วันอาทิตย์, เมษายน 30, 2566

Mai

 
ใช้ในอรรถว่า โสมนัส ได้ในประโยคเป็นต้นว่า เย เวทชาตา
วิจรนฺติ โลเก ชนเหล่าใดเกิดโสมนัส เที่ยวไปในโลก.
ใช้ในอรรถว่า คันถะ ได้ในประโยคเป็นต้นว่า ติณฺณํ เวทานํ ปารคู
สนิฆณฺฑุเกฏุภานํ ผู้จบคัมภีร์ไตรเพท พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์และเกฏุภ-
ศาสตร์. แม้ในที่นี้ก็ใช้ในอรรถว่า คันถะ คัมภีร์. บทว่า ปารคู ได้แก่ ชื่อว่า-
ปารคูเพราะถึงฝั่งแห่งคัมภีร์ไตรเพท ด้วยเพียงทำให้คล่องปาก. บทว่า ลกฺข-
เณ ได้แก่ ในลักษณศาสตร์ มีลักษณะสตรีลักษณะบุรุษและมหาปุริสลักษณะ.
บทว่า อิติหาเส ได้แก่ ในคัมภีร์พิเศษ กล่าวคือโบราณคดี อันประกอบ
ด้วยคำเช่นนี้ว่าเล่ากันว่าดังนี้ เล่ากันว่าดังนี้. บทว่า สธมฺเม ได้แก่ ในธรรม
ของตนหรือในอาจารย์ของตัวพราหมณ์ทั้งหลาย. บทว่า ปารมึ คโต แปลว่า
ถึงฝั่ง อธิบายว่า ได้เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์.
ต่อมาวันหนึ่ง สุเมธบัณฑิต เป็นบัณฑิตผู้เพลินอยู่ด้วยกองคุณ ๑๐
ประการนั้น ก็อยู่ในที่ลับ ณ ปราสาทชั้นบน นั่งขัดสมาธิดำริว่า ขึ้นชื่อว่า
การถือปฏิสนธิในภพใหม่อาทิผิด สระเป็นทุกข์ การแตกดับแห่งสรีระในสถานที่เกิดแล้ว
เกิดเล่า ก็เหมือนกันคือเป็นทุกข์ ก็เรามีชาติ ชรา พยาธิ มรณะเป็นธรรมดา
เราเป็นอยู่อย่างนี้ ก็ควรแสวงหาพระนิพพาน อันไม่มีชาติ [ชรา] พยาธิ
มรณะ เป็นที่จำเริญสุข อันจะพ้นจากการท่องเที่ยวไปในภพ จะพึงมีได้ก็
ด้วยมรรคอย่างหนึ่ง ซึ่งจะให้ถึงพระนิพพานแน่แท้. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ในครั้งนั้น เรานั่งคิดอยู่ในที่ลับอย่างนี้ว่า ขึ้น
ชื่อว่าการเกิดใหม่และการแตกดับแห่งสรีระเป็นทุกข์.
ครั้งนั้น เรามีชาติชราพยาธิเป็นธรรมดา จำเรา
จักแสวงหาพระนิพพาน ซึ่งไม่แก่ไม่ตาย แต่เกษม.
 
๗๓/๑/๑๗๐

วันเสาร์, เมษายน 29, 2566

Tang

 
ในบทว่า วิสฺสวนฺโต ตโต ตโต นี้ เชื่อมความว่า กายนี้ แม้เมื่อ
ชนทั้งหลายพยายามเพื่อจะปกปิดความที่กายเป็นของน่าเกลียด ด้วยดอกไม้
และของหอมเป็นต้น ก็ทำความพยายามนั้นให้ไร้ผล ทำน้ำลายและน้ำมูก
เป็นต้นให้ไหลออกจากทวารทั้ง ๙ และทำเหงื่อที่หมักหมมให้ไหลออก
จากขุมขนทั้งหลายบริหารอยู่.
เมื่อจะแสดงว่า ก็กายนี้แม้เป็นของน่าเกลียดอย่างนี้ ก็ยังลวงปุถุชน
ผู้บอดเขลาด้วยรูปเป็นต้นของตน เหมือนพรานเนื้อลวงเนื้อเป็นต้น ด้วย
เครื่องดักมีหลุม (พราง) เป็นต้นฉะนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า มิคํ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิคํ นิลีนํ กูเฏน ความว่า เหมือน
พรานเนื้อแอบคือซ่อนดักเนื้อ ด้วยเครื่องดักมีบ่วงเป็นต้น. จริงอยู่ อิว
ศัพท์ที่กำลังจะกล่าวถึง แม้ในประโยคนี้ ก็ควรนำมาประกอบเข้า.
บทว่า พฬิเสเนว อมฺพุชํ ความว่า เหมือนพรานเบ็ดตกสัตว์ที่เกิด
ในน้ำคือปลา ด้วยเบ็ดที่เกี่ยวเหยื่อไว้ฉะนั้น.
บทว่า วานรํ วิย เลเปน ความว่า เบญจกามคุณย่อมลวงปุถุชนผู้
บอดให้ลำบาก เหมือนพรานเนื้อลวงจับลิงด้วยตังอาทิผิด อักขระซึ่งวางไว้ที่ต้นไม้และ
ศิลาเป็นต้น.
เพื่อจะหลีกเลี่ยงคำถามที่ว่า ใครทำให้ลำบาก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า
รูป เสียง ดังนี้. จริงอยู่ ส่วนของกาม ๕ ส่วนมีรูปเป็นต้น โดยพิเศษ
เป็นที่อาศัยของวัตถุที่เป็นวิสภาคกัน ทำใจของปุถุชนผู้บอดผู้ถูกห้อมล้อม
ด้วยอโยนิโสมนสิการ อันเป็นที่เข้าไปอาศัยของวิปลาส ให้ยินดี ชื่อว่า
ย่อมยังอันธปุถุชนเหล่านั้นให้ลำบาก เพราะนำอาทิผิด สระความพินาศมาให้ โดย
ความที่รูปเป็นต้นเป็นวัตถุที่ตั้งของกิเลส. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
 
๕๒/๓๖๐/๒๓๔

วันศุกร์, เมษายน 28, 2566

Phra

 
๑๐. เรื่องนายจุนทสูกริก [๑๐]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภบุรุษชื่อ
จุนทสูกริก ตรัสพระอาทิผิด สระธรรมเทศนานี้ว่า “อิธ โสจติ เปจฺจ โสจติ”
เป็นต้น.

นายจุนทะเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงสุกรขาย
ได้ยินว่า นายจุนทสูกริกนั้น ฆ่าสุกรทั้งหลายกินบ้าง ขายบ้าง
เลี้ยงชีวิตอยู่สิ้น ๕๕ ปี . ในเวลาข้าวแพง เขาเอาเกวียนบรรทุกข้าวเปลือก
ไปสู่ชนบท แลกลูกสุกรบ้าน ด้วยข้าวเปลือกประมาณ ๑ ทะนานหรือ
๒ ทะนาน บรรทุกเต็มเกวียนแล้วกลับมา ล้อมที่แห่งหนึ่งดุจคอกอาทิผิด อักขระ
ข้างหลังที่อยู่แล้วปลูกผักในที่นั้นนั่นแล เพื่อลูกสุกรเหล่านั้น, เมื่อลูก
สุกรเหล่านั้น กินกอผักต่าง ๆ บ้าง สรีรวลัญชะ (คูถ) บ้าง ก็เติบโต
ขึ้น, (เขา) มีความประสงค์จะฆ่าตัวใด ๆ ก็มัดตัวนั้น ๆ ให้แน่น ณ
ที่ฆ่าแล้ว ทุบด้วยค้อน ๔ เหลี่ยม เพื่อให้เนื้อสุกรพองหนาขึ้น รู้ว่า
เนื้อหนาขึ้นแล้ว ก็ง้างปากสอดไม้เข้าไปในระหว่างฟัน กรอกน้ำร้อน
ที่เดือดพล่าน เข้าไปในปากด้วยทะนานโลหะ. น้ำร้อนนั้น เข้าไปพล่าน
ในท้อง ขับกรีส๑.๒.ออกมาโดยส่วนเบื้องต่ำ (ทวารหนัก) กรีสน้อยหนึ่ง
ยังมีอยู่เพียงใด ย่อมออกเป็นน้ำขุ่นเพียงนั้น เมื่อท้องสะอาดแล้ว, จึง
ออกเป็นน้ำใส ไม่ขุ่น, ทีนั้น เขาจึงราดน้ำที่ยังเหลือบนหลังสุกรนั้น.
น้ำนั้นลอกเอาหนังดำออกไป. แต่นั้นจึงลนขนด้วยคบหญ้าแล้ว ตัดศีรษะ

๑. มาตราวัดความยาวเท่ากับ ๑ เส้น ๑๑ วา ๑ ศอก หรือ ๑๒๕ ศอก.
๒. อาหารเก่า, คูถ, อึ, อุจจาระ, ขี้.
 
๔๐/๑๑/๑๗๐

วันพฤหัสบดี, เมษายน 27, 2566

Sak

 
๑๐. เรื่องพระอุบลวรรณาเถรี [๕๔]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเถรี
นามว่าอุบลวรรณา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า “มธุวา มญฺญตี พาโล”
เป็นต้น.
พระเถรีตั้งความปรารถนา
ดังได้สดับมา พระเถรีนั้น ตั้งความปรารถนาไว้แทบบาทมูลของ
พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ กระทำบุญทั้งหลาย สิ้นแสนกัลป์
ท่องเที่ยวอยู่ ในเทวดาและมนุษย์ จุติจากเทวโลก ถือปฏิสนธิในสกุล
เศรษฐี ในกรุงสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้. ก็มารดาบิดาได้ตั้งชื่อนาง
ว่า อุบลวรรณนา เพราะนางมีผิวพรรณเหมือนกลีบอุบลเขียว. ต่อมา
ในกาลที่นางเจริญวัยแล้ว พระราชาและเศรษฐีทั้งหลายในสกลชมพู-
ทวีป ส่งบรรณาการไปสู่สำนักของเศรษฐีว่า “ขอเศรษฐีจงให้ธิดา
แก่เรา.” ชื่อว่าคนผู้ไม่ส่งบรรณาการไป มิได้มี. ลำดับนั้น เศรษฐี
คิดว่า “เราจักไม่สามารถเอาใจของคนทั้งหมดได้. แต่เราจักทำอุบาย
สักอาทิผิด อักขระอย่างหนึ่ง.” เศรษฐีนั้นเรียกธิดามาแล้วกล่าวว่า “ แม่ เจ้าจักอาจ
เพื่อบวชไหม ? ” คำของบิดาได้เป็นเหมือนน้ำมันที่หุงแล้วตั้ง ๑๐๐ ครั้ง
อันเขารดลงบนศีรษะ เพราะความที่นางมีภพมีในที่สุด; เพราะฉะนั้น
นางจึงกล่าวกะบิดาว่า “พ่อ ฉันจักบวช.” เศรษฐีนั่น ทำสักการะ
เป็นอันมากแก่นางแล้ว นำนางไปสู่สำนักนางภิกษุณี ให้บวชแล้ว.
 
๔๑/๑๕/๒๑๓

วันพุธ, เมษายน 26, 2566

Samniang

 
๒๖. มีพระทาฐะขาวงาม
๒๗. มีพระชิวหาใหญ่
๒๘. มีพระสุรเสียงดุจเสียงแห่งพรหม ตรัสมีสำเนียงอาทิผิด อักขระดัง
นกการะเวก
๒๙. มีพระเนตรดำสนิท
๓๐. มีดวงพระเนตรดุจตาโค
๓๑. มีพระอุณาโลมบังเกิด ณ ระหว่างพระโขนง มีสีขาว
อ่อนควรเปรียบด้วยนุ่น
๓๒. มีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการนี้แล ที่พระ
มหาบุรุษประกอบแล้ว ย่อมเป็นเหตุให้มีคติเป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่าง
อื่น คือถ้าครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ . . . อนึ่ง ถ้าพระ-
มหาบุรุษเสด็จออกผนวชจะเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามีหลังคาคือ
กิเลสอันเปิดแล้วในโลก. ภิกษุทั้งหลาย พวกฤษีแม้เป็นภายนอก ย่อม
ทรงจำมหาปุริสลักษณะของพระมหาบุรุษ ๓๒ เหล่านี้ได้ แต่ฤษีเหล่านั้นย่อม
ไม่ทราบว่าเบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมที่ตนทำ สั่งสม พอกพูน ไพบูลย์ไว้ สัตว์ที่บำเพ็ญกุศลกรรมนั้น
ย่อมครอบงำเทวดาทั้งหลายอื่นในโลกสวรรค์โดยสถาน ๑๐ คือ อายุทิพย์
วรรณทิพย์ ความสุขทิพย์ ยศทิพย์ ความเป็นอธิบดีทิพย์ รูปทิพย์
เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ และโผฏฐัพพทิพย์ ครั้นจุติจากโลกสวรรค์
นั้นแล้วมาสู่ความเป็นอย่างนี้ ย่อมได้มหาปุริสลักษณะนี้.
 
๑๖/๑๓๐/๔

วันอังคาร, เมษายน 25, 2566

Kabot

 
เจริญวัยแล้วได้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าพรหมทัต สืบแทนบิดา
ผู้ล่วงลับ พระเจ้าพรหมทัตได้พระราชทานพรแก่พระอัครมเหสี
ไว้ว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ เธอต้องการสิ่งใด พึงบอกสิ่งนั้น พระนาง
กราบทูลว่า ขึ้นชื่อว่าพระพรอื่น มิได้เป็นสิ่งที่เกล้ากระหม่อม-
ฉันได้ด้วยยากเลย ขอพระราชทานแต่ว่า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ทูลกระหม่อมไม่พึงทอดพระเนตรหญิงอื่น ด้วยอำนาจกิเลส.
แม้ท้าวเธอจะทรงห้ามไว้ ก็ถูกพระนางเซ้าซี้บ่อย ๆ จึงไม่อาจ
ปฏิเสธคำของพระนางได้ ก็ทรงรับตั้งแต่บัดนั้น ก็มิได้ทรง
เหลียวแล บรรดานางระบำหมื่นหกพันนาง แม้แต่นางเดียว
ด้วยอำนาจกิเลส.
อยู่มาปัจจันตชนบทของท้าวเธอเกิดกบฏอาทิผิด อักขระขึ้น พวกโยธา
ที่ตั้งกองอยู่ในปัจจันตชนบท ทำสงครามกับพวกโจร ๒-๓ ครั้ง
ก็ส่งใบบอกกราบทูลพระราชาว่า ถ้าศึกหนักยิ่งกว่านี้ พวก
ข้าพระองค์ไม่อาจฉลองพระเดชพระคุณได้ พระราชามีพระ-
ประสงค์จะเสด็จไปในที่นั้น ทรงระดมพลนิกายแล้วรับสั่งหา
พระนางมา ตรัสว่า นางผู้เจริญ ฉันต้องไปสู่ปัจจันตชนบท
ที่นั้น การยุทธมีมากมายหลายแบบ จะชนะหรือแพ้ก็ไม่แน่นอน
ในสถานที่เช่นนั้น มาตุคามคุ้มครองได้ยาก เธอจงอยู่ในพระราชวัง
นี้แหละ ดังนี้ ฝ่ายพระนางก็กราบทูลว่า ทูลกระหม่อมเพคะ
เกล้ากระหม่อมฉันไม่สามารถจะอยู่ข้างหลัง ดังพระดำรัสได้
อันพระราชาตรัสทัดทานห้ามอยู่บ่อย ๆ ก็กราบทูลว่า ถ้าเช่นนั้น
 
๕๖/๑๒๐/๔๕๕

วันจันทร์, เมษายน 24, 2566

Suwannaphum

 
เรื่องส่งพระเถระไปประกาศพระศาสนาในต่างประเทศ
ในการนำพระศาสนาสืบมาตามลำดับอาจารย์นั้น มีอนุปุพพีกถา
ดังต่อไปนี้ : -
ได้ยินว่า พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ครั้นทำตติยสังคีตินั้นแล้ว ได้
ดำริอย่างนี้ว่า ในอนาคต พระศาสนา จะพึงตั้งมั่นอยู่ด้วยดีในประเทศไหน
หนอแล ? ลำดับนั้น เมื่อท่านใคร่ครวญอยู่ จึงได้มีความคิดดังนี้ว่า พระศาสนา
จักตั้งมั่นอยู่ด้วยดี ในปัจจันติมชนบททั้งหลาย. ท่านจึงมอบศาสนกิจนั้น ให้
เป็นภาระของภิกษุเหล่านั้น แล้วส่งภิกษุเหล่านั้น ๆ ไปในรัฐนั้น ๆ คือ ส่ง
พระมัชฌันติเถระไปยังรัฐกัสมีรคันธาระด้วยสั่งว่า ท่านไปยังรัฐนั่นแล้ว จง
ประดิษฐานพระศาสนาในรัฐนั่น. ท่านได้สั่งพระมหาเทวเถระอย่างนั้นเหมือน
กัน แล้วส่งไปยังมหิสกมณฑล ส่งพระรักขิตเถระไปยังวนวาสีชนบท ส่ง
พระโยนกธรรมรักขิตเถระไปยังอปรันตกชนบท ส่งพระมหาธรรมรักขิตเถระ
ไปยังมหารัฐชนบท ส่งพระมหารักขิตเถระไปยังโลกเป็นที่อยู่ของชาวโยนก
ส่งพระมัชฌิมเถระไปยังชนบทอันเป็นส่วนหนึ่งแห่งหิมวันตประเทศ ส่งพระ-
โสณกเถระ ๑ พระอุตตรเถระ ๑ ไปยังสุวรรณภูมิอาทิผิด อักขระชนบท ส่งพระมหินทเถระ
ผู้เป็นสัทธิวิหาริกของตน กับพระอิฏฏิยเถระ พระอุตติยเถระ พระสัมพลเถระ
พระภัททสาลเถระ ไปยังเกาะตัมพปัณณิทวีป ด้วยสั่งว่า พวกท่านไปยังเกาะ
ตัมพปัณณิทวีปแล้วจงประดิษฐานพระอาทิผิด อักขระศาสนาในเกาะนั่น. พระเถระแม้ทั้งหมด
เมื่อจะไปยังทิศาภาคนั้น ๆ ก็เข้าใจอยู่ว่า ในปัจจันติมชนบททั้งหลายต้องมี
คณะปัญจวรรค จึงสมควรทำอุปสมบทกรรมได้ ดังนี้ จึงไปกันพวกละ ๕
รวมกับตน.
 
๑/๙/๑๑๑

วันอาทิตย์, เมษายน 23, 2566

Khum khon

 
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำเข้าไปซึ่ง
การปล่อยสุกกะคืออสุจิแก่ตนไม่ได้ แก่คนอื่น ๆ ก็ไม่ได้ แก่บุคคลนั้น
ก็ไม่ได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำเข้าไป ซึ่งการ
ปล่อยสุกกะคืออสุจิแก่พระอรหันต์.
[๔๕๕ ] ส. เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำเข้าไปซึ่งการปล่อย
สุกกะคืออสุจิแก่พระอรหันต์ได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. นำเข้าไปทางขุมขนอาทิผิด อักขระ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๕๖] ส. เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำเข้าไปซึ่งการปล่อย
สุกกะ คืออสุจิแก่พระอรหันต์ได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เพราะเหตุไร ?
ป. เพราะจะยังท่านให้ตกอยู่ในความสงสัย.
ส. ความสงสัยของพระอรหันต์ยังมีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[๔๕๗] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์ยังมีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสงสัยในพระศาสดา ความสงสัยในพระ-
 
๘๐/๔๕๕/๔๔๑

วันเสาร์, เมษายน 22, 2566

Thakkhina

 
กาสาวะพันคอในอนาคต พึงกล่าวตามสมัยนั้นเท่านั้น. ก็สมณปุถุชนซึ่งนำไป
เฉพาะจากสงฆ์ เป็นปาฏิบุคคลิกโสดาบัน เมื่อบุคคลอาจเพื่อทำความยำเกรง
ในสงฆ์ ทานที่ให้ในสมณะผู้ปุถุชน มีผลมากกว่า. ในคำแม้มีอาทิว่า โสดาบัน
อันทายกถือเอาเจาะจง เป็นปาฏิบุคคลิกสกทาคามีอาทิผิด อักขระ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. จริงอยู่
เมื่อบุคคลอาจเพื่อทำความยำเกรงในสงฆ์ ให้ทานแม้ในภิกษุทุศีล
ซึ่งเจาะจงถือเอา มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายในพระขีณาสพนั้น
แล. ก็คำใดที่กล่าวว่า ดูก่อนมหาบพิตร ทานที่ให้แก่ผู้มีศีลแล มีผลมาก
ทานที่ให้ในผู้ทุศีลหามีผลมากอย่างนั้นไม่ คำนั้นพึงละนัยนี้แล้ว พึงเห็นใน
จตุกะนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ ก็ความบริสุทธิ์แห่งทักขิณานี้มี ๔ อย่าง.
บทว่า ทายกโต วิสุชฺฌติ ความว่า ทักขิณาบางอย่างบริสุทธิ์ โดยความมี
ผลมาก อธิบายว่า เป็นทาน มีผลมาก. บทว่า กลฺยาณธมฺโม ได้แก่ มีสุจิธรรม
บทว่า ปาปธมฺโม คือมีธรรมอันชั่ว. ก็พึงแสดงพระเวสสันดรมหาราชใน
บทนี้ว่า ทักขิณาบางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายทายก. ก็พระเวสสันดรมหาราชนั้น ทรง
ให้พระโอรสพระธิดาแก่พราหมณ์ชูชกแล้ว ยังแผ่นดินให้หวั่นไหว พึงแสดง
นายเกวัฏฏะ ผู้อาศัยอยู่ที่ประตูปากน้ำกัลยาณนทีในคำนี้ว่า ทักขิณาบางอย่าง
บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก. ได้ยินว่า เกวัฏฏะนั้น ได้ถวายบิณฑบาตแก่พระทีฆ-
โสมเถระถึง ๓ ครั้ง นอนบนเตียงเป็นที่ตายได้กล่าวว่า บิณฑบาตที่ถวายแก่
พระผู้เป็นเจ้าทีฆโสมเถระ ย่อมยกข้าพเจ้าขึ้น. พึงแสดงถึงพรานผู้อยู่ใน
วัฑฒมานะในบทว่า เนว ทายกโต นี้. ได้ยินว่า นายพรานนั้นเมื่อให้ทักขิณาอาทิผิด สระ
อุทิศถึงผู้ตายได้ให้แก่ภิกษุผู้ทุศีลรูปหนึ่งนั้น แลถึง ๓ ครั้ง. ในครั้งที่ ๓ อมนุษย์
ร้องขึ้นว่า ผู้ทุศีลปล้นฉัน ดังนี้. ในเวลาที่พรานนั้นถวายแก่ภิกษุผู้มีศีลรูป
หนึ่งมาถึง ผลของทักขิณาก็ถึงแก่เขา. พึงแสดงอสทิสทานในคำนี้ว่า ทักขิณา
บางอย่างบริสุทธิ์ ฝ่ายทายกเท่านั้น.
 
๒๓/๗๑๙/๔๐๙

วันศุกร์, เมษายน 21, 2566

Chawana

 
จึงยังทัสสนกิจให้สำเร็จเป็นไป. เพราะการดับไปแห่งจักขุวิญญาณจิต วิปาก-
มโนธาตุ จึงยังสัมปฏิจฉนกิจให้สำเร็จเป็นไป. เพราะการดับไปแห่งวิปากมโน-
ธาตุนั้น วิปากมโนวิญญาณธาตุ จึงยังสันตีรณกิจให้สำเร็จเป็นไป เพราะ
การดับไปแห่งวิปากมโนวิญญาณธาตุนั้น กิริยามโนวิญญาณธาตุ จึงยังโวฏ-
ฐัพพนกิจให้สำเร็จเป็นไป. เพราะการดับไปแห่งกิริยามโนวิญญาณธาตุนั้น
ชวนจิต จึงแล่นไป ๗ ครั้ง.
ในชวนจิตเหล่านั้น การแลดูข้างหน้า ๆ หรือแลดูข้าง ๆ ว่า นี้เป็น
หญิง นี้เป็นชาย ด้วยสามารถอาทิผิด อักขระแห่งความยินดี ยินร้าย และความหลงใหล
ย่อมไม่มีแม้ในชวนจิตดวงที่หนึ่ง. แม้ในชวนจิตที่ ๒ ฯลฯ แม้ในชวนจิตที่
๗. ก็ครั้นเมื่อชวนจิตเหล่านั้นแตกทำลายไป ด้วยสามารถแห่งการแตกดับตั้ง
แต่ต้นจนสุดท้าย ราวกะว่าทหารในสนามรบถูกทำลายไปอยู่ การแลดูข้างหน้า
หรือการแลดูข้าง ๆ ว่า นี้เป็นหญิง นี้เป็นชาย ด้วยสามารถแห่งความยินดี
เป็นต้น จึงมี.
บัณฑิตพึงทราบอสัมโมหสัปชัญญะในที่นี้ ด้วยสามารถแห่งมูลปริญญา
ด้วยประการฉะนี้ก่อน.
ว่าด้วยความเป็นแห่งอาคันตุกะ (ด้วยสามารถแห่งความเป็นดัง
แขกผู้มาหา)
ก็ในจักขุทวาร ครั้นเมื่อรูปมาสู่คลองแล้ว โดยการเคลื่อนไปแห่ง
ภวังค์ในเบื้องบน บรรดาจิตทั้งหลาย มีอาวัชชนจิตเป็นต้น เกิดขึ้น ด้วย
สามารถแห่งการยังกิจของตน ๆ ให้สำเร็จแล้วก็ดับไป ในที่สุดชวนจิตก็เกิดขึ้น.
ชวนอาทิผิด อักขระจิตนั้น ย่อมเกิดในจักขุทวารอันเป็นเรือน ของอาวัชชนจิตเป็นต้น ซึ่ง
เกิดขึ้นก่อน เหมือนบุรุษผู้เป็นแขก (ผู้จรมา). เมื่อบุรุษผู้เป็นแขกนั้นเข้าไป
 
๗๘/๗๔๐/๔๐๒

วันพฤหัสบดี, เมษายน 20, 2566

Sota

 
๒. รูปสูตร

ว่าด้วยรูปเป็นต้นไม่เที่ยง

[๖๒๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม
ว่า ดูก่อนราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูป . . . เสียง. . .
กลิ่น. . . รส . . . โผฏฐัพพะ. . . ธรรมารมณ์ เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
จบรูปสูตรที่ ๒

อรรถกถารูปสูตรที่ ๒

ในรูปสูตรที่ ๒ ทรงถือเอาอารมณ์อย่างเดียว ในทวาร ๕.
จบอรรถกถารูปสูตรที่ ๒

๓. วิญญาณสูตร

ว่าด้วยจักขุวิญญาณเป็นต้นไม่เที่ยง

[๖๒๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม
ว่า ดูก่อนราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักขุวิญญาณ. . .
โสตอาทิผิด อักขระวิญญาณ. . . ฆานวิญญาณ. . . ชิวหาวิญญาณ. . . กายวิญญาณ. . .
มโนวิญญาณ. . . เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
 
๒๖/๖๒๔/๖๘๙

วันพุธ, เมษายน 19, 2566

Kratham

 
อโมหะความไม่หลง เป็นปฏิปักษ์ต่อการไม่เจริญในกุศลธรรมทั้ง
หลาย คือเป็นเหตุให้เจริญ. บุคคลมีความไม่หลง ย่อมถือเอาไม่วิปริตจาก
การถือเอาวิปริตของคนหลง. บุคคลทรงจำความแน่นอนโดยเป็นความแน่
นอน ย่อมเป็นไปในสภาวะที่เป็นจริง ด้วยความไม่หลง. ก็คนหลงย่อม
ถือเอาความจริง ว่าไม่จริง และความไม่จริง ว่าจริง ย่อมมีทุกข์เพราะ
ไม่ได้สิ่งที่ปรารถนา ด้วยประการนั้น.
คนไม่หลงย่อมไม่มีมรณทุกข์ เพราะเกิดแต่การพิจารณา มีอาทิ
อย่างนี้ว่า จะได้ความทุกข์นั้นแต่ไหนในที่นี้. ก็ความตายด้วยความลุ่มหลง
เป็นทุกข์ และความตายด้วยความลุ่มหลงนั้น ไม่มีแก่คนไม่หลง. บรรพชิต
ทั้งหลายย่อมอยู่ร่วมกันเป็นสุข ไม่บังเกิดในกำเนิดเดียรฉาน. ก็คนที่ลุ่ม
หลงเป็นนิจย่อมเข้าถึงกำเนิดเดียรฉานด้วยความหลง. และความไม่หลงเป็น
ปฏิปักษ์ต่อความหลง. กระทำให้ไม่มีความเป็นกลาง ด้วยอำนาจความ
หลง. อวิหิงสาสัญญา ธาตุสัญญา การปฏิบัติมัชฌิมาปฏิปทา การทำลาย
๒ คัณฐะหลัง ย่อมมีด้วยความไม่หลง. สติปัฏฐาน ๒ ข้อหลัง ย่อมสำเร็จ
ด้วย อานุภาพของความไม่หลงนั้นแล.
ความไม่หลงเป็นปัจจัยให้เป็นผู้มีอายุยืน. ด้วยว่าคนผู้ไม่หลง รู้
ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์, เว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ เสพเฉพาะสิ่งที่เป็น
ประโยชน์, ย่อมมีอายุยืน, ไม่เสื่อมจากอรรถสมบัติ. ก็คนผู้ไม่หลงเมื่อ
กระทำอาทิผิด สระสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตนนั่นแล ย่อมยังตนอาทิผิด อักขระให้ถึงพร้อมด้วยความไม่
หลง ย่อมเป็นปัจจัยแห่งการอยู่อย่างประเสริฐ เป็นผู้ดับในฝ่ายที่เป็นกลาง.
 
๖๕/๖๙/๓๘๔

วันอังคาร, เมษายน 18, 2566

Nang

 
๖. มหากัมมวิภังคสูตร

[๕๙๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเคยเป็น
สถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์. สมัยนั้นแล ท่าน
พระสมิทธิอยู่ในกระท่อมในป่า. ครั้งนั้น ปริพาชกโปตลิบุตรเดินเล่นไปโดย
ลำดับเข้าไปหาท่านพระสมิทธิยังที่อยู่แล้ว ได้ทักทายปราศรัยกับท่านพระสมิทธิ
ครั้น ผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่ง.
[๕๙๙] ปริพาชกโปตลิบุตร พอนั่งอาทิผิด สระเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะท่าน
พระสมิทธิดังนี้ว่า ดูก่อนท่านสมิทธิ ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์
พระสมณโคดมดังนี้ว่า กายกรรมเป็นโมฆะ วจีกรรมเป็นโมฆะ มโนกรรม
เท่านั้น จริง และว่าสมาบัติที่บุคคลเข้าแล้วไม่เสวยเวทนาอะไร ๆ นั้น มีอยู่.
ท่านพระสมิทธิกล่าวว่า ดูก่อนโปตลิบุตรผู้มีอายุ ท่านอย่ากล่าวอย่าง
นี้ อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีเลย เพราะ
พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสอย่างนี้ว่า กายกรรมเป็นโมฆะ วจีกรรมเป็นโมฆะ
มโนกรรมเท่านั้น จริง และว่าสมาบัติที่บุคคลเข้าแล้วไม่เสวยเวทนาอะไร ๆ
นั้น มีอยู่.
ปริพาชก. ดูก่อนท่านสมิทธิ ท่านบวชมานานเท่าไรแล้ว.
สมิทธิ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ไม่นาน เพียง ๓ พรรษา.
ปริพาชก. ในเมื่อภิกษุใหม่อาทิผิด เข้าใจการระแวดระวังศาสดาถึงอย่างนี้แล้ว
คราวนี้พวกเราจักพูดอะไรกะอาทิผิด ภิกษุผู้เถระได้ ดูก่อนท่านสมิทธิ บุคคลทำกรรม
ชนิดที่ประกอบด้วยความจงใจแล้วด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ เขาจะเสวยอะไร.
 
๒๓/๕๙๙/๒๖๘

วันจันทร์, เมษายน 17, 2566

Uphato

 
วินัยฏฐกถาวสานคาถา
พระโลกนาถผู้ชำนะ เมื่อจะทรงแนะนำบุคคลผู้
ควรแนะนำ ได้ตรัสวินัยปิฎกใด ซึ่งแสดงจำแนกโดย
อุภโตอาทิผิด อักขระวิภังค์ ขันธกะ และบริวาร, อรรถกถาชื่อสมันต-
ปาสาทิกาแห่งวินัยปิฎกนั้น จบบริบูรณ์แล้ว โดยคันถะ
ประมาณ ๒๗,๐๐๐ ถ้วน ด้วยลำดับแห่งคำเพียงเท่านี้แล.
ในคำที่ว่า อรรถกถาวินัย ปลูกความเลื่อมใส
รอบด้านนั้น มีคำอธิบายในข้อที่อรรถกถาชื่อสมันต
ปาสาทิกา เป็นคัมภีร์ปลูกความเลื่อมใสรอบด้าน ดังนี้ :-
ในสมันตปาสาทิกานี้ ไม่ปรากฏคำน้อยหนึ่งที่ไม่
น่าเลื่อมใสแก่วิญญูชนทั้งหลายผู้พิจารณาอยู่ โดยสืบ
ลำดับแห่งอาจารย์ โดยแสดงประเภทแห่งนิทานและ
วัตถุ โดยเว้นลัทธิของฝ่ายอื่น โดยความหมดจดแห่งลัทธิ
ของตน โดยชำระพยัญชนะให้หมดจด โดยเนื้อความ
เฉพาะบท โดยลำดับแห่งบาลีและโยชนา โดยวินิจฉัย
ในสิกขาบท และโดยแสดงประเภทแห่งนัยที่สมแก่
วิภังค์ เพราะฉะนั้นอรรถกถาแห่งวินัย ซึ่งพระโลกนาถ
ผู้ทรงอนุเคราะห์สัตว์โลกผู้ฉลาดในการฝึกชนที่ควร
แนะนำ ได้ตรัสไว้แล้วอย่างนั้นนี้ จึงบ่งนามว่า
“สมันตปาสาทิกา” แล.
 
๑๐/๑๓๖๖/๑๐๑๙

วันอาทิตย์, เมษายน 16, 2566

Khlong

 
บทว่า มีคลองพระวาจาไม่เหลวไหล คือ มีคลองอาทิผิด อักขระพระวาจาของ
สัตว์ผู้จะได้ตรัสรู้ก่อนดุจของสัตว์ผู้มีวาจาไม่เหลวไหล บทว่า ทฺวีทุคฺคม-
วรตรหนุตฺตมลตฺถ ความว่า ชื่อว่า ทฺวิทุคฺคม เพราะไป ๔ เท้า อธิบาย
ว่า ได้ความที่สีหะประเสริฐกว่าสัตว์ ๔ เท้า. คำว่า มนุชาธิปติ ได้แก่
เป็นใหญ่ในหมู่มนุษย์. คำว่า ตถตฺโต คือ สภาพที่เป็นจริง.
บทว่า สุจิปริจาโร ได้แก่มีบริวารสะอาด. ความเป็นผู้มีอาชีพ
ชอบ ชื่อว่า กรรมในที่นี้ ผู้ใดสำเร็จชีวิตด้วยอาชีพเศร้าหมอง ไม่สม่ำเสมอ
แม้ฟันของผู้นั้นก็ไม่เสมอ แม้เขี้ยวก็สกปรก ก็โลกพร้อมด้วยเทวโลกจงรู้
ความที่พระตถาคตทรงสำเร็จชีวิตด้วยอาชีพบริสุทธิ์สม่ำเสมอ ด้วยเหตุนี้
ดังพระลักษณะคือมีพระทนต์เรียบเสมอกัน และพระลักษณะคือมีพระทาฐะ
ขาวงามย่อมเกิดขึ้น ชื่อว่า คล้ายกรรม. พระลักษณะทั้งสองนี้แหละชื่อว่า
ลักษณะ. ความเป็นผู้มีบริวารสะอาด ชื่อว่า อานิสงส์.
บทว่า ไม่กดขี่เบียดเบียนชาวชนบท ความว่า การกดขี่หรือ
เบียดเบียนด้วยคนอื่นของชนชาวชนบทอันกำหนดด้วยจักรวาล ย่อมไม่มี.
บทว่า นิทิวปุรวรสโม ความว่า เสมอด้วยท้าวสักกะผู้มีเมืองสวรรค์อัน
ประเสริฐ. บทว่า ลปนชํ คือ ฟันอันเกิดในปาก. บทว่า ทิชสมสุกฺก-
สุจิโสภนทนฺโต ความว่า ชื่อว่า ทิชสมสุกฺกสุจิโสภนทนฺโต เพราะ
มีฟันขาวสะอาดงาม ชื่อ ทิช เพราะเกิดสองหน. บทว่า น จ ชนปทตุทนํ
ความว่า ชนบทอันกำหนดด้วยจักรวาล ไม่มีรบกวนเบียดเบียนความเจ็บ
ป่วย. บทว่า ย่อมประพฤติแม้สิ่งที่เป็นประโยชน์ และความสุขแก่
ชนหมู่มาก ความว่า ชนเป็นอันมาก เป็นผู้มีสุขและทุกข์เสมอกันย่อม
 
๑๖/๑๗๑/๗๕

วันเสาร์, เมษายน 15, 2566

Klueanklon

 
สำหรับปลงชีวิต สิบรูปบ้าง ยี่สิบรูปบ้าง สามสิบรูปบ้าง ย่อมนำศาสตรามา
โดยวันเดียวกัน.
[๑๓๕๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้นโดยล่วง
กึ่งเดือนนั้นแล้ว ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสถามว่า ดูก่อนอานนท์
เพราะเหตุไรหนอ ภิกษุสงฆ์จึงดูเหมือนเบาบางไป ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอสุภกถา ตรัส
สรรเสริญคุณแห่งอสุภะ ตรัสสรรเสริญคุณแห่งการเจริญอสุภะ แก่ภิกษุทั้งหลาย
โดยอเนกปริยาย ภิกษุเหล่านั้นคิดกันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอสุภกถา
ตรัสสรรเสริญคุณแห่งอสุภะ ตรัสสรรเสริญคุณแห่งการเจริญอสุภะ โดยอเนก
ปริยาย จึงขวนขวายประกอบการเจริญอสุภะอันเกลื่อนกล่นอาทิผิด อักขระด้วยอาการเป็นอเนก
อยู่ อึดอัดระอา เกลียดกายนี้ ย่อมแสวงหาศาสตราสำหรับปลงชีวิต สิบรูปบ้าง
ยี่สิบรูปบ้าง สามสิบรูปบ้าง ย่อมนำศาสตรามาโดยวันเดียวกัน ขอประทาน
พระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงตรัสบอกปริยาย โดยวิธีที่ภิกษุสงฆ์
จะพึงดำรงอยู่ในอรหัตผลเถิด.
[๑๓๕๑] พ. ดูก่อนอานนท์ ถ้าอย่างนั้น ภิกษุมีประมาณเท่าใด
ที่อาศัยกรุงเวสาลีอยู่ เธอจงให้ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดประชุมกัน ในอุปัฏฐานศาลา.
ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ยังภิกษุทั้งหมดที่
อาศัยกรุงเวสาลีอยู่ ให้มาประชุมกันในอุปัฏฐานศาลา แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุสงฆ์ประชุม
กันแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด.
[๑๓๕๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลา
แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ ครั้นแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสตินี้แล อันภิกษุ
 
๓๑/๑๓๕๐/๒๒๙

วันศุกร์, เมษายน 14, 2566

Thutiya

 
มหาวิภังค์ ทุติยอาทิผิด สระภาค
นิสสัคคิยกัณฑ์
ท่านทั้งหลาย อนึ่ง ธรรมคือนิสสัคติยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท
เหล่านี้แล มาสู่อุเทศ.
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ วรรคที่ ๑
จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๑
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โคตมก -
เจดีย์* เขตพระนครเวสาลี ครั้งนั้น พระองค์ทรงอนุญาตไตรจีวรแก่ภิกษุ
ทั้งหลายแล้ว พระฉัพพัคคีย์ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไตร-
จีวรแล้ว จึงครองไตรจีวรเข้าบ้านสำรับหนึ่ง อยู่ในอารามอีกสำรับหนึ่ง
สรงน้ำอีกสำรับหนึ่ง
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ
ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์ จึง
ได้ทรงจีวรเกินหนึ่งสำรับเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมสงฆ์ ในเพราะเหตุ
เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์
* วิหารที่เขาสร้างไว้ ณ เจติยสถานของโคตมกยักษ์.
 
๓/๑/๖๙๓

วันพฤหัสบดี, เมษายน 13, 2566

Patipatha

 
อาการวตี คือ มีเหตุ. บทว่า อญฺญตรํ วา ปน ตโปคุณํ คุณคือตบะ
อย่างใดอย่างหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึง ลัทธิของอเจลกะ คือ เว้น
การดื่มสุรา. เพราะเหตุไร สกุลุทายีจึงถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โลกมี
ความสุขโดยส่วนเดียวมีอยู่หรือ. นัยว่าสกุลุทายีนั้นได้คิดว่า แม้เราก็กล่าวว่า
ตนมีความสุขโดยส่วนเดียว. อนึ่งเรากล่าวการปฏิบัติเป็นสุขบางเวลา เป็นทุกข์
บางเวลา. แม้ปฏิปทาของตน ผู้มีความสุขโดยส่วนเดียวก็พึงมีความสุขโดย
ส่วนเดียว. กถาของพวกเราเป็นกถาไม่นำสัตว์ออกไป. ส่วนกถาของพระศาสดา
เป็นกถานำสัตว์ออกไป เพราะเหตุนั้นบัดนี้เราจะถามพระศาสดาแล้ว จึงจะรู้
เพราะฉะนั้นพระเถระจึงถาม.
บทว่า เอตฺถ มยํ อนสฺสาม คือพวกเราไม่ยินดีในเหตุนี้ เพราะเหตุ
ไร บริษัทของสกุลุทายิปริพาชกจึงได้กล่าวอย่างนั้น. นัยว่าบริษัทของสกุลุทายิ
ปริพาชกเหล่านั้นรู้ว่า เมื่อก่อนพวกตนตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการ กระทำ
กสิณบริกรรมยังตติยฌานให้เกิด ครั้นฌานยังไม่เสื่อม ทำกาละแล้วเกิดในชั้น
สุภกิณหะแต่เมื่อกาลผ่านไปๆ แม้กสิณบริกรรมก็ไม่รู้. แม้ตติยฌานก็ไม่สามารถ
ให้เกิดได้. อนึ่งพวกเราเรียนธรรมอันเป็นส่วนเบื้องต้น ๕ ว่า ปฏิปทามีเหตุ.
แล้วเรียนตติยฌานว่าโลกมีสุขโดยส่วนเดียว. เพราะฉะนั้นพวกเขาจึงกล่าว
อย่างนั้น. บทว่า อุตฺตริตรํ คือสิ่งที่ยิ่งกว่าธรรม ๕ นี้. ท่านอธิบายว่า พวก
เราไม่รู้ปฏิปทาอาทิผิด อักขระหรือโลกอันเป็นสุขโดยส่วนเดียวยิ่งกว่าตติยฌาน . บทว่า
อปฺปสทฺเท กตฺวา คือห้ามปริพาชกเหล่านั้นซึ่งเริ่มจะทำเสียงดังไม่ให้มีเสียง
โดยเตือนครั้งเดียวเท่านั้น. ในบทว่า สฺจฉิกิริยาเหตุเพราะเหตุทำให้แจ้งนี้.
สัจฉิกิริยา มี ๒ อย่างคือ ปฏิลาภสัจฉิกิริยา (การทำให้แจ้งการได้) ๑
ปัจจักขสัจฉิกิริยา (การทำให้แจ้งประจักษ์) ๑. ในสัจฉิกิริยา ๒ อย่างนั้น ผู้ยัง
 
๒๐/๓๘๘/๖๓๙

วันพุธ, เมษายน 12, 2566

Adit

 
ของพระเถระ ก็เมื่อพระเถระกล่าวว่า ผู้มีอายุ เธอจงกระทำกรรมชื่อนี้ ก็ได้
เป็นฝ่ายตรงข้ามต่อพระเถระ พระเถระไม่รู้อัธยาศัยของภิกษุนั้น พระเถระ
เที่ยวจาริกไปในทักขิณาคีรีชนบทนั้น หวนกลับมายังพระเชตวันวิหารอีก ภิกษุ
นั้นก็เป็นเช่นนั้นนั่นแลอีก จำเดิมแต่พระเถระมายังพระเชตวันอาทิผิด อักขระวิหาร พระเถระ
จึงกราบทูลแด่พระตถาคตว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัทธิวิหาริกรูปหนึ่งของ
ข้าพระองค์ ในที่แห่งหนึ่งได้เป็นเหมือนทาสที่ไถ่มาด้วยทรัพย์หนึ่งร้อย แต่
ในที่แห่งหนึ่ง เป็นผู้ถือตัวจัด เมื่อข้าพระองค์บอกว่า จงกระทำสิ่งชื่อนี้
กลับทำตรงกันข้าม พระศาสดาตรัสว่า สารีบุตร ภิกษุนี้เป็นผู้มีปกติอย่างนี้
ในบัดนี้เท่านั้น หามิได้ แม้ในกาลก่อนภิกษุนี้ไปยังที่หนึ่ง เป็นเหมือนทาสที่
ไถ่มาด้วยทรัพย์ตั้งร้อย แต่ไปยังอีกที่หนึ่งกลับเป็นฝ่ายตรงข้าม เป็นศัตรู
อันพระเถระทูลอ้อนวอนแล้วจึงทรงนำอดีตอาทิผิด นิทานมา ดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี
พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในตระกูลกุฎุมพีตระกูลหนึ่ง กุฎุมพีผู้สหายคนหนึ่งของ
พระโพธิสัตว์นั้นตนเองเป็นคนแก่ แต่ภรรยาของกุฎุมพีนั้นเป็นหญิงสาว นาง
อาศัยกุฎุมพีนั้นจึงได้บุตรชาย กุฎุมพีนั้นคิดว่า หญิงนี้ เมื่อเราล่วงไปแล้วก็จะ
ได้บุรุษไร ๆ นั่นแหละ (เป็นสามี) เพราะยังสาวอยู่ จะทำทรัพย์ของเรานี้ให้
พินาศ จะไม่ให้แก่บุตรของเรา ถ้ากระไร เราจะฝังทรัพย์นี้ไว้ในแผ่นดิน
เขาจึงพาทาสในเรือนชื่อว่า นายนันทะ ไปป่า ฝังทรัพย์นี้ไว้ในที่แห่งหนึ่ง
แล้วบอกแก่นายนันทะนั้น โอวาทว่า พ่อนันทะ ทรัพย์นี้ เมื่อเราล่วงไป
แล้ว เธอพึงบอกแก่บุตรของเรา อย่าบริจาคทรัพย์ของเรา ดังนี้ แล้วได้
ตายไป บุตรของกุฎุมพีนั้นเป็นผู้เจริญโดยลำดับ. ลำดับนั้น มารดากล่าวกะ
บุตรชายนั้นว่า ดูก่อนพ่อ บิดาของเจ้าพานายนันททาสไปฝังทรัพย์ เจ้าจงให้
นำทรัพย์นั้นมารวบรวมทรัพย์สมบัติไว้ วันหนึ่ง บุตรนั้นกล่าวกะทาสนันทะว่า
 
๕๕/๓๙/๓๖๒

วันอังคาร, เมษายน 11, 2566

Rao

 
มารสังยุต

อรรถกถาตโปกรรมสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในตโปกรรมสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๑ ต่อไป :-
บทว่า อุรุเวลายํ วิหรติ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แทงตลอด
พระสัพพัญญุตญาณ ทรงอาศัยหมู่บ้านอุรุเวลาประทับอยู่ บทว่า ปฐมา-
ภิสมฺพุทฺโธ ความว่า ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ภายใน ๗ สัปดาห์แรกนั่นเทียว.
บทว่า ทุกฺกรการิกาย ได้แก่ ด้วยทุกกรกิริยา ที่ทรงทำมาตลอด ๖ ปี.
บทว่า มโร ปาปิมา ความว่า ที่ชื่อว่ามาร เพราะทำเหล่าสัตว์ผู้ปฏิบัติ
เพื่อก้าวล่วงวิสัยของตนให้ตาย. ที่ชื่อว่า ปาปิมา เพราะประกอบสัตว์ไว้ใน
บาป หรือประกอบตนเองอยู่ในบาป มารนั้นมีชื่ออื่น ๆ บ้าง มีหลายชื่อ
เป็นต้นว่า กัณหะ อธิปติ วสวัตติ อันตกะ นมุจี ปมัตตพันธุ ดังนี้บ้าง.
แต่ในพระสูตรนี้ระบุไว้ ๒ ชื่อเท่านั้น. บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า มารคิดว่า
พระสมณโคดมนี้บัญญัติว่า เราเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว จำเราอาทิผิด สระจักกล่าวข้อที่
พระสมณโคดมนั้นยังไม่เป็นผู้หลุดพ้น ดังนี้แล้ว จึงเข้าไปเฝ้า.
บทว่า ตโปกมฺมา อปกฺกมฺม แปลว่า หลีกออกจากตบะกรรม
ด้วยบทว่า อปรทฺโธ มารกล่าวว่า ท่านยังห่างไกลจากทางแห่งความหมดจด.
บทว่า อปรํ ตปํ ความว่า ตบะอันเศร้าหมองที่กระทำเพื่อประโยชน์แก่ตบะ
อย่างอื่นอีก เป็นอัตตกิลมถานุโยค ประกอบตนให้ลำบากเปล่า. บทว่า สพฺพํ
นตฺถาวหํ โหติ ความว่า รู้ว่าตบะทั้งหมดไม่นำประโยชน์มาให้เรา. บทว่า
ถิยา ริตฺตํว ธมฺมนิ ความว่า เหมือนถ่อเรือบนบกในป่า. ท่านอธิบายว่า
 
๒๕/๔๑๘/๓

วันจันทร์, เมษายน 10, 2566

Pratu

 
ก็เหมือนกัน. ในบาลี ท่านอภยวาสี ได้บรรลุพระอรหัต ณ ที่ตั้งปะรำ
เพื่อถามปัญหา. ท่านอนุราชวาสี ได้บรรลุพระอรหัต ณ ประตูอาทิผิด อักขระด้านทักษิณ
แห่งนครใกล้ประตูถูปาราม.
ก็พระเถระผู้กล่าวมหาอริยวงศ์กล่าวว่า พวกท่านพูดอะไร ควรจะ
พูดว่า ในที่ที่ปรากฏ ตั้งแต่ส่วนล่างของที่บูชาโดยรอบมหาเจดีย์ เท้าทั้งสอง
สามารถจะให้ประดิษฐานเสมอกัน ได้ในที่ใด ๆ ภิกษุทุก ๆ สามหมื่นรูป ได้
บรรลุพระอรหัตในการยกเท้าข้างหนึ่งขึ้น ในที่นั้น ๆ.
แต่พระมหาเถระอีกรูปหนึ่งกล่าวว่า ภิกษุทั้งหลายมากกว่าทรายที่
กระจัดกระจายอยู่ ณ พื้นมหาเจดีย์ ได้บรรลุพระอรหัต. บุคคลเห็น
พระเถระแล้วตั้งอยู่ในโอวาทของท่านเห็นอสุภะยังปฐมฌานให้เกิดในอสุภะนั้น
พิจารณาอสุภะนั้นนั่นแล โดยความสิ้นไปย่อมบรรลุพระอรหัต. เพราะฉะนั้น
การเห็นสิ่งเหล่านี้ จึงมีประโยชน์.
ก็อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ความเจริญ แม้โดยอามิส ก็เป็นประโยชน์
เหมือนกัน เพราะอาศัยอามิสนั้น ปฏิบัติเพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์.
ก็ในการเดินนั้น การกำหนดสิ่งที่สบายและไม่สบายแล้วถือเอาสิ่งที่
สบาย เป็นสัปปายสัมปชัญญะ เช่นการเห็นพระเจดีย์ มีประโยชน์ถึงเพียงนั้น.
หากว่า ชุมชนประชุมกันในระหว่าง ๑๒๐ โยชน์ เพื่อมหาบูชาพระเจดีย์.
สตรีบ้าง บุรุษบ้าง ตกแต่งประดับตามสมควรแก่สมบัติของตน พากันเที่ยว
ไปเหมือนรูปจิตรกรรม.
ก็ในเรื่องนั้น ความโลภในอารมณ์ที่น่าใคร่ ความแค้นในอารมณ์
ที่ไม่น่าใคร่ ความหลงด้วยการไม่สมหวัง ย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น. ภิกษุนั้น
ย่อมต้องอาบัติอันเป็นกายสังสัคคะ. และเป็นอันตรายต่อชีวิตพรหมจรรย์.
ฐานะนั้น ย่อมเป็นฐานะอาทิผิด อักขระอันไม่สบาย ด้วยประการฉะนี้. ฐานะเป็นที่สบายในว่า
 
๓๐/๖๘๔/๓๕๗

วันอาทิตย์, เมษายน 09, 2566

Pho

 
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า “ไปด้วยอานุภาพของพระพุทธเจ้าบ้าง” ทีเดียว.
ก็ในขณะนั้น พระศาสดาเสด็จเข้าไปสู่กรุงสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต.
พาหิยะนั้นถามภิกษุทั้งหลายผู้ฉันอาหารเช้าแล้ว เดินจงกรมอยู่ในที่แจ้ง
เพื่อต้องการเปลื้องความคร้านทางกายว่า “เดี๋ยวนี้ พระศาสดาประทับ
อยู่ที่ไหน ?” ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “เสด็จเข้าไปกรุงสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต”
แล้วถามบุรุษนั้นว่า “ก็ท่านมาแต่ที่ไหนเล่า ?”
ทารุจีริยะ. ข้าพเจ้ามาแต่ท่าเรือสุปปารกะ.
ภิกษุ. ท่านออกในกาลไร ?
ทารุจีริยะ. ข้าพเจ้าออกในเวลาเย็นวานนี้.
ภิกษุ. ท่านมาแต่ที่ไกล, จงนั่งก่อน, ล้างเท้าแล้วทาด้วยน้ำมัน
แล้ว จงพักเหนื่อยเสียหน่อย, ท่านจักเห็นพระศาสดา ในเวลาที่เสด็จมา.
ทารุจีริยะ. ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่รู้อันตรายแห่งชีวิตของพระ-
ศาสดาหรือของข้าพเจ้า, ข้าพเจ้าไม่ได้หยุด ไม่ได้นั่งในที่ไหน เดินมา
สิ้นทาง ๑๒๐ โยชน์โดยคืนเดียวเท่านั้น, ข้าพเจ้าพออาทิผิด อักขระเห็นพระศาสดาแล้ว
จึงจักพักเหนื่อย.
พาหิยะนั้น กล่าวอย่างนั้นแล้ว มีทีท่าเร่งร้อน๑. เข้าไปยังกรุงสาวัตถี
เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวไปบิณฑบาตด้วยพุทธสิริอันหาที่เปรียบ
มิได้ คิดว่า “นานหนอ เราเห็นพระโคดมสัมมาสัมพุทธะ” ดังนี้แล้ว ก็น้อม
ตัวเดินไปตั้งแต่ที่ๆ ตนเห็น ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ในระหว่าง
ถนน จับที่ข้อพระบาททั้งสองแน่น แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า “พระเจ้าข้า
๑. ตรมานรูโป=มีรูปแห่งบุคคลผู้ด่วน แปลตรงศัพท์ ไม่ได้ความแก่ภาษา, เพื่อให้ได้ความ
แก่ภาษาและเหมาะแก่เรื่อง จึงได้แปลอย่างนั้น.
 
๔๑/๑๘/๔๒๙

วันเสาร์, เมษายน 08, 2566

Sangwat

 
คนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความ
ขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารถนาความ
เพียร โดยอเนกปริยาย แล้วทรงทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสม
แก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั่นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่
ภิกษุณีทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดี
แห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มภิกษุณีผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่
สำราญแห่งภิกษุณีผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง
ไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่น
แห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกภิกษุณีจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๕.๑. อนึ่ง ภิกษุณีใด มีความกำหนัด ยินดีการลูบก็ดี
คลำก็ดี จับก็ดี ต้องก็ดี บีบเคล้นก็ดี ของบุรุษบุคคลผู้กำหนัด
ใต้รากขวัญลงไป เหนือเข่าขึ้นมา แม้ภิกษุณีนี้ก็เป็นปาราชิก ชื่อ
อุพภชานุมัณฑลิกา หาสังวาสอาทิผิด อักขระมิได้.
เรื่องภิกษุณีสุนทรีนันทา จบ
 
๕/๑/๕

วันศุกร์, เมษายน 07, 2566

Khan

 
กิเลสปรินิพพาน (คือดับกิเลส). ทรงจบเทศนาตามลำดับอนุสนธิว่า นี้เป็นการ
ปรินิพพานครั้งแรกของพระศาสดานั้น ณ โพธิมัณฑสถาน. แต่ภายหลังพระองค์
ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุดับขันธ์อาทิผิด สระ ณ ระหว่างไม้สาละคู่ดังนี้.
อรรถกถาอนุพุทธสูตรที่ ๑
๒. ปปติตสูตร
ว่าด้วยผู้ตกจากพระธรรมวินัย
[๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
เรียกว่า ผู้ตกจากพระธรรมวินัยนี้ ธรรม ๔ ประการ คืออะไรบ้าง คือ
อริยศีล อริยสมาธิ อริยปัญญา อริยวิมุตติ บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม
๔ ประการนี้แล เรียกว่า ผู้ตกจากพระธรรมวินัยนี้.
บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ เรียกว่า ผู้ไม่ตกจากพระ-
ธรรมวินัยนี้ ธรรม ๔ ประการคืออะไรบ้าง คือ อริยศีล อริยสมาธิ อริย-
ปัญญา อริยวิมุตติ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เรียกว่า
ผู้ไม่ตกจากพระธรรมวินัยนี้.
(นิคมคาถา)
บุคคลผู้เคลื่อนไป (จากคุณมีอริยศีล
เป็นต้น) ชื่อว่า ตก (จากพระธรรมวินัย)
ผู้ตกแล้ว และยังกำหนัดยินดี ก็ต้องมา
(เกิด) อีก ความสุขย่อมมาถึง ผู้ทำกิจที่
ควรทำแล้ว ยินดีคุณที่ควรยินดีแล้ว โดย
สะดวกสบาย.
จบปปติตสูตรที่ ๒
 
๓๕/๒/๔