วันอังคาร, เมษายน 30, 2567

Khrueng

 
[๑๘๓] คำว่า มนุษย์ย่อมตายภายในร้อยปี มีความว่า มนุษย์
ย่อมเคลื่อน ตาย หาย สลายไป ในกาลที่เป็นกลละบ้าง, ในกาลที่เป็น
น้ำล้างเนื้อบ้าง, ในกาลที่เป็นชิ้นเนื้อบ้าง, ในกาลที่เป็นก้อนเนื้อบ้าง,
ในกาลที่เป็นปัญจสาขาได้แก่มือ ๒ เท้า ๒ ศีรษะ ๑ บ้าง, แม้พอเกิดก็
ย่อมเคลื่อน ตาย หาย สลายไปก็มี. ย่อมเคลื่อน ตาย หาย สลายไปใน
เรือนที่คลอดก็มี. ย่อมเคลื่อน ตาย หาย สลายไปเมื่อชีวิตครึ่งอาทิผิด สระเดือนก็มี.
เดือน ๑ ก็มี. ๒ เดือนก็มี. ๓ เดือนก็มี. ๔ เดือนก็มี. ๕ เดือนก็มี.
๖ เดือนก็มี. ๗ เดือนก็มี. ๘ เดือนก็มี. ๙ เดือนก็มี. ๑๐ เดือนก็มี.
๑ ปีก็มี. ๒ ปีก็มี. ๓ ปีก็มี. ๔ ปีก็มี. ๕ ปีก็มี. ๖ ปีก็มี. ๗ ปีก็มี.
๘ ปีก็มี. ๙ ปีก็มี. ๑๐ ปีก็มี. ๒๐ ปีก็มี. ๓๐ ปีก็มี. ๔๐ ปีก็มี. ๕๐
ปีก็มี. ๖๐ ปีก็มี. ๗๐ ปีก็มี. ๘๐ ปีก็มี. ๙๐ ปีก็มี. เพราะฉะนั้นจึง
ชื่อว่า มนุษย์ย่อมตายภายในร้อยปี.
[๑๘๔] คำว่า แม้หากว่ามนุษย์ใดย่อมเป็นอยู่เกินไป มีความ
ว่ามนุษย์ใดเป็นอยู่เกินร้อยปีไป มนุษย์นั้นเป็นอยู่ ๑ ปีบ้าง. ๒ ปีบ้าง.
๓ ปีบ้าง. ๔ ปีบ้าง. ๕ ปีบ้าง. ๑๐ ปีบ้าง. ๒๐ ปีบ้าง. ๓๐ ปีบ้าง.
๔๐ ปีบ้าง. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า แม้หากมนุษย์ใดย่อมเป็นอยู่เกินไป.
[๑๘๕] คำว่า มนุษย์ผู้นั้นย่อมตายเพราะชราโดยแท้แล
มีความว่า เมื่อใดมนุษย์เป็นคนแก่ เจริญวัย เป็นผู้ใหญ่โดยกำเนิด
ล่วงกาลผ่านวัย มีฟันหัก ผมหงอก ผมบาง ศีรษะล้าน หนังย่น ตัว
ตกกระ คด ค่อม ถือไม้เท้าไปข้างหน้า เมื่อนั้น มนุษย์นั้น ย่อมเคลื่อน
 
๖๕/๑๘๓/๖๐๕

วันจันทร์, เมษายน 29, 2567

Thuk

 
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
พวกคนที่มีชื่อเสียง พระราชบุตรทั้งหลาย พ่อ
ค้า ชาวนาทั้งหลาย พราหมณ์ทั้งหลาย ทั้งกองช้าง
กองม้า กองรถ กองราบ ชาวนิคม ชาวสีพีทั้งสิ้น
ประชุมกันแล้ว เห็นช้างถูกอาทิผิด อักขระพราหมณ์ทั้ง ๘ นำไป พวก
เหล่านั้นจึงกราบทูลพระเจ้าสญชัยให้ทรงทราบว่า ข้า
แต่พระองค์ผู้สมมติเทพ แคว้นของพระองค์อันพระ-
เวสสันดรกำจัดเสียแล้ว พระเวสสันดรพระโอรสของ
พระองค์พระราชทานช้างตัวประเสริฐของเราทั้งหลาย
ซึ่งชาวแว่นแคว้นบูชาแล้ว ด้วยเหตุไร พระเวสสันดร
พระราชทานช้างของเราทั้งหลาย ซึ่งมีงาดุจงอนไถ
เป็นราชพาหนะรู้ชัยภูมิแห่งการยุทธ์ทุกอย่าง ขาวทั่ว
สรรพางค์ เป็นช้างสูงสุด คลุมด้วยผ้ากัมพลเหลืองซับ
มัน อาจย่ำยีศัตรูได้ฝึกดีแล้ว พร้อมด้วยพัดวาลวีชนี
มีกายสีขาวเช่นกับเขาไกรลาส พร้อมด้วยเศวตฉัตร
ทั้งเครื่องลาดอันงาม ทั้งหมอ ทั้งคนเลี้ยง เป็นราชยาน
อันเลิศ เป็นช้างพระที่นั่ง พระราชทานให้เป็นทรัพย์
แก่พราหมณ์ทั้ง ๘ เสียด้วยเหตุไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุคฺคา ได้แก่ เด่น คือ รู้กันทั่ว คือ
ปรากฏ. บทว่า นิคโม ได้แก่ คนมีทรัพย์ชาวนิคม. บทว่า วิธมํ เทว
เต รฏฺฐํ ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ แคว้นของพระองค์ถูกกำจัด
เสียแล้ว. บทว่า กถํ โน หตฺถินํ ทชฺชา ความว่า พระราชทานช้างที่รู้สึก
กันว่าเป็นมงคลยิ่งของเราทั้งหลาย แก่พราหมณ์ชาวกาลิงครัฐ ด้วยเหตุไร.
บทว่า เขตฺตญฺญุํ สพฺพยุทฺธานํ ความว่า ผู้สามารถรู้ความสำคัญของชัยภูมิ
 
๖๔/๑๒๖๙/๖๑๙

วันอาทิตย์, เมษายน 28, 2567

Sombun

 
พระคุณเจ้าไม่ต้องวินิจฉัยตลอดทั้งวันก็ได้ คือ ในเวลาเช้าออกจากอุทยาน
ผ่านมาในที่นี้ กรุณาแวะเข้าไปยังโรงวินิจฉัยคดีแล้ว ทำการวินิจฉัยตัดสินความ
สัก ๔ เรื่อง พอฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว จะกลับไปยังอุทยาน กรุณาช่วยทำ
การวินิจฉัยตัดสินความให้อีก ๔ เรื่อง ถ้าทำได้อย่างนี้ ความเจริญจักมีแก่
มหาชน. พระมหาสัตว์นั้น ถูกพระราชานั้นอ้อนวอนอยู่บ่อย ๆ เข้า จึงยอม
รับว่า สาธุ ดังนี้. ตั้งแต่วันนั้นมา ก็ได้ทำอย่างนั้น. พวกลูกความโกงทั้งหลาย
ไม่ได้แล้วซึ่งโอกาส.
ฝ่ายพวกอำมาตย์ ๕ คนนั้นเล่า เมื่อไม่ได้สินบนก็กลับกลายเป็นผู้
ขัดสน จึงพากันปรึกษาว่า ตั้งแต่เวลาที่โพธิปริพาชกมาตัดสินความ พวก
เราไม่ได้อะไร ๆ เลย เอาเถอะ พวกเราจักหาเรื่องปริพาชกนั้นแล้ว ยุยง
พระราชาให้ตัดสิน ฆ่าปริพาชกนั้นให้ได้. พวกอำมาตย์นั้น พากันเข้าไปเฝ้า
พระราชาแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า (บัดนี้) โพธิปริพาชก
ปรารถนาจักทำความพินาศต่อพระองค์ เมื่อพระราชาไม่ทรงเชื่อ ตรัสว่า
โพธิปริพาชกนั้น เป็นผู้มีศีลสมบูรณ์อาทิผิด อักขระด้วยความรู้ จักไม่ทำกรรมเห็นปานนั้น
เด็ดขาด จึงพากันกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ประชาชนชาวเมือง
ทั้งสิ้น ถูกโพธิปริพาชกนั้น ทำให้อยู่ในเงื้อมมือของตนเสียแล้ว แต่ยังไม่อาจ
ที่จะทำพวกข้าพระองค์ทั้ง ๕ คนนี้ได้เท่านั้น ถ้าพระองค์ไม่ทรงเชื่อถ้อยคำ
ของพวกข้าพระองค์ไซร้ ในเวลาที่โพธิปริพาชกนั้นมาในที่นี้ พระองค์พึง
ทอดพระเนตรดูบริษัทเถิด. พระราชาทรงรับว่า ดีละ ดังนี้แล้ว ประทับยืน
อยู่ที่สีหบัญชรทอดพระเนตรดูปริพาชกนั้นกำลังเดินมา ทรงเห็นบริวาร เพราะ
ค่าที่พระองค์ไม่รู้เท่าทัน จึงทรงเข้าใจพวกมนุษย์ที่มาฟ้องคดีความว่า เป็น
บริวารของพระมหาสัตว์นั้น ทรงเชื่อแล้ว ตรัสสั่งให้พวกอำมาตย์นั้นเข้ามาเฝ้า
แล้ว ตรัสถามว่า พวกเราจะทำอย่างไรกัน ? พวกอำมาตย์เหล่านั้น กราบทูล
 
๖๒/๖๕/๘๘

วันเสาร์, เมษายน 27, 2567

Prasut

 
บอกเหตุนั้นแก่เราบ้าง. เทวดาทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์
พระราชบุตรของพระเจ้าสุทโธทนมหาราชประสูติแล้ว พระราชบุตรนั้น
จักประทับที่โพธิมัณฑ์เป็นพระพุทธเจ้า ประกาศพระธรรมจักร พวกเรา
จักได้เห็นพระพุทธลีลาอันหาประมาณมิได้ของพระองค์ และจักได้ฟัง
ธรรม เพราะเหตุนั้น เราทั้งหลายจึงได้เป็นผู้ยินดีด้วยเหตุนี้. พระดาบส
ได้ฟังคำของเทวดาเหล่านั้นแล้ว จึงรีบลงมาจากเทวโลก เข้าไปยัง
พระราชนิเวศน์ นั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้แล้วทูลว่า มหาบพิตร ได้ยิน
ว่าพระราชบุตรของพระองค์ประสูติอาทิผิด อักขระแล้ว อาตมภาพอยากจะเห็นพระราช-
บุตรนั้น. พระราชาทรงให้นำพระกุมารผู้แต่งตัวแล้วมา เริ่มที่จะให้ไหว้
พระดาบส พระบาททั้งสองของพระโพธิสัตว์ กลับไปประดิษฐานบน
ชฎาของพระดาบส จริงอยู่ บุคคลอื่นชื่อว่าผู้สมควรที่พระโพธิสัตว์จะพึง
ไหว้โดยอัตภาพนั้น ย่อมไม่มี ก็ถ้าผู้ไม่รู้ จะพึงวางศีรษะของพระ-
โพธิสัตว์ลงแทบบาทมูลของพระดาบส ศีรษะของพระดาบสนั้นจะแตก
ออก ๗ เสี่ยง. พระดาบสคิดว่า เราไม่ควรจะทำตนของเราให้พินาศ จึง
ลุกขึ้นจากอาสนะ ประคองอัญชลีแก่พระโพธิสัตว์. พระราชาทรงเห็น
ความอัศจรรย์ข้อนั้น จึงทรงไหว้พระราชบุตรของพระองค์.
พระดาบสระลึกได้ ๘๐ กัป คือในอดีต ๔๐ กัป ในอนาคต ๔๐ กัป
เห็นลักษณะสมบัติของพระโพธิสัตว์แล้วรำพึงว่า เธอจักได้เป็นพระพุทธ-
เจ้าหรือไม่หนอ จึงใคร่ครวญดูรู้ว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้อง
สงสัย จึงได้กระทำการยิ้มแย้มอันเป็นเหตุให้รู้ว่า พระราชบุตรนี้เป็น
อัจฉริยบุรุษ แต่นั้นจึงใคร่ครวญดูว่า เราจักได้เห็นอัจฉริยบุรุษผู้นี้เป็น
พระพุทธเจ้าหรือไม่หนอ ได้เห็นว่าเราจักไม่ได้ทันเห็น จักตายเสียใน
 
๗๐/๑/๑๑๔

วันศุกร์, เมษายน 26, 2567

Kho

 
บทว่า รชฺเช อาณา ความว่า ลูกก็ย่อมจะใช้อำนาจในราชสมบัติ
พระเจ้าอนิกรัตตะได้. บทว่า ธนมิสฺสริยํ ได้แก่ พระราชทรัพย์และความ
เป็นใหญ่ ในราชตระกูลนี้ และในราชตระกูลพระราชสวามี. บทว่า โภคา
สุขา อติวิย อิฏฺฐา โภคา ได้แก่ สิ่งนี้ทั้งหมดปรากฏตกอยู่ในพระหัตถ์
ของลูกแล้ว. บทว่า ทหริกาสิ ได้แก่ ลูกก็ยังเป็นสาว เพราะฉะนั้น ขอ
ลูกจงบริโภคกามสมบัติเถิด. ประกอบความว่า ลูกเอ๋ย ด้วยเหตุนั้น พ่อจึง
ขออาทิผิด อาณัติกะร้องลูกนะลูกนะ.
บทว่า เน ได้แก่พระชนกชนนี. บทว่า ม เอทิสิกานิ ความว่า
อำนาจเป็นต้นในราชสมบัติเห็นปานนี้ จงอย่ามีมาเลย ถ้าจะถามว่าเพราะเหตุ
ไร พระนางสุเมธาจึงตรัสว่า ภพไม่มีแก่นสาร.
บทว่า กิมิว แปลว่า. เหมือนหนอน. บทว่า ปูติกายํ ได้แก่
ซากศพที่เน่านี้. บทว่า สวนคนฺธํ ได้แก่ ที่กลิ่นเหม็นคลุ้งไป บทว่า
ภยานกํ ได้แก่ นำมาซึ่งภัย สำหรับเหล่าคนเขลาที่ยังไม่ปราศจากราคะ บทว่า
กุณปํ อภิสํวิเสยฺยํ ภสฺตํ ได้แก่ ถุงหนังที่เต็มด้วยซากศพ เต็มด้วยของ
ไม่สะอาด ไหลออกมิใช่คราวเดียว คือเต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ
ไหลออกอยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์ อันบุคคลยึดถือว่า นี้ของเรา.
ลูกรู้จักซากศพนั้นเหมือนหนอน. บทว่า วิกูลกํ ได้แก่ ปฏิกูลเหลือ
เกิน อันชิ้นเนื้อที่ไม่สะอาดและเลือดฉาบไว้ เป็นที่อยู่ของหมู่หนอนหลายหมู่
เป็นเหยื่อของฝูงแร้งกา. บาลีว่า กิมิกุลาลสกุณภติตํ ก็มี. ความว่า เป็น
เหยื่อของหมู่หนอนและฝูกนกนอกนั้น. พระนางสุเมธาทรงแสดงว่า ลูกยืนหยัด
รู้จักซากศพนั้น บัดนี้ ทูลกระหม่อมพระราชทานลูกนั้นแก่พระเจ้าอนิกรัตตะ
นั้น โดยทรงขอร้องทำไม คือเพราะเหตุชื่อไร ประกอบความว่า ก็การพระ
ราชทานลูกนั้นแก่พระเจ้าอนิกรัตตะนั้น เหมือนอะไร คือเป็นเหมือนอะไร
 
๕๔/๔๗๔/๕๑๓

วันพฤหัสบดี, เมษายน 25, 2567

Nauppanitsaya

 
๒. อรณธรรม อาศัยอรณธรรม เกิดขึ้น เพราะนเหตุ
ปัจจัย
คือ ขันธ์ ๓ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอรณธรรม
ซึ่งเป็นอเหตุกะ.
ในอเหตุกปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ตลอดถึงอสัญญสัตว์.

การนับจำนวนวาระในปัจจนียะ
[๘๕๗] ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ
ในนอธิปติปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยอาทิผิด อักขระ-
ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๔ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๕
วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๕ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในนวิปาก-
ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑
วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมป-
ยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี
๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.
การนับทั้งสองนัยนอกนี้ก็ดี สหชาตวาระก็ดี พึงกระทำ.
 
๘๙/๘๕๗/๙๖๑

วันพุธ, เมษายน 24, 2567

Thuk

 
ธาตุ ๖

ดูก่อนอานนท์ มี ธาตุที่มี ๖ อย่าง ได้แก่ ธาตุคือดิน ๑ ธาตุ
คือน้ำ ๑ ธาตุคือไฟ ๑ ธาตุคือลม ๑ ธาตุคืออากาศ ๑ ธาตุคือ
วิญญาณ ๑ ดูก่อนอานนท์ ธาตุ ๖ อย่างเหล่านี้แล แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่
เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ
[๒๓๙] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่น ที่ควรเรียกว่า
ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ จะพึงมีอีกหรือไม่.

ธาตุ ๖ อีกอย่างหนึ่ง

พ. ดูก่อนอานนท์ มี ธาตุนี้มี ๖ อย่าง ได้แก่ ธาตุคือสุข ๑
ธาตุคือทุกข์อาทิผิด อักขระ ๑ ธาตุคือโสมนัส ๑ ธาตุคือโทมนัส ๑ ธาตุคืออุเบก-
ขา ๑ ธาตุคืออวิชชา ๑ ดูก่อนอานนท์ เหล่านั้นแล ธาตุ ๖ อย่าง แม้
ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ
[๒๔๐] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จะยังมีปริยายแม้อื่นหรือไม่
ที่ควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ

ธาตุ ๖ อีกอย่างหนึ่ง

พ. ดูก่อนอานนท์ มี ธาตุนี้มี ๖ ธาตุ ได้แก่ ธาตุคือกาม ๑
ธาตุคือเนกขัมมะ ๑ ธาตุคือพยาบาท ๑ ธาตุคือความไม่พยาบาท ๑
ธาตุคือความเบียดเบียน ๑ ธาตุคือความไม่เบียดเบียน ๑ ดูก่อน
อานนท์ ธาตุ ๖ อย่างเหล่านั้นแล แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควร
เรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ.
[๒๔๑] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จะยังมีปริยายแม้อื่นหรือไม่
ที่ควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ.
 
๒๒/๒๓๙/๒๙๒

วันอังคาร, เมษายน 23, 2567

Nam

 
ได้ยินว่า ภิกษุทั้งหลายนั่งสรรเสริญพระปัญญาของพระทศพล
ในโรงธรรมสภาว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตมีพระปัญญามาก
มีพระปัญญาหนา มีพระปัญญารื่นเริง มีพระปัญญาไว มีพระปัญญา
กล้าแข็ง มีพระปัญญาชำแรกกิเลส ก้าวล่วงโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก
ด้วยพระปัญญา พระศาสดาเสด็จอาทิผิด อักขระมาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลายบัดนี้
พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุเหล่านั้น
กราบทูลให้ทรงทราบแล้วจึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายมิใช่ในบัดนี้เท่านั้น
แม้ในกาลก่อน ตถาคตก็มีปัญญาเหมือนกัน แล้วทรงนำอาทิผิด สระเอาเรื่องใน
อดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล มีพระราชาพระนามว่า ชนสันธะ ครองราช-
สมบัติอยู่ในนครพาราณสี. พระโพธิสัตว์บังเกิดในพระครรภ์ของ
พระอัครมเหสีของพระราชานั้น. หน้าของพระโพธิสัตว์นั้น เกลี้ยง
เกลา บริสุทธิ์ดุจพื้นแว่นทองคำ ถึงความงามอันเลิศยิ่ง. ด้วยเหตุนั้น
ในวันตั้งชื่อ ญาติทั้งหลายจึงตั้งชื่อของพระโพธิสัตว์นั้นว่า อาทาส-
มุขกุมาร. ภายใน ๗ ปีเท่านั้น พระชนกให้กุมารนั้นศึกษาพระเวท
ทั้ง ๓ และสิ่งทั้งปวงที่จะพึงทำในโลก แล้วได้สวรรคตในเวลาที่พระ-
กุมารนั้นมีอายุ ๗ ขวบ อำมาตย์ทั้งหลายได้ถวายพระเพลิงพระศพ
ของพระราชาด้วยบริวารใหญ่โต แล้วถวายทานเพื่อผู้ตาย ในวันที่ ๗
ประชุมกันที่พระลานหลวงหารือกันว่า พระกุมารยังเด็กเกินไป ไม่
อาจอภิเษกให้ครองราชย์ได้ พวกเราจักทดลองพระกุมารนั้นแล้วจึง
ค่อยอภิเษก. วันหนึ่ง อำมาตย์เหล่านั้นให้ตกแต่งพระนคร จัดแจง
 
๕๘/๓๗๒/๕๒

วันจันทร์, เมษายน 22, 2567

Thang Lai

 
๗. อันธภูตสูตร
ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งมืดมน
[ ๓๒ ] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ พระวิหารเวฬุวัน
กลันทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้
ตรัสกะภิกษุทั้งหลายอาทิผิด สระว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งมืดมน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงที่เป็นสิ่งมืดมน คืออะไร. คือ จักษุ
รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นสิ่งมืดมน แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่ง
มืดมน มืดมนเพราะอะไร. เรากล่าวว่า มืดมนเพราะชาติ ชรา มรณะ
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโน-
วิญญาณ มโนสัมผัส เป็นสิ่งมืดมน แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ
อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งมืดมน
มืดมนเพราะอะไร. เรากล่าวว่า มืดมนเพราะชาติ ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้
ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งใน
จักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขม-
สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายทั้ง
ในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งใน
สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโน-
 
๒๘/๓๒/๔๑

วันอาทิตย์, เมษายน 21, 2567

Anulom

 
ทุกทุกปัฏฐาน ๑.

ในลำดับต่อจากนั้นก็ทรงแสดงแม้ในธรรมปัจจนียานุโลมโดยนัยทั้ง ๖
เหล่านี้เหมือนกัน เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า
นัยทั้ง ๖ อันสุขุม ลึกซึ้งในธรรม
ปัจจนียานุโลม คือ
ติกปัฏฐานอันประเสริฐ ๑
ฯ ล ฯ
ทุกทุกปัฏฐาน ๑.

ว่าด้วยสมันตปัฏฐาน ๒๔

ปัฏฐานที่ประชุมสมันตปัฏฐาน ๒๔ เหล่านี้ คือ ปัฏฐาน ๖ ใน
ธรรมอนุโลมอาทิผิด สระ ปัฏฐาน ๖ ในธรรมปฏิโลม ปัฏฐาน ๖ ในธรรมอนุโลมปัจจนีย-
ปัฏฐาน ๖ ในธรรมปัจจนียานุโลม ชื่อว่า มหาปกรณ์ (ปกรณ์ใหญ่).

ว่าด้วยการเปรียบกับสาคร

บัดนี้ เพื่อการรู้แจ้งถึงความที่พระอภิธรรมนี้เป็นธรรมลึกซึ้ง พึง
ทราบสาคร (ทะเล) ๔ คือ
๑. สังสารสาคร (สาคร คือ สงสาร)
๒. ชลสาคร (สาคร คือ น้ำมหาสมุทร)
๓. นยสาคร (สาคร คือ นัย)
๔. ญาณสาคร (สาคร คือ พระญาณ)
บรรดาสาครทั้ง ๔ นั้น ชื่อว่า สังสารสาคร คือ สังสารวัฏที่ท่าน
กล่าวไว้อย่างนี้ว่า
ขนฺธานญฺจ ปฏิปาฏิ ธาตุอายตนานญฺจ
อพฺโภจฺฉินฺนํ วตฺตมานา สํสาโรติ ปวุจฺจติ
 
๗๕/๑/๒๙

วันเสาร์, เมษายน 20, 2567

Thera

 
ผู้ใดผู้หนึ่งที่มาถึงวิหาร จะเป็นคนจรมา คนเข็ญใจเป็นโจร หรือเป็นอิสรชน
ก็ตาม. ถามว่า พึงทำอย่างไร. แก้ว่า เห็นอาคันตุกะ หมดเสบียงลง มา
ถึงวิหาร พึงให้น้ำดื่มก่อน ด้วยกล่าวว่า เชิญดื่มน้ำเถิด, พึงให้น้ำมันทาเท้า.
อาคันตุกะมาในกาลพึงให้ข้าวยาคูและภัต. อาคันตุกะมาในเวลาวิกาล ถ้า
ข้าวสารมี พึงให้ข้าวสาร, ไม่ควรพูดว่า ท่านมาถึงในคราวมิใช่เวลา, จงไป
เสีย. พึงให้ที่นอน. ไม่หวังความตอบแทนเลย ควรทำกิจทุกอย่าง. ไม่ควร
ให้ความคิดเกิดขึ้นว่า ธรรมดามนุษย์ ผู้ให้ปัจจัย ๔, เมื่อเราทำการสงเคราะห์
อยู่อย่างนี้ จักเลื่อมใสทำอุปการะบ่อย ๆ. ถึงแม้วัตถุของสงฆ์ ก็ควรให้แก่
พวกโจรได้. และเพื่อแสดงอานิสงส์ปฏิสันถาร พระอรรถกถาจารย์ จึงกล่าว
เรื่องไว้หลายเรื่อง ในมหาอรรถกถา โดยพิสดารมีอาทิอย่างนี้ คือ เรื่องพระ
เจ้าโจรนาค เรื่องพระเจ้ามหานาคผู้เสด็จไปชมพูทวีปพร้อมกับพระราชภาดา-
เรื่องอำมาตย์ ๔ นาย ในรัชสมัยแห่งพระเจ้าปิตุราช เรื่องอภัยโจร.
[เรื่องพระอภัยเถระอาทิผิด อักขระทำปฏิสันถารกับอภัยโจร]
บรรดาเรื่องเหล่านั้น จะแสดงเรื่องหนึ่งดังต่อไปนี้:- ดังได้สดับมา
ในเกาะสิงหล โจรชื่ออภัย มีบริวารประมาณ ๕๐๐ คน ตั้งค่ายอยู่ ณ ที่แห่ง
หนึ่ง ทำประชาชนให้อพยพไปตลอด (ที่มีประมาณ) ๓ โยชน์โดยรอบ. ชาว
เมืองอนุราธบุรี ข้ามแม่น้ำกฬัมพนทีไม่ได้. ในทางไปเจติยคิรีวิหาร ขาดการ
สัญจรไปมาของประชาชน. ต่อมาวันหนึ่งโจรได้ไปด้วยหมายใจว่า จักปล้น
เจติยคิรีวิหาร. พวกคนวัด เห็นจึงบอกแก่พระทีฆภาณกอภัยเถระ.
พระเถระถามว่า เนยใสและน้ำอ้อยเป็นต้น มีไหม ?
พวกคนวัด. มี ขอรับ !
พระเถระ. พวกท่านจงให้แก่พวกโจร.
 
๒/๒๒๖/๔๓๗

วันศุกร์, เมษายน 19, 2567

Pluk

 
ไม่ทำให้เจริญใจ และเพราะไม่สบอารมณ์ ชื่อว่า ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล
เพราะไม่เจริญต่อไป ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะบีบคั้น.
บทว่า ตํ กิสฺส เหตุ ความว่า การเป็นไปอย่างนั้นเพราะเหตุไร.
แสดงถึงเหตุนั้นว่า เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก. อธิบายว่า เพราะทิฏฐิของ
บุคคลนั้นเลวทราม ลามก ฉะนั้นจึงเป็นไปอย่างนั้น.
บทว่า อลฺลาย ปฐวิยา นิกฺขิตฺตํ (ฝังลงในแผ่นดินเปียก) คือ
ปลูกอาทิผิด สระลงไปในแผ่นดินที่ชุ่มด้วยน้ำ. บทว่า ปฐวีรสํ อาโปรสํ (รสแผ่นดิน
รสน้ำ) ความว่า ในที่นั้นๆ สมบูรณ์ด้วยแผ่นดินและน้ำ. เพราะในที่ที่ฝังพืช
แผ่นดินทั้งหมดและน้ำทั้งหมด ไม่ยังพืชและผลให้ผลิตได้. ส่วนพื้นที่ของ
แผ่นดินและน้ำเหล่านั้นเท่านั้นที่สัมผัสพืช ย่อมให้พืชผลผลิตได้. เพราะฉะนั้น
พื้นที่นั้นจึงเป็นปัจจัยเพื่อเลี้ยงพืช พึงทราบว่าเป็นรสแผ่นดิน เป็นรสน้ำ.
เพราะรสศัพท์มีความสมบูรณ์ เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวว่า ชื่อว่ารส ท่านกล่าว
ด้วยความสมบูรณ์ด้วยกิจ อนึ่ง เมื่อชาวโลกกล่าวว่า คนธรรพ์มีเสียงดี ย่อม
รู้ความว่า คนธรรพ์สมบูรณ์ดีแล้ว.
บทว่า อุปาทิยติ คือ ถือเอา. เพราะพืชได้พื้นที่ที่เป็นปัจจัย ย่อม
ผลิตได้. บทว่า สพฺพนฺตํ คือรสทั้งปวงนั้น. บทว่า ติตฺตกตฺตาย (เพื่อ
ความเป็นของมีรสขม) ความว่า รสแผ่นดิน และรสน้ำนั้น แม้ไม่มีรสขม
อาศัยพืชที่ขม ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นของขมแห่งต้นสะเดาเป็นต้น และผล
เท่านั้น. บทว่า กฏุกตฺตาย (มีรสปร่า) นี้เป็นไวพจน์ของบทก่อนนั่นเอง.
พึงทราบว่ารสขมในที่นี้ชื่อว่า รสปร่า เพราะไม่เป็นที่ชอบใจดุจในอาคตสถานว่า
มะม่วงนี้เมื่อก่อนได้รับความนิยมมีสีกลิ่นและ
รส เพราะเหตุไร มะม่วงจึงมีรสปร่าไป.
 
๖๙/๓๖๑/๕๐

วันพฤหัสบดี, เมษายน 18, 2567

Akhama

 
ครั้ง เหมือนกัน. ศัพท์ว่า อภิวาเทตฺวา แปลว่า ไหว้. ความจริง คน
ทั้งหลาย เห็นพระตถาคตเจ้าแล้ว ทั้งผู้ที่เลื่อมใส ทั้งผู้ที่ไม่เลื่อมใส ส่วนมาก
ไหว้กันทั้งนั้น ผู้ไม่ไหว้มีเป็นส่วนน้อย เพราะเหตุอะไร คนที่เกิดในตระกูล
อันสูงยิ่ง แม้ครองเรือนก็ไหว้กันทั้งนั้น. ส่วนคฤหบดีผู้นี้ ไหว้เพราะเป็น
คนเลื่อมใส เขาว่าพอเห็นเข้าเท่านั้น ก็เลื่อมใสเสียแล้ว. คำว่า อาคมาอาทิผิด อักขระ
นุขฺวิธ แยกสนธิเป็น อาคมา นุ โข อิธ. คำว่า สาธุ สาธุ
ภนฺเต ตปสฺส ความว่า อุบาลีคฤหบดี เมื่อจะให้สาธุการแก่ฑีฆตปัสสี
นิครนถ์ ก็เรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ภนฺเต. คำว่า สจฺเจ ปติฏฺฐาย
ความว่า ตั้งอยู่ในวจีสัตย์ไม่สั่นคลอนเหมือนหลักที่ปักลงในกองแกลบ. คำว่า
สิยา โน แปลว่า พึงมีแก่พวกเรา. ศัพท์ว่า อิธ แปลว่า ในโลกนี้.
ศัพท์ว่า อสฺส แปลว่า พึงมี. คำว่า สีโตทกํ ปฏิกฺขิตฺโต ความว่า
นิครนถ์ห้ามน้ำเย็นด้วยเข้าใจว่า มีตัวสัตว์. คำนี้ท่านกล่าวหมายถึงน้ำที่มีตัว
สัตว์.
คำว่า มโนสตฺตา นาม เทวา ความว่า เทพทั้งหลาย ผู้ติด ผู้ข้อง
ผู้เกี่ยวข้องแล้วในใจ. คำว่า มโนปฏิพนฺโธ ความว่า อุบาลีคฤหบดีแสดงว่า
บุคคลผู้ติดพันอยู่ในใจย่อมกระทำกาละ (ตาย) เพราะเหตุนั้น เขาจึงเกิดในเทพ
เหล่ามโนสัตว์. แท้จริง โรคที่เกิดแต่จิตจักมีแก่เขา เพราะเหตุนั้น การดื่ม
น้ำร้อน หรือนำน้ำร้อนเข้าไป เพื่อประโยชน์แก่การล้างมือและเท้าเป็นต้นหรือ
เพื่อประโยชน์แก่การรดอาบตนเองและคนอื่น จึงไม่ควรแก่เขาโรคจะกำเริบ.
น้ำเย็นจึงควร ระงับโรคได้. ก็นิครนถ์นี้เสพแต่น้ำร้อนเท่านั้น เมื่อไม่ได้น้ำร้อน
ก็เสพแต่น้ำข้าวและน้ำผักดองแทน เขาต้องการดื่ม และต้องการบริโภคน้ำเย็น
นั้นแม้ด้วยจิต เพราะเหตุนั้น มโนทัณฑะของเขาจึงแตก เพราะไม่ได้ดื่ม และ
บริโภคน้ำเย็นนั้น เขาไม่อาจจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าจะรักษากายทัณฑะและวจีทัณฑะ
 
๒๐/๘๓/๑๔๑

วันพุธ, เมษายน 17, 2567

Phutapupphang

 
กถาให้สมควรแก่เรื่องราวนั้นแล้ว เมื่อจะทรงทำโทษแห่งวิญญัติให้
ปรากฏชัดแม้อีก จึงทรงแสดง ๓ เรื่องนี้ โดยนัยเป็นต้นว่า ภูตปุพฺพํอาทิผิด สระ
ภิกฺขเว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มณิกณฺโฐ มีความว่า ได้ยินว่า
พญานาคนั้นประดับแก้วมณีมีค่ามาก ซึ่งอำนวยให้สิ่งที่ปรารถนาทุกอย่าง
ไว้ที่คอ เที่ยวไป ; เพราะฉะนั้น จึงปรากฏนามว่า มณีกัณฐนาคราช.
คำว่า อุปริมุทฺธนิ มหนฺตํ ผณํ อฏฺฐาสิ มีความว่า ได้ยินว่า
บรรดาฤษีทั้ง ๒ นั้น ฤษีผู้น้องนั้น เป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา; เพราะ
เหตุนั้น พญานาคนั้นจึงขึ้นมาจากแม่น้ำ นิรมิตเพศเป็นเทวดานั่งในสำนัก
แห่งฤษีนั้น กล่าวสัมโมทนียกถา ละเพศเทวดานั้นแล้ว กลับกลาย
เป็นเพศเดิมของตนนั้นแล วงล้อมฤษีนั้น เมื่อจะทำอาการเลื่อมใส จึง
แผ่พังพานใหญ่เบื้องบนศีรษะแห่งฤษีนั้น ดุจกั้นร่มไว้ยับยั้งอยู่ชั่วครู่หนึ่ง
แล้วจึงหลีกไป. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า ได้ยืน
แผ่พังพานใหญ่ไว้ ณ เบื้องบนศีรษะ ดังนี้.
ข้อว่า มณิมสฺส กณฺเฐ ปิลนฺธนํ มีความว่า ซึ่งแก้วมณีอัน
พญานาคนั้นประดับไว้ คือ สวมไว้ที่คอ.
สองบทว่า เอกมนฺตํ อฏฺฐาสิ มีความว่า พญานาคนั้นมาแล้ว
โดยเพศเทวดานั้น ชื่นชมอยู่กับดาบส ได้ยืนอยู่ ณ ประเทศหนึ่ง.
บทว่า มนฺนปานํ ได้แก่ ข้าวและน้ำของเรา.
บทว่า วิปุลํ ได้แก่ มากมาย.
บทว่า อุฬารํ ได้แก่ ประณีต.
 
๓/๕๒๐/๔๐๘

วันอังคาร, เมษายน 16, 2567

Yak

 
สมาบัติเป็นนิตย์ ในที่อยู่กลางคืน ที่พักกลางวัน ที่เร้นและที่มณฑปเป็นต้น
เข้าบ้านของตระกูลก็เข้าสมาบัติทุกประตูเรือน ออกจากสมาบัติแล้วจึงรับภิกษา
เขาว่า พระเถระกระทำความตั้งใจอย่างนี้ว่า ด้วยอัตภาพสุดท้ายนี้ เราจักอนุเคราะห์
มหาชน ชนเหล่าใด ถวายภิกษาหรือทำสักการะด้วยของหอม... และดอกไม้
เป็นต้นแก่เรา ทานนั้นของชนเหล่านั้นจงมีผลมาก ดังนี้ เพราะฉะนั้น ท่าน
จึงไม่รู้เพราะมากไปด้วยสมาบัติ. ดังนั้น อาจารย์พวกหนึ่งจึงกล่าวว่า ท่านไม่รู้
จึงถาม. คำนั้น ไม่ควรถือเอา. เพราะว่าไม่มีเหตุที่จะไม่รู้ในข้อนั้น. การ
ปรินิพพานของพระศาสดา ได้เป็นการกำหนดไว้ชัดแล้วด้วยนิมิตทั้งหลาย
มีหมื่นโลกธาตุไหวเป็นต้น พระเถระผู้รู้อยู่จึงถามเพื่อให้เกิดสติแก่ภิกษุทั้งหลาย
ด้วยคิดว่า ก็ในบริษัทของพระเถระ ภิกษุบางเหล่าก็เคยเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
บางเหล่าก็ไม่เคยเห็น บรรดาภิกษุเหล่านั้น แม้ภิกษุเหล่าใดเคยเห็นแล้ว
ภิกษุแม้เหล่านั้นก็ยังอยากจะเห็น แม้ภิกษุเหล่าใดไม่เคยเห็น แม้ภิกษุเหล่านั้น
ก็อยากอาทิผิด จะเห็นเหมือนกัน บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่าใดไม่เคยเห็น ภิกษุ
เหล่านั้นก็ไปเพราะกระหายที่จะเห็นยิ่งนัก ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ไหน
ทราบว่าปรินิพพานเสียแล้ว ก็จะไม่อาจจะดำรงตัวอยู่ได้ ทิ้งบาตรจีวร นุ่งผ้า
ผืนเดียวบ้าง นุ่งไม่ดีบ้าง ห่มไม่ดีบ้าง ทุบอกร่ำร้องไห้ ในที่นั้น ผู้คนทั้งหลาย
จักแสดงโทษของเราว่า เหล่าภิกษุผู้ถือบังสุกุลจีวริกังคธุดงค์ ที่มากับพระมหา
กัสสปะร้องไห้เสียเองเหมือนสตรี ภิกษุเหล่านั้นจักปลอบโยนพวกเราได้อย่างไร
ก็ป่าใหญ่นี้คงจะว่างเปล่า เมื่อภิกษุทั้งหลายร้องไห้เหมือนในที่นี้ ขึ้นชื่อว่า
โทษคงจะไม่มี เพราะรู้เรื่องเสียก่อน แม้ความโศกเศร้าก็คงจะเบาบางดังนี้.
บทว่า อชฺช สตฺตาหํ ปรินิพฺพุโต สมโณ โคตโม แปลว่า
นับถึงวันนี้ พระสมณโคดมปรินิพพานได้ ๗ วันแล้ว. บทว่า ตโต เม อิทํ
ได้แก่ ดอกมณทารพนี้ ข้าพเจ้าเก็บมาแล้วแต่สถานที่ปรินิพพานของพระสมณ
โคดมนั้น.
 
๑๓/๑๖๒/๔๔๙

วันจันทร์, เมษายน 15, 2567

Plae

 
นั่งบนตัวดี ตะโพกหนาทึบกลมกลึง ระหว่างเข่าเก็บของลับไว้ งางามเหมือน
งอนไถ ขนหางสวย โคนหางน่ายำเกรง สมบูรณ์ด้วยลักษณะครบทุกอย่าง
งามน่าดูเสมือนเมฆสีเขียวคราม ไปยังถิ่นที่ราชสีห์ชอบเยื้องกรายเหมือนก้อน
เมฆเดินได้ มีกำลังเท่า ๗ ช้างสาร ตกมัน ๗ ครั้ง มีพิษทั่วตัว เหมือน
มัจจุมารที่มีเรือนร่างทำให้เมามันมึนยิ่งขึ้น ปรนด้วยวิธีพิเศษเช่นคำข้าวคลุกกำ-
ยานหยอดยาตา รมควัน ฉาบทา เป็นต้น แล้วก็ส่งไปเพื่อต้องการปลงพระชนม์
พระมุนีผู้ประเสริฐ ผู้ป้องกันชนที่เป็นอริได้ เหมือนช้างเอราวัณ ป้องกันช้าง
ข้าศึกฉะนั้น ลำดับนั้น พญาช้างโทณมุขนั้น เป็นช้างพลายตัวดี พอหลุดไป
เท่านั้น ก็ฆ่าช้าง ควาย ม้า ชาย หญิง มีเนื้อตัวพร้อมทั้งงาและงวงเปรอะ
ไปด้วยเลือดของผู้ที่ถูกฆ่า มีตาที่คลุมด้วยข่ายแห่งความตาย หักทะลายเกวียน
บานประตู ประตูเรือนยอด เสาระเนียดเป็นต้น อันฝูงกา สุนัข และ แร้ง
เป็นต้นติดตามไป ตัดอวัยวะของควาย คน ม้า และ ช้างพลาย เป็นต้น
กินเหมือนยักษ์กินคน เห็นพระทศพลอันหมู่ศิษย์แวดล้อม กำลังเสด็จมาแต่
ไกล มีกำลังเร็วเสมือนครุฑในอากาศ มุ่งไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยความ
เร็ว.
ครั้งนั้น พวกชนชาวเมือง มีใจเปี่ยมแปล้อาทิผิด อักขระไปด้วยความเร่าร้อน เพราะ
ภัย ก็เข้าไปยังซากกองกำแพงแห่งปราสาท เห็นพระยาช้างวิ่งแล่นมุ่งหน้าตรง
พระตถาคตก็ส่งเสียงร้อง ฮ้า ! ฮ้า ! ส่วนอุบาสกบางพวก เริ่มห้ามกันพญา
ช้างนั้น ด้วยวิธีการต่างๆ. ลำดับนั้น คือพระพุทธนาคพระองค์นั้นทรง
แลดูพญาช้าง ซึ่งกำลังมา มีพระหฤทัยเยือกเย็นด้วยพระกรุณาแผ่ไป ก็ทรงแผ่
พระเมตตาไปยังพญาช้างนั้น. แต่นั้น พญาช้างเชือกนั้น ก็มีสันดานประจำ
ใจอันพระเมตตาที่ทรงแผ่ไปทำให้อ่อนโยนสำนึกรู้โทษและความผิดของตน
 
๗๓/๑๔/๕๑๙

วันอาทิตย์, เมษายน 14, 2567

Sap

 
พรรณนาคาถาว่า ยานีธ
บัดนี้ จะเริ่มพรรณนาความ เพราะข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ว่าจักพรรณนา
ความแห่งรัตนสูตรนั้น แต่อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
๕ คาถา นี้ ที่เหลือท่านพระอานนทเถระกล่าวจะอย่างไรก็ตาม ประโยชน์อะไร
ของเราด้วยคาถาเล็กน้อย ที่ยังไม่ได้ตรวจตรานี้ ข้าพเจ้าจักพรรณนาความแห่ง
รัตนสูตรนี้ แม้โดยประการทั้งปวง.
จะพรรณนาคาถาแรกว่า ยานีธ ภูตานิ เป็นต้น. ในคาถาแรกนั้น
บทว่า ยานิ ได้แก่ เช่นใด ไม่ว่าจะมีศักดิ์น้อยหรือศักดิ์มาก. บทว่า อิธ
แปลว่า ในประเทศนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงสถานที่ประชุมในขณะ
นั้น . ในบทว่า ภูตานิ ภูตศัพท์อาทิผิด อักขระ ใช้หมายถึงสิ่งที่มีอยู่ ได้ในประโยคเป็น
ต้นอย่างว่า ภูตสฺมึ ปาจิตฺติยํ เป็นอาบัติปาจิตตีย์ เพราะภูตคาม. ใช้
หมายถึง ขันธปัญจก ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ภูตมิทํ ภิกฺขเว
สมนุปสฺสถ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงพิจารณาเห็นขันธปัญจกนี้. ใช้
หมายถึงรูป มีปฐวีธาตุเป็นต้น ๔ อย่าง ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า
จตฺตาโร โข ภิกฺขุ มหาภูตา เหตุ ดูก่อนภิกษุ มหาภูตรูป ๔ แลเป็น
เหตุ. ใช้หมายถึงพระขีณาสพ ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า โย จ กาลฆโส
ภูโต ก็พระขีณาสพใดแล กินกาลเวลา. ใช้หมายถึงสรรพสัตว์ ได้ในประ-
โยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า สพฺเพว นิกฺขิปิสฺสนฺติ ภูตา โลเก สมุสฺสยํ
สรรพสัตว์จักทอดทิ้งเรือนร่างไว้ในโลก. ใช้หมายถึงต้นไม้เป็นต้นได้ในประโยค
เป็นต้นอย่างนี้ว่า ภูตคามปาตพฺยตาย ในเพราะพรากภูตคาม. ใช้หมาย
ถึงหมู่สัตว์ภายใต้เทพชั้นจาตุมมหาราช ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ภูตํ
ภูตโต สญฺชานาติ จำได้ซึ่งหมู่สัตว์โดยเป็นหมู่สัตว์ก็จริง ถึงกระนั้น ภูตํ
ศัพท์ พึงทราบว่าใช้ในอรรถว่า อมนุษย์ โดยไม่ต่างกัน.
 
๓๙/๗/๒๒๘

วันเสาร์, เมษายน 13, 2567

Chaeng

 
แนวทางคำถามไว้อย่างสูงว่า ดูก่อนภารทวาชะวิญญูชนเมื่อปฏิบัติด้วยหวังว่า
จักตามรักษาสัจจะ ไม่ควร คือไม่สมควรที่จะถึงการตกลงโดยส่วนเดียวอย่าง
นี้ว่า สิ่งที่เรายึดถือเท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า. คำว่า อิธ ภารทฺวาช ภิกฺขุ
ภารทวาชะ ภิกษุในศาสนานี้ ความว่า ตรัสหมายถึงพระองค์เอง เหมือน
ในชีวกสูตรและมหาวัจฉสูตร. คำว่า โลภนีเยสุ ธมฺเมสุ ในธรรม
เป็นที่ตั้งแห่งความโลภ คือ ในธรรมคือความโลภ. แม้ในสองบทที่เหลือ
ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. คำว่า สทฺธํ นิเวเสติ ย่อมตั้งลงซึ่งศรัทธา คือ
ย่อมตั้งลงซึ่งศรัทธาที่ไว้ใจได้. บทว่า เข้าไป แปลว่า เข้าไปหา. บทว่า
ปยิรุปาสติ แปลว่า นั่งในที่ใกล้ บทว่า โสตํ ได้แก่ เงี่ยโสตประสาท.
บทว่า ธรรม คือ ฟังเทศนาธรรม. บทว่า ทรงไว้ ความว่า กระทำให้
คล่องแคล่วทรงไว้. บทว่า ย่อมไต่สวน คือพิจารณาโดยอัตถะและการณะ
คำว่า ย่อมควรการเพ่ง คือ ย่อมควรตรวจดู. อธิบายว่า ย่อมปรากฏ
ได้อย่างนี้ว่า ศีลตรัสไว้ในที่นี้ สมาธิตรัสไว้ในที่นี้. ความพอใจคือความ
ต้องการที่จะทำ ชื่อว่า ฉันทะ. บทว่า ย่อมอุตสาหะ คือ ย่อมพยายาม.
คำว่า ย่อมเทียบเคียง คือย่อมพิจารณาด้วยอำนาจอนิจจลักษณะเป็นต้น.
บทว่า ย่อมตั้งความเพียร คือย่อมตั้งความเพียรในมรรค. คำว่า ทำให้
แจ้งปรมัตถสัจจะด้วยกาย ความว่า ทำให้แจ้งอาทิผิด อักขระพระนิพพานด้วยนามกายอัน
เป็นสหชาต และชำแหละกิเลสด้วยปัญญาเห็นแจ้งพระนิพพานนั้นนั่นแหละ
อย่างปรากฏชัดแจ้ง. บทว่า การตรัสรู้สัจจะ คือ การตรัสรู้มรรค. บทว่า
การบรรลุสัจจะ คือการทำให้แจ้งผล. บทว่า เหล่านั้นนั่นแหละ คือ ธรรม
๑๒ ประการ ที่กล่าวไว้แล้วในหนหลัง. ท่านย่อมอนุโลมการกล่าวถึงมรรค
อย่างยืดยาวอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงไม่มีอธิบายอย่างนี้.
 
๒๑/๖๖๐/๓๗๐

วันศุกร์, เมษายน 12, 2567

Nipphan

 
ที่ถูกแดดแผดเผาในกลางวัน และถูกหยาดน้ำค้างเปียกชุ่มอยู่
ในกลางคืนทำให้เสื่อมสภาพไป. อรหัตตมรรคญาณ เหมือนเมฆฝน
ที่ตกลงมา. ภิกษุผู้ปรารภวิปัสสนา เจริญวิปัสสนาด้วยอำนาจ
แห่งอารมณ์มีรูป ๗ หมวดเป็นต้น เมื่อกรรมฐานปรากฏชัดแจ่มแจ้ง
อยู่ ได้อุตุสัปปายะเป็นต้นในวันหนึ่ง นั่งโดยบัลลังก์ก็บรรลุพระ-
อรหัตตผล เหมือนเรือนที่ผุภายใน เพราะน้ำฝนที่ตกลงมาและ
น้ำในมหาสมุทร พระอรหันต์ผู้สิ้นสังโยชน์แล้ว อนุเคราะห์
มหาชนอยู่ ดำรงขันธ์ตลอดอายุขัย เหมือนเรือที่เครื่องผูกตั้งอยู่
ชั่วกาลนิดหน่อย พระขีณาสพผู้ปรินิพพานแล้ว ด้วยอนุปาทิเสส-
นิพพานอาทิผิด อักขระธาตุ เพราะการแตกแห่งอุปาทินนกขันธ์ สังขารที่มีใจครอง
ก็ถึงความหาบัญญัติมิได้ พึงเห็นเหมือนเรือที่เครื่องผูกผุ ก็สลาย
ไปโดยลำดับ หาบัญญัติมิได้ฉะนั้น. ด้วยอุปมานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงความที่สังโยชน์ทั้งหลาย มีกำลังอ่อนลง
จบ อรรถกถาภาวนาสูตรที่ ๗
 
๓๗/๖๘/๒๕๙

วันพฤหัสบดี, เมษายน 11, 2567

Banlang

 
ก็เหมือนกันอย่างนั้นแหละ พึงกล่าวว่า ง่ายสำหรับพระอานนท์ ผู้เข้า
ถึงญาณ (มีปัญญามาก) แต่ไม่พึงกล่าวว่า ง่ายสำหรับภิกษุเหล่าอื่น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า “ดูก่อนอานนท์ เธออย่ากล่าวอย่างนี้” ดังนี้
ทรงหมายเอาข้อความนี้แล.
จริงอยู่ ปฏิจจสมุปบาท แม้จะเป็นธรรมที่ลึกซึ้ง แต่ก็ปรากฏว่า
เป็นธรรมง่ายแก่พระอานนทเถระ ด้วยเหตุ ๔ ประการ. เหตุ ๔ ประการ
คืออะไรบ้าง. คือ ด้วยการถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยในปางก่อน ๑ ด้วยการ
อยู่ใกล้ศาสดา ๑ ด้วยความเป็นผู้บรรลุกระแสธรรม ๑ ด้วยความเป็นผู้
ได้ยินได้ฟังมาก ๑.
เล่ากันมาว่า ในแสนกัป นับแต่ภัทรกัปนี้ไป ได้มีพระศาสดา
ทรงพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก พระองค์ทรงมีนคร
ที่ประทับนามว่า หังสวดี ทรงมีพระบิดาเป็นพระราชา ทรงพระนามว่า
อานันทะ ทรงมีพระมารดาเป็นพระเทวี ทรงพระนามว่า สุเมธา
พระโพธิสัตว์ทรงพระนามว่า อุตตรกุมาร. พระองค์ได้เสด็จออก
มหาภิเนษกรมณ์ ในวันที่พระโอรสประสูติ ทรงผนวชแล้วประกอบ
ความเพียรเนือง ๆ ทรงบรรลุสัพพัญญุตญาณตามลำดับ ทรงเปล่งอุทาน
ว่า อเนกชาติสํสารํ เป็นอาทิ ทรงยับยั้งให้เวลาล่วงไปที่โพธิบัลลังก์อาทิผิด
สิ้น ๗ วันแล้ว ทรงยกพระบาทออกด้วยพระดำริว่า “เราจักเอาเท้า
เหยียบแผ่นดิน.” ขณะนั้น ดอกบัวหลวงดอกใหญ่ ก็ชำแรกแผ่นดิน
ปรากฏขึ้น กลีบดอกบัวนั้น วัดได้ ๙๐ ศอก เกสร ๓๐ ศอก ฝัก ๑๒
ศอก มีละอองเกสรประมาณ ๙ หม้อ.
ส่วนพระศาสดา โดยส่วนสูง ทรงสูง ๕๘ ศอก ระหว่างพระ-
 
๒๖/๒๒๙/๒๗๘

วันพุธ, เมษายน 10, 2567

Kha

 
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สหสฺสคฺฆํ หิ มํ ความว่า ข้าแต่
สมมติเทพ พระบิดาพระราชทานหม่อมฉันแก่พราหมณ์ ทรงตีราคาพันลิ่ม
ทองคำ. บทว่า อจฺฉํ ความว่า แต่น้องหญิงกัณหาชินาของหม่อมฉัน บทว่า
หตฺถิอาทิสเตน ความว่า พระชาลีทูลว่า พระบิดาทรงตีราคาด้วยช้าง ม้า
รถ เหล่านั้นทั้งหมดอย่างละร้อยแม้โดยที่สุดจนเตียงและตั่งก็อย่างละร้อยทั้งนั้น.
พระเจ้าสญชัยได้ทรงฟังพระชาลีกราบทูล เมื่อจะทรงโปรดให้ไถ่พระ-
กุมารกุมารีทั้งสององค์ จึงตรัสว่า
ดูก่อนเสวกามาตย์ เจ้าจงลุกขึ้น รีบให้ทาสี
ทาส โคเมีย โคผู้ ช้าง อย่างละร้อยๆ แก่พราหมณ์
เป็นค่าไถ่แม่กัณหา และจงให้ทองคำพันตำลึงเป็นค่าอาทิผิด อักขระ
ไถ่พ่อชาลี.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวากรา ได้แก่ จงให้. บทว่า นิกฺกยํ
ความว่า จงให้ค่าไถ่.
เสวกามาตย์ทั้งหลายได้ฟังพระดำรัสสั่งดังนั้นแล้วจึงกระทำตามนั้น
ได้จัดค่าไถ่สองกุมารให้แก่พราหมณ์ทันที.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
แต่นั้น เสวกามาตย์รีบให้ทาสี ทาส โคเมีย โค
ผู้ ช้าง อย่างละร้อย ๆ แก่พราหมณ์เป็นค่าไถ่พระ-
กัณหา และได้ให้ทองคำพันตำลึงเป็นค่าพระชาลี.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวากริ ได้แก่ ได้ให้แล้ว บทว่า
นิกฺกยํ ความว่า ให้ค่าไถ่.
พระเจ้าสญชัยได้พระราชทานสิ่งทั้งปวงอย่างละร้อยและทองคำพันตำลึง
แก่พราหมณ์ชูชกเป็นค่าไถ่พระราชกุมารกุมารี และพระราชทานปราสาท ๗
 
๖๔/๑๒๖๙/๗๘๑

วันอังคาร, เมษายน 09, 2567

Khop ha

 
อธิบายกำลังข้อที่ ๕
คำว่า หีนาธิมุตฺติกา ได้แก่ อัธยาศัยอันเลวทราม. คำว่า ปณีตา-
ธิมุตฺติกา ได้แก่ มีอัธยาศัยอันดี. คำว่า เสวนฺติ ได้แก่ (ย่อมคบหา
สมาคม) ย่อมอาศัย ย่อมติดใจ. คำว่า ภชนฺติ ได้แก่ การเข้าไปใกล้.
คำว่า ปยิรุปาสนฺติ ได้แก่ การเข้าไปหาบ่อย ๆ จริงอยู่ ถ้าว่าพระอาจารย์
และอุปัชฌาย์ไม่มีศีล สัทธิวิหาริก (ผู้อยู่ร่วม) มีศีล สัทธิวิหาริกเหล่านั้น
ย่อมไม่เข้าไปใกล้แม้ในอาจารย์และอุปัชฌาย์ของตน ย่อมเข้าไปใกล้ในภิกษุผู้
สมควรเช่นกับตนเท่านั้น. ถ้าว่าอาจารย์และอุปัชฌาย์คนใดเป็นผู้มีศีล สัทธิ-
วิหาริกไม่มีศีล ก็ย่อมไม่เข้าไปใกล้อาจารย์และอุปัชฌาย์ ย่อมเข้าไปใกล้ภิกษุผู้มี
อัธยาศัยเลวเช่นกับตนเท่านั้น. ก็การเข้าไปคบหาอาทิผิด อักขระสมาคมด้วยอาการอย่างนี้ ไม่
มีในกาลบัดนี้เท่านั้น เพื่อแสดงว่า มีแล้วแม้แต่ในอดีตกาล และจักมีใน
อนาคตกาล ดังนี้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อตีตมฺปิ
อทฺธานํ เป็นต้น. คำนั้นมีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
ถามว่า บุคคลผู้ทุศีลคบหาสมาคมกับผู้ทุศีลด้วยกัน บุคคลผู้มีศีลคบ
หาสมาคมกับผู้มีศีลด้วยกัน ผู้มีปัญญาทรามคบหาสมาคมกับผู้มีปัญญาทรามด้วย
กัน บุคคลผู้มีปัญญาดีคบหาสมาคมกับผู้มีปัญญาดีด้วยกันเท่านั้น. อะไรย่อม
กำหนด ?
ตอบว่า อัชฌาสยธาตุ (ความพอใจอันเป็นมูลเดิม) ย่อมกำหนด.
ได้ยินว่า ภิกษุทั้งหลายมีจำนวนมาก ย่อมเที่ยวไปสู่บ้านหนึ่ง เป็น
การไปเพื่อภิกษาเป็นคณะ. พวกมนุษย์นำอาหารจำนวนมากใส่บาตรให้เต็มถวาย
แล้ว ก็ส่งไปด้วยคำว่า ขอท่านทั้งหลายจงฉันอาหารตามส่วนของท่านทั้งหลาย
ดังนี้. แม้ภิกษุทั้งหลายก็กล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุ พวกมนุษย์ย่อมประกอบการ
งานอันประกอบพร้อมด้วยธาตุ (ความพอใจ) ดังนี้. แม้พระเถระชื่อว่า จูฬาภัย
 
๗๘/๘๔๘/๗๓๙

วันจันทร์, เมษายน 08, 2567

Sena

 
บรรดาเด็กทั้งสองนั้น มารดาบิดาได้ตั้งชื่อของผู้พี่ชายว่า “ เสนะอาทิผิด สระ
ของผู้น้องชายว่า “ อปราชิต.” เมื่อพี่น้องทั้งสองนั้น กำลังรวบรวม
ขุมทรัพย์อยู่ ในเวลาเติบโตแล้ว, เสนกุฎุมพี ได้ฟังการป่าวร้องใน
พันธุมดีนครของอุบาสกผู้โฆษณาธรรมว่า “ พุทธรัตนะเกิดขึ้นแล้วใน
โลก, ธรรมรัตนะเกิดขึ้นแล้วในโลก, สังฆรัตนะเกิดขึ้นแล้วในโลก,
พวกท่านจงให้ทานทั้งหลาย จงทำบุญทั้งหลาย วันนี้เป็นดิถีที่ ๑๔
วันนี้เป็นดิถีที่ ๑๕, พวกท่านจงทำอุโบสถ จงฟังธรรม” เห็นมหาชน
ถวายทานในกาลก่อนภัตแล้ว ไปเพื่อฟังธรรมในกาลภายหลังภัต จึงถามว่า
“ พวกท่านจะไปไหน ?” เมื่อมหาชนบอกว่า “พวกฉันจะไปสู่สำนัก
พระศาสดา เพื่อฟังธรรม.“ จึงพูดว่า “ แม้ฉันก็จักไป ” แล้วก็ไปพร้อม
กับชนเหล่านั้นทีเดียว นั่งแล้วในที่สุดบริษัท.
พระศาสดาทรงทราบอัธยาศัยของเขา จึงตรัสอนุปุพพีกถา. เขาฟัง
ธรรมของพระศาสดาแล้ว เกิดความอุตสาหะในบรรพชา จึงทูลขอ
บรรพชากะพระศาสดา.
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามเขาว่า “ ก็พวกญาติที่ท่านจะพึงอำลา
มีไหม ?”
เสนกุฎุมพี. มี พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. ถ้าอย่างนั้น ท่านไปอำลา แล้วจงมา.
พี่ชายลาน้องชายออกบวชแล้วได้บรรลุพระอรหัต
เขาไปสู่สำนักของน้องชายแล้ว กล่าวว่า “ ทรัพย์สมบัติใด มีอยู่
ในตระกูลนี้ ทรัพย์สมบัตินั้นทั้งหมด จงเป็นของเจ้า.”
๑. หมายความว่า ได้ตั้งหลักฐานในการครองเรือนแล้ว.
 
๔๓/๓๖/๕๒๒

วันอาทิตย์, เมษายน 07, 2567

Chueng

 
บทว่า อปฺปกสิเรเนว ได้แก่ โดยไม่ลำบากเลย. อมตนิพพาน
ท่านกล่าวว่า ฝั่ง ดังนั้น นิพพาน ซึ่งออกจากเครื่องร้อยรัดคือตัณหา
ท่านกล่าวว่า ฝั่ง ซึ่งเป็นฝั่งนอกจากฝั่งในแห่งสักกายทิฏฐิ.
บทว่า โยโส ได้แก่ นี้ใด. บททั้งปวงมีบทว่า สพฺพสงฺขาร
สมโถ เป็นต้น หมายความถึงพระนิพพานทั้งนั้น ก็เพราะความสะเทือน
แห่งสังขารทั้งปวง ความหวั่นไหวแห่งสังขารทั้งปวง ความดิ้นรนแห่ง
สังขารทั้งปวง ย่อมสงบ ย่อมระงับ เพราะอาศัยนิพพานนั้น ฉะนั้น ท่าน
จึงอาทิผิด สระกล่าวนิพพานว่า เป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง.
อนึ่ง เพราะอุปธิทั้งปวงย่อมเป็นอันสละคืนได้ ตัณหาทั้งปวงย่อม
สิ้นไป ความกำหนัดคือกิเลสทั้งปวงย่อมคลายไป ทุกข์ทั้งปวงย่อมดับไป
เพราะอาศัยนิพพานนั้น ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวนิพพานว่า เป็นที่สละคืน
อุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับ ก็ตัณหานี้
ท่านเรียกว่า วานะ เพราะวิเคราะห์ว่า ย่อมร้อยรัด ย่อมเย็บภพกับภพ
กรรมกับผล. ชื่อว่า นิพพานเพราะออกจากวานะนั้น พึงถึงฝั่ง คือพึง
ถึง พึงบรรลุฝั่งคือนิพพาน ด้วยโคตรภูญาณที่ออกโดยส่วนเดียว ด้วย
สามารถแห่งนิมิต พึงถึงฝั่งคือนิพพาน ด้วยมรรคญาณที่ออกโดยส่วน
๒ เป็นพิเศษ ด้วยความเป็นไปแห่งนิมิต พึงถูกต้อง คือพึงสัมผัส
ฝั่งคือนิพพาน ด้วยผลจิตซึ่งมีนิพพานเป็นอารมณ์.
บทว่า สจฺฉิกเรยฺย ความว่า พึงถูกต้องด้วยสามารถแห่งคุณแล้ว
กระทำฝั่งคือนิพพานให้ประจักษ์ ด้วยปัจจเวกขณญาณ อีกอย่างหนึ่ง
อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาว่า พึงถึงฝั่งด้วยโสดาปัตติมรรค พึงบรรลุด้วย
 
๖๕/๒๙/๑๖๙