วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 16, 2566

Pratthana

 
ย่อมเป็นไป เพื่อนิพพิทาโดยส่วนเดียว เพื่อสำรอกกิเลส เพื่อดับกิเลส เพื่อ
ความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน คือ อัปปิจฉกถา
สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสัคคกถา วิริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา
ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา ภิกษุเป็นผู้ได้ตามความปรารถนาอาทิผิด อักขระ
ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งกถาเห็นปานนั้น เพราะผู้มีปกติได้กถาที่มี
การขัดเกลาเท่านั้นจึงควรกล่าวธรรมนั้น. ด้วยคำว่า ภาสมาโน ธมฺมํเยว
ภาเสยฺย นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึง การถึงพร้อมด้วยกัลยาณมิตร.
บทว่า ธมฺมวิตกฺกํ ความว่า เมื่อภิกษุวิตกถึงเนกขัมมวิตกเป็นต้น
ที่ไม่ปราศไปจากธรรมอยู่ อุตสาหะจักเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยคิดว่า เราจัก
บำเพ็ญปฏิปทามีศีลเป็นต้นให้บริบูรณ์. แต่วิตกนั้น พึงทราบว่ามีมากประเภท
เพราะเป็นไปด้วยสามารถแห่งการเว้นธรรมที่เป็นอุปการะ แล้วเพิ่มพูนธรรม
ที่เป็นอุปการะแก่ศีลเป็นต้น (และ) ด้วยสามารถแห่งการนำความที่ธรรม
เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อมออกไป แต่ไม่ตั้งอยู่แม้ในความเป็นธรรมที่เป็น
ไปในส่วนแห่งความมั่นคงแล้ว ยังความเป็นธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งคุณพิเศษ
และความเป็นธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งความเบื่อหน่าย ให้ถึงพร้อม. บทว่า
โน อธมฺมวิตกฺกํ มีความว่า ไม่พึงตรึกถึงกามวิตก.
บทว่า ตทุภยํ วา ปน ความว่า ภิกษุเว้นการพูดธรรม เพื่ออนุ-
เคราะห์ชนเหล่าอื่น และการตรึกธรรมเพื่ออนุเคราะห์ตนนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้แล้ว ก็อีกอย่างหนึ่ง เว้นขาด คือ ไม่ปฏิบัติ ได้แก่ ไม่ทำทั้งสอง
อย่างนั้น. บทว่า อุเปกฺขโก ความว่า เป็นกลางในข้อปฏิบัติอย่างนั้น
 
๔๕/๒๖๕/๕๓๒

ไม่มีความคิดเห็น: