วันอังคาร, ตุลาคม 31, 2566

Winitchai

 
อรรถกถาสูตรที่ ๒

สูตรที่ ๒ (ข้อ ๓๘๗) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ปัจจัย ๔ ชื่อว่า ยาคะ โดยเป็นเครื่องบูชา แม้ธรรมะ ก็พึง
ทราบว่า ชื่อว่า ยาคะ โดยเป็นเครื่องบูชา.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๒

อรรถกถาสูตรที่ ๓

สูตรที่ ๓ (ข้อ ๓๘๘) มีวินิจฉัยอาทิผิด อักขระดังต่อไปนี้.
การสละอามิส ชื่อว่า อามิสจาคะ การสละธรรม ชื่อว่า
ธรรมจาคะ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๓

อรรถกถาสูตรที่ ๔

สูตรที่ ๔ (ข้อ ๓๘๙) แปลกกันเพียงอุปสรรค.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๔

อรรถกถาสูตรที่ ๕

สูตรที่ ๕ (ข้อ ๓๙๐) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
การบริโภคปัจจัย ๔ ชื่อว่า อามิสโภคะ การบริโภคธรรม ชื่อว่า
ธรรมโภคะ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๕

อรรถกถาสูตรที่ ๖

สูตรที่ ๖ (ข้อ ๓๙๑) แปลกกันเพียงอุปสรรค.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๖
 
๓๓/๓๙๕/๔๘๐

วันจันทร์, ตุลาคม 30, 2566

Upasombot

 
นัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนักเปรียบเหมือนบุคคล
หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง หรือตามประทีป
ในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด ท่านพระโคดมทรง
ประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่าน
พระโคดม พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา
อุปสมบท ในสำนักท่านพระโคดม.
ดูก่อนมาคัณฑิยะ ผู้ใดเคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวังบรรพชา หวัง
อุปสมบทในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นจะต้องอยู่ปริวาสสี่เดือน เมื่อล่วงสี่เดือน ภิกษุ
ทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชา ให้อุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุได้ ก็แต่
ว่า เรารู้ความต่างแห่งบุคคลในข้อนี้.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าชนทั้งหลายผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวัง
บรรพชา หวังอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาสสี่เดือน เมื่อล่วงสี่เดือน
ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชาอุปสมบทได้ไซร้ ข้าพระองค์จักอยู่
ปริวาสสี่ปี ต่อเมื่อล่วงสี่ปี ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชาให้อุปสมบท
เพื่อความเป็นภิกษุเถิด.
มาคัณฑิยปริพาชกได้บรรพชา ได้อุปสมบทอาทิผิด อักขระในสำนักของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าแล้ว ก็เมื่อท่านมาคัณฑิยะอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกไปอยู่แต่ผู้
เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว ไม่ช้านานเท่าไร ก็
ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิต โดยชอบ ต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง
ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ
ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ท่านมาคัณฑิยะได้เป็นพระ-
อรหันต์รูปหนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้แล.

จบมาคัณฑิยสูตรที่ ๕
 
๒๐/๒๙๒/๕๐๑

วันอาทิตย์, ตุลาคม 29, 2566

Fang

 
ได้ยินว่า ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งไม่ไกลแต่กรุงสาวัตถีนัก
ยังมีกฏุมพีผู้หนึ่ง สร้างวิหาร อุทิศถวายภิกษุผู้เป็นชีต้นของตน,
ภิกษุทั้งหลาย มาจากชนบทต่าง ๆ อยู่อาศัยในวิหารหลังนั้น.
มนุษย์ทั้งหลายเห็นภิกษุเหล่านั้นแล้ว มีจิตเลื่อมใส อุปัฏฐากด้วย
ปัจจัยอันประณีต. ภิกษุชีต้น อดทนปัจจัยนั้นไม่ได้ เป็นผู้ถูกความ
ริษยา ครอบงำ เมื่อจะกล่าวโทษของภิกษุเหล่านั้น จึงยกโทษกะ
กฏุมพี. กฏุมพี ข่มขี่บริภาษภิกษุเหล่านั้น และภิกษุเป็นชีต้น.
ลำดับนั้น ภิกษุผู้เป็นชีต้น ทำกาละแล้ว บังเกิดเป็นเปรตในเวจจกุฏี
ในวัดนั่นเอง. ฝ่ายกฏุมพี ทำกาละแล้ว บังเกิดเป็นเปรตอยู่ข้างบน
ของพระเปรตนั้นนั่นแล. ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ
พอเห็นเปรตนั้นแล้ว เมื่อจะถามจึงกล่าวคาถาว่า :-
ท่านเป็นใครหนอ โผล่ขึ้นจากหลุมคูถ
ให้เราเป็นเช่นนี้ ท่านร้องครวญครางอื้ออึงไป
ทำไมเล่า ท่านมีการงานอันลามก โดยไม่ต้อง
สงสัย.
เปรตได้ฟังอาทิผิด อักขระดังนั้นแล้ว จึงแสดงตนด้วยคาถาว่า :-
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นเปรตเสวย
ทุกข์ เกิดในยมโลก เพราะได้ทำกรรมอันลามก
ไว้ จึงจากโลกนี้ไปสู่เปตโลก.
ลำดับนั้นพระเถระจึงถามกรรมที่เปรตนั้นกระทำกะเปรต
นั้น ด้วยคาถาว่า :-
 
๔๙/๑๒๘/๕๖๑

วันเสาร์, ตุลาคม 28, 2566

Sila

 
ตรัสคาถาที่บรรจุไตรสิกขานี้ว่า สพฺพทา สีลสมฺปนฺโน ผู้ถึงพร้อมแล้ว
ด้วยศีลทุกเมื่อ.
ก็ในคาถานี้ สิกขา ๓ คือ อธิสีลอาทิผิด อักขระสิกขา ด้วยสีลสัมปทา อธิจิตตสิกขา
ด้วยสติและสมาธิ อธิปัญญาสิกขา ด้วยปัญญา คือ การคิดถึงธรรมภายใน
ท่านกล่าวว่า มีอุปการะและมีอานิสงส์ จริงอยู่ สิกขาทั้งหลาย มีโลกิยปัญญา
และสติเป็นอุปการะ มีสามัญผลเป็นอานิสงส์.
ครั้นทรงแสดงเสกขภูมิ ด้วยคาถาที่หนึ่งอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะ
ทรงแสดงอเสกขภูมิ จึงตรัสคาถาที่สอง.
คาถานั้นมีเนื้อความว่า บทว่า วิรโต กามสญฺญาย ความว่าผู้เว้น
จากกามสัญญาบางอย่าง ด้วยสมุจเฉทวิรัติ อันสัมปยุตด้วยมรรคที่ ๔ โดย
ประการทั้งปวง บาลีว่า วิรตฺโต ดังนี้ก็มี. ในกาลนั้น คำว่า กามสญฺญาย
เป็นสัตตมีวิภัตติ แต่ในสคาถวรรค บาลีว่า กามสญฺาญสุ ดังนี้ก็มี. ชื่อว่า
ล่วงสังโยชน์ทั้งปวงเสีย เพราะล่วงสังโยชน์ ๑๐ ด้วยมรรคแม้ทั้งสี่ หรือ ล่วง
สังโยชน์เบื้องสูง ด้วยมรรคที่สี่เท่านั้น ชื่อว่า มีความเพลิดเพลินและภพหมด
สิ้นแล้ว เพราะความที่ความเพลิดเพลิน กล่าวคือ ตัณหาพาให้เพลิดเพลินใน
สิ่งนั้น ๆ และภพ ๓ หมดสิ้นแล้ว.
บทว่า โส ได้แก่ ภิกษุผู้ขีณาสพเช่นนั้น ย่อมไม่จมลง ในอรรณพ
คือ สังสารวัฏอันลึก เข้าถึงผลแห่งนิพพานธาตุอันมีเบญจขันธ์เหลือ เพราะ
สิ้นความเพลิดเพลิน และไม่มีเบญจขันธ์เหลือ เพราะสิ้นภพ.
ลำดับนั้น เหมวตยักษ์แลดูสหายและยักษ์บริษัท เกิดปีติแลโสมนัส
ชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคาถามีอย่างนี้ว่า คมฺภีรปญฺญํ เป็นต้น
 
๔๖/๓๐๙/๔๓๔

วันศุกร์, ตุลาคม 27, 2566

Ubasok

 
พระพุทธเจ้า. เพราะฉะนั้น จิตของสัตว์ใหญ่นั้น ชื่อว่า เสมอด้วย ท่านผู้
ประเสริฐ คือเป็นเช่นเดียวกัน ด้วยความยินดีในความเป็นผู้เดียว.
พึงทราบความในคำว่า ยถารนฺตํ วิหริตฺวา นี้ว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าเสด็จอยู่บ้านปาริเลยยกะนั้น ตลอดไตรมาส. คำที่พูดกัน ได้แพร่
หลายไปในที่ทั้งปวงว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า อันภิกษุชาวเมือง
โกสัมพีเบียดเบียนด้วยเหตุเท่านี้ จึงเสด็จเข้าป่าอยู่ตลอดไตรมาส.
หลายบทว่า อถ โข โกสมฺพิกา อุปาสกา มีความว่า ครั้งนั้น
แล พวกอุบาสกอาทิผิด อักขระชาวเมืองโกสัมพี ได้ฟังถ้อยคำที่เจรจากันนี้.
ข้าพเจ้าจักพรรณนาเภทกรวัตถุ ๑๘ มีคำว่า อธมฺมํ ธมฺโม เป็นต้น
ในสังฆเภทขันธกะ.
บทว่า อาทายํ ได้แก่ ฝั่งแห่งลัทธิ.
บทว่า วิวิตฺตํ ได้แก่ ว่าง.
หลายบทว่า ตํ อุกฺขิตฺตกํ ภิกฺขุํ โอสาเรตฺวา มีความว่า
พาภิกษุผู้ถูกยกวัตรนั้น ไปนอกสีมา ให้แสดงอาบัติแล้ว เรียกเข้าหมู่ด้วยกรรม
วาจา.
สองบทว่า ตาวเทว อุโปสโถ มีความว่า พึงทำสามัคคีอุโบสถ
ตามนัยที่กล่าวแล้วในอุโปสถขันธกะในวันนั้นทีเดียว.
หลายบทว่า อมูลา มูลํ คนฺตฺวา มีความว่า ไม่ออกจากมูลไป
หามูล อธิบายว่า ไม่วินิจฉัยวัตถุนั้น.
ข้อว่า อยํ วุจฺจติ อุปาลี สงฺฆสามคฺคี อตฺถาเปตา พฺยญฺชนุ-
เปตา มีความว่า สังฆสามัคคีนี้ ปราศจากอรรถ แต่อาศัยเพียงพยัญชนะว่า
สังฆสามัคคี นี้.
 
๗/๒๖๑/๕๐๓

วันพฤหัสบดี, ตุลาคม 26, 2566

Mak mai

 
ที่ถูกต้นไม้ทำลายนั้น. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สำเหนียกด้วย
ประการฉะนี้ เห็นข้อนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบด้วยต้นไม้มีผลดก มีทุกข์มาก มี
ความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษมากมายอาทิผิด อักขระ ดังนี้แล้ว วางอุเบกขาที่มีความ
ต่างกัน อาศัยความต่างกันนั้นเสีย เจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอย่างเดียว
อาศัยความเป็นอย่างเดียว ซึ่งเป็นที่ดับความยึดมั่นโลกามิสไม่เหลือ โดย
ประการทั้งปวงนั้นนั่นเทียว. พระสารีบุตรเถระแสดงวิปัสสนา โดยเปรียบ
ด้วยโครงกระดูกเป็นต้น และเปรียบด้วยกองไฟเป็นที่สุดอย่างนี้แล้ว บัดนี้
เมื่อจะแสดงอุปจารสมาธิ จึงกล่าวคำว่า พุทฺธานุสฺสตึ ภาเวนฺโต
เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น สตินั่นแหละ ชื่อว่า อนุสสติ เพราะเกิดขึ้น
บ่อย ๆ. อนึ่ง ชื่อว่า อนุสสติ เพราะอรรถว่า สติที่สมควรแก่กุลบุตร
ผู้บวชด้วยศรัทธา เพราะเป็นไปในฐานะที่ควรให้เป็นไปนั่นเอง ดังนี้ก็มี.
อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภพระพุทธเจ้า ชื่อว่า พุทธานุสสติ. คำว่า พุทธา-
นุสสตินี้ เป็นชื่อของสติที่มีพระพุทธคุณ. มีความเป็นพระอรหันต์เป็นต้น
เป็นอารมณ์ ซึ่งพุทธานุสสตินั้น บทว่า ภาเวนฺโต ได้แก่ เจริญอยู่
คือเพิ่มพูนอยู่.
อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภพระธรรม ชื่อว่า ธรรมานุสสติ, คำว่า
ธรรมานุสสตินี้ เป็นชื่อของสติที่มีพระธรรมคุณ, มีความเป็นธรรมอัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วเป็นต้นเป็นอารมณ์.
 
๖๕/๒๙/๘๙

วันพุธ, ตุลาคม 25, 2566

Sin

 
ศากยะสมาทานสิกขาในเวลาจะสิ้นอาทิผิด อาณัติกะพระชนม์ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงว่า ได้เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาสามในเวลาจะสิ้นพระชนม์.
จบอรรถกถาปฐมสรกานิสูตรที่ ๔

๕. ทุติยสรกานิสูตร

ผู้ถึงสรณคมน์ไม่ไปสู่วินิบาต

[๑๕๓๗] กบิลพัสดุ์นิทาน. ก็สมัยนั้น เจ้าสรกานิศากยะสิ้นพระชนม์
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ท่าน ว่าเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำ
เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ดังได้ยินมา พวกเจ้าศากยะ
มากด้วยกัน มาร่วมประชุมพร้อมกันแล้ว ย่อมยกโทษติเตียนบ่นว่า น่า-
อัศจรรย์หนอ ท่านผู้เจริญ ไม่เคยมีมาแล้วหนอ ท่านผู้เจริญ บัดนี้ ในที่นี้
ใครเล่าจักไม่เป็นพระโสดาบัน เพราะเจ้าสรกานิศากยะสิ้นพระชนม์แล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ท่าน ว่าเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำ
เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า เจ้าสรกานิศากยะมิได้กระทำ
ให้บริบูรณ์ในสิกขา.
[๑๕๓๘] ครั้งนั้น พระเจ้ามหานามศากยราช เสด็จเข้าไปเฝ้าพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วประทับนั่ง
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานพระวโรกาส เจ้าสรกานิศากยะสิ้นพระชนม์ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพยากรณ์ว่าเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง
ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ดังได้ยินมา พวกเจ้าศากยะมากด้วยกัน มาร่วม
 
๓๑/๑๕๓๖/๓๓๘

วันอังคาร, ตุลาคม 24, 2566

Nalika

 
ทั้งในที่ลับ ย่อมเข้าไปตั้งเมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม ทั้งในที่แจ้ง
ทั้งในที่ลับ ในภิกษุผู้เป็นพระเถระ ผู้รัตตัญญู บวชนาน เป็นสังฆบิดร
เป็นสังฆปริณายก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมบูชาภิกษุผู้เป็นพระเถระ
ผู้รัตตัญญู บวชนาน เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก ด้วยการบูชา
อย่างยิ่ง อย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการนี้แล
เป็นผู้สามารถถึงซึ่งความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้.
จบโคปาลกสูตรที่ ๗

อรรถกถาโคปาลกสูตรที่ ๗
โคปาลกสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
มีกถาอยู่ ๓ กถาคือ เอกนาฬิกาอาทิผิด อักขระกถา ๑ จตุรัสสากถา ๑ นิสินน-
วัตติกากถา ๑ ใน ๓ กถานั้น การกล่าวบาลีแล้วกล่าวความแห่งบทไป
ทีละบท ชื่อว่าเอกนาฬิกากถา การกล่าวผูกให้เป็น ๔ บทดังนี้ว่า นาย
โคบาลผู้ไม่ฉลาด ภิกษุผู้ไม่ฉลาด นายโคบาลผู้ฉลาด ภิกษุผู้ฉลาด ชื่อว่า
จตุรัสสากถา กถาอย่างนั้นคือ การแสดงนายโคบาลผู้ไม่ฉลาดไปจนจบ
การแสดงภิกษุผู้ไม่ฉลาดไปจนจบ การแสดงนายโคบาลผู้ฉลาดไปจนจบ
การแสดงภิกษุผู้ฉลาดไปจนจบ ชื่อว่า นิสินนวัตติกากถา. กถานี้อาจารย์
ทุกอาจารย์อาทิผิด สระในพระศาสนานี้เคยประพฤติมาแล้ว .
บทว่า เอกาทสหิ ภิกฺขเว องฺเคหิ ได้แก่ โดยส่วนที่มิใช่คุณ ๑๑
ประการ. บทว่า โคคณํ ได้แก่ ฝูงโค. บทว่า ปริหริตุํ ได้แก่ เพื่อจะ
พาเที่ยวไป. บทว่า ผาติกาตุํ ได้แก่ เพื่อให้ถึงความเติบโต.
 
๓๘/๒๒๔/๕๗๒

วันจันทร์, ตุลาคม 23, 2566

Kan

 
พระวินัยปิฎก
เล่ม ๑
มหาวิภังค์ ปฐมภาค
ขอน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เวรัญชกัณฑ์อาทิผิด อักขระ
เรื่องเวรัญชพราหมณ์
[๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ
ควงไม้สะเดาที่นเฬรุยักษ์สิงสถิต เขตเมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
ประมาณ ๕๐๐ รูป เวรัญชพราหมณ์ได้สดับข่าวถนัดแน่ว่า ท่านผู้เจริญ
พระสมณโคดมศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยตระกูล ประทับอยู่ ณ บริเวณ
ต้นไม้สะเดาที่นเฬรุยักษ์สิงสถิต เขตเมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
ประมาณ ๕๐๐ รูป ก็แลพระกิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้น
ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นพระอรหันต์แม้
เพราะเหตุนี้ ทรงตรัสรู้เองโดยชอบแม้เพราะเหตุนี้ทรงบรรลุวิชชาและจรณะ
แม้เพราะเหตุนี้ เสด็จไปดีแม้เพราะเหตุนี้ ทรงทราบโลกแม้เพราะเหตุนี้
ทรงเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่าแม้เพราะเหตุนี้ ทรงเป็นศาสดา
ของเทพและมนุษย์ ทั้งหลายแม้เพราะเหตุนี้ ทรงเป็นพุทธะแม้เพราะเหตุนี้
ทรงเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เพราะเหตุนี้ พระองค์ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้ง
 
๑/๑/๑

วันอาทิตย์, ตุลาคม 22, 2566

Samphappalapa

 
แม่น้ำ เพราะได้น้ำมัน หรือเนยใสแม้นิดหน่อยแล้ว ประสงค์จะให้
หัวเราะกัน ชื่อว่ามีโทษน้อย. แต่มุสาวาทของผู้กล่าวสิ่งที่ตนมิได้เห็น
นั่นแล โดยนัยเป็นต้นว่า ข้าพเจ้าเห็น ชื่อว่ามีโทษมาก.
มุสาวาทนั้น มีองค์ ๔ คือเรื่องไม่จริง ๑ จิตคิดจะกล่าวให้ผิด ๑
ความพยายามเกิดจากจิตนั้น ๑ ผู้อื่นรู้เรื่องนั้น ๑ มีประโยคเดียว คือ
สาหัตถิกะแล. มุสาวาทนั้นพึงเห็นได้ในการทำกิริยาเป็นเครื่องกล่าวให้ผิด
ต่อผู้อื่น ด้วยกายบ้าง ด้วยของเนื่องด้วยกายบ้าง ด้วยวาจาบ้าง ถ้าผู้อื่น
รู้เรื่องนั้น ด้วยกิริยานั้น. เจตนาที่ยังกิริยาให้ตั้งขึ้นนี้ ย่อมผูกมัดด้วย
มุสาวาทกรรมในขณะนั้นแล.
บทในบทเป็นต้นว่า ปิสุณา วาจา ความว่า คนพูดวาจาแก่ผู้
อื่นด้วยวาจาใด กระทำตนให้เป็นที่รักอยู่ในดวงใจของผู้นั้น และทำ
คนอื่นให้เสีย วาจานั้น ชื่อว่า ปิสุณวาจา. ส่วนวาจาใด ทำตนบ้าง
คนอื่นบ้างให้หยาบ. หรือวาจาใดหยาบ แม้ตนเองก็ไม่เพราะหูไม่สบาย
ใจ นี้ชื่อว่า ผรุสวาจา. คนกล่าวเพ้อเจ้อไร้ประโยชน์ เขาชื่อว่า
สัมผัปลาปะอาทิผิด อักขระ. แม้เจตนาที่เป็นมูลของวาจาเหล่านั้น ก็ย่อมได้ชื่อว่า
ปิสุณวาจาเป็นต้นเหมือนกัน. ก็เจตนานั้นแล ท่านประสงค์เอาในที่นี้.
ในบทนั้น เจตนาของผู้มีจิตเศร้าหมอง อันยังกายประโยคและวจี-
ประโยคให้ตั้งขึ้น เพื่อทำลายชนเหล่าอื่นก็ดี เพื่อประสงค์จะทำตนให้เป็น
ที่รักก็ดี ชื่อว่าปิสุณวาจา. ปิสุณวาจานั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะบุคคล
ผู้ถูกปิสุณวาจีบุคคลทำความแตกกันในผู้มีคุณอาทิผิด สระน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก ใน
ผู้มีคุณมาก.
ปิสุณวาจานั้น มีองค์ ๔ คือ ทำลายผู้อื่น ๑ ความเป็นผู้มุ่งเพื่อ
 
๒๖/๓๙๘/๔๗๖

วันเสาร์, ตุลาคม 21, 2566

Samakkhi

 
สองบทว่า กิริยา มชฺเฌ มีความว่า กิริยาที่กระทำบุพกิจสวด
ปาฏิโมกข์ เป็นท่ามกลางของอุโบสถกรรม.
สองบทว่า นิฏฺฐานํ ปริโยสานํ มีความว่า ความจบปาฏิโมกข์
ดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหมดทีเดียว พึงเป็นผู้พร้อมเพรียง ชื่นชมยินดีด้วยดีอยู่
เป็นผู้ไม่วิวาทอยู่ ศึกษาในพระปาฏิโมกข์นั้น เป็นที่สุด (ของอุโบสถกรรม).
หลายบทว่า ปวารณากมฺมสฺส สามคฺคี อาทิ มีความว่า กาย-
สามัคคีอาทิผิด อักขระของภิกษุทั้งหลายผู้คิดว่า จักทำปวารณา แล้วชำระสีมา นำฉันทะและ
ปวารณามา ประชุมกัน เป็นเบื้องต้นของปวารณากรรม.
สองบทว่า กิริยา มชฺเฌ มีความว่า ปวารณาญัตติและปวารณากถา
เป็นท่ามกลาง (ของปวารณากรรม).
คำของภิกษุผู้สังฆนวกะที่ว่า ข้าพเจ้าเห็นอยู่ จักทำคืน เป็นที่สุด
(ของปวารณากรรม).
ภิกษุย่อมเป็นผู้ควรแก่กรรม ด้วยวัตถุใด วัตถุนั้น ชื่อว่าวัตถุใน
กรรมทั้งหลาย มีตัชชนียกรรมเป็นต้น.
บุคคลที่ก่อวัตถุนั้น ชื่อว่าบุคคล.
สองบทว่า กมฺมวาจา ปริโยสานํ มีความว่า คำสุดท้ายแห่ง
กรรมวาจานั้น ๆ อย่างนี้ว่า ตัชชนียกรรม อันสงฆ์ทำแล้ว แก่ภิกษุชื่อนี้
ควรแก่สงฆ์ เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง, ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้ เป็นที่สุด
ของกรรมทั้งหลาย มีตัชชนียกรรมเป็นต้น.
คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
พรรณนาอุโปสถาทิปุจฉาวิสัชนา จบ
 
๑๐/๑๐๐๘/๕๘๗

วันศุกร์, ตุลาคม 20, 2566

Weruwan

 
วัสสูปนายิกขันธกะ
เรื่องภิกษุหลายรูป
[๒๐๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระ
เวฬุวันอาทิผิด อักขระ อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ายังมิได้ทรงบัญญัติการจำพรรษาแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้น เที่ยวจาริกไปตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน คนทั้งหลาย
จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึง
ได้เที่ยวจาริกไปตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน เหยียบย่ำติณชาติอัน
เขียวสด เบียดเบียนอินทรีย์อย่าง ๑ ซึ่งมีชีวะ ยังสัตว์เล็ก ๆ จำนวนมากให้
ถึงความวอดวายเล่า ก็พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นเป็นผู้กล่าวธรรมอัน
ต่ำทราม ยังพัก ยังอาศัยอยู่ประจำตลอดฤดูฝน อนึ่ง ฝูงนกเหล่านี้เล่า ก็ยัง
ทำรังบนยอดไม้ และพักอาศัยอยู่ประจำตลอดฤดูฝน ส่วนพระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรเหล่านั้น เที่ยวจาริกไปตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน เหยียบ
ย่ำติณชาติอันเขียวสด เบียดเบียน อินทรีย์อย่าง ๑ ซึ่งชีวะ ยังสัตว์เล็ก ๆ
จำนวนมากให้ถึงความวอดวาย ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้น เพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนา จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล
นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง-
หลาย เราอนุญาต ให้จำพรรษา.
 
๖/๒๐๕/๕๑๑

วันพฤหัสบดี, ตุลาคม 19, 2566

Kradan

 
ตอบว่า มิใช่ไม่มี จริงอยู่ พระพุทธเจ้าแม้เหล่านั้น เมื่อจำนงอยู่
ก็พึงแผ่พระรัศมีไปสู่หมื่นโลกธาตุ หรือยิ่งกว่านั้นก็ได้ แต่ว่า พระรัศมีสรีระ
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า มังคละ แผ่ไปสู่หมื่นโลกธาตุตั้งอยู่เป็น
นิตย์ทีเดียว ด้วยอำนาจการตั้งความปรารถนาไว้ในบุรพชาติ เหมือนพระรัศมี
วาหนึ่งของพระพุทธเจ้าอื่น ๆ.
ได้ยินว่า พระมังคลพุทธเจ้านั้น ในขณะที่บำเพ็ญบารมีเป็นพระ-
โพธิสัตว์ ดำรงอัตภาพเช่นเดียวกับพระเวสสันดร พร้อมทั้งบุตรและภรรยา
อยู่ที่ภูเขาเช่นกับภูเขาวงกต ครั้งนั้น มียักษ์ตนหนึ่งชื่อว่า ขรทาฐิกะ ทราบว่า
พระมหาบุรุษมีพระทัยในการจำแนกทาน จึงแปลงเพศเป็นพราหมณ์เข้าไป
แล้วทูลขอทารกทั้งสองพระองค์กะพระมหาสัตว์ พระมหาสัตว์ทรงยินดีร่าเริง
แล้วด้วยทรงพระดำริว่า เราจักให้ลูกน้อยแก่พราหมณ์ ดังนี้ แล้วพระราชทาน
ทารกทั้งสอง อันสามารถยังแผ่นดินหวั่นไหวจดน้ำรองแผ่นดิน ยักษ์ยืนพิง
แผ่นกระดานอาทิผิด อักขระที่พิงไว้ในที่สุดแห่งที่จงกรม เมื่อพระมหาสัตว์มองดูอยู่นั่นแหละ
เคี้ยวกินทารกทั้งสองพระองค์ เหมือนเคี้ยวกินกองรากไม้ มหาบุรุษแลดูยักษ์
เมื่อยักษ์นี้สักว่าอ้าปากเท่านั้น ธารโลหิตก็หลั่งออกดุจเปลวไฟ พระมหาบุรุษนั้น
แม้เห็นปากของยักษ์นั้น ก็มิได้เสียพระทัย แม้เพียงปลายผมให้เกิดขึ้น ทรง
พระดำริว่า สุทินฺนํ วต เม ทานํ (ทานเราให้ดีแล้ว) แล้วยังปีติโสมนัส
อันใหญ่ให้เกิดแก่พระองค์.
พระมหาบุรุษนั้น ทรงตั้งความปรารถนาว่า ด้วยวิบากเป็นเครื่อง
ไหลออกแห่งบุญของเรานี้ ในอนาคตกาล ขอรัศมีทั้งหลายจงออกจากสรีระโดย
ทำนองนี้ ดังนี้ เมื่อพระองค์อาศัยเหตุนั้นตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว รัศมี
ทั้งหลายจึงออกจากพระสรีระแผ่ไปสู่ที่มีประมาณเท่านี้.
 
๗๕/๑/๑๑๓

วันพุธ, ตุลาคม 18, 2566

Pen

 
บัณฑิตพึงทราบอาการที่ภิกษุจำเป็นต้องกล่าวว่า เธอจักเป็นผัว, เธอจัก
เป็นสามี, จักอาทิผิด อักขระเป็นชู้.
สองบทว่า อนฺตมโส ตํขณิกายปิ มีความว่า หญิงที่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ตังขณิกา เพราะผู้อันชายพึงอยู่ร่วมเฉพาะ
ในขณะนั้น คือ เพียงชั่วครู่, ความว่า เป็นเมียเพียงชั่วคราว โดย
กำหนดอย่างต่ำที่สุดทั้งหมด. เมื่อภิกษุบอกความประสงค์ของชายอย่างนี้
ว่า เธอจักเป็นเมียชั่วคราว แก่หญิงแม้นั้น ก็เป็นสังฆาทิเสส. โดยอุบาย
นี้นั่นแล แม้ภิกษุผู้บอกความประสงค์ของหญิงแก่ชายอย่างนี้ว่า เธอจัก
เป็นผัวชั่วคราว บัณฑิตพึงทราบว่า ต้องสังฆาทิเสส.
[อธิบายหญิง ๑๐ จำพวก]
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงหญิงจำพวกที่ทรง
ประสงค์ในคำว่า อิตฺถิยา วา ปุริสมตึ นี้ โดยประเภทแล้ว ทรงแสดง
ชนิดแห่งอาบัติ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ชักสื่อ ในหญิงเหล่านั้น จึงตรัส
คำว่า ทส อิตฺถิโย เป็นอาทิผิด สระต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาตุรกฺขิตา ได้แก่ หญิงที่มารดา
รักษา คือ มารดารักษาโดยประการที่จะสำเร็จการอยู่ร่วมกับผู้ชายไม่ได้
ด้วยเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีจึงกล่าวแม้บทภาชนะแห่งบทว่า มาตุรกฺขิตา
นั้นว่า มารดาย่อมรักษาคุ้มครอง ยังตนให้ทำความเป็นใหญ่ ยังอำนาจ
ให้เป็นไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รกฺขิตา ความว่า ไม่ให้ไปในที่
ไหน ๆ. บทว่า โคเปติ ความว่า ย่อมกักไว้ในที่คุ้มครอง โดยประการ
ที่ชายเหล่าอื่นจะไม่เห็น.
 
๓/๔๙๓/๓๔๓

วันอังคาร, ตุลาคม 17, 2566

Akan

 
เข้าไปหาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอจุ่มจีวรนี้ลงในน้ำแล้วดึงเป็น
หลายครั้ง เพื่อประสงค์อะไร
ภิกษุรูปนั้นกราบทูลว่า อกาลอาทิผิด อักขระจีวรผืนนี้เกิดแก่ข้าพระพุทธเจ้า จะ
ทำจีวรก็ไม่พอ เพราะฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงได้จุ่มจีวรนี้ตากแล้วดึง
เป็นหลายครั้ง พระพุทธเจ้าข้า
ภ. ก็เธอยังมีหวังจะได้จีวรมาอีกหรือ
ภิ. มี พระพุทธเจ้าข้า
ทรงอนุญาตอกาลจีวร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุ
เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รับอกาลจีวรแล้วเก็บไว้ได้
โดยมีหวังว่าจะได้จีวรใหม่มาเพิ่มเติม.
[๓๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงอนุญาตให้รับอกาลจีวรแล้วเก็บไว้ได้ โดยมีหวังว่าจะได้จีวรใหม่มา
เพิ่มเติม จึงรับอกาลจีวรแล้วเก็บไว้เกินหนึ่งเดือน จีวรเหล่านั้นเธอห่อ
แขวนไว้ที่สายระเดียง
ท่านพระอานนท์เที่ยวจาริกไปตามเสนาสนะ ได้เห็นจีวรเหล่านั้น
ซึ่งภิกษุทั้งหลายห่อแขวนไว้ที่สายระเดียง ครั้นแล้วจึงถามภิกษุทั้งหลายว่า
จีวรเหล่านี้ของใครห่อแขวนไว้ที่สายระเดียง
ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า อกาลจีวรเหล่านี้ของพวกกระผม ๆ เก็บไว้
โดยมีหวังว่าจะได้จีวรใหม่มาเพิ่มเติม
อา. เก็บไว้นานเท่าไรแล้ว
 
๓/๓๓/๗๕๔

วันจันทร์, ตุลาคม 16, 2566

Winyuchon

 
วินัยฏฐกถาวสานคาถา
พระโลกนาถผู้ชำนะ เมื่อจะทรงแนะนำบุคคลผู้
ควรแนะนำ ได้ตรัสวินัยปิฎกใด ซึ่งแสดงจำแนกโดย
อุภโตวิภังค์อาทิผิด อักขระ ขันธกะ และบริวาร, อรรถกถาชื่อสมันต-
ปาสาทิกาแห่งวินัยปิฎกนั้น จบบริบูรณ์แล้ว โดยคันถะ
ประมาณ ๒๗,๐๐๐ ถ้วน ด้วยลำดับแห่งคำเพียงเท่านี้แล.
ในคำที่ว่า อรรถกถาวินัย ปลูกความเลื่อมใส
รอบด้านนั้น มีคำอธิบายในข้อที่อรรถกถาชื่อสมันต
ปาสาทิกา เป็นคัมภีร์ปลูกความเลื่อมใสรอบด้าน ดังนี้ :-
ในสมันตปาสาทิกานี้ ไม่ปรากฏคำน้อยหนึ่งที่ไม่
น่าเลื่อมใสแก่วิญญูชนอาทิผิด ทั้งหลายผู้พิจารณาอยู่ โดยสืบ
ลำดับแห่งอาจารย์ โดยแสดงประเภทแห่งนิทานและ
วัตถุ โดยเว้นลัทธิของฝ่ายอื่น โดยความหมดจดแห่งลัทธิ
ของตน โดยชำระพยัญชนะให้หมดจด โดยเนื้อความ
เฉพาะบท โดยลำดับแห่งบาลีและโยชนา โดยวินิจฉัย
ในสิกขาบท และโดยแสดงประเภทแห่งนัยที่สมแก่
วิภังค์ เพราะฉะนั้นอรรถกถาแห่งวินัย ซึ่งพระโลกนาถ
ผู้ทรงอนุเคราะห์สัตว์โลกผู้ฉลาดในการฝึกชนที่ควร
แนะนำ ได้ตรัสไว้แล้วอย่างนั้นนี้ จึงบ่งนามว่า
“ สมันตปาสาทิกา” แล.
 
๑๐/๑๓๖๖/๑๐๑๙

วันอาทิตย์, ตุลาคม 15, 2566

Ubat

 
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า อันตราภพไม่มีอยู่ในระหว่างกามภพและ
รูปภพ ก็ต้องไม่กล่าวว่า อันตราภพมีอยู่.
ป. อันตราภพไม่มีอยู่ในระหว่างรูปภพกับอรูปภพหรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า อันตราภพไม่มีอยู่ในระหว่างรูปภพกับอรูปภพ
ก็ต้องไม่กล่าวว่า อันตราภพมีอยู่.
[๑๒๐๑] ส. อันตราภพมีอยู่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อันตราภพนั้น เป็นกำเนิดที่ ๕ เป็นคติที่ ๖ เป็น
วิญญาณฐิติที่ ๘ เป็นสัตตาวาสที่ ๑๐ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อันตราภพมีอยู่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อันตราภพ เป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร
เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กรรมอันยังสัตว์ให้เข้าถึงอันตราภพมีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สัตว์ผู้เข้าถึงอันตราภพมีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สัตว์ทั้งหลาย เกิดอยู่ แก่อยู่ ตายอยู่ จุติอยู่ อุบัติอาทิผิด อยู่ ใน
 
๘๑/๑๒๐๑/๑๐๔

วันเสาร์, ตุลาคม 14, 2566

Bot

 
ทาฐิโน. คำว่า นทนฺติ ทาฐิโน แม้นี้ ท่านถือเอาก็เพื่อจะแสดงชี้ถึง
ความสงัดเงียบจากหมู่ชนเท่านั้น.
บทว่า วิตกฺเก อุปรุนฺธิยตฺตโน ความว่า กำจัดมิจฉาวิตกทั้งหลาย
มีกามวิตกเป็นต้น โดยพลังแห่งความเป็นปฏิปักษ์ของตน เพราะนับ
เนื่องในสันดานของตน. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อตฺตโน นี้ พึงประกอบ
เข้าด้วยบทว่า วินฺทติ นี้ว่า เมื่อนั้นย่อมไม่ได้ประสบความยินดีอย่างอื่น
ยิ่งไปกว่าการพิจารณาธรรมนั้น ดังนี้.
บทอาทิผิด อักขระว่า นคนฺตเร แปลว่า ภายในภูเขา.
บทว่า นควิวรํ ได้แก่ ถ้ำภายในภูเขา หรือเงื้อมเขา.
บทว่า สมสฺสิโต ได้แก่ เข้าไปโดยการอาศัยอยู่.
บทว่า วีตทฺทโร ได้แก่ ปราศจากกิเลสเป็นเหตุให้กระวนกระวาย
ได้.
บทว่า วีตขิโล ได้แก่ ละกิเลสดุจตะปูตรึงใจเสียได้.
บทว่า สุขี ได้แก่ มีความสุข ด้วยสุขอันเกิดแต่ฌานเป็นต้น.
บทว่า มลขิลโสกนาสโน ได้แก่ ละมลทินมีราคะเป็นต้น ละ
กิเลสดุจตะปูตรึงใจ ๕ ประการ และละความเศร้าโศก มีความพลัดพราก
จากญาติเป็นต้นเป็นเหตุได้.
บทว่า นิรคฺคโฬ ได้แก่ อวิชชา ท่านเรียกว่า กลอนประตู
เพราะห้ามการเข้าไปใกล้พระนิพพาน, เรียกว่า นิรคฺคโฬ เพราะไม่มี
กลอนประตูคืออวิชชานั้น.
บทว่า นิพฺพนโถ ได้แก่ ไม่มีตัณหา. บทว่า วิสลฺโล ได้แก่
ปราศจากลูกศรคือกิเลสมีราคะเป็นต้น.
 
๕๒/๓๖๙/๓๑๘

วันศุกร์, ตุลาคม 13, 2566

Phiksu

 
คือนายโคบาลในโลกนี้ ย่อมรู้จักรูป ๑ ฉลาดในลักษณะ ๑ กำจัดไข่-
ขาง ๑ ปกปิดแผล ๑ สุมไฟ ๑ รู้ท่าน้ำ ๑ รู้โคว่าดื่มน้ำแล้วหรือยัง ๑
รู้ทาง ๑ ฉลาดในที่หากิน ๑ รีดนมให้เหลือ ๑ บูชาโคผู้ที่เป็นพ่อโค
เป็นผู้นำฝูงโคด้วยการบูชาอย่างยิ่ง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นายโคบาล
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถเลี้ยงฝูงโคให้เจริญ
แพร่หลายได้ ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๑
ประการ ย่อมเป็นผู้สามารถถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรม ๑๑ ประการเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมรู้จักรูป ๑ ฉลาดในลักษณะ ๑ กำจัดไข่ขาง ๑ ปกปิดแผล ๑ สุมไฟ ๑
รู้ท่าน้ำ ๑ รู้ธรรมที่ดื่มแล้ว ๑ รู้ทาง ๑ ฉลาดในโคจร ๑ รีดให้เหลือ ๑
บูชาภิกษุผู้เป็นพระเถระ ผู้รัตตัญญู บวชนาน เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆ-
ปริณายก ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรู้จักรูปอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมรู้รูปอย่างใดอย่างหนึ่งตามเป็นจริงว่า มหาภูตรูป ๔ และรูปอาศัย
มหาภูตรูป ๔ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาทิผิด สระย่อมรู้จักรูปอย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมฉลาดในลักษณะอย่างไร ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ตามเป็นจริงว่า คนพาลมีกรรมเป็นลักษณะ บัณฑิตมี
กรรมเป็นลักษณะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุฉลาดในลักษณะอย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมกำจัดไข่ขางอย่างไร ภิกษุในธรรม-
วินัยนี้ ย่อมไม่ให้กามวิตกที่บังเกิดขึ้นครอบงำ ย่อมละ ย่อมบรรเทา
ย่อมทำให้มีความสิ้นสุด ซึ่งกามวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมให้กามวิตกที่
เกิดขึ้นแล้วถึงความไม่มี ย่อมไม่ให้พยาบาทวิตกที่บังเกิดขึ้นครอบงำ . . .
 
๓๘/๒๒๔/๕๖๙

วันพฤหัสบดี, ตุลาคม 12, 2566

Taso

 
ฉัตร. บทว่า สห ทิฏฺฐสฺส เม ฉตฺตํ คือความสะดุ้งกลัวเกิดขึ้นแล้ว
แก่เราผู้เห็นเศวตฉัตรนั้น พร้อมกับความเห็นนั้น. อธิบายว่า ตลอดเวลา
ที่เห็นนั่นเอง. บทว่า ตาโสอาทิผิด สระ อุปฺปชฺชิ เภรโว คือ เกิดความสะดุ้งน่ากลัว
เพราะเป็นโทษที่ปรากฏชัดเจนแล้ว. บทว่า วินิจฺฉยํ สมาปนฺโน, กถาหํ
อิมํ มุญฺจิสฺสํ ความว่า เราตรึกตรองอย่างนี้ว่า เราจะปลดเปลื้องราชสมบัติ
อันเป็นกาลกรรณีได้อย่างไรหนอ. บทว่า ปุพฺพาสาโลหิตา มยฺหํ ความว่า
เทพธิดาผู้เป็นมารดาของเราในอัตภาพหนึ่ง สิงสถิตอยู่ในเศวตฉัตรนั้น
เป็นผู้ใคร่ประโยชน์ แสวงหาประโยชน์แก่เรา. บทว่า สา มํ ทิสฺวาน
ทุกฺขิตํ, ตีสุ ฐาเนสุ โยชยิ ความว่า เทพธิดานั้นเห็นเราประกอบด้วยทุกข์
เพราะทุกข์ใจอย่างนั้น จึงแนะนำให้เราประกอบในเหตุที่จะออกจากทุกข์
ในราชสมบัติ ๓ ประการ คือ เป็นใบ้ เป็นคนง่อยเปลี้ย เป็นคนหนวก.
บทว่า ปณฺฑิจฺจยํ คือความเป็นบัณฑิต. บทว่า มา วิภาวย คือท่าน
จงประกาศความเป็นบัณฑิต. บทว่า พาลมโต คือให้เขารู้ว่าเป็นคนโง่.
บทว่า สพฺโพ คือ ชนภายในและชนภายนอกทั้งสิ้น. บทว่า โอจินายตุ
คือ คนทั้งปวงย่อมดูหมิ่นว่า พวกท่านจงนำคนกาลกรรณีนี้ออกไป. บทว่า
เอวํ ตว อตฺโถ ภวิสฺสติ ประโยชน์จักมีแก่ท่านด้วยอาการอย่างนี้ ความว่า
เมื่อท่านถูกดูหมิ่น โดยนัยดังกล่าวแล้วอย่างนั้น ประโยชน์อันยังบารมี
ให้บริบูรณ์ด้วยการออกจากเรือนจักมีแก่ท่าน.
 
๗๔/๒๖/๔๔๗

วันพุธ, ตุลาคม 11, 2566

Chedi

 
ในเจดีย์ก็ดี ในสงฆ์ก็ดี ในบุคคลก็ดี ในแขก
ก็ดี ในมารดาก็ดี ในบิดาก็ดี ในพี่ชายก็ดี.
ในคาถานั้น ชื่อว่า เจติยะ เพราะควรก่อ ท่านอธิบายว่า ควรบูชา
ชื่อว่า เจติยะอาทิผิด อักขระ เพราะวิจิตรแล้ว. เจดีย์นั้นมี ๓ อย่าง คือ บริโภคเจดีย์
อุทิสสกเจดีย์ ธาตุกเจดีย์.
บรรดาเจดีย์ทั้ง ๓ นั้น โพธิพฤกษ์ ชื่อว่า บริโภคเจดีย์ พระพุทธ
ปฏิมา ชื่อว่า อุทิสสกเจดีย์ พระสถูปที่มีห้องบรรจุพระธาตุ ชื่อว่า ธาตุก-
เจดีย์อาทิผิด .
บทว่า สงฺโฆ ได้แก่ ผู้ใดผู้หนึ่ง ในหมู่สงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประมุข. บทว่า ปุคฺคโล ได้แก่ ผู้ใดผู้หนึ่ง ในหมู่คฤหัสถ์และบรรพชิต
เป็นต้น. ชื่อว่า อติถิ [แขก] เพราะเขาไม่มีดิถี คือมาในวันไหนก็ได้ คำ
นี้เป็นชื่อของแขกผู้มาในขณะนั้น. คำที่เหลือ มีนัยที่กล่าวไว้แล้วทั้งนั้น.
บัณฑิตรู้จักเจดีย์เป็นต้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ พึงทราบความแห่งคาถานี้
อย่างนี้ ขุมทรัพย์นั้นใดตรัสว่า เป็นอันฝังดีแล้ว ขุมทรัพย์นั้น ที่เขาฝังไว้
ในวัตถุเหล่านั้น ย่อมชื่อว่าฝังไว้ดีแล้ว. เพราะเหตุไร เพราะสามารถอำนวย
ผลที่น่าปรารถนาได้ตลอดกาลนาน. จริงอย่างนั้น ชนทั้งหลายถวายในพระ-
เจดีย์แม้เล็กน้อย ย่อมเป็นผู้ได้ผลที่ปรารถนาตลอดกาลนาน เหมือนอย่างที่
ตรัสไว้ว่า
เอกปุปผํว ทตฺวาน อสีติกปฺปโกฏิโย
ทุคฺคตึ นาภิชานามิ ปุปฺผทานสฺสิทํ ผลํ.
 
๓๙/๙/๓๑๓

วันอังคาร, ตุลาคม 10, 2566

Aratthana

 
สัตว์เหล่าอื่นก็จะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเรา ข้อนั้น จะพึงเป็นความเหน็ด
เหนื่อยเปล่าแก่เรา จะพึงเป็นความลำบากเปล่าแก่เรา.
อนึ่ง อนัจฉริยคาถาเหล่านี้ ที่ไม่เคยได้สดับ ในกาลก่อน ปรากฏแก่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ว่าดังนี้:-

อนัจฉริยคาถา
บัดนี้ เรายังไม่ควรจะประกาศธรรม
ที่เราได้บรรลุแล้วโดยยาก เพราะธรรมนี้อัน
สัตว์ผู้อันราคะและโทสะครอบงำแล้วไม่ตรัส
รู้ได้ง่าย สัตว์ผู้อันราคะย้อมแล้วถูกกอง
อวิชชาหุ้มห่อแล้ว จักไม่เห็นธรรมอันละ-
เอียดลึกซึ้ง ยากที่จะเห็น ละเอียดยิ่ง อัน
จะยังสัตว์ให้ถึงธรรมที่ทวนกระแส คือพระ
นิพพาน.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาเห็นอยู่ ดังนี้ พระทัยก็น้อมไป
เพื่อความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อทรงแสดงธรรม.

พรหมยาจนกถา
เรื่องพรหมทูลอาราธนาอาทิผิด สระ
[๘] ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทราบพระปริวิตกแห่งจิตของพระผู้-
มีพระภาคเจ้าด้วยใจของตนแล้วเกิดความปริวิตกว่า ชาวเราผู้เจริญ โลกจักฉิบ
หายหนอ โลกจักวินาศหนอ เพราะตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงน้อม
พระทัยไปเพื่อความขวนขวายน้อย ไม่ทรงน้อมพระทัยไปเพื่อทรงแสดงธรรม.
 
๖/๘/๓๐

วันจันทร์, ตุลาคม 09, 2566

Sandhika

 
บทว่า เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง
ประมวลการไม่คบพาล ๑ การคบบัณฑิต ๑ การบูชาผู้ที่ควรบูชา ๑ ทั้งหมด
จึงตรัสว่า เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ. ท่านอธิบายว่า คำใดท่านถามว่า โปรด
ตรัสบอกมงคลอันอุดมเถิด ท่านจงถือคำนั้นว่า มงคลอันอุดม ในข้อนั้นก่อน
นี้เป็นการพรรณนาบทแห่งคาถานี้.
ส่วนการพรรณนาความแห่งบทนั้น พึงทราบดังนี้ พระผู้มีพระภาค
เจ้า ทรงสดับคำของเทพบุตรนั้นอย่างนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า อเสวนา
จ พาลานํ เป็นต้น.
ในคาถานั้น คาถามี ๔ คือ ปุจฉิตคาถา อปุจฉิตคาถา สานุ-
สันธิกคาถา อนนุสันธิกคาถา.
บรรดาคาถาทั้ง ๔ นั้น คาถาที่ทรงถูกผู้ถามถามแล้ว จึงตรัสชื่อว่า
ปุจฉิตคาถา ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ปุจฺฉามิ ตํ โคตม ภูริปญฺญ
กถํกโร สาวโกสาธุ โหติ ท่านพระโคดม ผู้มีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน
ข้าพเจ้าขอถามท่าน สาวกทำอย่างไรจึงเป็นคนดี และประโยคว่า กถํ นุ ตฺวํ
มาริส โอฆมตริ ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านข้ามโอฆะอย่างไรเล่าหนอ.
คาถาที่พระองค์ไม่ได้ถูกถามแต่ตรัสโดยพระอัธยาศัยของพระองค์เอง
ชื่อว่า อปุจฉิตคาถา ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ยํ ปเร สุขโต อาหุ
ตทริยา อาหุ ทุกฺขโต คนอื่น ๆ กล่าวสิ่งใดว่าเป็นสุข พระอริยะทั้งหลาย
กล่าวสิ่งนั้นว่าเป็นทุกข์. คาถาของพระพุทธะทั้งหลายแม้ทั้งหมด ชื่อว่า
สานุสันธิกคาถา เพราะบาลีว่า สนิทานาหํ ภิกฺขเว ธมฺมํ เทเสสฺสามิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมมีนี้ท่านคือเหตุ ดังนี้. ที่ชื่อว่าอนสุ-
สันธิกอาทิผิด คาถา คาถาไม่มีเหตุ ไม่มีในศาสนานี้ ก็บรรดาคาถาเหล่านี้ดังกล่าวมา
 
๓๙/๖/๑๗๑

วันอาทิตย์, ตุลาคม 08, 2566

Fuek

 
แม้สพรหมจารีผู้เป็นวิญญูชนก็ย่อมไม่สำคัญว่า ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน
ดูก่อนเกสี ข้อที่ตถาคต ไม่สำคัญบุรุษที่ควรฝึกอาทิผิด สระว่า ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน
แม้สพรหมจารีผู้เป็นวิญญูชนทั้งหลายก็ไม่สำคัญว่า ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน
นี้เป็นการฆ่าอย่างดี ในวินัยของพระอริยะ.
เกสี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่พระตถาคตไม่สำคัญบุรุษที่ควรฝึกว่า
ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน แม้สพรหมจารีผู้วิญญูชนก็ไม่สำคัญว่า ควรว่ากล่าว
ควรสั่งสอน นั่นเป็นการฆ่าอย่างดีแน่นอน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของ
พระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงาย
ของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด
ด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็นรูปฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้
ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้ากับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอ
พระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบเกสีสูตรที่ ๑
 
๓๕/๑๑๑/๓๐๐

วันเสาร์, ตุลาคม 07, 2566

Nikhom

 
ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมได้หายไปในพรหมโลก มาปรากฏ ณ
เบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดุจบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้
แขนที่เหยียดฉะนั้น ครั้นแล้วห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าคุกชานุมณฑลเบื้องขวา
ลงบนแผ่นดิน ประณมอัญชลีไปทางพระผู้มีภาคเจ้าแล้วได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าได้โปรดทรงแสดงธรรม
ขอพระสุคตได้โปรดทรงแสดงธรรม เพราะสัตว์ทั้งหลายจำพวกที่มีธุลีในจักษุ
น้อยมีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรมย่อมเสื่อม ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมี.
ท้าวสหัมบดีพรหมได้กราบทูลดังนี้แล้ว จึงกราบทูลเป็นประพันธคาถา
ต่อไปว่า:-

พรหมนิคมอาทิผิด อักขระคาถา
เมื่อก่อนธรรมไม่บริสุทธิ์อันคนมี
มลทินทั้งหลาย คิดแล้วได้ปรากฏในมคธชน-
บท ขอพระองค์ได้โปรดทรงเปิดประตูแห่ง
อมตธรรมนี้ ขอสัตว์ทั้งหลายจงฟังธรรมที่
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้หมดมลทินตรัสรู้
แล้วตามลำดับ เปรียบเหมือนบุรุษมีจักษุยืน
อยู่บนยอดภูเขา ซึ่งล้วนแล้วด้วยศิลา พึง
เห็นชุมชนได้โดยรอบฉันใด ข้าแต่พระองค์
ผู้มีปัญญาดี มีพระปัญญาจักษุรอบคอบ ขอ
พระองค์ผู้ปราศจากความโศกจงเสด็จขึ้น สู่
ปราสาท อันสำเร็จด้วยธรรม แล้วทรง
 
๖/๘/๓๑