วันศุกร์, กันยายน 22, 2566

Utthaka

 
ธรรมนั้นอย่างนี้. เราเช่นใดท่านก็เช่นนั้น ท่านเช่นใด เราก็เช่นนั้น อย่าง
นี้. มาเถิดท่าน เราทั้งสองอยู่ปกครองคณะนี้ด้วยกัน. อัคคิเวสสนะ อาฬาร
ดาบส กาลามโคตร เมื่อเป็นอาจารย์เรา ตั้งเราเป็นศิษย์ให้เสมอกับ
ตน ยังให้บูชาเราด้วยการบูชาที่ยิ่ง ดังนี้. อัคคิเวสสนะ เราได้ปริวิตกต่อ
ไปว่า ธรรมนี้ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อ
ดับ เพื่อสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เป็นไปเพื่อเพียงอุปบัติ
แห่งอากิญจัญญายตนะ เท่านั้นเอง. อัคคิเวสสนะ เราไม่พอใจธรรมนั้น
เบื่อจากธรรมนั้นหลีกไปเสีย.
[๔๑๒] อัคคิเวสสนะ ครั้นเราหลีกไปจากสำนักอาฬารดาบสกาลาม
โคตรแล้ว เป็นผู้แสวงหาอยู่ว่าสิ่งไรเป็นกุศล ค้นหาทางสงบอันประเสริฐ ไม่
มีสิ่งไรยิ่งกว่า ได้เข้าไปหา อุททกดาบสรามบุตร ได้กล่าวกะอุททกดาบส
รามบุตรว่า ท่านรามะ เราปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัย
นี้ด้วย อัคคิเวสสนะ ครั้นเรากล่าวอย่างนี้แล้ว อุททกดาบส รามบุตร
จึงกล่าวกะเราว่า เชิญอยู่เถิดท่านถ้าเป็นบุรุษรู้แจ้งในธรรมเช่นท่านไม่นาน
เลย คงรู้จริงแจ้งกะจิต เข้าไปหาอาจารย์ของตนแล้วแลอยู่ได้ อัคคิเวส
สนะ เรานั้น ได้เล่าเรียนธรรมนั้นได้ฉับไวแท้ไม่นานเลย. อัคคิเวสสนะ
เรานั้นแล กล่าวญาณวาทะ แลเถรวาทะด้วยอาการเผยริมฝีปากพูดเท่า
นั้น. อนึ่งเราปฏิญญาได้ว่า เรารู้ เราเห็น ดังนี้ ใช่แต่เราผู้เดียว ถึงพวกอื่น
ก็กล่าวแลปฏิญญาได้เหมือนกัน อัคคิเวสสนะ ความปริวิตกได้มีแก่เรา
ว่า อุททกดาบส รามบุตร ไม่ประกาศธรรมนี้เพียงศรัทธาว่า เรา
รู้ แจ้ง เข้าถึงที่เองแล้วแลอยู่ “อุททกอาทิผิด อักขระดาบส รามบุตร คงรู้เห็นอยู่แต่
เพียงธรรมนี้เท่านั้นเป็นแน่. อัคคิเวสสนะ เราจึงได้เข้าไปหาอุททก
ดาบส รามบุตร ได้กล่าวคำนี้กะอุททกดาบส รามบุตรว่า ท่านรามะ
 
๑๙/๔๑๒/๑๑๕

ไม่มีความคิดเห็น: