วันพฤหัสบดี, ตุลาคม 06, 2565

Thamnong

 
บทว่า ภิกฺขุเปสุญฺเญ ได้แก่ ในเพราะคำส่อเสียดภิกษุทั้งหลาย,
อธิบายว่า ในเพราะคำส่อเสียดที่ภิกษุฟังจากภิกษุแล้วนำเข้าไปบอกแก่ภิกษุ.
สองบทว่า ทฺวีหิ อากาเรหิ ได้แก่ ด้วยเหตุ ๒ อย่าง.
บทว่า ปิยกมฺยสฺส วา คือ ของผู้ปรารถนาให้ตนเป็นที่รักของเขาว่า
เราจักเป็นที่รักของผู้นี้ อย่างนั้น หนึ่ง
บทว่า เภทาธิปฺปายสฺส วา คือ ของผู้ปรารถนาความแตกร้าว
แห่งคนหนึ่งกับคนหนึ่ง ว่า คนนี้จักแตกกันกับคนนี้ ด้วยอาการอย่างนี้ หนึ่ง.
บททั้งปวง มีบทว่า ชาติโต วา เป็นอาทิ มีนัยดังกล่าวแล้วใน
สิกขาบทก่อนนั่นแล. แม้ในสิกขาบทนี้ ชนทั้งหมดจนกระทั่งนางภิกษุณีเป็นต้น
ก็ชื่อว่า อนุปสัมบัน.
สองบทว่า น ปิยกมฺยสฺส น เภทาธิปฺปายสฺส มีความว่า ไม่
เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้เห็น ภิกษุรูปหนึ่งกำลังด่า และรูปหนึ่งอดทนได้แล้วกล่าว
เพราะตนเป็นผู้มักติคนชั่วอย่างเดียว โดยทำนองอาทิผิด สระนี้ว่า โอ! คนไม่มียางอาย
จักสำคัญคนดีชื่อแม้เช่นนี้ว่า ตนควรว่ากล่าวได้เสมอ บทที่เหลือมีอรรถตื้น
ทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๓ เกิดขึ้นทางกายกับจิต ๑ วาจากับจิต ๑
กายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม
วจีกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๓ ฉะนั้นแล.
เปสุญญวาทสิกขาบทที่ ๓ จบ
 
๔/๒๘๓/๑๕๔

ไม่มีความคิดเห็น: