วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 25, 2566

Thang

 
อุปัตติเทพ. บทว่า ตาทิโน ความว่า ท่านเหล่านั้นต่างมีชีพ มีชีวิตสม่ำเสมอ
หล่อเลี้ยงชีวิตไว้ เพื่อพระราชาผู้ทรงยินดีในกุศลอย่างนั้น เพราะพระราชา
เช่นนั้น เมื่อทรงกระทำบุญทานเป็นต้น ย่อมทรงอุทิศส่วนบุญแก่เทวดา
ทั้งหลาย เทวดาเหล่านั้น รับอนุโมทนาส่วนบุญนั้นแล้ว ย่อมเจริญด้วย
ทิพยยศ. บทว่า อนุติฏฺฐนฺติ ความว่า เมื่อพระราชาเช่นนั้นทรงทำความเพียร
ถึงความไม่ประมาทอยู่ เทวดาทั้งอาทิผิด อาณัติกะหลายย่อมพากันพิทักษ์รักษา ตามไปจัดแจง
อารักขา อันชอบธรรม.
บทว่า โส ได้แก่ โส ตฺวํ แปลว่า ท่านนั้น. บทว่า วายมสฺสุ จ
ความว่า เมื่อพระองค์จะทรงกระทำรัฐกิจนั้น โปรดกระทำความเพียรในรัฐกิจ
นั้น ๆ ด้วยอำนาจการเทียบเคียง การหยั่งดู การกระทำอันประจักษ์เถิด.
บทว่า ตตฺเถว เต วตฺตปทา ความว่า ข้าแต่พระราชบิดา
พระองค์ตรัสถามปัญหาใด กะข้าพระพุทธเจ้าว่า ควรจะทำกิจอะไรดี ใน
ปัญหาของพระองค์นั่นเอง ข้าพระพุทธเจ้าได้ทูลคำเป็นต้นว่า ควรห้าม
มุสาวาทก่อนดังนี้แล้ว ข้อความเหล่านั้น เป็นวัตรบท เป็นวัตรโกฏฐาส
พระองค์โปรดทรงประพฤติในวัตรบทนั้น อย่างข้อความที่ข้าพระองค์ทูลแล้ว.
บทว่า เอสา ความว่า ข้อความที่ข้าพระองค์ทูลแล้ว นี้แหละเป็นอนุสาสนี
สำหรับพระองค์. บทว่า อลํ ความว่า เพราะว่าเมื่อพระราชาประพฤติอยู่
อย่างนี้ย่อมองอาจ สามารถเพื่อยังมวลมิตรให้มีความสุข และก่อทุกข์แก่มวล
อมิตรได้.
เมื่อนกเวสสันดร ท้วงถึงความประมาทของพระราชา ด้วยคาถาบท
หนึ่ง แล้วกล่าวธรรมด้วยคาถาสิบเจ็ดคาถาอย่างนี้ มหาชนบังเกิดความคิด
เป็นอัศจรรย์ขึ้นว่า นกเวสสันดรแก้ปัญหาด้วยลีลาแห่งพระพุทธเจ้า ดังนี้แล้ว
 
๖๑/๒๔๔๔/๕๕๖

ไม่มีความคิดเห็น: