วันอาทิตย์, กันยายน 03, 2566

Bot

 
ในยมกปาฏิหาริย์เปิดโลกเป็นต้น. บทว่า ญาณวรํ ได้แก่ พระสัพพัญญุต-
ญาณ หรือพระอสาธารณญาณทั้งหลาย. บทว่า วิมุตฺติปิ ได้แก่ แม้พระ-
อรหัตผลวิมุตติของพระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า อนูปมา ได้แก่ เว้นที่จะ
เปรียบได้. บทอาทิผิด อาณัติกะว่า อตุลเตชสฺส ได้แก่ ผู้มีพระเดชคือญาณอันชั่งมิได้.
ปาฐะว่าอตุลาณเตชา ดังนี้ก็มี. ปาฐะนั้น พึงเห็นว่าเชื่อมความกับบทหลัง
นี้ว่า ตโย อภิสมยา. บทว่า มหาตมปวาหนา ได้แก่ ยังโมหะใหญ่ให้
พินาศ อธิบายว่า กำจัดความมืดคือโมหะ.
สมัยต่อมา พระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมทรงให้สาลกุมารและอุปสาลกุมาร
พระกนิษฐภาดาของพระองค์บรรพชาในสมาคมพระประยูรญาติ พร้อมทั้ง
บริวาร เมื่อทรงแสดงธรรมโปรดชนเหล่านั้น ทรงยังสัตว์เก้าสิบโกฏิให้ดื่ม
อมตธรรม ก็ครั้งที่ทรงแสดงธรรมโปรดพระธัมมเถระ อภิสมัยก็ได้มีแก่สัตว์
แปดสิบโกฏิ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
อภิสมัยครั้งที่ ๑ พระพุทธเจ้าทรงยังสัตว์ร้อยโกฏิ
ให้ตรัสรู้ อภิสมัยครั้งที่ ๒ พระจอมปราชญ์ทรงยัง
สัตว์ให้ตรัสรู้เก้าสิบโกฏิ.
ครั้งที่พระปทุมพุทธเจ้า ทรงโอวาทพระโอรส
ของพระองค์ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดสิบ
โกฏิ.
ครั้งนั้น พระเจ้าสุภาวิตัตตะ มีราชบริพารแสนโกฏิ ทรงผนวช
ด้วยเอหิภิกขุบรรพชา ในสำนักของพระปทุมพุทธเจ้า ผู้มีพระพักตร์ดังดอก
ปทุมบาน. ในสันนิบาตนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑.
 
๗๓/๙/๔๓๒

ไม่มีความคิดเห็น: