วันพุธ, พฤษภาคม 31, 2566

Thi

 
กิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า
เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะกล่าวถึงข้อปฏิบัติของตน
ด้วยสามารถแห่งอุทาน จึงได้กล่าวคาถาว่า
เราได้สละภาชนะทองคำ มีน้ำหนักประมาณ
๑๐๐ ปละ วิจิตรด้วยลวดลายตั้งร้อยชนิด มาถือบาตร
ดิน นี้เป็นการอภิเษกครั้งที่สองของเรา ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หิตฺวา แปลว่า สละแล้ว.
บทว่า สตปลํ ได้แก่ภาชนะทองคำ ที่มีน้ำหนักประมาณ ๑๐๐ ปละ.
บทว่า กํสํ ได้แก่ กังสดาล. บทว่า โสวณฺณํ แปลว่า สำเร็จด้วยทอง.
บทว่า สตราชิกํ ความว่า ประกอบด้วยลวดลายมิใช่น้อย เพราะ
ความเป็นภาชนะที่มีฝาอันวิจิตร และงดงามด้วยแนวแห่งลายเขียนเป็นอเนก.
บทว่า อคฺคหึ มตฺติกามตฺตํ ความว่า พระเถระในกาลก่อน เคยฉัน
ในภาชนะมีค่ามากเห็นปานนี้ เมื่อกระทำตามพระพุทธโอวาท คิดว่า บัดนี้
เราละภาชนะทอง แล้วถือบาตรดิน โอ ! เราทำกรรมดีแล้วหนอ ธรรมเนียม
ของพระอริยเจ้า ดำรงมาแล้วโดยลำดับดังนี้แล้ว กล่าวอนุโมทนาการสละราช
สมบัติ และการเข้าถึงบรรพชาเพศ โดยแถลงยกย่องภาชนะ (ดิน). ด้วยเหตุนั้น
พระเถระจึงกล่าวว่า นี้เป็นการอภิเษกครั้งที่ ๒ ของเรา ดังนี้. อธิบายว่า
การเข้าถึงบรรพชาเพศนี้ ชื่อว่าเป็นการอภิเษกครั้งที่สองของเรา โดยถือเอา
ราชาภิเษก เป็นการอภิเษกครั้งแรก. เพราะว่าการอภิเษกครั้งแรกนั้น เป็น
กรรมที่เศร้าหมองไปด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น สับสนวุ่นวาย ประกอบไปด้วย
อนัตถโทษ เนื่องด้วยทุกข์ เป็นกรรมที่อาทิผิด อาณัติกะเลวทราม. ส่วนการอภิเษกครั้งที่ ๒
ของเรานี้ ชื่อว่า สูงสุด ประณีต เพราะผิดตรงข้ามจากการอภิเษกครั้งแรกนั้น.
จบอรรถกถาติสสเถรคาถา
 
๕๐/๒๓๔/๔๕๔

วันอังคาร, พฤษภาคม 30, 2566

Phatthra

 
สิทธัตถะ ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรอาทิผิด อักขระกัปนี้ บรรลุความเป็นผู้รู้แล้ว ได้เป็นผู้มีความ
เลื่อมใสในพระศาสดา ประกาศตนเป็นอุบาสกแล้ว เรียกบรรดาผู้เป็นญาติของ
ตนมาประชุมกัน รวบรวมบูชาสักการะเป็นอันมาก กระทำการบูชาพระ
ธาตุแล้ว.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด
ในตระกูลพราหมณ์ เมืองสาเกต ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้นามว่า อุตตระ
เจริญวัยแล้ว ไปสู่พระนครสาวัตถี ด้วยกรณียกิจบางประการเห็นยมกปาฏิหาริย์
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำแล้ว ที่โคนไม้คัณฑามพฤกษ์ (ต้นมะม่วง)
เลื่อมใสแล้ว เป็นผู้เจริญศรัทธายิ่งขึ้น ด้วยเทศนากาฬการามสูตร บวชแล้ว
ไปสู่พระนครราชคฤห์กับพระศาสดา อยู่ที่พระนครราชคฤห์นั่นแหละ เริ่มตั้ง
วิปัสสนา ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่
ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เมื่อพระโลกนาถผู้นำของโลก ทรงพระนามว่า
สิทธัตถะ ปรินิพพานแล้ว เราได้นำพวกญาติของเรา
มาทำการบูชาพระธาตุ. ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้
เราได้บูชาพระธาตุใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จัก
ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระธาตุ. เราเผากิเลส
ทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรา
กระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระเป็นผู้มีอภิญญา ๖ แล้ว เมื่อพระศาสดาเสด็จประทับอยู่
ในพระนครสาวัตถี ก็ออกจากกรุงราชคฤห์ไปพระนครสาวัตถี เพื่อจะทำพุทธ-
อุปัฏฐาก อันภิกษุทั้งหลายถามว่า ดูก่อนอาวุโส กิจแห่งบรรพชิตอันท่านให้
ถึงที่สุดแล้วหรือ ? เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา
ความว่า
 
๕๑/๒๗๘/๑๐๐

วันจันทร์, พฤษภาคม 29, 2566

Loka

 
พระองค์อื่นๆ ซึ่งมีรัศมีพระสรีระ ประมาณ ๘๐ ศอกบ้าง วาหนึ่งบ้างโดย
รอบ ส่วนรัศมีแห่งพระสรีระของพระมงคลพุทธเจ้าพระองค์นั้น แผ่ไปตลอด
หมื่นโลกธาตุเป็นนิจนิรันดร์ ต้นไม้ ภูเขา เรือน กำแพง หม้อน้ำ บานประตู
เป็นต้น ได้เป็นเหมือนหุ้มไว้ด้วยแผ่นทอง พระองค์มีพระชนมายุถึงเก้า
หมื่นปี. รัศมีของดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดวงดาวเป็นต้นไม่มีตลอดเวลาถึง
เท่านั้น การกำหนดเวลากลางคืนกลางวันไม่ปรากฏ สัตว์ทั้งหลายทำการงาน
กันทุกอย่างด้วยแสงสว่างของพระพุทธเจ้าเท่านั้น เหมือนทำงานด้วยแสงสว่าง
ของดวงอาทิตย์เวลากลางวัน โลกกำหนดเวลาตอนกลางคืนกลางวัน โดยดอก-
ไม้บานยามเย็นและนกร้องยามเช้า.
ถามว่า อานุภาพนี้ของพระพุทธเจ้าพระองค์อื่น ๆ ไม่มีหรือ. ตอบว่า
ไม่มี หามิได้ ความจริง พระพุทธเจ้าแม้เหล่านั้น เมื่อทรงประสงค์ ก็ทรง
แผ่พระรัศมีไปได้ตลอดหมื่นโลกธาตุ หรือยิ่งกว่านั้น แต่รัศมีแห่งพระสรีระของ
พระผู้มีพระภาคเจ้ามงคล แผ่ไปตลอดหมื่นโลกอาทิผิด อักขระธาตุเป็นนิจนิรันดร์ เหมือน
รัศมีวาหนึ่งของพระพุทธเจ้าพระองค์อื่น ๆ ก็ด้วยอำนาจความปรารถนาแต่เบื้อง
ต้น. เขาว่า ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ พระมงคลพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงมีพระ
โอรสและพระชายา ในอัตภาพเช่นเดียวกับอัตภาพเป็นพระเวสสันดร ประทับ
อยู่ ณ ภูเขาเช่นเดียวกับเขาวงกต. ครั้งนั้น ยักษ์ผู้มีศักดิ์ใหญ่ตนหนึ่งกินมนุษย์
เป็นอาหาร ชอบเบียดเบียนคนทุกคน ชื่อขรทาฐิกะ ได้ข่าวว่า พระมหาบุรุษ
ชอบให้ทาน จึงแปลงกายเป็นพราหมณ์เข้าไปหา ทูลขอทารกสองพระองค์กะ
พระมหาสัตว์ พระมหาสัตว์ทรงดีพระทัยว่า เราจะให้ลูกน้อยสองคนแก่
พราหมณ์ดังนี้ ได้ทรงประทานพระราชบุตรทั้งสองพระองค์แล้ว ทำให้แผ่นดิน
หวั่นไหวจนถึงน้ำ ขณะนั้น ทั้งที่พระมหาสัตว์ทรงเห็นอยู่ ยักษ์ละเพศเป็น
 
๗๓/๔/๓๓๙

วันอาทิตย์, พฤษภาคม 28, 2566

Kradan

 
ตอบว่า มิใช่ไม่มี จริงอยู่ พระพุทธเจ้าแม้เหล่านั้น เมื่อจำนงอยู่
ก็พึงแผ่พระรัศมีไปสู่หมื่นโลกธาตุ หรือยิ่งกว่านั้นก็ได้ แต่ว่า พระรัศมีสรีระ
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า มังคละ แผ่ไปสู่หมื่นโลกธาตุตั้งอยู่เป็น
นิตย์ทีเดียว ด้วยอำนาจการตั้งความปรารถนาไว้ในบุรพชาติ เหมือนพระรัศมี
วาหนึ่งของพระพุทธเจ้าอื่น ๆ.
ได้ยินว่า พระมังคลพุทธเจ้านั้น ในขณะที่บำเพ็ญบารมีเป็นพระ-
โพธิสัตว์ ดำรงอัตภาพเช่นเดียวกับพระเวสสันดร พร้อมทั้งบุตรและภรรยา
อยู่ที่ภูเขาเช่นกับภูเขาวงกต ครั้งนั้น มียักษ์ตนหนึ่งชื่อว่า ขรทาฐิกะ ทราบว่า
พระมหาบุรุษมีพระทัยในการจำแนกทาน จึงแปลงเพศเป็นพราหมณ์เข้าไป
แล้วทูลขอทารกทั้งสองพระองค์กะพระมหาสัตว์ พระมหาสัตว์ทรงยินดีร่าเริง
แล้วด้วยทรงพระดำริว่า เราจักให้ลูกน้อยแก่พราหมณ์ ดังนี้ แล้วพระราชทาน
ทารกทั้งสอง อันสามารถยังแผ่นดินหวั่นไหวจดน้ำรองแผ่นดิน ยักษ์ยืนพิง
แผ่นกระดานอาทิผิด อักขระที่พิงไว้ในที่สุดแห่งที่จงกรม เมื่อพระมหาสัตว์มองดูอยู่นั่นแหละ
เคี้ยวกินทารกทั้งสองพระองค์ เหมือนเคี้ยวกินกองรากไม้ มหาบุรุษแลดูยักษ์
เมื่อยักษ์นี้สักว่าอ้าปากเท่านั้น ธารโลหิตก็หลั่งออกดุจเปลวไฟ พระมหาบุรุษนั้น
แม้เห็นปากของยักษ์นั้น ก็มิได้เสียพระทัย แม้เพียงปลายผมให้เกิดขึ้น ทรง
พระดำริว่า สุทินฺนํ วต เม ทานํ (ทานเราให้ดีแล้ว ) แล้วยังปีติโสมนัส
อันใหญ่ให้เกิดแก่พระองค์.
พระมหาบุรุษนั้น ทรงตั้งความปรารถนาว่า ด้วยวิบากเป็นเครื่อง
ไหลออกแห่งบุญของเรานี้ ในอนาคตกาล ขอรัศมีทั้งหลายจงออกจากสรีระโดย
ทำนองนี้ ดังนี้ เมื่อพระองค์อาศัยเหตุนั้นตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว รัศมี
ทั้งหลายจึงออกจากพระสรีระแผ่ไปสู่ที่มีประมาณเท่านี้.
 
๗๕/๑/๑๑๓

วันเสาร์, พฤษภาคม 27, 2566

Ma

 
นำมาเปรียบเทียบกับคุณที่มีอยู่ด้วยประการฉะนี้. จริงอยู่ พระมหาโมค-
คัลลานเถระ บรรลุความสำเร็จในสมาธิลักษณะ พระสารีบุตรเถระ
บรรลุในวิปัสสนาลักษณะ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรรลุทั้งสองลักษณะ.
จบอรรถกถาฆฏสูตรที่ ๓

๔. นวสูตร

ว่าด้วยเรื่องภิกษุใหม่

[๖๙๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอาทิผิด อักขระอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ สมัยนั้นแล ภิกษุใหม่
รูปหนึ่งเดินกลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต เข้าไปสู่วิหารแล้ว เป็น
ผู้มีความขวนขวายน้อยนิ่งอยู่ ไม่ช่วยเหลือภิกษุทั้งหลายในเวลาทำจีวร
ครั้งนั้นแล ภิกษุมากด้วยกันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ
ครั้นแล้วถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[๖๙๗] ครั้นภิกษุเหล่านั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว. ได้กราบทูลพระผู้-
มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใหม่รูปหนึ่งในพระ
ธรรมวินัยนี้เดินกลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัตเข้าไปสู่วิหารแล้ว เป็น
ผู้มีความขวนขวายน้อยนิ่งอยู่ ย่อมไม่ช่วยเหลือภิกษุทั้งหลายในเวลากระทำ
จีวร ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอจงไปบอกภิกษุนั้นตามคำของเราว่า พระศาสดาให้หา
ภิกษุนั้นทูลรับสนองพระพุทธพจน์แล้วเข้าไปหาภิกษุนั้น ครั้นแล้วได้
 
๒๖/๖๙๖/๗๖๒

วันศุกร์, พฤษภาคม 26, 2566

Nan

 
พระองค์นั้น ก็ได้มีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง. สันนิบาตครั้งแรก มีพระ-
สาวกแสนโกฏิ สันนิบาตครั้งที่ ๒ มีพระสาวกพันโกฏิ สันนิบาตครั้ง
ที่ ๓ มีพระสาวกเก้าสิบโกฏิ.
ในครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นพระเจ้าจักรพรรติพระนามว่า วิชิตาวี
ได้ถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์แสนโกฏิมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน. พระ-
ศาสดาทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์ว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้า แล้วทรง
แสดงธรรม. พระโพธิสัตว์นั้น ทรงสดับธรรมกถาของพระศาสดาแล้ว
สละราชสมบัติออกบวช เรียนพระไตรปิฎก ทำสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕
ให้เกิดขึ้น มีฌานไม่เสื่อม ไปเกิดในพรหมโลก.
ก็พระโกณฑัญญพุทธเจ้า มีนครชื่อว่า รัมมวดี กษัตริย์พระนามว่า
สุนันทะ เป็นพระชนก พระเทวีพระนามว่า สุชาดา เป็นพระชนนี
พระเถระทั้งสอง คือ พระภัททะ และ พระสุภัททะ เป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่า อนุรุทธะ เป็นพระอุปัฏฐาก พระเถรีทั้งสอง คือ
พระติสสา และ พระอุปติสสา เป็นพระอัครสาวิกา ต้นขานาง
เป็นไม้ที่ตรัสรู้ พระสรีรกายสูง ๘๘ ศอก ประมาณพระชนมายุได้
แสนปี.
ต่อจากพระทีปังกร ก็มีพระนายกพระนามว่าโกณฑัญญะ
มีพระเดชหาที่สุดมิได้ มีพระยศนับไม่ได้ มีพระคุณหา
ประมาณมิได้ เข้าถึงได้แสนยาก.
ในกาลต่อจากพระโกณฑัญญะพุทธเจ้านั้น ล่วงไปหนึ่งอสงไขย
ในกัปเดียวกันนั่นอาทิผิด อักขระเอง มีพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ บังเกิดขึ้นแล้ว คือ
พระมังคละ พระสุมนะ พระเรวตะ พระโสภิตะ พระผู้มีพระภาคเจ้า
 
๗๐/๑/๖๘

วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 25, 2566

Thang

 
อุปัตติเทพ. บทว่า ตาทิโน ความว่า ท่านเหล่านั้นต่างมีชีพ มีชีวิตสม่ำเสมอ
หล่อเลี้ยงชีวิตไว้ เพื่อพระราชาผู้ทรงยินดีในกุศลอย่างนั้น เพราะพระราชา
เช่นนั้น เมื่อทรงกระทำบุญทานเป็นต้น ย่อมทรงอุทิศส่วนบุญแก่เทวดา
ทั้งหลาย เทวดาเหล่านั้น รับอนุโมทนาส่วนบุญนั้นแล้ว ย่อมเจริญด้วย
ทิพยยศ. บทว่า อนุติฏฺฐนฺติ ความว่า เมื่อพระราชาเช่นนั้นทรงทำความเพียร
ถึงความไม่ประมาทอยู่ เทวดาทั้งอาทิผิด อาณัติกะหลายย่อมพากันพิทักษ์รักษา ตามไปจัดแจง
อารักขา อันชอบธรรม.
บทว่า โส ได้แก่ โส ตฺวํ แปลว่า ท่านนั้น. บทว่า วายมสฺสุ จ
ความว่า เมื่อพระองค์จะทรงกระทำรัฐกิจนั้น โปรดกระทำความเพียรในรัฐกิจ
นั้น ๆ ด้วยอำนาจการเทียบเคียง การหยั่งดู การกระทำอันประจักษ์เถิด.
บทว่า ตตฺเถว เต วตฺตปทา ความว่า ข้าแต่พระราชบิดา
พระองค์ตรัสถามปัญหาใด กะข้าพระพุทธเจ้าว่า ควรจะทำกิจอะไรดี ใน
ปัญหาของพระองค์นั่นเอง ข้าพระพุทธเจ้าได้ทูลคำเป็นต้นว่า ควรห้าม
มุสาวาทก่อนดังนี้แล้ว ข้อความเหล่านั้น เป็นวัตรบท เป็นวัตรโกฏฐาส
พระองค์โปรดทรงประพฤติในวัตรบทนั้น อย่างข้อความที่ข้าพระองค์ทูลแล้ว.
บทว่า เอสา ความว่า ข้อความที่ข้าพระองค์ทูลแล้ว นี้แหละเป็นอนุสาสนี
สำหรับพระองค์. บทว่า อลํ ความว่า เพราะว่าเมื่อพระราชาประพฤติอยู่
อย่างนี้ย่อมองอาจ สามารถเพื่อยังมวลมิตรให้มีความสุข และก่อทุกข์แก่มวล
อมิตรได้.
เมื่อนกเวสสันดร ท้วงถึงความประมาทของพระราชา ด้วยคาถาบท
หนึ่ง แล้วกล่าวธรรมด้วยคาถาสิบเจ็ดคาถาอย่างนี้ มหาชนบังเกิดความคิด
เป็นอัศจรรย์ขึ้นว่า นกเวสสันดรแก้ปัญหาด้วยลีลาแห่งพระพุทธเจ้า ดังนี้แล้ว
 
๖๑/๒๔๔๔/๕๕๖

วันพุธ, พฤษภาคม 24, 2566

Chet

 
มหาโควินทจริยา
ว่าด้วยจริยาวัตรของมหาโควินทพราหมณ์
[๕] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นพราหมณ์
นามว่ามหาโควินท์ เป็นปุโรหิตของพระราชา
อาทิผิด พระองค์ อันนรชนและเทวดาบูชา ในกาล
นั้น เครื่องบรรณาการอันใดในราชอาณาจักร
ทั้ง อาทิผิด ได้มีแล้วแก่เรา เราได้ให้มหาทานร้อย
ล้านแสนโกฏิ เปรียบด้วยสาครด้วยบรรณา-
การนั้น เราจะเกลียดทรัพย์และข้าวเปลือกก็
หามิได้ และเราจะไม่มีการสั่งสมก็หามิได้ แต่
พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา ฉะนั้น
เราจึงให้ทานอย่างประเสริฐ ฉะนี้แล.
จบ มหาโควินทจริยาที่ ๕

อรรถถกถามหาโควินทจริยาที่ ๕
พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถามหาโควินทจริยาที่ ๕ ดังต่อไปนี้. บทว่า
สตฺตราชปุโรหิโต คือปุโรหิตผู้เป็นอนุสาสก คือผู้ถวายอนุศาสน์ ในกิจ-
การทั้งปวงแด่พระราชา ๗ พระองค์ มีพระราชาพระนามว่า สัตตภู เป็นต้น.
บทว่า ปูชิโต นรเทเวหิ อันนรชนและเทวดาทั้งหลายบูชาแล้ว คือ อัน
 
๗๔/๕/๙๒

วันอังคาร, พฤษภาคม 23, 2566

Tang Man

 
ไม่พอใจ ไม่เชื่อถือ ไม่คัดค้านวาจานั้นเลย ลุกจากที่นั่งหลีกไป.
(๙๗) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง ณ กรุงราชคฤห์นี้ หม่อม
ฉันเข้าไปหาครูปกุทธกัจจายนะถึงที่อยู่ ฯลฯ ครั้นแล้วหม่อมฉันได้กล่าว
คำนี้กะครูปกุทธกัจจายนะว่า ท่านกัจจายนะผู้เจริญ ศิลปศาสตร์เป็น
อันมากเหล่านี้ คือ พลช้าง พลม้า ฯ ล ฯ คนเหล่านั้นย่อมอาศัยผลแห่ง
ศิลปศาสตร์ที่เห็นประจักษ์เลี้ยงชีพในปัจจุบัน ด้วยผลแห่งศิลปศาสตร์นั้น
เขาย่อมบำรุงตน มารดาบิดา บุตรภริยา มิตร สหาย ให้เป็นสุขอิ่มหนำ
สำราญ บำเพ็ญทักษิณาทานอันมีผลอย่างสูง เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี
มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ฉันใด ท่านอาจ
ทำให้รู้ถึงสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน เหมือนฉันนั้นได้หรือไม่
เมื่อหม่อมฉันกล่าวอย่างนี้ ครูปกุทธกัจจายนะ ได้กล่าวคำนี้กะหม่อมฉันว่า
มหาบพิตร สภาวะ ๗ กองเหล่านี้ ไม่มีใครทำ ไม่มีแบบอย่างอันใครทำ
ไม่มีใครเนรมิต ไม่มีใครให้เนรมิต เป็นสภาพยั่งยืน ตั้งมั่นดุจยอดภูเขา
ตั้งมั่นดุจเสาระเนียด สภาวะ ๗ กองเหล่านั้น ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน
ไม่เบียดเบียนกันและกัน ไม่อาจให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุขและทุกข์
แก่กันและกัน สภาวะ ๗ กองเป็นไฉน คือ กองดิน กองน้ำ กองไฟ
กองลม สุข ทุกข์ ชีวะเป็นที่ ๗ สภาวะ ๗ กองนี้ ไม่มีใครทำ ไม่มีแบบ
อย่างอันใครทำ ไม่มีใครเนรมิต เป็นสภาพยั่งยืน ตั้งมั่นดุจยอดภูเขา
ตั้งมั่นอาทิผิด อาณัติกะดุจเสาระเนียด สภาวะ ๗ กองเหล่านั้น ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน
ไม่เบียดเบียนกันและกัน ไม่อาจให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุขและทุกข์
แก่กันและกัน ผู้ฆ่าเองก็ดี ผู้ใช้ให้ฆ่าก็ดี ผู้ได้ยินก็ดี ผู้กล่าวให้ได้ยินก็ดี
ผู้เข้าใจความก็ดี ผู้ทำให้เข้าใจความก็ดี ไม่มีในสภาวะ ๗ กองนั้น ด้วยว่า
 
๑๑/๙๗/๒๙๙

วันจันทร์, พฤษภาคม 22, 2566

Prakot

 
[๑๑๔๐] ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและ
ปธานสังขาร ดังนี้ว่า วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคอง
เกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปภายนอก และเธอมีความสำคัญใน
เบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลัง
ฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบน
ฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด
กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่.
[๑๑๔๑] ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้
ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็น
คนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏอาทิผิด อักขระก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขา
ไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำ
ก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือน
นกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์ พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนี้ด้วย
ฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้.
[๑๑๔๒] ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้
ย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งอยู่ไกลและใกล้
ด้วยทิพโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์.
[๑๑๔๓] ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้ย่อม
กำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะก็รู้ว่า จิตมีราคะ
หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่า จิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ว่า จิตมีโทสะ
หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่า จิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่า จิตมีโมหะ
หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่า จิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่า จิตหดหู่
 
๓๑/๑๑๔๑/๑๓๙

วันอาทิตย์, พฤษภาคม 21, 2566

Tat

 
ยืนอีก ในข้อนี้มีการเทียบเคียงอุปมาดังว่ามานี้. ทรงหมายเอาภาวนาวิธี
ซึ่งเป็นดังว่ามานี้ จึงตรัสว่า พึงเจริญอสุภะเพื่อละราคะ.
บทว่า เมตฺตา ได้แก่ กรรมฐานมีเมตตาเป็นอารมณ์. บทว่า
พฺยาปาทสฺส ปหานาย ได้แก่ เพื่อละความโกรธอันเกิดขึ้น โดยนัย
ดังกล่าวแล้วนั่นแล. บทว่า อานาปานสฺสติ ได้แก่ อานาปานสติอัน
มีวัตถุ ๑๖. บทว่า วิตกฺกุปจฺเฉทาย ได้แก่ เพื่อตัดอาทิผิด สระวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว
โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. บทว่า อสฺมิมานสมุคฺฆาตาย ได้แก่ เพื่อ
ถอนมานะ ๙ อย่างที่เกิดขึ้นว่าเรามี. บทว่า อนิจฺจสญฺญิโน ได้แก่ ผู้มี
ความสำคัญว่าไม่เที่ยง ด้วยอนิจจานุปัสสนาที่เป็นไปว่า สังขารทั้งปวงชื่อว่า
ไม่เที่ยง เพราะมีแล้วกลับไม่มี เพราะมีความเกิดขึ้นและดับไปเป็นที่สุด
เพราะมีการแตกดับ เพราะเป็นไปชั่วขณะ เพราะปฏิเสธความเป็นของ
เที่ยง. บทว่า อนตฺตสญฺญา สณฺฐาติ ได้แก่ อนัตตสัญญา กล่าวคือ
อนัตตานุปัสสนาที่เป็นไปอย่างนี้ว่า ธรรมทั้งปวงชื่อว่าเป็นอนัตตา เพราะ
ไม่มีแก่นสาร เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ เพราะเป็นอื่น เพราะว่าง
เพราะเปล่า และเพราะสูญ ย่อมไม่ดำรงอยู่ คือไม่ตั้งมั่นอยู่ในจิต.
จริงอยู่ เมื่อเห็นอนิจจลักษณะก็เป็นอันชื่อว่าเห็นอนัตตลักษณะเหมือนกัน.
ก็บรรดาลักษณะทั้ง ๓ เมื่อเห็นลักษณะหนึ่ง ก็เป็นอันชื่อว่าเห็นลักษณะ
๒ อย่างนอกนี้เหมือนกัน. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า เมฆิยะ ก็อนัตตสัญญา
ย่อมดำรงอยู่แก่ผู้มีความสำคัญในสังขารว่าเป็นของไม่เที่ยง. เมื่อเห็น
อนัตตลักษณะ มานะที่เกิดขึ้นว่าเรามี ก็ชื่อว่าละได้ด้วยนั่นเอง เพราะ-
เหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า ผู้มีความสำคัญในสังขารว่าเป็นอนัตตา ย่อม
ถึงการถอนอัสมิมานะเสียได้. บทว่า ทิฏฺเฐว ธมฺเม นิพฺพานํ ความว่า
 
๔๔/๘๙/๔๑๐

วันเสาร์, พฤษภาคม 20, 2566

Chan

 
ธรรมไม่เป็นกามาวจร เป็นไฉน ?
รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม อปริยาปันนธรรม สภาวธรรมเหล่า
นี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นกามาวจร.
[๘๒๙] ธรรมเป็นรูปาวจร เป็นไฉน ?
จิตและเจตสิกธรรม ของท่านผู้เข้าสมาบัติ (กุศลฌาน) หรือของ
ท่านผู้อุปบัติ (วิปากฌาน) หรือของท่านผู้อยู่ด้วยทิฏฐธรรมสุขวิหาร (กิริ-
ยาฌาน) ซึ่งท่องเที่ยวอยู่นับเนื่องอยู่ในภูมิระหว่างนี้ คือ เบื้องต่ำกำหนด
พรหมโลกเป็นที่สุด เบื้องสูงกำหนดเทพชั้นอาทิผิด สระอกนิษฐ์เป็นที่สุด อันใด สภาว-
ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นรูปาวจร.
ธรรมไม่เป็นรูปาวจร เป็นไฉน ?
กามาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม อปริยาปันนธรรม สภาวธรรมเหล่า
นี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นรูปาวจร.
[๘๓๐] ธรรมเป็นอรูปาวจร เป็นไฉน ?
จิตและเจตสิกธรรม ของท่านผู้เข้าสมาบัติ (กุศลฌาน) หรือของ
ท่านผู้อุปบัติ (วิปากฌาน) หรือของท่านผู้อยู่ด้วยทิฏฐิธรรมสุขวิหาร (กิริยา-
ฌาน) ซึ่งท่องเที่ยวอยู่นับเนื่องอยู่ในภูมิระหว่างนี้ คือเบื้องต่ำกำหนดเทพผู้
เข้าถึงอากาสานัญจายตนภูมิเป็นที่สุด เบื้องสูงกำหนดเทพผู้เข้าถึงเนวสัญญา-
นาสัญญายตนภูมิเป็นที่สุด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอรูปาวจร.
ธรรมไม่เป็นอรูปาวจร เป็นไฉน ?
กามาวจรธรรม รูปาวจรธรรม อปริยาปันนธรรม สภาวธรรมเหล่า
นี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอรูปาวจร.
 
๗๖/๘๒๙/๔๙๓

วันศุกร์, พฤษภาคม 19, 2566

Athi

 
หรือยังไม่ออก หรือยังไม่แสดงเท่านั้น ต่อจากทำคืนตามกรณีนั้น ๆ แล้วหา
เป็นอันตรายไม่.
บรรดาอันตรายิกธรรมตามที่กล่าวแล้วนั้น ภิกษุนี้เป็นพหูสูต เป็น
ธรรมกถึก รู้จักอันตรายิกธรรมที่เหลือได้ แต่เพราะไม่ฉลาดในพระวินัย จึง
ไม่รู้อันตรายิกธรรม คือ การล่วงละเมิดพระบัญญัติ. เพราะฉะนั้น เธอไป
อยู่ในที่ลับได้คิดอาทิผิด อักขระอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ครองเรือนเหล่านี้ยังบริโภคกามคุณ ๕ เป็น
พระโสดาบันก็มี เป็นพระสกทาคามีก็มี เป็นพระอนาคามีก็มี แม้ภิกษุทั้งหลาย
ก็เห็นรูปที่ชอบใจ พึงรู้ได้ทางจักษุ ฯลฯ ย่อมถูกต้องโผฏฐัพพะอันน่าชอบใจ
พึงรู้ได้ทางกาย บริโภคเครื่องลาดและเครื่องนุ่งห่มเป็นต้น แม้อันอ่อนนุ่ม ข้อ
นั้นควรทุกอย่าง เพราะเหตุไร รูปสตรีทั้งหลาย ฯลฯ โผฏฐัพพะ คือ สตรี
ทั้งหลาย จึงไม่ควรอย่างนี้เล่า ? แม้สตรีเป็นต้นเหล่านี้ ก็ควร. เธอเทียบ
เคียงรสกับรสอย่างนี้แล้ว ทำการบริโภคกามคุณที่เป็นไปกับด้วยฉันทราคะ กับ
การบริโภคกามคุณที่ไม่มีฉันทราคะ ให้เป็นอันเดียวกัน ยังทิฏฐิอันลามกให้
เกิดขึ้น ดุจบุคคลต่อด้ายละเอียดยิ่งกับเส้นปออันหยาบ ดุจเอาเขาสิเนรุเทียบกับ
เมล็ดผักกาด ฉะนั้น จึงขัดแย้งกับสรรเพชุดาญาณว่า ไฉน พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบัญญัติปฐมปาราชิกด้วยความอุตสาหะมาก ดุจทรงกั้นมหาสมุทร โทษใน
กามเหล่านี้ ไม่มี ดังนี้ ตัดความหวังของพวกภัพบุคคล ได้ให้การประหาร
ในอาณาจักรแห่งพระชินเจ้า. เพราะเหตุนั้น อริฏฐภิกษุจึงกล่าว่า ตถาหํ
ภควตา ธมฺมํ เทสิตํ อาชานามิ เป็นอาทิอาทิผิด สระ.
ในคำว่า อฏฺฐิกงฺกลูปมา เป็นต้น มีวินิจฉัยอาทิผิด อักขระว่า กามทั้งหลายเปรียบ
เหมือนโครงกระดูก ด้วยอรรถว่า มีรสอร่อยน้อย (มีความยินดีน้อย).
เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ด้วยอรรถว่า เป็นกายทั่วไปแก่สัตว์มาก. เปรียบเหมือน
 
๔/๖๖๘/๗๒๒

วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 18, 2566

Sapplap

 
ไว้ในกัมมัฏฐาน ป้องกันเดินออกนอกทาง. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สติ เม ผาลปาจนํ ดังนี้.
บทว่า กายคุตฺโต ได้แก่คุ้มครองด้วยกายสุจริต ๓ อย่าง. บทว่า
วจีคุตฺโต ได้แก่คุ้มครองด้วยวจีสุจริต ๔ อย่าง. ก็ด้วยคำมีประมาณเท่านี้
เป็นอันท่านกล่าวปาติโมกขสังวรศีลแล้ว. ในข้อว่า อาหาเร อุทเร ยโต
นี้ มีความว่า สำรวมในปัจจัยทั้ง ๔ อย่าง เพราะท่านสงเคราะห์ปัจจัยทุกอย่าง
ด้วยมุขคืออาหาร อธิบายว่า สำรวมแล้ว คือปราศจากอุปกิเลส. ด้วยคำนี้
เป็นอันท่านกล่าวอาชีวปาริสุทธิศีลแล้ว. บทว่า อุทเร ยโต ได้แก่สำรวม
ในท้อง คือสำรวม คือบริโภคพอประมาณ. ท่านอธิบายไว้ว่า รู้จักประมาณ
ในอาหาร. ด้วยมุขคือความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคนี้ เป็นอัน
ท่านกล่าวการเสพเฉพาะปัจจัยสันนิสสิตศีลแล้ว. ถามว่า ด้วยข้อนั้น ท่าน
แสดงความอย่างไร. ตอบว่า ท่านแสดงความว่า พราหมณ์ ท่านหว่านพืช
แล้ว ล้อมด้วยรั้วหนามรั้วต้นไม้หรือกำแพง เพื่อรักษาข้าวกล้า ฝูงโคกระบือ
และเนื้อทั้งหลายเข้าไปไม่ได้ แย่งข้าวกล้าไม่ได้ เพราะการล้อมนั้น ฉันใด
เราตถาคตก็ฉันนั้น หว่านพืช คือ ศรัทธาเป็นอันมากแล้ว ล้อมรั้ว ๓ ชั้น
ได้แก่ควบคุมกาย ควบคุมวาจา และควบคุมอาหาร เพื่อรักษากุศลธรรม
นานาประการ ฝูงโคกระบือและเนื้อกล่าวคืออกุศลธรรมมีราคะเป็นต้น เข้าไป
ไม่ได้ แย่งข้าวกล้าคือกุศลนานาประการของเราไปไม่ได้เพราะการล้อมรั้วนั้น.
การพูดไม่ผิดด้วยอาการ ๒ อย่าง ชื่อว่า สัจจะ ในคำว่า สจฺจํ
กโรมิ นิทฺทานํ นี้. บทว่า นิทฺทานํ ได้แก่ ตัด เกี่ยว ถอน. แลคำนี้
พึงทราบว่าเป็นทุติยาวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ. ก็ในคำนี้มีเนื้อความ
ดังนี้ว่า เราดายหญ้า (คือวาจาสับปลับอาทิผิด อักขระ) ด้วยคำสัตย์. คำนี้มีอธิบายว่า
ท่านทำการไถภายนอก ใช้มือหรือมีดดายหญ้าที่ทำข้าวกล้าให้เสีย ฉันใด
 
๒๕/๖๗๖/๒๖๑

วันพุธ, พฤษภาคม 17, 2566

Phahusut

 
เครื่องปูลาด, ควรแต่งตั้งภิกษุผู้อยู่ในอาวาส, ส่วนภิกษุผู้ถืออัพโภกาสิกธุดงค์
ก็ดี ผู้ถือรุกขมูลิกธุดงค์ก็ดี ไม่ควรให้รับวาระ. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
ภิกษุรูปหนึ่งยังเป็นพระนวกะอยู่ แต่เธอเป็นพหูสูตอาทิผิด อักขระ สอนธรรมให้การสอบ
ถาม บอกบาลีแสดงธรรมกถา แก่ภิกษุเป็นอันมาก ทั้งช่วยภาระของสงฆ์ด้วย.
ภิกษุนี้ เมื่อฉันลาภอยู่ก็ดี อยู่ในอาวาสก็ดี ไม่ควรให้รับวาระ, ควรรู้กันว่า
เป็นคนพิเศษ. แต่ภิกษุผู้รักษาโรงอุโบสถ และเรือนพระปฏิมา ควรให้ข้าว
ยาคูและภัตเป็นทวีคูณ ข้าวสารทะนานหนึ่งทุกวัน ไตรจีวรประจำปี และ
กัปปิยภัณฑ์ที่มีราคา ๑๐ หรือ ๒๐ กหาปณะ. ก็ถ้าเมื่อเธอได้รับข้าวยาคูและ
ภัตนั้นอยู่นั่นเอง สิ่งของอะไร ๆ ในโรงอุโบสถ และเรือนพระปฏิมานั้นหาย
ไป เพราะความประมาท, เป็นสินใช้แก่เธอทั้งหมด. แต่สิ่งของที่ถูกพวกโจร
ผูกมัดตัวเธอไว้แล้ว แย่งชิงเอาไป โดยพลการย่อมไม่เป็นสินใช้แก่เธอ, การ
ที่จะให้รักษาสิ่งของ ๆ เจดีย์ไว้รวมกับสิ่งของ ๆ เจดีย์เอง หรือกับสิ่งของ ๆ
สงฆ์ในโรงอุโบสถเป็นต้นนั้น สมควรอยู่, แต่การที่จะให้รักษาสิ่งของ ๆ สงฆ์
ไว้รวมกับสิ่งของ ๆ เจดีย์ไม่ควร. แต่สิ่งของอันใด ที่เป็นของสงฆ์ ซึ่งเก็บ
รวมกับของเจดีย์, สิ่งของ ๆ สงฆ์นั้น เมื่อให้รักษาของเจดีย์ไว้แล้ว ก็เป็น
อันรักษาไว้แล้วทีเดียว เพราะฉะนั้น การรักษาไว้อย่างนั้นควรอยู่. แม้เมื่อ
ภิกษุรักษาสถานที่ทั้งหลาย มีโรงอุโบสถเป็นต้น ตามปักขวาระ สิ่งของที่
หายไป เพราะอำนาจความประมาทย่อมเป็นสินใช้ เหมือนกัน ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยของที่เขาฝากไว้
 
๒/๑๗๕/๑๙๔

วันอังคาร, พฤษภาคม 16, 2566

Praphruet

 
คาถาที่
๕) มิโค อรญฺญมฺหิ ยถา อพนฺโธ
เยนิจฺฉกํ คจฺฉติ โคจราย
วิญฺญู นโร เสริตํ เปกฺขมาโน
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
เนื้อในป่าที่บุคคลไม่ผูกไว้แล้ว ย่อมไปหากินตาม
ปรารถนา ฉันใด นรชนผู้รู้แจ้ง เพ่งความประพฤติตาม
ความพอใจของตน พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๕ ดังต่อไปนี้.
บทว่า มิโค นี้ เป็นชื่อของสัตว์ ๔ เท้าที่อยู่ในป่าทุกชนิด. ใน
ที่นี้ท่านประสงค์เอาเนื้อฟาน (อีเก้ง). บทว่า อรญฺญมฺหิ คือ ป่าที่เหลือ
เว้นบ้านและที่ใกล้เคียงบ้าน. แต่ในที่นี้ท่านประสงค์เอาสวน. เพราะ-
ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อุยฺยานมฺหิ คือ ในสวน. บทว่า ยถา คือ ใน
ความเปรียบเทียบ. บทว่า อพนฺโธ คือ อันเครื่องผูกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในบรรดาเชือกและเครื่องผูกเป็นต้น มิได้ผูกพันไว้. ด้วยบทนี้ท่านแสดง
ถึงความประพฤติอาทิผิด อักขระที่คุ้นเคยกัน. บทว่า เยนิจฺฉกํ คจฺฉติ โคจราย ไป
เพื่อหาอาหารตามอาทิผิด อักขระความต้องการ คือไปเพื่อหาอาหารตามทิศที่ต้องการไป.
เพราะฉะนั้น ในบทนั้นท่านจึงแสดงว่า ไปยังทิศที่ต้องการจะไป เคี้ยว
กินอาหารที่ต้องการเคี้ยวกิน. บทว่า วิญฺญู นโร คือ บุรุษผู้เป็นบัณฑิต.
บทว่า เสริตํ ธรรมอันให้ถึงความเสรี คือ ความประพฤติด้วย
ความพอใจ ความไม่อาศัยผู้อื่น. บทว่า เปกฺขมาโน คือ ดูด้วยปัญญา
 
๖๗/๘๒๑/๖๖๕

วันจันทร์, พฤษภาคม 15, 2566

Ya

 
นานาติตถิยวรรคที่ ๓

อรรถกถาสิวสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๓ มีเนื้อความกล่าวมาแล้วทั้งนั้น.

๒. ขมสูตร

[๒๘๑] เขมเทพบุตร ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้กล่าว
คาถาเหล่านี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
คนพาลผู้มีปัญญาทราม ย่อมประ-
พฤติกับตัวเองดังศัตรู ย่อมทำกรรมชั่วที่
มีผลเผ็ดร้อน บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อม
เดือดร้อนภายหลัง มีหน้านองด้วยน้ำตา
ร้องไห้อยู่ เสวยผลแห่งกรรมใด กรรม
นั้นทำแล้วไม่ดีเลย บุคคลทำกรรมใดแล้ว
ไม่เดือดร้อนในภายหลัง มีหัวใจแช่มชื่น
เบิกบานเสวยผลแห่งกรรมใด กรรมนั้น
ทำแล้วเป็นการดี บุคคลรู้กรรมใดว่าเป็น
ประโยชน์แก่ตน ควรลงมือกระทำกรรม
นั้นก่อนทีเดียว อย่าอาทิผิด อักขระพยายามเป็นนักปราชญ์
เจ้าความรู้ ด้วยความคิดอย่างพ่อค้าเกวียน
พ่อค้าเกวียนละหนทางสายใหญ่ที่เรียบเสีย
 
๒๔/๒๘๑/๓๖๗

วันอาทิตย์, พฤษภาคม 14, 2566

Phu

 
๕. อัสสาโรหสูตร

ว่าด้วยปัญหาของนายทหารม้า

[๕๙๖] ครั้งนั้นแล นายทหารม้าเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูล
ถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับคำ
ของทหารม้า ทั้งอาจารย์และปาจารย์ก่อน ๆ พูดกันว่า ทหารม้าคนใด
อุตสาหะพยายามในสงคราม คนอื่นฆ่าผู้นั้นซึ่งกำลังอุตสาหะพยายามให้
ถึงความตาย ทหารม้าผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา
เหล่าสรชิต ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่ากระไร พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า อย่าเลยของดข้อนี้เสียเถิด อย่าถามเราถึงข้อนี้เลย แม้ครั้งที่ ๒
ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ นายทหารม้าได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้อาทิผิด สระเจริญ ข้าพระองค์ได้สดับคำของทหารม้าทั้งอาจารย์และปาจารย์
คนก่อน ๆ พูดกันว่า ทหารม้าคนใดอุตสาหะพยายามในสงคราม คนอื่น
ฆ่าผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสรชิต ใน
ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่ากระไร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า แน่ะ
นาย เราห้ามไม่ได้แน่แล้วว่า อย่าเลยนาย ของดข้อนี้เสียเถิด อย่าถาม
เราถึงข้อนี้เลย แต่เราจักพยากรณ์ให้ท่าน แน่ะนาย ทหารม้าคนใดอุตสาหะ
พยายามในสงคราม ผู้นั้นยึดหน่วงจิตกระทำไว้ไม่ดี ตั้งจิตไว้ไม่ดีก่อนว่า
สัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า จงถูกแทง จงขาดสูญ จงพินาศ หรือว่า จงอย่า
มีคนอื่นฆ่าผู้นั้นซึ่งกำลังอุตสาหะพยายามให้ถึงความตาย ทหารม้าผู้นั้น
เมื่อตายไป ย่อมบังเกิดในนรกชื่อสรชิต อนึ่ง ถ้าเขามีความเห็นว่า ทหารม้า
 
๒๙/๕๙๖/๑๘๗

วันเสาร์, พฤษภาคม 13, 2566

Chonnani

 
พระนางสุเมธานั้น กราบทูลพระชนกอยู่อย่างนี้
พระเจ้าอนิกรัตตะ ผู้ที่ได้รับพระราชทานพระนางสุ-
เมธานั้น ทรงแวดล้อมด้วยข้าราชบริพารหนุ่ม ก็เสด็จ
เข้าสู่วิวาหะเมื่อเวลากระชั้นชิด.
ภายหลัง พระนางสุเมธาทรงทราบว่า พระเจ้า-
อนิกรัตตะเสด็จมา จึงใช้พระขรรค์ตัดพระเกศาอันดำ
สนิทที่รวบไว้ อ่อนสลวย ทรงปิดปราสาท เข้าปฐม-
ฌาน
พระนางสุเมธานั้น เข้าฌานอยู่ในปราสาทนั้น
พระเจ้าอนิกรัตตะก็เสด็จถึงพระนคร พระนางสุเมธา
ทรงเจริญอสุภสัญญาอยู่ในปราสาท.
พระนางสุเมธานั้นกำลังทรงมนสิการ พระเจ้า
อนิกรัตตะ ทรงแต่งพระองค์ด้วยมณีและทอง ก็รีบ
เสด็จขึ้นปราสาท ทรงประคองอัญชลี ทูลวอน
พระนางสุเมธาว่า
อำนาจ ทรัพย์ ความเป็นใหญ่ โภคะ สุขใน
ราชสมบัติ ขอมอบถวาย พระน้องนางก็ยังสาวอยู่
ขอเชิญบริโภคกามสมบัติ กามสุขหาได้ยากในโลก
นะพระน้องนาง.
ราชสมบัติพี่สละให้พระน้องนางแล้ว ขอพระ-
น้องนางโปรดบริโภคโภคะ ถวายทานทั้งหลายเถิด
พระน้องนางอย่าทรงเสียพระทัยเลย พระชนกชนนีอาทิผิด สระ
ของพระน้องนางทรงเป็นทุกข์.
 
๕๔/๔๗๔/๔๘๗

วันศุกร์, พฤษภาคม 12, 2566

Yukhon

 
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พาลายํ พาลสฺส ความว่า พระราชานี้
เป็นพาลด้วยพระองค์เอง ทรงฟังถ้อยคำของชฎิลโกงผู้เป็นพาลโง่เขลาแล้ว
ตรัสสั่งให้ฆ่าข้าพเจ้าโดยหาเหตุมิได้.
ก็แลพระโพธิสัตว์เจ้า ตรัสดังนี้แล้ว ถวายบังคมพระราชบิดาให้ทรง
อนุญาตให้พระองค์ทรงบรรพชาแล้ว ตรัสพระคาถานอกนี้ความว่า
เมื่อรากยังเจริญงอกงามแผ่ไพศาลอยู่ ไม้ไผ่ที่
แตกเป็นกอใหญ่แล้ว ก็แสนยากที่จะถอนให้หมดสิ้น
ไปได้ ข้าแต่พระราชบิดาผู้เป็นจอมประชาราษฎร์
เกล้ากระหม่อมฉันขอถวายบังคมพระยุคลอาทิผิด อักขระบาท ขอ
พระราชทานพระบรมราชานุญาต กระหม่อมฉันจักขอ
ออกบวช พระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิสเต ความว่า (ไม้ไผ่) แตกเป็นกอ
ลำใหญ่. บทว่า ทุนฺนิกฺขโย ความว่า ยากที่จะถอนให้หมดสิ้น.
ต่อแต่นี้ไป เป็นคาถาประพันธ์ โต้ตอบระหว่างพระราชากับพระราช-
โอรส.
(พระราชาตรัสว่า) โสมนัสสกุมารเอ๋ย เจ้าจง
เสวยสมบัติอันไพบูลย์เถิด อนึ่ง บิดาจะมอบอิสริยยศ
ทั้งหมดให้แก่เจ้า เจ้าจงเป็นพระราชาของชาวกุรุรัฐ
เสียในวันนี้ทีเดียวเถิด อย่าบวชเลย เพราะการบวช
เป็นทุกข์.
(พระโพธิสัตว์ทูลว่า) ขอเดชะ บรรดาโภค-
สมบัติของพระองค์ ซึ่งมีอยู่ในราชธานีนี้ สิ่งไรเล่าที่
 
๖๑/๒๑๗๙/๑๗๗

วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 11, 2566

Sadung

 
ลำดับนั้นแล พระราชโอรสผู้ทรงพระปรีชา
ถวายบังคมพระยุคลบาท พระชนกชนนีแล้วเสด็จไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาเท ความว่า ถวายบังคมพระยุคลบาท
พระชนกชนนีเสด็จไปแล้ว.
ลำดับนั้น พระชนกชนนีก็ดี พระภคินีก็ดี พระชายาก็ดี ของพระราช
กุมารนั้น พร้อมด้วยหมู่อำมาตย์ และบริวารชนก็เสด็จออกไปด้วย. ครั้น
พระราชกุมารนั้นออกจากพระนครแล้ว ก็ทูลถามหนทางกะพระราชบิดากำหนด
ไว้ด้วยดีแล้ว ถวายบังคมพระชนกชนนี ประทานโอวาทแก่ชนที่เหลือ แล้ว
มิได้สะดุ้งอาทิผิด สระตกพระทัยกลัว เสด็จขึ้นสู่ทางดำเนินไปสู่ที่อยู่ของยักษ์ ประหนึ่งว่า
ไกรสรสีหราชฉะนั้น. พระมารดาทอดพระเนตรเห็นพระกุมารกำลังทรงดำเนิน
ไป ไม่สามารถจะดำรงพระองค์อยู่ได้ ก็ล้มลง ณ พื้นปฐพี. พระราชบิดา
ก็ทรงประคองพระพาหา คร่ำครวญด้วยเสียงอันดัง.
เมื่อพระบรมศาสดาจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงทรงตรัสพระคาถา
กึ่งคาถา ความว่า
พระชนนีของพระราชกุมารนั้น ทรงมีทุกข์
โทมนัสล้มลงเหนือพื้นปฐพี พระชนกนาถเล่า ก็ทรง
ประคองสองพระพาหา คร่ำครวญด้วยเสียงอันดัง.
ครั้นตรัสกึ่งพระคาถาดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงประกาศสัจจกิริยา อัน
พระราชบิดาของพระกุมารนั้นทรงประกอบ และอันพระราชมารดาพระภคินี
และพระชายาทรงกระทำแล้ว จึงได้ตรัสพระคาถาต่อไปอีก ๔ คาถา ความว่า
พระราชบิดา ทรงทราบชัดว่า พระโอรสกำลัง
มุ่งหน้าเสด็จไป ทรงเบือนพระพักตร์ประคองอัญชลี
 
๖๑/๒๓๒๖/๓๕๘

วันพุธ, พฤษภาคม 10, 2566

Songkhram

 
ทั้งหลายกล่าวว่าเป็นขันติอย่างยิ่ง คน
ทุรพลจำต้องอดทนอยู่เป็นนิตย์ บัณฑิต
ทั้งหลายกล่าวกำลังของผู้ซึ่งมีกำลังอย่าง
คนพาลว่ามิใช่กำลัง ไม่มีผู้ใดที่จะกล่าว
โต้ต่อผู้มีกำลังผู้ซึ่งอาทิผิด อาณัติกะธรรมคุ้มครองแล้วได้
เลย เพราะความโกรธนั้น โทษที่ลามก
จึงมีแก่ผู้ที่โกรธตอบต่อผู้ที่โกรธ บุคคลผู้
ไม่โกรธตอบต่อผู้ที่โกรธ ย่อมชื่อว่าชนะ
สงครามอาทิผิด อักขระซึ่งเอาชนะได้ยาก ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่น
โกรธแล้ว เป็นผู้มีสติระงับไว้ได้ ผู้นั้น
ชื่อว่าประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย
คือ ทั้งฝ่ายตนและคนอื่น คนที่ไม่ฉลาด
ในธรรม ย่อมสำคัญเห็นผู้รักษาประโยชน์
ของทั้งสองฝ่าย คือ ของตนและของคน
อื่น ว่าเป็นคนโง่ ดังนี้.
[๘๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ท้าวสักกะจอมเทวดาพระองค์นั้น
เข้าไปอาศัยผลบุญของพระองค์เป็นอยู่ เสวยรัชสมบัติมีความเป็นใหญ่ยิ่งด้วย
ความเป็นอิสระแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ ยังพรรณนาคุณของขันติ และโสรัจจะ
ได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่พวกเธอบวชแล้วในธรรมวินัยที่เรากล่าว
ชอบแล้วเช่นนี้ เป็นผู้อดทนและสงบเสงี่ยมนี้ จะพึงงามในธรรมวินัยนี้โดยแท้.
 
๒๕/๘๗๖/๔๗๑

วันอังคาร, พฤษภาคม 09, 2566

Utnun

 
พลิกกลับไปมาให้ดี ๆ เมื่อหยาดน้ำย้อมยังไม่ขาดสาย ไม่พึงหลีกไปเสีย ถ้า
สัทธิวิหาริกอาพาธ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต พึงรอจนกว่าจะหาย.
สัทธิวิหาริกวัตร จบ

อรรถกถาสัทธิวิหาริกวัตตกถา
พึงทราบวินิจฉัยในการที่อุปัชฌาย์ประพฤติชอบในสัทธิวิหาริกต่อไป:-
ข้อว่า สงฺคเหตพฺโพ อนุคฺคเหตพฺโพ มีความว่า อุปัชฌาย์พึง
ทำการช่วยเหลือและอุดหนุนอาทิผิด อักขระเธอด้วยกิจมีอุทเทสเป็นต้น. ในกิจมีอุทเทสเป็น
ต้นนั้น อุทเทสนั้น ได้แก่การบอกบาลี. ปริปุจฉานั้นได้แก่อธิบายความแห่ง
บาลี. โอวาทนั้น ได้แก่การกล่าวว่า จงทำอย่างนี้ อย่าทำอย่างนี้ ในเมื่อเรื่อง
ยังไม่เกิด. อนุศาสนีนั้น ได้แก่ การว่ากล่าวอย่างนั้น ในเมื่อเรื่องเกิดแล้ว
อีกประการหนึ่ง เรื่องจะเกิดหรือไม่เกิดก็ตาม การว่ากล่าวครั้งแรก ชื่อโอวาท.
การพร่ำสอนอยู่เนือง ๆ ชื่ออนุศาสนี.
ข้อว่า สเจ อุปชฺฌายสฺส ปตฺโต โหติ มีความว่า ถ้าอติเรก
บาตรมี. มีนัยเหมือนกันทุกแห่ง สมณบริขารแม้อื่น ชื่อว่าบริขาร. ความค้น
คว้าหาอุบายซึ่งเกิดขึ้นโดยนัยอันชอบธรรม ชื่อว่า ความขวนขวาย ในสัทธิ-
วิหาริกวัตรนี้. ถัดจากนี้ไป วัตรตั้งต้นแต่ให้ไม้สีฟัน ถึงที่สุดเติมน้ำในหม้อ
ชำระ อุปัชฌาย์ควรทำแก่สัทธิวิหาริกเฉพาะผู้เป็นไข้. อนึ่ง กิจมีพาเที่ยวเพื่อ
ระงับความกระสันเป็นต้น แม้สัทธิวิหาริกไม่เป็นไข้ อุปัชฌาย์ก็ควรทำแท้.
ข้อว่า จีวรํ รชนฺเตน มีความว่า เมื่อได้ฟังอุบายจากอุปัชฌาย์ว่า
พึงย้อมอย่างนี้ แล้วจึงย้อม คำที่เหลือ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั้น.
อรรถกถาสัทธิวิหาริกวัตตกถา จบ
 
๖/๘๒/๑๕๙

วันจันทร์, พฤษภาคม 08, 2566

Singkhi

 
ทั้งสอง. จริงอยู่ คำว่า โอภาสสิ นี้ ท่านเพ่งบทว่า ตฺวํ จึงกล่าวไว้
เป็นมัธยมบุรุษ ครั้นเพ่งบทว่า ปีฐํ จึงเปลี่ยนไปเป็นประถมบุรุษ. ส่วน
จ ศัพท์ในคำนี้ พึงเห็นว่า ท่านลบแล้วแสดงไว้. คำว่า คจฺฉติ เยน
กามํ โอภาสสิ และ วิชฺชุลโตภาสิตํ อพฺภกูฏํ วิย นี้เป็นทุติยา-
วิภัตติ เปลี่ยนไปเป็นปฐมาวิภัตติ. คำว่า ปิฐํ นี้ ก็อย่างนั้น เป็น
คำกล่าวถึงข้อที่พึงขยายคำว่า เต โสวณฺณมยํ อุฬารํ เป็นต้น เป็น
วิเสสนะคำขยายของคำว่า ปีฐํ นั้น.
ถามว่า ก็ท่านกล่าวว่า โสวณฺณมยํ ไว้แล้ว ไม่น่ากล่าวว่า อุฬารํ
เพราะทองเป็นของประเสริฐสุดอยู่แล้ว เหตุเป็นโลหะอันเลิศ และเพราะเป็น
ทิพย์ ท่านก็ประสงค์เอาแล้วในที่นี้ มิใช่หรือ. ตอบว่าไม่ใช่ เพราะสิ่งไร ๆ
ก็มีสภาพวิเศษ. เหมือนอย่างว่า ทองมีรส [น้ำ] รุ้งร่วงเป็นประเสริฐ
สุด บริสุทธิ์ดีโดยเป็นทองรูปพรรณหลายชนิด อันเป็นเครื่องใช้สอยของ
มนุษย์ แต่นั้น ก็เกิดเป็นอากร [บ่อเกิด] จากนั้น ทองทุกชนิดก็เป็นของ
ทิพย์ของประเสริฐสุดฉันใด ก็ฉันนั้น แม้เพราะเป็นทองทิพย์ ก็เป็นทอง
จามีกร ทองคำจากทองจามีกรก็เป็นทองสาตกุมภะจากทองสาตกุมภะก็เป็น
ทองชมพูนท จากทองชมพูนท ก็เป็นทองสิงคี. ทองสิงคีอาทิผิด อักขระนั้นแลประเสริฐ
สุดแห่งทองทุกชนิด. ด้วยเหตุนั้น ท้าวสักกะ จอมทวยเทพจึงกล่าวว่า
มุตฺโต มุตฺเตหิ สห ปุราณชฏิเลหิ
วิปฺปมุตฺโต วิปฺปมุตฺเตหิ
สิงฺคีนิกฺขสวณฺโณ
ราชคหํ ปาวิสิ ภควา
 
๔๘/๑/๒๐