วันศุกร์, เมษายน 19, 2567

Pluk

 
ไม่ทำให้เจริญใจ และเพราะไม่สบอารมณ์ ชื่อว่า ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล
เพราะไม่เจริญต่อไป ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะบีบคั้น.
บทว่า ตํ กิสฺส เหตุ ความว่า การเป็นไปอย่างนั้นเพราะเหตุไร.
แสดงถึงเหตุนั้นว่า เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก. อธิบายว่า เพราะทิฏฐิของ
บุคคลนั้นเลวทราม ลามก ฉะนั้นจึงเป็นไปอย่างนั้น.
บทว่า อลฺลาย ปฐวิยา นิกฺขิตฺตํ (ฝังลงในแผ่นดินเปียก) คือ
ปลูกอาทิผิด สระลงไปในแผ่นดินที่ชุ่มด้วยน้ำ. บทว่า ปฐวีรสํ อาโปรสํ (รสแผ่นดิน
รสน้ำ) ความว่า ในที่นั้นๆ สมบูรณ์ด้วยแผ่นดินและน้ำ. เพราะในที่ที่ฝังพืช
แผ่นดินทั้งหมดและน้ำทั้งหมด ไม่ยังพืชและผลให้ผลิตได้. ส่วนพื้นที่ของ
แผ่นดินและน้ำเหล่านั้นเท่านั้นที่สัมผัสพืช ย่อมให้พืชผลผลิตได้. เพราะฉะนั้น
พื้นที่นั้นจึงเป็นปัจจัยเพื่อเลี้ยงพืช พึงทราบว่าเป็นรสแผ่นดิน เป็นรสน้ำ.
เพราะรสศัพท์มีความสมบูรณ์ เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวว่า ชื่อว่ารส ท่านกล่าว
ด้วยความสมบูรณ์ด้วยกิจ อนึ่ง เมื่อชาวโลกกล่าวว่า คนธรรพ์มีเสียงดี ย่อม
รู้ความว่า คนธรรพ์สมบูรณ์ดีแล้ว.
บทว่า อุปาทิยติ คือ ถือเอา. เพราะพืชได้พื้นที่ที่เป็นปัจจัย ย่อม
ผลิตได้. บทว่า สพฺพนฺตํ คือรสทั้งปวงนั้น. บทว่า ติตฺตกตฺตาย (เพื่อ
ความเป็นของมีรสขม) ความว่า รสแผ่นดิน และรสน้ำนั้น แม้ไม่มีรสขม
อาศัยพืชที่ขม ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นของขมแห่งต้นสะเดาเป็นต้น และผล
เท่านั้น. บทว่า กฏุกตฺตาย (มีรสปร่า) นี้เป็นไวพจน์ของบทก่อนนั่นเอง.
พึงทราบว่ารสขมในที่นี้ชื่อว่า รสปร่า เพราะไม่เป็นที่ชอบใจดุจในอาคตสถานว่า
มะม่วงนี้เมื่อก่อนได้รับความนิยมมีสีกลิ่นและ
รส เพราะเหตุไร มะม่วงจึงมีรสปร่าไป.
 
๖๙/๓๖๑/๕๐

ไม่มีความคิดเห็น: