วันศุกร์, พฤศจิกายน 10, 2566

Mae

 
๑๒ โยชน์เป็นอย่างยิ่ง ภิกษุผู้ทำกุลทูสกกรรม จะอยู่ในวัดจะเที่ยวไป
ในนคร (นั้น) ไม่ได้เลย ฉะนั้นแล.
ข้อว่า เต สงฺเฆน ปพฺพาชนียกมฺมกตา มีความว่า ถามว่า สงฆ์
ได้กระทำกรรมแก่พวกภิกษุอัสสชิและปุนัพพสุกะนั้น อย่างไร ?
ตอบว่า สงฆ์ไม่ได้ไปข่มขี่กระทำกรรมเลย, โดยที่แท้ เมื่อพวก
ตระกูลอาราธนา นิมนต์มาแล้ว กระทำภัตเพื่อสงฆ์ พระเถระทั้งหลาย
ในที่นั้น ๆ แสดงข้อปฏิบัติของสมณะ ให้พวกมนุษย์เข้าใจว่า นี้เป็น
สมณะ นี้ไม่ใช่สมณะ แล้วให้ภิกษุ ๑ รูป ๒ รูป เข้าสู่สีมาแล้ว ได้
กระทำปัพพาชนียกรรมแม้อาทิผิด อาณัติกะแก่พวกภิกษุทั้งหมด โดยอุบายนี้นั่นแล.
ก็เมื่อภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมอย่างนี้แล้ว บำเพ็ญวัตร ๑๘
ประการให้บริบูรณ์ขออยู่ กรรมอันสงฆ์พึงระงับ. และแม้ภิกษุผู้มีกรรม
ระงับแล้วนั่น ตนทำกุลทูสกกรรมไว้ในตระกูลเหล่าใดในครั้งก่อน ไม่
ควรรับปัจจัยจากตระกูลเหล่านั้น. แม้บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะแล้วก็
ไม่ควรรับ, ปัจจัยเหล่านั้น จัดเป็นของไม่สมควรแท้.
เมื่อภิกษุถูกทายกถามว่า ทำไม ท่านจึงไม่รับ ? ตอบว่า เพราะ
ได้กระทำไว้อย่างนี้เมื่อก่อน ดังนี้, ถ้าพวกชาวบ้านกล่าวว่า พวกกระผม
ไม่ถวายด้วยเหตุอย่างนั้น, ถวายเพราะท่านมีศีลในบัดนี้ (ต่างหาก) ดังนี้
ควรรับได้. กุลทูสกกรรม เป็นกรรมอันภิกษุผู้กระทำเฉพาะในสถานที่
ให้ทานตามปกติ, จะรับทานตามปกติจากสถานที่นั้นนั่นแล ควรอยู่.
ทานที่ทายกถวายเพิ่มเติม ไม่ควรรับ.
บทว่า น สมฺมา วตฺตนฺติ มีความว่า ก็พวกภิกษุอัสสชิปุนัพพสุกะ
เหล่านั้นย่อมไม่ประพฤติโดยชอบ ในวัตร ๑๘ ประการ.
 
๓/๖๓๐/๖๕๒

ไม่มีความคิดเห็น: