วันอาทิตย์, กรกฎาคม 30, 2566

Phuak

 
อรรถกถาเสลสูตร

เสลสูตรมีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
ในเสลสูตรนั้น คำว่า ในอังคุตราปชนบท เป็นต้น ท่านกล่าวให้
พิสดารแล้วในโปตลิยสูตรเทียว. บทว่า อฑฺฒเตรเสหิ ได้แก่ ๑๓ ทั้งกึ่ง
ท่านกล่าวอธิบายว่า กับด้วยภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป. ก็ภิกษุทั้งหลายที่ประชุมกัน
ในสาวกสันนิบาตเหล่านั้น ล้วนเป็นพระขีณาสพ บรรพชาด้วยเอหิภิกขุบรรพชา
ทั้งนั้น. คำว่า เกณิโย เป็นชื่อของชฎิลนั้น . คำว่า ชฏิโล ได้แก่ ดาบส.
ได้ยินมาว่า ดาบสนั้นเป็นพราหมณ์มหาศาล แต่ถือบวชเป็นดาบส เพื่อต้อง
การรักษาทรัพย์ ถวายบรรณาการแด่พระราชา ถือเอาภูมิภาค แห่งหนึ่ง
สร้างอาศรมอยู่ในภูมิภาคนั้น ประกอบการค้าขายด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม เป็น.
ที่อาศัยของตระกูลถึง ๑,๐๐๐ ตระกูล. อนึ่ง พระโบราณจารย์กล่าวว่า ที่
อาศรมของดาบสนั้น มีต้นตาลต้นหนึ่ง ผลตาลสำเร็จด้วยทองหล่นมาวันละ
ผลหนึ่ง. ดาบสนั้น กลางวันทรงผ้ากาสายะและสวมชฎา กลางคืนเสวยกาม
สมบัติ. คำว่า ธมฺมิยา กถาย ได้แก่ ด้วยธรรมีกถาที่ประกอบด้วยอานิสงส์
แห่งน้ำปานะ. ก็เกณิยะนี้ ละอายที่มีมือเปล่าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า คิดว่า
น้ำสำหรับดื่ม ย่อมควรแม้แก่ผู้เว้นวิกาลโภชน์ จึงให้หาบน้ำปานะผลพุทราที่
ปรุงเป็นอย่างดีมาถึง ๕๐๐ หาบ. ก็เรื่องที่ชฎิลนั้นไปแล้วอย่างนี้. พระสังคีติกา-
จารย์ยกขึ้นสู่พระบาลีในเภสัชชักขันธกะว่า ครั้งนั้นแล เกณิยชฎิลได้มีความ
คิดดังนี้ว่า เราควรนำไปเพื่อพระสมณโคดมหรือไม่หนอ ดังนี้.
คำว่า ทุติยํปิ โข ภควา ถามว่า ทรงปฏิเสธบ่อย ๆ เพราะเหตุไร.
ตอบว่า เพราะพวกอาทิผิด สระเดียรถีย์มีความเลื่อมใสในการปฏิเสธ. ข้อนั้นมิใช่เหตุ ความ

๑. วิ. ๓/๓๔๓
 
๒๑/๖๑๒/๒๙๕

ไม่มีความคิดเห็น: