วันอังคาร, พฤษภาคม 23, 2566

Tang Man

 
ไม่พอใจ ไม่เชื่อถือ ไม่คัดค้านวาจานั้นเลย ลุกจากที่นั่งหลีกไป.
(๙๗) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง ณ กรุงราชคฤห์นี้ หม่อม
ฉันเข้าไปหาครูปกุทธกัจจายนะถึงที่อยู่ ฯลฯ ครั้นแล้วหม่อมฉันได้กล่าว
คำนี้กะครูปกุทธกัจจายนะว่า ท่านกัจจายนะผู้เจริญ ศิลปศาสตร์เป็น
อันมากเหล่านี้ คือ พลช้าง พลม้า ฯ ล ฯ คนเหล่านั้นย่อมอาศัยผลแห่ง
ศิลปศาสตร์ที่เห็นประจักษ์เลี้ยงชีพในปัจจุบัน ด้วยผลแห่งศิลปศาสตร์นั้น
เขาย่อมบำรุงตน มารดาบิดา บุตรภริยา มิตร สหาย ให้เป็นสุขอิ่มหนำ
สำราญ บำเพ็ญทักษิณาทานอันมีผลอย่างสูง เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี
มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ฉันใด ท่านอาจ
ทำให้รู้ถึงสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน เหมือนฉันนั้นได้หรือไม่
เมื่อหม่อมฉันกล่าวอย่างนี้ ครูปกุทธกัจจายนะ ได้กล่าวคำนี้กะหม่อมฉันว่า
มหาบพิตร สภาวะ ๗ กองเหล่านี้ ไม่มีใครทำ ไม่มีแบบอย่างอันใครทำ
ไม่มีใครเนรมิต ไม่มีใครให้เนรมิต เป็นสภาพยั่งยืน ตั้งมั่นดุจยอดภูเขา
ตั้งมั่นดุจเสาระเนียด สภาวะ ๗ กองเหล่านั้น ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน
ไม่เบียดเบียนกันและกัน ไม่อาจให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุขและทุกข์
แก่กันและกัน สภาวะ ๗ กองเป็นไฉน คือ กองดิน กองน้ำ กองไฟ
กองลม สุข ทุกข์ ชีวะเป็นที่ ๗ สภาวะ ๗ กองนี้ ไม่มีใครทำ ไม่มีแบบ
อย่างอันใครทำ ไม่มีใครเนรมิต เป็นสภาพยั่งยืน ตั้งมั่นดุจยอดภูเขา
ตั้งมั่นอาทิผิด อาณัติกะดุจเสาระเนียด สภาวะ ๗ กองเหล่านั้น ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน
ไม่เบียดเบียนกันและกัน ไม่อาจให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุขและทุกข์
แก่กันและกัน ผู้ฆ่าเองก็ดี ผู้ใช้ให้ฆ่าก็ดี ผู้ได้ยินก็ดี ผู้กล่าวให้ได้ยินก็ดี
ผู้เข้าใจความก็ดี ผู้ทำให้เข้าใจความก็ดี ไม่มีในสภาวะ ๗ กองนั้น ด้วยว่า
 
๑๑/๙๗/๒๙๙

ไม่มีความคิดเห็น: