วันพฤหัสบดี, กันยายน 14, 2566

Abat

 
บทว่า อเวหาสกุฏิยา มีความว่า ไม่เป็นอาบัติในศาลาใบไม้ที่เขา
สร้างไว้บนพื้นดินเป็นต้น . เพราะว่า ไม่อาจเพื่อจะทำความเบียดเบียนแก่คน
อื่นในกุฎีมีบรรณศาลาเป็นต้นนั้น .
บทว่า สีสฆฏฺฏาย มีความว่า กุฎีใดกระทบศีรษะได้, ไม่เป็นอาบัติ
ในกุฎีแม้นั้น. เพราะว่า ใคร ๆ ไม่ก้มตัวลงไม่อาจเพื่อจะเที่ยวไปในอาทิผิด ปราสาท
ชั้นล่าง (พื้นชั้นล่าง) ในกุฎีนั่นได้ ฉะนั้น จักไม่มีความเบียดเบียนแก่ผู้อื่น
เพราะไม่ใช่สถานที่สัญจร.
สามบทว่า เหฏฺฐา อปริโภคํ โหติ มีความว่า ภายใต้เป็นที่ใช้
สอยไม่ได้ เพราะเก็บทัพสัมภาระเป็นต้น . แม้ในกุฎีนั้นก็ไม่เป็นอาบัติ.
สองบทว่า ปทรสญฺจิตํ โหติ มีความว่า พื้นข้างบนกุฎีใดเขาปู
แน่นทึบด้วยแผ่นกระดานไม้ก็ดี ทำการบริกรรมด้วยปูนขาวเป็นต้น ก็ดี. แม้
ในกุฎีนั้นก็ไม่เป็นอาบัติอาทิผิด สระ.
ข้อว่า ปฏฺฏาณิ ทินฺนา โหติ มีความว่า ได้ตรึงสลักไว้ที่ปลาย
เท้าเตียงและตั่งเป็นต้น แม้เมื่อภิกษุนั่งบนเตียงและตั่งใด. (เท้าเตียง) ไม่ตก
ลงมา แม้ภิกษุผู้นั่งบนเตียงและตั่งเช่นนั้น ก็ไม่เป็นอาบัติ.
ข้อว่า ตสฺมึ ฐิโต มีความว่า ภิกษุยืนบนเตียงและตั่งที่มีเท้าเสียบ
(เข้าไว้ในตัวเตียงตั่ง) หยิบจีวรหรือวัตถุอะไร ๆ ที่แขวนไว้บนไม้ฟันมังกร
เป็นต้นข้างบน, หรือว่าจะแขวนวัตถุอื่น, ไม่เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุนั้น. บทที่
เหลือตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เกิดขึ้นทางกาย ๑ ทาง
กายกับจิต ๑ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม
มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.
เวหาสกุฎีสิกขาบทที่ ๘ จบ
 
๔/๓๙๖/๓๔๒

ไม่มีความคิดเห็น: