วันอังคาร, พฤษภาคม 16, 2566

Praphruet

 
คาถาที่
๕) มิโค อรญฺญมฺหิ ยถา อพนฺโธ
เยนิจฺฉกํ คจฺฉติ โคจราย
วิญฺญู นโร เสริตํ เปกฺขมาโน
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
เนื้อในป่าที่บุคคลไม่ผูกไว้แล้ว ย่อมไปหากินตาม
ปรารถนา ฉันใด นรชนผู้รู้แจ้ง เพ่งความประพฤติตาม
ความพอใจของตน พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๕ ดังต่อไปนี้.
บทว่า มิโค นี้ เป็นชื่อของสัตว์ ๔ เท้าที่อยู่ในป่าทุกชนิด. ใน
ที่นี้ท่านประสงค์เอาเนื้อฟาน (อีเก้ง). บทว่า อรญฺญมฺหิ คือ ป่าที่เหลือ
เว้นบ้านและที่ใกล้เคียงบ้าน. แต่ในที่นี้ท่านประสงค์เอาสวน. เพราะ-
ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อุยฺยานมฺหิ คือ ในสวน. บทว่า ยถา คือ ใน
ความเปรียบเทียบ. บทว่า อพนฺโธ คือ อันเครื่องผูกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในบรรดาเชือกและเครื่องผูกเป็นต้น มิได้ผูกพันไว้. ด้วยบทนี้ท่านแสดง
ถึงความประพฤติอาทิผิด อักขระที่คุ้นเคยกัน. บทว่า เยนิจฺฉกํ คจฺฉติ โคจราย ไป
เพื่อหาอาหารตามอาทิผิด อักขระความต้องการ คือไปเพื่อหาอาหารตามทิศที่ต้องการไป.
เพราะฉะนั้น ในบทนั้นท่านจึงแสดงว่า ไปยังทิศที่ต้องการจะไป เคี้ยว
กินอาหารที่ต้องการเคี้ยวกิน. บทว่า วิญฺญู นโร คือ บุรุษผู้เป็นบัณฑิต.
บทว่า เสริตํ ธรรมอันให้ถึงความเสรี คือ ความประพฤติด้วย
ความพอใจ ความไม่อาศัยผู้อื่น. บทว่า เปกฺขมาโน คือ ดูด้วยปัญญา
 
๖๗/๘๒๑/๖๖๕

ไม่มีความคิดเห็น: