วันอาทิตย์, กรกฎาคม 31, 2565

Awitchamana

 
บุตรของพราหมณ์ เป็นต้น เพราะฉะนั้น บัญญัติปานนี้ จึงชื่อว่า อวิชชมา-
เนน อวิชชมานอาทิผิด อักขระบัญญัติ เพราะบัญญัติซึ่งอวิชชมานะร่วมกับอวิชชมานะ
อย่างนี้ว่า บุตรของกษัตริย์ชื่อว่า ขัตติยบุตรเป็นต้น.
ในปกรณ์ปุคคลบัญญัตินี้ บรรดาบัญญัติทั้ง ๖ นั้น ได้ ๓ บัญญัติ
ข้อแรก เท่านั้น.
จริงอยู่ ได้ชื่อว่า วิชชมานบัญญัติ เพราะบัญญัติสภาวะที่มีอยู่จริง
เท่านั้น ในฐานะนี้ว่า ขันธบัญญัติ ฯลฯ อินทริยบัญญัติเป็นต้น. ในบทว่า
ปุคคลบัญญัติ ชื่อว่า อวิชชมานบัญญัติ ซึ่งจะกล่าวข้างหน้า แต่ในคำทั้ง
หลาย มีคำว่า บุคคลมีวิชชา ๓ มีอภิญญา ๖ เป็นต้น ได้ วิชชมาเนน
อวิชชมานบัญญัติ.

บัญญัติ ๖ ตามนัยของอาจารย์
ก็ว่าโดยนัยของอาจารย์อันเป็นอรรถกถามุตตกะ(นอกไปจากอรรถกถา)
มีบัญญัติ ๖ อื่นอีก คือ.
๑. อุปาทาบัญญัติ
๒. อุปนิธาบัญญัติ
๓. สโมธานบัญญัติ
๔. อุปนิกขิตตบัญญัติ
๕. ตัชชาบัญญัติ
๖. สันติบัญญัติ
 
๗๙/๑๖/๑๘๓

วันเสาร์, กรกฎาคม 30, 2565

Wak

 
อรรถกถาจุลลสุตโสมชาดก

พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
เนกขัมมบารมี ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า อามนฺตยามิ นิคมํ
ดังนี้.
เรื่องปัจจุบันนิทาน เช่นเดียวกับในมหานารทกัสสปชาดก. (ส่วนอดีต
นิทานมีดังต่อไปนี้)
ก็ในอดีตกาล พระนครพาราณสีได้มีชื่อว่า “ สุทัสนนคร ” พระ-
ราชาทรงพระนามว่าพรหมทัต เสด็จประทับอยู่ในพระนครนั้น พระโพธิสัตว์
ทรงบังเกิดในพระครรภ์แห่งพระอัครมเหสีของท้าวเธอ ล่วงไปได้ ๑๐ เดือน
ก็ประสูติจากพระครรภ์ของพระมารดา ก็พระพักตร์ของพระกุมารนั้น มีสิริ
ประหนึ่งดวงจันทร์ในวันเพ็ญ ด้วยเหตุนั้น พระชนกชนนีจึงทรงขนานพระ-
นามว่า “ โสมกุมาร ”. ราชกุมารนั้นพอรู้เดียงสาแล้ว เป็นผู้สนใจในสุตะ
มีการฟังเป็นปกติ ด้วยเหตุนั้น ชาวประชาจึงถวายพระนามว่า “ สุตโสม ”
ครั้นเจริญวัยแล้ว พระราชกุมาร เสด็จไปเรียนศิลปศาสตร์ในเมืองตักกศิลา
เสด็จกลับมา ก็ได้เศวตฉัตรของพระชนก เสวยราชสมบัติโดยธรรม ได้มี
พระอิสริยยศยิ่งใหญ่ พระองค์มีสนมกำนัลใน หมื่นหกพันนาง มีพระนาง-
จันทาเทวีเป็นประธาน. ในเวลาต่อมา ท้าวเธอก็เจริญด้วยพระโอรสธิดาจนไม่
ทรงยินดีด้วยฆราวาสวิสัย มีพระประสงค์ที่จะเสด็จไปสู่ป่า ทรงผนวช. วันหนึ่ง
จึงตรัสเรียกนายภูษามาลามาตรัสสั่งว่า แน่ะเจ้า เมื่อใด เจ้าเห็นผมที่เศียรของ
เราหงอกแล้ว เจ้าพึงบอกเราเมื่อนั้น. นายภูษามาลาก็รับพระราชดำรัสของ
ท้าวเธอ เวลาต่อมา ก็เห็นพระเกศาหงอกจึงกราบทูลให้ทรงทราบ เมื่อพระ
 
๖๑/๒๕๔๙/๗๐๓

วันศุกร์, กรกฎาคม 29, 2565

Upabat

 
โอกาสวาระ
กายสังขารมูล
กายสังขารมูละ ฯ ล ฯ
[๑๑๖๕] กายสังขารไม่ใช่กำลังดับในภูมิใด ฯ ล ฯ
กายสังขารมูล จบ
โอกาสวาระ จบ

ปุคคโลกาสวาระ
กายสังขารมูล
กายสังขารมูละ วจีสังขารมูลี :-
[๑๑๖๖] กายสังขารไม่ใช่กำลังดับแก่บุคคลไดในภูมิใด, วจี-
สังขารก็ไม่ใช่จักดับแก่บุคคลนั้นในภูมินั้นในภูมินั้น ใช่ไหม ?
บุคคลที่กำลังเข้าปฐมฌานอยู่ก็ดี ในอุปบาทอาทิผิด ขณะแห่งลม
อัสสาสะปัสสาสะของบุคคลซึ่งเกิดอยู่ในกามาวจรภูมิก็ดี เว้นลมอัสสาสะ
ปัสสาสะของบุคคลเหล่านั้นนั่นแหละ ในภังคขณะแห่งจิตก็ดี บุคคลที่
เกิดอยู่ในรูปาวจรภูมิก็ดี บุคคลที่เกิดอยู่ในอรูปาวจรภูมิก็ดี กายสังขาร
 
๘๒/๑๑๖๖/๑๒๐๔

วันพฤหัสบดี, กรกฎาคม 28, 2565

Nikhron

 
ดูก่อนคฤหบดี ท่านจงมนสิการ ครั้นแล้ว จงพยากรณ์ คำหลังกับ
คำก่อนก็ดี คำก่อนกับคำหลังก็ดี ของท่านไม่ต่อกันเลย ดูก่อนคฤหบดี ก็ท่าน
กล่าวคำนี้ไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะมั่นอยู่ในคำสัตย์เจรจาต่อกัน
ขอเราทั้งสองจงเจรจาปราศรัยกันในเรื่องนี้เถิด.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ก็จริง ถึงอย่าง
นั้นกายทัณฑะเท่านั้นมีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรมในการเป็นไปแห่งบาป
กรรม วจีทัณฑะ มโนทัณฑะ หามีโทษมากเหมือนกายทัณฑะไม่.
[๗๐] ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน นิครนถ์อาทิผิด อักขระ
ในโลกนี้พึงเป็นผู้สำรวมด้วยการสังวรโดยส่วน ๔ คือห้ามน้ำทั้งปวง ประกอบ
ด้วยการห้ามบาปทั้งปวง กำจัดบาปด้วยการห้ามบาปทั้งปวง อันการห้ามบาป
ทั้งปวงถูกต้องแล้วเมื่อเขาก้าวไป ถอยหลัง ย่อมถึงการฆ่าสัตว์ตัวเล็ก ๆ เป็น
อันมาก ดูก่อนคฤหบดี ก็นิครนถ์นาฏบุตรบัญญัติวิบากเช่นไรแก่นิครนถ์ผู้นี้.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นิครนถ์นาฏบุตรมิได้บัญญัติกรรม อันเป็นไป
โดยไม่จงใจว่ามีโทษมากเลย.
ดูก่อนคฤหบดี ก็ถ้าจงใจเล่า.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นกรรมมีโทษมาก.
ดูก่อนคฤหบดี ก็นิครนถ์นาฏบุตรบัญญัติเจตนาลงในส่วนไหน.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นิครนถ์นาฏบุตรบัญญัติเจตนาลงในส่วนมโน-
ทัณฑะ.
ดูก่อนคฤหบดี ท่านจงมนสิการ ครั้นแล้ว จงพยากรณ์ คำหลังกับ
คำก่อนก็ดี คำก่อนกับคำหลังก็ดี ของท่านไม่ต่อกันเลย ดูก่อนคฤหบดี ก็ท่าน
กล่าวคำนี้ไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะมั่นอยู่ในคำสัตย์เจรจากัน ขอ
เราทั้งสองจงเจรจาปราศัยกันในเรื่องนี้เถิด.
 
๒๐/๗๐/๑๒๐

วันพุธ, กรกฎาคม 27, 2565

Sela

 
เสลอาทิผิด อักขระสูตรที่ ๗
ว่าด้วยความเลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
[๓๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในชนบทชื่ออังคุตตราปะ
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จำนวนมากประมาณ ๑,๒๕๐ รูป เสด็จถึงอาปณนิคมของ
ชาวอังคุตตราปะ.
เกณิยชฎิลได้สดับข่าวมาว่า พระสมณโคดมศากยบุตร ทรงผนวชจาก
ศากยสกุล เสด็จจาริกไปในชนบทชื่ออังคุตตราปะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป เสด็จถึงอาปณนิคมตามลำดับ ก็กิตติศัพท์อันงามของ
ท่านพระโคดมพระองค์นั้นแล ขจรไปแท้อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ฯลฯ ทรงเบิกบานแล้ว
เป็นผู้จำแนกธรรม พระองค์ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งเองแล้วทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม พระองค์ทรงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามใน
ท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้ง
พยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การได้เห็นพระอรหันต์ปานนั้น ย่อมเป็น
ความดีแล.
ครั้งนั้นแล เกณิยชฎิลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน
ไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เกณิยชฎิล
เห็นแจ้ง ให้สมาทานอาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา.
 
๔๗/๓๗๓/๕๑๓

วันอังคาร, กรกฎาคม 26, 2565

Sak

 
๓. เรื่องพระฉันนเถระ [๖๒]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระฉันนเถระ
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า “น ภเช ปาปเก มิตฺเต” เป็นต้น.
พระฉันนเถระด่าพระอัครสาวก
ดังได้สดับมา ท่านพระฉันนะนั้นด่าพระอัครสาวกทั้งสองว่า
“เราเมื่อตามเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ กับพระลูกเจ้าของเราทั้งหลายใน
เวลานั้น มิได้เห็นผู้อื่นแม้สักอาทิผิด สระคนเดียว, แต่บัดนี้ ท่านพวกนี้เที่ยวกล่าวว่า
เราชื่อสารีบุตร, เราชื่อโมคลัลลานะ, พวกเราเป็นอัครสาวก.” พระ-
ศาสดาทรงสดับข่าวนั้นแต่สำนักภิกษุทั้งหลายแล้ว รับสั่งให้หาพระฉันน-
เถระมา ตรัสสอนแล้ว. ท่านนิ่งในชั่วขณะนั้นเท่านั้น ยังกลับไปด่าพระ-
เถระทั้งหลายเหมือนอย่างนั้นอีก. พระศาสดารับสั่งให้หาท่านซึ่งกำลังด่า
มาแล้ว ตรัสสอนอย่างนั้นถึง ๓ ครั้งแล้ว ตรัสเตือนว่า “ฉันนะ ชื่อว่า
อัครสาวกทั้งสองเป็นกัลยาณมิตร เป็นบุรุษชั้นสูงของเธอ, เธอจงเสพ
จงคบกัลยาณมิตรเห็นปานนี้” ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดง
ธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
๓. น ภเช ปาปเก มิตฺเต น ภเช ปุริสาธเม
ภเชถ มิตฺเต กลฺยาเณ ภเชถ ปุริสุตฺตเม.
 
๔๑/๑๖/๒๙๖

วันจันทร์, กรกฎาคม 25, 2565

Anapattiwan

 
อนาปัตติวารอาทิผิด สระ
[๕๓๔] ภิกษุส่งกลับไปด้วยคิดว่า เรา ๒ รูปรวมกันจักไม่พอฉัน ๑
ภิกษุส่งกลับไปด้วยคิดว่า รูปนั้นพบสิ่งของมีราคามากแล้ว จักยังความโลภให้
เกิด ๑ ภิกษุส่งกลับไปด้วยคิดว่า รูปนั้นเห็นมาตุคามแล้วจักยังความกำหนัด
ให้เกิด ๑ ภิกษุส่งกลับไปด้วยสั่งว่า จงนำข้าวต้มหรือข้าวสวย ของเคี้ยวหรือ
ของฉันไปให้แก่ภิกษุผู้อาพาธ แก่ภิกษุผู้ตกค้างอยู่ หรือแก่ภิกษุผู้เฝ้าวิหาร ๑
ภิกษุไม่ประสงค์จะประพฤติอนาจาร แต่เมื่อมีกิจจำเป็น จึงส่งกลับไป ๑ ภิกษุ
วิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
อุยโยชน สิกขาบทที่ ๒
ในสิกขาบทที่ ๒ มีวินิจฉัยดังนี้:-
[แก้อรรถบางปาฐะในปฐมบัญญัติของสิกขาบท]
บทว่า ปฏิกฺกมเนปิ แปลว่า แม้ในโรงฉัน.
บทว่า ภตฺตวิสฺสคฺคํ แปลว่า ภัตกิจ.
บทว่า น สมฺภาเวสิ แปลว่า ไม่ทันเวลา.
บทว่า อนาจารํ ได้แก่ การละเมิดทางกายทวารและวจีทวาร อัน
เหลือจากอนาจารที่กล่าวแล้ว .
ในคำว่า ทสฺสนูปจารํ วา สวนูปจารํ วา วิชหนฺตสฺส นี้
มีวินิจฉัยว่า ถ้าภิกษุยืน หรือนั่งขับไล่, ภิกษุใดถูกขับไล่, ภิกษุนั้นกำลังละ
อุปจารไป, และชื่อว่า อาบัติไม่มีแก่ภิกษุนั้น, แต่เมื่อภิกษุผู้ถูกขับไล่ไปนั้น
 
๔/๕๓๔/๕๘๗

วันอาทิตย์, กรกฎาคม 24, 2565

Yuet

 
(จึงมีความสิ้นไปแห่งอาสวะ) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่
อย่างนี้แล จึงมีความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย.
[๒๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่ง
ภาวนานุโยคอยู่ ถึงจะเกิดความปรารถนาว่า ไฉนหนอ จิตของเราพึง
หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่นก็จริง. แต่ที่แท้จิตของเขา
ก็ไม่หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ยึดอาทิผิด สระมั่นได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ข้อนั้น
พึงกล่าวได้ว่า เพราะไม่ได้อบรมแล้ว. เพราะไม่ได้อบรมอะไร ?
เพราะไม่ได้อบรมสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕
พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ (และ) มรรคมีองค์ ๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฟองไข่
ของแม่ไก่ ๘ ฟองบ้าง ๑๐ ฟองบ้าง ๑๒ ฟองบ้าง ที่แม่ไก่ไม่ได้นอนทับ
ไม่ได้กก ไม่ได้ฟัก ถึงแม่ไก่นั้น จะเกิดความปรารถนาอย่างนี้ขึ้นว่า
ไฉนหนอ ลูกของเรา จะพึงใช้ปลายเล็บเท้า หรือจะงอยปาก เจาะ
กะเปาะฟอง ออกมาโดยสวัสดี ก็จริงแล แต่ทว่า ไม่ควรที่ลูกไก่เหล่านั้น
จะใช้ปลายเล็บเท้า หรือจะงอยปาก เจาะกะเปาะฟองออกมาโดยสวัสดี
ได้. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าฟองไข่ ของ
แม่ไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง แม่ไก่ไม่ได้นอนทับ ไม่ได้กก
ไม่ได้ฟักเลย ฉันใด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่ได้ประกอบเนือง ๆ
ซึ่งภาวนานุโยคอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ถึงจะเกิดความปรารถนา
อย่างนี้ว่า ไฉนหนอ จิตของเรา จะพึงพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะ
ไม่ยึดมั่น ก็จริงแล แต่ที่แท้ จิตของเธอจะไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย
เพราะไม่ยึดมั่นได้. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ข้อนั้นพึงกล่าวได้ว่า เพราะ
ไม่ได้อบรมแล้ว. เพราะไม่ได้อบรมอะไร ? เพราะไม่ได้อบรมสติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ และ
มรรคมีองค์ ๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุประกอบเนือง ๆ ซึ่ง
 
๒๗/๒๖๑/๓๔๘

วันเสาร์, กรกฎาคม 23, 2565

Thikhalatthi

 
๓. ทีฆลัฏฐิอาทิผิด อักขระสูตร

[๒๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน อัน
เป็นที่ประทานเหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ทีฆลัฏฐิเทวบุตร เมื่อสิ้น
ราตรีปฐมยาม มีวรรณะอันงามยิ่งนัก ทำพระวิหารเวฬุวันให้สว่างทั่วแล้ว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[๒๕๗] ทีฆลัฏฐิเทวบุตร ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าว่า
ภิกษุพึงเป็นผู้มีปกติเพ่งพินิจฌาน
มีจิตหลุดพ้นแล้ว พึงหวังความไม่เกิดขึ้น
แห่งหทัย คือพระอรหัตผล รู้ความเกิดขึ้น
และความเสื่อมไปแห่งโลกแล้ว มีใจดี
อันตัณหาและทิฐิไม่อิงอาศัยแล้ว มีพระ-
อรหัตผลนั้นเป็นอานิสงส์.

อรรถกถาทีฆลัฏฐิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทีฆลัฏฐิสูตรที่ ๓ ต่อไป :-
บทว่า ทีฆลฏฺฐิ ความว่า เหล่าเทพในเทวโลก มีพฤตินัยว่า มี
ขนาดเท่ากันหมด ส่วนทีฆลัฏฐิเทพบุตรนั้น มีชื่ออย่างนี้ ก็เพราะเมื่ออยู่ใน
มนุษยโลกมีตัวสูง. เขาทำบุญทั้งหลาย แม้บังเกิดในเทวโลก ก็ปรากฏชื่อ
อย่างนั้นนั่นแหละ.
จบอรรถกถาทีฆทัฏฐิสูตรที่ ๓
 
๒๔/๒๕๖/๓๔๙

วันศุกร์, กรกฎาคม 22, 2565

Kiao

 
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาต้นว่า ปุจฺฉามหํ ข้าพระองค์ขอทูลถาม.
บทว่า วทญฺญุํ ได้แก่ผู้รู้ถ้อยคำ. ท่านอธิบายว่า รู้ความประสงค์ของคำที่สัตว์
ทั้งหลายพูดทุกอย่าง. บทว่า สุชฺเฌ ได้แก่ พึงบริสุทธิ์ คือพึงมีผลมากด้วยอำนาจ
ทักขิไณยบุคคล. แต่ในบทนี้โยชนาแก้ว่า มาฆมาณพกราบทูลว่า ผู้ใดเป็น
คฤหัสถ์ควรแก่การขอ เป็นทานบดี มีความต้องการบุญให้ข้าวน้ำบูชาแก่ชนเหล่า
อื่น ไม่ใส่เพียงเครื่องบูชาในไฟ แต่มุ่งบุญเท่านั้น ไม่มุ่งการตอบแทนกิตติศัพท์
อันงามเป็นต้น การบูชาของผู้นั้นผู้บูชาอย่างเห็นปานนี้จะพึงบริสุทธิ์ได้อย่างไร.
บทว่า อาราธเย ทกฺขิเณยฺเยหิ ตาทิ ผู้เช่นนั้นพึงให้ทักขิไณยบุคคลยินดีได้
ความว่า ผู้ควรแก่การขอเช่นนั้นพึงให้ทักขิไณยบุคคลยินดีพอใจบริสุทธิ์ใจ พึง
ทำการบูชาให้มีผลมากไม่ใช่อย่างอื่น. ด้วยบทนี้เป็นอันพยากรณ์ บทว่า การ
บูชาของผู้บูชานี้พึงบริสุทธิ์ได้อย่างไร. ในบทว่า อกฺขาหิ เม ภควา ทกฺขิ-
เณยฺเย นี้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงบอกทักขิไณยบุคคลแก่ข้าพระองค์
เถิด นี้ พึงทราบโยชนาอย่างนี้ว่า ผู้ใดควรแก่การขอให้อยู่ย่อมบูชาแก่คนอื่น
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงบอกทักขิไณยบุคคลของผู้นั้นแก่ข้าพระองค์
เถิด.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงประกาศทักขิไณยบุคคลแก่
มาฆมาณพนั้นโดยนัยหลายประการ ได้ตรัสพระคาถามีอาทิว่า เย เว อลคฺคา
ชนเหล่าใดแลไม่เกี่ยวข้อง ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อลคฺคา คือไม่เกี่ยวข้องด้วยเครื่องเกี่ยวอาทิผิด อาณัติกะข้องมี
ราคะเป็นต้น. บทว่า เกวลิโน คือมีกิจที่ต้องทำเสร็จแล้ว. บทว่า ยตตฺตา คือ
มีจิตคุ้มครองแล้ว ฝึกฝนแล้วด้วยการฝึกอย่างยอดเยี่ยม พ้นเด็ดขาดแล้วด้วย
 
๔๗/๓๖๓/๔๖๔

วันพฤหัสบดี, กรกฎาคม 21, 2565

Thang Lai

 
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้นให้หันหน้ามาหาพระองค์ด้วย
พระดำรัสที่มีการทอดพระเนตรดูด้วยพระหฤทัยที่เยือกเย็นด้วยกระแสแห่ง
พระกรุณาเป็นเบื้องหน้า ทรงให้ภิกษุเหล่านั้นเกิดความประสงค์จะฟัง
ด้วยพระดำรัสที่แสดงความที่พระองค์ประสงค์จะตรัสสอนนั้นนั่นแล. และ
ทรงประกอบภิกษุเหล่านั้นไว้ แม้ในการตั้งใจฟังด้วยดีด้วยพระดำรัสที่ทรง
ประสงค์จะเตือน ( ภิกษุทั้งหลาย) ให้รู้สึกนั้นนั่นแล เพราะคุณสมบัติ
แห่งหลักคำสอนเกี่ยวเนื่องอยู่กับการตั้งใจฟังด้วยดี. ถ้าหากจะมีคำถาม
สอดเข้ามาว่า เพราะเหตุไร เมื่อเทวดาและมนุษย์เหล่าอื่นมีอยู่ จึงตรัส
เรียกภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นมา. ตอบว่า เพราะภิกษุทั้งหลายอาทิผิด อักขระ เป็นผู้เจริญ
ที่สุด ประเสริฐที่สุด อยู่ใกล้ และอยู่พร้อมเพรียงกันตลอดเวลา.
อธิบายว่า พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทั่วไปแก่บริษัท
ทุกเหล่า และภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าเจริญที่สุดในบริษัท เพราะเป็นผู้
เกิดขึ้นก่อนบริษัทอื่น ชื่อว่าประเสริฐที่สุด เพราะมุ่งความเป็นบรรพชิต
เป็นเบื้องหน้า ประพฤติคล้อยตามอย่างพระศาสดา และรับเอาคำสั่งสอน
ทั้งสิ้น ชื่อว่าอยู่ใกล้ เพราะเมื่อนั่งอยู่ในที่นั้น ชื่อว่าอยู่ในสำนักของ
พระศาสดา ชื่อว่าพร้อมเพรียงกันอยู่ทุกเมื่อ เพราะเที่ยวไปใกล้สำนัก
พระศาสดา.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นภาชนะแห่งพระธรรม-
เทศนา เพราะให้เกิดการปฏิบัติตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพร่ำสอน
และเพราะเป็นบุคคลพิเศษ อนึ่ง เทศนาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงเฉพาะ เจาะจง ภิกษุบางพวกเท่านั้น เพราะฉะนั้น พระองค์จึง
ตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้นมา ด้วยอาการอย่างนี้. ในข้อนั้น พึงมีคำถาม
สอดเข้ามาว่า ก็เพื่อประโยชน์อะไร พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรง
 
๑๗/๙/๔๑

วันพุธ, กรกฎาคม 20, 2565

Phra

 
โวหารของชาวอริยกะ หรือโวหารของชาวมิลักขะก็ดี เมื่อเธอกล่าวเนื้อความ
นั้นอย่างนี้แล้ว ถ้าผู้ที่ตนบอกเข้าใจ, สิกขาก็ย่อมเป็นอันบอกลา
ใน ๗ บท มีว่า อุปาสโก เป็นต้นแม้ที่เหลือ ก็นัยนั่น. ก็ ๘ บท
เหล่านี้ และ ๑๔ บทเบื้องต้น จึงรวมเป็น ๒๒ บท ฉะนี้แล. ถัดจาก ๘ บท
นั้นไป ท่านกล่าวประมวล ๑๔ บทเบื้องต้นนั่นแลเข้าด้วย ๔ บทเหล่านั้น คือ
อลมฺเม, กินฺนุเม, น มมตฺโถ, สุมุตฺตาหํ, จึงเป็น ๕๖ บท.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อลํ แปลว่า ช่างเถิด, อธิบายว่า
พอละ.
บทว่า กินฺนุเม ความว่า กิจอะไรของข้าพเจ้า ? คือกิจอะไรที่
ข้าพเจ้าควรทำ? อธิบายว่า กิจอะไร ที่ข้าพเจ้าจะพึงทำให้สำเร็จ?
บทว่า น มมตฺโถ ความว่า ข้าพเจ้าไม่มีความต้องการ.
บทว่า สุมุตฺตาหํ ตัดเป็น สุมุตฺโต อหํ แปลว่า ข้าพเจ้าพ้น
ดีแล้ว (จากพระพุทธเจ้า).
คำที่เหลือใน ๕๖ บทนี้ มีนัยดังกล่าวมาแล้วทีเดียว. ก็ ๕๖ บท
เหล่านี้ และ ๒๒ บทข้างต้น จึงรวมเป็น ๗๘ บท ท่านกล่าวไว้โดยสรุป
เท่านั้น ด้วยประการอย่างนี้. ก็เพราะการบอกลาสิกขาย่อมมีได้แม้ด้วยคำเป็น
ไวพจน์แห่งบทอันเป็นเขตเหล่านั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัส
คำว่า ยานิ วาปนญฺนิปิ เป็นต้น
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยานิ วาปนญฺญานิปิ ความว่ายกเว้น
บทซึ่งมาในบาลีว่า พุทฺธํ เป็นต้นเสียแล้ว คำไวพจน์เหล่าอื่นใดเล่า ยังมี
อยู่อีก.
 
๑/๗๘/๗๙๑

วันอังคาร, กรกฎาคม 19, 2565

Phahusut

 
สร้างขึ้นได้เหมือนปรึกษากับเทวดาทั้งหลาย. อีกอย่างหนึ่ง เทวดาสิงอยู่ในร่าง
ของอำมาตย์เหล่านั้น น้อมจิตไปเพื่อสร้างคฤหาสน์ในที่นั้น ๆ พอเขาตอกหลัก
ลงใน ๔ มุม เทวดาเหล่านั้นจึงเข้าสิงพื้นที่. เทวดาผู้มีศรัทธา ทำอย่างนั้นแก่
ตระกูลผู้มีศรัทธา เทวดาผู้ไม่มีศรัทธาก็ทำอย่างนั้นแก่ตระกูลผู้ไม่มีศรัทธา.
เพราะเหตุไร. เพราะผู้มีศรัทธามีความคิดอย่างนี้ว่า คนทั้งหลายในโลกนี้
ครั้นสร้างบ้านเรือนแล้ว ชั้นแรกนิมนต์ภิกษุสงฆ์ให้นั่ง ให้กล่าวแต่มงคล
เมื่อเป็นเช่นนี้. พวกเราก็จักได้เห็นผู้มีศีล ฟังธรรมกถา การแก้ปัญหาและ
อนุโมทนา ผู้คนให้ทานแล้วจักให้ส่วนบุญแก่เรา.
บทว่า ตาวตึเสหิ ความว่า เสียงขจรไปว่า พวกมนุษย์ในตระกูล
โน้น อาศัยมนุษย์ผู้เป็นบัณฑิตผู้หนึ่งในตระกูลหนึ่ง ย่อมเป็นบัณฑิต หรือ
ภิกษุในวิหารโน้น อาศัยภิกษุผู้เป็นพหูสูตรูปหนึ่งในวิหารหนึ่ง ย่อมเป็น
พหูสูตรูปหนึ่งในวิหารหนึ่ง ย่อมเป็นพหูสูตอาทิผิด สระฉันใด. เสียงขจรไปว่า เทวดา
ชั้นดาวดึงส์ อาศัยท้าวสักกเทวราช และวิษณุกรรมเทพบุตรย่อมเป็นบัณฑิต
ฉันนั้นเหมือนกัน . เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ตาวตึเสหิ.
อธิบายว่า ย่อมสร้างเหมือนปรึกษากับเทวดาชั้นดาวดึงส์. บทว่า ยาวตา
อริยํ อายตนํ ความว่า ชื่อว่าที่เป็นที่ประชุมของมนุษย์ เผ่าอริยกะมีประมาณ
เท่าใด. บทว่า ยาวตา วณิปฺปโถ ความว่า ชื่อว่าสถานที่เป็นที่ซื้อขายโดย
กองสิ่งของที่พวกพ่อค้านำมา หรือสถานที่เป็นที่อยู่ของพวกพ่อค้าทั้งหลายมี
ประมาณเท่าใด. บทว่า อิทํ อคฺคนครํ ความว่า อัครนครนี้จักเป็นเมือง
เจริญ เป็นเมืองใหญ่ สำหรับพวกอริยกะและพวกพ่อค้านั้น ๆ. บทว่า ปุฏ-
เภทนํ ได้แก่ ที่แก้ห่อสินค้า. ท่านอธิบายว่า เป็นที่ปล่อยสินค้าของเจ้าของ
สินค้าต่าง ๆ. อธิบายว่า ก็ชนทั้งหลายแม้ไม่ได้สิ่งของในสกลชมพูทวีป ก็จัก
ได้ในที่นี้นี่แหละ แม้ผู้ไม่ไปค้าขายในที่อื่น ก็จักไปในที่นี้ เพราะฉะนั้น พวก
 
๑๓/๑๖๒/๓๗๐

วันจันทร์, กรกฎาคม 18, 2565

Kwang

 
สิเนรุราชนั้น ตามลำดับ เป็นที่สิ่งสถิตของ
มหาราชทั้งหลาย เป็นถิ่นประจำของหมู่เทพ
และพวกยักษ์.
ยังมีภูเขาชื่อหิมพานต์สูง ๕๐๐ โยชน์
ยาวและกว้าง ๓,๐๐๐ โยชน์ งดงามด้วยยอด
๘๔,๐๐๐ ยอด ชมพูทวีปรุ่งเรืองแล้วด้วย
อานุภาพแห่งต้นชมพูใด ต้นชมพู (ต้นหว้า)
นั้นวัดรอบลำต้นได้ ๑๕ โยชน์ มีกิ่งลำต้น
ยาว ๕๐ โยชน์รอบด้าน กว้างอาทิผิด ได้ร้อยโยชน์
สูงขึ้นร้อยโยชน์เหมือนกัน.
อนึ่ง ประมาณแห่งต้นชมพูนี้อันใด ต้นจิตตปาฏลี (แคฝอย) ของ
พวกอสูรก็ดี ต้นสิมพลี (ไม้งิ้ว) ของพวกครุฑก็ดี ต้นกทัมพะ (ไม้กระทุ่ม)
ในทวีปอมรโคยานก็ดี ต้นกัลปพฤกษ์ ในทวีปอุตตรกุรุก็ดี ต้นสิรีสะ ในทวีป
ปุพพวิเทหะก็ดี ต้นปาริฉัตตกะในดาวดึงส์ทั้งหลายก็ดี ก็มีประมาณนั้นเหมือน
กัน ด้วยเหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
ต้นปาฏลี (แคฝอย) ๑ ต้นสิมพลี
(ไม้งิ้ว) ๑ ต้นชมพู (ไม้หว้า) ๑ ต้นปาริฉัตตกะ
(ต้นทองหลาง) ของพวกเทพ ๑ ต้นกทัมพะ
(ไม้กระทุ่ม) ๑ ต้นกัลปพฤกษ์ ๑ ต้นสิรีสะ
(ไม้ซึก) เป็นที่ ๗
โยชนาว่า เอเต สตต ปพพตา อนุปฏิปาฏิยา สมุคคตา โสปานสทิสา หุตฺวา ฐิตา ภูเขา
๗ เทือกเหล่านี้สูงขึ้นโดยลำดับเป็นเหมือนกับบันไดตั้งอยู่.
 
๗๖/๕๑๓/๑๘๒

วันอาทิตย์, กรกฎาคม 17, 2565

Athinnathan

 
อาเสวนปัจจยตากถา
[๑๘๗๒] สกวาที ความเป็นอาเสวนปัจจัยอะไร ๆ ไม่มีหรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ปาณาติบาต อันบุคคลซ่องเสพแล้ว อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
ไปพร้อมเพื่อนรก เป็นไปพร้อมเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปพร้อมเพื่อ
วิสัยแห่งเปรต วิบากของปาณาติบาตอย่างเบาที่สุดก็เป็นไปพร้อมเพื่อ
ความเป็นผู้มีอายุน้อยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่าง ก็มี
อยู่น่ะสิ.
[๑๘๗๓] ส. ความเป็นอาเสวนปัจจัยอะไร ๆ ไม่มี หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อทินนาทานอาทิผิด อักขระ อันบุคคลซ่องเสพแล้ว อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
ไปพร้อมเพื่อนรก เป็นไปพร้อมเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปพร้อมเพื่อ
วิสัยแห่งเปรต วิบากของอทินนาทานอย่างเบาที่สุดก็เป็นไปพร้อมเพื่อ
ความฉิบหายแห่งโภคะเมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ฯลฯ วิบากของกาเมสุมิจฉาจาร
อย่างเบาที่สุด ก็เป็นไปพร้อมเพื่อความเป็นผู้มีศัตรู มีเวรเมื่อเกิดเป็น
มนุษย์ ฯลฯ วิบากของมุสาวาทอย่างเบาที่สุด ก็เป็นไปพร้อมเพื่อความ

๑. องฺ. อฏฐก. ๒๓/๑๓๐.
 
๘๑/๑๘๗๓/๗๐๓

วันเสาร์, กรกฎาคม 16, 2565

Sok

 
มีจิตขุ่นมัว เข้าไปยังเทพบุรี บรรดานักรบ ๕ ประเภท พวกนาคจะตั้งป้อง
กันเขาปริภัณฑ์ลูกแรกนั้น อารักขาที่เหลือในฐานะที่เหลือก็อย่างนั้น.
ก็เมื่อท้าวสักกะจอมเทพทรงตั้งอารักขาในที่ ๕ แห่งเหล่านี้แล้ว เสวย
ทิพยสมบัติอยู่ นางสุธรรมาจุติมาบังเกิดเป็นบาทบริจาริกาของท้าวสักกะนั้น
แหละ ก็เทวสภาชื่อว่าสุธรรมามีประมาณ ๕๐๐ โยชน์ ซึ่งเป็นที่ที่ท้าวสักกะ
จอมเทพประทับนั่งบนบัลลังก์ทองขนาดหนึ่งโยชน์ภายใต้เศวตฉัตรทิพย์ทรง
กระทำกิจที่จะพึงกระทำแก่เทวดาและมนุษย์ ได้เกิดขึ้นแก่นางสุธรรมา เพราะ
ผลวิบากที่ให้ช่อฟ้า. ฝ่ายนางสุจิตราก็จุติมาบังเกิดเป็นบาทบริจาริกาของท้าว
สักกะนั้นเหมือนกัน และอุทยานชื่อว่าจิตรลดาวันก็เกิดขึ้นแก่นางสุจิตรานั้น
เพราะผลวิบากของการกระทำอุทยาน. ฝ่ายนางสุนันทาก็จุติมาบังเกิดเป็นบาท
บริจาริกาของท้าวสักกะนั้นเหมือนกัน และสระโบกขรณีชื่อว่านันทาก็เกิดขึ้น
แก่นางสุนันทานั้น เพราะผลวิบากของการขุดสระโบกขรณี.
ส่วนนางสุชาดาบังเกิดเป็นนางนกยางอยู่ที่ซอกอาทิผิด อักขระเขาในป่าแห่งหนึ่ง เพราะ
ไม่ได้กระทำกุศลกรรมไว้ ท้าวสักกะทรงพระรำพึงว่า นางสุชาดาไม่ปรากฏ
นางบังเกิด ณ ที่ไหนหนอ ครั้นทรงเห็นนางสุชาดานั้น จึงเสด็จไปที่ซอกเขา
นั้น พานางมายังเทวโลก ทรงแสดงเทพนครอันน่ารื่นรมย์ เทวสภาชื่อ
สุธรรมา สวนจิตรลดาวัน และนันทาโบกขรณีแก่นาง แล้วทรงโอวาทนางว่า
หญิงเหล่านี้ได้กระทำกุศลไว้จึงมาบังเกิดเป็นบาทบริจาริกาของเรา ส่วนเธอไม่
ได้กระทำกุศลไว้จึงบังเกิดในกำเนิดดิรัจฉาน ตั้งแต่นี้ไป เธอจงรักษาศีล
นางนกยางนั้น ก็รักษาศีลตั้งแต่กาลนั้น โดยล่วงไป ๒-๓ วัน ท้าวสักกะ
ทรงดำริว่า นางนกยางอาจรักษาศีลหรือหนอ จึงเสด็จไป แปลงรูปเป็นปลา
นอนหงายอยู่ข้างหน้า นางนกยางนั้น สำคัญว่าปลาตายจึงได้คาบที่หัว ปลา
 
๕๕/๓๑/๓๒๙

วันศุกร์, กรกฎาคม 15, 2565

Sangkhaiyana

 
คัมภีร์ธรรมสังคณี คัมภีร์วิภังค์ คัมภีร์
กถาวัตถุ คัมภีร์ปุคคลบัญญัติ คัมภีร์
ธาตุกถา คัมภีร์ยมก คัมภีร์ปัฏฐาน ท่าน
เรียกว่า พระอภิธรรม.
ต่อจากการสังคายนาคัมภีร์อังคุตตรนิกายนั้น พระธรรมสังคาหก-
เถระทั้งหลาย ได้สังคายนาบาลีพระอภิธรรม ซึ่งเป็นอารมณ์ของญาณ
อันสุขุม อันบัณฑิตทั้งหลายสรรเสริญแล้วอย่างนี้ แล้วกล่าวว่า ปิฎกนี้
ชื่อ อภิธรรมปิฎก พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ได้ทำคณสาธยาย แผ่นดินได้
ไหวตามนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล. ต่อจากการสังคายนาอาทิผิด อภิธรรมปิฎกนั้น
พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายได้สังคายนาพระบาลี คือ ชาดก นิทเทส
ปฏิสัมภิทามรรค อปทาน สุตตนิบาต ขุททกปาฐะ ธรรมบท อุทาน
อิติวุตตกะ วิมานวัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา พระทีฆภาณ-
กาจารย์กล่าวว่า ประชุมคัมภีร์นี้ชื่อว่า ขุททกคันถะ และกล่าวว่า
พระธรรมสังคาหกเถระ ยกสังคายนาในอภิธรรมปิฎกเหมือนกัน. ส่วน
พระมัชฌิมภาณกาจารย์กล่าวว่า ขุททกคันถะทั้งหมดนี้กับจริยาปิฎกและ
พุทธวงศ์ นับเนื่องในสุตตันตปิฎก.
พระพุทธพจน์แม้ทั้งหมดนี้ พึงทราบว่ามี ๑ คือ รส มี ๒ คือ
ธรรมและวินัย มี ๓ คือ ปฐมพจน์ มัชฌิมพจน์ และปัจฉิมพจน์ มี ๓
ด้วยอำนาจแห่งปิฎก มี ๕ ด้วยอำนาจแห่งนิกาย มี ๙ ด้วยอำนาจแห่งองค์
มี ๘๔,๐๐๐ ด้วยอำนาจธรรมขันธ์ ด้วยประการฉะนี้.
พระพุทธพจน์ มี ๑ คือ รส นับอย่างไร ? จริงอยู่ คำใดที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมแล้ว
 
๑๑/๙๐/๙๐

วันพฤหัสบดี, กรกฎาคม 14, 2565

Tam

 
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามเธอว่า เรวตะ สถานที่นี้มีเนื้อร้าย
เธอได้ฟังเสียงช้างม้าเป็นต้นที่ดุร้ายแล้ว จะทำอย่างไร ? พระเถระกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมดาว่าความยินดีในการอยู่ป่า บังเกิดขึ้นแล้วแก่
ข้าพระองค์ ก็เพราะได้ฟังเสียงของสัตว์เหล่านั้นแล. ณ สถานที่นั้นพระศาสดา
ได้ตรัสถึงชื่อว่า อานิสงส์ในการอยู่ป่า ด้วยพระคาถา ๕๐๐ พระคาถาแด่
พระเรวตเถระ วันรุ่งขึ้นเสด็จไปบิณฑบาตในสถานที่ไม่ไกล ตรัสเรียก
พระเรวตเถระมาแล้ว ได้ทรงกระทำพวกภิกษุผู้ที่กล่าวโทษพระเถระให้หลง
ลืมไม้เท้า รองเท้า ทะนานน้ำมันและร่มแล้ว. พวกภิกษุเหล่านั้น พากัน
กลับมาเพื่อนำบริขารของตนไป แม้จะย้อนไปตามอาทิผิด อักขระเส้นทางที่มาแล้วก็ตาม แต่
เดินไปตามเส้นทางที่ประดับตกแต่งแล้ว แต่วันนั้น เดินไปตามทางขรุขระ
ในที่นั้นต้องนั่งยอง ๆ ต้องเดินเข่า. ภิกษุเหล่านั้นพากันเดินเหยียบย่ำกอไม้
พุ่มไม้ และหนาม ไปถึงสถานที่ที่ตนเคยอยู่ จำได้ว่าร่มของตนคล้องไว้ที่
ตอตะเคียนตรงนั้น ตรงนั้น จำได้ว่ารองเท้าไม้เท้าและทะนานน้ำมันอยู่
ตรงนั้น. ในตอนนั้น ภิกษุเหล่านั้น จึงทราบว่า ภิกษุรูปนี้มีฤทธิ์ จึงถือเอา
บริขารของตน แล้วพากันพูดว่า สักการะเห็นปานนี้ ย่อมเป็นสักการะที่
พระเถระจัดแจงไว้เพื่อพระทศพล ดังนี้แล้ว จึงได้พากันไป.
ในเวลาที่พวกภิกษุพากันนั่งแล้วในเรือนของตน นางวิสาขาอุบาสิกา
จึงเรียนถามพวกภิกษุที่ล่วงหน้ามาก่อนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สถานที่อยู่ของ
พระเรวตะเป็นที่น่าจับใจไหมหนอ ? พวกภิกษุกล่าวว่า ดูก่อนอุบาสิกา น่า
จับใจ เสนาสนะนั้นมีส่วนเปรียบด้วยนันทวันและจิตตลดาวันแล. ต่อมานาง
วิสาขาก็ถามพวกภิกษุผู้พากันมาภายหลังกว่าภิกษุเหล่านั้นบ้างว่า พระคุณเจ้า
สถานที่อยู่ของพระเรวตะเป็นที่น่าพอใจไหม ? ภิกษุเหล่านั้น ตอบว่า อย่า
 
๗๒/๑๓๓/๓๔๙

วันพุธ, กรกฎาคม 13, 2565

Winyat

 
หรือสมควรหนอ ดังนี้ ชื่อว่า ปริกถา. ภิกษุถามว่า อุบาสก ! พวก
ท่านอยู่ที่ไหน ? พวกอุบาสกตอบว่า ที่ปราสาท ขอรับ ! พูดต่อไปว่า
ก็ปราสาทไม่ควรแก่ภิกษุทั้งหลายหรือ อุบาสก ! คำพูดมีอาทิอย่างนี้
ชื่อว่า โอภาส. ก็การกระทำมีอาทิอย่างนี้ คือภิกษุเห็นพวกชาวบ้านแล้ว
ขึงเชือก ให้ตอกหลัก เมื่อพวกชาวบ้านถามว่า นี้ให้ทำอะไรกัน ขอรับ ?
ตอบว่า พวกอาตมาจะสร้างที่อยู่อาศัยที่นี้ ชื่อว่า นิมิตตกรรม. ส่วน
ในคิลานปัจจัย แม้วิญญัติอาทิผิด สระก็ควร จะป่วยกล่าวไปไยถึงปริกถาเป็นต้นเล่า.
คำว่า มนุสฺสา อุปทฺทุตา ยาจนาย อุปทฺทุตา วิญฺญตฺติยา
มีความว่า พวกชาวบ้านถูกบีบคั้นด้วยการขอร้อง และด้วยการออกปาก
ขอนั้นของภิกษุเหล่านั้น.
บทว่า อุพฺภิชฺชนฺติปิ มีความว่า ย่อมได้รับความหวาดสะดุ้ง คือ
ไหว หวั่นไปว่า จักให้นำอะไรไปให้หนอ ?
บทว่า อุตฺตสนฺติปิ มีความว่า พบภิกษุเข้า ก็พลันสะดุ้งชะงัก
ไปเหมือนพบงูฉะนั้น.
บทว่า ปลายนฺติปิ มีความว่า ย่อมหนีไปเสียแต่ไกล โดยทางใด
ทางหนึ่ง.
สองบทว่า อญฺเญนปิ คจฺฉนฺติ มีความว่า ละทางที่ภิกษุเดินไป
เสีย แล้วกลับเดินมุ่งไปทางซ้าย หรือทางขวา. ปิดประตูเสียบ้างก็มี.
[แก้อรรถศัพท์ในเรื่องมณีกัณฐนาคราช]
สองบทว่า ภูตปุพฺพํ ภิกฺขเว เป็นต้น มีความว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ครั้นทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้นด้วยประการฉะนี้ และตรัสธรรมี-
 
๓/๕๒๐/๔๐๗

วันอังคาร, กรกฎาคม 12, 2565

Rueang

 
กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ถูกยกวัตร ฐานไม่เห็นอาบัติ ฐานไม่ทำคืนอาบัติ
ฐานไม่สละคืนทิฎฐิอันลามก นวกรรมนั้นตกเป็นของภิกษุนั้นนั่นเอง เป็น
บัณเฑาะก์ เป็นเถยยสังวาส เข้ารีต เดียรถีย์ เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฆ่ามารดา
ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ ประทุษร้ายภิกษุณี ทำลายสงฆ์ ทำโลหิตุปบาท
ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญชนก สงฆ์เป็นเจ้าของ ๑๒๖. เรื่องภิกษุนำเสนาสนะ
ไปใช้ในที่อื่น ๑๒๗. เรื่องภิกษุรังเกียจ ๑๒๘. เรื่องวิหารใหญ่ชำรุด ๑๒๙.
เรื่องผ้ากัมพล ๑๓๐. เรื่องผ้ามีราคามาก ๑๓๑. เรื่องหนังหุ้ม ๑๓๒. เรื่องอาทิผิด สระ
ผ้าเช็ดเท้ารูปวงล้อ ๑๓๓. เรื่องผ้าผืนเล็ก ๑๓๔. เรื่องภิกษุ เหยียบเสนาสนะ
๑๓๕. เรื่องเท้าเปียก ๑๓๖. เรื่องสวมรองเท้า ๑๓๗. เรื่องถ่มเขฬะ ๑๓๘. เรื่อง
เท้าเตียงตั่งครูดพื้น ๑๓๙. เรื่องภิกษุพิงฝา ทรงอนุญาตพนักอิง พนักอิง
ครูดฝาอีก ๑๔๐. เรื่องล้างเท้า ทรงอนุญาตให้ปูเครื่องลาดนอน ๑๔๑.
เรื่องประทับในกรุงราชคฤห์ ประชาชนไม่อาจถวายสังฆภัตร ๑๔๒. เรื่อง
แจกภัตรเลว สมมติพระภัตตุเทสก์ เรื่องแจกภัตรอย่างไร ๑๔๓. เรื่องสมมติ
ภิกษุเป็นผู้ตั้งเสนาสนะ สมมติภิกษุเป็นผู้รักษาเรือนคลัง .. . เป็นผู้รับจีวร...
เป็นผู้รับแจกจีวร . . . เป็นผู้แจกข้าวยาคู . . . เป็นผู้แจกผลไม้... เป็นผู้แจก
ของเคี้ยว . . . เป็นผู้แจกของเล็กน้อย . . . เป็นผู้แจกผ้า . . . เป็นผู้แจกบาตร...
เป็นผู้ใช้คนวัด. .. เป็นผู้ใช้สามเณร พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงครอบงำ
ซึ่งสรรพธรรม ทรงรู้จักโลก มีพระหทัยเกื้อกูล เป็นผู้นำชั้นเยี่ยม ทรง
บัญญัติแล้วเพื่อหลีกเร้น เพื่อความสุข เพื่อเพ่ง และเพื่อเห็นแจ้ง ดังนี้แล.
หัวข้อประจำขันธกะ จบ
 
๙/๓๓๖/๑๗๖

วันจันทร์, กรกฎาคม 11, 2565

Wibak

 
นี้เรียกว่า ปัญจมฌานกุศล. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่
สัมปยุตด้วยฌาน.

วิปากฌาน จตุกกนัย
[๗๓๑] ฌาน ๔ คือ
๑. ปฐมฌาน
๒. ทุติยฌาน
๓. ตติยฌาน
๔. จตุตถฌาน
[๗๓๒] ในฌาน ๔ นั้น ปฐมณาน เป็นไฉน ?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม
สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์
ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ
ฯ ล ฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.
ภิกษุ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐม-
ฌาน ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อันเป็นวิบากอาทิผิด อักขระ เพราะรูปาวจรกุศลกรรม
อันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั่นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและ
สุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ
สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปฐมณานวิบาก. ธรรม
ทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน.
ทุติยฌาน เป็นไฉน ?
 
๗๘/๗๓๒/๓๒๖

วันอาทิตย์, กรกฎาคม 10, 2565

Nam

 
ครองความเป็นมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ยังไม่
เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการถวายน้ำข้าวนั้น. ทองคำ
ร้อยแท่ง ม้าร้อยตัว รถเทียมด้วยแม่ม้าอัสดรร้อยคัน
สาวน้อยประดับตุ้มหูแก้วมณีแสนนาง ก็ยังไม่เท่า
เสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการถวายน้ำอาทิผิด อาณัติกะข้าวครั้งหนึ่ง. ช้างตัว
ประเสริฐตระกูลเหมวตะ มีงาดุจงอนไถ มีสายรัด
ทองคำ มีที่อยู่อาศัยเป็นทอง [ ถ้ำทอง ] ร้อยเชือก
ก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการถวายน้ำข้าวครั้งหนึ่ง.
ถึงแม้พระเจ้าจักรพรรดิ ครองความเป็นใหญ่แห่งทวีป
ทั้ง ๔ ก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการถวายน้ำข้าว
ครั้งหนึ่ง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อทาสึ โกลสมฺปากํ กญฺชิกํ เตลธูปิตํ
เทพธิดาแสดงว่า ดีฉันเอาน้ำพุทราและมะซางเติมน้ำสี่ส่วน เคี่ยวยาคู
ข้าวต้มเหลือส่วนที่สี่ ปรุงด้วยของเผ็ดร้อนทั้งหลายมีของเผ็ดร้อน ๓ อย่าง
ผักชีมหาหิงคุ์ยี่หร่าและกระเทียมเป็นต้น อบอย่างดีให้ข้าวยาคูนั้นจับกลิ่น
พริกไทย แล้วเกลี่ยลงในบาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ถวายเฉพาะ
พระศาสดาด้วยจิตเลื่อมใส. ดีฉันวางไว้ในมือของพระเถระ. เพราะเหตุ
นั้น เทพธิดาจึงกล่าวว่า
ดีฉันมีใจเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้ซื่อตรงได้
ถวายน้ำข้าวที่ผสมด้วยดีปลี กระเทียมและพริกไทย
ดังนี้.
 
๔๘/๔๓/๓๕๓

วันเสาร์, กรกฎาคม 09, 2565

Khwam

 
อรรถกถาปฐมปฏิสัมภิทาสูตรที่ ๗
ปฐมปฏิสัมภิทาสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อิทมฺเม เจตโส ลีนตฺตํ ความอาทิผิด สระว่า เมื่อจิตหดหู่เกิดขึ้นแล้ว
ภิกษุย่อมรู้ตามสภาวะความเป็นจริงว่า จิตของเรานี้หดหู่ จิตไปตาม
ถีนมิทธะ ชื่อว่าจิตหดหู่ในภายใน จิตที่กวัดแกว่งไปในกามคุณ ๕
ชื่อว่าจิตฟุ้งไปในภายนอก บทว่า เวทนาเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงถือเอาด้วยอำนาจมูลแห่งธรรมอันเป็นเครื่องเนิ่นช้า. ด้วยว่า
เวทนาเป็นมูลแห่งตัณหา เพราะตัณหาเกิดขึ้นด้วยอำนาจความสุข
สัญญาเป็นมูลของทิฏฐิ เพราะทิฏฐิ เกิดขึ้นในอวิภูตารมณ์ อารมณ์
ที่ไม่ชัดแจ้งวิตกเป็นมูลแห่งมานะ เพราะอัสมิมานะเกิดขึ้นด้วย
อำนาจวิตก. บทว่า สปฺปายา สมฺปาเยสุ ได้แก่ที่เป็นอุปการะและ
ไม่เป็นอุปการะ. บทว่า นิมิตฺตํ ได้แก่ เหตุ. คำที่เหลือในบททั้งปวง
ง่ายทั้งนั้นแล.
จบ อรรถกถาสูตรที่ ๗
 
๓๗/๓๕/๙๖

วันศุกร์, กรกฎาคม 08, 2565

Kradong

 
บรรดาเครื่องเรือนมีเสา ขื่อ บันได และกระดานเป็นต้น เครื่องเรือน
อย่างใด อย่างหนึ่ง ซึ่งทำด้วยไม้ก็ตาม ทำด้วยศิลาก็ตาม เสื่อลำแพนชนิดใด
ชนิดหนึ่ง ที่เขาถวายสงฆ์แล้ว เป็นครุภัณฑ์สมควรทำให้เป็นเครื่องลาดพื้น.
ส่วนหนังแพะ ซึ่งแม้มีคติอย่างเครื่องปูลาด ก็เป็นครุภัณฑ์เหมือนกัน .
หนังที่เป็นกัปปิยะ เป็นของควรแจกกันได้.
แต่ในกุรุนทีแก้ว่า หนังทุกชนิดมีขนาดเท่าเตียง เป็นครุภัณฑ์. ครก
สาก กระด้งอาทิผิด สระ หินบด ลูกหินบด รางศิลา อ่างศิลา ภัณฑะของช่างหูกเป็น
อาทิทุกอย่าง มีกระสวย ฟืม และกระทอเป็นต้น เครื่องทำนาทุกอย่าง
ล้อเลื่อนทุกอย่าง เป็นครุภัณฑ์ทั้งนั้น.
เท้าเตียง แม่แคร่เตียง เท้าตั่ง แม่แคร่ตั่ง ด้ามมีดและสว่านเป็นต้น
ในของเหล่านี้ อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งถากค้างไว้ยังไม่ทันเสร็จ แจกกันได้ แต่
ที่ถากเกลี้ยงเกลาแล้ว เป็นครุภัณฑ์.
อนึ่ง ของเช่นนี้ คือ ด้ามมีดที่ทรงอนุญาต ด้ามและปีกกลด ไม้เท้า
รองเท้า ไม้สีไฟ กระบอกกรอง กระติกน้ำทรงมะขามป้อม หม้อน้ำทรง
มะขามป้อม กระติกน้ำลูกน้ำเต้า หม้อน้ำหนัง หม้อน้ำทรงน้ำเต้า กระติกน้ำ
ทำด้วยเขา จุน้ำไม่เกินบาทหนึ่ง แจกกันได้ทุกอย่าง เขื่องกว่านั้นเป็นครุภัณฑ์.
งาช้างหรือเขาชนิดใดชนิดหนึ่ง ยังมิได้เกลา คงอยู่อย่างเดิม แจก
กันได้.
ในเท้าเตียงเป็นต้น ที่ทำด้วยงาช้างและเขาเหล่านั้น มีวินิจฉัยเช่นกับ
ที่มีมาแล้วในหนหลังนั่นเอง.
ของเช่นนี้ คือ กลักใส่หิงคุ กลักใส่ยาตา แม้ถากเกลาเสร็จแล้ว
ลูกดุม รังดุม แท่นยาตา ด้ามยาตา กราดกวาดน้ำ ทุกอย่างแจกกันได้ทั้งนั้น.
วินิจฉัยในของที่ทำด้วยดิน พึงทราบดังนี้:-
 
๙/๓๓๖/๒๒๒