วันเสาร์, กันยายน 30, 2566

Top

 
พรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้ ดูก่อนภารทวาชะ เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว
อาฬารดาบสกาลามโคตรได้กล่าวว่า อยู่เถิดท่าน วิญญูบุรุษทำลัทธิของอาจารย์
ตน ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งโดยไม่ช้าในธรรมใดแล้วเข้าถึงอยู่ ธรรมนี้ก็
เช่นนั้น เรานั้นเล่าเรียนธรรมนั้นได้โดยฉับพลันไม่นานเลย เรากล่าวญาณวาท
และเถรวาทได้ด้วยอาการเพียงหุบปากเจรจา เพียงชั่วกาลที่พูดตอบเท่านั้น
อนึ่ง ทั้งเราและผู้อื่นปฏิญาณได้ว่า เรารู้เราเห็น เรามีความคิดเห็นว่า
อาฬารดาบสกาลามโคตรจะประกาศว่า เราทำธรรมนี้ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอัน
ยิ่งเองแล้ว เข้าถึงธรรมนี้ด้วยเหตุเพียงศรัทธาอย่างเดียวดังนี้หามิได้ ที่แท้
อาฬารดาบสกาลามโคตรรู้เห็นธรรมนี้อยู่ได้ถามว่า ท่านกาลามะ ครั้งนั้นเรา
จึงเข้าไปหาอาฬารดาบสกาลามโคตร ท่านทำธรรมนี้ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอัน
ยิ่งเองเข้าถึงแล้ว ประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ เมื่อเราถามอย่างนี้
อาฬารดาบสกาลามโคตรได้ประกาศอากิญจัญญายตนะ เราได้มีความคิดเห็นว่า
มิใช่อาฬารดาบสกาลามโคตรเท่านั้นมีศรัทธา แม้เราก็มีศรัทธา มิใช่อาฬาร-
ดาบสกาลามโคตรเท่านั้นมีความเพียร มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา แม้เราก็มี
ความเพียร มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา ถ้ากระไร เราพึงตั้งความเพียร เพื่อ
จะทำให้แจ้งชัดซึ่งธรรมที่อาฬารดาบสกาลามโคตรประกาศว่า ทำให้แจ้งชัด
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่นั้นเถิด เรานั้นได้ทำธรรมนั้นให้แจ้งชัดด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่ โดยฉับพลันไม่นานเลย ลำดับนั้น เราได้เข้า
ไปหาอาฬารดาบสกาลามโคตร แล้วได้ถามว่า ท่านกาลามะ ท่านทำธรรมนี้
ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงแล้ว ประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่านี้
หรือหนอ อาฬารดาบสกาลามโคตรตอบอาทิผิด อักขระว่า อาวุโส เราทำธรรมนี้ให้แจ้งชัด
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงแล้ว ประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เราได้
กล่าวว่า แม้เราก็ทำธรรมนี้ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่ด้วยเหตุ
 
๒๑/๗๓๘/๔๕๔

วันศุกร์, กันยายน 29, 2566

Patikha

 
ใช่ไหม ?
บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยอนาคามิมรรค ย่อมไม่กำหนดรู้
วิจิกิจฉานุสัย มานานุสัย และทิฏฐานุสัย แต่จะไม่ใช่ไม่กำหนดรู้กาม-
ราคานุสัย และปฏิฆานุสัย, บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยอรหัต-
มรรค ย่อมไม่กำหนดรู้วิจิกิจฉานุสัย กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย และ
ทิฏฐานุสัย แต่จะไม่ใช่ไม่กำหนดรู้มานานุสัย, บุคคลทั้งหลายที่เหลือ
เว้นบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค ๒ จำพวก แต่บุคคลที่ ๘
ย่อมไม่กำหนดรู้วิจิกิจฉานุสัย และไม่กำหนดรู้กามราคานุสัย ปฏิฆา-
นุสัย มานานุสัย และทิฏฐานุสัย ฯลฯ
จบ กามราคานุสย - ปฏิฆานุสย - มานานุสย - ทิฏฐานุสยมูละ
วิจิกิจฉานุสยมูลี
กามราคานุสย - ปฏิฆานุสย - มานานุสย - ทิฏฐานุสยมูล จบ
จตุกกมูลกะ จบ

กามราคานุสย - ปฏิฆานุสย - มานานุสย - ทิฏฐานุสย -
วิจิกิจฉานุสยมูล

ปัญจกมูลกะ - กามราคานุสย - ปฏิฆานุสย - มานานุสย - ทิฏฐา -
นุสย - วิจิกิจฉานุสยมูละ ภวราคานุสยาทิมูลี :-
[๑๔๖๒] บุคคลใด ไม่กำหนดรู้กามราคานุสัย ปฏิฆอาทิผิด อักขระานุสัย
 
๘๓/๑๔๖๒/๔๙๘

วันพฤหัสบดี, กันยายน 28, 2566

Duai

 
พระรักขิตเถระ ผู้มีฤทธิ์มาก ไปยัง
วนวาสีชนบทแล้ว ได้ยืนอยู่บนอากาศ
กลางหาว แล้วแสดงอนมตักคิยกถา (แก่
มหาชน) ในวนวาสีชนบทนั้นแล.
[พระโยนกธรรมรักขิตเถระไปประกาศพระศาสนาที่อปรันตกชนบท]
ฝ่ายพระโยนกธรรมรักขิตเถระ ไปยังอปรันตกชนบทแล้ว ให้ชน
ชาวอปรันตกชนบทเลื่อมใส ด้วยอัคคิขันธูปมสุตตันตกถา แล้วก็ให้สัตว์
ประมาณสามหมื่นเจ็ดพันดื่มอมตธรรม. บุรุษออกบรรพชา แต่ขัตติยตระกูล
หนึ่งพันคน. และสตรีออกบรรพชาหกพันถ้วน.พระเถระนั้นได้ประดิษฐาน
พระศาสนาให้ดำรงมั่นอยู่ในอปรันตกชนบทนั้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
พระโยนกธรรมรักขิตเถระ ย่างเข้า
สู่อปรันตกชนบทแล้ว ก็ให้ชนเป็นอันมาก
ในอปรันตกชนบทนั่นเลื่อมใสแล้ว ด้วย
อัคคิขันธูปมสูตร แล.
[พระมหาธรรมรักขิตเถระไปประกาศพระศาสนาที่มหารัฐ]
ส่วนพระมหาธรรมรักขิตเถระ ไปยังมหารัฐชนบทแล้ว ให้ชนชาว
มหารัฐชนบทเลื่อมใส ด้วยอาทิผิด อักขระมหานารทกัสสปชาดกกถา แล้ว ก็ให้สัตว์ประมาณ
แปดหมื่นสี่พันตั้งอยู่ในมรรคและผล. ประชาชนจำนวนหนึ่งหมื่นสามพันคน
บวชแล้ว. พระเถระนั้น ได้ประดิษฐานพระศาสนาให้ดำรงมั่นอยู่ในมหารัฐ
ชนบทนั้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
๑. องฺ สตฺตก. ๒๓/๑๒๙-๑๓๗. ๒-๓. สํ. นิทาน. ๑๖/๒๑๒-๒๒๘.
 
๑/๙/๑๑๖

วันพุธ, กันยายน 27, 2566

Kayo

 
อารทฺธํ โข ปน เม พฺราหฺมณ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
อารทฺธํ โข ปน เม พฺราหฺมณ วีริยํ อโหสิ ความว่า ดูก่อนพราหมณ์
ความเป็นผู้เจริญที่สุดและประเสริฐสุดอันยอดเยี่ยมนี้ เราบรรลุ
ด้วยความเกียจคร้าน ด้วยความมีสติหลงลืม ด้วยกายอันกระสับ-
กระส่าย ด้วยจิตอันฟุ้งซ่าน ก็หามิได้ ก็อนึ่งแล เราได้มีความเพียร
อันปรารภแล้ว เพื่อบรรลุความเป็นผู้เจริญที่สุดและประเสริฐสุด
อันนั้น. เรานั่งที่โพธิมัณฑสถาน ได้ปรารภ ประคองความเพียร
ต่างโดยสัมมัปปธาน ๔ อันเป็นไปไม่ย่อหย่อน. ความเพียรนั้น
ของเรา ได้เป็นความเพียรไม่ย่อหย่อน เพราะได้ปรารภแล้วทีเดียว.
ก็จะมีแต่ความเพียรอย่างเดียวก็หามิได้ แม้สติก็เป็นอันเราเข้าไป
ตั้งไว้โดยมุ่งตรงต่ออารมณ์ และเป็นสติที่ไม่หลงลืม เพราะเป็น
ธรรมชาติเข้าตั้งมั่นแล้ว. บทว่า ปสฺสทฺโธ กาโยอาทิผิด อักขระ อาสรทฺโธ
ความว่า แม้กายของเราก็เป็นสภาพสงบด้วยอำนาจกายปัสสัทธิ
และจิตตปัสสัทธิ. ในความสงบนั้น เหตุที่เมื่อนามกายสงบ แม้
รูปกายก็ชื่อว่าเป็นอันสงบเหมือนกัน ฉะนั้น จึงไม่ตรัสให้แปลกกัน
เลยว่า นามกาโย รูปกาโย นามกาย รูปกาย แต่ตรัสว่า ปสฺสทฺโธ
กาโย กายสงบ. บทว่า อสารทฺโธ ความว่า ก็กายนั้นแลชื่อว่าสงบแท้
อธิบายว่า ปราศจากความกระวนกระวาย เพราะเป็นกายสงบ
เทียว. บทว่า สมาหิตํ จิตฺตํ เอกคฺคํ ความว่า แม้จิต เราก็ตั้งไว้
โดยชอบ คือ ตั้งไว้ด้วยดี เป็นเหมือนแนบแน่น และมีอารมณ์เดียว
คือไม่หวั่นไหว ไม่ดิ้นรน เพราะเป็นจิตตั้งมั่นทีเดียว. ด้วยลำดับ
แห่งคำ เพียงเท่านี้ ย่อมเป็นอันตรัสปฏิปทา อันเป็นเบื้องต้นของ
 
๓๗/๑๐๑/๓๕๔

วันอังคาร, กันยายน 26, 2566

Bang

 
คนมีคางใหญ่ คือมาตามพร้อมด้วยคางดังคางแห่งโคบ้าง, คนมีคาง
ยาวบ้าง. คนมีคางอาทิผิด เฟ็ด คือมาตามพร้อมด้วยคางอันสั้นนักดังหดหายเข้าในบ้าง,
คนมีคางหักบ้าง, คนมีคางคดบ้าง.
คนไม่มีหนวดและเครา คือมีหน้าคล้ายนางภิกษุณีบ้าง.
คนมีคออาทิผิด อักขระยาว คือประกอบด้วยคอเช่นกับคอนกยางบ้าง คนมีคอสั้น
คือประกอบด้วยคอดังหดหายเข้าข้างในบ้าง, คนมีคอง้ำลงบ้าง.
คนมีจะงอยไหล่อันลู่บ้าง, คนไม่มีมือบ้าง คนมีมือข้างเดียวบ้าง. คน
มีมือสั้นเกินบ้าง, คนมีมือยาวเกินบ้าง, คนมีอกหักบ้าง. คนมีหลังหักบ้าง. คน
มีตัวเป็นคุดทะราดบ้าง, มีตัวเป็นลำลาบบ้าง. มีตัวเป็นหิดบ้าง, มีตัวเหมือนเหี้ย
คือมีผงร่วงจากตัว ดังเหี้ยบ้าง. ก็แลคำว่า มีตัวเป็นคุดทะราดเป็นต้นทั้งหมด
ข้าพเจ้าหมายเอาโรคที่ทำกายให้มีรูปแปลก กล่าวแล้วด้วยอำนาจแห่งปริสทูสก
ศัพท์อันมีความกว้าง.
ส่วนวินิจฉัยในคำนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในคำนี้ว่า น
ภิกฺขเว ปญฺจหิ อาพาเธหิ ผุฏฺโฐ นั่นแล.
คนมีบั้นเอวหักบ้าง คนมีตะโพกใหญ่ คือประกอบด้วยเนื้อตะโพก
อันสูงเกินไป เช่นกับกระพุ้งแห่งเตาบ้าง, คนมีขาใหญ่บ้างอาทิผิด อักขระ, คนมีอัณฑะใหญ่
บ้าง. คนมีเข่าใหญ่บ้าง คนมีเข่าเบียดกันบ้าง, คนมีแข้งยาว คือมีแข้ง เช่นกับ
ไม้เท้าบ้าง. คนมีเท้าผิดกฏ คือไปตามขวาง บ้าง๑. คนมีเท้าบิดไปข้างหลังบ้าง๒.
คนมีปลีน่องเป็นปั้นสูงบ้าง๓. คนมีปลีน่องเป็นปั้นสูงนั้นมี ๒ ชนิด คือประกอบ
ด้วยปลีแข้งใหญ่งอกย้อยลงภายใต้ก็มี อวบขึ้นเบื้องบนก็มี คนมีแข้งใหญ่บ้าง
คนมีก้อนเนื้อที่แข้งหนาบ้าง คนมีเท้าใหญ่บ้าง, คนมีส้นใหญ่บ้าง, คนมีปลาย
เท้ากับส้นเท่ากัน คือมีแข้งตั้งขึ้นจากกลางเท้าบ้าง, คนมีเท้าเกบ้าง. คนมีเท้าเก
นั้นมี ๒ ชนิด คือมีเท้าบิดเข้าในก็มี บิดออกนอกก็มี. คนมีนิ้วหงิก คือ

๑. ๒. ๓. คนมีเท้ากางออกบ้าง คนอาทิผิด อักขระมีเท้ากรอมเข้าบ้าง คนมีปลีแข้งโปบ้าง ก็ว่า.
 
๖/๑๓๕/๓๔๘

วันจันทร์, กันยายน 25, 2566

Kam

 
เถรคาถา สัตตกนิบาต

๑. สุนทรสมุทรเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสุนทรสมุทรเถระ
[๓๖๑] หญิงแพศยาผู้ประดับประดาร่างกาย นุ่งห่มผ้าใหม่
ทัดทรงดอกไม้ ลูบไล้ด้วยเครื่องหอม เท้าย้อมด้วยสีแดง
อันงาม สวมรองเท้าทอง นางถอดรองเท้ายืนประคอง
อัญชลีอยู่ข้างหน้า กล่าวกะเราผู้เคยยำเกรง เล้าโลมด้วย
ถ้อยคำอันอ่อนหวานว่า ท่านเป็นบรรพชิตหนุ่ม ขอจงเชื่อ
ฟังคำดิฉัน ขอเชิญท่านสึกออกมาบริโภคกามอาทิผิด อักขระอันเป็นของ
มนุษย์เถิด. ดิฉันขอให้สัตย์ปฏิญาณแก่ท่าน หรือดิฉันจะ
นำไฟมาทำสบถก็ได้ เมื่อใดเราทั้งสองแก่เฒ่าจนถือไม้เท้า
เมื่อนั้น เราทั้งสองจึงค่อยบวช เราทั้งสองถือเอาชัยใน
โลกทั้งสองก่อนเถิด. เราเห็นหญิงแพศยาคนนั้น ผู้ตก-
แต่งร่างกาย นุ่งห่มผ้าใหม่อันงามดีมาทำอัญชลี พูดจา
อ้อนวอนเรา เหมือนกับบ่วงมัจจุราชอันธรรมชาติดักไว้
ลำดับนั้น โยนิโสมนสิการเกิดขึ้นแก่เรา เราได้เห็นโทษ
ของสังขารแล้ว เกิดความเบื่อหน่าย ลำดับนั้น จิตของ
เราก็หลุดพ้นจากกิเลส ขอท่านจงเห็นคุณวิเศษของพระ-
ธรรมอย่างนี้เถิด บัดนี้ เราได้บรรลุวิชชา ๓ แล้ว ได้ทำ
 
๕๒/๓๖๑/๒๓๗

วันอาทิตย์, กันยายน 24, 2566

Sodapattiphon

 
ต่อมา เมื่อล่วงไปพุทธันดรหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเรา ก็
เสด็จอุบัติในโลก. พระราชโอรสทั้ง ๓ พระองค์นั้น ก็จุติจากเทวโลก พร้อม
ด้วยบุรุษ ๒,๕๐๐ คนเหล่านั้น ไปเกิดในสกุลพราหมณ์ทั้งหลาย ในแคว้นมคธ
บวชเป็นฤๅษีโดยลำดับ ได้เป็นชิฏิล ๓ คน ณ คยาสีสประเทศ. เจ้าพนักงาน
เก็บส่วยในชนบท ได้เป็นพระเจ้าพิมพิสาร บุตรคฤหบดี เจ้าพนักงานรักษา
เรือนคลัง ได้เป็นมหาเศรษฐีชื่อวิสาขะ ภรรยาของเขาได้เป็นธิดาของเศรษฐี
ชื่อธรรมทินนา บริษัทที่เหลือ เกิดเป็นราชบริขารของพระเจ้าพิมพิสารทั้งหมด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเราเสด็จอุบัติในโลก ล่วงไป ๗ สัปดาห์ ก็เสด็จ
มายังกรุงพาราณสี โดยลำดับ ประกาศพระธรรมจักร โปรดพระภิกษุปัญจวัคคีย์
เป็นต้นไป จนถึงทรงแนะนำชฏิล ๓ ท่าน ซึ่งมีบริวาร ๒,๕๐๐ จึงเสด็จไป
กรุงราชคฤห์ ณ กรุงราชคฤห์นั้น โปรดพระเจ้าพิมพิสาร ซึ่งเสด็จเข้าไปเฝ้า
ในวันนั้นเอง ให้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลอาทิผิด สระ พร้อมด้วยพราหมณ์และคฤหบดี
ชาวมคธ ๑๑ นหุต. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์พระเจ้าพิมพิสาร
เพื่อเสวยภัตตาหารในวันพรุ่ง. ครั้นวันรุ่งขึ้น อันท้าวสักกะจอมทวยเทพนำ
เสด็จ ทรงชมเชยด้วยคาถาทั้งหลาย เป็นต้น อย่างนี้ว่า
ทนฺโต ทนฺเตหิ สห ปุราณชฏิเลหิ
วิปฺปมุตฺโต วิปฺปมุตฺเตหิ
สิงคินิกฺขสุวณฺโณ
ราชคหํ ปาวิสิ ภควา.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงฝึกแล้ว กับเหล่า
ปุราณชฏิล ผู้ฝึกแล้ว พระผู้หลุดพ้นแล้ว กับเหล่า
ปรุราณชฏิลผู้หลุดพ้นแล้ว ผู้มีพระฉวีวรรณงามดังแท่ง
ทองสิงคี เสด็จเข้าสู่กรุงราชคฤห์ ดังนี้.

๑. ในพระวินัยปิฏกมหาวรรค ๔/ข้อ ๓๗ เป็น ๑,๐๐๐
 
๓๙/๘/๒๘๒

วันเสาร์, กันยายน 23, 2566

Wiwaha

 
ความอุบัติของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ลูกได้แล้ว
อขณะก็เว้นไปแล้ว ขณะลูกก็ได้แล้ว ลูกจะไม่ประ-
ทุษร้ายศีลและพรหมจรรย์ตลอดชีวิต.
พระนางสุเมธากราบทูลพระชนกชนนีอย่างนี้ว่า
ลูกยังเป็นคฤหัสถ์ จักไม่เสวยอาหาร จักยอมตายเพคะ
พระชนนีทรงเป็นทุกข์ ทรงกันแสง พระชนก
ของพระนางสุเมธานั้น พระอัสสุชลก็นองทั่วทั้งพระ-
พักตร์ ทั้งสองพระองค์ทรงพากเพียรเกลี้ยกล่อมพระ-
นางสุเมธา ซึ่งฟุบลงที่พื้นปราสาทว่า
ลูกเอ๋ย ลุกขึ้นสิ จะเศร้าโศกไปทำไม พ่อยกลูก
ให้ที่กรุงวารณวดีแล้วนะลูก พระเจ้าอนิกรัตตะทรง
งามสง่า พ่อยกลูกถวายพระองค์แล้ว.
ลูกจักเป็นเอกอัครมเหสีของพระเจ้าอนิกรัตตะ
ศีล พรหมจรรย์ บรรพชา ทำได้ยากนะลูกนะ.
อำนาจ ทรัพย์ ความเป็นใหญ่ โภคะ สุข ใน
ราชสมบัติ ทั้งลูกก็ยังเป็นสาว จงบริโภคกามเถิด.
ลูกจงวิวาหะเสียนะลูกนะ.
พระนางสุเมธาอาทิผิด อักขระกราบทูลพระชนกชนนีนั้นว่า
อำนาจเป็นต้นเช่นนี้ อย่ามีมาเลย เพราะภพหาสาระ
มิได้ การบวชหรือความตายเท่านั้นจักมีแก่ลูก ลูกไม่
ยอมวิวาหะอาทิผิด อักขระแน่แท้.
 
๕๔/๔๗๔/๔๘๔

วันศุกร์, กันยายน 22, 2566

Utthaka

 
ธรรมนั้นอย่างนี้. เราเช่นใดท่านก็เช่นนั้น ท่านเช่นใด เราก็เช่นนั้น อย่าง
นี้. มาเถิดท่าน เราทั้งสองอยู่ปกครองคณะนี้ด้วยกัน. อัคคิเวสสนะ อาฬาร
ดาบส กาลามโคตร เมื่อเป็นอาจารย์เรา ตั้งเราเป็นศิษย์ให้เสมอกับ
ตน ยังให้บูชาเราด้วยการบูชาที่ยิ่ง ดังนี้. อัคคิเวสสนะ เราได้ปริวิตกต่อ
ไปว่า ธรรมนี้ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อ
ดับ เพื่อสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เป็นไปเพื่อเพียงอุปบัติ
แห่งอากิญจัญญายตนะ เท่านั้นเอง. อัคคิเวสสนะ เราไม่พอใจธรรมนั้น
เบื่อจากธรรมนั้นหลีกไปเสีย.
[๔๑๒] อัคคิเวสสนะ ครั้นเราหลีกไปจากสำนักอาฬารดาบสกาลาม
โคตรแล้ว เป็นผู้แสวงหาอยู่ว่าสิ่งไรเป็นกุศล ค้นหาทางสงบอันประเสริฐ ไม่
มีสิ่งไรยิ่งกว่า ได้เข้าไปหา อุททกดาบสรามบุตร ได้กล่าวกะอุททกดาบส
รามบุตรว่า ท่านรามะ เราปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัย
นี้ด้วย อัคคิเวสสนะ ครั้นเรากล่าวอย่างนี้แล้ว อุททกดาบส รามบุตร
จึงกล่าวกะเราว่า เชิญอยู่เถิดท่านถ้าเป็นบุรุษรู้แจ้งในธรรมเช่นท่านไม่นาน
เลย คงรู้จริงแจ้งกะจิต เข้าไปหาอาจารย์ของตนแล้วแลอยู่ได้ อัคคิเวส
สนะ เรานั้น ได้เล่าเรียนธรรมนั้นได้ฉับไวแท้ไม่นานเลย. อัคคิเวสสนะ
เรานั้นแล กล่าวญาณวาทะ แลเถรวาทะด้วยอาการเผยริมฝีปากพูดเท่า
นั้น. อนึ่งเราปฏิญญาได้ว่า เรารู้ เราเห็น ดังนี้ ใช่แต่เราผู้เดียว ถึงพวกอื่น
ก็กล่าวแลปฏิญญาได้เหมือนกัน อัคคิเวสสนะ ความปริวิตกได้มีแก่เรา
ว่า อุททกดาบส รามบุตร ไม่ประกาศธรรมนี้เพียงศรัทธาว่า เรา
รู้ แจ้ง เข้าถึงที่เองแล้วแลอยู่ “อุททกอาทิผิด อักขระดาบส รามบุตร คงรู้เห็นอยู่แต่
เพียงธรรมนี้เท่านั้นเป็นแน่. อัคคิเวสสนะ เราจึงได้เข้าไปหาอุททก
ดาบส รามบุตร ได้กล่าวคำนี้กะอุททกดาบส รามบุตรว่า ท่านรามะ
 
๑๙/๔๑๒/๑๑๕

วันพฤหัสบดี, กันยายน 21, 2566

Khao

 
จิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะก็รู้ว่าจิตเป็นมหัค-
คตะ จิตไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหัคคตะ จิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า-
จิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิต
ตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตตั้งมั่น หรือจิตไม่ตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้นแล้วก็รู้
ว่าจิตหลุดพ้นแล้ว หรือจิตยังไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าจิตยังไม่หลุดพ้น
(๘) ย่อมระลึกถึงขันธ์ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ คือ
ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง
สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง
ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายสังวัฏกัปบ้าง หลายวิวัฏกัป
บ้าง หลายสังวัฏวิวัฏกัปบ้าง ว่าในชาติโน้นเรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่าง
นี้ มีผิวพรรณอย่างนี้. มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนด
อายุเท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว บังเกิดในชาติโน้น แม้ในชาตินั้น
เราก็มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวย
สุขและทุกข์อย่างนี้ ก็มีกำหนดอายุเท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว จึง
เข้าถึงในชาตินี้ ย่อมระลึกถึงขันธ์ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ
พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ เช่นนี้
(๙) ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์ กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต
มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์
ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว
ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอัน
บริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมทราบชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมเช่นนี้
(๑๐) ย่อมเข้าอาทิผิด สระถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันอยู่
 
๒๒/๑๑๓/๑๖๐

วันพุธ, กันยายน 20, 2566

Uen

 
ว่า ไม่ใช่เทพบุตร แต่นั่นเป็นมหาพรหม เมื่อยิ่งใกล้เข้ามาอีก ก็พูดว่า
ไม่ใช่เป็นมหาพรหม แต่เป็นพระพุทธเจ้าอีกองค์หนึ่งเสด็จมา ดังนี้. ในที่นั้น
พวกเทวดาปุถุชน ก็พากันคิดว่า พระพุทธเจ้าองค์เดียว ที่ประชุมเทวดา
ก็ใหญ่ขนาดนี้แล้ว สองพระองค์จะใหญ่ขนาดไหน (ส่วน) เทวดาอริยะ
ก็พากันคิดว่า ในโลกธาตุเดียว ไม่มีพระพุทธเจ้าสองพระองค์ พระผู้มีพระ
เจ้าทรงเนรมิตพระพุทธเจ้าองค์อื่นอาทิผิด สระขึ้นมาอีกพระองค์หนึ่งที่เหมือนกับพระองค์
เป็นแน่.
ขณะที่หมู่เทพกำลังเห็นพระพุทธนิรมิตนั่นเอง พระพุทธนิรมิตก็เสด็จ
มาถึงไม่ทรงไหว้พระทศพลเลย ทำให้เท่า ๆ กันในที่เฉพาะพระพักตร์แล้วก็
ประทับนั่งบนพระที่นั่งที่เนรมิตไว้. มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ แม้ของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ของพระพุทธนิรมิต ก็มี ๓๒ ประการเหมือนกัน. พระ
รัศมี ๖ สี ออกไปจากพระสรีระแม้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ของพระพุทธ
นิรมิตก็เหมือนกัน. พระรัศมีจากพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้ากระทบพระ
กายของพระพุทธนิรมิต พระรัศมีจากพระสรีระของพระพุทธเนรมิตก็กระทบ
พระกายพระผู้มีพระภาคเจ้า. รัศมีเหล่านั้นพุ่งจากพระสรีระของพระพุทธเจ้า
ทั้งสองพระองค์ไปจรดชั้นอกนิฏฐพรหม กลับจากนั้นก็ลงในที่สุดของทุกเศียร
ของเหล่าเทพ แล้วตั้งอยู่ที่ขอบปากจักรวาล. ห้องจักรวาลทั้งสิ้นรุ่งเรืองดัง
เรือนพระเจดีย์ที่มีไม้จันทันโค้งที่แล้วไปด้วยเงินรึงรัดไว้แล้วฉะนั้น. เทวดา
ในหมื่นจักรวาล รวมเป็นกลุ่มในจักรวาลเดียวเข้าไปตั้งอยู่ในระหว่างห้องรัศมี
ของพระพุทธเจ้าทั้งสองพระองค์. เมื่อพระพุทธเนรมิตกำลังประทับนั่งอยู่นั่น
แล ชมเชยการละกิเลสที่โพธิบัลลังก์ของพระทศพล จึงตรัสคาถาว่า
 
๑๔/๒๔๖/๑๐๒

วันอังคาร, กันยายน 19, 2566

Mai

 
ในป่า ๒ ชนิดนั้น ป่าปลูก ได้แก่ป่าเวฬุวัน และป่าเชตวันเป็นต้น
ป่าเกิดเอง ได้แก่ป่าอันธวัน ป่ามหาวัน และป่าอัญชนวันเป็นต้น.
ป่าสุภควัน แม้นี้ พึงทราบว่า เป็นป่าเกิดเอง.
แม้ต้นรัง ในคำนี้ว่า สาลราชมูเล ท่านก็เรียกว่า ต้นสาละ.
สมดังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ป่าสาลวัน
ใหญ่ ไม่ไกลบ้านหรือนิคม และป่าสาลวันใหญ่นั้นก็ดาดาษไปด้วย
ต้นละหุ่ง และตรัสว่า ระหว่างนางรังทั้งคู่. แม้ต้นไม้โตที่สุด ท่านก็
เรียกว่า ต้นไม้เจ้าป่า. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ในภาคพื้นพระราชอุทยาน
ในแว่นแคว้นของพระองค์ มีต้นไม้ใหญ่หลายต้น
มีค่าคบตรง เขียวชอุ่ม น่ารื่นรมย์.
ถึงแม้ว่าต้นไม้ต้นใดต้นหนึ่ง ก็เรียกต้นไม้เจ้าป่าได้. สมดังที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล
เมล็ดเถาย่านทราย พึงหล่นไปที่โคนต้นไม้ต้นใดต้นหนึ่ง ดังนี้เป็นต้น.
แต่ในที่นี้ท่านประสงค์เอาต้นไม้อาทิผิด อาณัติกะใหญ่ที่สุด ชื่อว่า ต้นไม้อาทิผิด อาณัติกะเจ้าป่า.
อธิบาย ราช ศัพท์
ส่วน ราชศัพท์ แห่งบทว่า สาลราชมูเล นั้น ย่อมยังต้นไม้
นั้นนั่นเทียวให้สำเร็จความเป็นต้นไม้ใหญ่ที่สุด อย่างประโยคเป็นต้นว่า
ดูก่อนพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ก็. . .แห่งต้นไทรใหญ่ที่ยืนต้นอย่าง
มั่นคง แม้ในที่อื่น. ในคำว่า สาลราชมูเล นั้น แยกออกเป็นสมาส
๒ อย่าง (ฉัฏฐีตัปปุริสสมาสว่า) สาลานํ ราชา (ราชาแห่งต้นไม้
 
๑๗/๙/๓๖

วันจันทร์, กันยายน 18, 2566

Thepphachao

 
อนึ่ง แม่โคทั้งหลายนั่นเอง ในกาลบางครั้ง ย่อมตั้งครรภ์ได้เพราะ
กลิ่นของโคตัวผู้. การตั้งครรภ์ ย่อมมีได้เพราะกลิ่น ด้วยอาการอย่างนี้.
ส่วนในเรื่องนี้ ภรรยาเก่าของท่านพระสุทินน์นี้ ย่อมตั้งครรภ์เพราะ
อัชฌาจาร ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายเอาตรัสไว้ว่า
มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน ๑ มารดาที่ระดู ๑ สัตว์ผู้เกิดในครรภ์ปรากฏ ๑.
เพราะความประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการอย่างนี้ ความก้าวลงแห่งสัตว์
ผู้เกิดในครรภ์ จึงมีได้.
[เทพเจ้าประกาศความชั่วของพระสุทินน์]
หลายบทว่า ภุมฺมา เทวา สทฺทมนุสฺสาเวสุํ ความว่า ชื่อว่า
ความลับของชนผู้กระทำกรรมชั่ว ย่อมไม่มีในโลก. , จริงอยู่ ตนของชนผู้
กระทำความชั่วนั้น ย่อมรู้ความชั่ว (ที่ตนทำ) นั้น ก่อนกว่าคนอื่นทั้งหมด,
ต่อจากนั้น อารักขเทพเจ้าอาทิผิด อักขระทั้งหลายย่อมรู้, ภายหลังต่อมาเทพเจ้าแม้เหล่าอื่น
ผู้รู้จิตของบุคคลอื่น ก็ย่อมรู้, เพราะเหตุนั้น ภุมมเทพเจ้าทั้งหลาย ผู้อาศัย
อยู่ในไพรสณฑ์ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นผู้รู้จิตของบุคคลอื่น พบเห็นอัชฌาจารนั้นของ
ท่านพระสุทินน์นั้น ก็ได้กระจายเสียงให้บันลือลั่นไป คือได้เปล่งเสียงออก
โดยอาการที่เทพเจ้าแม้เหล่าอื่นจะได้ยิน.
ถามว่า ได้ยินว่า อย่างไร?
แก้ว่า ได้ยินดังนี้ ท่านผู้เจริญ ! โอ ภิกษุสงฆ์ไม่มีเสนียด หาโทษ
มิได้, (แต่) พระสุทินน์กลันทบุตร ก่อเสนียดขึ้นแล้ว ก่อโทษขึ้นแล้ว.
ใจความแห่งคำว่า ไม่มีเสนียด เป็นต้นนั้น บัณฑิตพึงทราบ โดยนัยดังที่
ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในเวรัญชกัณฑ์นั่นแล
๑. ม. มู. ๑๒/๒๔๗.ปปัญจสูทนี. ๒/๔๑๗-๘. ๒. ขุ. ชา. ๒๗/๑๓๑. ชาตกัฎฐ ๔/๒๔๘.
๓. วิ.มหา. ๑/๓๒.
 
๑/๗๘/๗๑๘

วันอาทิตย์, กันยายน 17, 2566

Ma

 
องค์จงยกโทษให้อาตมาคืนนี้สักคืนหนึ่งเถอะ แล้วตั้งแต่วันพรุ่งนี้ไป
อาตมาจักไม่ทำอย่างนี้อีก ต่อมาอาทิผิด อักขระพอพระอาทิตย์อุทัย ท่านก็ได้เห็นเป็นวัว
แก่ตัวนั้น (ไม่ใช่ท้าวสักกะ) จึงเอาไม้ตะพดหวดตะเพิดไล่เตลิดเปิดเปิง
ไปพร้อมทั้งคำไล่หลังว่า แกทำให้ข้ากลัวตลอดคืนยังรุ่งเลย.
สติกับปัญญา
๔๑) บทว่า กุสีตา แปลว่า ตกอยู่ใต้อำนาจความเกียจคร้าน.
บทว่า หีนวีริยา ความว่า เสื่อม คือเว้น ได้แก่ปราศจากความ
เพียร อธิบายว่า ไม่มีความเพียร. ในบุคคล ๒ จำพวกนั้น คนที่เกียจ
คร้านย่อมเว้นจากการเริ่มความเพียรทางกาย คนที่ขาดความเพียรย่อมเว้น
จากการเริ่มความเพียรทางจิต ( สรุปแล้ว ) คนทั้ง ๒ จำพวกนั้นย่อมไม่
สามารถจะทำแม้เพียงการกำหนดอารมณ์ได้. คำทั้งหมดว่า เตสํ อววตฺถิ-
ตารมฺมณานํ (มีความหมาย) เหมือนกับความหมายที่กล่าวมาก่อนแล้ว.
๔๒ ) บทว่า มุฏฺฐสฺสตี แปลว่า ปล่อยสติ.
บทว่า อสมฺปชานา แปลว่า ปราศจากปัญญา ก็เพราะพระพุทธ-
ดำรัสว่า ตถาคตเป็นผู้มีสติตั้งมั่นแล้ว ในความหมายที่ตรงกันข้ามกับคำนี้
ว่า มุฏฺฐสฺสตี พระดำรัสว่า อสมฺปชานา นี้ จึงเป็นบทขยายสติเท่านั้น.
ส่วนปัญญาในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อแสดงถึงสติที่หย่อน
กำลัง. เพราะว่าสติมี ๒ อย่าง คือสติที่ประกอบด้วยปัญญา ๑ สติที่ไม่
ประกอบด้วยปัญญา ๑. ในสติทั้ง ๒ นั้น สติประกอบด้วยปัญญาย่อมมี
กำลัง สติที่ไม่ประกอบด้วยปัญญาย่อมหย่อนกำลัง. เพราะฉะนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อสมฺปชานา (ไม่มีปัญญา) เพื่อแสดงความหมาย
 
๑๗/๕๒/๒๙๒

วันเสาร์, กันยายน 16, 2566

Rueang

 
สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่งผู้มีปัญญา ย่อมบริสุทธิ์ได้ใน
ศาสนาของพระชินเจ้า. เพราะฉะนั้น เราจึงไม่นำตัวเรานี้
ผู้ใคร่ต่อประโยชน์ ไปในลัทธิภายนอก, เราเมื่อแสวงหาบท
อันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง จึงท่องเที่ยวไปสู่ลัทธิอันผิด.
บุรุษผู้ต้องการแก่น พึงตัดต้นกล้วยแล้วผ่าออก จะไม่ได้
แก่นไม้ในต้นกล้วยนั้น เพราะมันว่างจากแก่น ฉันใด คน
เป็นอันมากผู้เป็นเดียรถีย์ มีทิฏฐิต่าง ๆ กันในโลก ก็ฉันนั้น
แล.
คนเหล่านั้นเป็นผู้ว่างเปล่าจากอสังขตบท เหมือนต้นกล้วย
ว่างเปล่าจากแก่นฉะนั้น. เมื่อถึงภพสุดท้ายแล้ว เราได้เป็น
เผ่าพันธุ์ของพราหมณ์ ละทิ้งโภคสมบัติเป็นอันมาก ออกบวช
เป็นบรรพชิตแล้ว.
จบปฐมภาณวาร

ข้าพระองค์อยู่ในสำนักของพราหมณ์นามว่า สัญชัย ซึ่ง
เป็นผู้สอน ทรงจำมนต์ รู้จบไตรเพท ข้าแต่พระมหาวีระ
พราหมณ์ชื่อ อัสสชิ สาวกของพระองค์ หาผู้เสมอได้ยาก
มีเดชรุ่งเรืองอาทิผิด อาณัติกะ เที่ยวบิณฑบาตอยู่ในกาลนั้น.
ข้าพระองค์ได้เห็นท่านผู้มีปัญญาเป็นมุนี มีจิตตั้งมั่นใน
ความเป็นมุนี มีจิตสงบระงับ เป็นมหานาค แย้มบานดัง
ดอกปทุม.
 
๗๐/๓/๔๑๓

วันศุกร์, กันยายน 15, 2566

Kamlang

 
กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ไหน
จะดีกว่ากัน.
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภคบิณฑบาตที่เขา
ถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือ
คฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่า การที่บุรุษมีกำลัง เอาขอเหล็กแดงไฟ
กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง เกี่ยวปากอ้าไว้ แล้วกรอกก้อนเหล็กแดง
ไฟกำลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเข้าในปาก ก้อนเหล็กแดงนั้นจะพึง
ไหม้ริมฝีปาก... แล้วออกทางทวารเบื้องต่ำ นี้เป็นทุกข์.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอ
เตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ
บริโภคบิณฑบาตที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล
พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล จะดีอย่างไร การที่
บุรุษมีกำลังอาทิผิด อักขระ เอาขอเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเกี่ยวปาก
อ้าไว้ แล้วกรอกก้อนเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเข้า
ในปาก ก้อนเหล็กแดงนั้นจะพึงไหม้ริมฝีปาก... แล้วออกทางทวาร
เบื้องต่ำ นี้ดีกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ นั้นพึงถึงความตาย
หรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึงเข้า
ถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่
บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคบิณฑบาตที่เขาถวาย
ด้วยศรัทธาของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดี
มหาศาลนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์
สิ้นกาลนาน แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไป
 
๓๗/๖๙/๒๖๕

วันพฤหัสบดี, กันยายน 14, 2566

Abat

 
บทว่า อเวหาสกุฏิยา มีความว่า ไม่เป็นอาบัติในศาลาใบไม้ที่เขา
สร้างไว้บนพื้นดินเป็นต้น . เพราะว่า ไม่อาจเพื่อจะทำความเบียดเบียนแก่คน
อื่นในกุฎีมีบรรณศาลาเป็นต้นนั้น .
บทว่า สีสฆฏฺฏาย มีความว่า กุฎีใดกระทบศีรษะได้, ไม่เป็นอาบัติ
ในกุฎีแม้นั้น. เพราะว่า ใคร ๆ ไม่ก้มตัวลงไม่อาจเพื่อจะเที่ยวไปในอาทิผิด ปราสาท
ชั้นล่าง (พื้นชั้นล่าง) ในกุฎีนั่นได้ ฉะนั้น จักไม่มีความเบียดเบียนแก่ผู้อื่น
เพราะไม่ใช่สถานที่สัญจร.
สามบทว่า เหฏฺฐา อปริโภคํ โหติ มีความว่า ภายใต้เป็นที่ใช้
สอยไม่ได้ เพราะเก็บทัพสัมภาระเป็นต้น . แม้ในกุฎีนั้นก็ไม่เป็นอาบัติ.
สองบทว่า ปทรสญฺจิตํ โหติ มีความว่า พื้นข้างบนกุฎีใดเขาปู
แน่นทึบด้วยแผ่นกระดานไม้ก็ดี ทำการบริกรรมด้วยปูนขาวเป็นต้น ก็ดี. แม้
ในกุฎีนั้นก็ไม่เป็นอาบัติอาทิผิด สระ.
ข้อว่า ปฏฺฏาณิ ทินฺนา โหติ มีความว่า ได้ตรึงสลักไว้ที่ปลาย
เท้าเตียงและตั่งเป็นต้น แม้เมื่อภิกษุนั่งบนเตียงและตั่งใด. (เท้าเตียง) ไม่ตก
ลงมา แม้ภิกษุผู้นั่งบนเตียงและตั่งเช่นนั้น ก็ไม่เป็นอาบัติ.
ข้อว่า ตสฺมึ ฐิโต มีความว่า ภิกษุยืนบนเตียงและตั่งที่มีเท้าเสียบ
(เข้าไว้ในตัวเตียงตั่ง) หยิบจีวรหรือวัตถุอะไร ๆ ที่แขวนไว้บนไม้ฟันมังกร
เป็นต้นข้างบน, หรือว่าจะแขวนวัตถุอื่น, ไม่เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุนั้น. บทที่
เหลือตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เกิดขึ้นทางกาย ๑ ทาง
กายกับจิต ๑ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม
มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.
เวหาสกุฎีสิกขาบทที่ ๘ จบ
 
๔/๓๙๖/๓๔๒

วันพุธ, กันยายน 13, 2566

Man

 
๘. เรื่องภิกษุ ๕๐๐ รูป [๖๗]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุ ๕๐๐
รูป ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า “ สพฺพตฺถ เว สปฺปุริสา วชนฺติ ”
เป็นต้น.
พระธรรมเทศนาตั้งขึ้นที่เมืองเวรัญชา.
พระศาสดาเสด็จเมืองเวรัญชา
ความพิสดารว่า ครั้งปฐมโพธิกาล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไป
เมืองเวรัญชา อันพราหมณ์ชื่อว่าเวรัญชะทูลนิมนต์แล้ว จึงเสด็จจำพรรษา
พร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูป. เวรัญชพราหมณ์ถูกมารดลใจ มิให้เกิดสติ
ปรารภถึงพระศาสดาแม้สักวันหนึ่ง. แม้เมืองเวรัญชาได้เป็นเมืองข้าวแพง
แล้ว. พวกภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตตลอดเมืองเวรัญชา ทั้งภายในภายนอก
เมื่อไม่ได้บิณฑบาต จึงลำบากมาก.
พวกพ่อค้าม้าจัดแจงภิกษา มีข้าวแดงราวแล่งหนึ่ง ๆ เพื่อภิกษุ
เหล่านั้น. พระมหาโมคคัลลานเถระเห็นภิกษุเหล่านั้นลำบาก ได้มีความ
ประสงค์จะให้ภิกษุฉันง้วนดิน และประสงค์จะให้พวกภิกษุเข้าไปสู่อุตตร-
กุรุทวีป เพื่อบิณฑบาต. พระศาสดาได้ทรงห้ามท่านเสีย. แม้ในวันหนึ่ง
พวกภิกษุมิได้มีความสะดุ้งเพราะปรารภบิณฑบาต. ภิกษุทั้งหลายเว้น
ความประพฤติด้วยอำนาจความอยากแลอยู่แล้ว.
๑. มาราวฏฺฏเนน อาวฏฺโฏ อันเครื่องหมุนไปทั่วแห่งมารอาทิผิด อักขระให้หมุนทั่วแล้ว.
 
๔๑/๑๖/๓๔๙

วันอังคาร, กันยายน 12, 2566

Mi

 
เป็นฐานะที่จะมีได้ ดังนี้. ส่วนโลกิยสรณคมน์ มีภวสมบัติบ้าง โภคสมบัติบ้าง
เป็นผลเหมือนกัน สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงพระพุทธ-
เจ้าว่าเป็นที่พึ่ง ชนเหล่านั้นจักไม่ไปสู่
อบายภูมิ (เขา) ละร่างอันเป็นของมนุษย์
แล้ว จักยังกายทิพย์ให้บริบูรณ์ ดังนี้.
พระธรรมสังคาหกาจารย์ ได้กล่าวคำแม้อื่นไว้อีกว่า ครั้งนั้นแล
ท้าวสักกะจอมเทพ พร้อมด้วยเทวดา ๘๔,๐๐๐ ได้เข้าไปหาพระมหาโมคคัลลานะ
ถึงที่อยู่ ฯลฯ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวคำนี้ กะท้าวสักกะจอมเทพ
ผู้ยืนอยู่ ณ ที่ส่วนข้างหนึ่งว่า ขอถวายพระพรท่านจอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้า
ว่าเป็นที่พึ่ง เป็นการดีแล ดูก่อนจอมเทพ เพราะเหตุแห่งการถึงพระพุทธเจ้า
เป็นสรณะแล สัตว์บางจำพวกจึงเข้าถึงสุคติ คือโลกสวรรค์ หลังจากตายแล้ว
เพราะร่างกายแตกสลายไป ด้วยประการฉะนี้. พวกเขาจะได้รับทิพย์อย่างอื่น
สิบสถาน คือ อายุทิพย์ วรรณทิพย์ สุขทิพย์ ยศทิพย์ อธิปไตยทิพย์
รูปทิพย์ เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ โผฏฐัพพทิพย์ ดังนี้. พึงทราบ
ความพิเศษแห่งผลของสรณคมน์ ด้วยสามารถแห่งเวลามสูตรเป็นต้น. ผลแห่ง
สรณคมน์ พึงทราบดังพรรณนามานี้ก่อน.
ก็ในสองอย่างนี้ โลกิยสรณคมน์จักเศร้าหมองด้วยความไม่รู้ ความ
สงสัย และความเห็นผิด ในวัตถุ ๓ ประการ (พระรัตนตรัย) เป็นต้น ไม่
โชติช่วง ไม่กว้างขวาง. ส่วนโลกุตรสรณคมน์ ไม่มีความเศร้าหมอง. อนึ่ง
การขาดแห่งโลกิยสรณคมน์มีสองอย่างคือ (ขาด)ที่มีโทษ และ(ขาด)ที่ไม่มีโทษ
บรรดา ๒ อย่างนั้น ความขาดที่มีโทษ มีอาทิผิด สระได้ เพราะการมอบตนในศาสดาอื่น
 
๔๕/๒๕๒/๔๔๒

วันจันทร์, กันยายน 11, 2566

Samat

 
ยังอนัตถะอย่างใหญ่หลวงให้เกิดขึ้นโดยอุบายบ้าง. และโลภะเป็นต้นเหล่านี้
จะยังอนัตถะเช่นนั้น หรือมีกำลังมากกว่านั้นให้เกิดขึ้นโดยการตัดรอนศีรษะ
คือปัญญา ๑ โดยการมอบกำเนิดให้ ๑. อย่างไร ? อธิบายว่า เมื่ออิฏฐารมณ์
เป็นต้นมาสู่คลองในจักษุทวาร ความโลภเป็นต้นจะปรารภอิฏฐารมณ์เป็นต้น
เหล่านั้นเกิดตามควร. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ศีรษะคือปัญญาของเรา ก็จะชื่อว่า
ถูกบั่นทอนแล้ว แม้ในโสตทวารเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน. พึงทราบความ
คล้ายคลึงกันแห่งอมิตรเป็นต้น โดยการบั่นทอนศีรษะคือปัญญา ด้วยประการ
ดังพรรณนามานี้ก่อน. แต่โลภะเป็นต้น ที่เป็นอกุศลมีกรรมเป็นเหตุ จะนำ
เข้าไปสู่กำเนิดทั้ง ๔ มีอัณฑชะกำเนิดเป็นต้นเป็นประเภท ภัยอย่างใหญ่หลวง
๒๕ ประการ ที่มีการเข้าไปสู่กำเนิดเป็นมูล และกรรมกรณ์ ๓๒ ประการ จะมา
ถึงเขาทีเดียว. ความคล้ายคลึงกันแห่งอมิตรเป็นต้น ของกิเลสมีโลภะเป็นต้น
เหล่านั้น พึงทราบแม้โดยการมอบกำเนิด ๔ ให้โดยประการอย่างนี้ ดังนั้นจึง
เป็นอันว่า โลภะเป็นต้น พระองค์ได้ตรัสไว้แล้ว ด้วยคำมีอาทิว่า อนฺตรา
อมิตฺตา เพราะความคล้ายคลึงกันแห่งอมิตรเป็นต้น และเพราะเป็นธรรมที่
เกิดขึ้นในจิต. อีกอย่างหนึ่ง ความโลภเป็นต้น ย่อมกระทำได้ ซึ่งสิ่งที่อมิตร
ไม่สามารถอาทิผิด อักขระจะกระทำได้ และความเป็นอมิตรเป็นต้นก็เกิดจากความโลภเป็นต้น
เพราะฉะนั้น พึงทราบความที่อกุศลธรรมเหล่านั้นเป็นอมิตรเป็นต้น. สมจริง
ดังที่ตรัสไว้ว่า
จอมโจร เห็นจอมโจร หรือคู่เวร
เห็นคู่เวร แล้วพึงกระทำความพินาศอันใด
ให้กัน จิตที่ตั้งไว้ผิด พึงทำให้เขาเลวร้าย
ไปยิ่งกว่านั้น ดังนี้.
 
๔๕/๒๖๘/๕๔๔

วันอาทิตย์, กันยายน 10, 2566

Khlat khluean

 
ของพวกเดียรถีย์บ้าง. ที่ชื่อว่า วิปริเยสัคคาหะ (การถือโดยวิปลาส) เพราะ
อรรถว่า เป็นการถือสภาวะที่ใคร่ครวญผิด หรือว่าเป็นการถือสภาวะโดย
ตรงกันข้าม อธิบายว่า ถือเอาคลาดอาทิผิด อักขระเคลื่อน.
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งอหิริกะและอโนตตัปปะต่อไป. บัณฑิต
พึงทราบเนื้อความแห่งอหิริกะและอโนตตัปปะโดยปริยายตรงกันข้ามในนิทเทส
แห่งหิริและโอตตัปปะ ก็บัณฑิต พึงทราบอหิริกพละและอโนตตัปปพละ
เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวในสหชาตธรรมทั้งหลายเท่านั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งโลภะและโมหะต่อไป
สภาวะที่ชื่อว่า โลภะ เพราะอรรถว่า อยากได้. อาการที่โลภ ชื่อว่า
ลุพภนา (กิริยาที่โลภ) จิตที่สัมปยุตด้วยโลภะ หรือบุคคลผู้ประกอบด้วย
ความโลภ ชื่อว่า ลุพภิตะ ภาวะแห่งจิตที่สัมปยุตด้วยโลภะหรือแห่งบุคคลผู้
ประกอบด้วยความโลภ ชื่อว่า ลุพภิตัตตะ (ความโลภ) ที่ชื่อว่า สาราคะ
(ความกำหนัด) เพราะย่อมกำหนัดนัก. อาการแห่งความกำหนัดนัก ชื่อว่า
สารัชชนา (กิริยาที่กำหนัดนัก). ภาวะแห่งจิตที่กำหนัดนักชื่อว่า สารัชชิ-
ตัตตะ (ความกำหนัด). ชื่อว่า อภิชฌา ด้วยอรรถว่าเพ่งเล็ง.
การณะ (เหตุ) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยศัพท์ว่าโลภะอีก เพราะ
โลภะนั้นเป็นอกุศลด้วย เป็นมูลด้วย จึงชื่อว่า อกุศลมูล อีกอย่างหนึ่ง
โลภะนั้นเป็นมูลของอกุศลทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อกุศลมูล.
สภาวะที่ชื่อว่า อัญญาณ (ความไม่รู้) เพราะปฏิปักษ์ต่อญาณ. ที่ชื่อว่า
อทัสสนะ (ความไม่เห็น) เพราะปฏิปักษ์ต่อความเห็น. ที่ชื่อว่า อนภิสมัย
(ความไม่ตรัสรู้) เพราะอรรถว่า เป็นสภาพเผชิญหน้าก็ไม่ตรัสรู้ตามธรรมได้
คือย่อมไม่ถึงโดยชอบ. ที่ชื่อว่า อนุโพธะ (ตรัสรู้โดยสมควร) เพราะอรรถว่า
 
๗๖/๓๑๐/๒๒

วันเสาร์, กันยายน 09, 2566

Thi

 
คือ ขันธ์ที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่
กายนี้ที่อาทิผิด อาณัติกะเป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรมและอนุปาทินนุปาทานิยธรรม ที่เกิดก่อน
ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.
[๑๕๔๒] ๗. อนุปาทินนอนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่
อุปาทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย
คือ ขันธ์ที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่
กายนี้ ที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาต-
ปัจจัย.
[๑๕๔๓] ๘. อนุปาทินนอนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่
อนุปาทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย
คือ ขันธ์ที่เป็นอนุปาทินนอนุปาทานิยธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัย
แก่กายนี้ที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยธรรม ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาต-
ปัจจัย.
[๑๕๔๔] ๙. อนุปาทินนอนุปาทานิยธรรม เป็นปัจจัยแก่
อุปาทินนุปาทานิยธรรม และอนุปาทินนุปาทานิยธรรม ด้วยอำนาจ
ของปัจฉาชาตปัจจัย
คือ ขันธ์ที่เป็นอนุปาทินนอนุปาทานิยธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัย
แก่กายนี้ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม และอนุปาทินนุปาทานิยธรรมที่เกิด
ก่อนด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.
 
๘๖/๑๕๕๑/๒๔๒

วันศุกร์, กันยายน 08, 2566

Phakkha

 
๕. ภัคคชาดก

ว่าด้วยอายุ
[๑๕๙] ข้าแต่ท่านบิดา ขอท่านจงเป็นอยู่ ๑๒๐ ปี
ขอปีศาจจงอย่ากินฉันเลย ท่านจงเป็นอยู่ ๑๒๐ ปี
เถิด.
[๑๖๐] แม้ท่านก็จงเป็นอยู่ ๑๒๐ ปี พวกปีศาจ
จงกินยาพิษ ท่านจงเป็นอยู่ ๑๒๐ ปี.
จบ ภัคคอาทิผิด สระชาดกที่ ๕

อรรถกถาภัคคชาดกที่ ๕

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ ราชิการามซึ่งพระเจ้า-
ปเสนทิโกศล ให้จัดสร้างถวายใกล้พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
การจามของพระองค์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้เริ่มต้นว่า ชีว
วสฺสสตํ ภคฺค ดังนี้.
ความพิสดารมีว่า วันหนึ่งพระศาสดาประทับนั่ง ณ ท่าม
กลางบริษัท ที่ราชิการาม ขณะแสดงธรรมทรงจามขึ้น.
ภิกษุทั้งหลายได้พากันส่งเสียงเอ็ดอึงว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า
จงทรงพระชนม์เถิด ขอพระสุคตเจ้าจงทรงพระชนม์เถิด. เพราะ
เสียงนั้นได้ทำให้การแสดงธรรมหยุดลง. ลำดับนั้นพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ
 
๕๗/๑๖๐/๒๘

วันพฤหัสบดี, กันยายน 07, 2566

Kwa

 
สาลทายกเถราปทานที่ ๙ (๑๓๙)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกรัง
[๑๔๑] เวลานั้น เราเป็นราชสีห์พญาเนื้อมีสกุล เราแสวงหา
ห้วง (บ่อ) น้ำบนเขา ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นนายก
ของโลก.
จึงดำริว่า พระมหาวีรเจ้าพระองค์นี้ ย่อมยังมหาชน
ให้ดับได้ ถ้าเช่นนั้น เราพึงเข้าไปเฝ้าพระองค์ผู้ประเสริฐ
กว่าเทวดา ผู้องอาจกว่านระเถิด.
เราจึงหักกิ่งรัง แล้วนำเอาดอกมาพร้อมด้วยกระออมน้ำ
(ใส่กระออมน้ำมา) เข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้ถวาย
ดอกรังอันงาม.
ในกัปที่ ๙ แต่กัปนี้ เราบูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด
ด้วยการบูชานั้นเราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวาย
ดอกไม้.
ในกัปที่ ๙ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓ ครั้ง
ทรงพระนามว่าวิโรจนะ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสาลทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบสาลทายกเถราปทาน
 
๗๑/๑๔๑/๔๗๒