วันจันทร์, ตุลาคม 31, 2565

Kha

 
เจ้าข้า แต่ถ้าหากพระองค์จะโปรดรอคอยชั่วเวลาสักเล็กน้อย ข้าพระบาท
ก็จะทำให้มันออกผลให้ได้ ไม่นานเลย พระเจ้าข้า. ตรัสว่า ดีสิ พนาย
ลงมือทำอย่างนั้นเลย. พนักงานเฝ้าสวนก็ไปสวน เอาดินละเอียด ที่โคน
ต้นมะม่วงออกไปแล้ว เกลี่ยดินละเอียดเช่นนั้นลงใหม่ รดน้ำลงตรงนั้น
จนต้นมะม่วงสลัดใบ ไม่นานนัก ครั้นแล้ว ก็เอาดินละเอียดนั้นออกไป
เกลี่ยดินละเอียดตามปกติ ผสมกับกากมะปรางแล้วใส่น้ำรสหวานลงไป.
ครั้งนั้น ไม่นานเลย ต้นมะม่วงทั้งหลายก็ออกช่อตามกิ่ง ตูมแล้วก็บาน.
ออกผลดิบอ่อนแล้วก็แก่. ในต้นมะม่วงเหล่านั้น ต้นหนึ่ง ก็สุกก่อน
๔ ผล มีสีแดงเรื่อดังผงชาด มีกลิ่นรสหอมหวาน.
พนักงานเฝ้าสวนนั้น ก็ถือผลมะม่วงเหล่านั้นเดินไปหมายจะถวาย
พระราชา ระหว่างทาง พบท่านพระมหาโมคคัลลานะ กำลังบิณฑบาต
คิดว่า มะม่วงเหล่านี้ เป็นผลไม้ชั้นยอด จำเราจักถวายพระผู้เป็นเจ้าเสีย
เถิด พระราชาจะทรงฆ่า หรือเนรเทศเราก็ตามที. เพราะว่า เมื่อเรา
ถวายพระราชา ก็จะพึงมีผลเล็กน้อยเพียงค่าอาทิผิด อักขระตอบแทนในปัจจุบัน แต่เมื่อ
เราถวายพระผู้เป็นเจ้าแล้ว จักมีผลไม่มีประมาณ ทั้งปัจจุบันทั้งภายหน้า
ครั้นคิดอย่างนี้แล้ว ก็ถวายผลมะม่วงเหล่านั้นแก่พระเถระ แล้วเข้าเฝ้า
กราบทูลเรื่องนั้นถวายแด่พระราชา. พระราชาทรงสั่งราชบุรุษว่า พนาย
พวกเจ้าจงสอบสวน อย่างที่บุรุษผู้นี้กล่าวก่อน. ส่วนพระเถระ นำผล
มะม่วงเหล่านั้น น้อมถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. ในผลมะม่วงเหล่านั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทานแก่ท่านพระสารีบุตรผล ๑ ท่านพระมหาโมค-
คัลลานะผล ๑ ท่านพระมหากัสสปะผล ๑ เสวยเองผล ๑ พวกราชบุรุษ
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระราชา
 
๔๘/๖๗/๕๕๒

วันอาทิตย์, ตุลาคม 30, 2565

Manasikan

 
กถาพรรณนาสฬายตนวาระ
๑๒๔) พึงทราบวินิจฉัยในสฬายตนวาระ (ต่อไป) ว่า
อายตนะทั้งหมด ที่ควรจะกล่าวในคำทั้งหลาย มีอาทิว่า จกฺขายตนํ
มีนัยดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในขันธกนิเทศและอายตนนิเทศในคัมภีร์วิสุทธิ-
มรรคนั่นเอง.
แต่ว่า ในคำว่า นามรูปสมุทยา นี้ ผู้ศึกษาพึงทราบการเกิดขึ้น
แห่งสฬายตนะ เพราะนามรูปเกิด โดยนัยที่ได้กล่าวไว้แล้ว ในนิเทศ
แห่งปฏิจจสมุปบาทในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ด้วยสามารถแห่งอายตนะที่มีรูป
(อย่างเดียว) และนาม (อย่างเดียว) และทั้งนามทั้งรูปเป็นปัจจัย.
คำที่เหลือมีประการดังที่กล่าวมาแล้วนั่นแล.
จบ กถาพรรณนาสฬายตนวาระ
กถาพรรณนานามรูปวาระ
๑๒๕) พึงทราบวินิจฉัยในนามรูปวาระ (ต่อไป) :-
นามมีการน้อมไปเป็นลักษณะ. รูปมีการสลายไปเป็นลักษณะ.
แต่ว่าในวาระแห่งวิตถารนัยของนามรูปนั้น พึงทราบว่า เวทนา ได้แก่
เวทนาขันธ์ สัญญา ได้แก่สัญญาขันธ์ เจตนา ผัสสะ มนสิการอาทิผิด สระ ได้แก่
สังขารขันธ์. ถึงจะมีธรรมะแม้อย่างอื่นที่สงเคราะห์เข้าด้วยสังขารขันธ์
ก็จริงอยู่ แต่ธรรม ๓ อย่างนี้ มีอยู่ในจิตที่มีพลังต่ำทุกดวง เพราะฉะนั้น
ในนามรูปวาระนี้ พระเถระก็ได้แสดงสังขารขันธ์ไว้ ด้วยอำนาจแห่งธรรม
๓ อย่างเหล่านี้นั่นเอง
คำว่า จตฺตาริ ในคำว่า จตฺตาริ มหาภูตานิ นี้ เป็นการกำหนด
 
๑๗/๑๓๐/๕๙๘

วันเสาร์, ตุลาคม 29, 2565

Songkhram

 
ท่านผู้นี้ ประสบความสุข ด้วยอาการอย่างนี้
คือ ด้วยการรบอย่างดี ด้วยความปรารถนา (ของกัล
ยาณมิตร) ด้วยชัยชนะในสงคราม และด้วยพรหม
จรรย์ ที่ประพฤติมาแล้ว ตามลำดับ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุยุทฺเธน ความว่า ด้วยการรบอย่างดี
กับกิเลสทั้งหลาย ด้วยอำนาจแห่งตทังคปหาน (การละได้ด้วยองค์นั้น)
และวิกขัมภนปหาน (การละด้วยการข่มไว้).
บทว่า สุยิฏฺเฐน ความว่า ด้วยธรรมทานเป็นที่สบาย ที่กัลยาณมิตร
ทั้งหลายให้แล้ว ในระหว่าง ๆ. บทว่า สงฺคามวิชเยน จ ความว่า และ
ด้วยชัยชนะในสงครามอาทิผิด อักขระที่ได้แล้ว ด้วยอำนาจแห่งสมุจเฉทปหาน (การละได้โดย
เด็ดขาด). บทว่า พฺรหฺมจริยานุจิณฺเณน ความว่า ด้วยมรรคพรหมจรรย์
ชั้นยอด ที่ประพฤติมาแล้วตามลำดับ. บทว่า เอวายํ สุขเมธติ ความว่า
ท่านพระขุชชโสภิตเถระนี้ ย่อมประสบ อธิบายว่า เสวยอยู่ซึ่งความสุขคือพระ
นิพพานและความสุขอันเกิดแต่ผลสมาบัติ ด้วยประการอย่างนี้ คือ ด้วยประการ
ดังที่กล่าวมาแล้ว.
จบอรรถกถาขุชชโสภิตเถรคาถา
 
๕๑/๓๑๒/๒๖๒

วันศุกร์, ตุลาคม 28, 2565

Chang

 
โตเทยยเถรปทานที่ ๘ (๔๐๘)
ว่าด้วยผลแห่งการสร้างบรรณศาลา
[๔๑๐] ในกาลนั้น (เราเห็น) พระราชาพระนามว่าวิชิตชัย เป็นผู้
กล้า ทรงถึงพร้อมด้วยความกล้าใหญ่ ประทับอยู่ในท่ามกลาง
พระนครเกตุมดีอันอุดม.
ในกาลนั้น เมื่อพระราชาพระองค์นั้นประมาท โจรผู้
ประทุษร้ายแว่นแคว้นก็ตั้งขึ้น และโจรผู้หยาบช้าทางทิศเหนือ
ก็กำจัดแว่นแคว้น.
เมื่อปัจจันตชนบทกำเริบ พระราชาจึงสั่งให้พลรบและ
ทหารรักษาพระองค์ประชุมกัน รับสั่งให้ใช้อาวุธบังคับข้าศึก.
ในกาลนั้น พลช้าง พลม้า ทหารเสื้อเกราะผู้กล้าหาญ พล
ธนูและพลรถมาประชุมกันทั้งหมด พวกพ่อครัว พนักงาน
เครื่องต้น พนักงานสรงสนาน ช่างอาทิผิด อาณัติกะดอกไม้ผู้กล้าหาญ เคย
ชนะสงคราม มาประชุมกันทั้งหมด.
พวกชายฉกรรจ์ผู้ถือดาบ ถือธนู สวมเกราะหนัง เป็น
คนแข็งกล้าเคยชนะสงคราม มาประชุมกันทั้งหมด.
ช้างมาตังคะตกมัน ๓ ครั้ง มีอายุ ๖๐ ปี มีสายประคน
พานหน้าพานหลัง และเครื่องประดับล้วนทอง มาประชุมกัน
ทั้งหมด.
นักรบอาชีพ อดทนต่อหนาว ร้อน อุจจาระ ปัสสาวะ มี
กรรมอันทำเสร็จแล้ว มาประชุมกันทั้งหมด.
 
๗๑/๔๑๐/๙๘๖

วันพฤหัสบดี, ตุลาคม 27, 2565

Ratchumala

 
ภายหลัง ทาสีนั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เวียนว่ายไป ๆ มา ๆ อยู่
ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในหมู่บ้านคยา ไปมี
สามี ตามนัยดังกล่าวแล้ว ส่วนหญิงอีกคนหนึ่งได้เป็นทาสีของนาง นาง
จึงเบียดเบียนเธอเพราะผูกอาฆาตกันไว้อย่างนั้น.
เมื่อเบียดเบียนอยู่อย่างนี้ โดยไม่มีเหตุที่สมควรเลย นางได้จิกผม
ใช้ทั้งมือทั้งเท้าตบถีบอย่างเต็มที่ ทาสีนั้นไปศาลาอาบน้ำ โกนผมเสีย
เกลี้ยง หญิงผู้เป็นนายกล่าวว่า เฮ้ย อีทาสีชั่ว เพียงโกนผมเกลี้ยง มึง
จะพ้นหรือ แล้วเอาเชือกพันศีรษะ จับนางให้ก้มลงเฆี่ยนตรงนั้น และ
ไม่ให้นางเอาเชือกนั้นออก นางทาสีจึงได้ชื่อว่า รัชชุอาทิผิด สระมาลา ตั้งแต่นั้นมา.
ต่อมาวันหนึ่ง ตอนใกล้รุ่ง พระศาสดาเสด็จออกจากมหากรุณา-
สมาบัติ ทรงตรวจดูสัตวโลก ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติผลของ
นางรัชชุมาลา และการดำรงอยู่ในสรณะและศีลของนางพราหมณีนั้น
จึงเสด็จเข้าไปป่าประทับนั่งที่โคนไม้ต้นหนึ่ง ทรงเปล่งพระพุทธรัศมี
มีพรรณะ ๖ ไป. ฝ่ายนางรัชชุมาลาเล่า ถูกเขาเบียดเบียนอยู่เช่นนั้น
ทุก ๆ วัน คิดว่าจะมีประโยชน์อะไรด้วยชีวิตอันลำเค็ญเช่นนี้ของเรา ดังนี้
เกิดความเบื่อหน่ายในชีวิต ประสงค์จะตายเสีย จึงถือเอาหม้อน้ำออก
จากเรือนไป ทำทีเดินไปท่าน้ำ เข้าไปตามลำดับ ผูกเชือกเข้าที่กิ่งไม้
ต้นหนึ่ง ที่ไม่ไกลต้นไม้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ประสงค์จะทำ
เป็นบ่วงผูกคอตาย มองดูไปข้างโน้นข้างนี้ ก็เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับนั่งอยู่ ณ ที่นั้น ดูน่าพอใจ น่าเลื่อมใส ทรงบรรลุความฝึกและ
ความสงบอย่างสูงสุด กำลังเปล่งพระพุทธรัศมีมีพรรณะ ๖ อยู่. ครั้น
เห็นแล้วมีใจถูกความเคารพในพระพุทธเจ้าเหนี่ยวรั้งไว้จึงคิดว่า ทำไฉน
 
๔๘/๕๐/๔๐๓

วันพุธ, ตุลาคม 26, 2565

Banphacha

 
เกิดเป็นธิดาเศรษฐีมีสมบัติมาก ในกรุงพาราณสี ด้วยผลแห่งบุพกรรมจึงมี
ร่างกายเหม็น พวกมนุษย์รังเกียจ นางเกิดความสังเวชจึงเอาเครื่องประดับ
ของตนสร้างอิฐทองประดิษฐานไว้ที่เจดีย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า และถือดอก
อุบลบูชา ด้วยบุญกรรมนั้นร่างกายของนางมีกลิ่นหอมจับใจในภพนั้นเอง นาง
เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของสามี ทำกุศลตลอดชีวิตเคลื่อนจากอัตภาพนั้นเกิดใน
สวรรค์ แม้ในสวรรค์นั้นก็ได้เสวยทิพยสุขตลอดชีวิต จุติจากสวรรค์นั้นเป็น
ราชธิดาของพระเจ้าพาราณสี เสวยสมบัติเช่นกับสมบัติเทวดาในกรุงพาราณสี
นั้น บำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเวลานาน เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้า
เหล่านั้นปรินิพพานแล้ว เกิดความสังเวช เป็นดาบสินีอยู่ในพระราชอุทยาน
เจริญฌานทั้งหลายแล้วเกิดในพรหมโลก จุติจากพรหมโลกนั้นเกิดในเรือนของ
ตระกูลพราหมณ์โกสิยโคตร ในสาคลนคร เติบโตขึ้นด้วยบริวารใหญ่ เจริญ
วัยแล้วบิดามารดานำไปสู่เรือนของปิปผลิกุมารในมหาติตถคาม เมื่อปิปผลิกุมาร
ออกบวช นางละโภคะกองใหญ่และญาติหมู่ใหญ่ออกเพื่อต้องการบวช เข้าไป
อยู่ในอารามเดียรถีย์ ๕ ปี เวลาต่อมา นางได้บรรพชาอาทิผิด อักขระและอุปสมบทในสำนัก
ของพระมหาปชาบดีโคตมี เริ่มตั้งวิปัสสนา ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัต
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า
ในกัปที่หนึ่งแสนแต่ภัทรกัปนี้ พระพิชิตมาร
พระนามว่าปทุมุตตระ ผู้รู้จบธรรมทั้งปวง เป็นนายก
ของโลก เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ครั้งนั้น ในพระนคร
หังสวดี มีเศรษฐีชื่อว่าวิเทหะ เป็นผู้มีรัตนะมาก
ข้าพเจ้าเป็นชายาของเขา บางครั้ง เศรษฐีนั้นพร้อมกับ
ชนบริวารเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้เป็นดังดวงอาทิตย์
ของนรชนได้ฟังธรรมของพระพุทธองค์ซึ่งเป็นเหตุนำ
๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๖๗. ภัททกาปิลานีเถรีอปทาน.
 
๕๔/๔๓๘/๑๑๖

วันอังคาร, ตุลาคม 25, 2565

Tham

 
ติกทุกกฏ
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ. . .
กรรมไม่เป็นธรรมอาทิผิด อักขระ ภิกษุสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ. . .
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ. . .
อนาปัตติวาร
[๓๖๗] ภิกษุไม่เข้าใจจึงถาม ๑ ภิกษุอาพาธให้การไม่ได้ ๑ ภิกษุ
ไม่ให้การด้วยคิดว่า ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง หรือความ
วิวาทจักมีแก่สงฆ์ ๑ ภิกษุไม่ให้การด้วยคิดว่า จักเป็นสังฆเภท หรือสังฆราชี ๑
ภิกษุไม่ให้การด้วยคิดว่า สงฆ์จักทำกรรมโดยไม่ชอบธรรม โดยเป็นวรรค
หรือจักไม่ทำกรรมแก่ภิกษุผู้ควรแก่กรรม ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ
๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
เสนาสนวรรค อัญญวาทสิกขาบทที่ ๒
พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๒ ดังต่อไปนี้
[แก้อรรถปฐมบัญญัติ เรื่องพระฉันนะ]
สองบทว่า อนาจารํ อาจริตฺวา คือ กระทำสิ่งที่ไม่ควรทำ มีคำ
อธิบายว่า ต้องอาบัติในทางกายทวารและวจีทวาร.
สองบทว่า อญฺเญนญฺญํ ปฏิจรติ ได้แก่ ย่อมกลบเกลื่อน คือ
ปกปิด ทับถมคำอื่นด้วยคำอื่น.
 
๔/๓๖๗/๒๙๒

วันจันทร์, ตุลาคม 24, 2565

Dai

 
ไม่สามารถบำเพ็ญสิกขา ๓ ให้เต็มได้ว่า เราจะไม่มีการกระทำอุโบสถ
ก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี กับท่าน แล้วหลีกเว้นไปเสีย. สมณะ
หรือพราหมณ์นั้นคิดว่า การบำเพ็ญข้อปฏิบัติให้เต็มบริบูรณ์ในศาสนา
ทำได้ยาก เปรียบเสมือนคมมีดโกน เป็นทุกข์ แต่การบวชเป็นดาบส ทำได้
ง่าย ทั้งชนก็นับถือมากมาย ดังนี้แล้ว จึงสึกออกมาเป็นดาบส. คนอื่น ๆ
เห็นเขาต่างพากันถามว่า ท่านทำอะไรหรือ. เขาจึงตอบว่า การงานใน
ศาสนาของพวกท่านหนักมาก แต่พวกเราก็ยังมีปรกติประพฤติด้วยความ
พอใจในศาสนานี้อยู่. แม้เขาก็คิดว่า ถ้าเมื่อเป็นเช่นนี้ แม้เราก็จะบวชใน
ศาสนานี้บ้าง ดังนี้แล้ว ศึกษาตามอย่างเขา บวชเป็นดาบส แม้พวกอื่น ๆ
ก็บวชเป็นดาบสทำนองนี้บ้าง เพราะฉะนั้น พวกดาบสจึงเพิ่มมากขึ้นโดย
ลำดับ. ในกาลที่พวกดาบสเหล่านั้นเกิดขึ้น ศาสนาชื่อว่าจักถอยหลัง. ชื่อว่า
พระพุทธเจ้าเห็นปานฉะนี้ เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก ศาสนาของพระองค์
ก็ได้ชื่อว่าเป็นเช่นนี้ เพราะฉะนั้น ศาสนาจึงจักเป็นเพียงเส้นด้ายอาทิผิด สระเท่านั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงข้อนี้ จึงตรัสว่า การบวชเป็นดาบสเป็น
ปากทางแห่งความพินาศของศาสนา.
บทว่า จอบและตะกร้า ได้แก่ จอบและตะกร้า เพื่อจะเก็บหัว
เผือกมัน รากไม้และผลไม้. บทว่า ใกล้บ้านหรือ ใจความว่า ผู้ที่ยังมิได้
บรรลุถึงความถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นต้น สำคัญอยู่ว่า การ
ดำเนินชีวิตด้วยกสิกรรมเป็นต้น เป็นของลำบาก ดังนี้ เพื่อจะหลอกลวง
ให้คนหมู่มากหลงเชื่อ จึงสร้างโรงไฟ ในที่ใกล้หมู่บ้านบ้าง ในที่ใกล้
ตำบลบ้าง บำเรอไฟด้วยอำนาจกระทำการบูชาด้วยเนยใส น้ำมัน นมส้ม
น้ำผึ้ง งา และข้าวสาร เป็นต้น และด้วยไม้นานาชนิดอาศัยอยู่.
 
๑๑/๑๗๗/๕๗๒

วันอาทิตย์, ตุลาคม 23, 2565

Usapha

 
กรรมเห็นปานนั้นได้อย่างไรดังนั้น ท่านจึงบันลือแล้วซึ่งสีหนาท
เป็นครั้งแรก. พึงทราบการประกอบในบททั้งปวงอย่างนี้.
บทว่า รโชหรณํ ได้แก่ ราชตระกูลพวกเขาไม่กวาดด้วย
ไม้กวาด แต่พวกเขาเช็ดด้วยท่อนผ้า. นั่นเป็นชื่อของรโชหรณะ
(ผ้าเช็ดธุลี). บทว่า กโฬปิหตฺโถ ได้แก่ เป็นผู้มีมือถือตะกร้า หรือ
ถือหม้อข้าว. บทว่า นนฺติกวาสี ได้แก่ เป็นผู้นุ่งผ้าเก่าชายขาด.
บทว่า สุรโต ได้แก่ เป็นผู้มีปกติแจ่มใสประกอบด้วยความสงบ
เสงี่ยม. บทว่า สุทนฺโต ได้แก่ ได้รับการฝึกดีแล้ว. บทว่า สุสิกฺขิโต
ได้แก่ เป็นผู้ศึกษาดีแล้ว. บทว่า น กญฺจิ หึสติ ได้แก่ ไม่เบียดเบียน
ใคร ๆ แม้จะจับที่เขาเป็นต้น แม้จะลูบคลำหลัง. บทว่า อุสภจฺ-
ฉินฺนวิสาณสาเมน ได้แก่ เช่นกับจิตของโคอุสภะอาทิผิด สระเขาขาด.
บทว่า อฏฺฏิเยยฺย ได้แก่ พึงเป็นผู้มีอาการคือ ถูกเบียดเบียน
บทว่า หราเยยฺย ได้แก่ ละอาย. บทว่า ชิคุจฺเฉยฺย ได้แก่ ถึงความ
เกลียดชัง. บทว่า เมทกถาลิกํ ได้แก่ ภาชนะที่บุคคลทำไว้สำหรับ
สุนัขเจาะเป็นรูไว้ในที่นั้น ๆ เพื่อการไหลออกของน้ำแกง เรียก
ภาชนะมันข้น. บทว่า ปริหเรยฺย ได้แก่ คนพึงบรรจุให้เต็มด้วยเนื้อ
แล้วยกขึ้นเดินไป. บทว่า ฉิทฺทาวฉิทฺทํ ได้แก่ ประกอบด้วยช่องน้อย
ช่องใหญ่. บทว่า อคุฆรนฺตํ ได้แก่ น้ำแกงไหลลงทางรูที่เป็นช่อง
ข้างบน. บทว่า ปคฺฆรนฺตํ ได้แก่ น้ำแกงไหลออกทางรูที่เป็นช่อง
ข้างล่าง. ร่างกายทั้งสิ้นของเขาพึงเปื้อนด้วยน้ำแกงด้วยอาการ
อย่างนี้. บทว่า ฉิทฺทาวฉิทฺทํ ได้แก่ เป็นช่องน้อยช่องใหญ่จาก
 
๓๗/๒๑๕/๗๔๖

วันเสาร์, ตุลาคม 22, 2565

Khanthaka

 
อรรถกถาจันทกุมารชาดก
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ ทรงปรารภพระเทวทัต
จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ราชาสิ ลุทฺทกมฺโม ดังนี้.
เรื่องของพระเทวทัตนั้น มาแล้วในสังฆเภทขันธกะอาทิผิด แล้วนั่นแล.
เรื่องนั้น นับจำเดิมแต่เวลาที่ท่านออกผนวชแล้วตราบเท่าถึงให้ปลงพระชนมชีพ
ของพระเจ้าพิมพิสาร พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในที่นั้นนั่นเอง.
ฝ่ายพระเทวทัต ครั้นให้ปลงพระชนมชีพพระเจ้าพิมพิสารแล้ว ก็เข้า
ไปเฝ้าพระเจ้าอชาตศัตรูทูลว่า ดูก่อนมหาราช มโนรถของพระองค์ถึงที่สุด
แล้ว ส่วนมโนรถของของอาตมา ก็ยังหาถึงที่สุดก่อนไม่. พระราชาได้ทรงฟัง
ดังนั้นจึงตรัสถามว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ก็มโนรถของท่านเป็นอย่างไร ?
พระเทวทัต. ดูก่อนมหาราช เมื่อฆ่าพระทสพลแล้วอาตมาจักเป็นพระพุทธเจ้า
มิใช่หรือ ? พระราชาตรัสถามว่า ก็ในเพราะเรื่องนี้ควรเราจะทำอย่างไรเล่า ?
เทวทัต. ดูก่อนมหาราช ควรจะให้นายขมังธนูทั้งหลายประชุมกัน. พระราชา
ทรงรับว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ จึงให้ประชุมนายขมังธนูจำพวกที่ยิงไม่ผิดพลาด
รวม ๕๐๐ ตระกูล ทรงเลือกจากคนเหล่านั้นไว้ ๓๑ คน ตรัสสั่งว่า พ่อทั้ง
หลาย พวกเจ้าจงทำตามคำสั่งของพระเถระ ดังนี้แล้วจึงส่งไปยังสำนักพระ-
เทวทัต. พระเทวทัตเรียกผู้เป็นใหญ่ ในบรรดาพวกนายขมังธนูเหล่านั้นมา
แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ พระสมณโคดมประทับอยู่ ณ เขาคิชฌกูฏ
เสด็จจงกรมอยู่ในที่พักกลางวันในที่โน้น. ส่วนท่านจงไปในที่นั้น ยิงพระสมณ-
โคดมด้วยลูกศรอาบด้วยยาพิษ ให้สิ้นพระชนมชีพแล้ว จงกลับโดยทางชื่อ
โน้น. พระเทวทัตนั้น ครั้นส่งนายขมังธนูผู้ใหญ่นั้นไปแล้ว จึงพักนายขมังธนู
 
๖๔/๘๓๓/๑๔๙

วันศุกร์, ตุลาคม 21, 2565

Kamchat

 
เมื่อไม่รู้ก็เข้าถึงวินิบาต จากครรภ์
เข้าถึงครรภ์ จากที่มืดเข้าถึงที่มืด ภิกษุผู้เช่น
นั้นแล ละไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความทุกข์
ก็บุคคลใดผู้มีการงานเศร้าหมองเห็นปานนี้
ตลอดกาลนาน พึงเป็นผู้เต็มแล้วด้วยบาป
เหมือนหลุมคูถที่เต็มอยู่นานปี พึงเป็นหลุม
เต็มด้วยคูถ ฉะนั้น.
บุคคลนั้นเป็นผู้มีกิเลสเครื่องยียวน
หมดจดได้โดยยาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงรู้จักบุคคลผู้อาศัยเรือน ผู้มี
ความปรารถนาลามก ผู้มีความดำริลามก
ผู้มีอาจาระและโคจรลามกเห็นปานนี้.
เธอทั้งปวงพึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน
เว้นบุคคลนั้นเสีย จงกำจัดอาทิผิด อักขระบุคคลผู้เป็นเพียง
ดังแกลบ จงคร่าบุคคลผู้เป็นเพียงดัง
หยากเยื่อออกเสีย แต่นั้นจงขับบุคคลลีบผู้
ไม่ใช่สมณะ แต่มีความสำคัญว่าเป็นสมณะ
ไปเสีย.
ครั้นกำจัดบุคคลผู้มีความปรารถนา
ลามก มีอาจาระและโคจรลามกออกไปแล้ว
 
๔๗/๓๒๑/๒๑๑

วันพฤหัสบดี, ตุลาคม 20, 2565

Nok Khok

 
๑๐. กรัณฑวสูตร
[๑๐๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ฝั่งสระโบก-
ขรณี ชื่อคัครา ใกล้นครจัมปา สมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุด้วย
อาบัติ ภิกษุที่ถูกภิกษุทั้งหลายโจทด้วยอาบัตินั้นเอาเรื่องอื่น ๆ
มาพูดกลบเกลื่อน ชักเรื่องไปนอกทางเสีย แสดงความโกรธเคือง
และความไม่ยำเกรงให้ปรากฏ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จงกำจัดบุคคลนั้น
ออกไป จงกำจัดบุคคลนั้นออกไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนชนิดนี้
ต้องขับออก เป็นลูกนอกคอกอาทิผิด อักขระ กวนใจกระไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ มีการก้าวไป การถอยกลับ การแล
การเหลียว การคู้ การเหยียด การทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และ
จีวร เหมือนภิกษุผู้เจริญเหล่าอื่น คราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลายยัง
ไม่เห็นอาบัติของเขา แต่เมื่อใด ภิกษุทั้งหลายเห็นอาบัติของเขา
เมื่อนั้นภิกษุทั้งหลายย่อมรู้จักเขาอย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นผู้ประทุษร้าย
สมณะ เป็นสมณะแกลบ เป็นสมณะหยากเยื่อ ครั้นรู้จักอย่างนี้แล้ว
ย่อมนาสนะออกไปให้พัน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคิดว่าภิกษุนี้
อย่าประทุษร้ายภิกษุที่ดีเหล่าอื่นเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบ
เหมือนหญ้าชนิดหนึ่งที่ทำลายต้นข้าว มีเมล็ดเหมือนข้าวลีบ มี
เมล็ดเหมือนข้าวตายรวง พึงเกิดขึ้นในนาข้าวที่สมบูรณ์ ราก
ก้าน ใบของมันเหมือนกับข้าวที่ดีเหล่าอื่น ตราบเท่าที่มันยังไม่
ออกรวง แต่เมื่อใด มันออกรวง เมื่อนั้นจึงทราบกันว่า หญ้านี้
 
๓๗/๑๐๐/๓๒๖

วันพุธ, ตุลาคม 19, 2565

Khatha

 
ก็ในอานาปานสติสูตร แม้ปุถุชนผู้ดีงามอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บริษัทนี้ไม่มีแกลบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้มีแกลบออกแล้ว ดำรงอยู่
ในสาระอันบริสุทธิ์ ดังนี้ ตรัสว่า เป็นคนแกลบ ส่วนในสูตรนี้และในกปิล-
สูตร ผู้ต้องปาราชิกอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงนำคนแกลบ ไม่ใช่สมณะแต่
สำคัญว่า สมณะออกจากที่นั้น ดังนี้ ตรัสว่า เป็นคนแกลบ.
บทว่า ปฏิรูเปน จรํ ส มคฺคทูสี ความว่า บุคคลนั้นกระทำ
เพศแห่งพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกผู้มีวัตรอันงามให้เป็น
เครื่องปกปิดแล้วนั้น ประพฤติด้วยวัตตปฏิรูป คือ วัตตรูป ได้แก่ด้วย
อาจาระสักว่าภายนอก โดยประการที่ชนย่อมรู้เรา ตามที่ประพฤติอยู่ว่า ภิกษุ
นี้ อยู่ในป่าเป็นวัตร ถือรุกขมูลเป็นวัตร ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เที่ยวบิณฑบาต
เป็นวัตร ผู้มีความปรารถนาน้อย ผู้สันโดษ ดังนี้ พึงทราบว่า เป็นสมณะ
ผู้ประทุษร้ายมรรค เพราะประทุษร้ายโลกุตรมรรคของตน และเพราะประทุษ-
ร้ายสุคติมรรคของคนเหล่าอื่น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงขยายสมณะผู้สักว่าโวหาร ผู้ทุศีลว่า
เป็นสมณะผู้ประทุษร้ายมรรค ด้วยคาถานี้ ด้วยประการฉะนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อ
จะทรงแสดงความที่สมณะเหล่านั้นเป็นผู้ไม่เข้ากันและกัน จึงตรัสว่า เอเต จ
ปฏิวิชฺฌิ ดังนี้.
คาถาอาทิผิด อักขระนั้นมีเนื้อความว่า ผู้ใดจะเป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นกษัตริย์ก็ตาม
เป็นพราหมณ์ก็ตาม คนใดคนหนึ่งก็ตาม ทราบชัด คือรู้ทั่ว กระทำให้แจ้ง
ซึ่งสมณะ ๔ เหล่านั้น ด้วยลักษณะตามที่กล่าวแล้ว สดับลักษณะของสมณะ ๔

ขุ. สุ. ๓๐๙.
 
๔๖/๓๐๒/๓๐๖

วันอังคาร, ตุลาคม 18, 2565

Tachang

 
สามเณรทำการร้องขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาสามเณรผู้กระทำผิด
และสามเณรผู้มีความกระทำไม่ปรากฏ. แต่ในกุรุนทีแก้ว่า หากว่า สามเณร
ทั้งหลายวิงวอนว่า ท่านผู้เจริญ พวกผมไม่ทำงานของสงฆ์ เพราะเหตุอะไร
พวกผมจักทำ พึงให้ส่วนเท่ากัน.
บทว่า อุตฺตริตุกาโม มีความว่า ผู้ประสงค์จะข้ามแม่น้ำหรือทาง
กันดาร คือ ผู้ได้พวกแล้วประสงค์จะหลีกไปสู่ทิศ.
คำว่า สกํ ภาคํ ทาตุํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาเนื้อความ
นี้ว่า เมื่อขนจีวรออกจากเรือนคลังจัดกองไว้แล้ว ตีระฆังแล้ว ภิกษุสงฆ์ประ-
ชุมกันแล้ว. ภิกษุผู้ได้พวกแล้วประสงค์จะไป อย่าต้องพลัดพรากจากพวก.
เพราะฉะนั้น เมื่อจีวรยังมิได้ขนออกก็ดี ระฆังยังมิได้ตีก็ดี สงฆ์ยังมิได้ประชุม
กันก็ดี ไม่ควรให้. แต่เมื่อจีวรขนออกแล้ว ตีระฆังแล้ว ภิกษุสงฆ์ประชุมกัน
แล้ว ภิกษุผู้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวร พึงคะเนดูว่า ส่วนของภิกษุนี้พึงมีเท่านี้
แล้วให้จีวรตามความคาดคะเน; เพราะว่าไม่อาจให้เท่า ๆ กัน เหมือนชั่งด้วย
ตาชั่งอาทิผิด อักขระได้ เพราะฉะนั้น จะหย่อนไปหรือเกินไปก็ตามที จีวรที่ให้แล้ว โดย
คาดคะเนโดยนัยอย่างนี้ เป็นอันให้ด้วยดีแท้; หย่อนไปก็ไม่ต้องแถมให้อีก
เกินไปก็ไม่ต้องเอาคืนฉะนี้แล.
ข้อว่า อติเรกภาเคน มีความว่า ภิกษุมี ๑๐ รูป ทั้งผ้าก็มี ๑๐ ผืน
เหมือนกัน ในผ้าเหล่านั้น ผืนหนึ่งตีราคา ๑๒ กหาปณะ ผืนที่เหลือตีราคา
ผืนละ ๑๐ กหาปณะ; เมื่อได้จับสลากในผ้าทั้งปวงด้วยอำนาจ ตีราคาผืนละ ๑๐
กหาปณะเท่ากัน สลากในผ้ามีราคา ๑๒ กหาปณะ ให้ตกแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้น
เป็นผู้ประสงค์จะไปทั้งส่วนที่เกินนั้น ด้วยกล่าวว่า จีวรของเราย่อมพอเพียง
ด้วยส่วนเท่านี้ ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ผู้มีอายุ ส่วนที่เกิน ต้องเป็นของสงฆ์;
 
๗/๑๗๓/๓๓๗

วันจันทร์, ตุลาคม 17, 2565

Paet Sip

 
ไหว้บ้าง ไม่ลุกรับบ้าง ไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะบ้าง ซึ่งพราหมณ์ทั้งหลาย
ผู้แก่เฒ่าเป็นผู้ใหญ่ล่วงมัชฌิมวัยถึงปัจฉิมวัยแล้ว ดังนี้ ความข้อนี้ก็เป็นอย่าง
เขาว่า พระโคดมผู้เจริญ ไม่ไหว้ด้วย ไม่ลุกรับด้วย ไม่เชื้อเชิญมาด้วยอาสนะ
ด้วย ซึ่งพราหมณ์ทั้งหลายผู้แก่เฒ่าเป็นผู้ใหญ่ล่วงมัชฌิมวัยถึงปัจฉิมวัยแล้ว
จริง ๆ ข้อนี้เป็นความบกพร่องแท้เทียว พระโคดมผู้เจริญ.
ภิกษุทั้งหลาย เราเห็นว่าท่านเหล่านี้ไม่รู้จักเถระ (คือผู้หลักผู้ใหญ่)
หรือเถรกรณธรรม (ธรรมอันทำให้เป็นเถระ) บุคคลแม้หากเป็นผู้เฒ่าอายุถึง
๘๐อาทิผิด ปี หรือ ๙๐ ปี หรือ ๑๐๐ ปีก็ตาม แต่เป็นอกาลวาที (พูดไม่ถูกกาละ)
อภูตวาที (พูดสิ่งที่ไม่เป็นจริง) อนัตถวาที (พูดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์)
อธัมมวาที (พูดสิ่งที่ไม่เป็นธรรม) อวินยวาที (พูดสิ่งที่ไม่เป็นวินัย) กล่าว
ถ้อยคำอันไม่น่าจดจำ พร่ำเพรื่อ เหลวแหลก ไม่มีขอบเขต ประกอบ
ด้วยเรื่องอัน ไม่ต้องการ บุคคลนั้นนับว่า เถระพาล (ผู้ใหญ่โง่) แท้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลแม้หากเป็นเด็กรุ่นหนุ่มผมยังดำ อยู่ในวัยอัน
เจริญคือปฐมวัย แต่ว่าเป็นกาลวาที (พูดถูกกาละ) ภูตวาที (พูดสิ่งที่เป็นจริง)
อัตถวาที (พูดเป็นประโยชน์) ธัมมวาที (พูดเป็นธรรม) วินยวาที (พูด
เป็นวินัย) กล่าวถ้อยคำน่าจดจำ ไม่พร่ำเพรื่อ มีที่อ้างอิง มีขอบเขต
ประกอบด้วยคุณที่ต้องการ บุคคลนั้นนับได้ว่า เถระบัณฑิต (ผู้ใหญ่ฉลาด)
โดยแท้.
ภิกษุทั้งหลาย เถรกรณธรรม ๔ นี้ เถรกรณธรรม ๔ คืออะไร
บ้าง คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมในพระปาฏิโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาท
และโคจร เห็นภัยในโทษมาตรว่าน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว สะสมธรรมที่ได้ฟัง
แล้วไว้ ธรรมเหล่าใดงามในเบื้องต้นงามในท่ามกลางงามในที่สุด แสดง
 
๓๕/๒๒/๕๙

วันอาทิตย์, ตุลาคม 16, 2565

Khong

 
ขอให้ท่านพร้อมด้วยญาติทั้งมวลของท่านจง
ชื่นชมยินดี ฉันนั้น.
จบ สุวรรณมิคชาดกที่ ๙
อรรถกถาสุวรรณมิคชาดกที่ ๙
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
กุลธิดาคนหนึ่ง ในกรุงสาวัตถี จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่ม
ต้นว่า วิกฺกม เร มหามิค ดังนี้.
ได้ยินว่า นางนั้นเป็นธิดาของอาทิผิด อักขระสกุลอุปัฏฐากแห่งพระอัครสาวก
ทั้งสอง ในกรุงสาวัตถี เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส นับถือพระพุทธ
พระธรรม พระสงฆ์ สมบูรณ์ด้วยมารยาท เป็นผู้ฉลาด ยินดียิ่งใน
บุญมีทานเป็นต้น. ตระกูลบุคคลมิจฉาทิฏฐิอื่นที่มีชาติเสมอกัน ใน
นครสาวัตถีนั้นแล ได้มาขอนางนั้น. ลำดับนั้น บิดามารดาของนาง
กล่าวว่า ธิดาของเรามีศรัทธาเลื่อมใส นับถือพระรัตนตรัย ยินดียิ่ง
ในการบุญมีทานเป็นต้น ท่านทั้งหลายเป็นมิจฉาทิฏฐิ จักไม่ให้ธิดา
ของเราแม้นี้ให้ทาน ฟังธรรม ไปวิหาร รักษาศีล หรือทำอุโบสถ-
กรรม ตามความชอบใจ เราจะไม่ให้ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจง
สู่ขอเอานางกุมาริกาจากตระกูลมิจฉาทิฏฐิที่เหมือนกับตนเถิด. ชนที่
มาขอเหล่านั้นถูกบิดามารดาของนางกุมาริกานั้นบอกคืนแล้ว จึง
กล่าวว่า ธิดาของท่านทั้งหลายไปเรือนของพวกเราแล้วจงกระทำกิจ
 
๕๘/๗๔๗/๗๗๖

วันเสาร์, ตุลาคม 15, 2565

Phatthiya

 
ในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้ พระศาสดา
พระนามชื่อว่าโคดม ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้า
โอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก เศรษฐีบุตร
ผู้นี้ จักได้เป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระ-
องค์นั้น เป็นโอรสอันธรรมเนรมิต เป็นสาวก
ของพระศาสดา มีนามชื่อว่า ภัททิยะอาทิผิด อักขระ
เพราะกรรมที่ทำไว้ดีนั้น และเพราะการ
ตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไป
สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ในกัปที่ ๙๒ แต่ภัทรกัปนี้พระพิชิตมาร
พระนามว่าผุสสะ เป็นผู้นำยากที่จะหาผู้เสมอ
ยากที่จะข่มขี่ได้ สูงสุดกว่าโลกทั้งปวงได้เสด็จ
อุบัติขึ้นแล้ว
และพระพุทธองค์ทรงสมบูรณ์ด้วยจรณะ
เป็นผู้ประเสริฐเที่ยงตรง ทรงมีความเพียรเผา
กิเลสทรงแสวงหาประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์
ทรงเปลื้องสัตว์เป็นอันมากจากกิเลสเครื่องจองจำ
เราเกิดเป็นนกดุเหว่าขาวในพระอาราม
อันน่าเพลิดเพลินเจริญใจ ของพระผุสสสัมมา-
สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เราอยู่ที่ต้นมะม่วงใกล้
พระคันธกุฎี
ครั้งนั้น เราเห็นพระพิชิตมารผู้สูงสุด
เป็นพระทักขิไณยบุคคล เสด็จพระราชดำเนินไป
 
๗๒/๑๓๑/๓๒๒

วันศุกร์, ตุลาคม 14, 2565

Doi

 
สองบทว่า เสยฺยา อุสฺสาทิยึสุ คือเมื่อให้ถือเอาอย่างนั้น ที่ตั้ง
เตียงได้เหลือมาก. แม้ในจำนวนวิหารเป็นต้น ก็มีนัยเหมือนกัน. วิหารนั้น
ประสงค์ห้องมีอุปจาร.
บทว่า อนุภาคํ มีความว่า เราอนุญาตเพื่อให้ส่วนแม้อื่นอีก, จริง
อยู่ เมื่อภิกษุมีน้อยนัก สมควรให้รูปละ ๒-๓ บริเวณ.
ข้อว่า น อกามา ทาตพฺโพ มีความว่า ส่วนเพิ่มนั้น ผู้แจกไม่
พึงให้ เพราะไม่ปรารถนาจะให้.
ในวันเข้าพรรษา ครั้นเมื่อส่วนเพิ่มอันภิกษุทั้งหลายถือเอาแล้ว ส่วน
เพิ่มนั้น ไม่ควรให้ภิกษุผู้มาภายหลัง เพราะคน (คือผู้ถือเอาแล้ว) ไม่พอใจ.
แต่ถ้าส่วนเพิ่มอันภิกษุใดไม่ถือแล้ว ภิกษุนั้นย่อมให้ส่วนเพิ่มนั้น หรือส่วน
แรก ด้วยความพอใจของตน เช่นนี้ ควรอยู่.
สองบทว่า นิสฺสีเม ฐิตสฺส ได้แก่ ผู้ตั้งอยู่ภายนอกอุปจารสีมา.
แต่ว่า แม้ภิกษุผู้ตั้งอยู่ไกล แต่เป็นภายในอุปจารสีมา ย่อมได้แท้.
สองบทว่า เสนาสนํ คเหตฺวา ได้แก่ ถือในวัน เข้าพรรษา.
สองบทว่า สพฺพกาลํ ปฏิพาหนฺติ ได้แก่ หวงแม้ในฤดูกาลโดยอาทิผิด สระ
ล่วง ๔ เดือนไป.
[เสนาสนคาหวินิจฉัย]
บรรดาการถือเสนาสนะ ๓ อย่าง การถือ ๒ อย่าง เป็นการถือยั่งยืน
คือ ถือในวันเข้าพรรษาแรก ๑ ถือในวัน เข้าพรรษาหลัง ๑.
การถือเสนาสนะที่เป็นอันตรามุตกะ คือพ้นจากนั้น มีวินิจฉัย ดังนี้ :-
ในวิหารหนึ่ง มีเสนาสนะซึ่งมีลาภมาก. เจ้าของเสนาสนะบำรุงภิกษุ
ผู้จำพรรษา ด้วยปัจจัยทั้งปวงโดยเอื้อเฟื้อ ถวายสมณบริขารมากในเวลา
ปวารณาแล้วจะไป.
 
๙/๓๓๖/๑๙๑

วันพฤหัสบดี, ตุลาคม 13, 2565

Bida

 
บิดาอาทิผิด อักขระ ทั้งสุจริตธรรม ๓ ประการทั่วกันเถิด เมื่อบำเพ็ญอยู่อย่างนี้ จักมีสวรรค์
เป็นที่ไปในเบื้องหน้า เสวยยศอันยิ่งใหญ่ ดังนี้ จึงกระทำประทักษิณชมพูทวีป.
ฝ่ายอธรรมเทพบุตร ชักชวนให้ถืออกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ โดยนัยมีอาทิว่า
พวกเธอจงฆ่าสัตว์กันเถิด ดังนี้แล้ว จึงกระทำการเวียนซ้ายชมพูทวีป ลำดับนั้น
รถของเทพบุตรเหล่านั้น ได้มาพบกันในอากาศ. ต่อมาพวกบริษัทของเทพบุตร
เหล่านั้น ต่างถามกันว่า พวกท่านเป็นฝ่ายไหน พวกท่านเป็นฝ่ายไหนกัน.
ต่างตอบกันว่า พวกเราเป็นฝ่ายธรรมเทพบุตร พวกเราเป็นฝ่ายอธรรม
เทพบุตร จึงต่างพากันแยกทางหลีกเป็น ๒ ฝ่าย. ฝ่ายธรรมเทพบุตร เรียก
อธรรมเทพบุตรมากล่าวว่า สหายเอ๋ย เธอเป็นฝ่ายอธรรม ฉันเป็นฝ่ายธรรม
หนทางสมควรแก่ฉัน เธอจงขับรถของเธอหลีกไป จงให้ทางแก่ฉันเถิด แล้ว
กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า
ดูก่อนอธรรมเทพบุตร ฉันเป็นผู้สร้างยศเป็น
ผู้สร้างบุญ สมณะและพราหมณ์พากันสรรเสริญ
ทุกเมื่อ อธรรมเอ๋ย ฉันชื่อว่าเป็นฝ่ายธรรม เป็นผู้
สมควรแก่หนทาง เป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์พากัน
บูชา ท่านจงให้หนทางแก่ฉันเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยโสกโร ได้แก่ ฉันเป็นผู้สร้างยศให้
แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย แม้ในบทที่ ๒ ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า
สทตฺถุโต คือ ได้รับความชื่นชมทุกเมื่อ สรรเสริญอยู่เป็นนิตย์.
ลำดับนั้น อธรรมเทพบุตรกล่าวว่า
ดูก่อนธรรมเทพบุตร เราผู้ชื่อว่าอธรรม ขึ้นสู่
ยานแห่งอธรรม อันมั่นคงไม่เคยกลัวใคร กำลัง
 
๖๐/๑๕๒๕/๒๖

วันพุธ, ตุลาคม 12, 2565

Kon khao

 
สองคาถาว่า จิณฺณา เป็นอาทิ เป็นคาถาแสดงการพยากรณ์พระอรหัต.
บรรดาบทเหล่านั้น. บทว่า จิณฺณา องฺคา จ มคธา ความว่า ชนบท
เหล่านั้นใด คือ อังคะ มคธะ กาสี โกสละ แต่ก่อน ข้าพเจ้าบริโภคก้อน
ข้าวของชาวแคว้นอย่างเป็นหนี้ เที่ยวจาริกไป นับตั้งแต่พบกับพระศาสดา
ข้าพเจ้าไม่เป็นหนี้ คือไม่มีโทษ ปราศจากกิเลส บริโภคก้อนอาทิผิด สระข้าวของชาว
แคว้นมา ๕๐ ปี ในชนบทเหล่านั้นแล.
พระเถรีเมื่อพยากรณ์พระอรหัต โดยมุข คือการระบุบุญวิเศษ แก่
อุบาสกผู้มีใจเลื่อมใสแล้วถวายจีวรแก่ตน จึงกล่าวคาถาสุดท้ายว่า ปุญฺญํ วต
ปสวิ พหุํ ประสบบุญเป็นอันมากหนอเป็นต้น. คาถานั้น ก็รู้ได้ง่ายแล.
จบ อรรถกถาภัททากุณฑลเกสาเถรีคาถา
๑๐. ปฏาจาราเถรีคาถา
[๔๔๘] พระปฏาจาราเถรี ชี้แจงว่า
ผู้ชายทั้งหลาย ไถนาด้วยไถ หว่านเมล็ดพืชลง
ที่พื้นนา ได้ทรัพย์มาเลี้ยงดูบุตรภริยา.
ข้าพเจ้าสมบูรณ์ด้วยศีล ทำตามคำสั่งสอนของ
พระศาสดา ไม่เกียจคร้าน ไม่ฟุ้งซ่าน ไฉนจะไม่
ประสบพบพระนิพพานเล่า.
ข้าพเจ้าล้างเท้า ใส่ใจนิมิตในน้ำ เห็นน้ำล้าง
เท้าไหลจากที่ดอนมาสู่ที่ลุ่ม แต่นั้น ข้าพเจ้าก็ตั้งจิต
 
๕๔/๔๔๘/๑๘๓

วันอังคาร, ตุลาคม 11, 2565

Rung Rueang

 
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลูนเกสี ได้แก่ ชื่อว่าถอนผม เพราะ
ข้าพเจ้าถูกถอนถูกทิ้งผม คือมีผมถูกถอนด้วยเสี้ยนตาล ในการบวชในลัทธิ
นิครนถ์ พระเถรีกล่าวหมายถึงลัทธินั้น. บทว่า ปงฺกธรี ได้แก่ ชื่อว่าอมมูล
ฟัน เพราะคงไว้ซึ่งปังกะคือมลทินในฟันทั้งหลาย เพราะยังไม่เคี้ยวไม้
ชำระฟัน. บทว่า เอกสาฏี ได้แก่ มีผ้าผืนเดียว ตามจารีตนิครนถ์ บทว่า
ปุเร จรึ ได้แก่ แต่ก่อนข้าพเจ้าเป็นนักบวชหญิงนิครนถ์ (นิคนฺถี) เที่ยวไป
อย่างนี้. บทว่า อวชฺเช วชฺชมตินี ได้แก่ สำคัญในสิ่งที่ไม่มีโทษมีการ
อาบน้ำ ขัดสีตัวและเคี้ยวไม้สีฟันเป็นต้นว่ามีโทษ. บทว่า วชฺเช จาวชฺช-
ทสฺสินี ได้แก่ เห็นในสิ่งที่มีโทษมีมานะ มักขะ ปลาสะและวิปัลลาสะเป็นต้น
ว่าไม่มีโทษ.
บทว่า ทิวาวิหารา นิกขมฺม ได้แก่ ออกจากสถานที่พักกลางวัน
ของตน. ภัททาปริพาชิกาแม้นี้ มาพบพระเถระเวลาเที่ยงตรง ถูกพระเถระ
กำจัดความกระด้างด้วยมานะเสีย ด้วยการตอบปัญหานั้น และแสดงธรรม
ก็มีใจเลื่อมใส ประสงค์จะเข้าไปยังสำนัก จึงกลับไปยังที่อยู่ของตน นั่งพัก
กลางวัน เวลาเย็นจึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา.
บทว่า นิหจฺจ ชานุํ วนฺทิตฺวา ความว่า ด้วยการคุกเข่าทั้งสอง
ลงที่แผ่นดินตั้งอยู่ ชื่อว่าตั้งอยู่ด้วยองค์ ๕. บทว่า สมฺมุขา อญฺชลึ อกึ
ความว่าได้ทำอัญชลีที่รุ่งเรืองอาทิผิด อาณัติกะด้วยการประนม ๑๐ นิ้ว ต่อพระพักตร์ของพระ
ศาสดา. บทว่า เอหิ ภทฺเทติ มํ อวจ สา เม อวสูปสมฺปทา ความว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสั่งข้าพเจ้า ผู้บรรลุพระอรหัต แล้วทูลขอบรรพชา
อุปสมบทว่า ภัททา จงมา เจ้าจงไปสำนักภิกษุณี บรรพชาอุปสมบทเสียที่
สำนักภิกษุณีดังนี้อันใด พระดำรัสสั่งของพระศาสดานั้น ได้เป็นอุปสัมปทา
เพราะเป็นเหตุแห่งการอุปสมบทของข้าพเจ้า
 
๕๔/๔๔๗/๑๘๒

วันจันทร์, ตุลาคม 10, 2565

Mai Mi

 
ผู้ที่จะกล่าวสั่งสอนเราก็ไม่มี ใคร ๆ ที่
จะตักเตือนเราก็ไม่มีอาทิผิด อักขระ เราไม่มีอาจารย์และอุปัชฌาย์
อยู่ในป่า
ศิษย์ผู้ภักดีพึงบำรุงเราก็ไม่มี ความเป็น
อาจารย์เช่นนั้นของเราไม่มี การอยู่ในป่าจึงไม่มี
ประโยชน์
สิ่งที่ควรบูชา เราควรแสวงหา สิ่งที่ควร
เคารพก็ควรแสวงหาเหมือนกัน เราจักชื่อว่าเป็น
ผู้มีที่พึ่งพำนักอยู่ ใคร ๆ จักไม่ติเราได้
ในที่ไม่ไกลอาศรมของเรา มีแม่น้ำซึ่ง
มีชายหาด มีท่าน้ำราบเรียบ น่ารื่นรมย์ใจ เกลื่อน
ไปด้วยทรายที่ขาวสะอาด ครั้งนั้น เราได้ไปยัง
แม่น้ำชื่อว่า อมริกา ตะล่อมเอาทรายมาก่อเป็น
เจดีย์ทราย
พระสถูปของพระสัมพุทธเจ้าผู้ทำที่สุด
ภพ เป็นมุนี ที่ได้มีแล้ว เป็นเช่นนี้ เราได้ทำ
สถูปนั้นให้เป็นนิมิต
เราก่อพระสถูปที่หาดทรายแล้วปิดทอง
แล้วเอาดอกกระดึงทอง ๓ ดอกมาบูชา
เราเป็นผู้มีความอิ่มใจ ประนมกรอัญชลี
นมัสการทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า ไหว้พระเจดีย์ทราย
 
๗๒/๘๘/๑๕๙

วันอาทิตย์, ตุลาคม 09, 2565

Khrang

 
[๔๑๘] ดูก่อนมหาบพิตร ครั้งหนึ่ง อาตมภาพอยู่ที่นิคมชื่อเวภฬิคะ
นั้นเอง เวลาเช้า อาตมภาพนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปหามารดาบิดา
ของฆฏิการะช่างหม้อถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ดูเถิด นี่คนหาอาหารไปไหน
เสียเล่า. มารดาบิดาของฆฏิการะช่างหม้อตอบว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
อุปัฏฐากของพระองค์ออกไปเสียแล้ว ขอพระองค์จงเอาข้าวสุกจากหม้อข้าวนี้
เอาแกงจากหม้อแกงนี้เสวยเถิด. ดูก่อนมหาบพิตร ครั้งนั้น อาตมภาพได้เอา
ข้าวสุกจากหม้อข้าว เอาแกงจากหม้อแกงฉันแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป ลำ-
ดับนั้น ฆฏิการะช่างหม้อเข้าไปหามารดาบิดาถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ใครมา
เอาข้าวสุกจากหม้อข้าว เอาแกงจากหม้อแกงบริโภคแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป.
มารดาบิดาบอกว่า ดูก่อนพ่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเอาข้าวสุกจากหม้อข้าว เอาแกงจากหม้อแกงเสวยแล้ว
เสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป. ครั้งนั้น ฆฏิการะช่างหม้อมีความคิดเห็นว่า เป็น
ลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า
กัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงคุ้นเคยอย่างยิ่งเช่นนี้แก่เรา. ดูก่อน
มหาบพิตร ครั้งนั้น ปีติและสุขไม่ละฆฏิการะช่างหม้อตลอดกึ่งเดือน ไม่ละ
มารดาบิดาตลอดเจ็ดวัน.
[๔๑๙] ดูก่อนมหาบพิตร ครั้งหนึ่ง อาตมภาพอยู่ที่เวภฬิคนิคมนั้น
เอง. ครั้งอาทิผิด อักขระนั้นในเวลาเช้า อาตมภาพนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปหามารดาบิดา
ของฆฏิการะช่างหม้อถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ดูเถิด นี่คนหาอาหารไปไหนเสีย
เล่า. มารดาบิดาของฆฏิการะช่างหม้อตอบว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปัฏฐาก
ของพระองค์ออกไปเสียแล้ว ขอพระองค์จงเอาขนมสดจากกระเช้านี้ เอาแกงจาก
หม้อแกงเสวยเถิด. ดูก่อนมหาบพิตร ครั้งนั้น อาตมภาพได้เอาขนมสดจาก
กระเช้า เอาแกงจากหม้อแกงฉันแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป. ลำดับนั้น ฆฏิการะ
ช่างหม้อเข้าไปหามารดาบิดาถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ใครมาเอาขนมสดจากกระเช้า
 
๒๑/๔๑๙/๑๑

วันเสาร์, ตุลาคม 08, 2565

Saribut

 
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย พวกเธอจงรับประเคนฉันเถิด เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉันเสร็จห้ามภัตร
แล้ว ฉันโภชนะอันไม่เป็นเดน ซึ่งรับประเคนไว้ในปุเรภัตรได้

พระสารีบุตรเถระอาพาธ
[๕๕] ครั้นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครราชคฤห์
ตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินมุ่งไปทางพระนครสาวัตถี เสด็จ
จาริกโดยลำดับ ถึงพระนครสาวัตถีแล้ว ทราบว่าพระองค์ประทับอยู่ในพระ-
วิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถีนั้น วันต่อมา
ท่านพระสารีบุตรอาทิผิด อักขระอาพาธเป็นไข้ตัวร้อน ท่านพระมหาโมคคัลลานะเข้าไปเยี่ยม
ท่านพระสารีบุตร ได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า อาวุโส สารีบุตร เมื่อก่อนท่าน
อาพาธเป็นไข้ตัวร้อน รักษาหายด้วยเภสัชอะไร.
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า รักษาหายด้วยรากบัวและเหง้าบัว.
ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงได้หายตัวไปในพระวิหารเชตวันทันที มา
ปรากฏอยู่ ณ ริมฝั่งสระโบกขรณีมันทากินี เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียด
แขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น.
ช้างเชือกหนึ่งได้เห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะกำลังมาแต่ไกล ครั้น
แล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า นิมนต์พระคุณเจ้ามหาโมค-
คัลลานะมา พระคุณเจ้ามหาโมคคัลลานะมาดีแล้ว พระคุณเจ้าต้องประสงค์สิ่งไร
ข้าพเจ้าจะถวายสิ่งนั้น เจ้าข้า.
ท่านพระมหาโมคคัลลานะตอบว่า ฉันประสงค์เหง้าบัวและรากบัว.
 
๗/๕๕/๙๐