วันพฤหัสบดี, เมษายน 13, 2566

Patipatha

 
อาการวตี คือ มีเหตุ. บทว่า อญฺญตรํ วา ปน ตโปคุณํ คุณคือตบะ
อย่างใดอย่างหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึง ลัทธิของอเจลกะ คือ เว้น
การดื่มสุรา. เพราะเหตุไร สกุลุทายีจึงถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โลกมี
ความสุขโดยส่วนเดียวมีอยู่หรือ. นัยว่าสกุลุทายีนั้นได้คิดว่า แม้เราก็กล่าวว่า
ตนมีความสุขโดยส่วนเดียว. อนึ่งเรากล่าวการปฏิบัติเป็นสุขบางเวลา เป็นทุกข์
บางเวลา. แม้ปฏิปทาของตน ผู้มีความสุขโดยส่วนเดียวก็พึงมีความสุขโดย
ส่วนเดียว. กถาของพวกเราเป็นกถาไม่นำสัตว์ออกไป. ส่วนกถาของพระศาสดา
เป็นกถานำสัตว์ออกไป เพราะเหตุนั้นบัดนี้เราจะถามพระศาสดาแล้ว จึงจะรู้
เพราะฉะนั้นพระเถระจึงถาม.
บทว่า เอตฺถ มยํ อนสฺสาม คือพวกเราไม่ยินดีในเหตุนี้ เพราะเหตุ
ไร บริษัทของสกุลุทายิปริพาชกจึงได้กล่าวอย่างนั้น. นัยว่าบริษัทของสกุลุทายิ
ปริพาชกเหล่านั้นรู้ว่า เมื่อก่อนพวกตนตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการ กระทำ
กสิณบริกรรมยังตติยฌานให้เกิด ครั้นฌานยังไม่เสื่อม ทำกาละแล้วเกิดในชั้น
สุภกิณหะแต่เมื่อกาลผ่านไปๆ แม้กสิณบริกรรมก็ไม่รู้. แม้ตติยฌานก็ไม่สามารถ
ให้เกิดได้. อนึ่งพวกเราเรียนธรรมอันเป็นส่วนเบื้องต้น ๕ ว่า ปฏิปทามีเหตุ.
แล้วเรียนตติยฌานว่าโลกมีสุขโดยส่วนเดียว. เพราะฉะนั้นพวกเขาจึงกล่าว
อย่างนั้น. บทว่า อุตฺตริตรํ คือสิ่งที่ยิ่งกว่าธรรม ๕ นี้. ท่านอธิบายว่า พวก
เราไม่รู้ปฏิปทาอาทิผิด อักขระหรือโลกอันเป็นสุขโดยส่วนเดียวยิ่งกว่าตติยฌาน . บทว่า
อปฺปสทฺเท กตฺวา คือห้ามปริพาชกเหล่านั้นซึ่งเริ่มจะทำเสียงดังไม่ให้มีเสียง
โดยเตือนครั้งเดียวเท่านั้น. ในบทว่า สฺจฉิกิริยาเหตุเพราะเหตุทำให้แจ้งนี้.
สัจฉิกิริยา มี ๒ อย่างคือ ปฏิลาภสัจฉิกิริยา (การทำให้แจ้งการได้) ๑
ปัจจักขสัจฉิกิริยา (การทำให้แจ้งประจักษ์) ๑. ในสัจฉิกิริยา ๒ อย่างนั้น ผู้ยัง
 
๒๐/๓๘๘/๖๓๙

ไม่มีความคิดเห็น: