วันอาทิตย์, กรกฎาคม 03, 2565

Sueng

 
อรรถกถาทุติยเสทกสูตร
ในสูตรที่ ๑๐. คำว่า นางงามในชนบท หมายถึงนางที่งามที่สุด
ในชนบท ซึ่งอาทิผิด อาณัติกะเว้นจากโทษประจำตัว ๖ อย่าง แล้วประกอบด้วยความงาม
๕ อย่าง. ก็เพราะนางนั้นไม่สูงนัก ไม่เตี้ยนัก ไม่ผอมนัก ไม่อ้วนนัก ไม่ดำนัก
ไม่ขาวนัก ผิวพรรณแม้จะไม่ถึงทิพย์ แต่ก็เกินผิวพรรณมนุษย์ด้วยกัน ฉะนั้น
จึงจัดว่าปราศจากโทษประจำตัว ๖ อย่าง. และเพราะประกอบด้วยความงามเหล่านี้
คือ ผิวงาม เนื้องาม เล็บงาม (นหารุกลฺยาณํ) กระดูกงาม วัยงาม จึงชื่อว่า
ประกอบด้วยความงาม ๕ อย่าง. นางไม่ต้องใช้แสงสว่างจรมาเลย ด้วยแสงสว่าง
ประจำตัวของตนนั่นแหละ ก็ทำให้สว่างในที่มีระยะ ๑๒ ศอก เป็นผิวที่เหมือน
กับดอกประยงค์ หรือเหมือนกับทองคำ นี้เป็นความงามแห่งผิวของนาง.
ส่วนมือเท้าทั้ง ๔ และริมฝีปากของนางนั้นเล่า ก็คล้ายกับทาด้วยชาด เหมือน
แก้วประพาฬแดงหรือผ้ากัมพลแดง นี้คือความงามแห่งเนื้อของนาง. ส่วนกลีบ
เล็บทั้ง ๒๐ นั้นเล่า ในที่ที่ไม่พ้นจากเนื้อ ก็คล้ายกับเอาชาดมาทาไว้ ที่พ้น
จากเนื้อแล้ว ก็เหมือนกับธารน้ำนม นี้คือความงามแห่งเล็บ ของนาง. ที่ฟัน
๓๒ ซี่ ซึ่งงอกขึ้นมานั่นเล่า ก็ปรากฏคล้ายเอาเพชรที่เจียระไนแล้วมาเรียงเป็น
แถวไว้ นี้คือความงามแห่งกระดูกของนาง. และต่อให้มีอายุถึง ๑๒๐ ปี ก็ยัง
สาวพริ้งเหมือนอายุแค่ ๑๖ ปี ผมไม่มีหงอกเลย นี้ คือความงามแห่งวัยของ
นาง. สำหรับในคำว่า มีกระแสเสียงไพเราะอย่างยิ่ง นี้หมายความว่า
กระแสเสียงไหลเอื่อยไป กระแสเสียงนั้นไพเราะอย่างยิ่ง ที่ชื่อว่า มีกระแส
คำว่า นหารุกลฺยาณํ นี้ อรรถกถาอธิบายเรื่องเล็บ ไม่ได้อธิบายเรื่องเอ็นเลย จึงแปลว่า เล็บงาม ไม่ใช่เอ็นงามตามศัพท์ อรรถกถาอุทาน นันทวรรค นันทสูตรที่ ๒ หน้า ๒๑๒ แก้ว่า ฉวิกลฺยาณํ มํสกลฺยาณํ นขกลฺยาณํ (เล็บงาม) อฏฺฐิกลฺยาณํ วยกลฺยาณํ
 
๓๐/๗๖๖/๔๕๘

ไม่มีความคิดเห็น: