วันจันทร์, พฤษภาคม 08, 2566

Singkhi

 
ทั้งสอง. จริงอยู่ คำว่า โอภาสสิ นี้ ท่านเพ่งบทว่า ตฺวํ จึงกล่าวไว้
เป็นมัธยมบุรุษ ครั้นเพ่งบทว่า ปีฐํ จึงเปลี่ยนไปเป็นประถมบุรุษ. ส่วน
จ ศัพท์ในคำนี้ พึงเห็นว่า ท่านลบแล้วแสดงไว้. คำว่า คจฺฉติ เยน
กามํ โอภาสสิ และ วิชฺชุลโตภาสิตํ อพฺภกูฏํ วิย นี้เป็นทุติยา-
วิภัตติ เปลี่ยนไปเป็นปฐมาวิภัตติ. คำว่า ปิฐํ นี้ ก็อย่างนั้น เป็น
คำกล่าวถึงข้อที่พึงขยายคำว่า เต โสวณฺณมยํ อุฬารํ เป็นต้น เป็น
วิเสสนะคำขยายของคำว่า ปีฐํ นั้น.
ถามว่า ก็ท่านกล่าวว่า โสวณฺณมยํ ไว้แล้ว ไม่น่ากล่าวว่า อุฬารํ
เพราะทองเป็นของประเสริฐสุดอยู่แล้ว เหตุเป็นโลหะอันเลิศ และเพราะเป็น
ทิพย์ ท่านก็ประสงค์เอาแล้วในที่นี้ มิใช่หรือ. ตอบว่าไม่ใช่ เพราะสิ่งไร ๆ
ก็มีสภาพวิเศษ. เหมือนอย่างว่า ทองมีรส [น้ำ] รุ้งร่วงเป็นประเสริฐ
สุด บริสุทธิ์ดีโดยเป็นทองรูปพรรณหลายชนิด อันเป็นเครื่องใช้สอยของ
มนุษย์ แต่นั้น ก็เกิดเป็นอากร [บ่อเกิด] จากนั้น ทองทุกชนิดก็เป็นของ
ทิพย์ของประเสริฐสุดฉันใด ก็ฉันนั้น แม้เพราะเป็นทองทิพย์ ก็เป็นทอง
จามีกร ทองคำจากทองจามีกรก็เป็นทองสาตกุมภะจากทองสาตกุมภะก็เป็น
ทองชมพูนท จากทองชมพูนท ก็เป็นทองสิงคี. ทองสิงคีอาทิผิด อักขระนั้นแลประเสริฐ
สุดแห่งทองทุกชนิด. ด้วยเหตุนั้น ท้าวสักกะ จอมทวยเทพจึงกล่าวว่า
มุตฺโต มุตฺเตหิ สห ปุราณชฏิเลหิ
วิปฺปมุตฺโต วิปฺปมุตฺเตหิ
สิงฺคีนิกฺขสวณฺโณ
ราชคหํ ปาวิสิ ภควา
 
๔๘/๑/๒๐

ไม่มีความคิดเห็น: