วันเสาร์, ตุลาคม 21, 2566

Samakkhi

 
สองบทว่า กิริยา มชฺเฌ มีความว่า กิริยาที่กระทำบุพกิจสวด
ปาฏิโมกข์ เป็นท่ามกลางของอุโบสถกรรม.
สองบทว่า นิฏฺฐานํ ปริโยสานํ มีความว่า ความจบปาฏิโมกข์
ดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหมดทีเดียว พึงเป็นผู้พร้อมเพรียง ชื่นชมยินดีด้วยดีอยู่
เป็นผู้ไม่วิวาทอยู่ ศึกษาในพระปาฏิโมกข์นั้น เป็นที่สุด (ของอุโบสถกรรม).
หลายบทว่า ปวารณากมฺมสฺส สามคฺคี อาทิ มีความว่า กาย-
สามัคคีอาทิผิด อักขระของภิกษุทั้งหลายผู้คิดว่า จักทำปวารณา แล้วชำระสีมา นำฉันทะและ
ปวารณามา ประชุมกัน เป็นเบื้องต้นของปวารณากรรม.
สองบทว่า กิริยา มชฺเฌ มีความว่า ปวารณาญัตติและปวารณากถา
เป็นท่ามกลาง (ของปวารณากรรม).
คำของภิกษุผู้สังฆนวกะที่ว่า ข้าพเจ้าเห็นอยู่ จักทำคืน เป็นที่สุด
(ของปวารณากรรม).
ภิกษุย่อมเป็นผู้ควรแก่กรรม ด้วยวัตถุใด วัตถุนั้น ชื่อว่าวัตถุใน
กรรมทั้งหลาย มีตัชชนียกรรมเป็นต้น.
บุคคลที่ก่อวัตถุนั้น ชื่อว่าบุคคล.
สองบทว่า กมฺมวาจา ปริโยสานํ มีความว่า คำสุดท้ายแห่ง
กรรมวาจานั้น ๆ อย่างนี้ว่า ตัชชนียกรรม อันสงฆ์ทำแล้ว แก่ภิกษุชื่อนี้
ควรแก่สงฆ์ เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง, ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้ เป็นที่สุด
ของกรรมทั้งหลาย มีตัชชนียกรรมเป็นต้น.
คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
พรรณนาอุโปสถาทิปุจฉาวิสัชนา จบ
 
๑๐/๑๐๐๘/๕๘๗

ไม่มีความคิดเห็น: