา
ถูกดาบสชักชวนในความเป็นใหญ่ในเทวโลก จึงบำเพ็ญบุญอยู่ตลอดชีวิต
จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว บังเกิดในเทวโลก เสวยทิพยสมบัติดำรงอยู่ใน
เทวโลกนั้นตลอดอายุ จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว บังเกิดเป็นบุตรคนเดียว
แห่งตระกูลผู้สามารถจะดำรงรัฐที่แตกต่างอาทิผิด ในมนุษย์โลก. โดยสมัยนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระเสด็จอุบัติในโลก ทรงประกาศ
ธรรมจักรอันประเสริฐ ยังสรรพสัตว์ให้ถึงภูมิอันเป็นแดนเกษมกล่าว
คือนิพพานมหานคร. ลำดับนั้น กุลบุตรนั้น ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา
โดยลำดับ วันหนึ่งไปสู่วิหารกับอุบาสกทั้งหลาย เห็นพระศาสดาทรง
แสดงธรรมอยู่ มีจิตเลื่อมใสนั่งอยู่ที่ท้ายบริษัท.
 
๗๑/๒๐/๔๕

วันอังคาร, พฤศจิกายน 08, 2565

Awitcha

 
๙. พรหมนิมันตนิกสูตร
[๕๕๑ ] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้
มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า.
[๕๕๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ภิกษุทั้ง
หลาย. สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่โคนต้นรังใหญ่ในสุภควัน เมืองอุกกัฏฐา
ก็สมัยนั้นแล พกพรหมมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานฉะนี้ เกิดขึ้นว่า พรหมสถานนี้
เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง แข็งแรง มีความไม่เคลื่อนเป็นธรรมดา พรหมสถานนี้
แล ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ ก็แหละสถานที่ออกไปจากทุกข์
อย่างอื่นที่ดียิ่งกว่าพรหมสถานนี้ไม่มี ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย. ครั้งนั้น เรา
รู้ความปริวิตกแห่งใจพกพรหมด้วยใจแล้ว จึงหายไปที่โคนต้นรังใหญ่ ใน
สุภควันใกล้เมืองอุกกัฏฐา ไปปรากฏในพรหมโลกนั้น เปรียบเหมือนบุรุษที่มี
กำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือพึงคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ภิกษุทั้งหลาย พกพรหม
ได้เห็นเราผู้มาแต่ไกล แล้วได้พูดกะเราว่า ท่านผู้นิรทุกข์. เชิญมาเถิด
ท่านมาดีแล้ว นานทีเดียวที่ท่านเพิ่งทำทางจะมาในที่นี้ ท่านผู้นิรทุกข์.
พรหมสถานนี้เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง แข็งแรง มีความไม่เคลื่อนเป็นธรรมดา
พรหมสถานนี้แลไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ ก็แหละเหตุเป็น
ที่ออกไปจากทุกข์อย่างอื่นที่ดียิ่งกว่าพรหมสถานนี้ไม่มี ภิกษุทั้งหลาย.
เมื่อพกพรหมกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวกะพกพรหมว่า ท่านผู้
เจริญ. พกพรหมตกอยู่ในอวิชชาอาทิผิด อักขระแล้วหนอ พกพรหมตกอยู่ในอวิชชาแล้วหนอ
 
๑๙/๕๕๒/๔๔๑

วันจันทร์, พฤศจิกายน 07, 2565

Wisutthi

 
วิสุทธิมรรคนั่นแล.
ก็ในบทว่า ปฐวีกสิณ ภาเวติ นี้ ที่ชื่อว่า เพราะอรรถว่า
ทั้งสิ้น. กสิณมีปฐวีเป็นอารมณ์ ชื่อว่าปฐวีกสิณ. คำว่า ปฐวีกสิณํ ภาเวติ
นี้ เป็นชื่อของบริกรรมว่าปฐวีก็มี ของอุคคหนิมิตก็มี ของปฏิภาคนิมิต
ก็มี ของฌานอันทำนิมิตนั้นให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้นก็มี. แต่ในที่นี้ ท่าน
ประสงค์เอาฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์. ภิกษุนั้นเจริญปฐวีกสิณนั้น.
แม้ในอาโปกสิณเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ก็ภิกษุเมื่อจะเจริญ
กสิณเหล่านี้ ชำระศีลแล้วตั้งอยู่ในศีลอันบริสุทธิ์ ตัดบรรดาปลิโพธความ
กังวล ๑๐ ประการที่มีอยู่นั้นออกไปเสีย แล้วเข้าไปหากัลยาณมิตรผู้ให้
กรรมฐาน เรียนเอากรรมฐานที่เป็นสัปปายะโดยเกื้อกูลแก่จริตของตน
แล้วละที่อยู่อันไม่เหมาะแก่การบำเพ็ญกสิณ อย่าในที่อยู่อันเหมาะสม ทำ
การตัดความกังวลเล็ก ๆ น้อย ๆ อยู่ทำภาวนาวิธีทุกอย่างให้เสื่อมไป พึง
เจริญเถิด. นี้เป็นความย่อในสูตรนี้ ส่วนความพิสดารได้กล่าวไว้แล้วใน
วิสุทธิมรรค.
ก็วิญญาณกสิณมาในวิสุทธิอาทิผิด อักขระมรรคนั้นทั้งสิ้น วิญญาณกสิณนั้นโดยใจ
ความก็คือวิญญาณอันเป็นไปในอากาสกสิณ. ก็วิญญาณนั้นแล ท่านกล่าว
โดยเป็นอารมณ์ ไม่ใช่กล่าวโดยเป็นสมาบัติ. ก็ภิกษุนี้กระทำวิญญาณกสิณ
นั้นให้เป็นวิญญาณไม่มีที่สุด แล้วเจริญวิญญาณัญจายตะสมาบัติอยู่
เรียกว่าเจริญวิญญาณกสิณ. กสิณ ๑๐ แม้นี้ เป็นวัฏฏะบ้าง เป็นบาทของ
วัฏฏะบ้าง เป็นบาทของวิปัสสนาบ้าง เป็นประโยชน์แก่การอยู่เป็นสุขใน
ปัจจุบันบ้าง เป็นบาทของอภิญญาบ้าง เป็นบาทของนิโรธบ้าง เป็นโลกิยะ
เท่านั้น ไม่เป็นโลกุตระ.
 
๓๓/๒๔๖/๒๗๐