วันศุกร์, พฤศจิกายน 03, 2566

Khaeng

 
บทว่า ยํ ตํ จิตฺตํ ได้แก่ วิปัสสนาจิตนั้น. บทว่า อชฺฌตฺตเมว ใน
ภายใน คือในภายในโคจรอันเป็นอารมณ์แห่งอนิจจานุปัสสนา.
บทว่า าณํ อุปฺปชฺชติ ญาณย่อมเกิดขึ้น คือ เมื่อพระโยคาวจรนั้น
พิจารณาอย่างรอบคอบถึงรูปธรรมและอรูปธรรม วิปัสสนาญาณอันเฉียบแหลม
แข็งอาทิผิด อาณัติกะแกร่งกล้ายิ่งนัก มีกำลังไม่ถูกกำจัดย่อมเกิดขึ้นดุจวชิระของพระอินทร์ที่ปล่อย
ออกไปฉะนั้น. บทว่า ปีติ อุปฺปชฺชติ ปีติย่อมเกิดขึ้น คือ ในสมัยนั้น
ปีติสัมปยุตด้วยวิปัสสนา ๕ อย่างนี้ คือ ขุททกาปีติ (ปีติอย่างน้อย) ๑ ขณิกา-
ปีติ (ปีติชั่วขณะ) ๑ โอกกันติกาปีติ (ปีติเป็นพัก ๆ) ๑ อุพเพงคาปีติ (ปีติอย่าง
โลดโผน) ๑ ผรณาปีติ (ปีติซาบซ่าน) ๑ ย่อมเกิดขึ้นแก่พระโยคาวจรนั้นยัง
สรีระทั้งสิ้นให้อิ่มเอม. บทว่า ปสฺสทฺธิ อุปฺปชฺชติ ความสงบย่อมเกิดขึ้น
คือ ในสมัยนั้น พระโยคาวจรนั้นไม่มีความกระวนกระวายของกายและจิต
ไม่มีความหนัก ไม่มีความหยาบ ไม่มีความไม่ควรแก่การงาน ไม่มีความไข้
ไม่มีความคด แต่ที่แท้พระโยคาวจรนั้นมีกายและจิตสงบเบาอ่อน ควรแก่การ
งานคล่องแคล่วเฉียบแหลม ตรง. พระโยคาวจรนั้นมีกายและจิตอันเป็นปัส-
สัทธิเป็นต้นเหล่านี้ อนุเคราะห์แล้ว ย่อมเสวยความยินดีอันมิใช่ของมนุษย์ใน
สมัยนั้น. ท่านกล่าวหมายถึงความยินดีว่า
ความยินดีอันมิใช่ของมนุษย์ ย่อมมีแก่ภิกษุ
ผู้เข้าไปสู่เรือนว่าง ผู้มีจิตสงบ ผู้เห็นแจ้งธรรมโดย
ชอบ แต่กาลใดๆ ภิกษุย่อมพิจารณาความเกิดและ
ความเสื่อมแห่งขันธ์ทั้งหลาย แต่กาลนั้น ๆ ภิกษุย่อม
ได้ปีติและปราโมทย์ ปีติและปราโมทย์นั้นเป็นอมตะ
ของภิกษุผู้รู้แจ้งทั้งหลาย.
 
๖๙/๕๔๓/๔๗๕

ไม่มีความคิดเห็น: