วันเสาร์, ธันวาคม 31, 2565

Du kon

 
[๑๗๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งได้เกิดความปริวิตก
แห่งใจขึ้นว่า เมื่อบุคคลรู้อย่างไร เห็นอย่างไรหนอ อาสวะทั้งหลายจึง
สิ้นไปโดยลำดับ ? พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกแห่งใจ
ของภิกษุนั้นด้วยพระทัย จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราแสดงธรรมด้วยการเลือกเฟ้น แสดงสติปัฏฐาน ๔
ด้วยการเลือกเฟ้น แสดงสัมมัปปธาน ๔ ด้วยการเลือกเฟ้น แสดง
อิทธิบาท ๔ ด้วยการเลือกเฟ้น แสดงอินทรีย์ ๕ ด้วยการเลือกเฟ้น
แสดงพละ ๕ ด้วยการเลือกเฟ้น แสดงโพชฌงค์ ๗ ด้วยการเลือกเฟ้น
แสดงอริยมรรคมีองค์ ๘ ด้วยการเลือกเฟ้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราได้แสดงธรรมด้วยการเลือกเฟ้นเช่นนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธรรมอันเราแสดงด้วยการเลือกเฟ้นเช่นนี้ เออก็มีภิกษุบางรูปใน
ธรรมวินัยนี้ ยังเกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้นว่า เมื่อบุคคลรู้อย่างไร
เห็นอย่างไรหนอ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ ?
[๑๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลรู้อย่างไร เห็นอย่างไร
อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนใน
โลกนี้ ผู้มิได้สดับแล้ว ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาดใน
อริยธรรม มิได้รับแนะนำในอริยธรรม ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดใน
สัปปุริสธรรม ไม่ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม ย่อมตามเห็นรูป
โดยความเป็นอัตตา ดูอาทิผิด อักขระก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็การตามเห็นดังนั้นแลเป็น
สังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุก่อให้เกิดขึ้น
มีอะไรเป็นผู้ก่อเกิด มีอะไรเป็นต้นกำเนิด? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว ผู้อันความ
เสวยอารมณ์ที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ด้วยประการฉะนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุ
 
๒๗/๑๗๔/๒๒๔

วันศุกร์, ธันวาคม 30, 2565

Den

 
เท่านั้น เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวคำนี้ว่า ก็สมัยนั้นถูปารามเป็นที่ตั้ง
แห่งบริโภคเจดีย์ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ๓ พระองค์.
ที่นี่นั้น เมื่อพระเจดีย์สาบสูญไปแล้ว ถูกห้อมล้อมอยู่ด้วยพุ่มไม้ต่างๆ
ที่มีเรียวกิ่งสะพรั่งไปด้วยหนาม ด้วยอานุภาพของเทวดา โดยตั้งใจว่า ใคร ๆ
อย่าได้ประทุษร้ายที่นั้น ด้วยของเป็นเดนอาทิผิด ของไม่สะอาด มลทินและหยากเยื่อ.
[ช้างไม่ยอมให้ยกพระธาตุลงจากกระพอง]
ครั้งนั้น พวกราชบุรุษล่วงหน้าไปก่อนช้างนั้น ถางพุ่มไม้ทั้งหมด
ปราบพื้นที่ทำที่นั้นให้ราบเหมือนฝ่ามือ. พญาช้างเดินบ่ายหน้าไปยังที่นั้น ได้
ยืนอยู่ที่ฐานต้นโพธิ์ทางทิศปัจฉิมแห่งที่นั้น. ครั้งนั้น พวกราชบุรุษปรารภจะ
ยกพระธาตุลงจากกระพองช้างนั้น. พญาช้างไม่ยอมให้ยกลง. พระราชาตรัสถาม
พระเถระว่า ท่านผู้เจริญ ! เพราะเหตุไร ช้างจึงไม่ยอมให้ยกพระธาตุลง
พระเถระถวายพระพรว่า มหาบพิตร ! พระธาตุที่ยกขึ้นแล้วจะยกลงไม่สมควร.
ก็ในกาลนั้น น้ำในบึงอภัยวาปีแห้งขาดไป. พื้นดินโดยรอบแตกระแหง
ก้อนดินเหนียว ยกขึ้นได้ง่าย มหาชนเร่งรีบช่วยกันนำดินจากบึงอภัยวาปีนั้น
มาทำพื้นที่ (ฐาน) ประมาณเท่ากระพองช้าง. ในขณะนั้นนั่นเอง ชนทั้งหลาย
เริ่มปั้นอิฐ เพื่อสร้างพระสถูป. พญาช้างยืนอยู่ในโรงช้างใกล้ฐานของต้นโพธิ์
ในเวลากลางวัน กลางคืนรักษาพื้นที่ที่จะสร้างพระสถูป ๒-๓ วัน จนกว่าอิฐ
จะสำเร็จ. ครั้งนั้น พระราชารับสั่งให้ก่อพื้นที่ (ฐาน, ที่ตั้ง) แล้วตรัสถาม
พระเถระว่า ข้าพเจ้าพึงสร้างพระสถูปมีรูปลักษณะอย่างไร ท่านผู้เจริญ ?
พระเถระถวายพระพรว่า เช่นกับกองข้าวเปลือก มหาบพิตร ! พระราชาทรง
รับสั่งว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ! รับสั่งให้ก่อพระสถูปขนาดฐานชุกชีแล้ว ให้
กระทำสักการะใหญ่ เพื่อต้องการยกพระธาตุขึ้น.
 
๑/๙/๑๔๘

วันพฤหัสบดี, ธันวาคม 29, 2565

Khwam

 
เรื่องพระผู้เฒ่า ๓ เรื่อง
[๒๐๘] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล บิดาและบุตรบวชอยู่ในสำนักภิกษุ
เมื่อเขาบอกภัตกาลแล้ว ภิกษุผู้บุตรได้กล่าวกะภิกษุผู้บิดาว่า นิมนต์ไปเถิด
ขอรับ พระสงฆ์กำลังคอยท่านอยู่ แล้วดุนหลังผลักไป ภิกษุผู้บิดาได้ล้มลง
ถึงมรณภาพ ภิกษุผู้บุตรนั้นมีความอาทิผิด อักขระรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อน
ภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า ไม่มีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ พระพุทธ-
เจ้าข้า.
ภ. ภิกษุไม่มีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ ไม่ต้องอาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล บิดาและบุตรบวชอยู่ในสำนักภิกษุ เมื่อเขา
บอกภัตกาลแล้ว ภิกษุผู้บุตรได้กล่าวกะภิกษุผู้บิดาว่า นิมนต์ไปเถิด ขอรับ
พระสงฆ์กำลังคอยท่านอยู่ ภิกษุผู้บุตรมีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ จึง
ดุนหลังผลักไป ภิกษุผู้บิดาได้ล้มลงถึงมรณภาพ ภิกษุผู้บุตรมีความรังเกียจว่า
เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๓. ก็โดยสมัยนั้นแล บิดาและบุตรบวชอยู่ในสำนักภิกษุ เมื่อเขา
บอกภัตกาลแล้ว ภิกษุผู้บุตรได้กล่าวกะภิกษุผู้บิดาว่า นิมนต์ไปเถิด ขอรับ
พระสงฆ์กำลังคอยท่านอยู่ ภิกษุผู้บุตรมีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ จึง
ดุนหลังผลักไป ภิกษุผู้บิดาได้ล้มลง แต่ไม่ถึงมรณภาพ ภิกษุผู้บุตรมีความ
 
๒/๒๐๘/๒๘๑

วันพุธ, ธันวาคม 28, 2565

Khong

 
อรรถกถาสูตรที่ ๓

ประวัติพระโกณฑธานเถระ

พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๓ (เรื่องพระโกณฑธานะ) ดังต่อ
ไปนี้.
ด้วยบทว่า ปฐมสลากํ คณฺหนฺตานํ พระศาสดาทรงแสดงว่า
พระโกณฑธานเถระ. เป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้จับสลากได้ก่อน
ภิกษุอื่นทั้งหมด
ได้ยินมาว่า พระเถระนั้นเมื่อพระตถาคตเสด็จไปอุคคนคร
ในวันที่นางมหาสุภัททานิมนต์ เมื่อภิกษุบอกกล่าวว่า วันนี้พระ-
ศาสดาจักเสด็จภิกขาจารไกล ภิกษุปุถุชนอย่าจับสลาก พระขีณาสพ
๕๐๐ รูปจงจับ, ก็บันลือสีหนาทจับสลากได้ที่ ๑ ทีเดียว เมื่อพระ-
ตถาคตเสด็จไปเมืองสาเกตในวันที่นางจุลลสุภัททานิมนต์ ก็จับ
สลากได้เป็นที่ ๑ เหมือนกัน ในระหว่างภิกษุ ๕๐๐ รูป, แม้ใน
คราวเสด็จไปยังชนบทสุนาปรันตปะก็เหมือนกัน ด้วยเหตุเหล่านี้
พระเถระจึงชื่อว่าเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้จับสลากได้ที่ ๑ อนึ่ง
คำว่ากุณฑธาน เป็นชื่อของอาทิผิด อักขระท่าน ในปัญหากรรมของท่านมีเรื่อง
ที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไปนี้ :-
ได้ยินว่า ครั้งพระปทุมุตตรพุทธเจ้า พระเถระนี้บังเกิดใน
เรือนของครอบครัวกรุงหงสวดี ไปวิหารฟังธรรมโดยนัยดังกล่าว
แล้วนั่นแหละ เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่ง
 
๓๒/๑๔๘/๔๐๖

วันอังคาร, ธันวาคม 27, 2565

Sathup

 
ครั้งนั้น เรามุ่นมวยผมสะพายคนโทน้ำ
เมื่อจะแสวงหาประโยชน์อันสูงสุด ได้ออกไปจาก
ป่าใหญ่
ครั้งนั้น ศิษย์ ๘๔,๐๐๐ คน อุปัฏฐากเรา
เขาทั้งหลายขวนขวายเฉพาะกรรมของตนอยู่ใน
ป่าใหญ่
เราออกจากอาศรม ก่อพระเจดีย์ทราย
แล้วรวบรวมเอาดอกไม้นานาชนิดมาบูชาพระเจดีย์
นั้น
เรายังจิตให้เลื่อมใสพระเจดีย์นั้น แล้ว
เข้าไปสู่อาศรม พวกศิษย์ได้มาประชุมพร้อมกัน
ทุกคนแล้ว ถามถึงความข้อนี้ว่า
ข้าแต่ท่านผู้ประเสริฐ สถูปอาทิผิด สระที่ท่านนมัส-
การก่อด้วยทราย แม้ข้าพเจ้าทั้งหลายก็อยากจะรู้
ท่านอันข้าพเจ้าทั้งหลายถามแล้ว ขอจงบอกแก่
ข้าพเจ้าทั้งหลาย.
เราตอบว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้มี
พระจักษุ มียศใหญ่ ท่านทั้งหลายได้พบแล้วใน
บทมนต์ของเรามิใช่หรือ เรานมัสการพระพุทธ -
เจ้าผู้ประเสริฐสุด มียศใหญ่เหล่านั้น.
ศิษย์เหล่านั้นได้ถามอีกว่า พระพุทธเจ้า
ผู้มีความเพียรใหญ่ รู้ไญยธรรมทั้งปวง ทรงเป็น
 
๗๒/๗๗/๑๓๒

วันจันทร์, ธันวาคม 26, 2565

Burut

 
การกระทำของคุณนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
ภิกษุสหายเหล่านั้น ติเตียนท่านพระสุทินน์โดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว
ได้กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
[๒๐] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ใน
เพราะเหตุเป็นมูลเค้านั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่าน
พระสุทินน์ว่า ดูก่อนสุทินน์ ข่าวว่าเธอเสพเมถุนธรรม ในปุราณทุติยิกา
จริงหรือ.
ท่านพระสุทินน์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษอาทิผิด สระ การกระทำของ
เธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ
เธอบวชในธรรมวินัยที่เรากล่าวไว้ดีอย่างนี้แล้ว ไฉนจึงไม่สามารถประพฤติ
พรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิตเล่า
ดูก่อนโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อคลาย
ความกำหนัด ไม่ใช่เพื่อมีความกำหนัด เพื่อความพราก ไม่ใช่เพื่อความ
ประกอบ เพื่อความไม่ถือมั่น ไม่ใช่เพื่อมีความถือมั่น มิใช่หรือ เมื่อธรรม
ชื่อนั้นอันเราแสดงแล้ว เพื่อคลายความกำหนัด เธอยังจักคิดเพื่อมีความกำหนัด
เราแสดงเพื่อความพราก เธอยังจักคิดเพื่อความประกอบ เราแสดงเพื่อความ
ไม่ถือมั่น เธอยังจักคิดเพื่อมีความถือมั่น
ดูก่อนโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อเป็นที่
สำรอกแห่งราคะ เพื่อเป็นที่สร่างแห่งความเมา เพื่อเป็นที่ดับสูญแห่งความ
 
๑/๒๐/๓๙๑

วันอาทิตย์, ธันวาคม 25, 2565

Mom Chan

 
เสมอด้วยทาสี ๑ ดูก่อนนางสุชาดา ภริยาของบุรุษ ๗ จำพวกแล
เธอเป็นจำพวกไหนใน ๗ จำพวกนั้น
นางสุชาดากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉัน
ยังไม่รู้ทั่วถึงความแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว
โดยย่อนี้ได้โดยพิสดาร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระ-
วโรกาส พระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงแสดงธรรมแก่หม่อมฉัน
โดยที่หม่อมอาทิผิด อักขระฉันจะพึงรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสโดยย่อนี้ โดยพิสดารเถิด.
พ. ดูก่อนนางสุชาดา ถ้าอย่างนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าว นางสุชาดาหญิงสะใภ้ในเรือนทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
ภริยาผู้มีจิตประทุษร้าย ไม่อนุเคราะห์
ด้วยประโยชน์เกื้อกูลยินดีในชายอื่น ดูหมิ่นสามี
เป็นผู้อันเขาซื้อมาด้วยทรัพย์ พยายามจะฆ่าผัว
ภริยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียกว่า วธกาภริยา
ภริยาเสมอด้วยเพชฌฆาต สามีของหญิงประกอบ
ด้วยศิลปธรรม พาณิชยกรรม และกสิกรรม ได้
ทรัพย์ใดมา ภริยาปรารถนาจะยักยอกทรัพย์ แม้
มีอยู่น้อยนั้นเสีย ภริยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียก
ว่า โจรภริยา ภริยาเสมอด้วยโจร ภริยาที่ไม่สนใจ
การงาน เกียจคร้าน กินมาก ปากร้าย ปากกล้า
ร้ายกาจ กล่าวคำหยาบ ข่มขี่ผัวผู้ขยันขันแข็ง
 
๓๗/๖๐/๑๙๘

วันเสาร์, ธันวาคม 24, 2565

Phu

 
ลาด ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้า
ไปถึงที่แล้ว ไม่ยินดีการหยุดอยู่ ไม่ยินดีการถอนออก ไม่ต้องอาบัติ.
๒๗. มนุสสิตถี มตะเยภุยยะขายิตะจตุกกะ [ยอนปาก]
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูก
สัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด
ของหญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงที่แล้ว
ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้อาทิผิด อาณัติกะตายแล้วถูก
สัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของ
หญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิงผู้ตายแล้วถูก
สัตว์กัดโดยมาก แล้วให้ยอนปากด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ของ
หญิงไม่มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ของหญิงมีเครื่องลาด ๑
ของภิกษุมีเครื่องลาด ของหญิงก็มีเครื่องลาด ๑ ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด
ของหญิงก็ไม่มีเครื่องลาด ๑ ถ้าเธอไม่ยินดีการเข้าไป ไม่ยินดีการเข้าไปถึงที่
แล้ว แต่ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนออก ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
 
๑/๔๓/๖๒๗

วันศุกร์, ธันวาคม 23, 2565

Cham Phuak

 
๗. สังฆโสภณสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ทำหมู่ให้งาม ๔ จำพวก
[๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้ ที่ฉลาด มีวินัย
กล้าหาญ สดับมาก ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมยังหมู่
ให้งาม บุคคล ๔ จำพวกอาทิผิด สระเหล่านี้คือใคร คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้แล ที่ฉลาด มีวินัย กล้าหาญ สดับมาก ทรงธรรม
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมยังหมู่ให้งาม
บุคคลใด เป็นผู้ฉลาดและกล้าหาญ
เป็นผู้สดับมาก และทรงจำธรรม เป็นผู้
ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม บุคคลเช่น
นั้นนั่น เรียกว่าผู้ยังหมู่ให้งาม ภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก และอุบาสิกา เป็นผู้มีศรัทธา
สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นพหูสูต บุคคลเหล่านี้
แลยังหมู่ให้งาม บุคคลเหล่านี้เป็นสังฆ-
โสภณ (ผู้ยังหมู่ให้งาม) แท้จริง.
จบสังฆโสภณสูตรที่ ๗
 
๓๕/๑๘/๗

วันพฤหัสบดี, ธันวาคม 22, 2565

Khai

 
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม
เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในพระธรรมว่า ธรรมอัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว อันบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน
[แล] เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์
สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติเป็นธรรม ปฏิบัติ
ชอบยิ่ง คือ คู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นั่นแหละ พระสงฆ์สาวกของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรรับเครื่องสักการะ เป็นผู้ควรของต้อนรับ
เป็นผู้ควรทักขิณา เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญ
อื่นยิ่งกว่า ก็เพราะเหตุที่กิเลสนั้น ๆ อัน ภิกษุนั้นสละได้แล้ว คายอาทิผิด อักขระแล้ว
ปล่อยแล้ว ละเสียแล้ว สละคืนแล้ว เธอย่อมได้ความรู้แจ้งอรรถ ย่อม
ได้ความรู้แจ้งธรรม ย่อมได้ปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรมว่า เราเป็น
ผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในพระพุทธเจ้า เราเป็นผู้ประกอบ
ด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในพระธรรม เราเป็นผู้ประกอบด้วยความ
เลื่อมใสอันแน่วแน่ในพระสงฆ์ และเพราะกิเลสนั้น ๆ อัน เราสละได้แล้ว
คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละเสียแล้ว สละคืนแล้ว ดังนี้ เมื่อปราโมทย์แล้ว
ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้ว ย่อมได้
เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
[๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นแลมีศีลอย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้
มีปัญญาอย่างนี้ ถึงแม้จะฉันบิณฑบาตข้าวสาลีปราศจากเมล็ดดำ มีแกงมี
กับมิใช่น้อย การฉันบิณฑบาตของภิกษุนั้น ก็ไม่มีอันตรายเลย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผ้าอันเศร้าหมอง มลทินจับ อาศัยน้ำอันใส
 
๑๗/๙๕/๔๓๕

วันพุธ, ธันวาคม 21, 2565

Chueng

 
สมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกเธอจึงได้ให้สร้างกุฎีซึ่งมีเครื่อง
อุปกรณ์ที่ตนต้องขอเขามาเอง อันหาเจ้าของมิได้ เป็นส่วนเฉพาะตน
ใหญ่ไม่มีกำหนดเล่า กุฎีเหล่านั้นจึงอาทิผิด สระไม่สำเร็จ พวกเธอจึงต้องมีการ
วิงวอน มีการขอเขาอยู่ร่ำไปว่า ท่านทั้งหลายจงให้บุรุษ จงให้แรง
บุรุษ จงให้โค จงให้เกวียน จงให้มีด จงให้ขวาน จงให้ผึ่ง จงให้
จอบ จงให้สิ่ว จงให้เถาวัลย์ จงให้ไม้ไผ่ จงให้หญ้ามุงกระต่าย
จงให้หญ้าปล้อง จงให้หญ้าสามัญ จงให้ดิน ดั่งนี้เป็นต้น ดูก่อน
โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ
เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุม-
ชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของพวกเธอนั่นเป็นไปเพื่อ
ความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่าง
อื่น ของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงติเตียนภิกษุชาวรัฐอาฬวีโดยอเนก
ปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคน
บำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุก
คลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคน
บำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด
อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียรโดยอเนก
ปริยายแล้ว ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสม
แก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่าดังนี้:-
เรื่องฤๅษีสองพี่น้อง
[๔๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ฤๅษีสองพี่น้อง
 
๓/๔๙๗/๓๕๗

วันอังคาร, ธันวาคม 20, 2565

Chai

 
๓. มณิกัณฐชาดก
ว่าด้วยขอสิ่งที่ไม่ควรขอ
[๓๕๘] ข้าวและน้ำอันไพบูลย์ยิ่งย่อมเกิดขึ้น
แก่ข้าพเจ้าเพราะเหตุแก้วมณีดวงนี้ ข้าพเจ้า
จักให้แก้วมณีดวงนั้นแก่ท่านไม่ได้ ท่านก็
ยิ่งขอหนักขึ้น ใช่แต่เท่านั้น ข้าพเจ้าจักไม่
มาสู่อาศรมของท่านอีกด้วย.
[๓๕๙] ท่านขอแก้วมณีอันเกิดจากหินดวงนี้
ย่อมทำให้ข้าพเจ้าหวาดเสียว เหมือนกับ
ชายหนุ่มมีมือถือดาบอันลับแล้วที่แผ่นหิน
มาทำให้ข้าพเจ้าหวาดเสียว ฉะนั้น ข้าพเจ้า
จักให้แก้วมณีดวงนั้นแก่ท่านไม่ได้ ท่านก็
ยิ่งขอหนักขึ้น ใช่อาทิผิด อาณัติกะแต่เท่านั้น ข้าพเจ้าจักไม่
มาสู่อาศรมของท่านอีกด้วย.
[๓๖๐] บุคคลรู้ว่าสิ่งของอันใดเป็นที่รักของเขา
ก็ไม่ควรขอสิ่งของอันนั้น บุคคลย่อมเป็น
ที่เกลียดชังเพราะขอจัด พระยานาคถูก
พราหมณ์ขอแก้วมณี ตั้งแต่นั้นก็มิได้มาให้
พราหมณ์นั้นเห็นอีกเลย.
จบ มณิกัณฐชาดกที่ ๓
 
๕๘/๓๕๙/๒๒

วันจันทร์, ธันวาคม 19, 2565

Ni

 
นี้หงส์ นี้อาทิผิด อาณัติกะนกกะเรียน นี้นกจากพราก นี้นกการเวก นี้นกงวงช้าง นี้นก
นางนวล. ภิกษุทั้งหลายมีความสงสัยเมื่อเห็นสัตว์เหล่านั้น ได้เห็นนกดุเหว่า
ที่มาทีหลังนกทั้งหมด แวดล้อมด้วยนางนกพันตัว จับกลางไม้ที่นางนกสองตัว
เอาจะงอยปากคาบพาไป เกิดอัศจรรย์ใจที่ไม่เคยมีมา จึงกราบทูลถามพระผู้มี
พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงเคยเป็น
พญานกดุเหว่าอยู่ในที่นี้มิใช่หรือ. ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถูกแล้ว เรา
ได้สร้างวงศ์นกดุเหว่าขึ้นมา ตรัสมหากุณาลชาดกครบครันว่า ก็ในอดีตกาล
เราทั้งสี่อาศัยอยู่ ณ ที่นี้ คือ นารท ๑ เทวิละ ๑ เป็นฤษี พญาแร้ง ชื่อ
อานันทะ ๑ เราเป็นนกดุเหว่าสีเหลืองชื่อปุณณมุขะ ๑. ครั้นภิกษุเหล่านั้นฟัง
แล้ว ความกระสันที่เกิดขึ้นเนื่องจากภรรยาเก่าของภิกษุเหล่านั้นก็สงบลง. แต่
นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสัจกถาแด่ภิกษุเหล่านั้น เมื่อจบสัจกถา ภิกษุ
รูปที่บวชภายหลังได้เป็นพระโสดาบัน รูปที่บวชก่อนทั้งหมดได้เป็นพระ-
อนาคามี ไม่มีที่เป็นปุถุชน หรือพระอรหันต์แม้แต่รูปเดียว แต่นั้นพระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงพาภิกษุเหล่านั้นขึ้นสู่ป่ามหาวันอีกครั้ง. อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้น
เมื่อมาก็มาด้วยฤทธิ์ของตน ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่
ภิกษุเหล่านั้นอีก เพื่อประโยชน์แก่มรรคชั้นสูงขึ้นไป. ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านั้น
เจริญวิปัสสนา ตั้งอยู่ในอรหัตผล. ภิกษุที่บรรลุก่อนได้ไปก่อนทีเดียวด้วย
คิดว่า เราจักกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. ก็ครั้นภิกษุนั้นมาถึงแล้ว จึงกราบ
ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ย่อมยินดียิ่ง ไม่กระสันอยู่ ดังนี้
แล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ภิกษุเหล่านั้น
ทั้งหมดมาถึงโดยลำดับ นั่งแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า.
 
๔๗/๓๓๑/๓๔๒

วันอาทิตย์, ธันวาคม 18, 2565

Lueamsai

 
สัพพทายกเถราปทานที่ ๙ (๓๙๙)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายทานทุกสิ่งทุกอย่าง
[๔๐๑] ภพของเราหยั่งลงถึงมหาสมุทร ตกแต่งดีแล้ว สระ
โบกขรณี ตกแต่งสวยงาม มีนกจากพรากส่งเสียงร้องอยู่.
ดารดาษด้วยบัวขม บัวเผื่อน บัวหลวงและอุบล ในสระ
นั้นมีน้ำไหล มีท่าน้ำราบเรียบ น่ารื่นรมย์ใจ.
มีปลาและเต่าชุกชุม มีเนื้อต่าง ๆ ลงกินน้ำ มีนกยูง
นกกระเรียนและนกดุเหว่าเป็นต้นร่ำร้องด้วยเสียงไพเราะ นก
เขา นกเป็ดน้ำ นกจากพราก นกกาน้ำ นกต้อยตีวิด นก
สาลิกา นกค้อนหอย นกโพระดก หงส์ นกกระเรียน นก
แสก ช้างตระกูลปิงคลา เที่ยวอยู่มากมาย สระโบกขรณี
สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีแก้วมณี ไข่มุกและทราย.
ต้นไม้ทั้งหลายเป็นสีทองทั้งหมด มีกลิ่นหอมต่าง ๆ ฟุ้ง
ขจรไป ส่องภพของเราให้สว่างไสวตลอดกาลทั้งปวง ทั้ง
กลางวันกลางคืน.
นักดนตรีหกหมื่น ประโคมอยู่ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า หญิง
๑,๖๐๐ คนห้อมล้อมเราอยู่ทุกเมื่อ.
เราออกจากภพแล้ว ได้เห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า สุเมธ
ผู้นำของโลก มีจิตเลื่อมใสอาทิผิด สระโสมนัส ได้ถวายบังคมพระองค์
ผู้มียศมาก.
 
๗๑/๔๐๑/๙๔๓

วันเสาร์, ธันวาคม 17, 2565

Kan

 
ได้ ( ฉันนั้น ) เพราะฉะนั้น ทางคือกิเลสพระองค์จึงตรัสว่า ทุหิติโก
(เป็นทางที่ไปลำบาก). ปาฐะว่า ทฺวีหิติโก ก็มี. ความหมายก็แนวเดียว
กันนั่นแหละ.
บทว่า อสปฺปุริสเสวิโต ความว่า เป็นทางที่อสัตบุรุษ มีพระ-
โกกาลิกะเป็นต้น เดินไปแล้ว.
บทว่า ตโต จิตฺตํ นิวารเย ความว่า พึงห้ามจิตนั้นที่เป็นไป
แล้วด้วยอำนาจแห่งฉันทะเป็นต้น จากรูปเหล่านั้น ที่จะพึงรู้แจ้งได้ทาง
จักษุ ด้วยอุบาย มีการระลึกถึงอสุภารมณ์เป็นต้น อธิบายว่า เมื่อความ
กำหนัดในเพราะอิฏฐารมณ์ เกิดขึ้นในจักษุทวาร จิตของผู้ระลึกถึง (มัน)
โดยความเป็นอสุภะ จะหมุนกลับ. เมื่อความขัดเคืองในเพราะอนิฏฐารมณ์
เกิดขึ้น จิตของผู้ระลึกถึงมัน โดยเมตตา จะหมุนกลับ. เมื่อความหลง
ในเพราะมัชฌัตตารมณ์เกิดขึ้น จิตของผู้ระลึกถึงการสอบถามอุทเทส
การอยู่กับครู จะหมุนกลับ. แต่บุคคลเมื่อไม่สามารถทำอย่างนี้ได้ ควร
ระลึกถึง ความที่พระศาสดาเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ความที่พระธรรมเป็นสวาก-
ขาตธรรม และความปฏิบัติชอบของพระสงฆ์๑. เพราะว่าเมื่อภิกษุพิจารณา
ความที่พระศาสดาเป็นผู้ยิ่งใหญ่ก็ดี ความที่พระธรรมเป็นสวากขาตธรรม
ก็ดี พิจารณาการอาทิผิด สระปฏิบัติชอบของพระสงฆ์ก็ดี จิตจะหมุนกลับ. ด้วยเหตุนั้น
จึงได้กล่าวไว้ว่า อสุภาวชฺชนาทีหิ อุปาเยหิ นิวารเย.
บทว่า กิฏฺฐํ ได้แก่หัวคล้าที่เกิดขึ้นในที่ ๆ แออัด. บทว่า สมฺปนฺนํ
ได้แก่บริบูรณ์แล้ว คืองอกงามดีแล้ว. บทว่า กิฏฺฐาโต ได้แก่เคี้ยวกิน
ข้าวกล้า.
๑. ปาฐะว่า สุปฏิปตฺติ ฉบับพม่าเป็น สุปฏิปตฺติ แปลตามฉบับพม่า.
 
๒๘/๓๔๕/๔๙๐

วันศุกร์, ธันวาคม 16, 2565

To

 
ภาคเจ้าแต่ไกลทีเดียว มีใจเลื่อมใส ลุกขึ้นต้อนรับ รับบาตร แล้วใส่ผลไม้
ที่มีรสหวาน แล้วน้อมถวาย. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรับบาตรนั้นแล้ว
ทรงทำอนุโมทนา แล้วเสด็จหลีกไป. ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปใน
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดในตระกูลพราหมณ์ผู้เป็นญาติของพระธรรม
เสนาบดี ในพุทธุปบาทกาลนี้ มีนามตามที่เขาขนานให้ว่า สุสารทะ เพราะ
เป็นคนมีปัญญาน้อย ในเวลาต่ออาทิผิด อักขระมาฟังธรรมในสำนักของพระธรรมเสนาบดี
ได้มีศรัทธา บวชแล้ว เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถา
ประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราเป็นพราหมณ์ผู้เล่าเรียน ทรงจำมนต์ รู้จบ
ไตรเพท อยู่ในอาศรม ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์
เครื่องบูชาไฟ และเมล็ดบัวขาวของเรามีอยู่ เราใส่ไว้
ในห่อ แล้วห้อยไว้บนยอดไม้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงรู้แจ้งโลก สมควร
รับเครื่องบูชา พระองค์ทรงพระประสงค์จะถอนเราขึ้น
จึงเสด็จมาภิกขาเรา เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส
ได้ถวายเมล็ดบัวแด่พระพุทธเจ้า พระศาสดาสัมมาสัม
พุทธเจ้า มีพระฉวีวรรณดังทองคำ สมควรรับเครื่อง
บูชา ทรงยังปีติให้เกิดแก่เรา ทรงนำสุขมาให้ใน
ปัจจุบัน ประทับยืนอยู่ในอากาศ ได้ตรัสพระคาถานี้
ว่า ด้วยการถวายเมล็ดบัวนี้ และด้วยการตั้งเจตนาไว้
ชอบ ท่านจักไม่เข้าถึงทุคติเลยตลอดแสนกัป ด้วย
กุศลมูลนั้นนั่นแล เราได้เสวยสมบัติแล้ว ละความชนะ
 
๕๐/๒๑๒/๓๗๔

วันพฤหัสบดี, ธันวาคม 15, 2565

Kai

 
บ้าง ด้วยอรรถว่า นับเนื่องด้วยกายอาทิผิด อักขระของตน. และรูป นี้เรียกว่า สุญญคาม
บ้าง (บ้านว่าง) ด้วยอรรถว่า เป็นที่สาธารณะแก่สัตว์เป็นอันมาก และด้วย
อรรถว่า หาเจ้าของมิได้ ดังนี้.
ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ บัณฑิตพึงประกอบชื่อ ๑๔ อย่าง มีคำว่า
จกฺขุเปตํ (นี้เรียกว่า จักษุบ้าง) เป็นต้น ด้วยบท ๔ บท มีคำว่า ปสฺสิ วา
(เห็นแล้ว) เป็นต้น แล้วพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสนัยเป็นเครื่อง
กำหนดจักขายตนะไว้ ๔ บท ดังนี้. พึงทราบอย่างไร ? พึงทราบว่า ก็ใน
พระบาลีนี้ มีนัยหนึ่งนี้ว่า
สัตว์นี้เห็นแล้ว หรือเห็นอยู่ หรือจักเห็น หรือพึงเห็นซึ่งรูปอันเป็น
สิ่งที่เห็นได้ และกระทบได้ ด้วยจักษุใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้
รูปนี้เรียกว่า จักษุบ้าง ฯลฯ นี้เรียกว่า สุญญคามบ้าง (บ้านว่าง) รูปนี้
นั้นเรียกว่า จักขายตนะ ดังนี้. นัยแม้ที่เหลือก็พึงทราบอย่างนี้.

ว่าด้วยนิทเทสแห่งจักขายตนะ
บัดนี้ เพราะในเวลาที่ฟ้าแลบเป็นต้นแม้บุคคลผู้ไม่ต้องการดู รูปก็
ย่อมกระทบจักษุประสาทได้ ฉะนั้น พระองค์ทรงประสงค์จะทรงประกาศ
อาการนั้น จึงเริ่มนิทเทสวาร (วาระว่าด้วยการขยายความ) ที่สองต่อไป.
ในพระบาลีนั้น บทว่า ยมฺหิ ได้แก่ ที่จักษุใดอันเป็นเหตุ. คำว่า
รูปํ นั่นเป็นปฐมาวิภัตติ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิหญฺญิ วา (กระทบ
แล้ว) เป็นเนื้อความอดีต. บทว่า ปฏิหญฺญติ วา (ย่อมกระทบ) เป็นเนื้อ
ความปัจจุบัน. บทว่า ปฏิหญฺญิสฺสติ วา (จักกระทบ) เป็นเนื้อความ
อนาคต. บทว่า ปฏิหญฺเญ วา (พึงกระทบ) เป็นเนื้อความกำหนด.
๔ บทคือ ปสฺสิ วา ปสฺสติ วา ปสฺสิสติ วา ปสฺเส วา แปลว่า เห็นแล้ว หรือกำลังเห็น หรือจักเห็น หรือพึงเห็น.
 
๗๖/๕๓๘/๒๒๐

วันพุธ, ธันวาคม 14, 2565

Nai

 
อภิศัพท์นี้มาในอรรถว่าเจริญ ในคำเป็นต้นว่า ทุกขเวทนากล้า ย่อมเจริญ
แก่เรา ดังนี้. มาในอรรถว่ามีความกำหนดหมายในคำเป็นต้นว่า ราตรี
เหล่านั้นใด อันท่านรู้กันแล้ว กำหนดหมายแล้ว ดังนี้. มาในอรรถว่าอัน
บุคคลบูชาแล้ว ในคำมีว่า พระองค์เป็นพระราชาผู้อันพระราชาบูชาแล้ว
เป็นจอมมนุษย์ เป็นอาทิ. มาในอรรถว่าอันบัณฑิตกำหนดตัดแล้ว ในคำ
เป็นอาทิว่า ภิกษุเป็นผู้สามารถเพื่อจะแนะนำเฉพาะธรรม เฉพาะวินัย ท่าน
อธิบายว่า เป็นผู้สามารถจะแนะนำในธรรมและวินัย ซึ่งเว้นจากความปะปน
กันและกัน. มาในอรรถว่ายิ่ง ในคำเป็นต้นว่า มีวรรณะงามยิ่ง ดังนี้.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมทั้งหลายในพระอภิธรรมนี้ มีความเจริญบ้าง
โดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุย่อมเจริญมรรค เพื่อเข้าถึงรูปภพ ภิกษุมีจิตประกอบ
ด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่ง อยู่. ชื่อว่ามีความกำหนดหมายบ้าง เพราะ
เป็นธรรมควรกำหนดได้ ด้วยกรรมทวารและปฏิปทาที่สัมปยุตด้วยอารมณ์
เป็นต้น โดยนัยมีอาทิว่า จิต ... ปรารภอารมณ์ใด ๆ เป็นรูปารมณ์ก็ดี
สัททารมณ์ก็ดี อันบุคคลบูชาแล้วบ้าง อธิบายว่า ควรบูชา โดยนัยเป็นต้นว่า
เสขธรรม อเสขธรรม โลกุตรธรรม๙. ชื่อว่าอันบัณฑิตกำหนดตัดบ้าง เพราะ
เป็นธรรมที่ท่านกำหนดตามสภาพ โดยนัยอาทิผิด อักขระเป็นต้นว่า ในสมัยนั้น ผัสสะมี
เวทนามี๑๐. ตรัสธรรมทั้งหลายที่ยิ่งบ้าง โดยนัยเป็นต้นว่า มหัคคตธรรม
อัปปมาณธรรม๑๑ อนุตตรธรรม๑๒ ด้วยเหตุนั้น เพื่อความเป็นผู้ฉลาดใน
อรรถาธิบายคำแห่งพระอภิธรรมนี้ ข้าพเจ้าจึงกล่าวคาถาประพันธ์นี้ไว้ว่า
๑. สํ. มหา. ๑๙/๑๑๔. ๒. ม. มู. ๑๒/๓๖. ๓. ขุ. สุ. ๒๕/๔๔๔ ๔. วิ. มหา. ๔/๑๔๒. ๕. ขุ. วิมาน. ๒๖/๑๓. ๖. อภิ. สํ. ๓๔/๔๔. ๗. อภิ. วิ. ๓๕/๓๖๙. ๘. อภิ. วิ. ๓๕/๓๖๙. ๙. อภิ. สํ. ๓๔/๓ ๑๐. อภิ. สํ. ๓๔/๙. ๑๑. อภิ. สํ. ๓๔/๑ ๑๒. อภิ. สํ. ๓๔/๗
 
๑/๙/๔๕

วันอังคาร, ธันวาคม 13, 2565

Wa

 
บทว่า สาวตฺถึ โอสรนฺติ นี้ ตรัสโดยถือพวกผู้อยู่ได้เดือนหนึ่ง
ตามภาวะของตน ในที่ที่พอได้ทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประทาน
ปวารณาสงเคราะห์ จึงพากันทำอุโบสถกรรม ในวันเพ็ญเดือน ๑๑ แล้วพากัน
หลั่งไหลมา บทว่า ปุพฺเพนาปรํ ความว่า ภิกษุทั้งหลายกระทำกรรมใน
สมถะและวิปัสสนาที่ยังอ่อน ได้ทำให้สมถะและวิปัสสนาทั้งหลายมีกำลังขึ้นใน
ที่นี้ นี้ชื่อว่าคุณวิเศษในกาลก่อน. ต่อแต่นั้นภิกษุทั้งหลายมีจิตตั้งมั่นพิจารณา
สังขารทั้งหลาย บางเหล่าทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ฯลฯ บางเหล่าทำให้แจ้ง
อรหัตผล. นี้ชื่อว่า คุณวิเศษอันกว้างขวางยิ่ง.
บทว่า อลํ แปลว่า ควร. บทว่า โยชนคณนานิ ความว่า
โยชน์เดียวก็เรียกว่าโยชน์เหมือนกัน แม้ ๑๐ โยชน์ก็เรียกว่าโยชน์เหมือนกัน
เกินกว่านั้นเรียกว่าอาทิผิด อาณัติกะ โยชนคณนานิ (นับเป็นโยชน์ ๆ) แต่ในที่นี้ประสงค์
เอาร้อยโยชน์บ้าง พันโยชน์บ้าง เสบียงสำหรับผู้เดินทาง ท่านเรียกว่า ปูโฏส
ในคำว่า ปูโฏเสนาปิ อธิบายว่า แม้การถือเอาเสบียงนั้นเข้าไปหาก็ควรแท้.
ปาฐะว่า ปูฏํเสน ดังนี้ก็มี อธิบายความของปาฐะนั้นว่า ชื่อว่า ปูฏํส (ผู้มี
เสบียงคล้องบ่า) เพราะที่บ่าของเขามีเสบียงอันบุคคลผู้มีเสบียงคล้องบ่านั้น
อธิบายว่า แม้เอาห่อเสบียงสะพายอาทิผิด สระบ่า.
บัดนี้ เพื่อจะแสดงว่า ภิกษุทั้งหลายผู้ประกอบด้วยคุณทั้งหลายเห็น
ปานนี้ มีอยู่ ในที่นี้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า สนฺติ ภิกฺขเว ดังนี้ บรรดาบท
เหล่านั้น บทว่า จตุนฺน สติปฏฺฐานานํ ดังนี้เป็นต้น ตรัสเพื่อทรงแสดง
กรรมฐานที่ภิกษุทั้งหลายนั้นสนใจมาก บรรดาธรรมเหล่านั้น ตรัสโพธิ-
ปักขิยธรรม ๓๗ ประการอันเป็นทั้งโลกิยะ และโลกุตระ ก็ในข้อนั้น ภิกษุ
เหล่าใดยังมรรคให้เกิดในขณะนั้น โพธิปักขิยธรรมเหล่านั้นย่อมเป็นโลกุตระ
สำหรับภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น เป็นโลกิยะสำหรับภิกษุทั้งหลายผู้เจริญวิปัสสนา.
 
๒๒/๒๙๑/๓๗๘

วันจันทร์, ธันวาคม 12, 2565

Du

 
นั่นแล นาแปลงที่ ๓ นั้นนั่นแหละ ย่อมแสดงการให้เกิดความอุตสาหะของ
เขาในนา ๒ แปลง นอกนี้ฉันใด ข้อนี้ ก็ฉันนั้นนั่นแหละ ภิกษุแม้ละการ
งานที่เหลือมีการล้างหน้าเป็นต้นแล้ว พึงทำกรรมในที่นี้โดยแท้ การไม่ทำหา
ควรไม่ เมื่อทำจึงถือเอาประโยชน์อันใหญ่ดำรงอยู่ ฉะนี้แล. ชื่อว่ามัชฌิมา-
ปฏิปทา ท่านกล่าวไว้ด้วยคำมีประมาณเท่านี้.
ภิกษุผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนี้ พึงป้องกันความฟุ้งซ่านได้. เพราะว่า เมื่อ
สละกรรมฐาน จิตก็จะถึงความฟุ้งซ่านไปในภายนอก ย่อมเสื่อมจากกรรมฐาน
ย่อมไม่อาจก้าวล่วงวัฏฏภัย เปรียบเหมือน บุรุษคนหนึ่ง (พ่อค้า) ยังบุคคล
ให้ชำระหนี้พันหนึ่ง ได้กำไรแล้วเดินทางมา ในระหว่างทางก้าวขึ้นสะพาน
ท่อนไม้อันเดินได้คนเดียวที่พาดข้ามลำธารซอกเขาอันลึกมีจระเข้ มังกร และ
รากษส (ผีเสื้อน้ำ) เขาเดินปล่อยเท้าก้าวไป เพราะแลดูอาทิผิด สระข้างโน้นข้างนี้ เลย
พลัดตกลงไปเป็นอาหารของจระเข้เป็นต้น ฉันใด ภิกษุแม้นี้ ก็เหมือนกัน
นั่นแหละ ครั้นเมื่อจิตของตนสละกรรมฐานถึงความฟุ้งไปในภายนอก ย่อม
เสื่อมจากกรรมฐาน ย่อมไม่อาจก้าวล่วงวัฏฏภัยได้.

ข้อนี้ พึงทราบความอุปมา ดังนี้
ก็กาลที่ภิกษุนี้เรียนกรรมฐานในสำนักของอาจารย์ เปรียบเหมือน
กาลที่บุรุษยังบุคคลให้ชำระหนี้หนึ่งพันได้กำไรแล้ว. สังสารวัฏ เปรียบเหมือน
ซอกเขาอันลึกในระหว่างทาง. ทุกข์ใหญ่มีวัฏฏะเป็นมูล เปรียบเหมือน กาล
ที่บุรุษนั้นถูกจระเข้เป็นต้นเห็นแล้ว. วิถีแห่งการสาธยายของภิกษุนี้ เปรียบ
เหมือน สะพานท่อนไม้เดินได้คนเดียว. พึงทราบว่า ความที่ภิกษุนี้ สละ
กรรมฐาน มีจิตฟุ้งไปในภายนอก เสื่อมจากกรรมฐาน ไม่สามารถก้าวล่วง
 
๗๘/๔๖๔/๑๐๓

วันอาทิตย์, ธันวาคม 11, 2565

Yuen

 
เรือนนี้แห่งเดียว ตลอดกึ่งเดือนนี้. ” รับปฏิญญาของพระศาสดาแล้ว
มีใจยินดีว่า “ บัดนี้ เราจักได้เพื่ออุปัฏฐากพระศาสดาและฟังธรรมตั้งแต่นี้
ไป ตลอดจนถึงวันมหาปวารณา ” เที่ยวจัดแจงกิจทุกอย่างในโรงครัว
ใหญ่ว่า “ พวกท่านจงต้มข้าวต้มอย่างนั้น จงนึ่งขนมอย่างนี้. ”
ครั้งนั้น สามีของนางคิดว่า “ พรุ่งนี้เป็นวันมหาปวารณา ” ยืนอาทิผิด อาณัติกะตรง
หน้าต่าง บ่ายหน้าไปทางโรงครัวใหญ่ ตรวจดูอยู่ด้วยคิดว่า “ นาง
อันธพาลนั้น เที่ยวทำอะไรอยู่หนอแล ? ” แลเห็นธิดาเศรษฐีนั้น ขะมุก-
ขะมอมไปด้วยเหงื่อ เปรอะด้วยเถ้า มอมแมมด้วยถ่านและเขม่า เที่ยวจัด
ทำอยู่อย่างนั้น จึงคิดว่า “ พุทโธ่ หญิงอันธพาล ไม่เสวยสมบัติมีสิริเช่นนี้
ในฐานะเห็นปานนี้, กลับมีจิตยินดีว่า ‘ เราจักอุปัฏฐากศีรษะโล้น.
เที่ยวไปได้ ’” จึงหัวเราะแล้วหลบไป.
เมื่อเศรษฐีบุตรนั้นหลบไปแล้ว. นางสิริมาซึ่งยืนอยู่ในที่ใกล้ของ
เขาคิดว่า “ เศรษฐีบุตรนั่นมองดูอะไรหนอแล จึงหัวเราะ ” จึงมองลงไป
ทางหน้าต่างนั้นแหละ เห็นนางอุตตราแล้วคิดว่า “ เศรษฐีบุตรนี้หัวเราะ
ก็เพราะเห็นนางคนนี้, ความชิดชมของเศรษฐีบุตรนี้คงมีกับด้วยนางนี้
เป็นแน่. ”
นางสิริมาหึงนางอุตตราเอาเนยใสเดือดรด
ได้ยินว่า นางสิริมานั้นแม้อยู่เป็นพาหิรกสตรีในเรือนนั้นตลอดกึ่ง
เดือน เสวยสมบัตินั้นอยู่ ก็ยังไม่รู้ตัวว่าเป็นหญิงภายนอก ได้ทำความ
สำคัญว่า “ ตัวเป็นแม่เจ้าเรือน. ” นางผูกอาฆาตต่อนางอุตตราว่า “ จัก
ต้องยังทุกข์ให้เกิดแก่มัน ” จึงลงจากปราสาท เข้าไปสู่โรงครัวใหญ่ เอา
 
๔๒/๒๗/๔๔๓

วันเสาร์, ธันวาคม 10, 2565

Tham

 
ปลายเสา มีโอกาสพอจุภิกษุได้ ๒๑ รูป ย่อมหยั่งถึงภายใต้. ถ้าวางศิลาทั้ง
หลายในที่เป็นต้นว่า กระดานเรียบอันยื่นออกไปจากฝาปราสาทแล้วผูกสีมา ฝา
ปราสาทย่อมอยู่ภายในสีมา, ส่วนการที่สีมานั้นจะหยั่งถึงภายใต้หรือไม่หยั่งลงไป
พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. เมื่อจะกำหนดนิมิตภายใต้ปราสาทเล่าอย่า
กำหนดฝาและเสาไม้เป็นนิมิต แต่จะกำหนดเสาศิลาซึ่งยึดฝาไว้ควรอยู่. สีมาที่
กำหนดอย่างนี้ ย่อมมีเฉพาะร่วมในแห่งเสาริมโดยรอบของภายใต้ปราสาท. แต่
ถ้าฝาภายใต้ปราสาทเป็นของเนื่องถึงพื้นชั้นบน สีมาย่อมขึ้นไปถึงชั้นบนปรา-
สาทด้วย ถ้าทำอาทิผิด สระนิมิตในที่ซึ่งน้ำตกจากชายคานอกปราสาท ปราสาททั้งหมดตั้ง
อยู่ในสีมา.
ถ้าพื้นบนยอดเขาเป็นที่ควรแก่โอกาส พอจุภิกษุได้ ๒๑ รูป ผูกสีมา
บนพื้นนั้น อย่างที่ผูกบนศิลาดาด, แม้ภายใต้ภูเขาสีมาย่อมหยั่งลงไปถึง. โดย
กำหนดนั้นเหมือนกัน. แม้บนภูเขาที่มีสัณฐานดังโคนต้นตาลเล่า สีมาที่ผูกไว้
ข้างบน ย่อมหยั่งลงไปถึงข้างล่างเหมือนกัน. ส่วนภูเขาใดมีสัณฐานดังดอกเห็ด
ข้างบนมีโอกาสพอจุภิกษุได้ ๒๑ รูป ข้างล่างไม่มี สีมาที่ผูกบนภูเขานั้น ไม่
หยั่งลงไปข้างล่าง. ด้วยประการอย่างนี้ ภูเขามีสัณฐานดังตะโพนหรือมีสัณฐาน
ดังบัณเฑาะก์ก็ตามที ข้างล่างหรือตรงกลางแห่งภูเขาใด ไม่มีพื้นที่เท่าตัวสีมา
สีมาที่ผูกบนภูเขานั้น ไม่หยั่งลงข้างล่าง ส่วนภูเขาใดมี ๒ ยอดตั้งอยู่ใกล้กัน
บนยอดแม้อันหนึ่งไม่พอเป็นประมาณแห่งสีมา ควรก่อหรือถมตรงระหว่างยอด
แห่งภูเขานั้นให้เต็ม ทำให้เนื่องเป็นพื้นเดียวกันแล้วจึงสมมติสีมาข้างบน,
ภูเขาลูก ๑ คล้ายพังพานงู เบื้องบนภูเขานั้น ผูกสีมาได้ เพราะมีโอกาสได้ประ
มาณเป็นสีมา; ถ้าภายใต้ภูเขานั้น มีเงื้อมอากาศสีมาไม่หยั่งลงไป. แต่ถ้าตรง
กลางเงื้อมอากาศนั้น มีศิลาโพรงเท่าขนาดสีมา สีมาย่อมหยั่งลงไปถึง. และ
ศิลานั้น เป็นของตั้งอยู่ในสีมาแท้. ถ้าแม้ฝาแห่งที่เร้นภายใต้ภูเขานั้นตั้งจดถึง
 
๖/๑๖๕/๔๑๓

วันศุกร์, ธันวาคม 09, 2565

Bukkhon

 
สมณะ เราจักถามปัญหากะท่าน ถ้าท่านพยากรณ์แก่เราไม่ได้ เรา
จักทำจิตของท่านให้ฟุ้งซ่าน หรือฉีกหัวใจของท่าน หรือจักจับที่เท้าแล้ว
เหวี่ยงไปยังแม่น้ำคงคาฝั่งโน้น.
อาวุโส เราไม่เห็นใครเลยในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหม
โลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ที่จะพึงทำจิตของเรา
ให้ฟุ้งซ่านได้ หรือขยี้หัวใจของเรา หรือจับเราที่เท้าแล้วเหวี่ยงไปยังแม่น้ำ
คงคาฝั่งโน้น เอาเถิด อาวุโส เชิญถามปัญหาตามที่ท่านจำนงเถิด.
[๘๔๐] อาฬวกยักษ์ทูลถามว่า
อะไรหนอ เป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจ
อันประเสริฐของคนในโลกนี้ อะไรหนอ
ที่บุคคลอาทิผิด อักขระประพฤติดีแล้วนำความสุขมาให้
อะไรหนอเป็นรสอันล้ำเลิศกว่ารสทั้งหลาย
นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตของผู้ที่เป็น
อยู่อย่างไร ว่าประเสริฐสุด.
[๘๔๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ศรัทธาเป็นทรัพย์ อันประเสริฐของ
คนในโลกนี้ ธรรมอันบุคคลประพฤติ
ดีแล้ว นำความสุขมาให้ ความสัตย์แล
เป็นรสอันล้ำเลิศกว่ารสทั้งหลาย นัก-
ปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตของผู้ที่เป็นอยู่
ด้วยปัญญาว่าประเสริฐสุด.
 
๒๕/๘๔๐/๔๒๔

วันพฤหัสบดี, ธันวาคม 08, 2565

Khamang

 
เหมือนการแทงทะลุของลูกศรที่นายขมังอาทิผิด สระธนูผู้ฉลาดยิงออกไป มีการส่องให้
เห็นอารมณ์เป็นกิจ เหมือนดวงประทีป มีการไม่หลงเป็นเครื่องปรากฏ เหมือน
มัคคุเทสก์ชั้นดี บอกทางแก่ผู้ไปป่า แต่โดยพิเศษแล้ว ในที่นี้ ทรงประสงค์
เอาปัญญา กล่าวคืออาสวักขยญาณว่า ชื่อว่า ปัญญาจักษุ เพราะหมายความว่า
เห็นสัจจะทั้ง ๔ ซึ่งพระองค์ตรัสหมายเอาว่า จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้
เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว
ดังนี้.
อนึ่ง บรรดาจักษุเหล่านั้น มังสจักษุ เป็นของเล็ก (ปริตตัง)
ทิพยจักษุ เป็นของใหญ่ (มหัคคตะ) นอกนี้ (ปัญญาจักษุ) หาประมาณมิได้
(อัปปมาณัง) มังสจักษุ เป็นรูป สองอย่างนอกนี้เป็นอรูป. ทั้งมังสจักษุ และ
ทิพยจักษุ เป็นโลกิยะยังมีอาสวะ และมีรูปเป็นอารมณ์ นอกนี้ (ปัญญาจักษุ)
เป็นโลกุตระ ไม่มีอาสวะ มีสัจจะทั้ง ๔ เป็นอารมณ์ มังสจักษุเป็นอัพยากฤต
ทิพยจักษุเป็นกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี ปัญญาจักษุก็เหมือนกัน (เป็นกุศลก็มี
เป็นอัพยากฤตก็มี) มังสจักษุ เป็นกามาวจร ทิพยจักษุ เป็นรูปาวจร นอกนี้
(ปัญญาจักษุ) เป็นโลกุตระ พึงทราบการจำแนกโดยนัยมีอาทิดังพรรณนา-
มานี้.
พึงทราบวินิจฉัยในพระคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บทว่า อนุตฺตรํ
ตรัสหมายถึงปัญญาจักษุ. ด้วยว่าปัญญาจักษุนั้น ชื่อว่า อนุตฺตรํ เพราะเป็น
อาสวักขยญาณ. บทว่า อกฺขาสิ ปุริสุตฺตโม ความว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้สูงสุดคือเลิศกว่าคนทั้งหลาย ทรงแสดงไว้. ความเป็นไปแห่งมังสจักษุชื่อว่า
อุปปาทะ. อุบายคือเหตุแห่งทิพยจักษุ ชื่อว่ามรรค อธิบายว่า ทิพยจักษุ
เกิดขึ้นแก่ผู้มีตาดี ตามปกติเท่านั้น เพราะมีการเจริญอาโลกกสิณ แล้วเกิด
ทิพยจักษุญาณขึ้น และอาโลกกสิณนั้นไม่มีในมณฑลแห่งกสิณ โดยเว้นจาก
 
๔๕/๒๓๙/๓๙๔