วันอาทิตย์, มีนาคม 31, 2567

Mankha

 
และขอขึ้นขี่ ผูกสอดศัสตราวุธแล้ว มีอลังการปรากฏ
บนคอช้าง จงรีบมา แต่นั้นจงผูกม้าหมื่นสี่พันตัว
ที่เป็นชาติอาชาไนยสินธพมีกำลัง อันควาญม้าถือดาบ
และแล่งธนูขี่ ผูกสอดศัสตราวุธแล้ว ประดับกายแล้ว
อยู่บนหลังม้า จงรีบมาแต่นั้น จงเทียมรถหมื่นสี่พัน
คัน ซึ่งมีกงรถแล้วด้วยเหล็ก มีเรือนรถขจิตด้วยทอง
จงยกขึ้นซึ่งธง โล่ เขน แล่งธนู ในรถนั้น เป็นผู้
มีธรรมมั่นคง มุ่งประหารข้าศึก ผูกสอดศัสตราวุธ
แล้ว เป็นช่างรถอยู่ในรถ จงรีบมา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺนาหยนฺตุ ได้แก่ จงผูกสอดอาวุธ
ทั้งหลาย. บทว่า สฏฐีสหสฺสานิ ได้แก่ อมาตย์หกหมื่นผู้เป็น
สหชาติกับบุตรของเรา. บทว่า นีลวตฺถาธราเนเก ความว่า พวกหนึ่งทรง
ผ้าสีเขียว คือเป็นผู้นุ่งห่มผ้าสีเขียวจงมา. บทว่า มหาภูตคณาลโย ได้แก่
เป็นที่อยู่ของหมู่ยักษ์ทั้งหลาย. บทว่า ทิสา ภนฺตุ ปวนฺตุ จ ความว่า
จงให้รุ่งเรืองและฟุ้งตลบไปด้วยอาภรณ์และเครื่องลูบไล้ทั้งหลาย. บทว่า
หตฺถิกฺขนฺเธหิ ความว่า ควาญช้างเหล่านั้นจงขี่คอช้างรีบมา. บทว่า ทสฺสิตา
ได้แก่ มีเครื่องประดับปรากฏ. บทว่า อโยสุกตเนมิโย ได้แก่ มีกงรถที่
ใช้เหล็กหุ้มอย่างดี. บทว่า สุวณฺณจิตฺรโปกฺขเร ความว่า พระเจ้าสญชัย
ตรัสว่า จงเทียมรถหมื่นสี่พันคันปานนี้ ซึ่งมีเรือนรถขจิตด้วยทอง. บทว่า
วิปฺผาเลนฺตุ ได้แก่ จงยกขึ้น.
พระเจ้าสญชัยจัดกองทัพอย่างนี้แล้ว ตรัสสั่งว่า พวกเจ้าจงตกแต่ง
มรรคาเป็นที่มา ให้มีพื้นเรียบ กว้างแปดอุสภะ ตั้งแต่เชตุดรราชธานีจนถึงเขา
วงกต แล้วทำสิ่งนี้ด้วย ๆ เพื่อต้องการตกแต่งมรรคาอาทิผิด ให้งดงาม แล้วตรัสว่า
 
๖๔/๑๒๖๙/๗๘๗

วันเสาร์, มีนาคม 30, 2567

Lao nan

 
มาเพื่อทรงประสงค์รักษาหมู่พระญาติ” จึงถวายบังคมพระศาสดา เสด็จ
กลับไปสู่เมืองสาวัตถีนั่นแล. แม้พระศาสดาก็ทรงเหาะไปสู่เชตวันเหมือน
กัน. พระราชาทรงระลึกถึงโทษแห่งพวกเจ้าศากยะ เสด็จออกไปแม้ครั้ง
ที่ ๒ ทอดพระเนตรเห็นพระศาสดาในที่นั้นนั่นแล ก็เสด็จกลับอีก. เสด็จ
ออกไปแม้ครั้งที่ ๓ ทอดพระเนตรเห็นพระศาสดาในที่นั้นนั่นแล ก็เสด็จ
กลับ. แต่เมื่อพระเจ้าวิฑูฑภะนั้นเสด็จออกไปในครั้งที่ ๔, พระศาสดา
ทรงพิจารณาเห็นบุรพกรรมของเจ้าศากยะทั้งหลาย ทรงทราบความที่กรรม
อันลามกคือการโปรยยาพิษ ในแม่น้ำของเจ้าศากยะเหล่านั้น เป็นกรรม
อันใคร ๆ ห้ามไม่ได้ จึงมิได้เสด็จไปในครั้งที่ ๔. พระเจ้าวิฑูฑภะเสด็จ
ออกไปแล้วด้วยพลใหญ่ ด้วยทรงดำริว่า “เราจักฆ่าพวกเจ้าศากยะ.”
พระเจ้าวิฑูฑภะฆ่าพวกศากยะ
ก็พระญาติทั้งหลายของพระสัมมาสัมพุทธะชื่อว่าไม่ฆ่าสัตว์ แม้จะ
ตายอยู่ก็ไม่ปลงชีวิตของเหล่าสัตว์อื่น.
เจ้าศากยะเหล่าอาทิผิด อักขระนั้นคิดว่า “ พวกเราฝึกหัดมือแล้ว มีเครื่องผูกสอด
อันทำแล้ว หัดปรือมาก, แต่พวกเราไม่อาจปลงสัตว์อื่นจากชีวิตได้เลย,
พวกเราจักแสดงกรรมของตนแล้วให้หนีไป.” เจ้าศากยะเหล่านั้น ทรงมี
เครื่องผูกสอดอันทำแล้ว จึงเสด็จออกเริ่มการยุทธ. ถูกศรที่เจ้าศากยะ
เหล่านั้นยิงไปไปตามระหว่าง ๆ พวกบุรุษของพระเจ้าวิฑูฑภะ, ออกไป
โดยช่องโล่และช่องหูเป็นต้น. พระเจ้าวิฑูฑภะทอดพระเนตรเห็น, จึง
ตรัสว่า “พนาย พวกเจ้าศากยะย่อมตรัสว่า ‘พวกเราเป็นผู้ไม่ฆ่าสัตว์’
มิใช่หรือ ? เมื่อเช่นนี้ ไฉนพวกเจ้าศากยะจึงยิงบุรุษของเราให้ฉิบหาย
 
๔๑/๑๔/๓๖

วันศุกร์, มีนาคม 29, 2567

Rohini

 
อรรถกถากุณาลชาดก
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ ริมสระชื่อกุณาละ ทรงพระปรารภ
ภิกษุ ๕๐๐ รูป ซึ่งถูกความเบื่อหน่ายอยากจะสึกบีบคั้นแล้ว จึงตรัสพระธรรม
เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า เอวมกฺขายติ ดังนี้.
ลำดับเรื่องในกุณาลชาดกนั้นดังนี้
ดังได้สดับมาว่า ระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์ กับเมืองโกลิยะทั้งสอง
เมืองนี้ มีแม่น้ำชื่อว่า โรหินีอาทิผิด อักขระ สายเดียวเท่านั้นไหลผ่านลงมา ชนชาวสากิยะ
และชนชาวโกลิยะจึงทำทำนบกั้นน้ำนั้นร่วมอันเดียวกันแล้วจึงตกกล้า. ครั้งหนึ่ง
ในต้นเดือน ๗ ข้าวกล้าเฉาลง พวกกรรมกรของชนชาวนครทั้งสองนั้นจึง
ประชุมกัน บรรดากรรมกรทั้งสองเมืองนั้น พวกกรรมกรชาวเมืองโกลิยะ
กล่าวขึ้นก่อนว่า น้ำที่ปิดกั้นไว้นี้ ถ้าจะไขเข้านาทั้งสองฝ่าย ก็ไม่พอเลี้ยง
ต้นข้าวของพวกเราและพวกท่าน ก็ข้าวกล้าของพวกเราจักสำเร็จเพราะน้ำ
คราวเดียวเท่านั้น พวกท่านจงให้น้ำนี้แก่พวกเราเถิด แม้พวกกรรมกรชาว
เมืองกบิลพัสดุ์ก็พูดขึ้นว่า เมื่อพวกท่านได้ข้าวกล้าเอาบรรจุไว้ในฉางจนเต็ม
แล้วตั้งปึ่งอยู่ พวกเราไม่อาจที่จะถือเอากหาปณะทองคำ เงิน นิล มณี
สัมฤทธิ์ แบกกระเช้ากระสอบเป็นต้น เที่ยวไปขอซื้อตามประตูเรือนของท่านได้
แม้ข้าวกล้าของพวกเราก็จักสำเร็จได้เพราะน้ำคราวเดียวเท่านั้นเหมือนกัน ขอ
พวกท่านจงให้น้ำนี้แก่พวกเราเถิด ทั้งสองฝ่ายต่างก็ขึ้นเสียงเถียงกันว่า พวกเรา
จักไม่ให้ แม้พวกเราก็จักไม่ยอมให้เหมือนกัน ดังนี้ ครั้นพูดกันมากขึ้น ๆ
อย่างนี้ กรรมกรคนหนึ่งก็ลุกขึ้น ตีเอาคนหนึ่งเข้า แม้คนที่ถูกตีนั้น ก็ตีคน
อื่น ๆ ต่อไป ต่างฝ่ายต่างตีกันอย่างนี้ ก็เกิดทะเลาะกระทบชาติแห่งราชตระกูล
 
๖๒/๓๑๔/๕๓๖

วันพฤหัสบดี, มีนาคม 28, 2567

Chong pen

 
อรรถกถาปฏิสารณียสูตรที่ ๙
ปฏิสารณียสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ธมฺมิกญฺจ คิหิปฏิสฺสวํ ความว่า เมื่อคฤหัสถ์
อาราธนาว่า ท่านอยู่เสียในที่นี้แหละตลอดไตรมาสนี้ ก็รับคำ
โดยนัยเป็นต้นว่า จงอาทิผิด อักขระเป็นอย่างนั้นเถิด ชื่อว่าปฏิสวะรับคำ. บทว่า
น สจฺจาเปติ ได้แก่ ไม่กระทำคำสัตย์ คือกล่าวให้คลาดเคลื่อน.
จบ อรรถกถาปฏิสารณียสูตรที่ ๙
 
๓๗/๑๙๙/๖๙๐

วันพุธ, มีนาคม 27, 2567

Pratthana

 
อรรถกถาอิณสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอิณสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ทาลิทฺทิยํ ได้แก่ ความเป็นผู้ยากจน. บทว่า กามโภคิโน
ได้แก่ สัตว์ผู้บริโภคกาม. บทว่า อสฺสโก ได้แก่ ปราศจากทรัพย์ที่เป็น
ของของตน. บทว่า อนทฺธิโก ได้แก่ ไม่มั่งคั่ง. บทว่า อิณํ อาทิยติ
ได้แก่ เมื่อไม่สามารถจะเป็นอยู่ได้ก็กู้หนี้ยืมสิน.
บทว่า วฑฺฒึ ปฏิสฺสุณาติ ได้แก่ เมื่อไม่สามารถจะใช้คืนให้
ก็ให้สัญญาว่า จักให้ดอกเบี้ย. บทว่า อนุจรนฺติปิ นํ ความว่า (เจ้าหนี้
ทั้งหลาย) ไล่ตามหลังลูกหนี้ไป ทำให้เขาได้รับประการอันแปลกประหลาด
ด้วยการกระทำมีการจับตากแดด และโปรยฝุ่นลงเป็นต้น ในท่ามกลางบริษัท
และท่ามกลางคณะเป็นต้น.
บทว่า สทฺธา นตฺถิ ได้แก่ ไม่มีแม้แต่ศรัทธาคือการปลงใจเชื่อ.
บทว่า หิริ นตฺถิ ได้แก่ ไม่มีแม้แต่อาการที่จะละอายใจ. บทว่า โอตฺตปฺปํ
นตฺถิ ได้แก่ ไม่มีแม้แต่อาการหวาดกลัว.
บทว่า วิริยํ นตฺถิ ได้แก่ ไม่มีแม้แต่ความเพียรที่เป็นไปทาง
กาย. บทว่า ปญฺญา นตฺถิ ได้แก่ ไม่มีแม้แต่กัมมัสสกตาปัญญา.
บทว่า อิณาทานสฺมึ วทามิ ได้แก่ เรากล่าวถึงการกู้หนี้ยืมสิน. บทว่า
มา มํ ชญฺญู ได้แก่ ขอเจ้าหนี้ทั้งหลายอย่าพบตัวเรา.
บทว่า ทาลิทฺทิยํ ทุกขํ ได้แก่ ความเป็นผู้จนทรัพย์เป็นเหตุให้เกิด
ทุกข์. บทว่า กามลาภาภิชปฺปินํ ได้แก่ ผู้ปรารถนาอาทิผิด อักขระการได้กาม. บทว่า
 
๓๖/๓๑๖/๖๖๙

วันอังคาร, มีนาคม 26, 2567

Sabbapathi

 
คือกล่าวสอนธุดงค์ ๑๓ มีเตจีวริกังคธุดงค์เป็นต้น และด้วยธุดงคคุณ เป็น
ผู้พิพากษาของพระองค์ คือเป็นประธานในการกระทำตามบัญญัติ คือ
การตัดสิน.
บทว่า พหุสฺสุโต ธมฺมธโร ความว่า ข้าแต่พระมุนีผู้เจริญ
พระอานนท์ ชื่อว่าเป็นพหูสูต เพราะได้ฟังพระธรรมขันธ์ ๘๔,๐๐๐ เป็น
อันมาก คือเพราะได้เรียนมาจากพระผู้มีพระภาคเจ้าและจากภิกษุสงฆ์
ชื่อว่าผู้ทรงธรรม เพราะทรงธรรมคือนิกายนับได้หกแสนมิใช่น้อย และ
ปรมัตถธรรมมีสติปัฏฐานเป็นต้น.
บทว่า สพฺพปาฐีอาทิผิด อักขระ จ สาสเน ความว่า พระเถระมีนามชื่อว่า
อานนท์ ชื่อว่าผู้ชำนาญพระบาลีทั้งปวง เพราะเป็นผู้เลิศคือเป็นผู้
ประเสริฐแห่งภิกษุทั้งปวง ผู้กล่าวคือผู้สาธยายพระบาลีทั้งปวงในพระ-
พุทธศาสนา. บทว่า ธมฺมารกฺโข ตว ความว่า เป็นผู้อารักขา คือ
เป็นผู้รักษา ปกครองธรรม ได้แก่ภัณฑะ คือพระไตรปิฎกธรรมของ
พระองค์ อธิบายว่า เป็นคลังธรรม.
บทว่า เอเต สพฺเพ อติกฺกมฺม ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีภัคยะคือบุญ ทรงละคือทรงเว้นพระเถระ
ทั้งหลายแม้ผู้มีอานุภาพมากมีพระสารีบุตรเป็นต้นเหล่านี้เสีย ทรงประมาณ
คือได้ทรงกระทำประมาณ ได้แก่ ได้ทรงใส่พระทัยเฉพาะเราเท่านั้น.
บทว่า วินิจฺฉยํ เม ปาทาสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมอบ คือได้
ทรงประทานโดยปการะแก่เรา ซึ่งการวินิจฉัย คือการพิจารณาโทษใน
พระวินัย อันบัณฑิตทั้งหลายผู้รู้วินัยแสดงไว้แล้ว คือประกาศไว้แล้ว.
 
๗๐/๘/๖๐๖

วันจันทร์, มีนาคม 25, 2567

Chamra

 
ภิกษุ ชำระจิตให้หมดจด ให้หมดจดวิเศษ ให้บริสุทธิ์ ให้พ้น
ให้พ้นวิเศษ ให้หลุดพ้นจากความพยาบาทและความประทุษร้ายนี้ ด้วยเหตุ
นั้น จึงเรียกว่า ชำระอาทิผิด สระจิตให้บริสุทธิ์จากความพยาบาทและความประทุษ-
ร้าย ด้วยประการฉะนี้.
[๖๓๓] คำว่า ละถีนมิทธะ ได้แล้ว มีอธิบายว่า ถีนะ มีอยู่
มิทธะมีอยู่.
ใน ๒ อย่างนั้น ถีนะ เป็นไฉน ?
ความไม่สมประกอบ ความไม่ควรแก่การงาน ความท้อแท้ ความ
ท้อแท้แห่งจิต ความย่อหย่อน กิริยาที่ย่อหย่อน ภาวะที่ย่อหย่อน ความหดหู่
กิริยาที่หดหู่ ภาวะที่หดหู่ แห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า ถีนะ.
มิทธะ เป็นไฉน ?
ความไม่สมประกอบ ความไม่ควรแก่งาน ความง่วงซึม ความ
เฉื่อยชา ความซบเซา ความหาวนอน ความหลับ ความโงกง่วง ความหลับ
กิริยาที่หลับ ภาวะที่หลับแห่งเจตสิก อันใด นี้เรียกว่า มิทธะ.
ถีนะและมิทธะนี้ สงบ ระงับ เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่าง
ราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศไปด้วยดี ถูกทำให้เหือดแห้ง
ถูกทำให้เหือดแห้งไปด้วยดี ถูกทำให้มีที่สุดปราศไปแล้ว ด้วยเหตุนั้น จึงเรียก
ว่า ละถีนมิทธะได้แล้ว ด้วยประการฉะนี้.
[๖๓๔] คำว่า เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีอธิบายว่า ชื่อว่า เป็น
ผู้ปราศจากถีนมิทธะ เพราะถีนมิทธะนั้นอันภิกษุนั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อย
แล้ว ละแล้ว สละคืนแล้ว ละแล้วและสละคืนแล้ว ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า
เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ ด้วยประการฉะนี้.
 
๗๘/๖๓๒/๓๐๐

วันอาทิตย์, มีนาคม 24, 2567

Thatsana

 
เมื่อศีลมีอยู่ สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้
สมบูรณ์ด้วยศีล เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่า
มีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลสมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ เมื่อยถา-
ภูตญาณทัสสนะมีอยู่ นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะอาทิผิด อักขระ เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่
วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์
ด้วยนิพพิทาวิราคะ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์
แม้กะเทาะของต้นไม้นั้นก็ย่อมบริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กะพี้ แม้แก่น
ของต้นไม้นั้น ก็ย่อมบริบูรณ์ฉะนั้น.
จบ สติสูตรที่ ๑

สติวรรควรรณนาที่ ๔
อรรถกถาสติสูตรที่ ๑
วรรคที่ ๙ สติสูตรที่ ๑ มีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังแล.
จบ อรรถกถาสติสูตรที่ ๑
 
๓๗/๑๘๗/๖๗๐

วันเสาร์, มีนาคม 23, 2567

Amit

 
ฉขัตติยบรรพ
ฝ่ายพระชาลีราชกุมารให้ตั้งค่ายแทบฝั่งสระมุจลินท์ ให้กลับรถหมื่น
สี่พันคัน ตั้งให้มีหน้าเฉพาะทางที่มา แล้วให้จัดการรักษาสัตว์ร้ายมีราชสีห์
เสือโคร่งเสือเหลืองและแรดเป็นต้นในประเทศนั้น ๆ เสียงพาหนะทั้งหลาย
มีช้างเป็นต้นอื้ออึงสนั่น ครั้งนั้น พระเวสสันดรมหาสัตว์ได้ทรงสดับเสียงนั้น
ก็ทรงกลัวแต่มรณภัย ด้วยเข้าพระทัยว่า เหล่าปัจจามิตรของเราปลงพระชนม์
พระชนกของเราแล้วมาเพื่อต้องการตัวเรากระมังหนอ จึงพาพระนางมัทรีเสด็จ
ขึ้นภูผาทอดพระเนตรดูกองทัพ.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระเวสสันดรราชฤๅษีได้ทรงสดับเสียงกึกก้อง
แห่งกองทัพเหล่านั้น ก็ตกพระหฤทัย เสด็จขึ้นสู่
บรรพต ทอดพระเนตร ดูกองทัพด้วยความกลัว ตรัส
ว่า แน่ะพระน้องมัทรี เธอจงพิจารณาสำเนียงกึกก้องใน
ป่าฝูงม้าอาชาไนยร่าเริง ปลายธงปรากฏไสว พวกที่มา
เหล่านี้ ดุจพวกพรานล้อมฝูงมฤคชาติในป่าไว้ด้วยข่าย
ต้อนให้ตกในหลุมก่อน แล้วทิ่มแทงด้วยหอกสำหรับ
ฆ่ามฤคชาติอันคม เลือกฆ่าเอาแต่ที่มีเนื้อล่ำ ๆ เราทั้ง
หลายผู้หาความผิดมิได้ ต้องเนรเทศมาอยู่ป่า ถึงความ
ฉิบหายด้วยมืออมิตรอาทิผิด อักขระ เธอจงดูคนฆ่าคนไม่มีกำลัง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิงฺฆ เป็นนิบาตลงในอรรถว่า ตักเตือน.
บทว่า นิสาเมหิ ความว่า เธอจงดู คือใคร่ครวญดูว่า กองทัพของเราหรือ
 
๖๔/๑๒๖๙/๗๙๑

วันศุกร์, มีนาคม 22, 2567

Nang

 
พระเจ้าอชาตศัตรูได้ทรงประกอบพวกจารบุรุษ เพื่อให้แสวงหา
พวกโจร. เมื่อโจรเหล่านั้นดื่มสุราในโรงดื่มสุราอยู่เมาเหล้า โจรคนหนึ่ง
ประหารหลังของโจรคนหนึ่งให้ล้มลงไป. โจรคนนั้นเมื่อจะคุกคามโจรที่
ประหารตนนั้น จึงกล่าวว่า แน่ะเจ้าคนแนะนำยาก เหตุไร เจ้าจึง
ประหารหลังของเราทำให้ล้มลง เฮ้ย ! เจ้าโจรร้าย ก็พระมหาโมคคัลลาน-
เถระน่ะ เจ้าประหารก่อนหรือ. โจรผู้ประหารกล่าวว่า ก็เจ้าไม่รู้ว่าข้า
ประหารก่อนหรือ. เมื่อโจรเหล่านั้นพูดกันอยู่อย่างนี้ว่า ข้าประหาร, ข้า-
ประหาร ดังนี้ จารบุรุษเหล่านั้นได้ฟังแล้วจึงจับโจรเหล่านั้นทั้งหมด แล้ว
กราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ. พระราชารับสั่งให้เรียกโจรเหล่านั้นมา
แล้วตรัสถามว่า พวกเจ้าฆ่าพระเถระหรือ? พวกโจรกราบทูลว่า พระเจ้าข้า
ข้าแต่สมมติเทพ. พระราชา. ใครส่งพวกเจ้ามา. พวกโจร. พวกสมณะ
เปลือย พระเจ้าข้า. พระราชารับสั่งให้จับพวกสมณะเปลือยทั้ง ๕๐๐ คน
แล้วให้ฝังในหลุมประมาณเพียงสะดือที่ท้องสนามหลวง พร้อมกับพวกโจร
ทั้ง ๕๐๐ คน แล้วให้เอาฟางสุมแล้วให้จุดไฟ. ครั้นทรงทราบว่า คน
เหล่านั้นถูกเผาแล้วให้เอาไถเหล็กไถ ให้ทำคนทั้งหมดให้เป็นท่อนน้อย
ท่อนใหญ่. ในกาลนั้น ภิกษุทั้งหลายนั่งอาทิผิด อักขระสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า
พระมหาโมคคัลลานเถระถึงแก่ความตายไม่เหมาะสมแก่ตน. พระศาสดา
เสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากัน
เรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย ความตายของโมคคัลลานะ ไม่เหมาะสมแก่อัตภาพนี้เท่านั้น
แต่เหมาะสมแท้แก่กรรมที่โมคคัลลานะนั้นทำไว้ในชาติก่อน อันภิกษุ
 
๗๐/๔/๔๙๓

วันพฤหัสบดี, มีนาคม 21, 2567

Rot

 
มหาบพิตรมารดอาทิผิด สระอาตมภาพผู้เดือดร้อน
ยิ่งนักให้หายร้อน ดับความกระวนกระวายได้
ทั้งสิ้น เหมือนบุคคลเอาน้ำรดไฟติดที่เปรียง
ให้ดับไปฉะนั้น มหาบพิตรมาถอนลูกศรคือ
ความโศกที่เสียบแน่นอยู่ในหทัยของอาตม-
ภาพออกได้แล้วหนอ เมื่ออาตมภาพถูกความ
โศกครอบงำ มหาบพิตรก็ได้บรรเทาความ
โศกถึงบุตรเสียได้ ดูก่อนท้าววาสวะ อาตม-
ภาพเป็นผู้ถอนลูกศรออกได้แล้ว ปราศจาก
ความเศร้าโศก ไม่มีความมัวหมอง อาตม-
ภาพจะไม่เศร้าโศกร้องไห้ เพราะได้ฟังถ้อย-
คำของมหาบพิตร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยมาสิ ตัดบทเป็น ยํ เม อาสิ.
บทว่า หทยนิสฺสิตํ ได้แก่ เสียบแน่นอยู่ในหทัย. บทว่า อปานุทิ
ได้แก่ นำออกแล้ว.
ท้าวสักกะครั้นประทานโอวาทแก่ดาบส แล้วก็เสด็จไปเฉพาะ
ยังสถานที่ของพระองค์.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึง
ทรงประชุมชาดกว่า ดาบสในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุแก่ในบัดนี้
๑. บาลีว่า หทยสฺสิตํ.
 
๕๘/๘๑๒/๘๕๙

วันพุธ, มีนาคม 20, 2567

Nipphan

 
นิพพานไม่มีความเสื่อมไป... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมี
อาสวะ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มี-
อาสวะ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นของอันปัจจัยปรุงแต่ง ...
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง...
เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นเหยื่อแห่งมาร ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า
ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่เป็นเหยื่อแห่งมาร ... เมื่อพิจารณาเห็น
เบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา... เมื่อพิจารณาเห็นว่า
ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความเกิด... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจ-
ขันธ์โดยความเป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา...เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความ
ดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความแก่ ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดย
ความเป็นของมีความป่วยไข้เป็นธรรมดา ...เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่ง
เบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความป่วยไข้ ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดย
ความเป็นของมีความตายเป็นธรรมดา... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่ง
เบญจขันธ์เป็นนิพพานอาทิผิด อักขระไม่มีความตาย...เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็น
ของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ...เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์
เป็นนิพพานไม่มีความเศร้าโศก ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็น
ของมีความคร่ำครวญเป็นธรรมดา...เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจ-
ขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความคร่ำครวญ ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความ
คับแค้นเป็นธรรมดา ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่ง
เบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความคับแค้น ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม เมื่อพิจาร-
ณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ย่อมได้อนุ-
โลมขันติ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความ
เศร้าหมอง ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม.
 
๖๙/๗๓๕/๘๑๘

วันอังคาร, มีนาคม 19, 2567

Bua

 
ประโยคมีอาทิว่า มหนฺตํ สปฺปราชวณฺณํ อภินิมฺมินิตฺวา เนรมิตทรวด
ทรงเป็นพญางูตัวใหญ่.
ชาติ เรียกว่า วณฺณ เช่นในประโยคมีอาทิว่า พฺราหฺมณาว เสฏฺโฐ
วณฺโณ หีโน อญฺโญ วณฺโณ พวกพราหมณ์เท่านั้น มีชาติประเสริฐ
ชาติอื่นเลว.
รูปายตนะ เรียกว่า วณฺณ เช่นในประโยคมีอาทิว่า ปรมาย
วณฺณโปกฺขรตาย สมนฺนาคตา ประกอบด้วยความงามแห่งรูปายตนะ
อย่างยิ่ง.
เหตุ เรียกว่า วณฺณ เช่นในคาถามีอาทิว่า
น หรามิ น ภญฺชามิ อารา สึฆามิ วาริชํ
อถ เกน นุ วณฺเณน คนฺธตฺเถโนติ วุจฺจติ
ข้าพเจ้ามิได้ขโมย ข้าพเจ้ามิได้หัก ข้าพเจ้า
ดมห่าง ๆ ซึ่งดอกบัวอาทิผิด อักขระ เมื่อ เป็นเช่นนี้ เหตุไรเล่า
ท่านจึงกล่าวว่าขโมยกลิ่น.
ประมาณ เรียกว่า วณฺณ เช่นในประโยคมีอาทิว่า ตโย ปตฺตสฺส
วณฺณา บาตร ๓ ขนาด.
คุณ เรียกว่า วณฺณ เช่นในประโยคมีอาทิว่า กทา สํญุฬฺหา
ปน เต คหปติ อิเม สมณสฺส โคตมสฺส วณฺณา ดูก่อนคหบดี
ท่านประมวลคุณของพระสมณโคดมเหล่านี้ ไว้แต่เมื่อไร.
สรรเสริญ เรียกว่า วณฺณ เช่นในประโยคมีอาทิว่า วณฺณารหสฺส
วณฺณํ ภาสติ กล่าวสรรเสริญผู้ที่ควรสรรเสริญ.
ในพระบาลีนี้ วณฺณ หมายถึง ทั้งคุณ ทั้งสรรเสริญ.
 
๑๑/๙๐/๑๓๔

วันจันทร์, มีนาคม 18, 2567

Niwat

 
เป็นโทษ เพราะยังชีวิตที่เป็นกุศลให้พินาศไปด้วยความเกิดแห่งอกุศล.
พิษคืออวิชชานั่นแหละ. ชื่อว่า อวิชชามีโทษเป็นพิษ เพราะประทุษ
ร้ายสันดาน. ชื่อว่า อวิชชามีโทษเป็นพิษแทงติดอยู่ เพราะติดทา
ไว้ด้วยอนุสัยกิเลส ปริยุฏฐานกิเลสและทุจริตนั้นอย่างแรง.
บทว่า กิเลสกลลีภูโต - มีกิเลสเป็นโทษ ชื่อว่า กิเลสกลลํ
เพราะกิเลสมีอวิชชาเป็นต้น เป็นมูล เป็นกลละ คือเปือกตม เพราะ
อรรถว่าจม. ชื่อว่า กิเลสกลลี เพราะมีกิเลสนั้นเป็นดังเปือกตม.
เป็นอย่างนั้น.
บทว่า ราคโทสโมหชฏาชฏิโต - โลกสันนิวาสรกชัฏ ด้วย
ราคะ โทสะ โมหะ คือ ราคะ โทสะ โมหะ อันเป็นโลภะ ปฏิฆะ
และอวิชชา ชื่อ ชฏา เพราะเกิดบ่อย ๆ ทั้งเบื้องล่างเบื้องบนใน
อารมณ์มีรูปเป็นต้น ดุจรกชัฏ กล่าวคือ ข่ายกิ่งพุ่มไม้ไผ่เป็นต้น โดย
สภาพที่เกี่ยวพันกัน. รกชัฏด้วยความรก คือ ราคะ โทสะ และ
โมหะนั้น. อธิบายว่า โลกนี้ รกชัฏ คือ ผูก ร้อยรัด ด้วยความ
รกนั้นเหมือนไม้ไผ่เป็นต้น รกด้วยความรกของไม้ไผ่เป็นต้น.
บทว่า ชฏํ วิชเฏตา - สะสางรกชัฏ คือ สะสาง ตัด ทำลาย
รกชัฏนี้ สะสางโลกอันเป็นไตรธาตุ แล้วตั้งอยู่อย่างนี้ได้.
บทว่า ตณฺหาสงฺฆาฏปฺปฏิมุกฺโก - โลกสันนิวาสอาทิผิด อักขระถูกกองตัณหา
สวมไว้ ชื่อว่า กองตัณหา เพราะตัณหานั่นแลยังไม่ขาดสาย
 
๖๘/๒๘๕/๑๑๑๔

วันอาทิตย์, มีนาคม 17, 2567

Maha muni

 
พร้อมกับอำมาตย์เก้าคน ด้วยประการฉะนี้ ทุก ๆคนสำเร็จกิจของตน
แล้วก็นิ่งเสีย
ครั้งนั้น พระราชาทรงพระดำริว่า คนมีจำนวนเท่านี้ ไม่บอก
อะไรแก่พระทศพล เพื่อเสด็จมาในที่นี้เพราะเขาไม่รักเรา คนอื่น ๆ
แม้ไปก็คงจักไม่สามารถนำพระทศพลมาได้ แต่อุทายีบุตรของเรา
ปีเดียวกับพระทศพล โดยเล่นฝุ่นด้วยกันมา เขาคงรักเราบ้าง จึงโปรด
ให้เรียกตัวมาแล้วตรัสสั่งว่า ลูกเอ๋ย เจ้ามีบุรุษพันคนเป็นบริวาร จงไป
นำพระทศพลมา กาฬุทายีกราบทูลว่า ข้าแต่เทวะ ข้าพระบาท ได้
บรรพชาเหมือนพวกบุรุษที่ไปกันครั้งแรก จึงจัดนำมา พระเจ้าข้า.
รับสั่งว่าเจ้าทำกิจอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วจงนำลูกของเรามาก็แล้วกัน
กาฬุทายีรับราชโองการว่า ดีละพระเจ้าข้า แล้วถือสาส์นของพระราชา
ไปกรุงราชคฤห์ ยืนฟังธรรมท้ายบริษัท ในเวลาพระศาสดาทรงแสดง
ธรรมแล้วบรรลุพระอรหัต ดำรงอยู่โดยเป็นเอหิภิกขุ พร้อมทั้งบริวาร
ต่อนั้น ก็ดำริว่า ยังไม่เป็นกาละเทศะที่พระทศพลจะเสด็จไปยังนคร
แห่งสกุล ต่อสมัยวสันตฤดู (ฤดูใบไม้ผลิ) เมื่อไพรสณฑ์มีดอกไม้บาน
สะพรั่ง แผ่นดินคลุมด้วยหญ้าสด จึงจักเป็นกาละเทศะ จึงรอเวลาอยู่
รู้ว่ากาละเทศะมาถึงแล้ว จึงทูลพรรณนาหนทาง เพื่อพระทศพลเสร็จ
ดำเนินไปยังนครแห่งสกุล ด้วยคาถาประมาณ ๖๐ คาถาเป็นต้นว่า
นาติสีตํ นาติอุณฺหํ นาติทุพฺภิกฺขฉาตกํ
สทฺทสา หริตา ภูมิ เอส กาโล มหามุนิ

ข้าแต่พระมหาอาทิผิด อักขระมุนี สถานที่ไม่เย็นจัด ไม้ร้อนจัด มิใช่
สถานที่หาอาหารยากและอดอยาก พื้นแผ่นดินเขียวขจี
 
๓๒/๑๔๙/๔๖๓

วันเสาร์, มีนาคม 16, 2567

Sangwon

 
อนุพุชฺฌิตุกามสฺส ได้แก่ ปรารถนาจะรู้สกทาคามิมรรคญาณอีก. บทว่า
ปฏิวิชฺณิตุกามสฺส ได้แก่ ปรารถนาจะรู้ด้วยการแทงตลอดอนาคามิมรรค-
ญาณ. บทว่า สมฺพุชฺฌิตุกามสฺส ได้แก่ ปรารถนาจะรู้โดยชอบซึ่ง
อรหัตมรรคญาณ. ปรารถนาจะบรรลุแม้ทั้ง ๔ ญาณ. บทว่า ผุสิตุกามสฺส
ปรารถนาจะถูกต้อง คือปรารถนาจะถูกต้องด้วยญาณ. บทว่า สจฺฉิกาตุ-
กามสฺส ได้แก่ ปรารถนาจะทำให้ประจักษ์ด้วยการพิจารณา. บทว่า
จตุนฺนํ มคฺคานํ ปุพฺพภาเค วิปสฺสนา วิปัสสนาในส่วนเบื้องต้นแห่ง
มรรค ๔ คือวิปัสสนาญาณมีอุทยัพพยญาณ (ปรีชาคำนึงเห็นทั้งความ
เกิดและความดับ) เป็นต้น อันเกิดขึ้นแล้วในเบื้องต้นของอริยมรรค ๔.
พึงทราบความใน คาถาที่สอง ดังต่อไปนี้. บทว่า สปฺปริยนฺตจารี
ประพฤติในธรรมเป็นส่วนสุด คือประพฤติในธรรมเป็นส่วนสุด ๔ อย่าง
มีศีลเป็นต้น. บทว่า ฑํสาธิปาตานํ ได้แก่ เหลือบและแมลงวัน. เพราะ
เหลือบและแมลงวันเหล่านั้นบินออกจากที่นั้น ๆ แล้วกัด เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า อธิปาตา (สัตว์ไต่ตอม). บทว่า มนุสฺสผสฺสานํ สัมผัสแต่
มนุษย์ คือสัมผัสแต่โจรเป็นต้น.
บทว่า จตฺตาโร ปริยนฺตา ประพฤติธรรมเป็นส่วนสุดรอบมี ๔
อย่าง ได้แก่ศีลอันเป็นเขตแดน ศีลอันเป็นข้อกำหนด. บทว่า อนฺโต
ปูติภาวํ ปจฺจเวกฺขมาโน พิจารณาความเสีย ณ ภายใน คือตรวจดูความ
น่าเกลียดในภายใน ความเป็นผู้เว้นจากศีล. บทว่า อนฺโตสีลสํวรอาทิผิด อักขระปริ-
ยนฺเต จรติ ได้แก่ ประพฤติในธรรมภายในอันกำหนดด้วยศีลสังวร.
บทว่า มริยาทํ น ภินฺทติ มิได้ทำลายศีลอันเป็นเขตแดน คือไม่ทำศีล
 
๖๖/๙๘๘/๖๕๙

วันศุกร์, มีนาคม 15, 2567

Maharacha

 
พึงทราบวินิจฉัยใน อัปปมาทเปยยาล.
ในบทว่า เอวเมว โข นี้พึงเห็นว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้
เลิศกว่าสัตว์ทั้งปวง ฉันใด ความไม่ประมาทอันเป็นตัวการเป็นธรรมเลิศกว่า
กุศลธรรมทั้งหลายทั้งปวง ฉันนั้น. ถามว่า ก็ความไม่ประมาทนี้เป็นโลกิยะ
มิใช่หรือ แต่กุศลธรรมเป็นโลกุตระก็มี อนึ่ง ความไม่ประมาทนี้เป็น
กามาวจร แต่กุศลธรรมทั้งหลายเป็นไปในภูมิ ๔ ความไม่ประมาทนี้จะเป็น
ธรรมเลิศกว่าธรรมเหล่านั้นได้อย่างไร. ตอบว่า เพราะกุศลธรรมเหล่านั้น
อันบุคคลผู้ได้ ย่อมได้ด้วยความไม่ประมาท เพราะฉะนั้น ความไม่ประมาท
นั้นจึงเป็นธรรมเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า ธรรมเหล่านั้น ทั้งหมดมีความไม่ประมาทเป็นมูล ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า ชงฺคลานํ ได้แก่ สัตว์ผู้เที่ยวไปบนพื้นแผ่นดิน. บทว่า
ปาณานํ ได้แก่พวกสัตว์มีเท้า. บทว่า ปทชาตานิ ได้แก่ เท้าทั้งหลาย. บทว่า
สโมธานํ คจฺฉนฺติ ได้แก่ ถึงการรวบรวมคือยกขึ้น. บทว่า อคฺคมกฺขายติ
ได้แก่ ย่อมกล่าวว่าประเสริฐที่สุด. บทว่า ยทิทํ มหนฺตตฺเตน ได้แก่
ย่อมกล่าวว่าเลิศโดยความเป็นธรรมยิ่งใหญ่. อธิบายว่า ไม่ใช่ กล่าวว่าเลิศ
ด้วยสามารถแห่งคุณ. บทว่า วสฺสิกํ ได้แก่ ดอกมะลิ.
มีเรื่องเล่าว่า พระภาคิยมหาราชอาทิผิด สดับเรื่องนี้แล้ว รับสั่งให้อบ
ด้วยกลิ่นดอกไม้ ๔ ชนิดในห้องหนึ่ง ด้วยพระประสงค์จะทดลองให้นำดอกไม้
มีกลิ่นหอม ตั้งดอกมะลิกำหนึ่งไว้กลางผอบใบหนึ่ง จัดดอกไม้ที่เหลือกำ
หนึ่ง ๆ ตั้งไว้โดยรอบดอกมะลินั้น ทรงปิดพระทวารเสด็จออกไปข้างนอก เมื่อ.
 
๓๐/๒๖๓/๑๓๘

วันพฤหัสบดี, มีนาคม 14, 2567

Khwam

 
๑๐. ทุติยสมยวิมุตตสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้เสื่อมและไม่ให้เสื่อม
[๑๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเสื่อมแก่ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นในสมัย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
ความเป็นผู้ชอบทำการงาน ๑ ความเป็นผู้ชอบคุย ๑ ความเป็นผู้ชอบนอน ๑
ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณ
ในโภชนะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเสื่อมแก่ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นในสมัย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่
เสื่อมแก่ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นในสมัย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ความ
เป็นผู้ไม่ชอบทำการงาน ๑ ความอาทิผิด อักขระเป็นผู้ไม่ชอบคุย ๑ ความเป็นผู้ไม่ชอบ
นอน ๑ ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความเป็นผู้รู้จัก
ประมาณในโภชนะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็น
ไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นในสมัย.
จบทุติยสมยวิมุตตสูตรที่ ๑๐
จบติกัณฑกีวรรคที่ ๕
อรรถกถาว่ามีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
 
๓๖/๑๕๐/๓๑๗

วันพุธ, มีนาคม 13, 2567

Athikon

 
บทว่า สํสฏฺฐา มีความว่า ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขวินัยก็ดี
สติวินัยก็ดี ชื่อว่าระคนกัน คือไม่แยกกัน เพราะสมถะทั้ง ๒ สำเร็จในขณะ
แห่งกรรมวาจาให้สติวินัยนั่นเอง. ก็เพราะความสำเร็จแห่งสมถะทั้ง ๒ เป็นดุจ
ความเนื่องกันแห่งกาบกล้วยในต้นกล้วย ใคร ๆ ไม่สามารถจะแสดงการแยก
สมถะเหล่านั้นออกจากกัน. ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ก็แลใคร ๆ ไม่สามารถ
บัญญัติการแยกพรากธรรมเหล่านี้ออกจากกันได้. ในบททั้งปวงก็นัยนี้.

[ว่าด้วยนิทานเป็นต้นแห่งสมถะ]
วินิจฉัยในวาระที่แก้คำถามว่า กึนิทาโน พึงทราบดังนี้:-
สัมมุขาวินัย ชื่อว่ามีนิทานเป็นนิทาน เพราะอรรถว่า มีนิทานเป็น
เหตุอำนวย.
ในนิทานเหล่านั้น นี้คือ ความเป็นต่อหน้าสงฆ์ ความเป็นต่อหน้า
ธรรม ความเป็นต่อหน้าวินัย ความเป็นต่อหน้าบุคคล เป็นนิทานแห่งสัมมุขา-
วินัย. พระขีณาสพ ผู้ถึงความไพบูลย์ด้วยสติซึ่งได้ถูกโจท เป็นนิทานแห่ง
สติวินัย.
ภิกษุบ้า เป็นนิทานแห่งอมูฬหวินัย.
ความพร้อมหน้าแห่งบุคคลทั้ง ๒ คือ ผู้แสดงและผู้เป็นที่แสดงเป็น
นิทานแห่งปฏิญญาตกรณะ.
ความที่สงฆ์เป็นผู้ไม่สามารถจะระงับอธิกรณ์อาทิผิด อักขระ ของภิกษุทั้งหลายผู้เกิด
บาดหมางกัน เป็นนิทานแห่งเยภุยยสิกา.
บุคคลผู้บาปหนา เป็นนิทานแห่งตัสสปาปิยสิกา.
 
๑๐/๑๐๖๘/๖๖๑

วันอังคาร, มีนาคม 12, 2567

Ao

 
สหาย ผู้ที่อยู่ร่วมกัน ๑๐ ปี ๑๒ ปี ชื่อว่าเป็นทั้งสหายและมิตร ไม่ดูหมิ่น
มิตรสหายเหล่านั้น แม้ทั้งปวงด้วยศิลปะอย่างนี้ว่า เรามีศิลปะ พวก
เหล่านี้ ไร้ศิลปะ หรือด้วยสกุล กล่าวคือกุลสมบัติอย่างนี้ว่า เรามีสกุล
พวกเหล่านี้ ไม่มีสกุล หรือด้วยทรัพย์อย่างนี้ว่า เรามั่งคั่ง พวกเหล่านี้
เป็นคนเข็ญใจ หรือด้วยญาติอย่างนี้ว่า เราถึงพร้อมด้วยญาติ พวก
เหล่านี้เป็นคนชาติชั่ว.
บทว่า รุจิปญฺโญ ได้แก่ ผู้มีปัญญาดี คือมีปัญญางาม. บทว่า
อตฺถกาเล ได้แก่ ในเมื่อมีความต้องการ คือเหตุบางอย่างเกิดขึ้น.
บทว่า มตีมา ความว่า ชื่อว่า เป็นผู้มีความรู้ปรุโปร่ง เพราะเป็น
ผู้สามารถในการกำหนดพิจารณาประโยชน์ คือสิ่งที่ต้องประสงค์ ไม่
ดูหมิ่นสหายเหล่านั้น. บทว่า สหาเยสุ ความว่า โบราณกบัณฑิต
ทั้งหลายกล่าวการไม่ดูหมิ่นสหายของผู้นั้น ว่าเป็นสวัสดิมงคลในสหาย
ทั้งหลายโดยแท้.
ถ้าเช่นนั้น ผู้นั้น ย่อมเป็นผู้อันมงคลที่ปราศจากโทษคุ้มครอง
แล้ว ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ในข้อนั้น บัณฑิตพึงกล่าวความสวัสดี
เพราะอาศัยสหายผู้เป็นบัณฑิต ด้วยกุสนาลิกชาดก
บทว่า สนฺโต ความว่า สัตบุรุษทั้งหลายผู้เป็นบัณฑิต เป็น
มิตรแท้ของผู้ใด บทว่า สํวิสฺสฏฺฐา ได้แก่ ผู้ถึงความคุ้นเคย ด้วย
สามารถแห่งการเข้าไปสู่เรือนแล้ว ถือเอาอาทิผิด สิ่งที่ต้องการแล้ว. บทว่า.
 
๕๙/๑๔๘๒/๙๕๖

วันจันทร์, มีนาคม 11, 2567

Phahiya

 
พา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
พา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตน
ของเรา.
พา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
พา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
พา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตน
ของเรา.
พา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ธรรมารมณ์เที่ยงหรือไม่เที่ยง
พา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ
อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
พา.อาทิผิด สระ ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
พา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
 
๒๘/๑๑๘/๑๓๓

วันอาทิตย์, มีนาคม 10, 2567

Mamangkan

 
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนราธะ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือ
ละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ อริยสาวกย่อมพิจารณา
เห็นรูปทั้งหมดนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา เวทนาอย่างใด
อย่างหนึ่ง สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง วิญญาณ
อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ อยู่ในที่ไกล
หรือใกล้ อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นวิญญาณทั้งหมดนั้นด้วยปัญญา
อันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ดูก่อนราธะ บุคคลรู้เห็นอย่างนี้แล จึงไม่มีอหังการ
มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก
ฯลฯ ท่านพระราธะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์
ทั้งหลาย.
จบ ราธสูตรที่ ๙

๑๐. สุราธสูตร

ว่าด้วยการมีใจปราศจากอหังการมมังการและมานานุสัย

[๑๔๘] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ท่านพระสุราธะได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้เห็นอย่างไร
จึงจะมีใจปราศจากอหังการ มมังการอาทิผิด อักขระ และมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณนี้
และในสรรพนิมิตภายนอก ก้าวล่วงมานะด้วยดี สงบระงับ พ้นวิเศษแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสุราธะ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ อริยสาวก
 
๒๗/๑๔๘/๑๖๑

วันเสาร์, มีนาคม 09, 2567

Suwanna Phum

 
เรื่องส่งพระเถระไปประกาศพระศาสนาในต่างประเทศ
ในการนำพระศาสนาสืบมาตามลำดับอาจารย์นั้น มีอนุปุพพีกถา
ดังต่อไปนี้ : -
ได้ยินว่า พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ครั้นทำตติยสังคีตินั้นแล้ว ได้
ดำริอย่างนี้ว่า ในอนาคต พระศาสนา จะพึงตั้งมั่นอยู่ด้วยดีในประเทศไหน
หนอแล ? ลำดับนั้น เมื่อท่านใคร่ครวญอยู่ จึงได้มีความคิดดังนี้ว่า พระศาสนา
จักตั้งมั่นอยู่ด้วยดี ในปัจจันติมชนบททั้งหลาย. ท่านจึงมอบศาสนกิจนั้น ให้
เป็นภาระของภิกษุเหล่านั้น แล้วส่งภิกษุเหล่านั้น ๆ ไปในรัฐนั้น ๆ คือ ส่ง
พระมัชฌันติเถระไปยังรัฐกัสมีรคันธาระด้วยสั่งว่า ท่านไปยังรัฐนั่นแล้ว จง
ประดิษฐานพระศาสนาในรัฐนั่น. ท่านได้สั่งพระมหาเทวเถระอย่างนั้นเหมือน
กัน แล้วส่งไปยังมหิสกมณฑล ส่งพระรักขิตเถระไปยังวนวาสีชนบท ส่ง
พระโยนกธรรมรักขิตเถระไปยังอปรันตกชนบท ส่งพระมหาธรรมรักขิตเถระ
ไปยังมหารัฐชนบท ส่งพระมหารักขิตเถระไปยังโลกเป็นที่อยู่ของชาวโยนก
ส่งพระมัชฌิมเถระไปยังชนบทอันเป็นส่วนหนึ่งแห่งหิมวันตประเทศ ส่งพระ-
โสณกเถระ ๑ พระอุตตรเถระ ๑ ไปยังสุวรรณภูมิอาทิผิด อักขระชนบท ส่งพระมหินทเถระ
ผู้เป็นสัทธิวิหาริกของตน กับพระอิฏฏิยเถระ พระอุตติยเถระ พระสัมพลเถระ
พระภัททสาลเถระ ไปยังเกาะตัมพปัณณิทวีป ด้วยสั่งว่า พวกท่านไปยังเกาะ
ตัมพปัณณิทวีปแล้วจงประดิษฐานพระศาสนาในเกาะนั่น. พระเถระแม้ทั้งหมด
เมื่อจะไปยังทิสาภาคนั้น ๆ ก็เข้าใจอยู่ว่า ในปัจจันติมชนบททั้งหลายต้องมี
คณะปัญจวรรค จึงสมควรทำอุปสมบทกรรมได้ ดังนี้ จึงไปกันพวกละ ๕
รวมกับตน.
 
๑/๙/๑๑๑

วันศุกร์, มีนาคม 08, 2567

Thi

 
คือกล่าวโทษ กล่าวตำหนิ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ผู้เว้นจากโทษ
อันไม่ควรสรรเสริญ ผู้แม้ประกอบด้วยคุณที่ควรสรรเสริญหาประมาณมิได้
อย่างนั้น ๆ โดยกล่าวเหตุอันไม่สมควรนั้น ๆ นั่นแหละว่า เป็นเหตุอย่างนี้
ว่า พระสมณโคดมเป็นคนไม่มีรส เพราะเหตุที่พระสมณโคดมไม่มีการกระ-
ทำสามีจิกรรมมีการกราบไหว้เป็นต้น อันควรกระทำในผู้ใหญ่โดยชาติใน
โลก ที่เรียกว่าสามัคคีรส พระสมณโคดมเป็นคนไม่มีโภคะ พระสมณโคดม
เป็นคนกล่าวการไม่กระทำ พระสมณโคดมเป็นคนกล่าวความขาดสูญ
พระสมณโคดมเป็นคนเกลียดชัง พระสมณโคดมเป็นคนเจ้าระเบียบ พระ
สมณโคดมเป็นคนตบะจัด พระสมณโคดมเป็นคนไม่ผุดเกิด พระสมณ-
โคดมไม่มีธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ซึ่งเป็นญาณและทัศนะอันวิเศษที่ควรแก่
พระอริยเจ้า พระสมณโคดมแสดงธรรมที่ตรึกเอง ที่ตรองเอง ที่รู้เอง
พระสมณโคดมไม่ใช่สัพพัญญู ไม่ใช่โลกวิทู ไม่ใช่คนยอดเยี่ยม ไม่ใช่
อัครบุคคล ดังนี้ และกล่าวเหตุอันไม่ควรนั้น ๆ นั่นแหละ ว่าเป็นเหตุ
กล่าวโทษแม้พระธรรม เหมือนอย่างกล่าวโทษพระพุทธเจ้า โดยประการ
นั้น ๆ ว่า ธรรมของพระสมณโคดมกล่าวไว้ชั่ว รู้ได้ยาก ไม่เป็นธรรม
ที่นำออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ และกล่าวเหตุอันไม่สมควร
ไม่ว่าอย่างใดอย่างหนึ่ง นั่นเอง ว่าเป็นเหตุ กล่าวโทษแม้พระสงฆ์ เหมือน
อย่างพระธรรม โดยประการนั้น ๆ ว่า พระสงฆ์สาวกของพระสมณโคดม
ปฏิบัติผิด ปฏิบัติคดโกง ปฏิบัติปฏิปทาที่อาทิผิด อาณัติกะขัด ปฏิปทาที่แย้ง ปฏิปทาอัน
ไม่เป็นธรรมสมควรแก่ธรรม ดังนี้ โดยอเนกปริยาย.
ฝ่ายพรหมทัตมาณพศิษย์ของสุปปิยปริพาชกนั้น ผุดคิดขึ้นโดย
อุบายอันแยบคายอย่างนี้ว่า อาจารย์ของพวกเราแตะต้องสิ่งที่ไม่ควรแตะ
 
๑๑/๙๐/๑๓๒

วันพฤหัสบดี, มีนาคม 07, 2567

Mai Yu

 
บทว่า ทาเรหิ สํปุจฺฉ ฆรา นิกฺขาเมนฺติ ความว่า บุตร
ทั้งหลายถือเอาทรัพย์อันเป็นของ ๆ ข้าพระองค์ทั้งหมด รู้ว่าข้าพระองค์ไม่มี
ทรัพย์จึงปรึกษากับภรรยาของตนแล้วขับไล่ข้าพระองค์ออกจากเรือน.
บทว่า นนฺทิสฺสํ ความว่า เราเกิดความเพลิดเพลิน ยินดี ปราโมทย์.
บทว่า ภาวมิจฺฉิสํ ความว่า เราปรารถนาความเจริญ. บทว่า สาว วาเทนฺติ สูกรํ
ความว่า พวกสุนัขเป็นฝูง ๆ เห่าไล่สุกร เห่าร้องขึ้นดัง ๆ บ่อย ๆ ฉันใด
บุตรทั้งหลายก็ฉันนั้น พร้อมกับภรรยาขับไล่เราผู้ร้องเสียงดัง ๆ ให้หนีไป.
บทว่า อสนฺตา ได้แก่ อสัตบุรุษทั้งหลาย. บทว่า ชมฺมา แปลว่า
ผู้ลามก. บทว่า ภาสเร แปลว่า ย่อมกล่าว. บทว่า ปุตฺตรูเปน ได้แก่
ด้วยเพศของบุตร. บทว่า วโยคตํ ได้แก่ ย่อมละ คือทอดทิ้งเราผู้ล่วงวัย
ทั้ง ๓ ตั้งอยู่ในปัจฉิมวัย.
บทว่า นิพฺโภโค แปลว่า ไม่มีเครื่องบริโภค. บทว่า ขาทนา
อปนียติ ความว่า คนทั้งหลายย่อมให้ของกินมีรสต่าง ๆ แก่ม้าชั่วเวลาที่มัน
ยังหนุ่มมีกำลังวิ่งไว ต่อแต่นั้น พอมันแก่หมดกำลังก็ทอดทิ้ง มันไม่ได้รับการ
ดูแล ต้องเที่ยวไปหาหญ้าแห้งในดงกับแม่โคทั้งหลาย บิดาชื่อว่า ไม่มีโภคะ
เพราะทรัพย์ทั้งปวงถูกปล้นไปหมด เวลาแก่เหมือนม้านั้น พระเถระผู้เป็น
บิดาของคนพาล ก็เสมือนเราต้องขออาหารในเรือนคนอื่น.
ศัพท์ว่า ยญฺเจ เป็นนิบาต. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า เขาว่าไม้เท้า
ยังประเสริฐกว่า ดีกว่าบุตรของเราที่ไม่เชื่อฟัง ไม่ยำเกรง ไม่อาทิผิด สระอยู่ในปกครอง.
บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงว่าไม้เท้านั้นเป็นของประเสริฐ จึงตรัสว่า จณฺฑํปิ
โคณํ ดังนี้เป็นต้น
 
๒๕/๖๙๓/๒๗๙