วันจันทร์, กรกฎาคม 17, 2566

Kratham

 
คาถานี้มีความสังเขปดังนี้ ก็ผู้ใด ได้สมณะผู้เป็นปฏิคาหก ผู้เข้าไปหาแล้ว
โดยที่ตนเองก็มีไทยธรรมอยู่ก็ไม่กระทำอาทิผิด สระ แม้เพียงการแจกแบ่งวัตถุมีข้าวเป็น
ต้น ผู้นั้นจักให้ทานอย่างอื่นได้อย่างไร ? บัณฑิตกล่าวคือ เรียกขานเขาผู้
ตระหนี่เหนียวแน่น เห็นปานนั้น เป็นบุรุษอาธรรม เป็นคนเลว ว่าเป็นผู้
เหมือนกับเมฆ ที่ไม่ให้ฝนตก ดังนี้.
บทว่า เอกจฺจานํ น ททาติ ความว่า แม้เมื่อของที่จะต้องให้มี
อยู่มากมาย ก็ไม่ยอมให้ แก่คนบางจำพวก ด้วยอำนาจแห่งความโกรธเคือง
ในคนเหล่านั้น หรือด้วยอำนาจแห่งความโลภในไทยธรรม. บทว่า เอกจฺจานํ
ปเวจฺฉติ ความว่า แต่ให้แก่บุคคลบางจำพวกเท่านั้น. บทว่า เมธาวิโน
ได้แก่ คนที่มีปัญญา คือเป็นบัณฑิต.
บทว่า สุภิกฺขวาโจ ความว่า ผู้ใดสั่งให้เขาให้ของนั้น ๆ แก่ยาจก
ทั้งหลายผู้เข้าไปหาแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า ท่านทั้งหลาย จงให้ข้าว ท่านทั้งหลาย
จงให้น้ำ ผู้นั้น ชื่อว่า สุภิกฺขวาโจ เพราะวิเคราะห์ว่า ผู้มีการออกปากของ่าย
เหตุมีการขอที่หาได้โดยง่าย. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สุภิกฺขวสฺสี ดังนี้ ก็มี.
ชาวโลก มีภิกษาหาได้โดยง่ายฉันใด มหาเมฆที่ยังฝนให้ตกชุก ทุกหนแห่ง
ย่อมชื่อว่าโปรยลงมา (ให้ภิกษา) หาง่ายฉันนั้น. แม้บุคคลนี้ก็ฉันนั้น เป็นผู้
ยังฝนให้ตกลงในที่ทุกหนแห่ง ด้วยมหาทาน (ช่วยให้) หาภิกษาได้โดยง่าย.
บทว่า อาโมทมาโน ปกิเรติ ความว่า บุคคลผู้มีมนัสอันยินดีและร่าเริงแล้ว
ให้ทานด้วยมือของตน ย่อมเป็นเสมือนหว่านไทยธรรมลงในนาคือปฏิคคาหก
แม้วาจาก็พร่ำพูดอยู่ว่า ท่านทั้งหลายจงให้ทานเถิด ท่านอาทิผิด อาณัติกะทั้งหลายจงให้ทาน
เถิด ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงภาวะที่เมฆให้ฝนตกทำให้ภิกษา
หาได้ง่าย จึงตรัสคำมีอาทิว่า ยถาปิ เมโฆ ดังนี้.
 
๔๕/๒๕๓/๔๖๖

ไม่มีความคิดเห็น: