วันพุธ, เมษายน 05, 2566

Phai tai

 
ก้าวลงสู่รอยแยกเห็นปานนี้ ดื่มน้ำที่ควรดื่ม ทำตัวให้เย็นสบาย ทำกองทราย
ให้สูงขึ้น จัดแจงผ้าบังสุกุลจีวรแล้วนั่งทำสมณธรรมอยู่ จิตของเธอย่อมสงบ.
คำว่า คิริคุหํ (แปลว่า ถ้ำในระหว่างภูเขา) คือ ถ้ำในระหว่าง
แห่งภูเขาทั้งสอง หรือว่าในภูเขาหนึ่งมีช่องใหญ่เช่นกับอุโมงค์. ลักษณะแห่ง
สุสาน ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในปกรณ์ชื่อ วิสุทธิมรรค.
คำว่า วนปตฺถํ (ดง) ได้แก่ สถานที่นอกจากหมู่บ้าน มิใช่ที่ใกล้
เคียงของพวกมนุษย์ คือ ในที่ ไม่มีการไถ การหว่าน. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกชื่อเสนาสนะอันไกลนี้ว่า วนปตฺถํ เป็นต้น.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะเสนาสนะมีโคนไม้เป็นต้น พระองค์ทรงแยกแสดงเสนาสนะ
อันไม่มีเสียงรบกวนนี้ไว้ต่างหาก ฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้ามิได้ทรงอธิบายคำนั้นตามลำดับแห่งบทที่พระองค์ทรงตั้งไว้ แต่ทรง
อธิบายไว้ในภายหลังแห่งคำทั้งปวง ดังนี้.
คำว่า อพโภกาสํ (แปลว่า ที่แจ้ง) คือสถานที่ไม่มีที่กำบัง. ก็ภิกษุ
ประสงค์ในที่เช่นนี้ ต้องทำให้เป็นเพิง ด้วยจีวรแล้วอยู่.
คำว่า ปลาสปุญฺชํ ได้แก่ กองฟาง. จริงอยู่ ภิกษุดึงฟางออก
จากกองฟางใหญ่แล้วทำให้เป็นที่อยู่ เช่นกับเงื้อมเขาและถ้ำ. แม้ภิกษุจะเอา
ฟางใส่ไว้บนพุ่มไม้เป็นต้นแล้วนั่งภายใต้อาทิผิด อักขระกระทำสมณธรรมก็ได้. คำนี้ ท่าน
หมายเอาเสนาสนะ คือกองฟางนั้นแล.
ในวนปัตถนิทเทส (ในนิทเทสว่าด้วยดง) คำว่า สโลมหํสานํ ได้
แก่ ในที่ใด เมื่อเข้าไปแล้ว ขนพองสยองเกล้าย่อมเกิดขึ้น ที่เห็นปานนี้ ชื่อว่า
เสนาสนะประกอบด้วยความน่ากลัว.
 
๗๘/๗๔๐/๔๒๓

ไม่มีความคิดเห็น: