วันพุธ, สิงหาคม 31, 2565

Bueng

 
มีอยู่, บึงนั้นย่อมควรได้ อย่างไร ? พึงบอกเขาว่า เขาจักทำให้เป็น
กัปปิยะแล้วถวายกระมัง ? เขาถามว่า ถวายอย่างไร จึงจะเป็นกัปปิยะ ?
พึงกล่าวว่า เขากล่าวถวายว่า ท่านทั้งหลาย จงบริโภคปัจจัย ๔ เถิด
ดังนี้. ถ้าเขากล่าวว่า ดีละขอรับ ! ขอท่านทั้งหลายจงบริโภคปัจจัย ๔ เถิด
ดังนี้, ควรอยู่.
ถ้าแม้น เขากล่าวว่า ขอท่านทั้งหลายจงรับบึงอาทิผิด สระเถิด ถูกพวกภิกษุ
ทั้งหลายห้ามว่า ไม่ควร แล้วถามว่า กัปปิยการกมีอยู่หรือ ? เมื่อภิกษุตอบว่า
ไม่มี จึงกล่าวว่า คนชื่อโน้นจักจัดการบึงนี้, หรือว่า จักอยู่ในความ
ดูแลของคนโน้น หรือในความดูแลของข้าพเจ้า, ขอสงฆ์จงบริโภคกัปปิย-
ภัณฑ์เถิด ดังนี้, จะรับควรอยู่. ถ้าแม้นว่า ทายกนั้นถูกภิกษุปฏิเสธว่า
ไม่ควร แล้วกล่าวว่า คนทั้งหลายจักบริโภคน้ำ จักซักล้างสิ่งของ,
พวกเนื้อและนกจักดื่มกิน, แม้การกล่าวอย่างนี้ ก็สมควร.
ถ้าแม้นว่า ทายกถูกภิกษุปฏิเสธว่า ไม่ควร แล้วยังกล่าวว่า ขอท่าน
ทั้งหลายจงรับโดยมุ่งถึงของสมควรเป็นใหญ่เถิด, ภิกษุจะกล่าวว่า ดีละ
อุบาสก ! สงฆ์จักดื่มน้ำ จักซักล้างสิ่งของ พวกเนื้อและนกจักดื่มกิน
ดังนี้ แล้วบริโภค ควรอยู่. แม้หากว่า เมื่อทายกกล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายบึง
หรือสระโบกขรณีแก่สงฆ์ ภิกษุจะกล่าวคำเป็นต้นว่า ดีละ อุบาสก !
สงฆ์จักดื่มน้ำ แล้วบริโภคใช้สอย สมควรเหมือนกัน.
ก็ถ้า พวกภิกษุขอหัตถกรรม และขุดกัปปิยปฐพีด้วยมือของตนเอง
ให้สร้างสระน้ำเพื่อต้องการใช้น้ำ, ถ้าพวกชาวบ้านอาศัยสระนั้นทำข้าว
กล้าให้สำเร็จแล้วถวายกัปปิยภัณฑ์ในวิหาร ควรอยู่. ถ้าแม้นว่า พวกชาว
บ้านนั่นแหละ ขุดพื้นที่ของสงฆ์เพื่อต้องการอุปการะแก่สงฆ์ แล้วถวาย
 
๓/๗๓/๘๖๖

วันอังคาร, สิงหาคม 30, 2565

Racha

 
[๒๑๙๔] (พระราชาตรัสกำชับว่า) เธอเป็นผู้มีพิษ
ร้ายแรงยิ่ง มีเดชมาก ทั้งโกรธง่าย เธอหลุดพ้น
จากที่คุมขังไปได้ ก็เพราะเหตุที่เราช่วยเหลือ เธอ
ควรจะรู้บุญคุณที่เราทำไว้แก่เธอ.
[๒๑๙๕] (นาคราชทูลว่า) ข้าพระพุทธเจ้าถูก
คุมขังอยู่ในกระโปรง เกือบจะถึงความตาย จักไม่รู้จัก
อุปาการคุณที่พระองค์ทรงกระทำแล้วเช่นนั้น ก็ขอให้
ข้าพระพุทธเจ้า จงหมกไหม้อยู่ในนรก อันแสน
ร้ายกาจ อย่าได้รับความสำราญกายสักหน่อยหนึ่งเลย.
[๒๑๙๖] (พระราชาอาทิผิด อักขระตรัสว่า) คำปฏิญญาของ
เธอนั้น จงเป็นคำสัตย์จริง เธออย่าได้มีความโกรธ
อย่าผูกโกรธไว้ อนึ่ง ขอสุบรรณทั้งหลายจงละเว้น
นาคสกุลของท่านทั้งมวล เหมือนไฟในฤดูร้อนฉะนั้น.
[๒๑๙๗] (นาคราชทูลว่า) ข้าแต่พระองค์ผู้เป็น
จอมประชาชน พระองค์ทรงเอ็นดูนาคสกุล เหมือน
มารดาผู้เอ็นดูบุตรคนเดียว ผู้เป็นสุดที่รักฉะนั้น ข้า-
พระพุทธเจ้า พร้อมทั้งเหล่านาค จะขอกระทำ
เวยยาวฏิกกรรม อย่างโอฬารแด่พระองค์.
[๒๑๙๘] (พระราชาตรัสสั่งว่า) เจ้าพนักงานรถ
จงตระเตรียมราชรถอันงามวิจิตร จงเทียมอัสดรอัน
เกิดในกัมโพชกรัฐ ซึ่งฝึกหัดอย่างดีแล้ว และเจ้า
พนักงานช้าง จงผูกช้างตัวประเสริฐทั้งหลาย ให้งาม
 
๖๑/๒๑๙๖/๑๘๙

วันจันทร์, สิงหาคม 29, 2565

Koet

 
ครองราชสมบัติเป็นราชาธิราชจอมมนุษย์
เถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
เสลพราหมณ์ เราเป็นพระราชา
เป็นพระราชาโดยธรรม ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
เราประกาศธรรมจักร อันเป็นจักรที่ใคร ๆ
ประกาศไม่ได้
ข้าแต่พระโคดม พระองค์ทรง
ปฏิญาณว่าเป็นสัมพุทธะ และตรัสว่า
เป็นธรรมราชา ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า ทรง
ประกาศธรรมจักร ดังนี้ ใครหนอเป็น
เสนาบดีของพระองค์ท่าน เป็นสาวกผู้
อำนวยการของพระศาสดา ใครหนอ
ประกาศธรรมจักรตามที่ พระองค์ ทรง
ประกาศแล้วนี้ได้.
ธรรมจักรอันไม่มีจักรอันยิ่งกว่าเป็น
จักรที่เราประกาศแล้ว สารีบุตรผู้เกิดอาทิผิด อักขระตาม
ตถาคต ย่อมประกาศตามได้ พราหมณ์
สิ่งที่ควรรู้ยิ่ง เรารู้ยิ่งแล้ว สิ่งที่ควรเจริญ
เราเจริญแล้ว สิ่งที่ควรละเราละได้แล้ว
เพราะฉะนั้น เราจึงเป็นพระพุทธเจ้า
พราหมณ์ ท่านจงกำจัดความสงสัยในเรา
 
๒๑/๖๐๙/๒๙๐

วันอาทิตย์, สิงหาคม 28, 2565

Som

 
เครื่องปูลาดอันงดงาม ที่อยู่พออยู่อาศัยได้อย่างผาสุก ความพร้อมมูลแห่ง
เรือนของเรา ปรากฏเหมือนจะมียิ่งกว่านี้ ดังนี้เลือกเฟ้นโทษของบรรณศาลา
อยู่ ก็ได้เห็นโทษ ๘ ประการ. จริงอยู่ในการใช้สอยบรรณศาลามีโทษ ๘
ประการ คือ จะต้องแสวงหาด้วยการรวบรวมขึ้นด้วยทัพสัมภาระที่มีน้ำหนัก
มากกระทำ เป็นโทษข้อหนึ่ง จะต้องซ่อมอาทิผิด อักขระแซมอยู่เป็นนิตย์ เพราะเมื่อหญ้า
ใบไม้และดินเหนียวร่วงหล่นลงมาจะต้องเอาของเหล่านั้น วางไว้ที่เดิมแล้ว ๆ
เล่า ๆ เป็นโทษข้อที่ ๒ ธรรมดาเสนาสนะจะต้องตกแก่คนแก่ก่อน เมื่อ
เขาเข้ามาให้เราลุกขึ้นในเวลาที่ไม่เหมาะ ความแน่วแน่แห่งจิตก็จะมีไม่ได้
เพราะฉะนั้น การที่ถูกปลุกให้ลุกขึ้นจึงเป็นโทษข้อที่ ๓ เพราะกำจัดเสียได้ซึ่ง
หนาวและร้อน ก็จะทำให้ร่างกายบอบบาง (ไม่แข็งแรง) เป็นโทษข้อที่ ๔
คนเข้าไปสู่เรือนอาจทำความชั่วอย่างใดอย่างหนึ่งได้ เพราะฉะนั้น การที่ปก
ปิดสิ่งน่าติเตียน เป็นโทษข้อที่ ๕ การหวงแหนด้วยคิดว่าเป็นของเรา เป็น
โทษข้อที่ ๖ ธรรมดาการมีเรือนแสดงว่าต้องมีภรรยา เป็นโทษข้อที่ ๗ เป็น
ของทั่วไปแก่คนหมู่มาก เพราะเป็นสาธารณะแก่สัตว์มีเล็น เรือด และตุ๊กแก
เป็นต้น เป็นโทษข้อที่ ๘. บทว่า อิเม ความว่า พระมหาสัตว์เห็นโทษ
๘ ประการเหล่านี้ แล้วจึงเลิกละบรรณศาลา. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
เราเลิกละบรรณศาลาที่เกลื่อนกล่นด้วยโทษ ๘ ประการ.
บทว่า อุปาคมึ รุกฺขมูลํ คุเณ ทสหุปาคตํ ความว่า พระมหา-
สัตว์กล่าวว่า เราห้ามที่มุงบัง เข้าหาโคนต้นไม้ที่ประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ
ในข้อนั้น คุณ ๑๐ ประการมีดังต่อไปนี้ มีความยุ่งยากน้อยเป็นคุณข้อที่ ๑ เพราะ
เพียงแต่เข้าไปเท่านั้นก็อยู่ที่นั่นได้ เพราะฉะนั้นจึงไม่ต้องดูแลรักษา เป็นคุณ
ข้อที่ ๒ ก็ที่นั้น จะปัดกวาดก็ตาม ไม่ปัดกวาดก็ตาม ก็ใช้สอยได้อย่างสบาย
เหมือนกัน การที่ไม่ต้องบากบั่นนัก เป็นคุณข้อที่ ๓ ที่นั้น ปกปิดความนินทา
 
๕๕/๑/๑๗

วันเสาร์, สิงหาคม 27, 2565

Daen

 
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่หก บทว่า กตี ปริสฺสยา คืออันตรายมี
ประมาณเท่าไร. บทว่า อมตํ ทิสํ ทิศที่ไม่เคยไป คือ นิพพาน. เพราะทิศ
ที่ไม่เคยไปนั้น ชื่อว่าทิศเพราะควรชี้แจงอย่างนั้น. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
อมตํ ทิสํ ทิศที่ไม่เคยไป. บทว่า อภิสมฺภเว คือ พึงครอบงำเสีย. บทว่า
ปนฺตมฺหิ ที่นอนที่นั่งอันสงัด คือ อยู่สุดท้าย.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่เจ็ดต่อไป. บทว่า กฺยาสฺส พฺยปถโย
อสฺสุ คือ ภิกษุนั้นพึงมีถ้อยคำอย่างไร.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่แปดต่อไป. บทว่า เอโกทิ นิปโก เป็นผู้
มีจิตแน่วแน่ มีปัญญารักษาตน คือ มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง เป็นบัณฑิต
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นท่านพระสารีบุตรสรรเสริญด้วยคาถา ๓ คาถา
แล้วทูลถามถึงเสนาสนะโคจรศีลและพรตเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่ศิษย์
๕๐๐ ด้วยคาถา ๕ คาถา เพื่อทรงประกาศความนั้น จึงทรงเริ่มแก้ปัญหา
โดยนัยมีอาทิว่า วิชิคุจฺฉมานสฺส ของภิกษุผู้เกลียดชัง.
ในบทเหล่านั้น พึงทราบความในคาถาที่หนึ่งก่อน. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร ถ้าว่าธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญ และธรรมที่สมควร
นี้ใด ของภิกษุผู้เกลียดชังแต่ทุกข์มีชาติเป็นต้น. ผู้ใคร่จะตรัสรู้ เสพที่นั่งและ
ที่นอนอันสงัด เราจะกล่าวธรรมเป็นที่อยู่สำราญและธรรม ที่สมควรนั้นตามที่รู้
แก่เธอ.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่สองต่อไป. บทว่า ปริยนฺตจารี ประ-
พฤติอยู่ในเขตแดนอาทิผิด สระ คือ ประพฤติอยู่ในเขตแดนอาทิผิด อักขระ ๔ มีศีลเป็นต้น. บทว่า
ฑํสาธิปาตานํ ได้แก่ เหลือบและยุง เพราะยุงทั้งหลายก้มลงดูด ฉะนั้น
 
๔๗/๔๒๓/๘๕๙

วันศุกร์, สิงหาคม 26, 2565

Su

 
ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี
ถ. ทรงปรารภใคร
ต. ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถ. เพราะเรื่องอะไร
ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูป ถามปัญหากะภิกษุผู้ที่ตนยังมิได้ขอ
โอกาส.
มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย
สมุฏฐาน ๒ (เหมือนปทโสธัมมสิกขาบท).
[๖๓๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีผู้ไม่มีผ้ารัดถัน
เข้าไปสู่บ้าน ณ ที่ไหน
ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี
ถ. ทรงปรารภใคร
ต. ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง
ถ. เพราะเรื่องอะไร
ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่ง ไม่มีผ้ารัดถันเข้าไปสู่อาทิผิด อาณัติกะบ้าน.
มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย
สมุฏฐาน ๒ คือ บางทีเกิดแต่กาย ไม่ใช่วาจา ไม่ใช่จิต ๑ บางทีเกิดแต่กาย
กับจิต ไม่ใช่วาจา ๑.
ฉัตตุปาหนวรรคที่ ๙ จบ
ขุททกสิกขาบท ๙ วรรค จบ
 
๑๐/๖๓๗/๒๖๘

วันพฤหัสบดี, สิงหาคม 25, 2565

Prakhen

 
[๗๖๘] ภิกษุณีไม่มีผ้ารัดถันเข้าไปสู่บ้าน ต้องอาบัติ ๒ คือ เดิน
ล่วงที่ล้อมก้าวที่หนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ เดินล่วงที่ล้อมก้าวที่สอง ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ ๑.
ฉัตตุปาหนวรรค ที่ ๙ จบ
ขุททกสิกขาบท ๙ วรรค จบ

ปาฏิเทสนียกัณฑ์
คำถามและคำตอบอาบัติในปาฏิเทสนียกัณฑ์
[๗๖๙] ภิกษุณีขอเนยใสมาฉัน ต้องอาบัติ ๒ คือ รับประเคนอาทิผิด อักขระด้วย
มุ่งจักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน ๑.
[๗๗๐] ภิกษุณีขอน้ำมันมาฉัน ต้องอาบัติ ๒ คือ รับประเคนด้วย
มุ่งจักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน ๑.
[๗๗๑] ภิกษุณีขอน้ำผึ้งมาฉัน ต้องอาบัติ ๒ คือ รับประเคนด้วย
มุ่งจักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน ๑.
[๗๗๒] ภิกษุณีขอน้ำอ้อยมาฉัน ต้องอาบัติ ๒ คือ รับประเคนด้วย
มุ่งจักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน ๑.
[๗๗๓] ภิกษุณีขอปลามาฉัน ต้องอาบัติ ๒ คือ รับประเคนด้วยมุ่ง
จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน ๑.
[๗๗๔] ภิกษุณีขอเนื้อมาฉัน ต้องอาบัติ ๒ คือ รับประเคนด้วยมุ่ง
จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน ๑.
[๗๗๕] ภิกษุณีขอนมสดมาฉัน ต้องอาบัติ ๒ คือ รับประเคนด้วย
มุ่งจักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ๑ ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน ๑.
 
๑๐/๗๖๙/๒๙๓

วันพุธ, สิงหาคม 24, 2565

Wak

 
พระบัญญัติ
๑๕๑. ๑๓. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่มีผ้ารัดถัน เข้าบ้าน เป็น
ปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๔๘๑] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . .นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า ไม่มีผ้ารัดถัน คือปราศจากผ้ารัดนม.
ที่ชื่อว่า ผ้ารัดถัน ได้แก่ ผ้าที่ใช้ปกปิดอวัยวะเบื้องต่ำแต่รากขวัญ
ลงมา เบื้องบนตั้งแต่นาภีขึ้นไป.
คำว่า เข้าบ้าน คือ บ้านที่มีเครื่องล้อม เดินเลยเครื่องล้อมต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.

อนาปัตติวาร
[๔๘๒] มีจีวรถูกชิงไป ๑ มีจีวรหาย ๑ อาพาธ ๑ หลงลืมไป ๑
ไม่รู้ตัว ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑๓ จบ
ฉัตตุปาหนวรรคที่ ๙ จบ

๑. วรรคที่ ๑๐ ถึงวรรคที่ ๑๖ มีวรรคละ ๑๐ สิกขาบท คือ มุสาวาทวรรคอาทิผิด สระที่ ๑๐ มี ๑๐ สิกขาบท
ภูตคามวรรคที่ ๑๑ มี ๑๐ สิกขาบท โภชนวรรคที่ ๑๒ มี ๑๐ สิกขาบท จริตตวรรคที่ ๑๓ มี ๑๐
สิกขาบท โชติวรรคที่ ๑๔ มี ๑๐ สิกขาบท ทิฏฐิวรรคที่ ๑๕ มี ๑๐ สิกขาบท ธัมมิกวรรคที่ ๑๖
มี ๑๐ สิกขาบท รวมอีก ๗๐ สิกขาบท เป็นอุภโตบัญญัติ ผู้ปรารถนาพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว
ในภิกขุวิภังค์โน้นเทอญ.
 
๕/๔๘๒/๕๐๑

วันอังคาร, สิงหาคม 23, 2565

Phisuea

 
ให้มีความทุกข์ ทำไมจึงไม่ทำโลกทั้งปวงให้มีความ
สุข แหละพรหมนั้นเป็นใหญ่ เป็นผู้เจริญในโลกทั้ง
ปวง เป็นเจ้าชีวิตของหมู่สัตว์ เหตุไรจึงทำโลกโดย
ไม่เป็นธรรม คือมารยาและเจรจาคำเท็จมัวเมา ถ้า
แหละพระพรหมนั้นเป็นผู้ใหญ่ก็เป็นผู้เจริญในโลกทั้ง
ปวง เป็นเจ้าชีวิตของหมู่สัตว์ มีชื่อว่าเป็นเจ้าชีวิตของ
หมู่สัตว์ ก็ชื่อว่าเป็นเจ้าชีวิตอยุติธรรม เมื่อธรรมมีอยู่
พรหมนั้นก็จัดโลกไม่เที่ยงธรรม ตั๊กแตน ผีเสื้ออาทิผิด สระ งู แมลงภู่
หนอนและแมลงวัน ใครฆ่าแล้วย่อมบริสุทธิ์ ธรรม
เหล่านี้ ไม่ใช่ของพระอริยะ เป็นธรรมผิด ๆ ของ
ชาวกัมโพชรัฐเป็นอันมาก.
บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า เวทชฺฌคตาริฏฺฐ ความว่า ดูก่อนอริฏฐะ
ชื่อว่าความสำเร็จไตรเพทในบัดนี้ ก็เป็นความยึดถือเอาความกาลี อันนับว่าเป็น
ความปราชัยของนักปราชญ์ แต่กลับเป็นความมีชัยชนะของคนโง่เขลาเบาปัญญา.
บทว่า มรีจิธมฺมํ ความว่า จริงอยู่ไตรเพทนี้เป็นเหมือนอาการธรรมดาของ
พยับแดด. เพราะเป็นของไม่เห็นเสมอไป คนพาลทั้งหลายไม่รู้ซึ่งธรรมดาของ
พยับแดดนี้นั้นอันไม่มีจริงเป็นเหมือนมีจริง เพราะการเห็นไม่ติดต่อกันเหมือน
หมู่เนื้อมองเห็นพยับแดดด้วยสัญญาว่า น้ำจึงพาตนเข้าถึงความพินาศ เพราะ
สัญญาว่ามีจริงและไม่มีโทษ. บทว่า นาติวหนฺติ ปญฺญํ ความว่า ก็มารยาเห็น
ปานนี้เป็นส่วนหนึ่ง ย่อมล่วงเลย คือไม่หลอกลวงบุรุษผู้มีปัญญา คือผู้
สมบูรณ์ด้วยปัญญา. ร อักษร ในบทว่า ภวนฺติรสฺส นี้ พึงเป็นบทพยัญ-
ชนะสนธิ. บทว่า ภูนหุโน ความว่า เวททั้งหลายของคนประทุษร้ายมิตร
ผู้ฆ่าความเจริญ ย่อมไม่มีเพื่อความต้านทาน. อธิบายว่า ไม่สามารถจะเป็น
 
๖๔/๗๗๑/๑๐๕

วันจันทร์, สิงหาคม 22, 2565

Chak

 
ติมิรปุปผิยวรรคที่ ๙
ติมิรปุปผิยเถราปทานที่ ๑ (๘๑)
ว่าด้วยผลแห่งการโปรยดอกดีหมี
[๘๓] เรา (เที่ยว) ไปตามกระแสน้ำใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา ได้
เห็นพระสมณะซึ่งประทับนั่งอยู่ ผู้ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว เรายังจิต
ให้เลื่อมใสในพระสมณะนั้น แล้วได้คิดอย่างนี้ในกาลนั้นว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงข้ามพ้นด้วยพระองค์เองแล้ว จักทรง
ยังสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้น ทรงทรมานเองแล้ว จักทรงทรมาน
สรรพสัตว์
ทรงเบาพระทัยเองแล้ว จักทรงยังสรรพสัตว์ให้เบาใจ
ทรงสงบเองแล้ว จักอาทิผิด อักขระทรงยังสรรพสัตว์ให้สงบ ทรงพ้นเองแล้ว
จักทรงยังสรรพสัตว์ให้พ้น ทรงดับเองแล้ว จักทรงยัง
สรรพสัตว์ให้ดับ.
ครั้นเราคิดอย่างนี้แล้ว ได้ถือเอาดอกดีหมี มาโปรยลง
เบื้องบนพระเศียรแห่งพระพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณใหญ่
พระนามว่าสิทธัตถะ บูชาในกาลนั้น แล้วประนมอัญชลี ทำ
ประทักษิณพระองค์ และถวายบังคมพระบาทพระศาสดาแล้ว
กลับไปทางทิศอื่น.
พอเราไปแล้วไม่นาน พญาเนื้อได้เบียดเบียนเรา เรา
เดินไปตามริมเหว ได้ตกลงในเหวนั้นนั่นเอง.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้บูชาด้วยดอกไม้ใด ด้วย
การบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
 
๗๑/๘๓/๓๐๐

วันอาทิตย์, สิงหาคม 21, 2565

Lao

 
และข้าว เป็นต้น มีประการต่าง ๆ ที่แหลกด้วยสาก คือฟัน พลิกกลับไปมา
ด้วยมือ คือ ลิ้น คลุกเคล้าด้วยน้ำลาย ขณะนั้นแหละก็จะเป็นสิ่งที่ปราศจาก
คุณสมบัติของสี กลิ่น รส เป็นต้น เป็นเช่นกับข้าวย้อมด้ายของนายช่างหูก
หรือเป็นเช่นสุนัขกับรากสุนัข ครั้นตกลงไปในคอก็จะคลุกเคล้าด้วยน้ำดี น้ำ
เสลดเดือดขึ้นแล้วด้วยกำลังแห่งความเผาของไฟในท้อง (ธาตุไฟย่อยอาหาร)
อากูลไปด้วยหมู่หนอน ปล่อยพองขึ้นข้างบนโดยลำดับ ถึงซึ่งความเป็นสิ่ง
สกปรก มีกลิ่นเหม็นยิ่งนัก ตั้งอยู่ในอุทรนั้น เปรียบเหมือน เมื่อฝนเมล็ด
หนา ตกลงมาในฤดูแล้ง ซากสัตว์ต่าง ๆ จำเดิมแต่มูตร คูถ ท่อนหนัง
กระดูก เอ็น น้ำลาย น้ำมูก และเลือด เป็นต้น ที่น้ำพาไปตกลงที่แอ่ง
น้ำโสโครกใกล้ประตูบ้านของคนจัณฑาล และผสมเข้ากับโคลนตมสองสามวัน
ก็มีหมู่หนอนเกิดขึ้นแล้ว แอ่งน้ำนั้นเดือดขึ้นแล้วด้วยความร้อนด้วยกำลังแห่ง
แสงแดด ปล่อยฟองขึ้นข้างบนบ่อย ๆ เป็นของมีสีเขียวคล้ำ เป็นสิ่งน่ารังเกียจ
ด้วยกลิ่นเหม็นอย่างยิ่ง ถึงซึ่งความเป็นรูปไม่น่าเข้าไปใกล้ ไม่น่าเห็น จะป่วย
กล่าวไปไยถึงการเป็นสิ่งน่าดม น่าลิ้มเล่าอาทิผิด อักขระ แม้ฉันใด น้ำและข้าวเป็นต้นมี
ประการต่าง ๆ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อันสากคือฟันบดละเอียดแล้ว อันมือคือลิ้น
ตวัดพลิกกลับไปมา แล้วคลุกเคล้าด้วยน้ำลาย ปราศจากความถึงพร้อมด้วยสี
กลิ่นและรส เป็นต้นในทันที เสมือนรากสุนัขในรางสุนัข รวมกันคลุกเคล้า
ด้วยน้ำดีและเสลด เดือดด้วยแรงไฟและความร้อนในท้อง หนอนตระกูลใหญ่
น้อยปล่อยฟองฟอดขึ้นข้างบนถึงความเป็นกองขยะมีกลิ่นเหม็นน่าเกลียดอย่างยิ่ง
ตั้งอยู่ แม้เพราะฟังเรื่องอุทรไรเล่า ความไม่ชอบใจในน้ำและข้าว เป็นต้น
ก็เกิดขึ้นได้ จะกล่าวไปไยถึงความไม่ชอบใจในน้ำและข้าวเป็นต้น เพราะ
การแลดูด้วยปัญญาจักษุเล่า.
 
๗๘/๔๖๔/๘๑

วันเสาร์, สิงหาคม 20, 2565

Hok

 
เป็นสมุทัยสัจ ความไม่เป็นไปแห่งจักษุและเหตุเกิดแห่งจักษุทั้งสอง เป็นนิโรธ
สัจ ข้อปฏิบัติเป็นเหตุให้รู้นิโรธ เป็นมรรคสัจ. ใน โสตะ ฆานะ ชิวหา
กาย และมนะ ก็มีนัยเช่นนี้.
บัณฑิตพึงประกอบอายตนะ ๖ มีรูปเป็นต้น วิญญาณกาย ๕ มีจักษุ
วิญญาณเป็นต้น ผัสสะ ๖ มีจักษุสัมผัสเป็นต้น เวทนา ๖ มีจักษุสัมผัสสชา-
เวทนาเป็นต้น สัญญา ๖ มีรูปสัญญาเป็นต้น เจตนา ๖ มีรูปสัญเจตนาเป็นต้น
ตัณหากาย ๖ มีรูปตัณหาเป็นต้น วิตก อาทิผิด  มีรูปวิตกเป็นต้น วิจาร ๖ มีรูปวิจาร
เป็นต้น ขันธ์ ๕ มีรูปขันธ์เป็นต้น กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสติ ๑๐ สัญญา
๑๐ ด้วยอำนาจอุทธุมาตกสัญญาเป็นต้น อาการ ๓๒ มีผมเป็นต้น อายตนะ
๑๒ ธาตุ ๑๘ ภพ ๙ มีกามภพเป็นต้น ฌาน ๔ มีปฐมฌานเป็นต้น อัปป-
มัญญา ๔ มีเมตตาภาวนาเป็นต้น อรูปสมาบัติ ๔ มีอากาสานัญจายตนะเป็นต้น
และองค์แห่งปฏิจจสมุปบาท โดยปฏิโลมมีชรามรณะเป็นต้น โดยอนุโลมมี
อวิชชาเป็นต้น โดยนัยนี้นั่นแล. ในชรามรณะเป็นต้นนั้น มีการประกอบ
บทเดียวดังต่อไปนี้ : -
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ตรัสรู้ คือตรัสรู้ตามสมควร ได้แก่แทงตลอด
ซึ่งธรรมทั้งปวง โดยชอบและด้วยพระองค์เอง ด้วยการยกขึ้นทีละบทอย่างนี้ว่า
ชรามรณะ เป็นทุกขสัจ ชาติ เป็นสมุทัยสัจ การสลัดออกเสีย ซึ่งชรามรณะ
และเหตุเกิดแห่งชรามรณะนั้น แม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ ข้อปฏิบัติเป็นเหตุให้รู้
นิโรธ เป็นมรรคสัจ. เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงได้กล่าวว่า อนึ่ง พระผู้มี-
พระภาคเจ้านั้น เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวง โดยชอบ
และด้วยพระองค์เอง.
 
๑/๙๔/๑๙๒

วันศุกร์, สิงหาคม 19, 2565

Klin

 
ดีแล้ว มีหูปรากฏ ย่อมได้ยินเสียงด้วยหู แต่มิได้มีฉันทราคะ มีจิต
พ้นวิเศษดีแล้ว มีจมูกปรากฏ ย่อมสูดดมกลิ่นด้วยจมูก แต่มิได้มี
ฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว มีลิ้นปรากฏ ย่อมลิ้มรสด้วยลิ้น แต่
มิได้มีฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว มีกายปรากฏ ย่อมถูกต้อง
โผฏฐัพพะด้วยกาย แต่มิได้มีฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว มีใจปรากฏ
ย่อมรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ แต่มิได้มีฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว
จักษุเป็นธรรมชาติชอบรูป ยินดีในรูป ชื่นชมในรูป พระอรหันต์ฝึก
คุ้มครอง รักษา สำรวมจักษุ และย่อมแสดงธรรมเพื่อความสำรวม
จักษุนั้น หูเป็นธรรมชาติชอบเสียง จมูกเป็นธรรมชาติชอบกลิ่นอาทิผิด สระ ลิ้น
เป็นธรรมชาติชอบรส กายเป็นธรรมชาติชอบโผฏฐัพพะ ใจเป็น
ธรรมชาติชอบธรรมารมณ์ ยินดีในธรรมารมณ์ ชื่นชมในธรรมารมณ์
พระอรหันต์ฝึกคุ้มครอง รักษา สำรวมใจ และแสดงธรรมเพื่อความ
สำรวมใจนั้น
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ชนทั้งหลาย ย่อมนำพาหนะที่เขาฝึกแล้วไปสู่ที่
ประชุม พระราชาทรงขึ้นพาหนะที่เขาฝึกแล้ว บุคคล
ผู้ฝึกฝนแล้วอดกลั้นถ้อยคำที่ล่วงเกินได้ เป็นผู้ประเสริฐ
สุดในหมู่มนุษย์ ม้าอัสดร ม้าสินธพผู้อาชาไนย ช้าง
ใหญ่กุญชร ที่เขาฝึกแล้ว เป็นสัตว์ประเสริฐ บุคคล
ผู้ฝึกตนแล้ว ประเสริฐกว่าสัตว์เหล่านั้น ใคร ๆ ไม่พึง
ไปถึงนิพพาน อันเป็นทิศที่ไม่เคยไป ด้วยยานเหล่านั้น
เหมือนบุคคลผู้ฝึกแล้ว มีตนอันฝึกแล้ว ฝึกดีแล้ว ย่อม
 
๖๖/๔๑๓/๔๖

วันพฤหัสบดี, สิงหาคม 18, 2565

Phurithat

 
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาเปสุํ ความว่า นาคมาณพทั้ง ๔ ขึ้น
จากแม่น้ำยมุนา ส่งให้ถึงทางไปกรุงพาราณสี ก็แลครั้นส่งให้ถึงแล้วจึงกล่าวว่า
ไปเถิดท่าน ดังนี้แล้วก็กลับมายังนาคพิภพตามเดิม.
ฝ่ายพราหมณ์ เมื่อบอกแก่บุตรว่า ดูก่อนพ่อโสมทัต เรายิงมฤค
ในที่นี้ สุกรในที่นี้ ดังนี้แล้วจึงเดินไป เห็นสระโบกขรณีในระหว่างทางแล้ว
กล่าวว่า พ่อโสมทัต อาบน้ำกันเถิด เมื่อท่านโสมทัตกล่าวว่า ดีละพ่อ ทั้งสอง
คนจึงเปลื้องเครื่องอาภรณ์อันเป็นทิพย์ และผ้าทิพย์ แล้วห่อวางไว้ริมฝั่งสระ-
โบกขรณีแล้วลงไปอาบน้ำ. ขณะนั้น เครื่องอาภรณ์และผ้าทิพย์เหล่านั้นได้
หายไปยังนาคพิภพตามเดิม ผ้านุ่งห่มผืนเก่ากลับสวมใส่ในร่างของคนทั้งสอง
นั้นก่อนแม้ธนูศรและหอกได้ปรากฏตามเดิม. ฝ่ายท่านโสมทัตร้องว่า
ท่านทำเราให้ฉิบหายแล้วพ่อ. ลำดับนั้น บิดาจึงปลอบท่าน โสมทัตว่า
อย่าวิตกไปเลยลูกพ่อ เมื่อมฤคมีอยู่เราฆ่ามฤคในป่าเลี้ยงชีวิต. มารดาท่าน
โสมทัตทราบการมาของคนทั้งสอง จึงต้อนรับนำไปสู่เรือน จัดข้าวน้ำเลี้ยง
ดูให้อิ่มหนำสำราญ. พราหมณ์บริโภคอาหารเสร็จแล้วก็หลับไป. ฝ่ายนางจึง
ถามบุตรว่า พ่อโสมทัต ทั้ง ๒ คนหายไปไหนมานานจนถึงป่านนี้. โสมทัต
ตอบว่า ข้าแต่แม่ พระภูริทัตนาคราชพาข้ากับบิดาไปยังนาคพิภพ เพราะเหตุนั้น
เราทั้งสองคิดถึงแม่ จึงกลับมาถึงบัดนี้. มารดาถามว่า. ได้แก้วแหวนอะไร ๆ
มาบ้างเล่า. โสมทัตตอบว่า ไม่ได้มาเลยแม่. มารดาถามว่า. ทำไมพระภูริทัต
ไม่ให้อะไรบ้างหรือ. โสมทัตตอบว่า พระภูริทัตอาทิผิด สระให้แก้วสารพัดนึกแก่พ่อ ๆ
ไม่รับเอามา. มารดาถามว่า เหตุไรพ่อเจ้าจึงไม่รับ. โสมทัตตอบว่า. ข้าแต่
แม่ ข่าวว่าพ่อจักบวช . นางพราหมณีนั้นโกรธว่า บิดาทิ้งทารกให้เป็นภาระ
แก่เรา ตลอดกาลประมาณเท่านี้ ไปอยู่เสียในนาคพิภพ ข่าวว่าเดี๋ยวนี้จะบวช
ดังนี้แล้วจึงตีหลังพราหมณ์ด้วยพลั่วสาดข้าว แล้วขู่คำรามว่า อ้ายพราหมณ์
ผู้ชั่วร้าย ข่าวว่าจักบวช ภูริทัตให้แก้วมณีก็ไม่รับ ทำไมไม่บวช กลับมาที่นี้
 
๖๔/๗๗๔/๕๗

วันพุธ, สิงหาคม 17, 2565

Sangkhathiset

 
บทว่า มีอันให้ต้องอาบัติขณะแรกทำ คือ ต้องอาบัติพร้อมกับ
การล่วงวัตถุ โดยไม่ต้องสวดสมนุภาส.
ที่ชื่อว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ถูกขับออกจากหมู่.
บทว่า สังฆาทิเสสอาทิผิด อักขระ ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้มานัต. . . เพราะเหตุนั้น
จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.
ภิกษุณีพูดส่งเสริมว่า จงรับประเคนน้ำและไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ภิกษุณีรับประเคนตามคำของภิกษุณีผู้พูดนั้น ด้วยประสงค์จะเคี้ยวจะ
ฉัน ภิกษุณีผู้พูดนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ.

บทภาชนีย์
[๕๙] ฝ่ายหนึ่งมีความพอใจ ภิกษุณีพูดส่งเสริมว่า แม่เจ้า จงเคี้ยว
ก็ตาม จงฉันก็ตาม ซึ่งของเคี้ยวก็ตาม ของฉันก็ตาม ที่รับจากมือของยักษ์
ก็ดี เปรตผู้ชายก็ดี บัณเฑาะก์ผู้ชายก็ดี สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้มีกายคล้ายมนุษย์
ก็ดี ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีรับประเคนตามคำของผู้พูดนั้น ด้วยประสงค์ว่าจะเคี้ยวจะฉัน
ภิกษุณีผู้พูด ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีนั้นฉัน ภิกษุณีผู้พูด ต้องอาบัติทุกกฏ
ทุก ๆ คำกลืน ภิกษุณีนั้นฉันเสร็จ ภิกษุณีผู้พูด ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
พูดส่งเสริมว่า จงรับประเคนน้ำและไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีรับประเคนตามคำของภิกษุณีนั้น ด้วยประสงค์ว่าจะเคี้ยวจะฉัน ภิกษุณี
ผู้พูด ต้องอาบัติทุกกฏ.
 
๕/๕๙/๘๐

วันอังคาร, สิงหาคม 16, 2565

Khao

 
ว่า “อยู่กลางราชตระกูล” คืออยู่ในท้องพระโรงใหญ่กลางราชตระกูล.
คำว่า “ถูกนำพาไป” คือถูกนำไปเพื่อต้องการซัก. คำว่า “ถูกซักพยาน”
คือ ถูกทำเป็นพยานแล้วซัก. คำว่า “มานี่แน่ะ นาย” นี้เป็นคำสำหรับร้อง
เรียก. คำว่า “เพราะตนเป็นเหตุหรือเพราะคนอื่นเป็นเหตุ” คือเพราะเหตุ
แห่งมือและเท้าเป็นต้นของตนหรือของคนอื่น หรือเพราะเหตุแห่งทรัพย์.
คำว่า “ลาภ” ท่านประสงค์ว่า อามิส ในบทว่า “หรือเพราะเห็นแก่อามิส
เล็กน้อยเป็นเหตุ” นี้ เพราะฉะนั้น คำว่า “เล็กๆ น้อยๆ” จึงหมายความถึง
ของไม่สำคัญ คือ เล็กๆ น้อยๆ อธิบายว่าโดยที่สุดเพราะเหตุแห่งสินบนซึ่ง
มี แค่นกกระทา นกคุ่ม ก้อนเนยใส และก้อนเนยแข็งเป็นต้น.

คำว่า “ย่อมเป็นผู้พูดเท็จทั้งที่รู้อยู่” คือ ทั้งๆ ที่รู้อยู่แท้ๆ ก็ยังเป็น
ผู้กระทำให้เป็นคำเท็จ. คำว่า “เพื่อทำลายพวกนี้” คือได้ยินในสำนักของ
คนเหล่าใดที่ท่านเรียกว่า “จากนี้” เพื่อทำลายพวกนั้น. คำว่า “เพื่อทำลาย
พวกโน้น” คือได้ฟังคำของพวกใดที่ท่านว่า “โน้น” เพื่อทำลายพวก
นั้น. คำว่า “หรือเป็นผู้ทำลายคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วอย่างนี้” ได้แก่
หรือเป็นผู้ทำให้สหายสองฝ่ายที่สมัครสมานกันอย่างนี้แตกกัน. คำว่า
“หรือส่งเสริมคนที่แตกกันแล้ว” คือเป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุนเพื่อให้ผู้ที่
แตกกันแล้วสมานกันอีกไม่ได้อย่างนี้ว่า “คุณทำดีแล้วที่สละมันได้อีกสอง
สามวันเท่านั้นมันจะทำให้คุณฉิบหายใหญ่” อธิบายว่าเป็นผู้ชี้เหตุให้.
“พวกเป็นที่มายินดี” คือเป็นที่ตั้งแห่งความยินดียิ่งของเขา เหตุนั้นเขาอาทิผิด สระจึงชื่อ
ว่ามีพวกเป็นที่มายินดี. คำว่า “ผู้ยินดีแล้วในพวก” คือยินดีแล้วในพวกทั้ง
หลาย. ชื่อว่าบันเทิงในพวกเพราะเห็นหรือได้ยินว่าพวกก็ย่อมบันเทิง. คำ
ว่า “วาจาทำให้เป็นพวก” คือ วาจาใดทำสัตว์ให้เป็นพวก คือทำลายสัตว์
แม้ที่พร้อมเพรียงกันแล้ว เป็นผู้พูดวาจาที่ก่อการทะเลาะนั้น.
 
๑๙/๔๘๗/๒๖๒

วันจันทร์, สิงหาคม 15, 2565

Thitthi

 
ในร่างอันไม่สะอาดนี้ คือที่สำคัญกันว่ากายนี้ อันเต็มไปด้วยซากศพมีผมเป็นต้น
ต้องแตกสลายไปส่วนเดียวเป็นธรรมดา รังแต่จะรกป่าช้า ชื่อว่าอะไรเล่าที่
ท่านเข้าใจ ชื่นชมว่า เป็นสาระ เพราะเห็นสิ่งอันใด ความไร้ใจ คือความ
ขาดความดำริแห่งใจในอารมณ์อย่างหนึ่ง หรือความไม่ไร้ใจ จึงปรากฏกลาย
เป็นความสุขใจขึ้น ท่านจงบอกสิ่งอันนั้นแก่เราสิ.
ชายนักเลงหญิงฟังคำอย่างนี้แล้ว ถึงแม้ว่ารูปของพระเถรีนั้น งดงาม
โดยความสันทัด แต่นับตั้งแต่แรกเห็น ก็มีจิตปฏิพัทธ์ที่จุดรวมแห่งความสนใจ
[ทิฏฐิอาทิผิด สระ] อันใดเมื่อจะอ้างจุดรวมแห่งความสนใจ [ทิฏฐิ] อันนั้น จึงกล่าวคาถา
ว่า อกฺขีนิ ตูริยาริว เป็นต้น พระเถรีนี้ เป็นผู้มีอินทรีย์อันสงบ เพราะ
เป็นผู้สำรวมด้วยดีแล้วโดยแท้ แต่เพราะเหตุที่เขาถูกลวงด้วยอากัปกิริยามีความ
สง่างามแห่งจริตเองเป็นต้น. ที่สันทัดพิเศษด้วยแง่งอน อันเป็นจุดรวมแห่ง
ความสนใจซึ่งเขาหาได้ ที่ดวงตาทั้งสองของพระเถรีนั้น ที่ประดับด้วยประสาท
ทั้ง ๕ อันผ่องใส ที่สำเร็จมาด้วยอานุภาพกรรม อันมีดวงตาที่มั่นคงผ่องใส
เสงี่ยมสงบเป็นจุดรวม จึงเกิดเป็นนักเลงหญิงขึ้นมา ฉะนั้น ความกำหนัด
ด้วยอำนาจทิฏฐิของเขาจึงถึงความไพบูลย์เป็นพิเศษ. เนื้อทรายเรียกว่า ตูริ ใน
บทว่า อกฺขีนิ จ ตูริยาริว ในคาถานั้น จ ศัพท์เป็นเพียงนิบาต อธิบายว่า
ดวงตาทั้งสองของแม่นางประหนึ่งดวงตาของลูกเนื้อทราย. บาลีว่า โกริยาริว
ก็มี ท่านอธิบายว่าประหนึ่งดวงตาของแม่ไก่ร้องกระต๊าก. บทว่า กินฺนริยาริว
ปพฺพตนฺตเร ความว่า ดวงตาของแม่นาง เหมือนดวงตาของกินนรี ที่ท่อง-
เที่ยว ณ ท้องภูเขา. บทว่า ตว เม นยนานิ ทกฺขิย ความว่า เพราะ
เห็นดวงตาของแม่นางมีคุณพิเศษที่กล่าวมาแล้ว ความอภิรมย์ในกามจึงกำเริบ
แก่ข้าพเจ้าอย่างยิ่งคือทับทวี.
 
๕๔/๔๗๒/๔๕๑

วันอาทิตย์, สิงหาคม 14, 2565

Songkhram

 
ประชุมพร้อมกันครั้งใหญ่มีในวันนี้ที่ชัฏป่านี้ แม้ด้วยบททั้งสอง. แต่นั้น เพื่อ
แสดงพวกที่เข้าประชุมนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า หมู่เทพมาประชุมกัน
แล้ว. ในบทว่า หมู่เทพนั้น คือพวกเทวดา บทว่า พวกเราเป็นผู้มาสู่การ
ประชุมธรรมนี้ คือ เมื่อได้เห็นหมู่เทพมาประชุมกันอย่างนี้ แม้พวกเราก็มา
สู่การประชุมธรรมนี้. เพราะเหตุไร เพราะเหตุ เพื่อเห็นหมู่ที่ไม่มีใคร
ปราบได้นั่นเอง อธิบายว่า พวกเราได้เป็นผู้มาเพื่อชมหมู่ที่ไม่มีใครปราบได้นี้
ผู้ชื่อว่าพิชิตสงครามอาทิผิด อักขระ เพราะเป็นผู้ที่ไม่มีใครทำให้พ่ายแพ้ได้แล้วย่ำยีมารทั้งสาม
ชนิดได้ในวันนี้นั่นเอง. ก็พรหมนั้น ครั้นกล่าวคาถานี้แล้วก็อภิวาทพระผู้มี
พระภาคเจ้าแล้วได้ยืนทางขอบปากจักรวาลด้านตะวันออก. ถัดมาองค์ที่สองก็
มากล่าวตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.
ในบทว่า ภิกษุทั้งหลายใน...นั้น นั้นได้แก่ พวกภิกษุในที่ประ-
ชุมนั้น. บทว่า ตั้งมั่นแล้ว คือประกอบด้วยสมาธิ. บาทคาถาว่า ได้ทำจิต
ของตนให้ตรงแล้ว ได้แก่ ได้นำความคดโกง และความโค้งออกจนหมด
แล้วทำจิตของตนให้ตรง. บาทคาถาว่า เหมือนสารถีถือเชือก ความว่า
เมื่อพวกม้าสินธพ ไปอย่างเรียบร้อย สารถีวางปฏักลงแล้วคอยจับเชือกทั้งหมด
ไว้ไม่เตือนไม่รั้งตั้งอยู่ฉันใด ภิกษุหมดทั้งห้าร้อยนี้ถึงพร้อมด้วยความวางเฉยมี
องค์หก คุ้มทวารได้แล้วบัณฑิตรักษาอินทรีย์ทั้งหลายไว้ฉันนั้น พรหมกล่าว
ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้มาที่นี้เพื่อชมภิกษุ
เหล่านี้. แล้วพรหมแม้นั้นก็ไปยืนตามตำแหน่งทีเดียว. ถัดมาองค์ที่สามก็มา
กล่าวตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ตัดตาปูได้แล้ว คือ ตัดตาปูอัน ได้แก่
ราคะโทสะและโมหะ. บทว่า ลิ่มสลัก ก็ได้แก่ลิ่มสลักคือราคะโทสะและโมหะ
นั่นเอง. บทว่า เสาเขื่อน ก็ได้แก่เสาเขื่อนคือราคะโทสะและโมหะนั่นเอง.
 
๑๔/๒๔๖/๙๗

วันเสาร์, สิงหาคม 13, 2565

Sangyut

 
ผู้ทรงพระไตรปิฎก เมื่อไปพร้อมกับภิกษุห้าร้อย เพื่อไหว้พระเจดีย์ในนาค-
ทีปะ ผู้อันมนุษย์ทั้งหลายในบ้านหนึ่งนิมนต์แล้ว ก็ในภิกษุเหล่านั้น รูปหนึ่ง
เป็นผู้ไม่เหมาะสมไปกับพระเถระมีอยู่ และในวิหารใกล้เคียงก็มีภิกษุผู้ไม่เหมาะ
สมรูปหนึ่ง ครั้นเมื่อภิกษุทั้งสองเข้ามาสู่บ้าน ชนเหล่านั้น แม้ทั้งสอง คือ ภิกษุ
ผู้อาศัยอยู่ก่อนกับอาคันตุกภิกษุ ซึ่งไม่เคยเห็นอาคันตุกภิกษุมาก่อน ทั้งอาคัน-
ตุกภิกษุก็ไม่เคยเห็นภิกษุผู้มาก่อน ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้น แม้มีอยู่ ภิกษุ
ทั้งสองนั้นก็เข้ากันได้ ต่างคนก็หัวเราะแล้ว หัวเราะแล้ว ได้ยืนคุยกันอยู่ ณ
ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง พระเถระเห็นแล้ว จึงกล่าวว่า ธาตุสังยุตอาทิผิด อักขระ (หมายถึง
การประกอบพร้อมด้วยความพอใจอันเป็นมูลเดิม) อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ทรงทราบ ตรัสไว้แล้ว ดังนี้
ครั้นกล่าวว่า ธาตุ คือ อัธยาศัย (ความพอใจ) ย่อมกำหนดอย่างนี้
แล้ว พึงแสดงเนื้อความนี้นั่นแหละด้วยธาตุสังยุตต่อไป ว่า
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบรรทมบนที่นอนสำหรับ ผู้ป่วย ณ ที่ใกล้
ภูเขาคิชฌกูฏ ทอดพระเนตรเห็นภิกษุผู้เป็นหัวหน้าและรูปที่เดินจงกรมกับ
ด้วยบริษัทของตน ๆ ในภิกษุทั้งหลายมีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ
เป็นต้น ผู้แวดล้อมอยู่เพื่อประโยชน์แก่การรักษาพระองค์ จึงตรัสเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงดูสารีบุตรของเรา
ผู้กำลังเดินจงกรมกับพวกภิกษุจำนวนมาก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เป็นอย่าง
นั้น พระพุทธเจ้าข้า. บัณฑิตพึงยังคำทั้งปวงว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ทั้งปวงเหล่านี้แล มีปัญญามาก เป็นต้น ให้พิสดาร.
อธิบายกำลังข้อที่ ๕ จบ
 
๗๘/๘๔๘/๗๔๐

วันศุกร์, สิงหาคม 12, 2565

Thiap Khiang

 
อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
[๒๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประทีปน้ำมันพึงติด เพราะอาศัย
น้ำมันและไส้ บุรุษไม่พึงเติมน้ำมัน ไม่ใส่ไส้ในประทีปน้ำมันนั้นทุก ๆ
ระยะ ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ประทีปน้ำมันนั้น ไม่มีอาหารพึงดับไป เพราะ
สิ้นเชื้อเก่า และเพราะไม่เติมเชื้อใหม่ แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อ
ภิกษุเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่
ตัณหาย่อมดับ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
จบปฐมสังโยชนสูตรที่ ๓

อรรถกถาปฐมสังโยชนสูตรที่ ๓

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมสังโยชนสูตรที่ ๓ ต่อไป.
บทว่า “สญฺโญชนีเยสุ อันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์” คือ เป็น
ปัจจัยแห่งสังโยชน์ ๑๐. บทว่า “ฌาเยยฺย พึงติดไฟ” แปลว่า พึง
ลุกโพลง. ข้อว่า เตลํ อาสิญฺเจยฺย วฏฺฏึ อุปสํหเรยฺย ได้แก่ เพื่อ
ให้ประทีปติดตลอดไป จึงถือภาชนะน้ำมันและกระเบื้องไส้อันใหญ่ไปตั้ง
อยู่ในที่ใกล้เป็นนิจ เมื่อน้ำมันแห้งก็เติมน้ำมัน เมื่อไส้หมดก็ใส่เข้าไป.
คำที่เหลือในสูตรนี้ พึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแหละ พร้อมกับการ-
เทียบเคียงอาทิผิด อักขระด้วยข้ออุปมา.
จบอรรถกถาปฐมสังโยชน์สูตร ๓
 
๒๖/๒๐๓/๒๕๙

วันพฤหัสบดี, สิงหาคม 11, 2565

Thutiya

 
ได้ยินว่า ท่านพระสัพพกามี ผู้ประสงค์จะกล่าวคำอันไพเราะจึงเรียก
ภิกษุใหม่ทั้งหลาย อย่างนั้น .
บทว่า กุลฺลกวิหาเรน ได้แก่ ธรรมเป็นที่อยู่อันตื้น.
[ว่าด้วยสิงคิโลณกัปปะ]
สองบทว่า สาวตฺถิยา สุตฺตวิภงฺเค มีความว่า เกลือเขนงนี้เป็น
ของอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้วในสุตตวิภังค์ อย่างไร ? จริงอยู่ ใน
สุตตวิภังค์นั้น เกลือเขนงเป็นของอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ของภิกษุรับ
ประเคนแล้วในวันนี้ ควรเพื่อฉันในวันอื่นอีก ชื่อว่าเป็นของสันนิธิ ดังนี้แล้ว
ตรัสอาบัติห้ามอีกว่า ภิกษุมีความสำคัญในของเคี้ยวของฉันที่รับประเคนไว้
ค้างคืน ว่ามิได้รับประเคนไว้ค้างคืน เคี้ยวของเคี้ยวก็ดี ฉันของฉันก็ดี ต้อง
ปาจิตตีย์.
ในสุตตวิภังค์นั้น อาจารย์พวกหนึ่งเข้าใจว่า ก็ สิกขาบทนี้พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า โย ปน ภิกฺขุ สนฺนิธิการกํ ขาทนียํ วา โภชนียํ
วา เป็นอาทิ แต่ธรรมดาเกลือนี้ ไม่ถึงความเป็นสันนิธิ เพราะเป็นยาวชีวิก
ภิกษุรับประเคนอามิสที่ไม่เค็มแม้ใดด้วยเกลือนั้น แล้วฉันพร้อมกับเกลือนั้น
อามิสนั้น อันภิกษุรับประเคนในวันนั้นเท่านั้น เพราะเหตุนั้น อันอาบัติทุกกฏ
ในเพราะเกลือที่รับประเคนก่อนนี้ พึงมี เพราะพระบาลีว่า ภิกษุทั้งหลาย
วัตถุเป็นยาวชีวิกอาทิผิด สระ ภิกษุรับประเคนในวันนั้น พร้อมกับวัตถุเป็นยาวกาลิกควร
ในกาล ไม่ควรในวิกาล.
มหาวคฺค. ทุติยอาทิผิด สระ. ๑๓๒.
 
๙/๖๖๔/๕๖๑

วันพุธ, สิงหาคม 10, 2565

Nakkha Rat

 
องค์เป็นผู้อันปุณณกยักษ์นี้ได้มาแล้วโดยธรรม มิใช่
ได้มาด้วยกรรมอันสาหัสพระเจ้าข้า.
[๑๐๓๔] ท้าววรุณนาคราชอาทิผิด อักขระ ตรัสถามปัญหากะ
วิธุรบัณฑิต ฉันใด แม้พระนางวิมลานาคกัญญา ก็
ตรัสถามปัญหากะวิธุรบัณฑิต ฉันนั้น วิธุรบัณฑิตผู้
เป็นปราชญ์ อันท้าววรุณนาคราชตรัสถามแล้ว ได้
พยากรณ์ปัญหาให้ท้าววรุณนาคราชทรงยินดี ฉันใด
วิธุรบัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์ แม้พระนางวิมลานาค-
กัญญาตรัสถามแล้ว ก็พยากรณ์ให้นางวิมลานาค-
กัญญาทรงยินดี ฉันนั้น วิธุรบัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์
ทราบว่าพระยานาคราชผู้ประเสริฐ และพระนางนาค-
กัญญาทั้งสองพระองค์นั้น ทรงมีพระทัยชื่นชมโสมนัส
ไม่ครั่นคร้ามไม่กลัว ไม่ขนพองสยองเกล้า ได้กราบ
ทูลท้าววรุณนาคราชว่า ข้าแต่พระยานาคราช ฝ่าพระ-
บาทอย่าทรงพระวิตกว่า ทรงกระทำกรรมของคนผู้
ประทุษร้ายมิตร และอย่าทรงพระดำริอาทิผิด ว่าจักฆ่าบัณฑิต
นี้ ขอฝ่าพระบาททรงกระทำกิจด้วยเนื้อหทัยของข้า
พระองค์ ตามที่ฝ่าพระบาททรงพระประสงค์เถิด ถ้า
ฝ่าพระบาทไม่ทรงสามารถจะฆ่าข้าพระองค์ ข้า-
พระองค์ จะทำถวายตามพระอัธยาศัยของฝ่าพระบาท
เอง พระเจ้าข้า.
[๑๐๓๕] ปัญญานั่นเอง เป็นหทัยของบัณฑิตทั้ง
หลาย เราทั้งสองนั้นยินดีด้วยปัญญาของท่านยิ่งนัก
 
๖๔/๑๐๓๔/๓๔๖

วันอังคาร, สิงหาคม 09, 2565

Phra-

 
พุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูง-
ศักดิ์ บัญญัติไว้ใน ๖ พระนคร รวม ๕๖
สิกขาบท ในพระนครสาวัตถี พระโคดมผู้
มียศ บัญญัติไว้ทั้งหมดรวม ๒๙๔ สิกขาบท.

ทรงพยากรณ์อาบัติหนักและอาบัติเบาเป็นต้น
[๑,๐๑๙] อุ. ข้าพระพุทธเจ้า ได้ทูล
ถามปัญหาข้อใดกะพระองค์ พระองค์ได้
ทรงแก้ปัญหาข้อนั้นแก่ข้าพระพุทธเจ้า ได้
ทรงแก้ปัญหานั้น ๆ โดยมิได้เป็นอย่างอื่น
ข้าพระพุทธเจ้า ขอทูลถามปัญหาข้ออื่นกะ
พระองค์ ขอพระองค์ทรงโปรดตอบปัญหา
นั้นต่อไป คือ อาบัติหนัก ๑ อาบัติเบา ๑
อาบัติมีส่วนเหลือ ๑ อาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๑
อาบัติชั่วหยาบ ๑ อาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑
สิกขาบทเป็นยาวตติยกะ ๑ สิกขาบททั่วไป ๑
สิกขาบทไม่ทั่วไป ๑ สิกขาบทที่จำแนก
ไว้ ระงับด้วยสมถะเหล่าใด ๑ ขอพระองค์
ได้โปรดชี้แจงสิกขาบทนี้แม้ทั้งมวล พระอาทิผิด -
พุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าจะฟังพระดำรัส
ของพระองค์
 
๑๐/๑๐๑๙/๕๙๙

วันจันทร์, สิงหาคม 08, 2565

Muat

 
ที่ถูกแดดแผดเผาในกลางวัน และถูกหยาดน้ำค้างเปียกชุ่มอยู่
ในกลางคืนทำให้เสื่อมสภาพไป. อรหัตตมรรคญาณ เหมือนเมฆฝน
ที่ตกลงมา. ภิกษุผู้ปรารภวิปัสสนา เจริญวิปัสสนาด้วยอำนาจ
แห่งอารมณ์มีรูป ๗ หมวดอาทิผิด สระเป็นต้น เมื่อกรรมฐานปรากฏชัดแจ่มแจ้ง
อยู่ ได้อุตุสัปปายะเป็นต้นในวันหนึ่ง นั่งโดยบัลลังก์ก็บรรลุพระ-
อรหัตตผล เหมือนเรือนที่ผุภายใน เพราะน้ำฝนที่ตกลงมาและ
น้ำในมหาสมุทร พระอรหันต์ผู้สิ้นสังโยชน์แล้ว อนุเคราะห์
มหาชนอยู่ ดำรงขันธ์ตลอดอายุขัย เหมือนเรือที่เครื่องผูกตั้งอยู่
ชั่วกาลนิดหน่อย พระขีณาสพผู้ปรินิพพานแล้ว ด้วยอนุปาทิเสส-
นิพพานธาตุ เพราะการแตกแห่งอุปาทินนกขันธ์ สังขารที่มีใจครอง
ก็ถึงความหาบัญญัติมิได้ พึงเห็นเหมือนเรือที่เครื่องผูกผุ ก็สลาย
ไปโดยลำดับ หาบัญญัติมิได้ฉะนั้น. ด้วยอุปมานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงความที่สังโยชน์ทั้งหลาย มีกำลังอ่อนลง
จบ อรรถกถาภาวนาสูตรที่ ๗
 
๓๗/๖๘/๒๕๙