วันจันทร์, กรกฎาคม 31, 2566

Panchasata

 
บทว่า สมฺพหุลาหิ สากิยานีหิ สทฺธึ ความว่า พระนาง
มหาปชาบดี ทรงถือเพศบรรพชาอุทิศพระทศพลภายในพระนิเวศน์
นั่นเอง แล้วให้นางศากิยานีทั้ง ๕๐๐อาทิผิด นั้น ถือเพศบรรพชาเหมือนกัน
แล้วเสด็จหลีกไปพร้อมกับนางศากิยานีเป็นอันมากแม้ทั้งหมดนั้น.
บทว่า ปกฺกามิ ได้แก่ทรงพระดำเนินไป. ในเวลาที่นางมหาปชาบดี
นั้นทรงดำเนินไป เจ้าหญิงทั้งหลาย ผู้สุขุมาลชาติจักไม่สามารถ
เดินไปด้วยพระบาทได้ เพราะเหตุนั้น เจ้าศากยะและเจ้าโกลิยะ
จึงได้จัดวอทองส่งไป. ก็นางศากิยาณีเหล่านั้นคิดว่า เราเมื่อขึ้นยาน
ไป เป็นอันชื่อว่าไม่กระทำความเคารพในพระศาสดา ดังนี้แล้ว
จึงได้ใช้พระบาทดำเนินไปตลอดทาง ๕๑ โยชน์. ฝ่ายเจ้าทั้งหลาย
ให้จัดอารักขาทั้งข้างหน้าข้างหลัง บรรทุกข้าวสาร เนยใส และ
น้ำมันเป็นต้นเต็มเกวียน แล้วส่งบุรุษทั้งหลายไปด้วยสั่งว่า พวก
ท่านจงตระเตรียมอาหารในที่ที่นางศากิยานีเหล่านั้นไป ๆ กัน.
บทว่า สูเนหิ ปาเทหิ ความว่า เพราะนางศากิยานีเหล่านั้นเป็น
สุขุมาลชาติ ตุ่มพองเม็ดหนึ่งผุดขึ้นที่พระบาททั้งสอง เม็ดหนึ่ง
แตกไป พระบาททั้งสองพองขึ้นเป็นประหนึ่งเมล็ดผลตุมกา.
เพราะเหตุนั้น ท่านพระอานนท์จึงกราบทูลว่า สูเนหิ ปาเทหิ ดังนี้.
บทว่า พหิทฺวารโกฏฺฐเก ได้แก่ ภายนอกซุ้มประตู. ถามว่า ก็เพราะ
เหตุไร พระนางมหาปชาบดีจึงยืนอยู่อย่างนั้น ? ตอบว่า ได้ยินว่า
พระนางมหาปชาดีได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เราพระตถาคตไม่
ทรงอนุญาตแล้ว ก็ถือเพศบรรพชาด้วยตนเองทีเดียว ก็แลความ
ที่เราถือเพศบรรพชาอย่างนี้ เกิดปรากฏไปทั่วชมพูทวีป ถ้าพระ-
 
๓๗/๑๔๑/๕๕๐

วันอาทิตย์, กรกฎาคม 30, 2566

Phuak

 
อรรถกถาเสลสูตร

เสลสูตรมีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
ในเสลสูตรนั้น คำว่า ในอังคุตราปชนบท เป็นต้น ท่านกล่าวให้
พิสดารแล้วในโปตลิยสูตรเทียว. บทว่า อฑฺฒเตรเสหิ ได้แก่ ๑๓ ทั้งกึ่ง
ท่านกล่าวอธิบายว่า กับด้วยภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป. ก็ภิกษุทั้งหลายที่ประชุมกัน
ในสาวกสันนิบาตเหล่านั้น ล้วนเป็นพระขีณาสพ บรรพชาด้วยเอหิภิกขุบรรพชา
ทั้งนั้น. คำว่า เกณิโย เป็นชื่อของชฎิลนั้น . คำว่า ชฏิโล ได้แก่ ดาบส.
ได้ยินมาว่า ดาบสนั้นเป็นพราหมณ์มหาศาล แต่ถือบวชเป็นดาบส เพื่อต้อง
การรักษาทรัพย์ ถวายบรรณาการแด่พระราชา ถือเอาภูมิภาค แห่งหนึ่ง
สร้างอาศรมอยู่ในภูมิภาคนั้น ประกอบการค้าขายด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม เป็น.
ที่อาศัยของตระกูลถึง ๑,๐๐๐ ตระกูล. อนึ่ง พระโบราณจารย์กล่าวว่า ที่
อาศรมของดาบสนั้น มีต้นตาลต้นหนึ่ง ผลตาลสำเร็จด้วยทองหล่นมาวันละ
ผลหนึ่ง. ดาบสนั้น กลางวันทรงผ้ากาสายะและสวมชฎา กลางคืนเสวยกาม
สมบัติ. คำว่า ธมฺมิยา กถาย ได้แก่ ด้วยธรรมีกถาที่ประกอบด้วยอานิสงส์
แห่งน้ำปานะ. ก็เกณิยะนี้ ละอายที่มีมือเปล่าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า คิดว่า
น้ำสำหรับดื่ม ย่อมควรแม้แก่ผู้เว้นวิกาลโภชน์ จึงให้หาบน้ำปานะผลพุทราที่
ปรุงเป็นอย่างดีมาถึง ๕๐๐ หาบ. ก็เรื่องที่ชฎิลนั้นไปแล้วอย่างนี้. พระสังคีติกา-
จารย์ยกขึ้นสู่พระบาลีในเภสัชชักขันธกะว่า ครั้งนั้นแล เกณิยชฎิลได้มีความ
คิดดังนี้ว่า เราควรนำไปเพื่อพระสมณโคดมหรือไม่หนอ ดังนี้.
คำว่า ทุติยํปิ โข ภควา ถามว่า ทรงปฏิเสธบ่อย ๆ เพราะเหตุไร.
ตอบว่า เพราะพวกอาทิผิด สระเดียรถีย์มีความเลื่อมใสในการปฏิเสธ. ข้อนั้นมิใช่เหตุ ความ

๑. วิ. ๓/๓๔๓
 
๒๑/๖๑๒/๒๙๕

วันเสาร์, กรกฎาคม 29, 2566

Maha

 
ถามว่า ใคร จะได้ประโยชน์ของเทวทูตนี้ ใครไม่ได้. ตอบว่า
ผู้ใดทำกรรมมาก ผู้นั้นไปเกิดในนรก. ผู้ใดทำบาปกรรมนิดหนึ่ง ผู้นั้นย่อมได้.
ชนทั้งหลายจับโจรพร้อมด้วยภัณฑะย่อมกระทำสิ่งที่ควรทำ ไม่วินิจฉัย แต่
นำโจรที่ถูกสอบสวนจับไว้ไปสู่โรงศาล เขาได้การตัดสินฉันใด ข้อเปรียบเทียบก็
ฉันนั้น ก็ผู้มีบาปกรรมนิดหนึ่ง ย่อมระลึกได้ตามธรรมดาของตน แม้ถูกเขา
ให้ระลึกได้. ในข้อนั้น มีทมิฬชื่อ ฑีฆทันตะ ระลึกได้ตามธรรมดา
ของตน. ได้ยินว่า ทมิฬนั้นเอาผ้าสีแดงบูชาอากาศเจดีย์ในสุมนคีรีวิหาร.
ครั้งนั้น เขาเกิดใกล้อุสสุทนรก ได้ยินเสียงเปลวไฟ ระลึกถึงผ้าที่ตนบูชาไว้.
เขาจึงไปเกิดบนสวรรค์. อีกคนหนึ่ง ถวายผ้าสาฎกเนื้อหยาบแก่ภิกษุหนุ่ม
เป็นบุตรวางไว้ใกล้เท้า. ในเวลาใกล้ตาย เขาถือนิมิตในเสียงว่า ปฏะ ปฏะ แม้
เขาเกิดใกล้อุสสุทนรก ก็ระลึกถึงผ้านั้น เพราะเสียงเปลวไฟจึงไปเกิดบนสวรรค์.
เขาระลึกถึงกุศลกรรมตามธรรมดาของตนก่อนอย่างนี้ จึงบังเกิดบนสวรรค์.
เมื่อระลึกตามธรรมดาของตนไม่ได้ จึงถามเทวทูตทั้ง ๕. ในเทวทูต ทั้ง ๕
นั้น บางคนระลึกได้ด้วยเทวทูตที่หนึ่ง. บางคน ระลึกได้ด้วยเทวทูตที่สอง
เป็นต้น. ส่วนผู้ใด ย่อมระลึกไม่ได้ด้วยเทวทูตทั้ง ๕ พญายมให้ผู้นั้น ระลึก
ได้เอง. ได้ยินว่า อำมาตย์คนหนึ่ง บูชามหาอาทิผิด อักขระเจดีย์ด้วยหม้อดอกมะลิ ได้ให้
ส่วนบุญแก่พญายม. นายนิรยบาล นำอำมาตย์นั้นผู้เกิดในนรกเพราะอกุศลกรรม
ไปหาพญายม. เมื่ออำมาตย์นั้น ระลึกไม่ได้ ด้วยเทวทูตทั้ง ๕ พญายมตรวจ
ดูเองเห็นแล้วให้ระลึกว่าท่านบูชามหาเจดีย์ด้วยหม้อดอกมะลิแล้ว แผ่ส่วนบุญ
ให้เรามิใช่หรือ. เขาระลึกได้ในเวลานั้นแล้ว ไปสู่เทวโลก ก็แต่ว่า พญายม
แม้ตรวจดูเองก็ไม่เห็น ดำริว่า สัตว์ผู้นี้จักเสวยทุกข์ใหญ่ จึงนิ่งเสีย.
บทว่า มหานิรเย ได้แก่ อเวจีมหานรก ถามว่า อเวจีมหานรกนั้น
ประมาณภายในเท่าไร. ตอบว่า แผ่นดินโลหะหลังคาโลหะโดยยาว และโดยกว้างอาทิผิด อาณัติกะ
 
๒๓/๕๒๕/๒๐๕

วันศุกร์, กรกฎาคม 28, 2566

Laiat

 
ภิกษุนั้นกล่าวชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้ว
พระเจ้าข้า แล้วทูลถามปัญหากะผู้มีพระภาคเจ้ายิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ ก็อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ มีอะไรเป็นมูล.
พ. ดูก่อนภิกษุ อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ มีฉันทะเป็นมูล.
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ นั้นอย่าง
เดียวกันหรือ หรือว่าอุปาทานเป็นอย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕.
พ ดูก่อนภิกษุ อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ นั้น จะอย่างเดียวกัน
ก็มิใช่ อุปาทานจะเป็นอย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕ ก็มิใช่ ดูก่อนภิกษุ ความ
กำหนัดพอใจ ในอุปาทานขันธ์ ๕ นั่นแล เป็นตัวอุปาทานในอุปาทานขันธ์
๕ นั้น.
[๑๒๒] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความต่างแห่งความกำหนัด
พอใจในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ มี หรือ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับว่า มี แล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ บุคคล
บางคนในโลกนี้ มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ เวทนา
อย่างนี้ สัญญาอย่างนี้ สังขารอย่างนี้ วิญญาณอย่างนี้ ในอนาคตกาลเถิด
ดูก่อนภิกษุ อย่างนี้แลเป็นความต่างแห่งความกำหนัดพอใจในอุปาทานขันธ์
ทั้ง ๕.

ว่าด้วยเหตุเรียกชื่อว่าขันธ์

[๑๒๓] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขันธ์ทั้งหลายมีชื่อเรียกว่าขันธ์
ได้ด้วยเหตุเท่าไร.
พ. ดูก่อนภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็น
อนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือ
ละเอียดอาทิผิด สระก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกล หรือในที่ใกล้ก็ตาม นี่เป็น
 
๒๒/๑๒๒/๑๗๐

วันพฤหัสบดี, กรกฎาคม 27, 2566

Phu

 
มีในผู้นี้. คำว่า อสติ นี้ เป็นชื่อของสติที่ลืมแล้ว. บทว่า ปริวชฺชนาย
ได้แก่ เพราะการเว้นโดยรอบ. สติย่อมเกิดขึ้นเพราะการเว้นบุคคลผู้มีสติ
อันลืมแล้วเช่นกาวางก้อนข้าว, เพราะคบบุคคลผู้อาทิผิด อาณัติกะมีสติตั้งมั่น, และเพราะ
ความเป็นผู้มีจิตน้อมไป โน้มไป เงื้อมไป เพื่อให้สติตั้งขึ้นพร้อมในการ
ยืนและการนั่งเป็นต้น.
บทว่า สติกรณียานํ ธมฺมานํ ได้แก่ ธรรมทั้งหลายที่ควรทำ
ด้วยสติ.
บทว่า กตตฺตา ได้แก่ เพราะความเป็นผู้กระทำ อธิบายว่า เพราะ
ความเป็นผู้กระทำ คือเจริญมรรค ๔.
บทว่า สติปฏิปกฺขานํ ธมฺมานํ หตตฺตา ได้แก่ เพราะความ
เป็นผู้ทำให้กามฉันทะเป็นต้นพินาศ.
บทว่า สตินิมิตฺตานํ ธมฺมานํ อปมุฏฺฐตฺตา ได้แก่ เพราะ
ความเป็นผู้ไม่เสียอารมณ์ทางกายเป็นต้น ที่เป็นเหตุแห่งสติ.
บทว่า สติยา สมนฺนาคตตฺตา ได้แก่ เพราะความเป็นผู้มา คือ
ไม่เสื่อมจากธรรมทั้งหลายด้วยสติ.
บทว่า วสิตตฺตา ได้แก่ ถึงความชำนาญ.
บทว่า ปาคุญฺญตาย ได้แก่ เพราะความคล่องแคล่ว.
บทว่า อปจฺโจโรหณตาย ได้แก่ เพราะความไม่หวนกลับ คือ
เพราะความไม่ถอยหลังกลับ.
บทว่า สตตฺตา ได้แก่ เพราะมีอยู่โดยสภาวะ.
บทว่า สนฺตตฺตา ได้แก่ เพราะมีสภาวะดับ.
 
๖๕/๒๙/๑๑๗

วันพุธ, กรกฎาคม 26, 2566

Khao

 
สมาบัติตลอด ๗ วัน ที่เงื้อมนันทมูลกะ ณ คันธมาทนบรรพต ล่วงไป
๗ วัน จึงออกจากนิโรธ เหาะมาลงที่อิสิคิลิบรรพต ในเวลาเช้า ครองผ้า
แล้วถือบาตรและจีวรแล้ว เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์. ก็ในสมัยนั้น
ในกรุงราชคฤห์ มีบุตรเศรษฐี คนหนึ่ง พร้อมด้วยบริวารหมู่ใหญ่ ออก
จากพระนคร เพื่อกรีฑาในอุทยาน พบพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่า
ตครสิขี คิดว่า ใครนี่ หัวโล้น ครองผ้ากาสาวะ จักเป็นคนโรคเรื้อน
เอาผ้าของคนโรคเรื้อน คลุมร่างกายไปอย่างนั้นแล ดังนี้แล้วจึงถ่มน้ำลาย
หลีกไปทางเบื้องซ้าย ซึ่งท่านหมายกล่าวไว้ว่า สุปฺปพุทฺโธ กุฏฺฐี
อิมสฺมึเยว ราชคเห ฯ เป ฯ ปกฺกามิ ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กฺวายํ ตัดเป็น โก อยํ (คือ) เรา
กล่าวโดยการขู่. บาลีว่า โกวายํ ดังนี้ก็มี. ด้วยบทว่า กุฏฺฐิ เขากล่าว
ถึงท่านผู้ไม่เป็นโรคเรื้อน ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่นั้นแล ว่าเป็นโรค
เรื้อน ให้ถึงอักโกสวัตถุ. บทว่า กุฏฺฐิจีวเรน แปลว่า ด้วยจีวรของคน
โรคเรื้อน. ท่านแสดงว่า ก็แม้พระปัจเจกพุทธเจ้านี้ก็เหมือนคนโรคเรื้อน
โดยมากที่ถือเอาผ้าอย่างใดอย่างหนึ่งมานุ่งห่ม เพื่อป้องกันเหลือบยุง
เป็นต้น และเพื่อป้องกันโรค. อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่ท่านทรงผ้า
บังสุกุลจีวร เขาอาทิผิด อักขระจึงดูหมิ่นว่า เป็นเหมือนร่างของคนขี้เรื้อน เพราะผ้าปะ
มีสีหลายอย่าง จึงกล่าวว่า กุฏฺฐิจีวเรน ดังนี้. บทว่า นิฏฺฐุหิตฺวา ได้แก่
ถ่มน้ำลาย. บทว่า อปพฺยามโต กริตฺวา ความว่า บัณฑิตทั้งหลาย เห็น
พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เช่นนั้น ไหว้แล้วกระทำประทักษิณ แต่บุรุษโรคเรื้อน
นี้เดินไปทางซ้ายพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น คือให้ทานอยู่ด้านซ้ายมือตนเดิน
ไปด้วยความดูหมิ่น เพราะความที่ตนไม่เป็นวิญญูชน. ปาฐะว่า อปวามโต
 
๔๔/๑๑๔/๕๑๔

วันอังคาร, กรกฎาคม 25, 2566

Thiao

 
ข้าพเจ้าจาริกไปทั่วแคว้นอังคะ มคธะ กาสี และ
โกสละบริโภคก้อนข้าวของชาวบ้านมา ๕๐ ปี ไม่
เป็นหนี้ [ไม่เป็นอิณบริโภค].
ท่านอุบาสกผู้ใด ถวายจีวรแต่ข้าพเจ้าภัททาผู้
หลุดพ้นจากกิเลสเครื่องร้อยรัดทุกอย่างแล้ว ท่าน
อุบาสกผู้นั้น ประสบบุญเป็นอันมากหนอ.
จบ ภัททากุณฑลเกสาเถรีคาถา
๙. อรรถกถาภัททากุณฑลเกสาเถรีคาถา
คาถาว่า ลูนเกสี ปงฺกธรี เป็นต้น เป็นคาถาของพระภัททา
กุณฑลเกสาเถรี.
พระเถรีแม้รูปนี้ ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ
ก็บังเกิดในเรือนของครอบครัว กรุงหังสวดี รู้เดียงสาแล้ว วันหนึ่งฟังธรรม
ในสำนักพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุณีรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่ง
เอตทัคคะ เป็นเลิศของภิกษุณีผู้เป็นขิปปาภิญญาตรัสรู้เร็ว จึงทำกุศลให้ยิ่ง
ยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น ทำบุญจนตลอดชีวิต เวียนว่ายอยู่ในเทวดา
และมนุษย์ถึงแสนกัป ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสป ก็เป็นพระราชธิดา
ระหว่างพระพี่น้องนาง ๗ พระองค์ ในพระราชมณเฑียรของพระเจ้ากาสี
พระนามว่า กิกิ สมาทานศีล ๑๐ ประพฤติโกมารีพรหมจรรย์อยู่ถึง ๒๐,๐๐๐ ปี
สร้างบริเวณที่อยู่ของพระสงฆ์ ท่องเที่ยวอาทิผิด อาณัติกะอยู่ในฝ่ายสุคติเท่านั้นตลอดพุทธันดร
 
๕๔/๔๔๗/๑๗๐

วันจันทร์, กรกฎาคม 24, 2566

Chon

 
๕. เรื่องโกสิยเศรษฐผู้มีความตระหนี่ [๓๗]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภเศรษฐี
ชื่อโกสิยะผู้มีความตระหนี่ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ยถาปิ ภมโร
ปุปฺผํ" เป็นต้น. เรื่องตั้งขึ้นแล้วในกรุงราชคฤห์.
สมบัติของเศรษฐีไม่อำนวยประโยชน์แก่ใคร ๆ
ดังได้สดับมา ในที่ไม่ไกลแห่งกรุงราชคฤห์ ได้มีนิคม ชื่อสักกระ,
เศรษฐีคนหนึ่งชื่อโกสิยะ มีความตระหนี่ มีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ประจำ
อยู่ในนิคมนั้น. เขาไม่ให้แม้หยดน้ำมัน (สักหยดเดียว) ด้วยปลายหญ้า
แก่คนเหล่าอื่น. ทั้งไม่บริโภคด้วยตนเอง. สมบัติของเขานั้น ไม่อำนวย
ประโยชน์แก่ปิยชนทั้งหลายมีบุตรและภรรยาเป็นต้น ไม่อำนวยประโยชน์
แก่สมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย คงเป็นของไม่ได้ใช้สอย ตั้งอยู่ เหมือน
สระโบกขรณี ที่ผีเสื้อน้ำหวงแหน ด้วยประการฉะนี้แล.
เศรษฐีอยากกินขนมเบื้องจนอาทิผิด อักขระผอม
วันหนึ่ง เวลาจวนสว่าง พระศาสดาเสด็จออกจากสมาบัติอัน
ประกอบด้วยความกรุณาใหญ่ ทรงตรวจดูหมู่สัตว์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ที่พอ
แนะนำในการตรัสรู้ได้ในสกลโลกธาตุ ได้ทรงเห็นอุปนิสัยโสดาปัตติผล
ของเศรษฐีพร้อมทั้งภรรยา ซึ่งอยู่ในที่สุดแห่งที่ ๔๕ โยชน์. ก็ในวัน
 
๔๑/๑๔/๔๙

วันอาทิตย์, กรกฎาคม 23, 2566

Thasamasa

 
ปญฺจมาสปฏิจฺฉนฺนํ, อติเรกปญฺจมาสปฏิจฺฉนฺนํ ฉมาส, อติเรก-
ฉมาส, สตฺตมาส, อติเรกนวมาส, ทสมาส, อฏฺฐมาส, อติเรก-
อฏฺฐมาส. นวมาส, อติเรกนวมาส, ทสมาสอาทิผิด สระ, อติเรกทสมาส,
เอกาทสมาส, อติเรกเอกาทสมาสปฏิจฺฉนฺนํ.
เมื่อเต็มปี พึงแต่งคำสวดประกอบว่า เอกสํวจฺฉรปฏิจฺฉนฺนํ.
เบื้องหน้าแต่นั้น พึงแต่งคำสำหรับสวดประกอบอย่างนี้ว่า อติ-
เรกเอกสํวจฺฉร, ทฺวิสํวจฺฉร, อติเรกทฺวิสํวจฺฉร, ติสํวจฺฉร,
อติเรกติสํวจฺฉร, จตุสํวจฺฉร, อติเรกจตุสํวจฺฉร, ปญฺจสํวจฺฉร,
อติเรกปญฺจสํวจฺฉรปฏิจฺฉนฺนํ, ดังนี้ จนถึงว่า สฏฺฐิสํวจฺฉร,
อติเรกสฏฺฐิสํวจฺฉรปฏิจฺฉนฺนํ หรือแม้ยิ่งกว่านั้น.
และถ้าเป็นอาบัติ ๒ ตัว หรือยิ่งกว่านั้น พึงกล่าวว่า เทฺว
อาปตฺติโย, ติสฺโส อาปตฺติโย, เหมือนที่ได้กล่าวไว้ในที่นี้ว่า เอกํ
อาปตฺตึ ฉะนั้น. แต่ที่เกินกว่านั้น จะเป็นร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่งก็ตาม
สมควรกล่าวว่า สมฺพหุลา.
แม้ในอาบัติที่มีวัตถุต่าง ๆ กัน พึงแต่งคำสวดประกอบด้วยอำนาจ
แห่งจำนวนอย่างนี้ว่า:-
อหํ ภนฺเต สมฺพหุลา สงฺฆาทิเสสา อาปตฺติโย อาปชฺชึ
เอกํ สุกฺกวิสฏฺฐิ เอกํ กายสํสคฺคํ เอกํ ทุฏฺฐุลฺลํ วาจํ เอกํ
อตฺตกามปาริจริยํ เอกํ สญฺจริตํ เอกาหปฏิจฺฉนฺนาโย หรือด้วย
อำนาจแห่งการระบุวัตถุอย่างนี้ว่า :-
 
๘/๕๘๔/๔๗๙

วันเสาร์, กรกฎาคม 22, 2566

Ton

 
รัดเอวในคราวนั้น ข้าพเจ้าไม่รู้จักทุคติ นี้เป็นผลแห่ง
การสร้างพระสถูป ข้าพเจ้าเผากิเลสแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้า
ได้ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว.
ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พิจารณาการปฏิบัติของตนอาทิผิด อักขระ ได้กล่าวคาถา
สองคาถานี้เป็นอุทานว่า
ข้าพเจ้ามีทุกข์ ทุพพลภาพ ผ่านความเป็น
สาวไปแล้ว ต้องถือไม้เท้าไปไหน ๆ ก็จริง ถึงอย่าง
นั้นก็ยังขึ้นภูเขาได้ ข้าพเจ้าวางผ้าสังฆาฏิ และคว่ำ
บาตรนั่งบนภูเขา ครั้งนั้นจิตของข้าพเจ้าหลุดพ้นแล้ว
ข้าพเจ้าบรรลุวิชชาสามตามลำดับ ได้ปฏิบัติคำสอน
ของพระพุทธเจ้าแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺขิตา ความว่า มีทุกข์ คือถึงความ
ทุกข์ที่เกิด เพราะมีโรคมาก. บทว่า ทุพฺพลา ความว่า เพราะถึงความ
ทุกข์นั่นแหละด้วย เพราะแก่หง่อมด้วย เพราะหมดกำลังด้วย ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า คตโยพฺพนา ความว่า ถึงวัยกลางคนแล้ว.
บทว่า อถ จิตฺตํ วิมุจฺจิ เม ความว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้นั่งอยู่บนศิลา
คือบนแผ่นหิน ครั้งนั้น คือในลำดับนั้น จิตของข้าพเจ้าหลุดพ้นแล้วจาก
อาสวะแม้ทั้งหมดตามลำดับมรรค เพราะประกอบโดยชอบทีเดียวด้วยความเป็น
ผู้มีความเพียรสม่ำเสมอ. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบ อรรถกถาเมตติกาเถรีคาถา
 
๕๔/๔๒๕/๖๐

วันศุกร์, กรกฎาคม 21, 2566

Phra

 
สีหาสนทายกเถราปทานที่ ๕ (๑๗๕)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาของหอมและถวายอาสนะทอง
[๑๗๗] เมื่อพระโลกนาถผู้เป็นนายกพระอาทิผิด สระนามว่าปทุมุตตระ เสด็จ
นิพพานไปแล้ว เรามีจิตเลื่อมใสโสมนัส ได้ถวายอาสนะ
ทอง.
และได้บูชาด้วยของหอม และดอกไม้เป็นอันมาก ด้วย
คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำสุขในปรโลกมาให้ ชนเป็น
อันมากทำการบูชาในพระองค์แล้ว ย่อมดับ (เย็น).
เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ไหว้โพธิพฤกษ์อันอุดมแล้ว
มิได้เข้าถึงทุคติเลย ตลอดแสนกัป.
ในกัปที่ ๑,๕๐๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๘ ครั้ง
พระเจ้าจักรพรรดิราชเหล่านั้น ทรงพระนามเหมือนกันว่า
สิลุจจยะ.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสีหาสนทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบสีหาสนทายกเถราปทาน
 
๗๑/๑๗๗/๕๗๔

วันพฤหัสบดี, กรกฎาคม 20, 2566

Wipatsi

 
บทว่า วิธูรสญฺชีวํ คือ พระสาวกชื่อว่า วิธูระ และสัญชีวะ ในท่าน
ทั้งสองนั้น ท่านวิธุระบรรลุปัญญาบารมี. ท่านสัญชีวะบรรลุสมาธิบารมี เป็น
ผู้มักเข้าสมาบัติพยายามด้วยกำลังสมาบัติในที่พักกลางคืนที่พักกลางวัน กุฎี ถ้ำ
และมณฑปเป็นต้น เข้านิโรธในป่าตลอดวัน. พวกทำงานในป่าเป็นต้น
เข้าใจว่า ท่านมรณภาพจึงพากันเผาท่าน. ท่านสัญชีวะนั้นครั้นออกจากสมาบัติ
ตามกำหนด ห่มคลุมเข้าไปยังบ้านเพื่อบิณฑบาต. อาศัยเหตุนั้นแล ชนทั้งหลาย
จึงรู้จักท่านว่า ท่านสัญชีวะ ดังนี้.
บทว่า ภิยฺโยสุตฺตรํ คือ พระสาวกชื่อว่า ภิยโยสะและอุตตระ. ใน
ท่านทั้งสองนั้น ท่านภิยโยสะเป็นผู้เลิศด้วยปัญญา ท่านอุตตระเป็นผู้เลิศด้วย
สมาธิ.
บทว่า ติสฺสภารทฺวาชํ คือ พระสาวกชื่อว่าติสสะ และภารทวาชะ.
ในท่านทั้งสองนั้น ท่านติสสะได้บรรลุปัญญาบารมี ท่านภารทวาชะได้บรรลุ
สมาธิบารมี.
บทว่า สารีปุตฺตโมคฺคลฺลานํ คือ พระสาวกชื่อว่า สารีบุตร และ
โมคคัลลานะ. ในท่านทั้งสองนั้น ท่านสารีบุตรได้เป็นผู้เลิศในทางปัญญา ท่าน
โมคคัลลานะได้เป็นผู้เลิศในทางสมาธิ. นี้ชื่อว่ากำหนดคู่อัครสาวก.
พึงทราบวินิจฉัยในการกำหนดการประชุมสาวก. การประชุมครั้งแรก
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสีอาทิผิด ได้ประกอบด้วยองค์ ๔. คือภิกษุทั้ง
หมดเป็นเอหิภิกขุ ภิกษุทั้งหมดมีบาตรและจีวรบังเกิดด้วยฤทธิ์. ภิกษุทั้งหมด
ไม่ได้นัดหมายกันมา. อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นมาประชุมกันในวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ.
ลำดับนั้น พระศาสดา ประทับนั่งจับพัดยังภิกษุให้ลงอุโบสถ. ครั้งที่ ๒ ครั้งที่ ๓
กับนัยนี้แล. ในการประชุมทั้งหมดของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่เหลือก็เป็นอย่าง
นั้น. ก็แต่ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายได้มีการประชุมในปฐมโพธิกาล
 
๑๓/๕๖/๘๒

วันพุธ, กรกฎาคม 19, 2566

Thiao

 
ราชคฤห์ ๑ สิกขาบทว่าด้วยตามกำจัดภิกษุ
รวม ๒ สิกขาบทว่าด้วยทำลายสงฆ์และประ-
พฤติตามรวม ๒ สิกขาบทว่าด้วยรับอันตร-
วาสก ๑ สิกขาบทว่าด้วยแลกเปลี่ยนรูปิยะ ๑
สิกขาบทว่าด้วยขอด้าย ๑ สิกขาบทว่าด้วย
บ่นว่า ๑ สิกขาบทว่าด้วยฉันโภชนะที่ภิกษุณี
แนะให้เขาถวาย ๑ สิกขาบทว่าด้วยอาหาร
ในโรงทาน ๑ สิกขาบทว่าด้วยฉันหมู่ ๑
สิกขาบทว่าด้วยฉันในเวลาวิกาล ๑ สิกขาบท
ว่าด้วยเที่ยวไปในสกุล ๑ สิกขาบทว่าด้วย
อาบน้ำ ๑ สิกขาบทว่าด้วยบวชคนมีอายุไม่
ครบ ๑ สิกขาบทว่าด้วยให้จีวร ๑ สิกขาบท
ว่าด้วยฉันโภชนะที่ภิกษุณียืนสั่งเสีย ๑ สิก-
ขาบทว่าด้วยเที่ยวอาทิผิด อาณัติกะยอดเขา ๑ สิกขาบทว่า
ด้วยจาริก ๑ สิกขาบทเหล่านี้บัญญัติไว้ ใน
พระนครราชคฤห์ รวมกับการให้ฉันทะในกรรม
นั้นแหละ เป็น ๒๑ สิกขาบท
สิกขาบทเหล่าใดบัญญัติไว้ในพระ-
นครสาวัตถี ท่านจงฟังสิกขาบทเหล่านั้น
ตามที่กล่าวต่อไป ปาราชิก ๔ ของภิกษุณี
สังฆาทิเสส ๑๖ อนิยต ๒ นิสสัคคิยะ ๒๔
 
๑๐/๑๐๑๘/๕๙๖

วันอังคาร, กรกฎาคม 18, 2566

Tham

 
ยักษ์ชนะ พระราชาและปุณณกยักษ์ทั้งสองนั้น เมื่อ
เจ้าพนักงานเอาสกามารวมพร้อมแล้ว ได้เล่นสกากัน
อยู่ในโรงสกานั้น ปุณณกยักษ์ได้ชัยชนะ พระราชา
ผู้แกล้วกล้าประเสริฐกว่านรชน ท่ามอาทิผิด อักขระกลางพระราชา
๑๐๑ พระองค์ และพยานที่เหลือ เสียงบันลือลั่นได้มี
ขึ้น ในสนามสกานั้น ๓ ครั้ง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาวิสุํ ความว่า เข้าไปในโรงสกา.
บทว่า วิจินํ ความว่า พระราชา ทรงเลือกใน ๒๔ ตา ได้ยึดในทางที่มี
โทษ คือยึดเอาทางปราชัย. บทว่า กฏมคฺคหิ ความว่า ส่วนปุณณกยักษ์
ยึดเอาชัยชนะ พระราชากับปุณณกยักษ์ทั้งสองนั้น เมื่อเจ้าพนักงานเอาสกามา
พร้อมกันในโรงเล่นสกานั้น ท่านทั้งสองได้เล่นสกาแล้ว. บทว่า รญฺญํ ความ
ว่า ครั้นปุณณกยักษ์นั้น ชนะพระราชา ผู้แกล้วกล้าประเสริฐกว่านรชนใน
ท่ามกลางแห่งพระราชา ๑๐๑ และท่านผู้เป็นสักขีพยานที่เหลือ. บทว่า ตตฺถปฺ-
ปนาโท ตุมุโล พภูว ความว่า เสียงบันลือลั่นได้มีขึ้นในมณฑลสกานั้น
๓ ครั้งว่า ขอพระองค์จงทราบความที่พระราชาทรงปราชัยแล้ว ข้าพเจ้าชนะ
แล้ว ข้าพเจ้าชนะแล้ว ข้าพเจ้าชนะแล้ว.
พระราชา ครั้นทรงปราชัยแล้ว ทรงเสียพระทัยเป็นกำลัง. ลำดับ
นั้นปุณณกยักษ์เมื่อจะปลอบโยนท้าวเธอให้เบาพระทัย จึงทูลเป็นคาถาว่า
ข้าแต่พระมหาราชา เราทั้งสองผู้พยายามเล่น
สกา ความชนะและความแพ้ย่อมมีแก่คนใดคนหนึ่ง
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมชน ข้าพระองค์ชนะพระองค์
ด้วยทรัพย์อันประเสริฐแล้ว ข้าพระองค์ชนะแล้ว ขอ
พระองค์ทรงพระราชทานเสียเร็ว ๆ เถิด.
 
๖๔/๑๐๔๔/๓๙๙

วันจันทร์, กรกฎาคม 17, 2566

Kratham

 
คาถานี้มีความสังเขปดังนี้ ก็ผู้ใด ได้สมณะผู้เป็นปฏิคาหก ผู้เข้าไปหาแล้ว
โดยที่ตนเองก็มีไทยธรรมอยู่ก็ไม่กระทำอาทิผิด สระ แม้เพียงการแจกแบ่งวัตถุมีข้าวเป็น
ต้น ผู้นั้นจักให้ทานอย่างอื่นได้อย่างไร ? บัณฑิตกล่าวคือ เรียกขานเขาผู้
ตระหนี่เหนียวแน่น เห็นปานนั้น เป็นบุรุษอาธรรม เป็นคนเลว ว่าเป็นผู้
เหมือนกับเมฆ ที่ไม่ให้ฝนตก ดังนี้.
บทว่า เอกจฺจานํ น ททาติ ความว่า แม้เมื่อของที่จะต้องให้มี
อยู่มากมาย ก็ไม่ยอมให้ แก่คนบางจำพวก ด้วยอำนาจแห่งความโกรธเคือง
ในคนเหล่านั้น หรือด้วยอำนาจแห่งความโลภในไทยธรรม. บทว่า เอกจฺจานํ
ปเวจฺฉติ ความว่า แต่ให้แก่บุคคลบางจำพวกเท่านั้น. บทว่า เมธาวิโน
ได้แก่ คนที่มีปัญญา คือเป็นบัณฑิต.
บทว่า สุภิกฺขวาโจ ความว่า ผู้ใดสั่งให้เขาให้ของนั้น ๆ แก่ยาจก
ทั้งหลายผู้เข้าไปหาแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า ท่านทั้งหลาย จงให้ข้าว ท่านทั้งหลาย
จงให้น้ำ ผู้นั้น ชื่อว่า สุภิกฺขวาโจ เพราะวิเคราะห์ว่า ผู้มีการออกปากของ่าย
เหตุมีการขอที่หาได้โดยง่าย. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สุภิกฺขวสฺสี ดังนี้ ก็มี.
ชาวโลก มีภิกษาหาได้โดยง่ายฉันใด มหาเมฆที่ยังฝนให้ตกชุก ทุกหนแห่ง
ย่อมชื่อว่าโปรยลงมา (ให้ภิกษา) หาง่ายฉันนั้น. แม้บุคคลนี้ก็ฉันนั้น เป็นผู้
ยังฝนให้ตกลงในที่ทุกหนแห่ง ด้วยมหาทาน (ช่วยให้) หาภิกษาได้โดยง่าย.
บทว่า อาโมทมาโน ปกิเรติ ความว่า บุคคลผู้มีมนัสอันยินดีและร่าเริงแล้ว
ให้ทานด้วยมือของตน ย่อมเป็นเสมือนหว่านไทยธรรมลงในนาคือปฏิคคาหก
แม้วาจาก็พร่ำพูดอยู่ว่า ท่านทั้งหลายจงให้ทานเถิด ท่านอาทิผิด อาณัติกะทั้งหลายจงให้ทาน
เถิด ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงภาวะที่เมฆให้ฝนตกทำให้ภิกษา
หาได้ง่าย จึงตรัสคำมีอาทิว่า ยถาปิ เมโฆ ดังนี้.
 
๔๕/๒๕๓/๔๖๖

วันอาทิตย์, กรกฎาคม 16, 2566

Anupathinnaka

 
๔ ดวงที่ไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ จิต ๒ ดวงที่สหรคตด้วยโทมนัส ย่อมดับ
ด้วยสกทาคามิมรรค.
จิต ๖ ดวงเหล่านั้น ด้วยอำนาจแห่งกามราคะและพยาบาทที่สหร-
คตด้วยส่วนที่ละเอียด ( อณุสหคต) ย่อมดับด้วย อนาคามิมรรค.
อกุศลจิต ๕ ดวง คือจิต ๔ ดวงที่ไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ และจิต
๑ ดวงที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ย่อมดับด้วย อรหัตมรรค.
ในจิตเหล่านั้น หากว่าพระอริยะเหล่านั้นไม่อบรมมรรคเหล่านั้น
แล้วไซร้ จิตเหล่านั้นพึงถึงความแผ่ซ่านไปในอารมณ์ ๖. อนึ่ง มรรค
ของพระอริยะเหล่านั้น ห้ามความเกิดแห่งความแผ่ซ่านไป กระทำการ
ถอนเสียซึ่งความที่จิตเหล่านั้นไม่ควรจะเกิดขึ้นด้วยอริยมรรค ชื่อว่า
อนุปาทินนกอาทิผิด สระนิโรธ ดับอนุปาทินนกะ. พึงทราบความดับอนุปาทินนกะ
อย่างนี้.
ก็หากว่าพระโสดาบันไม่ได้เป็นผู้อบรมโสดาปัตติมรรค ความเป็น
ไปแห่งอุปาทินนกขันธ์พึงเป็นไปได้ในสังสารวัฏ มีเบื้องต้นเบื้องปลาย
อันบุคคลตามไปอยู่รู้ไม่ได้ เว้นภพ ๗ เพราะเหตุไร. เพราะมีเหตุแห่ง
ความเป็นไปของโสดาปัตติมรรคนั้น. ก็มรรคนั้นเมื่อเกิดขึ้นย่อมถอนกิเลส
๕ อย่างเหล่านี้ได้ คือสังโยชน์ ๓ ทิฏฐานุสัย ๑ วิจิกิจฉานุสัย ๑. ความ
เป็นไปแห่งอุปาทินนกะของพระโสดาบัน จักเป็นไปในสังสารวัฏมีเบื้องต้น
เบื้องปลาย อันบุคคลตามไปอยู่รู้ไม่ได้ เว้นภพ ๗ ได้แต่ไหนในบัดนี้.
โสดาปัตติมรรคเมื่อกระทำอุปาทินนกะให้เป็นไปไม่ได้อย่างนี้ ชื่อว่า อุปา-
ทินนกนิโรธ ดับอุปาทินนกะ.
หากว่า พระสกทาคามีไม่ได้เป็นผู้อบรมสกทาคามิมรรค ความเป็น
 
๖๗/๙๙/๔๓

วันเสาร์, กรกฎาคม 15, 2566

Amnat

 
วิสัชนา ๒ ข้อด้วยอำนาจวัตถุปุเรชาตะว่า อกุศลเกิดขึ้นเพราะอิงอาศัย
อัพยากตธรรม อกุศลเกิดขึ้นเพราะอิงอาศัยอกุศลและอัพยากตะดังนี้ ต้อง
ลดไป. ส่วนในอรูปภพท่านกล่าววิสัชนาไว้ ๒ ข้อ ด้วยอำนาจอเหตุก-
โมหะและอเหตุกกิริยา. สองบทว่า นวิปฺปยุตฺเต เทฺว ในนวิปปยุตตปัจจัย
มี ๒ วาระ คือวิสัชนา ๒ ข้อ ด้วยอำนาจอาทิผิด อักขระอเหตุกอกุศลและอเหตุกกิริยา ใน
อรูปภพ. ใน โนนตฺถิ โนวิคเต คำว่า เอกํ=๑ พึงทราบว่าได้แก่อัพยากตะ
กับอัพยากตะ ด้วยอำนาจรูปทั้งหมด. ในปัจจัยที่มีมูล ๓ เป็นต้น แสดงไว้
หมดแล้ว. ส่วนใน นารัมมณทุมูลกนัย คำว่า นาธิปติยา ปญฺจ ใน
นอธิปติปัจจัย มี ๕ วาระ คือวิสัชนาที่ได้ในนอารัมมณปัจจัยนั่นเอง. ใน
คำนี้ว่า นกมฺเม เอกํ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ บัณฑิตไม่พึงถือเอา
จิตตชรูปและกัมมชรูป ถึงทราบเฉพาะอัพยากตะกับอัพยากตะ ด้วยอำนาจ
รูปที่เหลือ. ใน นาธิปติมูลกนัย คำว่า นปุเรชาเต สตฺต ในนปุเรชาต-
ปัจจัย มี ๗ วาระ คือวิสัชนาที่ได้ในนปุเรชาตปัจจัยเท่านั้น. คำว่า
นปจฺฉาชาเต สตฺตรส ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๗ วาระ ได้แก่วิสัชนา
๑๗ ข้อ ในนปัจฉาชาตปัจจัยเท่านั้น. วิสัชนาที่มี นอนันตรปัจจัย
นสมนันตรปัจจัย นอัญญมัญญปัจจัย นอุปนิสสยปัจจัย นสัมปยุตตปัจจัย
โนนัตถิปัจจัย โนวิคตปัจจัย เป็นมูล เหมือนกับปัจจัยที่มีีนอารัมมณปัจจัย
เป็นมูล. วิสัชนาที่ผ่านมาแล้วและยังไม่ถึง และวิสัชนาที่มีได้และมีไม่ได้
ในปัจจัยทั้งหมด พึงทราบโดยการแสดงเพียงนัยนี้เท่านั้น.
อรรถกถาปัจจัยปัจจนียนัย จบ
 
๘๕/๓๐๘/๓๒๗

วันศุกร์, กรกฎาคม 14, 2566

Suek

 
พระยาปายาสิผู้เข้าไปหาตนในนครนั้น จากมิจฉาทิฏฐิ ให้ดำรงอยู่ใน
สัมมาทิฏฐิ จำเดิมแต่นั้นมา พระยาปายาสิเป็นผู้ขวนขวายในบุญ เมื่อ
ถวายทานแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ได้ถวายทานโดยไม่เคารพ เพราะ
มิได้เคยสร้างสมในทานนั้น ในเวลาต่อมาทำกาลกิริยาตายไปบังเกิดใน
เสรีสกวิมาน [ ใกล้ต้นซึก ] ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช.
เล่ากันมาว่า ในอดีตกาล ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า
กัสสปะ พระเถระขีณาสพองค์หนึ่ง เที่ยวบิณฑบาตในบ้านแห่งหนึ่งแล้ว
ได้ทำภัตกิจที่สวนแห่งหนึ่งนอกบ้านทุกวัน คนเลี้ยงโคคนหนึ่งเห็นดัง
นั้น คิดว่า พระผู้เป็นเจ้าลำบากเพราะแสงแดด มีจิตเลื่อมใสได้เอาเสา
ไม้ซึกอาทิผิด สระ ๔ ต้น กระทำมณฑปกิ่งไม้ถวาย อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ปลูก
ต้นซึกอาทิผิด สระใกล้มณฑป ดังนี้ก็มี เขาทำกาละตายไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นจาตุ-
มหาราช ด้วยบุญกรรมนั้นเอง ที่ประตูวิมานได้บังเกิดสวนไม้ซึกซึ่งมี
ดอกพรั่งพร้อมด้วยสีและกลิ่นงดงามอยู่ทุกเวลา ส่องถึงกรรมเก่าของเขา
ด้วยเหตุนั้น วิมานนั้นจึงรู้กันทั่วว่าเสรีสกะ อนึ่ง เทพบุตรนั้นเวียนว่าย
อยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายตลอดพุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปบาทกาลนี้
เป็นพระควัมปติ ในคฤหัสถ์ ๔ คนมีวิมลเป็นต้นซึ่งเป็นสหายของพระ-
ยสเถระ ตั้งอยู่ในพระอรหัตด้วยพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า
เห็นวิมานว่างนั้น จึงไปพักกลางวันอยู่เนือง ๆ ด้วยอำนาจบุญกรรมที่
สั่งสมไว้ในกาลก่อน.
ต่อมา พระควัมปติเถระพบปายาสิเทพบุตรในที่นั้น ถามว่า ผู้มี
อายุ ท่านเป็นใคร เมื่อปายาสิเทพบุตรตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ข้าพเจ้าคืออาทิผิด สระพระยาปายาสิ มาเกิดในที่นี้ จึงกล่าวว่า ท่านเป็นมิจฉาทิฏฐิ
 
๔๘/๘๔/๖๕๓

วันพฤหัสบดี, กรกฎาคม 13, 2566

Lim

 
อวิชชา ชื่อว่า อวิชชาโยคะ (โยคะคืออวิชชา) เพราะประกอบ
ไว้ในวัฏฏะ.
อวิชชา ชื่อว่า อวิชชานุสัย (อนุสัยคืออวิชชา) ด้วยอำนาจการละ
ยังไม่ได้ และเพราะเกิดขึ้นบ่อย ๆ.
อวิชชา ชื่อว่า อวิชชาปริยุฏฐาน (การกลุ้มรุมจิตคืออวิชชา)
เพราะย่อมกลุ้มรุม ย่อมจับ ย่อมปล้นกุศลจิต เหมือนพวกโจรซุ่มในหนทาง
ปล้นคนเดินทางฉะนั้น.
อวิชชา ชื่อว่า อวิชชาลังคี (กลอนเหล็กคืออวิชชา) เพราะอรรถว่า
เมื่อลิ่มอาทิผิด อาณัติกะคือกลอนเหล็กที่ประตูเมืองตกไปแล้ว ย่อมตัดขาดซึ่งการออกไปภายนอก
เมือง ของพวกคนภายในเมืองบ้าง ซึ่งการเข้าไปภายในเมืองของพวกคน
ภายนอกเมืองบ้าง ฉันใด อวิชชานี้ตกไปในกายนครของตนแห่งบุคคลใด
ย่อมตัดขาดการดำเนินไป คือ ญาณอันให้ถึงพระนิพพานของบุคคลนั้นฉันนั้น.
อวิชชา ชื่อว่า อกุศลมูล เพราะอรรถว่า อกุศลนั้นเป็นมูล หรือ
เพราะอรรถว่า อวิชชาเป็นมูลแห่งอกุศลทั้งหลาย. ก็อกุศลมูลนั้น มิใช่อื่น
ในที่นี้ทรงประสงค์เอา โมหะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อกุศลมูล คือ
โมหะ.
บทว่า อยํ วุจฺจติอาทิผิด สระ (นี้เรียกว่า) ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกว่า นี้ ชื่อว่า อวิชชามีลักษณะอย่างนี้.
พึงทราบลักษณะอวิชชาด้วยอำนาจบท ๒๕ ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง อวิชชานี้มีลักษณะอย่างนี้ แม้ตรัสว่า ความไม่รู้ในทุกข์
เป็นต้น ก็ย่อมเป็นส่วนหนึ่งแห่งทุกขสัจจะ เป็นธรรมเกิดพร้อมกัน ย่อม
 
๗๗/๒๗๓/๔๖๔

วันพุธ, กรกฎาคม 12, 2566

Phro

 
เป็นชื่อ (เรียกกัน) ในโลก อธิบายว่า เป็นเพียงเรียกกัน. เพราะเหตุไร.
เพราะสมมุติ เรียกกัน คือ มาโดยการหมายรู้กัน. เพราะอาทิผิด สระชื่อและโคตรนั้น
ญาติสาโลหิตจัดแจงไว้ตั้งไว้ในเวลาที่เขาเกิดในที่นั้น ๆ. หากไม่กำหนดชื่อ
และโคตรนั้นไว้อย่างนั้น คนไร ๆ เห็นใคร ๆ ก็จะไม่รู้ว่าผู้นี้เป็นพราหมณ์
หรือว่า เป็นภารทวาชะ. ก็ชื่ออาทิผิด และโคตรนั้นที่เขากำหนดไว้อย่างนั้น กำหนด
ไว้เพื่อความรู้สึกว่า ทิฐิอันนอนเนื่องอยู่สิ้นกาลนาน ทิฐิอันนอนเนื่องอยู่สิ้น
กาลนานในหทัยของสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่รู้ว่า นั่นสักแต่ว่าชื่อและโคตรที่เขากำหนด
ไว้เพื่อเรียกกัน อธิบายว่าเพราะทิฐินั้นนอนเนื่องอยู่ ผู้ไม่รู้ชื่อและโคตรนั้น
คือไม่รู้เลยว่า เป็นพราหมณ์ ก็เที่ยวพูดอย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นพราหมณ์เพราะชาติ
ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า บุคคลผู้ถือมั่นว่า เป็นพราหมณ์โดย
ชาตินั้น ไม่รู้มาตรว่าการเรียกกันนี้ ทิฐิอันนั้นของคนเหล่านั้นเป็นทิฐิชั่ว ดัง
นี้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงปฏิเสธวาทะว่าด้วยชาติอย่างเด็ดขาด และทรง
ตั้งวาทะว่าด้วยกรรม จึงตรัสคำเป็นต้นว่า มิใช่เพราะชาติ ดังนี้ . เพื่อขยาย
ความของกึ่งคาถาที่ว่า เพราะกรรม ดังนี้ ในพระดำรัสนั้น จึงตรัสคำว่า
เป็นชาวนาเพราะการงาน ดังนี้เป็นต้น . บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เพราะ
การงาน ได้แก่ เพราะกรรมคือเจตนาตัวบังเกิดการงานมีกสิกรรมเป็นต้น
อันเป็นปัจจุบัน. บทว่า ปฏิจจสมุปบาท ได้แก่มีปรกติเห็นปฏิจจสมุปบาท
อย่างนี้ว่า เป็นอย่างนี้เพราะปัจจัยนี้. บทว่า ผู้รู้ในกรรมและผลของกรรม
ความว่า ผู้ฉลาดในกรรมและผลของกรรมอย่างนี้ว่า ย่อมมีการอุบัติในตระกูล
อันควรแก่การนับถือและไม่นับถือ เพราะอำนาจกรรม ความเลวและความ
ประณีตแม้อื่น ๆ ย่อมมีในเมื่อกรรมเลว และประณีตให้ผล. ก็พระคาถาว่า
 
๒๑/๗๐๘/๔๒๕

วันอังคาร, กรกฎาคม 11, 2566

Sap

 
เพราะสมณพราหมณ์เป็นอันมาก กล่าวธรรมของผู้อื่นโดยความเป็นธรรมเลว
สมณพราหมณ์ทั้งหมดเหล่านั้น ในธรรมของตนกล่าวว่ามั่นคง. มีอะไร
ยิ่งไปกว่านั้น. พึงทราบคาถาว่า สธมฺมปูชา การบูชาธรรมของตน ดังนี้
เป็นต้น ต่อไป.
บทนั้นมีความดังนี้ พวกเดียรถีย์เหล่านั้นย่อมสรรเสริญหนทางเครื่อง
ดำเนินของตนอย่างใด แม้การบูชาธรรมของตนของเดียรถีย์เหล่านั้น ก็ยัง
เป็นไปอยู่อย่างนั่น เพราะว่าพวกเดียรถีย์เหล่านั้นย่อมเคารพศาสดาเป็นต้น
เหลือเกิน. ในข้อนั้น ผิว่าการบูชาธรรมของตนอาทิผิด อักขระจะพึงเป็นประมาณแก่พวก
เดียรถีย์เหล่านั้น เมื่อเป็นอย่างนั้น วาทะทั้งหมดก็จะพึงเป็นของแท้. เพราะ
อะไร. เพราะว่าความบริสุทธิ์ของเดียรถีย์เหล่านั้น เป็นผลเฉพาะตน ๆ เท่านั้น
ความบริสุทธิ์นั้นย่อมไม่สำเร็จในที่อื่น แม้โดยปรมัตถ์ก็ไม่สำเร็จ เพราะคำนั้น
เป็นเพียงยึดถือความเห็นในตนเท่านั้นของผู้รู้ที่ปัจจัยอื่นจะพึงนำไปเหล่านั้น
แต่ตรงกันข้ามผู้ใดชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะลอยบาปได้แล้ว พึงทราบอาทิผิด สระคาถาว่า
โย ปน วิปรีโต ฯเปฯ ปรเนยฺยมตฺถิ ญาณที่ผู้อื่นพึงนำไปไม่มีแก่
พราหมณ์นั้น ดังนี้ต่อไป.
บทนั้นมีความดังนี้ ญาณที่ผู้อื่นจะพึงนำไป ย่อมไม่มีแก่พราหมณ์
เพราะเห็นชอบแล้วโดยนัยมีอาทิว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้. การ
วินิจฉัยในธรรมคือทิฏฐิทั้งหลายว่าข้อนี้เท่านั้นจริง ดังนี้แล้วยึดถือไว้ ไม่มีแก่
พราหมณ์. เพราะอะไร. เพราะว่าพราหมณ์นั้นล่วงความวิวาทเพราะทิฏฐิเสียได้
อนึ่งพราหมณ์นั้นไม่เห็นธรรมอื่นโดยความเป็นธรรมประเสริฐเลยนอกจาก
สติปัฏฐานเป็นต้น.
 
๔๗/๔๒๐/๘๒๓

วันจันทร์, กรกฎาคม 10, 2566

Khlai

 
แล้วหนอ เพราะเราบวชในพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีอย่างนี้
แล้ว ยังไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิต ดังนี้.
อาวุโส สุทินน์ จริง การที่คุณบวชในพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสไว้ดีอย่างนี้แล้ว ยังไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์
บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิตนั้น พอที่คุณจะรำคาญ พอที่คุณจะเดือดร้อน.
อาวุโส ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย
เพื่อคลายความกำหนัด ไม่ใช่เพื่อมีความกำหนัด เพื่อความพราก ไม่ใช่เพื่อ
ความประกอบ เพื่อความไม่ถือมั่น ไม่ใช่เพื่อมีความถือมั่น มิใช่หรือ เมื่อ
ธรรมชื่อนั้นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว เพื่อคลายความกำหนัด
คุณยังจะคิดเพื่อมีความกำหนัด เมื่อทรงแสดงเพื่อความพราก คุณยังจักคิด
เพื่อความประกอบ เมื่อทรงแสดงเพื่อความไม่ถือมั่น คุณยังจักคิดเพื่อมีความ
ถือมั่น.
อาวุโส ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย
เพื่อเป็นที่สำรอกแห่งราคะ เพื่อเป็นที่สร่างแห่งความเมา เพื่อเป็นที่ดับสูญ
แห่งความระหาย เพื่อเป็นที่หลุดถอนแห่งอาลัย เพื่อเป็นที่เข้าไปตัดแห่งวัฏฏะ
เพื่อเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา เพื่อคลายอาทิผิด อักขระความกำหนัด เพื่อความดับทุกข์ เพื่อ
นิพพานมิใช่หรือ.
อาวุโส การละกาม การกำหนดรู้ความหมายในกาม การกำจัดความ
ระหายในกาม การเพิกถอนความตรึกอันเกี่ยวด้วยกาม การระงับความกลัด-
กลุ้มเพราะกาม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกไว้แล้วโดยอเนกปริยาย มิใช่หรือ.
อาวุโส การกระทำของคุณนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน
ที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้
 
๑/๑๙/๓๙๐

วันอาทิตย์, กรกฎาคม 09, 2566

Thang Lai

 
ทั้งหลาย” ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงได้ตรัสพระ-
คาถานี้ว่า:-
๒. โอเทยฺยานุสาเสยฺย อสพฺภา จ นิวารเย
สตํ หิ โส ปิโย โหติ อสตํ โหติ อปฺปิโย.
“ผู้ใดพึงว่ากล่าว พึงสอน และพึงห้ามจาก
ธรรมของอสัตบุรุษ, ผู้นั้นแล ย่อมเป็นที่รักของ
สัตบุรุษทั้งหลายอาทิผิด อักขระ, ไม่เป็นที่รักของพวกอสัตบุรุษ.”
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอวเทยฺย ความว่า เมื่อเกิดเรื่อง
ขึ้นแล้ว จึงกล่าว ชื่อว่าย่อมโอวาท, เมื่อยังไม่เกิดเรื่อง ชี้โทษอัน
ยังไม่มาถึง ด้วยสามารถเป็นต้นว่า “แม้โทษจะพึงมีแก่ท่าน” ดังนี้
ชื่อว่าย่อมอนุศาสน์; กล่าวต่อหน้า ชื่อว่าย่อมโอวาท, ส่งทูตหรือศาสน์
ไปในที่ลับหลัง ชื่อว่าย่อมอนุศาสน์. แม้กล่าวคราวเดียว ชื่อว่าย่อม
โอวาท, กล่าวบ่อย ๆ ชื่อว่าย่อมอนุศาสน์. อีกอย่างหนึ่งกำลังโอวาท
นั่นแล ชื่อว่าอนุศาสน์ พึงกล่าวสั่งสอนอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า อสพฺภา ความว่า พึงห้ามจากอกุศลธรรม พึงให้ตั้งอยู่
ในกุศลธรรม. บทว่า สตํ ความว่า บุคคลเห็นปานนี้นั้น ย่อมเป็น
ที่รักแห่งสัตบุรุษทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น; แต่ผู้ว่ากล่าว ผู้สั่งสอน
นั้น ย่อมไม่เป็นที่รักแห่งพวกที่ไม่เห็นธรรม มีปรโลกอันข้ามล่วงแล้ว
ผู้เห็นแก่อามิส บวชเพื่อประโยชน์แก่การเลี้ยงชีพเหล่านั้น ชื่อว่าอสัตบุรุษ
ผู้ทิ่มแทงด้วยหอกคือปากอย่างนั้นว่า “ ท่านไม่ใช่อุปัชฌาย์อาจารย์ของพวก
 
๔๑/๑๖/๒๙๔

วันเสาร์, กรกฎาคม 08, 2566

Satsada

 
จะตัดสินฆ่าอย่างเดียว โดยวิธีเอาหลาวเสียบเขาทั้ง ๆ ที่ยังมีชีวิตอยู่
นั่นแหละ.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงแลเห็นว่าญาณของเขาแก่กล้า
แล้ว จึงเสด็จไปยังสถานที่นั้น ทรงวางพระหัตถ์มีพระองคุลียาวเรียวอ่อนนุ่ม
ดุจปุยนุ่นเหมือนตัดด้วยเปลวไฟ คล้ายท่อธารทองคำสีแดงชาติหลั่งไหลออก
เพราะมีพระหัตถ์และพระนขาอันงดงามดุจสำเร็จด้วยแก้วมณีทำให้สั่นสะเทือน
ลงบนศีรษะของอุตตรสามเณรตรัสว่า อุตตระ นี้เป็นผลกรรมในครั้งก่อน
เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ เธอพึงอดกลั้นด้วยกำลังแห่งปัจจเวกขณญาณแล้ว จึง
ทรงแสดงธรรมอันเหมาะแก่อัธยาศัย. อุตตรสามเณร ได้รับปีติปราโมทย์
อันโอฬาร เพราะเกิดความเลื่อมใสโสมนัสใจ ด้วยการสัมผัสพระหัตถ์
ของพระศาสดาอาทิผิด อักขระ เช่นกับได้รับการรดด้วยน้ำอมฤต เริ่มยกจิตขึ้นสู่หนทาง
วิปัสสนาตามที่ตนได้สั่งสมมา เพราะญาณถึงความแก่กล้า และเพราะ
ความไพเราะแห่งเทศนาของพระศาสดา จึงทำกิเลสทั้งปวงให้สิ้นไปได้ตาม
ลำดับแห่งมรรค ในขณะนั้นนั่นเอง เป็นผู้ได้อภิญญา ๖. ก็ครั้นท่านเป็นผู้
ได้อภิญญา ๖ แล้วได้ถอนตนขึ้นจากหลาว ยืนอยู่ในอากาศ เพื่ออนุเคราะห์
ผู้อื่น จึงแสดงปาฏิหาริย์แล้ว. มหาชนได้เกิดความอัศจรรย์ใจ. ในขณะนั้น
นั้นเอง แผลของท่านก็หายสนิทดี. สามเณรนั้น ถูกพวกภิกษุถามว่า อาวุโส
ได้รับทุกข์ถึงอย่างนั้น เธอยังสามารถเพื่อเจริญวิปัสสนาได้อย่างไร ดังนี้
จึงกล่าวว่า อาวุโส จะกล่าวไปทำไมถึงโทษในสงสารของผมเล่า, ก็สภาวะ
แห่งสังขารทั้งหลาย ผมเห็นได้ชัดเจนแล้ว ผมแม้จะเสวยทุกข์ถึงเช่นนั้น
ก็ยังสามารถเพื่อบรรลุวิปัสสนาได้ และกล่าวอีกว่า ในชาติก่อนเวลาเป็น
 
๗๒/๑๔๐/๔๗๐