วันอาทิตย์, กันยายน 10, 2566

Khlat khluean

 
ของพวกเดียรถีย์บ้าง. ที่ชื่อว่า วิปริเยสัคคาหะ (การถือโดยวิปลาส) เพราะ
อรรถว่า เป็นการถือสภาวะที่ใคร่ครวญผิด หรือว่าเป็นการถือสภาวะโดย
ตรงกันข้าม อธิบายว่า ถือเอาคลาดอาทิผิด อักขระเคลื่อน.
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งอหิริกะและอโนตตัปปะต่อไป. บัณฑิต
พึงทราบเนื้อความแห่งอหิริกะและอโนตตัปปะโดยปริยายตรงกันข้ามในนิทเทส
แห่งหิริและโอตตัปปะ ก็บัณฑิต พึงทราบอหิริกพละและอโนตตัปปพละ
เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวในสหชาตธรรมทั้งหลายเท่านั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งโลภะและโมหะต่อไป
สภาวะที่ชื่อว่า โลภะ เพราะอรรถว่า อยากได้. อาการที่โลภ ชื่อว่า
ลุพภนา (กิริยาที่โลภ) จิตที่สัมปยุตด้วยโลภะ หรือบุคคลผู้ประกอบด้วย
ความโลภ ชื่อว่า ลุพภิตะ ภาวะแห่งจิตที่สัมปยุตด้วยโลภะหรือแห่งบุคคลผู้
ประกอบด้วยความโลภ ชื่อว่า ลุพภิตัตตะ (ความโลภ) ที่ชื่อว่า สาราคะ
(ความกำหนัด) เพราะย่อมกำหนัดนัก. อาการแห่งความกำหนัดนัก ชื่อว่า
สารัชชนา (กิริยาที่กำหนัดนัก). ภาวะแห่งจิตที่กำหนัดนักชื่อว่า สารัชชิ-
ตัตตะ (ความกำหนัด). ชื่อว่า อภิชฌา ด้วยอรรถว่าเพ่งเล็ง.
การณะ (เหตุ) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยศัพท์ว่าโลภะอีก เพราะ
โลภะนั้นเป็นอกุศลด้วย เป็นมูลด้วย จึงชื่อว่า อกุศลมูล อีกอย่างหนึ่ง
โลภะนั้นเป็นมูลของอกุศลทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อกุศลมูล.
สภาวะที่ชื่อว่า อัญญาณ (ความไม่รู้) เพราะปฏิปักษ์ต่อญาณ. ที่ชื่อว่า
อทัสสนะ (ความไม่เห็น) เพราะปฏิปักษ์ต่อความเห็น. ที่ชื่อว่า อนภิสมัย
(ความไม่ตรัสรู้) เพราะอรรถว่า เป็นสภาพเผชิญหน้าก็ไม่ตรัสรู้ตามธรรมได้
คือย่อมไม่ถึงโดยชอบ. ที่ชื่อว่า อนุโพธะ (ตรัสรู้โดยสมควร) เพราะอรรถว่า
 
๗๖/๓๑๐/๒๒

ไม่มีความคิดเห็น: