วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 30, 2566

Kai

 
๖. วิมุตติสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ
[๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้ ซึ่งเป็น
เหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวที่ยังไม่หลุดพ้น
ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรม
อันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ
เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะ
ครูบางรูปแสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรม
ในธรรมนั้นตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูแสดงแก่
เธอ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์
แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายอาทิผิด อักขระสงบแล้ว ย่อมได้
เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติ
ข้อที่ ๑ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว
ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป
หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม-
จารี ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ก็แต่ว่าภิกษุย่อม
แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เธอ
ย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ที่ภิกษุแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ
ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม
ย่อมเกิดปราโมทย์. . .เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น
เหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๒. . .
 
๓๖/๒๖/๔๐

วันพุธ, พฤศจิกายน 29, 2566

Mi

 
เสมอกัน มีอุโบสถเดียวกัน ด้วยนิมิตเหล่านั้น ชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
สีมาอันสงฆ์สมมติให้มีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกัน
แล้ว ด้วยนิมิตเหล่านั้น ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง
ความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

เรื่องสมมติสีมาใหญ่เกินขนาด
[๑๕๕] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงอนุญาตการสมมติสีมาแล้ว จึงสมมติสีมาใหญ่เกินถึง ๔ โยชน์บ้าง ๕ โยชน์
บ้าง ๖ โยชน์บ้าง ภิกษุทั้งหลายจะมาทำอุโบสถ ย่อมมาถึงต่อเมื่อกำลังสวด
ปาติโมกข์บ้าง มาถึงต่อเมื่อสวดจบบ้าง แรมคืนอยู่ในระหว่างทางบ้าง จึงพา
กันกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสมมติสีมาใหญ่เกินถึง ๔ โยชน์
หรือ ๖ โยชน์ รูปใดสมมติ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติสีมามีประมาณ ๓ โยชน์
เป็นอย่างยิ่ง.

เรื่องสมมติสีมาคร่อมแม่น้ำ
[๑๕๖] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์สมมติสีมาคร่อมแม่น้ำ ภิกษุ
ทั้งหลายจะมาทำอุโบสถ ถูกน้ำพัดไปก็มี บาตรถูกน้ำพัดไปก็มี จีวรถูกน้ำพัด
ไปก็มี จึงพากันกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีอาทิผิด อักขระพระภาคเจ้า
รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสมมติสีมาคร่อม
แม่น้ำ รูปใดสมมติ ต้องอาบัติทุกกฏ.
 
๖/๑๕๖/๓๙๖

วันอังคาร, พฤศจิกายน 28, 2566

Phakhawato

 
จริงอย่างนั้น เอวํ ศัพท์นี้ ที่มาในความเปรียบเทียบ เช่น ในประ-
โยคมีอาทิว่า เอวํ ชาเตน มจฺเจน กตฺตพฺพํ กุสลํ พหุํ สัตว์เกิด
มาแล้วควรบำเพ็ญกุศลให้มาก ฉันนั้น.
ที่มาในความแนะนำ เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอวํ เต อภิกฺกมิ-
ตพฺพํ เอวํ ปฏิกฺกมิตพฺพํ เธอพึงก้าวไปอย่างนี้ พึงถอยกลับอย่างนี้.
ที่มาในความยกย่อง เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอวเมตํ ภควา
เอวเมตํ สุคต ข้อนั้นเป็นอย่างนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนั้นเป็นอย่างนี้
พระสุคต.
ที่มาในความติเตียน เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอวเมวํ ปนายํ
วสลี ยสฺมึ วา ตสฺมิํ วา ตสฺส มุณฺฑกสฺส สมณกสฺส วณฺณํ ภาสติ
ก็หญิงถ่อยนี้ กล่าวสรรเสริญสมณะโล้นนั้น อย่างนี้อย่างนี้ ทุกหนทุกแห่ง.
ที่มาในความรับคำ เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอวํ ภนฺเตติ โข
เต ภิกฺขู ภควโตอาทิผิด อักขระ ปจฺจสฺโสสุํ ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ที่มาในอาการะ เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอวํ พฺยาโข อหํ ภนฺเต
ภควตา ธมฺมํ เทสิตํ อาชานามิ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่ว
ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วอย่างนี้จริง.
ที่มาในความชี้แจง เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอหิ ตฺวํ มาณวก
เยน สมโณ อานนฺโท เตนุปสงฺกม อุปสงฺกมิตฺวา มม วจเนน สมณํ
อานนฺทํ อปฺปาพาธํ อปฺปาตงฺกํ ลหุฏฺฐานํ พลํ ผาสุวิหารํ ปุจฺฉ
สุโภ มาณโว โตเทยฺยปุตฺโต ภวนฺตํ อานนฺทํ อปฺปาพาธํ อปฺปาตงฺกํ
ลหุฏฺฐานํ พลํ ผาสุวิหารํ ปุจฺฉตีติ เอวญฺจ วเทหิ สาธุ กิร ภวํ
 
๑๑/๙๐/๑๑๑

วันจันทร์, พฤศจิกายน 27, 2566

Phongphaeo

 
เถรคาถา ทุกนิบาต วรรคที่ ๔
๑. มิคสิรเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระมิคสิรเถระ
[๒๘๘] ได้ยินว่า พระมิคสิรเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เมื่อใด เราได้บวชในศาสนาของพระสัมมาสัม-
พุทธเจ้าแล้ว หลุดพ้นจากกิเลส ได้บรรลุธรรมอัน
ผ่องแผ้วอาทิผิด อาณัติกะแล้ว ล่วงเสียซึ่งกามธาตุ เมื่อนั้น จิตของเรา
ผู้เพ่งธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นดังพรหม
หลุดพ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง และมารู้ชัดว่า วิมุตติ
ของเราไม่กำเริบ เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์
ทั้งปวง.

วรรควรรณนาที่ ๔
อรรถกถามิคสิรเถรคาถา
คาถาของท่านพระมิคสิรเถระ เริ่มต้นว่า ยโต อหํ ปพฺพชิโต.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้า
องค์ก่อน ๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกาลของ
 
๕๑/๒๘๘/๑๔๘

วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 26, 2566

Mai

 
ข้างหน้า ได้แก่กระทำไว้เบื้องหน้า. บทว่า เย จ กาเม ปริญฺญาย ความว่า
ชนเหล่าใดเป็นบัณฑิตกำหนดรู้กามแม้ทั้งสองอย่าง ด้วยปริญญา ๓. บทว่า
จรนฺติ อกุโตภยา ความว่า ขึ้นชื่อว่าความมีภัยแต่ที่ไหน ๆ ไม่มีแก่พระ-
ขีณาสพทั้งหลาย เพราะฉะนั้น พระขีณาสพเหล่านั้น จึงหาภัยมิได้แต่ที่ไหนๆ
เที่ยวไป. บทว่า ปารคตา ความว่า นิพพานท่านเรียกว่าฝั่ง. อธิบายว่า
เข้าถึงนิพพานนั้น คือการทำให้แจ้งแล้วดำรงอยู่. บทว่า อาสวกฺขยํ ได้แก่
พระอรหัต. ในสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวัฏฏะเท่านั้น ในคาถาทั้งหลาย
ตรัสทั้งวัฏฏะและวิวัฏฏะ.
จบอรรถกถามาตุปุตติกสูตรที่ ๕
๖. อุปัชฌายสูตร
ว่าด้วยผู้ที่นิวรณ์ครอบงำจิตไม่ได้
[๕๖] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหาอุปัชฌาย์ของตนถึงที่อยู่
ครั้นแล้ว ได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บัดนี้ กายของผมหนักขึ้น ทิศ-
ทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่ผม ธรรมทั้งหลายย่อมไม่แจ่มแจ้งแก่ผม ถีนมิทธะ
ย่อมครอบงำจิตของผม ผมไม่อาทิผิด ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และผมมีความสงสัย
ในธรรมทั้งหลาย ครั้งนั้น ภิกษุนั้นพาภิกษุสัทธิวิหาริกนั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้าถึงที่ประทับถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้กล่าวอย่างนี้ว่า บัดนี้ กายของผม
หนักขึ้น ทิศทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่ผม ธรรมทั้งหลายย่อมไม่แจ่มแจ้ง
 
๓๖/๕๖/๑๓๕

วันเสาร์, พฤศจิกายน 25, 2566

Chuea sai

 
ก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์
นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ทุก ๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่มีความเห็นใน
อาบัติสังฆาทิเสสว่า เป็นอาบัติทุกกฏ ถ้าสั่งให้โจทด้วยอาบัติปาราชิกว่า
ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา
ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็น
ส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ทุก ๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่มีความเห็นใน
อาบัติสังฆาทิเสสว่า เป็นอาบัติทุพภาสิต ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติ
ปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถ
ก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้น
ย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ทุก ๆ คำพูด.
สั่งให้โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย
[๕๘๘] ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย มีความเห็นใน
อาบัติถุลลัจจัยว่า เป็นอาบัติถุลลัจจัย ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า
ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายอาทิผิด สระพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา
ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็น
ส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ทุก ๆ คำพูด
 
๓/๕๘๘/๕๔๓

วันศุกร์, พฤศจิกายน 24, 2566

Mue

 
นางธรรมทินนาแง้มหน้าต่างพลางมองไปที่ถนนเห็นเหตุการณ์ใน
การมาของเขาแล้วก็คิดว่า “นี่อะไรกันหนอ” เมื่อยืนที่หัวบันไดทำการต้อน
รับเขาพลางก็เหยียดมืออาทิผิด สระยื่นออกไป. อุบาสกกลับหดมือของตนเสีย. นางคิด
ว่า “เราจงรู้ในเวลารับประทานอาหารมื้อเช้า”. แต่ก่อนอุบาสกย่อมรับ
ประทานพร้อมกันกับนาง แต่วันนั้น ไม่ยอมมองนาง ทำราวกะว่าโยคาวจร
ภิกษุ รับประทานคนเดียวเท่านั้น. นางคิดว่า “เวลานอนเราจะรู้” อุบาสก
ไม่ยอมเข้าห้องพระศรีนั้น, สั่งให้จัดห้องอื่นให้ตั้งเตียงน้อยที่สมควรแล้วนอน.
อุบาสิกามาคิดว่า “อะไรกันหนอ เขามีความปรารถนาข้าง
นอก หรือคงถูกผู้ชอบยุแหย่คนใดคนหนึ่ง ยุให้แตก ? หรือว่า เรานี่แหละ
มีความผิดอะไรๆ” แล้วก็เกิดเสียใจอย่างแรง ตัดสินใจว่า “ตลอดเวลาวัน
สองวันที่เขาอยู่นี่แหละ จะต้องรู้ให้จนได้” แล้วจึงไปสู่ที่บำรุงเขาไหว้แล้วก็ยืน
อยู่. อุบาสกถามว่า “ธรรมทินนา ทำไมจึงมาผิดเวลาล่ะ”
ธรรม. “ค่ะ ลูกเจ้า. ดิฉันมา, ท่านไม่เหมือนคนเก่า, ขอถามหน่อย
เถิดค่ะว่า ท่านมีความปรารถนาภายนอกหรือคะ?”
อุ. “ไม่มีหรอก ธรรมทินนา.”
ธรรม. “มีใครอื่นเป็นคนยุแหย่หรือคะ”
อุ. “แม้นี้ก็ไม่มี”
ธรรม. "เมื่อเป็นเช่นนั้น ตัวดิฉันเองคงจะมีความผิดไรๆ หรือคะ?"
อุ. “ถึงเธอเอง ก็ไม่มีความผิด”
ธรรม. “แล้วทำไมท่านจึงไม่ทำแม้เพียงการพูดจาปราศรัยตามปกติ
กับดิฉันเล่าคะ”
เขาคิดว่า “ชื่อว่าโลกุตตรธรรมนี้เป็นภาระหนัก ไม่พึงเปิดเผย แต่ถ้า
แลเราไม่บอก, ธรรมทินนานี้จะพึงหัวใจแตกตายในที่นี้เอง” เพื่ออนุเคราะห์
 
๑๙/๕๑๓/๓๓๕

วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 23, 2566

Khanthaka

 
พุทธานุญาตเครื่องโลหะเป็นต้น
[๑๙๖] สมัยต่อมา เมื่อท่านพระอุรุเวลกัสสปบวชแล้ว เครื่องโลหะ
เครื่องไม้ เครื่องดิน บังเกิดแก่สงฆ์เป็นอันมาก ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายคิด
ว่า เครื่องโลหะชนิดไหน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต ชนิดไหนไม่ทรง
อนุญาต เครื่องไม้ชนิดไหน ทรงอนุญาต ชนิดไหนไม่ทรงอนุญาต เครื่อง
ดินชนิดไหน ทรงอนุญาต ชนิดไหน ไม่ทรงอนุญาต จึงกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้า-
มูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตเครื่องโลหะทุกชนิด เว้นเครื่องประหาร อนุญาตเครื่อง
ไม้ทุกชนิด เว้นเก้าอี้นอนมีแคร่ บัลลังก์ บาตรไม้และเขียงไม้ อนุญาตเครื่อง
ดินทุกชนิด เว้นเครื่องเช็ดเท้าและกุฎีที่ทำด้วยดินเผา.
ขุททกวัตถุขันธกะที่ ๕ จบ
หัวข้อประจำขันธกะอาทิผิด อักขระ
[๑๙๗] ๑. เรื่องขัดสีกายที่ต้นไม้ ๒. ขัดสีกายที่เสา ๓. ขัดสีกายที่ฝา
๔. อาบน้ำในที่ไม่ควร ๕. อาบน้ำขัดสีกายด้วยมือทำด้วยไม้ ๖. ขัดสีกายด้วย
จุณหินสีดังพลอยแดง ๗. ผลัดกันถูตัว ๘. อาบน้ำถูด้วยไม้บังเวียน ๙. ภิกษุ
เป็นหิด ๑๐. ภิกษุชรา ๑๑. ถูหลังด้วยฝ่ามือ ๑๒. เครื่องตุ้มหู ๑๓. สังวาล
๑๔. สร้อยคอ ๑๕. เครื่องประดับเอว ๑๖. ทรงวลัย ๑๗. ทรงสร้อยตาบ
๑๘. ทรงเครื่องประดับข้อมือ ๑๙. ทรงแหวนประดับนิ้วมือ ๒๐. ไว้ผมยาว
๒๑. เสยผมด้วยแปรง ๒๒ . เสยผมด้วยมือ ๒๓. เสยผมด้วยน้ำมันผสมขี้ผึ้ง
 
๙/๑๙๖/๗๓

วันพุธ, พฤศจิกายน 22, 2566

Du

 
ทั้งหลาย ก็อะไรไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย ดูอาทิผิด ก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปไม่ใช่
ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นอันเธอทั้งหลาย
ละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละ
วิญญาณนั้นเสีย วิญญาณนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข ดูอาทิผิด ก่อนก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นอันเธอทั้งหลายละได้
แล้วจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข.
จบ นตุมหากสูตรที่ ๒

อรรถกถานตุมหากสูตรที่ ๒

นตุมหากสูตรที่ ๒ เว้นผู้ทำการตรัสรู้ด้วยอุปมา ก็ตรัสตามอัธยาศัย.
จบ อรรถกถานตุมหากสูตรที่ ๒

๓. ภิกขุสูตรที่ ๑

ว่าด้วยเหตุได้ชื่อว่าเป็นผู้กำหนัดขัดเคืองและลุ่มหลง

[๗๔] กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ขอประทานวโรกาส พระเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรม
แก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ฟังแล้ว พึงเป็นผู้ผู้เดียวหลีกออก
จากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจมั่นคงอยู่เถิด.
 
๒๗/๗๔/๗๓

วันอังคาร, พฤศจิกายน 21, 2566

Wa

 
น้ำรองแผ่นดินหนาถึง ๔๘๐,๐๐๐
โยชน์ (สี่แสนแปดหมื่นโยชน์) ตั้งอยู่บนลม.
แม้น้ำนั้นแหละก็มีลมรองอยู่ (ดังคาถาว่า)
นว สตสหสฺสานิ มาลุโต นภมุคฺคโต
สฏฺฐิญฺเจว สหสฺสานิ เอสา โลกสฺส สณฺฐิติ
ลมสูงขึ้นสู่ท้องนภาถึง ๙๖๐,๐๐๐
โยชน์ (เก้าแสนหกหมื่นโยชน์) นี้เป็นการตั้ง
อยู่ของโลก.
ก็เมื่อโลกตั้งอยู่อย่างนี้
มีขุนเขาสิเนรุราช หยั่งลึกลงไปใน
มหาสมุทรถึง ๘๔,๐๐๐ โยชน์ (แปดหมื่น
สี่พันโยชน์) สูงขึ้นจากมหาสมุทรได้
๘๔,๐๐๐ โยชน์ เหมือนกัน.
มีภูเขาใหญ่ล้วนด้วยศีลาเป็นแท่งทึบ
๗ เทือก เหล่านี้ คือ ภูเขาชื่อว่าอาทิผิด อาณัติกะยุคันธร
ภูเขาอิสินธร ภูเขากรวิก ภูเขาสุทัสสนะ
ภูเขาเนมินธร ภูเขาวินตกะ ภูเขาอัสสกรรณ
ล้วนวิจิตรด้วยรัตนะต่าง ๆ อันเป็นทิพย์
หยั่งลงในมหาสมุทร และสูงขึ้นจากมหา-
สมุทรประมาณกึ่งหนึ่ง ๆ โดยประมาณที่
กล่าวไว้ทั้งข้างบนข้างล่าง โดยรอบขุนเขา
 
๗๖/๕๑๓/๑๘๑

วันจันทร์, พฤศจิกายน 20, 2566

Sakot

 
เป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้จับสลากได้ที่ ๑ จึงการทำกุศลกรรมแด่
พระพุทธเจ้าปรารถนาตำแหน่งนั้น ผู้อันพระศาสดาทรงเห็นว่าหา
อันตรายมิได้จึงพยากรณ์แล้วบำเพ็ญกุศลตลอดชีพ เวียนว่ายอยู่ใน
เทวดาและมนุษย์ ครั้งพระกัสสปพุทธเจ้าก็บังเกิดเป็นภุมมเทวดา.
ก็ธรรมดาว่าพระพุทธเจ้าผู้มีพระชนมายุยืน มิได้ทำอุโบสถ
ทุกกึ่งเดือน. คือพระวิปัสสีทศพลในระหว่าง ๖ ปี จึงมีอุโบสถ
ครั้งหนึ่ง ส่วนพระกัสสปทศพลทรงให้สวดพระปาฏิโมกข์ทุก ๆ
๖ เดือน ในวันสวดปาฏิโมกข์นั้น ภิกษุ ๒ รูปผู้อยู่ในทิศมาด้วย
จงใจว่า จะกระทำอุโบสถ. ภุมมเทวดานี้คิดว่าความมีไมตรีของ
ภิกษุ ๒ รูปนี้มั่นคงเหลือเกิน เมื่อมีคนทำให้แตกแยกกัน ท่าน
จะแตกกันหรือไม่แตกกันหนอ จึงคอยหาโอกาสของภิกษุทั้งสองนั้น
เดินไปใกล้ ๆ ภิกษุทั้งสองนั้น. ครั้งนั้นพระเถระรูปหนึ่งฝากบาตร
และจีวรไว้กับพระเถระอีกรูปหนึ่ง ไปยังที่ มีความผาสุกด้วยน้ำ
เพื่อชำระล้างสรีระ ครั้งล้างมือล้างเท้าแล้วก็ออกมาจากร่มไม้
ที่ถูกใจ. ภุมมเทวดาแปลงเป็นหญิงมีรูปร่างงามอยู่ข้างหลังพระเถระ
นั้น จึงทำให้เสมือนผมยุ่งแล้วจัดผมเสียใหม่ ทำเป็นปัดฝุ่นข้างหลัง
แล้วจัดผ้านุ่งเสียใหม่ เดินสะกดอาทิผิด สระรอยพระเถระออกจากพุ่มไม้มายืนอยู่
ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง, พระเถระผู้เป็นสหายเห็นเหตุการณ์นี้จึงเกิด
ความโทมนัสคิดว่า ความเยื่อใยที่ติดตามกันมาเป็นเวลานานกับภิกษุนี้
ของเรามาฉิบหายเสียแล้วในบัดนี้ ถ้าหากเรารู้เช่นเห็นชาติอย่างนี้
เราจะไม่ทำความคุ้นเคยกับภิกษุนี้ให้เนิ่นนานถึงเพียงนี้. พอพระเถระ
นั้นมาถึงเท่านั้นก็พูดว่า เชิญเถอะอาวุโส นี่บาตรจีวรของท่าน
เราไม่เดินทางเดียวกันกับสหายเช่นท่าน. ครั้นได้ฟังถ้อยคำนั้น
 
๓๒/๑๔๘/๔๐๗

วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 19, 2566

Krok

 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาสมุทรลาดลุ่มลึกลงไปตามลำดับ ไม่โกรก
ชันเหมือนเหว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรลาดลุ่มลึกลงไปตาม
ลำดับ ไม่โกรกอาทิผิด อักขระชันเหมือนเหว นี้เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา
ประการที่ ๑ มีอยู่ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรเห็นแล้ว ๆ พากันยินดีอยู่ใน
มหาสมุทร.
อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรเต็มเปี่ยมอยู่เสมอ ไม่ล้นฝั่ง นี้ก็เป็น
ธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ ๒...
อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรย่อมไม่เกลื่อนกล่นด้วยซากศพ เพราะ
คลื่นย่อมซัดเอาซากศพเข้าหาฝั่งให้ขึ้นบก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่
มหาสมุทรไม่เกลื่อนกล่นด้วยซากศพ เพราะคลื่นย่อมซัดเอาซากศพเข้าหา
ฝั่งให้ขึ้นบก นี้ก็เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ ๓...
อีกประการหนึ่ง แม่น้ำสายใหญ่ ๆ คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี
สรภู มหี แม่น้ำเหล่านั้นไหลไปถึงมหาสมุทรแล้ว ย่อมละชื่อและโคตร
เดิมหมด ถึงการนับว่ามหาสมุทรนั่นเอง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่
แม่น้ำสายใหญ่ ๆ คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี แม่น้ำเหล่า
นั้นไหลไปถึงมหาสมุทรแล้ว ย่อมละชื่อและโคตรเดิมหมด ถึงการนับว่า
มหาสมุทรนั่นเอง นี้ก็เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการ
ที่ ๔. . .
อีกประการหนึ่ง แม่น้ำทุกสายในโลกย่อมไหลไปรวมลงในมหา-
สมุทร และสายฝนก็ตกลงสู่มหาสมุทร มหาสมุทรก็มิได้ปรากฏว่าจะพร่อง
หรือเต็มเพราะน้ำนั้น ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่แม่น้ำทุกสายในโลก
ไหลไปรวมลงในมหาสมุทร และสายฝนก็ตกลงสู่มหาสมุทร แต่มหาสมุทร
 
๔๔/๑๑๗/๕๒๔

วันเสาร์, พฤศจิกายน 18, 2566

Ha

 
๔. พระพุทธเจ้าข้า ในอวันตีทักขิณาบถ มีหนังเครื่องลาด คือ หนัง
แกะ หนังแพะ หนังมฤค ในมัชฌิมชนบท มีหญ้าตีนกา หญ้าหางนกยูง
หญ้าหนวดแมว หญ้าหางช้าง แม้ฉันใด ในอวันตีทักขิณาบถก็มีหนังเครื่อง
ลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ หนังมฤค ฉันนั้น เหมือนกันแล ถ้ากระไร
เฉพาะในอวันตีทักขิณาบถ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตหนังเครื่องลาด
คือ หนังแกะ หนังแพะ หนังมฤค.
๕.อาทิผิด อาณัติกะ พระพุทธเจ้า เดี๋ยวนี้คนทั้งหลายฝากถวายจีวรเพื่อหมู่ภิกษุผู้อยู่
นอกสีมา ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายขอถวายจีวรผืนนี้ แก่ท่านผู้มีชื่อนี้ ดังนี้
ภิกษุผู้รับฝากมาบอกว่า อาวุโส คนทั้งหลายมีชื่อนี้ ถวายจีวรแก่ท่านแล้ว พวก
ภิกษุผู้รับคำบอกเล่า รังเกียจไม่ยินดีรับ ด้วยคิดว่า พวกเราไม่ต้องการของ
เป็นนิสสัคคีย์ ถ้ากระไร ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงตรัสชี้แจงในเรื่องจีวร.

พระโสณเถระเข้าเฝ้า
ท่านพระโสณะรับคำของท่านพระมหากัจจานะแล้วลุกจากอาสนะ อภิ-
วาทท่านพระมหากัจจานะทำประทักษิณแล้วเก็บเสนาสนะ ถือบาตรจีวรเดินไป
ทางที่จะไปพระนครสาวัตถี ถึงพระนครสาวัตถี พระวิหารเชตวันอารามของ
อนาถบิณฑิกคหบดี โดยลำดับ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวายบังคมแล้ว
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อน
อานนท์ เธอจงจัดเสนาสนะต้อนรับภิกษุอาคันตุกะรูปนี้ ท่านพระอานนท์จึง
คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระบัญชาใช้เราเพื่อภิกษุรูปใดว่า ดูก่อนอานนท์
เธอจงจัดเสนาสนะต้อนรับภิกษุอาคันตุกะรูปนี้ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อม
ปรารถนาจะประทับอยู่ในพระวิหารแห่งเดียวกับภิกษุรูปนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
 
๗/๒๐/๓๔

วันศุกร์, พฤศจิกายน 17, 2566

Suk

 
สัจจะ ๒ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
ก็มี.
นิโรจสัจ กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา หรือสัมปยุตด้วย
ทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา.
ทุกขสัจ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา หรือ
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี.
อินทรีย์ ๑๒ กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา หรือสัมปยุต
ด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา.
อินทรีย์ ๖ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
ก็มี.
อินทรีย์ ๓ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี.
ชีวิตินทรีย์ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนาหรือ
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี.
โทสะที่เป็นอกุศลเหตุ สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา.
เหตุ ๗ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี.
โมหะที่เป็นอกุศลเหตุ สัมปยุตด้วยสุขอาทิผิด อักขระเวทนาก็มี สัมปยุตด้วย
ทุกขเวทนาก็มี สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี.
กพฬิงการาหาร กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา หรือสัมปยุต
ด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา.
 
๗๘/๑๑๑๓/๑๐๑๗

วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 16, 2566

Pratthana

 
ย่อมเป็นไป เพื่อนิพพิทาโดยส่วนเดียว เพื่อสำรอกกิเลส เพื่อดับกิเลส เพื่อ
ความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน คือ อัปปิจฉกถา
สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสัคคกถา วิริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา
ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา ภิกษุเป็นผู้ได้ตามความปรารถนาอาทิผิด อักขระ
ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งกถาเห็นปานนั้น เพราะผู้มีปกติได้กถาที่มี
การขัดเกลาเท่านั้นจึงควรกล่าวธรรมนั้น. ด้วยคำว่า ภาสมาโน ธมฺมํเยว
ภาเสยฺย นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึง การถึงพร้อมด้วยกัลยาณมิตร.
บทว่า ธมฺมวิตกฺกํ ความว่า เมื่อภิกษุวิตกถึงเนกขัมมวิตกเป็นต้น
ที่ไม่ปราศไปจากธรรมอยู่ อุตสาหะจักเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยคิดว่า เราจัก
บำเพ็ญปฏิปทามีศีลเป็นต้นให้บริบูรณ์. แต่วิตกนั้น พึงทราบว่ามีมากประเภท
เพราะเป็นไปด้วยสามารถแห่งการเว้นธรรมที่เป็นอุปการะ แล้วเพิ่มพูนธรรม
ที่เป็นอุปการะแก่ศีลเป็นต้น (และ) ด้วยสามารถแห่งการนำความที่ธรรม
เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อมออกไป แต่ไม่ตั้งอยู่แม้ในความเป็นธรรมที่เป็น
ไปในส่วนแห่งความมั่นคงแล้ว ยังความเป็นธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งคุณพิเศษ
และความเป็นธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งความเบื่อหน่าย ให้ถึงพร้อม. บทว่า
โน อธมฺมวิตกฺกํ มีความว่า ไม่พึงตรึกถึงกามวิตก.
บทว่า ตทุภยํ วา ปน ความว่า ภิกษุเว้นการพูดธรรม เพื่ออนุ-
เคราะห์ชนเหล่าอื่น และการตรึกธรรมเพื่ออนุเคราะห์ตนนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้แล้ว ก็อีกอย่างหนึ่ง เว้นขาด คือ ไม่ปฏิบัติ ได้แก่ ไม่ทำทั้งสอง
อย่างนั้น. บทว่า อุเปกฺขโก ความว่า เป็นกลางในข้อปฏิบัติอย่างนั้น
 
๔๕/๒๖๕/๕๓๒

วันพุธ, พฤศจิกายน 15, 2566

Samabat

 
ปัจจุปปันนานาคตวาระ ปัจจนิก
ปุคคลวาระ
กายสังขารมูล
กายสังขารมูละ วจีสังขารมูลี :-
[๑๒๑๑] กายสังขารไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลใด วจีสังขาร
ก็ไม่ใช่จักดับแก่บุคคลนั้น ใช่ไหม ?
ในภังคขณะแห่งจิตของบุคคลเหล่านั้นทั้งหมด เว้นลมอัสสาสะ
ปัสสาสะเสียแล้ว ในอุปปาทขณะแห่งจิตก็ดี บุคคลที่กำลังเข้านิโรธ-
สมาบัติอาทิผิด สระอยู่ก็ดี บุคคลที่เกิดอยู่ในอสัญญสัตตภูมิก็ดี กายสังขารไม่ใช่
กำลังเกิดแก่บุคคลเหล่านั้น แต่วจีสังขารจักดับแก่บุคคลเหล่านั้น, ใน
ภังคขณะแห่งปัจฉิมจิตที่มีวิตกและมีวิจารก็ดี บุคคลที่ถึงพร้อมด้วยปริ-
นิพพานจิตที่ไม่มีวิตกและไม่มีวิจารก็ดี ปัจฉิมจิตที่ไม่มีวิตกและไม่มี
วิจาร จักเกิดในลำดับแห่งจิตใดก็ดี กายสังขารไม่ใช่กำลังเกิด และ
วจีสังขารก็ไม่ใช่จักดับแก่บุคคลเหล่านั้น.
ก็หรือว่า วจีสังขารไม่ใช่จักดับแก่บุคคลใด, กายสังขารก็ไม่ใช่
กำลังเกิดแก่บุคคลนั้น ใช่ไหม ?
ใช่.
จบ กายสังขารมูละ วจีสังขารมูลี
 
๘๒/๑๒๑๑/๑๒๔๙

วันอังคาร, พฤศจิกายน 14, 2566

Fanfuea

 
บทว่า คจฺฉตุ วา มีความว่า จะเป็นสำนัก หรือทางเที่ยวภิกษาจาร
ก็ตามที ภิกษุณีเดินไปยังสำนักงานของพวกตุลาการจากที่ที่ตนยืนอยู่ แล้วเกิด
ความคิดขึ้นว่า เราจักดำเนินคดี เป็นทุกกฏทุก ๆ ย่างเท้า.
สองบทว่า เอกสฺส อาโรเจติ มีความว่า บรรดาชน ๒ คน คนใด
คนหนึ่ง แจ้งถ้อยคำของคนใดคนหนึ่ง คือ ของอีกฝ่ายหนึ่ง แก่พวกตุลาการ
แม้ในคำว่า ทุติยสฺส อาโรเจติ นี้ ก็นัยนี้นั่นแล.
ส่วนวิตถารกถา เพื่อประโยชน์แก่ความไม่ฟั่นเฝืออาทิผิด อาณัติกะ ในคำว่า เอกสฺส
อาโรเจติ นี้ ดังต่อไปนี้ :-
ภิกษุณีเห็นพวกตุลาการ ในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง โดยที่สุด แม้ผู้มาสู่
สำนักแห่งภิกษุณีแล้วให้การถ้อยคำของตน เป็นทุกกฏแก่ภิกษุณี. อุบาสกให้
การถ้อยคำของตน เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุณี. อุบาสกให้การถ้อยคำของตนก่อน
เป็นทุกกฏแก่ภิกษุณี. ถ้าภิกษุณีนั้นให้การถ้อยคำของตน ภิกษุณีเป็นถุลลัจจัย.
ภิกษุณีพูดกะอุบาสกว่า ท่านนั้นแหละจงแถลงถ้อยคำ (จงให้การปาก
คำ) ของฉันและของท่าน. อุบาสกนั้นให้การถ้อยคำของตนก่อน หรือจงให้
ถ้อยคำของภิกษุณีก่อนก็ตามที เป็นทุกกฏในเพราะให้การครั้งแรก เป็นถุลลัจจัย
ในเพราะให้การครั้งที่ ๒. แม้ในคำว่า อุบาสกพูดกะภิกษุณีว่า ท่านนั่นแหละ
จงให้การถ้อยคำของผมและของท่าน นี้ ก็นัยนี้เหมือนกัน.
ภิกษุณีใช้กัปปิยการกให้แถลง. บรรดากัปปิยการกและอุบาสกนั้น
กัปปิยการกจงให้การถ้อยคำของภิกษุณีก่อนก็ตาม อุบาสกนอกนี้ให้การถ้อยคำ
ของตนก่อนก็ตาม กัปปิยการกจงให้การถ้อยคำของคนทั้ง ๒ ก็ตาม อุบาสก
นอกนี้จงให้การถ้อยคำแม้ของคนทั้ง ๒ ก็ตามที เมื่อชนทั้ง ๒ แถลงบอกอยู่
โดยประการใดประการหนึ่ง เป็นทุกกฏแก่ภิกษุณีผู้แถลงให้การครั้งแรก เป็น
ถุลลัจจัยในการแถลงให้การครั้งที่ ๒.
 
๕/๓๔/๔๔

วันจันทร์, พฤศจิกายน 13, 2566

Sang

 
ไม่เหมาะ แม้สามีดิฉันพูดอย่างนี้ ดิฉันยังไม่ปรารถนา ก็นี่ประโยชน์
อะไรด้วยท่านพระอุทายี
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย
มีความรังเกียจผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน
ท่านพระอุทายีจึงได้พูดเคาะมาตุคาม ด้วยวาจาอันชั่วหยาบเล่า แล้ว
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งอาทิผิด สระให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ
เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วตรัสสอบถามท่าน
พระอุทายีว่า ดูก่อนอุทายี ข่าวว่าเธอพูดเคาะมาตุคาม ด้วยวาจา
อันชั่วหยาบ จริงหรือ
ท่านพระอุทายีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำ
ของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ
ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนเธอจึงได้พูดเคาะมาตุคาม ด้วยวาจา
อันชั่วหยาบเล่า
ดูก่อนโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยายเพื่อ
คลายความกำหนัด ไม่ใช่เพื่อความกำหนัด เพื่อความพราก ไม่ใช่
เพื่อความประกอบ เพื่อความไม่ถือมั่น ไม่ใช่เพื่อมีความถือมั่น
มิใช่หรือ เมื่อธรรมชื่อนั้น อันเราแสดงแล้ว เพื่อคลายความกำหนัด
เธอยังจักคิดมีเพื่อมีความกำหนัด เราแสดงเพื่อความพราก เธอยังจัก
 
๓/๓๙๗/๑๘๒

วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 12, 2566

Thi

 
ไปอย่างนี้ว่า มนุษย์ทั้งหลายในชนบทของพวกเรา มีศรัทธา มีความเลื่อมใส
ถึงความสิ้นไป ถึงความเสื่อมไปแล้ว ดังนี้ ย่อมไม่ชื่อว่า ความตรึกถึง
ชนบท.
ความตรึกเพื่อความต้องการไม่ให้ตาย หรือว่าความตรึกอันไม่ตาย
ชื่อว่า อมรวิตก ความตรึกอันไม่ตายตัว. ในข้อนั้น ความตรึกอันเกี่ยวด้วย
ความพอใจในการทำสิ่งที่อาทิผิด อาณัติกะทำได้โดยยากของผู้ทำทุกรกิริยาโดยตรึกว่า เมื่อความ
ทุกข์เกิดขึ้นด้วยความเพียรมีการนั่งกระโหย่งเป็นต้น ซึ่งทำจนหมดแรงแล้ว
อัตตา ย่อมเกิดเป็นสุข ย่อมไม่ตายในภพเบื้องหน้า ดังนี้ ชื่อว่า ความตรึก
เพื่อความต้องการไม่ตายตัว. ก็บุคคลผู้มีทิฏฐิอย่างนั้น ถูกผู้อื่นถามปัญหา
ว่า ท่านย่อมกล่าวว่า อัตตาและโลกเที่ยงเป็นต้น ท่านก็จะกล่าววาจาดิ้นได้
ไม่ตายตัวว่า สิ่งนี้ย่อมปรากฏแก่เราว่า.
เอวนฺติปิ เม โน แปลว่า แม้อย่างนี้ ก็ไม่ใช่
ตถาติปิ เม โน แปลว่า แม้อย่างนั้น ก็ไม่ใช่
อญฺญถาติปิ เม โน แปลว่า แม้อย่างอื่น ก็ไม่ใช่
โนติปิ เม โน แปลว่า แม้สิ่งที่ไม่ใช่ ก็ไม่ใช่
โน โนติปิ เม โน แปลว่า แม้สิ่งที่ไม่ใช่ไม่ใช่ ก็ไม่ใช่ ดังนี้
ย่อมถึงความสับสน. ความตรึกอันประกอบด้วยทิฏฐิคตะของบุคคลนั้น เปรียบ
เหมือนปลาไหลโจนลงน้ำไปแล้ว ใคร ๆ ไม่อาจเพื่อให้ตาย บุคคลผู้จับปลา.
ไหลนั้น ย่อมวิ่งไป ข้างนี้ ๆ ก็ไม่สามารถเคลื่อนไปจับมันได้ฉันใด ข้อนี้
ก็ฉันนั้นนั่นแหละ. ชื่อว่า ความตรึกไม่ตายตัว เพราะอรรถว่าไม่คงที่และ
เพราะไม่ตั้งมั่นอยู่ในฝ่ายหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสความตรึกอันไม่ตาย
ตัวนี้ โดยรวมเอาความตรึกแม้ทั้งสองชนิดนั้น.
 
๗๘/๑๐๗๒/๙๑๐

วันเสาร์, พฤศจิกายน 11, 2566

Nalat

 
บทว่า ปขุมํ ในคำว่า โคปขุโม นี้ท่านประสงค์เอาดวงพระเนตร
ทั้งหมด. ดวงพระเนตรนั้นมีธาตุหนาของลูกโคดำ ใสแจ๋วคล้ายดวงตาของ
ลูกโคแดง หมายความว่า มีดวงพระเนตรเหมือนลูกโคแดงที่เกิดชั่วครู่นั้น.
ก็ดวงตาของคนเหล่าอื่นไม่เต็ม ประกอบด้วยนัยน์ตา เฉออกไปบ้าง ลึกไปบ้าง
เช่นเดียวกับนัยน์ตาของช้าง หนูและกาเป็นต้น. ส่วนของพระตถาคตเจ้ามี
พระเนตรที่อ่อนดำสนิท สุขุมตั้งอยู่ดุจคู่แก้วมณีที่เขาล้างขัดไว้ฉะนั้น.
บทว่า อุณฺณา ได้แก่พระอุณณาโลม (ขนขาว). บทว่า ภมุกนฺตเร
ความว่า พระอุณณาโลมเกิดเหนือนาสิกตรงกลางคิ้วทั้งสองนั่นเทียว แต่เกิดที่
กลางพระนลาฏสูงขึ้นไป. บทว่า โอทาตา ได้แก่บริสุทธิ์ มีสีดุจดาวประจำรุ่ง.
บทว่า มุทุ ความว่า เช่นกับปุยฝ้ายที่เขาจุ่มในเนยใส แล้วสลัดถึงร้อยครั้ง
ตั้งไว้. บทว่า ตูลสนฺนิภา ความว่า เสมอด้วยปุยดอกงิ้วและปุยลดา. นี้เป็น
ข้ออุปมาของความที่พระอุณณาโลมนั้นมีสีขาว. ก็พระอุณณาโลมนั้น เมื่อจับ
ที่ปลายดึงมา จะมีประมาณเท่ากึ่งแขน. ปล่อยไปแล้ว จะขดกลมมีปลายสูง
ขึ้นอยู่ โดยเป็นทักษิณาวัฏ. ย่อมรุ่งเรืองด้วยศิริอันชื่นใจยิ่ง เหมือนกับฟองเงิน
ที่เขาวางไว้ตรงกลางแผ่นทอง เหมือนสายน้ำนมที่ไหลออกจากหม้อทอง และ
เหมือนดาวประจำรุ่ง (ดาวพระศุกร์) ในท้องฟ้า อันรุ่งเรืองด้วยแสงอรุณฉะนั้น .
คำว่า อุณฺหิสสีโส นี้ ท่านกล่าวอาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ
คือ มีพระนลาฏเต็ม ๑ มีพระเศียรเต็ม ๑. คือชั้นพระมังสะตั้งขึ้น ตั้งแต่หมวก
พระกรรณเบื้องขวาไปปิดพระนลาฏอาทิผิด อักขระทั้งสิ้น เต็มไปจดหมวกพระกรรณเบื้องซ้าย
อยู่ รุ่งเรืองดุจแผ่นกรอบพระพักตร์ ที่พระราชาทรงสวมไว้ ได้ยินว่า
นักปราชญ์ทราบลักษณะนี้ของพระโพธิสัตว์ในปัจฉิมภพ จึงได้กระทำแผ่น
พระอุณหิสถวายพระราชา. อรรถข้อหนึ่งเท่านี้ก่อน. ส่วนคนเหล่าอื่นมีศีรษะ
ไม่เต็ม. บางคนมีศีรษะดุจหัวลิง บางคนมีศีรษะดุจผลไม้ บางคนมีศีรษะดุจ
 
๒๑/๖๐๓/๒๗๑

วันศุกร์, พฤศจิกายน 10, 2566

Mae

 
๑๒ โยชน์เป็นอย่างยิ่ง ภิกษุผู้ทำกุลทูสกกรรม จะอยู่ในวัดจะเที่ยวไป
ในนคร (นั้น) ไม่ได้เลย ฉะนั้นแล.
ข้อว่า เต สงฺเฆน ปพฺพาชนียกมฺมกตา มีความว่า ถามว่า สงฆ์
ได้กระทำกรรมแก่พวกภิกษุอัสสชิและปุนัพพสุกะนั้น อย่างไร ?
ตอบว่า สงฆ์ไม่ได้ไปข่มขี่กระทำกรรมเลย, โดยที่แท้ เมื่อพวก
ตระกูลอาราธนา นิมนต์มาแล้ว กระทำภัตเพื่อสงฆ์ พระเถระทั้งหลาย
ในที่นั้น ๆ แสดงข้อปฏิบัติของสมณะ ให้พวกมนุษย์เข้าใจว่า นี้เป็น
สมณะ นี้ไม่ใช่สมณะ แล้วให้ภิกษุ ๑ รูป ๒ รูป เข้าสู่สีมาแล้ว ได้
กระทำปัพพาชนียกรรมแม้อาทิผิด อาณัติกะแก่พวกภิกษุทั้งหมด โดยอุบายนี้นั่นแล.
ก็เมื่อภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมอย่างนี้แล้ว บำเพ็ญวัตร ๑๘
ประการให้บริบูรณ์ขออยู่ กรรมอันสงฆ์พึงระงับ. และแม้ภิกษุผู้มีกรรม
ระงับแล้วนั่น ตนทำกุลทูสกกรรมไว้ในตระกูลเหล่าใดในครั้งก่อน ไม่
ควรรับปัจจัยจากตระกูลเหล่านั้น. แม้บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะแล้วก็
ไม่ควรรับ, ปัจจัยเหล่านั้น จัดเป็นของไม่สมควรแท้.
เมื่อภิกษุถูกทายกถามว่า ทำไม ท่านจึงไม่รับ ? ตอบว่า เพราะ
ได้กระทำไว้อย่างนี้เมื่อก่อน ดังนี้, ถ้าพวกชาวบ้านกล่าวว่า พวกกระผม
ไม่ถวายด้วยเหตุอย่างนั้น, ถวายเพราะท่านมีศีลในบัดนี้ (ต่างหาก) ดังนี้
ควรรับได้. กุลทูสกกรรม เป็นกรรมอันภิกษุผู้กระทำเฉพาะในสถานที่
ให้ทานตามปกติ, จะรับทานตามปกติจากสถานที่นั้นนั่นแล ควรอยู่.
ทานที่ทายกถวายเพิ่มเติม ไม่ควรรับ.
บทว่า น สมฺมา วตฺตนฺติ มีความว่า ก็พวกภิกษุอัสสชิปุนัพพสุกะ
เหล่านั้นย่อมไม่ประพฤติโดยชอบ ในวัตร ๑๘ ประการ.
 
๓/๖๓๐/๖๕๒

วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 09, 2566

Khatha

 
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงประกาศถึงทุกข์ที่คนเขลาเห็นจึง
ตรัสคำมีอาทิว่า อโย สงฺกุสมาหฏํ ฐานํ ย่อมเข้าถึงหลาวเหล็กอันคมกริบ.
ในบทนั้น พึงทราบความในกึ่งคาถาต้นก่อน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
หมายถึงฐานะอันนำมาซึ่งหลาวเหล็กอันใด ตรัสว่า ตเมนํ ภิกฺขเว นิรฺยปาลา
ปญฺจวิธพนฺธนํ นาม กมฺมกรณํ กาเรนฺติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นายนิริยบาล
ให้ลงกรรมกรณ์ เครื่องจองจำ ๕ อย่างนั้น ดังนี้ ผู้ทำกรรมหยาบย่อมเข้าถึง
ฐานะนั้น เมื่อเข้าถึง นายนิริยบาลให้นอนเหนือแผ่นดินอันร้อนจัดบนหลาว
เหล็กนั้น แล้วเข้าถึงหลาวเหล็กอันคมกริบ แข็ง ร้อน ถูกนายนิริยบาลโบย
ในที่ ๕ แห่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงหลาวเหล็ก จึงตรัสว่า ตตฺตํ
อโยขิลํ หตฺเถ คเมนฺติ นายนิริยบาลถือก้อนเหล็กร้อนมา.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาอาทิผิด อักขระกึ่งหนึ่งต่อจากนั้น ทรงหมายถึงคำที่พระ-
องค์ตรัสไว้ว่า นายนิริยบาลยัดก้อนเหล็กร้อนลงในปากของสัตว์นรกผู้เผาไหม้
อยู่ในนรกนั้นหลายพันปี แล้วไปยังฝั่งแม่น้ำแสบ ตามลำดับเพื่อเสวยผลกรรม
ที่เหลือจากการถูกเผาไหม้ นายนิริยบาลกรอกน้ำทองแดงร้อนลงในปาก.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อโย คือ โลหะ. บทว่า คุฬสนฺนิภํ ก้อน
เหล็กแดงโชติช่วง คือมีสัณฐานเหมือน ผลมะตูม. ในบทว่า อโย นี้ พึง
ทราบโลหะทองแดงด้วย อย ศัพท์ นอกนั้น พึงทราบว่าเป็นก้อนเหล็ก.
บทว่า ปฏิรูปํ คือ สมควรแก่กรรมที่ทำไว้.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาอื่นจากนั้นดังต่อไปนี้ บทว่า น หิ วคฺคุ
ความว่า นายนิรบาลพูดว่า จงจับ จงประหาร ดังนี้เป็นต้น ไม่พูดคำไพเราะ
 
๔๗/๓๘๗/๖๑๖

วันพุธ, พฤศจิกายน 08, 2566

Asom

 
ลำดับนั้น พระนางนฬินิกา จึงตรัสคาถาว่า
ดูก่อนท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ การประกอบ
มนต์ก็ดี การประกอบกระสายยาก็ดี โอสถก็ดี ย่อม
แก้ไม่ได้ ขอท่านจงเอาองคชาตอันอ่อนนุ่มของท่าน
เสียดสีกำจัดความคัน ตามที่ข้าพเจ้าจะพึงมีความสุข
อย่างยิ่งเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กมนฺติ ความว่า ดูก่อนท่านผู้ประพฤติ
พรหมจรรย์ผู้เจริญ การประกอบมนต์ก็ดี การประกอบกระสายยาก็ดี โอสถมี
ดอกและผลเป็นต้นก็ดี ที่แผลของข้าพเจ้านี้ ย่อมแก้ไม่ได้เลย คือการประกอบ
มนต์เป็นต้นเหล่านั้น ถึงจะทำแล้วหลาย ๆ ครั้ง ก็ไม่เป็นความผาสุกสบายแก่
แผลนั้นเลย แต่เมื่อท่านใช้องคชาตอันอ่อนนุ่มของท่านนั้น เสียดสีไปมาเท่า
นั้น ความคันก็จะไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้น ขอท่านช่วยเอาองคชาตนั้น กำจัด
ความคันให้ทีเถอะ.
พระดาบสนั้น กำหนดว่า คนคนนั้นพูดจริง ไม่รู้เลยว่า ศีลจะขาด
ฌานจะเสื่อม ด้วยเมถุนสังสัคคะ เมื่อพระราชธิดานั้นกล่าวว่า เภสัช ดังนี้
เพราะความไม่รู้จักเมถุนธรรม เหตุที่ตนไม่เคยเห็นมาตุคามมาก่อน จึงเสพ
เมถุนธรรม ในทันทีนั้น ศีลของดาบสนั้นก็ขาด ฌานก็เสื่อม. ดาบสนั้น
กระทำการร่วมสังวาส ๒, ๓ ครั้ง ก็เหนื่อยอ่อน จึงออกไปลงสู่สระอาบน้ำ
ระงับดับความกระวนกระวายแล้ว กลับมานั่ง ณ บรรณศาลา ถึงขนาดนั้น
ก็สำคัญคนคนนั้นว่า เป็นดาบสอยู่อีก เมื่อจะถามถึงที่อยู่ จึงกล่าวคาถาว่า
อาศรมอาทิผิด อักขระของท่านอยู่ทางทิศไหน แต่ที่นี้หนอ
ท่านย่อมรื่นรมย์อยู่ในป่าแลหรือ มูลผลาหารของท่าน
มีเพียงพอแลหรือ สัตว์ร้ายไม่เบียดเบียนท่านแลหรือ.
 
๖๒/๑๙/๑๙

วันอังคาร, พฤศจิกายน 07, 2566

Wilasini

 
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระศาสนานี้พิจารณากายในกาย เป็นผู้มี
ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติอยู่ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
พิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย . . .
พิจารณาจิตในจิต. . .
พิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติอยู่
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นสรณะ ไม่มีสิ่ง
อื่นเป็นสรณะ เป็นผู้มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นสรณะอยู่ ไม่มีสิ่งอื่นเป็น
สรณะ ด้วยอาการอย่างนี้แล.
ดูก่อนอานนท์ เพราะว่า ในกาลบัดนี้ก็ดี โดยการที่เราตถาคต
ล่วงลับไปแล้วก็ดี ภิกษุทั้งหลายพวกใดพวกหนึ่ง จักเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มี
ตนเป็นสรณะอยู่ ไม่เป็นผู้มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ จักมีธรรมเป็นเกาะมีธรรมเป็น
สรณะอยู่ ไม่เป็นผู้มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ ภิกษุทั้งหลายพวกใดพวกหนึ่ง ซึ่งเป็น
ผู้ใคร่ในการศึกษาเหล่านี้นั้น จักเป็นผู้ประเสริฐสุดยอด ดังนี้แล.
จบ คามกัณฑ์ ในมหาปรินิพพานสูตร
จบภาณวารที่ ๒

ว่าด้วยอานุภาพของอิทธิบาท ๔

[๙๔] (๑) ครั้งนั้นแล ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนุ่งสบง
ทรงถือบาตรและจีวรแล้ว เสด็จดำเนินเข้านครเวสาลี เพื่อบิณฑบาต(๒) ครั้น
เสด็จดำเนินเพื่อบิณฑบาตในนครเวสาลีแล้ว เสด็จกลับจากบิณฑบาตในเวลา
๑. บาลีพระสูตรต่อไปนี้ มีกล่าวไว้ใน สํ. มหาวาร. ๑๙/๓๐๒ อธ. อฏฺฐก. ๒๓/๓๑๘
-๓๒๔, ขุ.อุ. ๒๕/๑๗๖.
๒. ความในมหาปรินิพพานสูตร ตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์อรรถกถา สุมงฺคลวิลาสินีอาทิผิด อักขระ, ทุติยภาค,
น. ๙๓๑-๒๐๑ และสารตฺถปฺปกาสินี, ตติยภาค, น. ๓๑๒-๓๒๘.
 
๑๓/๙๔/๒๗๕