วันพุธ, มีนาคม 27, 2567

Pratthana

 
อรรถกถาอิณสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอิณสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ทาลิทฺทิยํ ได้แก่ ความเป็นผู้ยากจน. บทว่า กามโภคิโน
ได้แก่ สัตว์ผู้บริโภคกาม. บทว่า อสฺสโก ได้แก่ ปราศจากทรัพย์ที่เป็น
ของของตน. บทว่า อนทฺธิโก ได้แก่ ไม่มั่งคั่ง. บทว่า อิณํ อาทิยติ
ได้แก่ เมื่อไม่สามารถจะเป็นอยู่ได้ก็กู้หนี้ยืมสิน.
บทว่า วฑฺฒึ ปฏิสฺสุณาติ ได้แก่ เมื่อไม่สามารถจะใช้คืนให้
ก็ให้สัญญาว่า จักให้ดอกเบี้ย. บทว่า อนุจรนฺติปิ นํ ความว่า (เจ้าหนี้
ทั้งหลาย) ไล่ตามหลังลูกหนี้ไป ทำให้เขาได้รับประการอันแปลกประหลาด
ด้วยการกระทำมีการจับตากแดด และโปรยฝุ่นลงเป็นต้น ในท่ามกลางบริษัท
และท่ามกลางคณะเป็นต้น.
บทว่า สทฺธา นตฺถิ ได้แก่ ไม่มีแม้แต่ศรัทธาคือการปลงใจเชื่อ.
บทว่า หิริ นตฺถิ ได้แก่ ไม่มีแม้แต่อาการที่จะละอายใจ. บทว่า โอตฺตปฺปํ
นตฺถิ ได้แก่ ไม่มีแม้แต่อาการหวาดกลัว.
บทว่า วิริยํ นตฺถิ ได้แก่ ไม่มีแม้แต่ความเพียรที่เป็นไปทาง
กาย. บทว่า ปญฺญา นตฺถิ ได้แก่ ไม่มีแม้แต่กัมมัสสกตาปัญญา.
บทว่า อิณาทานสฺมึ วทามิ ได้แก่ เรากล่าวถึงการกู้หนี้ยืมสิน. บทว่า
มา มํ ชญฺญู ได้แก่ ขอเจ้าหนี้ทั้งหลายอย่าพบตัวเรา.
บทว่า ทาลิทฺทิยํ ทุกขํ ได้แก่ ความเป็นผู้จนทรัพย์เป็นเหตุให้เกิด
ทุกข์. บทว่า กามลาภาภิชปฺปินํ ได้แก่ ผู้ปรารถนาอาทิผิด อักขระการได้กาม. บทว่า
 
๓๖/๓๑๖/๖๖๙

ไม่มีความคิดเห็น: