วันศุกร์, สิงหาคม 12, 2565

Thiap Khiang

 
อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
[๒๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประทีปน้ำมันพึงติด เพราะอาศัย
น้ำมันและไส้ บุรุษไม่พึงเติมน้ำมัน ไม่ใส่ไส้ในประทีปน้ำมันนั้นทุก ๆ
ระยะ ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ประทีปน้ำมันนั้น ไม่มีอาหารพึงดับไป เพราะ
สิ้นเชื้อเก่า และเพราะไม่เติมเชื้อใหม่ แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อ
ภิกษุเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่
ตัณหาย่อมดับ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
จบปฐมสังโยชนสูตรที่ ๓

อรรถกถาปฐมสังโยชนสูตรที่ ๓

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมสังโยชนสูตรที่ ๓ ต่อไป.
บทว่า “สญฺโญชนีเยสุ อันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์” คือ เป็น
ปัจจัยแห่งสังโยชน์ ๑๐. บทว่า “ฌาเยยฺย พึงติดไฟ” แปลว่า พึง
ลุกโพลง. ข้อว่า เตลํ อาสิญฺเจยฺย วฏฺฏึ อุปสํหเรยฺย ได้แก่ เพื่อ
ให้ประทีปติดตลอดไป จึงถือภาชนะน้ำมันและกระเบื้องไส้อันใหญ่ไปตั้ง
อยู่ในที่ใกล้เป็นนิจ เมื่อน้ำมันแห้งก็เติมน้ำมัน เมื่อไส้หมดก็ใส่เข้าไป.
คำที่เหลือในสูตรนี้ พึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแหละ พร้อมกับการ-
เทียบเคียงอาทิผิด อักขระด้วยข้ออุปมา.
จบอรรถกถาปฐมสังโยชน์สูตร ๓
 
๒๖/๒๐๓/๒๕๙

ไม่มีความคิดเห็น: