วันอังคาร, กันยายน 19, 2566

Mai

 
ในป่า ๒ ชนิดนั้น ป่าปลูก ได้แก่ป่าเวฬุวัน และป่าเชตวันเป็นต้น
ป่าเกิดเอง ได้แก่ป่าอันธวัน ป่ามหาวัน และป่าอัญชนวันเป็นต้น.
ป่าสุภควัน แม้นี้ พึงทราบว่า เป็นป่าเกิดเอง.
แม้ต้นรัง ในคำนี้ว่า สาลราชมูเล ท่านก็เรียกว่า ต้นสาละ.
สมดังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ป่าสาลวัน
ใหญ่ ไม่ไกลบ้านหรือนิคม และป่าสาลวันใหญ่นั้นก็ดาดาษไปด้วย
ต้นละหุ่ง และตรัสว่า ระหว่างนางรังทั้งคู่. แม้ต้นไม้โตที่สุด ท่านก็
เรียกว่า ต้นไม้เจ้าป่า. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ในภาคพื้นพระราชอุทยาน
ในแว่นแคว้นของพระองค์ มีต้นไม้ใหญ่หลายต้น
มีค่าคบตรง เขียวชอุ่ม น่ารื่นรมย์.
ถึงแม้ว่าต้นไม้ต้นใดต้นหนึ่ง ก็เรียกต้นไม้เจ้าป่าได้. สมดังที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล
เมล็ดเถาย่านทราย พึงหล่นไปที่โคนต้นไม้ต้นใดต้นหนึ่ง ดังนี้เป็นต้น.
แต่ในที่นี้ท่านประสงค์เอาต้นไม้อาทิผิด อาณัติกะใหญ่ที่สุด ชื่อว่า ต้นไม้อาทิผิด อาณัติกะเจ้าป่า.
อธิบาย ราช ศัพท์
ส่วน ราชศัพท์ แห่งบทว่า สาลราชมูเล นั้น ย่อมยังต้นไม้
นั้นนั่นเทียวให้สำเร็จความเป็นต้นไม้ใหญ่ที่สุด อย่างประโยคเป็นต้นว่า
ดูก่อนพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ก็. . .แห่งต้นไทรใหญ่ที่ยืนต้นอย่าง
มั่นคง แม้ในที่อื่น. ในคำว่า สาลราชมูเล นั้น แยกออกเป็นสมาส
๒ อย่าง (ฉัฏฐีตัปปุริสสมาสว่า) สาลานํ ราชา (ราชาแห่งต้นไม้
 
๑๗/๙/๓๖

ไม่มีความคิดเห็น: