วันอังคาร, มกราคม 31, 2566

Ma

 
อรรถกถาสูตรที่ ๑๒
๑๒. ประวัติพระกีสาโคตมีเถรี

ในสูตรที่ ๑๒ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า ลูขจีวรธรานํ ท่านแสดงไว้ว่า นางกีสาโคตมีเป็น
ยอดของเหล่าภิกษุสาวิกาผู้ทรงผ้าบังสุกุลอันประกอบด้วยความเศร้าหมอง
ดังนี้ นางมีชื่อว่า โคตมี แต่เขาเรียกกันว่า กีสาโคตมี เพราะเป็นผู้
ค่อนข้างจะผอมไปนิดหน่อย.
แม้นางนี้ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนสกุล
กรุงหังสวดี ฟังธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว เห็นพระศาสดาทรง
สถาปนาภิกษุณีรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณี
สาวิกาผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง จึงทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนา
ตำแหน่งนั้น. นางเวียนว่ายไปในเทวดาและมนุษย์ตลอดแสนกัป ใน
พุทธุปบาทกาลนี้บังเกิดในสกุลคนเข็ญใจ กรุงสาวัตถี เวลาเจริญวัยแล้ว
ก็ไปสู่การครองเรือน. พวกชนในสกุลนั้นดูหมิ่นนางว่า เป็นธิดาของ
สกุลคนเข็ญใจ. ต่อมาอาทิผิด อักขระนางได้คลอดบุตรคนหนึ่ง. ทีนั้นชนทั้งหลายจึงได้
ทำความยกย่องนาง. ก็บุตรของนางตั้งอยู่ในวัยพอจะวิ่งไปวิ่งมาเล่นได้ก็
มาตายเสีย ความเศร้าโศกก็เกิดขึ้นแก่นาง. นางคิดว่า เราขาดลาภ
และสักการะในเรือนนี้แล้ว นับแต่เวลาที่บุตรเกิดมาจึงได้สักการะ ชน
เหล่านี้จึงพยายามแม้เพื่อจะทิ้งบุตรของเราไว้ข้างนอก ดังนี้ จึงอุ้มบุตร
ใส่สะเอวเที่ยวเดินไปตามลำดับประตูเรือนด้วยพูดว่า ขอพวกท่านจงให้
ยาแก่บุตรของเราด้วยเถิด ดังนี้. พวกมนุษย์ในที่ที่พบแล้ว ๆ ต่างดีด
 
๓๓/๑๕๐/๕๐

วันจันทร์, มกราคม 30, 2566

Si

 
เชือกหรือพวนที่ทำเสร็จด้วยด้าย ปอ ป่าน เสี้ยนมะพร้าวและหนัง
ก็ดี เชือกเกลียวเดียวหรือ ๒ เกลียว ที่เขาฟั่นป่านหรือเสี้ยนมะพร้าวทำก็ดี
ย่อมเป็นครุภัณฑ์ จำเดิมแต่เวลาที่เขาถวายสงฆ์แล้ว .
ส่วนด้ายที่เขามิได้ฟั่นถวาย และปอป่านแลเสี้ยนมะพร้าวแจกกันได้.
อนึ่ง เชือกและพวนเป็นต้นเหล่านั้น เป็นของที่ชนเหล่าใดถวาย,
ชนเหล่านั้นจะยืมไปด้วยกรณียกิจของตน ไม่ควรหวงห้าม.
ไม้ไผ่ชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยที่สุดแม้ขนาดเท่าเข็มไม้ ยาว ๘ นิ้ว
ที่เขาถวายสงฆ์ หรือที่เกิดในธรณีสงฆ์นั้น ซึ่งสงฆ์รักษาปกครองไว้ เป็น
ครุภัณฑ์.
เมื่อการงานของสงฆ์และการงานที่เจดีย์ทำเสร็จแล้ว แม้ไม้ไผ่นั้นยัง
เหลือ จะใช้ในการงานเป็นส่วนตัวบุคคล ก็ควร.
ก็ในภัณฑะ คือ ไม้ไผ่นี้ ของเช่นนี้ คือ กระบอกน้ำมัน จุน้ำมันบาท
หนึ่ง ไม้เท้า คานรองเท้า คันร่ม ซี่อาทิผิด อาณัติกะร่ม เป็นของแจกกันได้.
พวกชาวบ้านผู้ถูกไฟไหม้เรือนฉวยเอาไป ไม่ควรห้าม. เมื่อภิกษุจะ
ถือเอาไม้ไผ่ที่สงฆ์รักษาปกครอง ต้องทำถาวรวัตถุที่เท่ากัน หรือเกินกว่า
โดยที่สุดทำผาติกรรม แม้ด้วยทรายซึ่งมีราคาเท่าไม้ไผ่นั้น แล้วจึงถือเอา.
เมื่อจะไม่ทำผาติกรรมถือเอา ต้องใช้สอยในวัดนั้น เท่านั้น. ในเวลาที่จะไป
ต้องเก็บไว้ในที่อยู่ของสงฆ์ก่อน จึงค่อยไป. ภิกษุผู้ถือเอาไปด้วยความหลงลืม
ต้องส่งคืน. ไปสู่ประเทศอื่นแล้ว พึงเก็บไว้ในที่อยู่ของสงฆ์ในวัดที่ไปถึงเข้า.
หญ้านั้น คือ หญ้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่นอกจากหญ้ามุงกระต่ายและ
หญ้าปล้อง. ก็ในที่ใด ไม่มีหญ้า ในที่นั้น เขามุงด้วยใบไม้ เพราะฉะนั้น
แม้ใบไม้ก็สงเคราะห์ด้วยหญ้าเหมือนกัน.
สุจิทณฑก เข็มไม้ (สำหรับเย็บของใหญ่ เช่นใบเรือ) ไม้กลัด (?).
 
๙/๓๓๖/๒๑๙

วันอาทิตย์, มกราคม 29, 2566

Watchi

 
ท่านได้บรรลุพระอรหัตแล้ว เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึง
เรื่องราวที่ตนเองเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า
นิพฺพุเต กกุสนฺธมฺหิ ดังนี้. บทว่า พฺราหฺมณมฺหิ วุสีมติ ความว่า เมื่อ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุวสี ด้วยวสี ๕ อย่าง อธิบายว่า เมื่อพราหมณ์
คือพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ เพราะประดับและเจริญยิ่งด้วยหมู่
แห่งคุณทั้งปวงของพราหมณ์ ปรินิพพานแล้ว คำที่เหลือทั้งหมด มีเนื้อ
ความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถากิมิลเถราปทาน

วัชชีอาทิผิด สระปุตตเถราปทานที่ ๕(๕๕๕)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระวัชชีปุตตเถระ

(๑๔๕) เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มี
พระรัศมีเป็นพัน เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
ผู้อันใคร ๆ เอาชนะไม่ได้ ทรงออกจากนิโรธ
แล้ว จะเสด็จไปสู่ที่โคจร.
ข้าพเจ้า มีผลไม้อยู่ในมือ เห็นพระ-
ศาสดาเสด็จเข้ามา มีจิตเลื่อมใส มีใจแช่มชื่น
จึงถวายผลไม้หมดทั้งพวง.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ ข้าพเจ้าได้ถวาย
ผลไม้ใด ในครั้งนั้น ด้วยกรรมนั้น ข้าพเจ้า
ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้.
 
๗๒/๑๔๕/๔๕๗

วันเสาร์, มกราคม 28, 2566

Lae

 
การละความยึดถือกิเลสอันเป็นฝ่ายแห่งสมุทัยที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยมี
อาทิว่า เพื่อละทิฏฐิทั้งหลายในสันดานของตน ๆ โดยมรรคนั้น ๆ เพราะเจริญ
อริยมรรค ๔ แล้วโดยความไม่ให้เป็นไปอีกต่อไป นี้ชื่อว่า สมุจเฉทปหาน.
ความที่กิเลสทั้งหลายสงบ ในขณะแห่งผล นี้ชื่อว่าปฏิปัสสัทธิปหาน.
การดับอันเป็นการละเครื่องปรุงแต่งทั้งหมด เพราะสลัดเครื่องปรุง-
แต่งทั้งหมดได้แล้ว นี้ชื่อว่า นิสสรณปหาน.
ก็ปหานทั้งหมดนี้ชื่อว่าปหาน เพราะอรรถว่า สละ ชื่อว่า วินัย
เพราะอรรถว่า แนะนำให้วิเศษ ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปหานวินัย. อีก
อย่างหนึ่ง ปหานนี้เรียกว่า ปหานวินัย เพราะละอกุสลนั้น ๆ เพราะมีวินัยนั้น ๆ.
แม้ปหานวินัยพึงทราบว่าแบ่งออกเป็น ๕ อย่าง ด้วยประการฉะนี้.
วินัยนี้โดยสังเขปมี ๒ อย่าง อย่างนี้ และโดยประเภทมี ๑๐ อย่าง
ไม่มีแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับนี้ เพราะขาดสังวรและอาทิผิด อักขระเพราะไม่ละสิ่งที่ควรละฉะนั้น
ปุถุชนนี้ท่านจึงกล่าวว่าไม่ได้รับแนะนำ เพราะไม่มีวินัยนั้น. แม้ในบทว่า
สปฺปุริสานํ อทสฺสาวี สปฺปุริสธมฺมสฺส อโกวิโท สปฺปุริสธมฺเม
อวินีโต ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ไม่ได้รับคำแนะนำในธรรมของสัตบุรุษนี้ก็มีนัยนี้. โดยความบทนี้ ไม่มีเหตุ
ต่างกันเลย.
สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้ใดเป็นอริยะ ผู้นั้นเป็นสัตบุรุษ. ผู้ใดเป็น
สัตบุรุษผู้นั้นเป็นอริยะ. ธรรมใดของพระอริยะ ธรรมนั้นของสัตบุรุษ. ธรรม
ใดของสัตบุรุษ ธรรมนั้นของพระอริยะ. วินัยใดเป็นวินัยของพระอริยะ วินัย
นั้นเป็นวินัยของสัตบุรุษ. วินัยใดเป็นวินัยของสัตบุรุษ วินัยนั้นเป็นวินัยของ
พระอริยะ. รวมความว่า อริยะก็ดี สัตบุรุษก็ดี ธรรมของอริยะก็ดี ธรรมของ
 
๖๙/๓๖๑/๕๗

วันศุกร์, มกราคม 27, 2566

Upasombot

 
พระเถระ ตอบว่า “ ผู้มีอายุ เธอจงรับไตรสรณะ (และ)
ศีล ๕.” เขารับไตรสรณะและศีล ๕ แม้เหล่านั้นแล้ว จึงเรียนถามถึง
บุญกรรมที่ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น. พระเถระก็แนะว่า “ ถ้ากระนั้น เธอจง
รับศีล ๑๐.” เขากล่าวว่า “ ดีละ ขอรับ ” แล้วก็รับ (ศีล ๑๐).
เพราะเหตุที่เขาทำบุญกรรมอย่างนั้นโดยลำดับ เขาจึงมีนามว่า อนุปุพพ-
เศรษฐีบุตร. เขาเรียนถามอีกว่า “ บุญอันกระผมพึงทำ แม้ยิ่งขึ้นไป
กว่านี้ ยังมีอยู่หรือ ? ขอรับ” เมื่อพระเถระกล่าวว่า “ ถ้ากระนั้น เธอ
จงบวช,” จึงออกบวชแล้ว. ภิกษุผู้ทรงพระอภิธรรมรูปหนึ่ง ได้เป็น
อาจารย์ของเธอ, ภิกษุผู้ทรงพระวินัยรูปหนึ่ง เป็นพระอุปัชฌาย์, ใน
เวลาที่ภิกษุนั้นได้อุปสมบทอาทิผิด อักขระแล้วมาสู่สำนักของตน (อาจารย์) อาจารย์
กล่าวปัญหาในพระอภิธรรมว่า “ชื่อว่า ในพระพุทธศาสนา ภิกษุทำกิจ
นี้จึงควร, ทำกิจนี้ไม่ควร. ”
ฝ่ายพระอุปัชฌาย์ ก็กล่าวปัญหาในพระวินัย ในเวลาที่ภิกษุนั้น
มาสู่สำนักของตนว่า “ ชื่อว่า ในพระพุทธศาสนา ภิกษุทำสิ่งนี้ควร,
ทำสิ่งนี้ไม่ควร; สิ่งนี้เหมาะ สิ่งนี้ไม่เหมาะ.”

อยากสึกจนซูบผอม
ท่านคิดว่า “โอ ! กรรมนี้หนัก; เราใคร่จะพ้นจากทุกข์ จึงบวช,
แต่ในพระพุทธศาสนานี้ สถานเป็นที่เหยียดมือของเรา ไม่ปรากฏ, เรา
ดำรงอยู่ในเรือนก็อาจพ้นจากทุกข์ในวัฏฏะได้ เราควรเป็นคฤหัสถ์
(ดีกว่า).” ตั้งแต่นั้น ท่านกระสัน (จะสึก) หมดยินดี (ในพรหม-
จรรย์) ไม่ทำการสาธยายในอาการ ๓๒, ไม่เรียนอุเทศ ผอม ซูบซีด
 
๔๐/๑๓/๔๐๘

วันพฤหัสบดี, มกราคม 26, 2566

Thoe

 
๒๐,๐๐๐ รูปเป็นบริวาร ทรงเหาะขึ้นไปในอากาศ เสด็จลงที่ประตูโคจร
คามของสามเณรนั้น ในที่สุดทางได้ ๑๒๐ โยชน์ ทรงห่มผ้าจีวรแล้ว.
พวกมนุษย์เมื่อเดินทางไปทำงานกันเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ต่างพูดกัน
ว่า พระบรมศาสดาเสด็จมาแล้ว พวกเราอย่าไปทำงานกันเลย ต่างพา
กันปูลาดอาสนะถวายข้าวยาคูแล้ว เมื่อจะกระทำบาทวัตร จึงถามพวกภิกษุ
หนุ่มว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าจะเสด็จไปที่ไหน. ดูก่อน
อุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าจะไม่เสด็จไป ณ ที่อื่น
เสด็จมาก็เพื่อทรงต้องการจะทอดพระเนตรติสสสามเณร ในที่นี้แหละ.
พวกมนุษย์เหล่านั้นต่างพากันดีอกดีใจว่า ได้ยินว่า พระบรมศาสดาเสด็จ
มาก็เพื่อทรงต้องการจะทอดพระเนตรพระเถระผู้สนิทสนมกับตระกูลของ
พวกเรา พระเถระของพวกเรามิใช่คนเล็กน้อยเลย.
ต่อมาในเวลาเสร็จภัตกิจของพระผู้มีพระภาคเจ้า สามเณรเที่ยวไป
บิณฑบาตในบ้านมาแล้วจึงถามว่า ดูก่อนอุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลายภิกษุ
สงฆ์มากมาย ทีนั้น พวกเขาจึงบอกแก่สามเณรว่า พระบรมศาสดาเสด็จมา
ขอรับ. สามเณรจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทูลถามโดยเอื้อเฟื้อ
ด้วยอาหารบิณฑบาต พระบรมศาสดาทรงจับบาตรของสามเณรนั้นด้วย
พระหัตถ์แล้วตรัสว่า ติสสะ อาหารบิณฑบาตพอแล้ว เราทำภัตกิจเสร็จ
แล้ว. ลำดับนั้น สามเณรจึงถามโดยเอื้อเฟื้อกะอุปัชฌาย์แล้วจึงไปนั่งบน
อาสนะที่ถึงแก่ตน ทำภัตกิจ (ฉัน). ต่อมาในเวลาสามเณรนั้นฉัน
เสร็จแล้ว พระบรมศาสดาตรัสมงคลแล้ว เสด็จออกไปประทับยืนที่
ประตูบ้าน ตรัสถามว่า ติสสะ ทางไปสู่ที่อยู่ของเธออาทิผิด สายไหน ทางนี้ พระ
๑. ฉบับพม่าเป็น ปาตราสภตฺตํ แปลว่า อาหารเช้า.
 
๑๑/๑๗๗/๕๒๗

วันพุธ, มกราคม 25, 2566

Ti tian

 
๓.ปฐมขตสูตร
ว่าด้วยธรรม ๔ ประการ ของคนพาลและบัณฑิต
[๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
เป็นคนพาล เป็นคนโง่เขลา เป็นอสัตบุรุษ ครองตนอันถูกขุด (รากคือ
ความดี) เสียแล้ว ถูกขจัดไปครึ่งหนึ่งแล้ว เป็นคนประกอบด้วยโทษ ผู้รู้
ติเตียนอาทิผิด และได้สิ่งอันไม่เป็นบุญมากด้วย ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ
บุคคลไม่ใคร่ครวญไม่สอบสวนแล้ว ชมคนที่ควรติ ๑ ติคนที่ควรชม ๑
ปลูกความเลื่อมใสในฐานะอันไม่ควรเลื่อมใส ๑ แสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะ
อันควรเลื่อมใส ๑ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นคนพาล ฯลฯ
และได้สิ่งอันไม่เป็นบุญมากด้วย
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นบัณฑิต
เป็นคนฉลาด เป็นสัตบุรุษ ครองตนอันไม่ถูกขุด ไม่ถูกขจัดไปครึ่งหนึ่ง
เป็นผู้หาโทษมิได้ ผู้รู้สรรเสริญ และได้บุญมากด้วย ธรรม ๔ ประการ
เป็นไฉน คือบุคคลใคร่ครวญสอบสวนแล้ว ติคนที่ควรติ ๑ ชมคนที่ควรชม ๑
แสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะอันไม่ควรเลื่อมใส ๑ ปลูกความเลื่อมใสในฐานะ
อันควรเลื่อมใส ๑ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นบัณฑิตฯลฯ
และได้บุญมากด้วย
(นิคมคาถา)
ผู้ใดชมคนที่ควรติ หรือ ติคนที่
ควรชม ผู้นั้น ชื่อว่าก่อ (กลี) ความร้าย
ด้วยปาก เพราะความร้ายนั้น เขาก็ไม่ได้
 
๓๕/๓/๖

วันอังคาร, มกราคม 24, 2566

Kho

 
อรรถกถาเวสารัชชสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในเวสารัชชสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-
ในบทว่า เวสารชฺชานิ นี้ ธรรมอัน เป็นปฏิปักษ์ต่อความขลาด
ชื่อว่า เวสารัชชะ ญาณเป็นเหตุให้กล้าหาญ. เวสารัชชะนี้ เป็นชื่อของ
โสมนัสญาณที่เกิดขึ้นแก่ตถาคต ผู้พิจารณาเห็นความไม่มีความขลาดใน
ฐานะ ๔. บทว่า อาสภณฺฐานํ ความว่า ฐานะอันประเสริฐ คือฐานะสูงสุด.
หรือพระพุทธเจ้าในปางก่อนทั้งหลายเป็นผู้องอาจ ฐานะของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายเหล่านั้น . อีกนัยหนึ่ง โคจ่าฝูงของโคร้อยตัว ชื่อว่า อุสภะ โคจ่าฝูง
ของโคหนึ่งพันตัว ชื่อว่าวสภะ หรือโคอุสภะ เป็นหัวโจกโคร้อยคอก โค
วสภะเป็นหัวโจกโคพันคอก โคนิสภะ ประเสริฐสุดแห่งโคอาทิผิด ทั้งหมด อดทน
ต่ออันตรายทุกอย่าง เผือก น่ารัก ขนภาระไปได้มาก ทั้งไม่หวั่นไหวด้วย
เสียงฟ้าร้องร้อยครั้ง พันครั้ง โคนิสภะนั้น ท่านประสงค์ว่า โคอุสภะในที่นี้
นี้เป็นคำเรียกโคอุสภะนั้น โดยปริยาย. ที่ชื่อว่าอาสภะ เพราะฐานะนี้เป็นของ
โคอุสภะ. บทว่า ฐานํ ได้แก่ การเอาเท้าทั้ง ๔ ตะกุยแผ่นดินยืนหยัด. ก็
ฐานะนี้ ชื่อว่าอาสภะ เพราะเหมือนการยืนหยัดของโคอุสภะ. โคอุสภะที่นับ
ว่า โคนิสภะ เอาเท้า ๔ เท้าตะกุยแผ่นดินแล้ว ยืนหยัดโดยยืนไม่หวั่นไหว
ฉันใด ตถาคตก็ตะกุยแผ่นดินคือบริษัท ๘ ด้วยพระบาทคือเวสารัชชญาณ ๔
ไม่หวั่นไหวด้วยข้าศึกปัจจามิตรไร ๆ ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก ยืนหยัดโดย
ยืนไม่หวั่นไหวก็ฉันนั้น. ตถาคตเมื่อยืนหยัดอยู่อย่างนี้ จึงปฏิญญาฐานของผู้
องอาจ เข้าถึง ไม่บอกคืน กลับยกขึ้นไว้ในพระองค์ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
อาสภณฺฐานํ ปฏิชานาติ ดังนี้.
 
๓๕/๘/๒๑

วันจันทร์, มกราคม 23, 2566

Yom

 
ปริมณฑลดุจต้นนิโครธที่งอกงามบนแผ่นดิน
ด้วยผลกรรมที่ประพฤติมาดีแล้ว ยังเป็นส่วน
เหลือ.
มนุษย์ทั้งหลายที่มีปัญญาอันละเอียดรู้จัก
นิมิตและลักษณะมากอย่างทำนายว่า พระ
โอรสนี้เป็นพระดรุณกุมาร ยังทรงพระเยาว์
ย่อมได้พระลักษณะอันคู่ควรแก่คฤหัสถ์มาก
อย่าง.
กามโภคะอันควรแก่คฤหัสถ์เป็นอันมาก
ย่อมอาทิผิด อาณัติกะมีแก่พระราชกุมารผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน
ในมรดกวิสัยนี้ ถ้าพระราชกุมารนี้ทรงละกาม
โภคะทั้งปวง จะทรงได้อนุตตรธรรม อันเป็น
ทรัพย์สูงสุด.
[ ๑๕๔ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน
ภพก่อน กำเนิดก่อน เป็นผู้หวังประโยชน์ หวังความเกื้อกูล หวังความ
ผาสุก หวังความเกษมจากโยคะ แก่ชนเป็นอันมาก ด้วยมนสิการว่า
ทำไฉน ? ชนเหล่านี้พึงเจริญด้วยศรัทธา เจริญด้วยศีล เจริญด้วยสุตะ
เจริญด้วยพุทธิ เจริญด้วยจาคะ เจริญด้วยธรรม เจริญด้วยปัญญา เจริญ
ด้วยทรัพย์และข้าวเปลือก เจริญด้วยนาและสวน เจริญด้วยสัตว์สองเท้า
และสัตว์สี่เท้า เจริญด้วยบุตรและภรรยา เจริญด้วยทาสและกรรมกร เจริญ
 
๑๖/๑๕๔/๒๖

วันอาทิตย์, มกราคม 22, 2566

Anuyat

 
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จง
ฟังข้าพเจ้า นางมีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้อุป-
สมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ นางชื่อนี้
ขออุปสมบทกะสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้นางชื่อนี้อุป-
สมบท มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี การอุปสมบทของนางชื่อนี้ มีแม่
เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่
ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
นางชื่อนี้อันสงฆ์อุปสมบทแล้ว มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ชอบ
แก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.
วัดเงาแดดเป็นต้น
[๕๘๑] ทันใดนั้น พึงวัดเงาแดด พึงบอกประมาณแห่งฤดู พึงบอก
ส่วนแห่งวัน พึงบอกข้อเบ็ดเสร็จ พึงสั่งภิกษุทั้งหลายว่า พวกเธอจงบอก
นิสัย ๓ อกรณียกิจ ๘ แก่ภิกษุณีนี้.
[๕๘๒] โดยสมัยนั้น แลภิกษุณีทั้งหลายยึดถืออาสนะในโรงภัตร ยับ
ยั้งอยู่ตลอดกาล ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอาทิผิด อักขระภิกษุณี ๘
รูป ตามลำดับพรรษา ภิกษุณีนอกนั้นตามลำดับที่มา.
[๕๘๓] โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายปรึกษากันว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงอนุญาตภิกษุณี ๘ รูปตามลำดับพรรษา ภิกษุณีนอกนั้นตามลำดับที่
มาในที่ทุกแห่ง ภิกษุณี ๘ รูปเท่านั้น ห้ามตามลำดับพรรษา นอกนั้นตามลำดับ
ที่มา ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
 
๙/๕๘๒/๔๘๐

วันเสาร์, มกราคม 21, 2566

Bang

 
พระตถาคตบัณฑิตจึงกล่าวว่า เป็นผู้ไม่มีที่พักเที่ยวไป ดูก่อนคฤหบดี
มุนีชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีที่พักเที่ยวไปอย่างนี้แล.
[๑๖] ดูก่อนคฤหบดี ก็มุนีเป็นผู้สนิทสนมในบ้านอย่างไร ดูก่อน
คฤหบดี มุนีบางอาทิผิด อาณัติกะคนในโลกนี้ เป็นผู้คลุกคลีกับพวกคฤหัสถ์อยู่ คือเป็น
ผู้พลอยชื่นชมกับเขา พลอยโศกกับเขา เมื่อพวกคฤหัสถ์มีสุขก็สุขด้วย
มีทุกข์ ก็ทุกข์ด้วย เมื่อพวกคฤหัสถ์มีกรณียกิจที่ควรทำเกิดขึ้น ก็ขวนขวาย
ในกรณียกิจเหล่านั้นด้วยตนเอง ดูก่อนคฤหบดี มุนีเป็นผู้สนิทสนมในบ้าน
อย่างนี้แล.
[๑๗] ดูก่อนคฤหบดี ก็มุนีไม่เป็นผู้สนิทสนมในบ้านอย่างไร
ดูก่อนคฤหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้คลุกคลีกับพวกคฤหัสถ์ คือ
ไม่พลอยชื่นชมกับเขา ไม่พลอยโศกกับเขา เมื่อพวกคฤหัสถ์มีสุข
ก็ไม่สุขด้วย มีทุกข์ ก็ไม่ทุกข์ด้วย เมื่อคฤหัสถ์มีกรณียกิจที่ควรทำเกิดขึ้น
ก็ไม่ขวนขวายในกรณียกิจเหล่านั้นด้วยตนเอง ดูก่อนคฤหบดี มุนีไม่เป็น
ผู้สนิทสนมในบ้าน อย่างนี้แล.
[๑๘] ดูก่อนคฤหบดี ก็มุนีเป็นผู้ไม่ว่างจากกามทั้งหลายอย่างไร
ดูก่อนคฤหบดี มุนีบางคนในโลกนี้ ยังเป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด
ความพอใจ ความรัก ความกระหาย ความกระวนกระวาย ความทะยาน
อยากในกามทั้งหลาย ดูก่อนคฤหบดี มุนีเป็นผู้ไม่ว่างจากกามทั้งหลาย
อย่างนี้แล.
[๑๙] ดูก่อนคฤหบดี ก็มุนีเป็นผู้ว่างจากกามทั้งหลายอย่างไร
ดูก่อนคฤหบดี ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ปราศจากความ
กำหนัด ความพอใจ ความรัก ความกระหาย ความกระวนกระวาย
 
๒๗/๑๖/๒๙

วันศุกร์, มกราคม 20, 2566

Sodaban

 
พูดเปรยกระทบอาบัติทราม ว่าไม่ใช่พวกเรา
. . .พวกเราไม่ใช่เป็นผู้ต้องอาบัติปาราชิก . . .อาบัติสังฆาทิเสส . . .อาบัติ
ถุลลัจจัย . ..อาบัติปาจิตตีย์ . . . อาบัติปาฏิเทสนียะ ...อาบัติทุกกฏ ... อาบัติ
ทุพภาสิต ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.
พูดเปรยกระทบอาบัติอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา
. . .พวกเราไม่ใช่เป็นผู้ถึงโสดาบันอาทิผิด ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ
ทุก ๆ คำพูด.
พูดเปรยกระทบคำสบประมาททราม ว่าไม่ใช่พวกเรา
. . .พวกเราไม่ใช่มีความประพฤติดังอูฐ . . . แพะ . . . โค . . . ลา
. . .สัตว์ดิรัจฉาน . . . สัตว์นรก สุคติของพวกเราไม่มี พวกเราต้องหวังได้แต่
ทุคติ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.
พูดเปรยกระทบคำสบประมาทอุกฤษฏ์ ว่าไม่ใช่พวกเรา
. . .พวกเราไม่ใช่เป็นบัณฑิต . ..ไม่ใช่เป็นคนฉลาด . . .ไม่ใช่เป็น
คนมีปัญญา .. .ไม่ใช่พหูสูต .. .ไม่ใช่ธรรมกถึก ทุคติของพวกเราไม่มี
พวกเราต้องหวังได้แต่สุคติ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด.
อุปสัมบันล้ออุปสัมบัน
พูดล้อกดกระทบชาติ
[๒๔๖] อุปสัมบันไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาท
อุปสัมบัน ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น จึงพูดกะ
อุปสัมบันชาติทราม ด้วยกล่าวกระทบชาติทราม คือพูดกะอุปสัมบันชาติคน
จัณฑาล . . . ชาติคนจักสาน . . .ชาติพราน . . .ชาติคนช่างหนัง . . .ชาติคน
 
๔/๒๔๖/๘๐

วันพฤหัสบดี, มกราคม 19, 2566

Phutthachao

 
ก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า อิมมฺหิ ภทฺทเก กปฺเป ดังนี้. คำว่า กัป ในคำว่า
กปฺเป นั้นมี ๔ อย่างเท่านั้นคือ สารกัป วรกัป มัณฑกัป และภัททกัป. ใน
บรรดากัปทั้ง ๔ อย่างนั้น พระพุทธเจ้าอาทิผิด อาณัติกะพระองค์เดียว ทรงอุบัติขึ้นในกัปใด
กัปนี้ชื่อว่า สารกัป, พระพุทธเจ้า ๒ พระองค์หรือ ๓ พระองค์ ทรงอุบัติขึ้น
ในกัปใด กัปนี้ชื่อว่า วรกัป. พระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ทรงอุบัติขึ้นในกัปใด
กัปนี้ชื่อว่า มัณฑกัป. พระพุทธเจ้าอาทิผิด สระ ๕ พระองค์ทรงอุบัติขึ้นในกัปใด กัปนี้
ชื่อว่า ภัททกัป. แต่ในที่อื่นท่านกล่าวกัปไว้ ๕ อย่าง อย่างคือ:-
กัปมี ๕ อย่างคือ สารกัป มัณฑกัป สาร-
มัณฑกัป วรกัป และภัททกัป. พระผู้นำโลก
ย่อมทรงอุบัติขึ้น ในบรรดากัปทั้ง ๕ อย่างเหล่านี้
ตามลำดับคือ:-
พระพุทธเจ้า ๑ พระองค์ ทรงอุบัติขึ้น
ในสารกัป พระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ ทรงอุบัติ
ขึ้นในมัณฑกัป พระพุทธเจ้า ๓ พระองค์ ทรง
อุบัติขึ้นในสารมัณฑกัป พระพุทธเจ้า ๔ พระ-
องค์ ทรงอุบัติขึ้นในวรกัป พระพุทธเจ้า ๕
พระองค์ ทรงอุบัติขึ้นในภัททกัป.
บรรดากัปเหล่านั้น กัปนี้ได้มีชื่อว่า ภัททกัป เพราะประดับไปด้วย
พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ คือ พระกกุสันธพุทธเจ้า พระโกนาคมนพุทธเจ้า
พระกัสสปพุทธเจ้า พระโคดมพุทธเจ้า และพระเมตเตยยพุทธเจ้า. เชื่อม
ความว่า เพราะฉะนั้น พระกัสสปพุทธเจ้าผู้นำโลก ทรงอุบัติขึ้นแล้วใน
ภัททกัปนี้. คำที่เหลือ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาโลมสกังคิยเถราปทาน
 
๗๒/๑๓๘/๔๐๑

วันพุธ, มกราคม 18, 2566

Muean

 
๑๐. นิทานสูตร

ว่าด้วยความพอใจในปฏิจจสมุปบาท

[๒๒๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่นิคมของหมู่
ชนชาวเมืองกุรุ อันมีชื่อว่ากัมมาสทัมมะ แคว้นกุรุรัฐ ครั้งนั้นแล
ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านนั่งเรียบ
ร้อยแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า
ไม่เคยมีมา พระเจ้าข้า คือปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมลึกซึ้งเพียงไร
ทั้งมีกระแสความลึกซึ้ง แต่ถึงอย่างนั้น ก็ปรากฏเหมือนธรรมง่าย ๆ แก่
ข้าพระองค์.
[๒๒๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เธออย่า
กล่าวอย่างนี้ ดูก่อนอานนท์ เธออย่ากล่าวอย่างนี้ ปฏิจจสมุปบาทนี้ เป็น
ธรรมลึกซึ้ง ทั้งมีกระแสความลึกซึ้ง เพราะไม่รู้ ไม่ตรัสรู้ ไม่แทง
ตลอดธรรมนี้ หมู่สัตว์นี้จึงเป็นเหมือนเส้นด้ายที่ยุ่ง เป็นเหมือนอาทิผิด อักขระกลุ่มเส้น
ด้ายที่เป็นปม เป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ย่อมไม่ผ่านพ้น
อบาย ทุคติ วินิบาต สงสาร.
[๒๒๖] ดูก่อนอานนท์ เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนือง ๆ ใน
ธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมเจริญ เพราะ
ตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ

๑. บางแห่งเป็น กัมมาสธัมมะ
 
๒๖/๒๒๕/๒๗๐

วันอังคาร, มกราคม 17, 2566

Patimok

 
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันกระทำที่พึ่ง ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมในปาฏิโมกขอาทิผิด อักขระ-
สังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษมีประมาณ
น้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อ
ที่ภิกษุเป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เป็น
ธรรมกระทำที่พึ่ง.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้
สดับมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ ซึ่ง
ธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหม-
จรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ นี้
เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นธรรม
กระทำที่พึ่ง.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย คือ ประกอบด้วยธรรมเครื่อง
กระทำความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน รับอนุสาสนีโดยเคารพ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย คือ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมเครื่อง
กระทำความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน รับอนุสาสนีโดยเคารพ นี้เป็น
ธรรมกระทำที่พึ่ง.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในกิจที่ควรทำ
อย่างไร ทั้งสูงทั้งต่ำ ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญา
 
๓๘/๑๗/๔๐

วันจันทร์, มกราคม 16, 2566

Satsada

 
คุ้ยฝุ่นออกแล้ว ถือเอาถุงทรัพย์ คุกคามว่า “แกปล้นเรือนแล้ว เทียว
ไปราวกับไถนาอยู่” โบยด้วยท่อนไม้ นำไปแสดงแก่พระราชาแล้ว.
พระราชา ทรงสดับความเป็นไปนั้นแล้ว จึงรับสั่งให้ประหารชีวิตชาวนา
นั้น. พวกราชบุรุษ มัดชาวนานั้นให้มีแขนไพล่หลัง เฆี่ยนด้วยหวาย
นำไปสู่ตะแลงแกงแล้ว. ชาวนานั้นถูกราชบุรุษเฆี่ยนด้วยหวาย ไม่กล่าว
คำอะไร ๆ อื่น กล่าวอยู่ว่า “เห็นไหม อานนท์ อสรพิษ, เห็น
พระเจ้าข้า อสรพิษร้าย ” เดินไปอยู่. ครั้งนั้น พวกราชบุรุษ ถามเขาว่า
“ แกกล่าวถ้อยคำของพระศาสดาและพระอานนทเถระเท่านั้น, นี่ชื่อ
อะไร ?” เมื่อชาวนาตอบว่า “เราเมื่อได้เฝ้าพระราชาจึงจักบอก,” จึง
นำไปสู่สำนักของพระราชา กราบทูลความเป็นไปนั้นแด่พระราชาแล้ว.
ชาวนาพ้นโทษเพราะอ้างพระศาสดาอาทิผิด เป็นพยาน
ลำดับนั้น พระราชา ตรัสถามชาวนานั้นว่า “เพราะเหตุไร เจ้า
จึงกล่าวดังนั้น ?” แม้ชาวนานั้น กราบทูลว่า “ข้าแต่สมมติเทพ
ข้าพระองค์ไม่ใช่โจร” แล้วก็กราบทูลเรื่องนั้นทั้งหมดแด่พระราชา จำเดิม
แต่กาลที่ตนออกไปเพื่อต้องการจะไถนา. พระราชา ทรงสดับถ้อยคำของ
ชาวนานั้นแล้ว ตรัสว่า “ พนาย ชาวนานี้อ้างเอาพระศาสดาผู้เป็นบุคคล
เลิศในโลกเป็นพยาน, เราจะยกโทษแก่ชาวนานี่ยังไม่สมควร, เราจักรู้สิ่งที่
ควรกระทำในเรื่องนี้” ดังนี้แล้ว ทรงพาชาวนานั้นไปยังสำนักของพระ-
ศาสดาในเวลาเย็น ทูลถามพระศาสดาว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระ-
องค์ได้เสด็จไปสู่ที่ไถนาของชาวนานั้น กับพระอานนท์เถระแลหรือ ?”
พระศาสดา. ขอถวายพระพร มหาบพิตร.
 
๔๑/๑๕/๒๐๑

วันอาทิตย์, มกราคม 15, 2566

Sathan

 
อรรถกถาปาริฉัตตกสูตรที่ ๕
ปาริฉัตตกสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปณฺฑุปลาโส ได้แก่ใบไม้แก่ที่หล่น. บทว่า ชาลกชาโต
ได้แก่มีปุ่มใบและดอกเกิดพร้อมกัน ด้วยว่า ปุ่มใบและปุ่มดอก
ของต้นทองหลางนั้น ออกพร้อมกันทีเดียว. บทว่า ขารกชาโต
ความว่า ประกอบแล้วด้วยปุ่มใบอ่อน และปุ่มดอก อันแตกงาม
แต่ตั้งอยู่แยกกันคนละส่วน บทว่า กุฑุมลกชาโต ได้แก่เกิดเป็น
ดอกตูม บทว่า โกกาสกชาโต ความว่า ประกอบด้วยดอกทั้งหลาย
ที่มีหน้าดอกเจือกัน มีท้องดอกใหญ่ ยังไม่บาน (คือแย้ม). บทว่า
สพฺพผาลิผุลฺโล ความว่า บานดีแล้ว โดยอาการทั้งปวง. บทว่า
ทิพฺเพ จตฺตาโร มาเส ความว่า ตลอด ๔ เดือน โดยอายุทิพย์. แต่เมื่อ
นับตามอายุมนุษย์ ย่อมมีอายุถึงหมื่นสองพันปี. บทว่า ปริจาเรนติ
ความว่า เทวดาเหล่านั้น ย่อมบำเรออินทรีย์ทั้งหลายเที่ยวไปข้างโน้น
และข้างนี้ อธิบายว่า ย่อมเด่น ย่อมร่าเริง.
บทว่า อาภาย ผุฏํ โหติ ความว่า สถานอาทิผิด ที่เท่านี้ เป็นอัน
รัศมีต้องแล้ว ก็รัศมีของดอกไม้เหล่านั้น ย่อมเป็นเหมือนแสง
แห่งอาทิตย์ทอแสงอ่อน ๆ ใบของดอกไม้เหล่านั้น มีขนาดเท่าร่ม
ใบไม้ ภายในดอกมีละอองเกษรขนาดทนานใบใหญ่. แต่เมื่อต้น
ปาริฉัตตกะดอกบานแล้ว ไม่ต้องมีกิจในการขึ้นต้น ไม่มีกิจเอาไม้
สอยให้ลงมา ไม่ต้องเอาผอบเพื่อนำดอกไม้มา ลมสำหรับจะตัด
 
๓๗/๖๖/๒๔๔

วันเสาร์, มกราคม 14, 2566

Momchan

 
หม่อมอาทิผิด อักขระฉันมีญาณอันปราศจากมลทิน บริ-
สุทธิ์ในอรรถะ ธรรมะ นิรุตติ และปฏิภาณ
เพราะอำนาจพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด
หม่อมฉันมีปัญญามากเพราะภาวนา มี
สุตะเพราะพาหุสัจจะ เกิดในสกุลต่ำเพราะมานะ
แต่มิได้มีกุศลกรรมวิบัติไปเลย
ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน
ของพระพุทธเจ้า ดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว.
ทราบว่า ท่านพระปุณณิกาภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบปุณณิกาเถรีอปทาน

อัมพปาลีเถรีอปทานที่ ๙ (๓๙)
ว่าด้วยบุพจริยาของพระอัมพปาลีเถรี
[๑๗๙ ] ดิฉันเกิดในสกุลกษัตริย์ เป็น
ภคินีแห่งพระมหามุนีพระนามว่า ปุสสะ ผู้มี
พระรัศมีงามรุ่งเรือง มีธรรมดังว่าเทริดดอกไม้
บนศีรษะ
ดิฉันได้ฟังธรรมของพระองค์แล้วมีจิต
เลื่อมใสถวายมหาทานแล้ว ปรารถนาซึ่งรูปสมบัติ
ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ พระพิชิตมาร
พระนามว่าสิขี ผู้เป็นนายกชั้นเลิศของโลก ทรง
 
๗๒/๑๗๙/๖๙๔

วันศุกร์, มกราคม 13, 2566

Sadaeng

 
นั้นได้ยั้งคิดว่า ยังเป็นกาลไม่สมควรจะถามภิกษุรูปนี้ เพราะท่านยังกำลังเข้า
ละแวกบ้านเที่ยวบิณฑบาต ผิฉะนั้นเราพึงติดตามภิกษุรูปนี้ไปข้างหลัง ๆ
เพราะเป็นทางอันผู้มุ่งประโยชน์ทั้งหลายจะต้องสนใจ ลำดับนั้น พระอัสสชิ
เที่ยวบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์ ถือบิณฑบาตกลับไปแล้ว. ต่อมา เราได้
เข้าไปหาพระอัสสชิ ครั้นถึงแล้ว ได้พูดปราศรัยกับพระอัสสชิ ครั้นผ่านการ
พูดปราศรัยพอให้เป็นที่บันเทิง เป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง เรายืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวคำนี้ต่อพระอัสสชิ
ว่า อินทรีย์ของท่านผ่องใส ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง ท่านบวช
เฉพาะใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร ขอรับ.
พระอัสสชิตอบว่า มีอยู่ ท่าน พระมหาสมณะศากยบุตรเสด็จออกทรงผนวช
จากศากยตระกูล เราบวชเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นศาสดาของเรา และเราชอบใจธรรมของพระผู้มี
พระภาคเจ้าพระองค์นั้น. เราได้ถามพระอัสสชิต่อไปว่า ก็พระศาสดาของท่าน
สอนอย่างไร แนะนำอย่างไร ? พระอัสสชิตอบว่า เราเป็นคนใหม่ บวชยังไม่
นาน พึ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ ไม่อาจแสดงธรรมแก่ท่านกว้างขวาง แต่จัก
กล่าวใจความแก่ท่านโดยย่อ. เราได้เรียนว่า น้อยหรือมาก นิมนต์กล่าวเถิด
ท่านจงกล่าวแต่ใจความแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าต้องการใจความอย่างเดียว ท่านจัก
ทำพยัญชนะให้มากทำไม.
[๖๘] ผู้มีอายุ ครั้งนั้น พระอัสสชิได้กล่าวคำปริยายนี้ ว่าดังนี้:-
ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระ-
ตถาคตทรงแสดงอาทิผิด อักขระเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหา-
สมณะทรงสั่งสอนอย่างนี้.
 
๖/๖๘/๑๒๕

วันพฤหัสบดี, มกราคม 12, 2566

Mua Mong

 
หรือไม่รู้ได้ว่า เป็นถาดดินหรือเป็นถาดทองสัมฤทธิ์. พระเถระเมื่อจะรับ
รองคำนี้ จึงกล่าวว่า เป็นอย่างนั้นนั่นแหละท่าน.
พระธรรมเสนาบดี (สารีบุตร) เมื่อจะยืนยันข้ออุปไมยอีกครั้ง
จึงได้กล่าวคำมีอาทิไว้ว่า เอวเมว โข ( ก็เหมือนกันนั่นแหละ ).
ในคำนั้น ควรทราบการเปรียบเทียบคำอุปมากับคำอุปไมย ดังต่อ
ไปนี้ :-
บุคคลที่ยังมีกิเลสเพียงดังเนินอยู่ เปรียบเหมือนถาดสัมฤทธิ์ที่มัว
หมอง การที่บุคคลนั้นเมื่อจะได้บวช ก็กลับได้บวชในสำนักของบุคคลผู้
ขวนขวายในอเนสนาทั้งหลายมีเวชกรรม ( เป็นหมอ ) เป็นต้น เปรียบ
เหมือนการทอดทิ้งถาดทองสัมฤทธิ์ที่มัวหมองอยู่แล้ว ไว้ในที่ทางที่มี
ละอองเพราะไม่ได้ใช้สอย เป็นต้น. การทำอเนสนามีเวชกรรมเป็นต้นแห่ง
บุคคลนั้น ผู้สำเหนียกอยู่ตามอาจารย์และอุปัชฌาย์ ตามลำดับ (และ)
การมรณภาพทั้งที่ยังมีกิเลสเพียงดังเนินของบุคคลผู้ดำรงอยู่ในวีติกกมโทษ
คือการทำอเนสนามีเวชกรรมเป็นต้น (เป็นหมอเหมือนอาจารย์) เปรียบ
เหมือนภาวะของถาดทองสัมฤทธิ์ที่มัวหมองอยู่แล้ว กลับมัวหมองอาทิผิด อักขระยิ่งขึ้นไป
กว่าเดิมอีก.
อีกอย่างหนึ่ง การมรณภาพทั้ง ๆ ที่ยังมีกิเลสเพียงดังเนินอยู่แห่ง
เขาผู้ดำรงอยู่ในวีติกกมโทษนี้ตามลำดับ คือ การต้องอาบัติทุกกฏ และ
ทุพภาสิต ( เปรียบเหมือนภาวะของถาดทองสัมฤทธิ์ที่มัวหมองอยู่แล้ว
กลับมัวหมองขึ้นไปอีก ). อีกอย่างหนึ่ง การมรณภาพทั้ง ๆ ที่ยังมีกิเลส
เพียงดังเนินอยู่ของเขาผู้ดำรงอยู่ในวีติกกมโทษนี้ตามลำดับ คือ การต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ และถุลลัจจัย การต้องอาบัติสังฆาทิเสส การต้องอาบัติ
 
๑๗/๗๒/๓๖๘

วันพุธ, มกราคม 11, 2566

Ropkuan

 
[พระเถระทรมานพวกรากษสให้หนีไปแล้วป้องกันเกาะไว้]
ก็ในขณะนั้นเอง นางรากษสตนหนึ่ง พร้อมด้วยบริวาร ขึ้นมาจาก
สมุทรด้วยคิดว่า เด็กเกิดในราชตระกูล, พวกเราจักเคี้ยวกินเด็กนั้น. พวก
มนุษย์เห็นนางรากษสตนนั้นแล้ว ก็กลัวร้องเสียงดังว่า นางรากษสนี้กำลังมา
เจ้าข้า ! พระเถระนิรมิตอัตภาพมากหลายกว่าพวกรากษสเป็นสองเท่า ปิด
ล้อมข้างทั้งสองด้วยอัตภาพเหล่านั้น กั้นนางรากษสนั้น พร้อมทั้งบริวารไว้
ตรงกลาง. นางรากษสตนนั้น พร้อมทั้งบริษัท ได้คิดดังนี้ว่า สถานที่นี้
จักเป็นของอันรากษสเหล่านี้ได้แล้วแน่นอน, ส่วนพวกเราก็จักเป็นภักษาของ
รากษสเหล่านี้. พวกรากษสทั้งหมดได้รีบหนีไปแล้ว.
ฝ่ายพระเถระ ขับไล่รากษสเหล่านั้นให้หนีไปแล้ว จนมองไม่เห็น
จึงได้ตั้งอารักขาไว้โดยรอบเกาะ๑. อนึ่ง ท่านให้หมู่มหาชน ซึ่งประชุมพร้อม
กันอยู่ในสมัยนั้นเลื่อมใส ด้วยพรหมชาลสุตตันตกถา ทั้งให้ตั้งอยู่ในสรณคมน์
และศีลแล้ว. ก็ในสันนิบาตนี้ ประชาชนประมาณหกหมื่น ได้บรรลุธรรม
แล้ว. พวกเด็กในตระกูลประมาณสามพันห้าร้อย บวชแล้ว. กุลธิดาประมาณ
หนึ่งพันห้าร้อยนาง ก็บวชแล้ว. พระเถระนั้น ได้ประดิษฐานพระศาสนาให้
ดำรงมั่นอยู่ในแคว้นสุวรรณภูมินั้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้. จำเดิมแต่นั้นมา
๑. นักปราชญ์ทางประวัติศาสตร์สันนิษฐานกันว่า ประเทศไทยของเรานี้อยู่ในแหลมทอง คือแคว้น สุวรรณภูมิ ได้รับพระพุทธศาสนาในคราวที่พระโสณกเถระและพระอุตตรเถระถูกส่งให้มาประกาศพระศาสนาในภาคนี้ แต่ถ้าจะสันนิษฐานอีกแง่หนึ่งแล้วไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะใจความในเรื่องนี้บ่งชัดอยู่แล้วว่า สถานที่ท่านทั้งสองไปประกาศนั้นเป็นเกาะไม่ใช่เป็นแผ่นดินเชื่อมติดต่อกัน และท่านก็ทำการป้องกันเกาะไว้โดยรอบ มิให้พวกผีเสื้อน้ำมารบกวนอาทิผิด อักขระประชาชนได้, อนึ่ง ถ้าแหลมทองนี้รวมทั้งประเทศพม่า ญวน ลาว เขมร และไทย อย่างที่พวกนักปราชญ์ทางประวัติศาสตร์เข้าใจแล้ว ก็ยิ่งกว้างใหญ่ไพศาล เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ท่านจะป้องกันได้อย่างไร ? ขอได้โปรดพิจารณาดูเถิด.
๒. ที. สี. ๙/๑
 
๗๗/๙๕/๑๕๖

วันอังคาร, มกราคม 10, 2566

Thuk

 
ราคะเป็นต้นไหม้ลุกโชนไปหมด จิตของวิญญูชน ย่อมไม่ยินดีในโลกนั้นเลย
เมื่อขู่มารนั้น ได้กล่าวคาถาเหล่านั้นว่า
เทวดาชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้น
นิมมานรดี ชั้นวสวัตดี พากันไปจากภพเข้าสู่ภพทุก ๆ
กาล นำหน้าอยู่แต่ในสักกายะ ล่วงสักกายะไปไม่ได้
ก็แล่นไปหาชาติและมรณะ โลกทั้งปวงถูกอาทิผิด อักขระไฟไหม้ลุก
รุ่งโรจน์โชติช่วง โลกทั้งปวงหวั่นไหวแล้ว พระพุทธ-
เจ้าได้ทรงแสดงธรรมอันเป็นธรรมไม่หวั่นไหว ชั่ง
ไม่ได้ เป็นธรรมอันปุถุชนเสพไม่ได้โปรดข้าพเจ้า ใจ
ของข้าพเจ้ายินดีนักในธรรมนั้น ข้าพเจ้าได้ฟังคำสั่ง
สอนของพระองค์แล้ว ยินดีอยู่ในพระศาสนา วิชชา ๓
ข้าพเจ้าก็บรรลุแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าข้าพเจ้า
ก็ทำเสร็จแล้ว ข้าพเจ้ากำจัดความเพลิดเพลินในสิ่ง
ทั้งปวงได้แล้ว ทำลายกองแห่งความมืดได้แล้ว ดูก่อน
มารผู้มีบาป ท่านจงรู้อย่างนี้เถิดว่า ตัวท่านข้าพเจ้า
ก็กำจัดได้แล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาลํ กาลํ ได้แก่ ตลอดกาลนั้น ๆ .
บทว่า ภวาภวํ ได้แก่ จากภพสู่ภพ. สกฺกายสฺมึ ได้แก่ เบญจขันธ์ บทว่า
ปุรกฺขตา แปลว่า ทำไว้ข้างหน้า ท่านอธิบายว่า มารเอย เทวดาชั้นดาวดึงส์
เป็นต้นที่ท่านกล่าวเมื่อไปจากภพสู่ภพก็ดำรงอยู่ในสักกายะของตนอันอากูลด้วย
โทษหลายอย่างมีความไม่เที่ยงเป็นต้น เพราะฉะนั้น เทวดาจึงเอาสักกายะนำ
หน้า ในกาลนั้น ๆ คือในเวลาเกิด ในเวลาท่ามกลาง ในเวลาที่สุด ดำรงอยู่
ในภพนั้น จากนั้นไปก็ไม่ล่วงพ้นสักกายะ ไม่มุ่งหน้าออกจากทุกข์ วิ่งไปตาม
 
๕๔/๔๖๒/๒๙๑

วันจันทร์, มกราคม 09, 2566

Mahanama

 
สังฆเภทขันธกะ
เรื่องมหานามอาทิผิด อักขระศากยะและอนุรุทธศากยะ
[๓๓๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ที่อนุปิยนิคม
ของพวกเจ้ามัลละ ครั้งนั้น พวกศากยกุมารที่มีชื่อเสียงออกผนวชตามพระผู้มี
พระภาคเจ้า ผู้ทรงผนวชแล้ว.
[๓๓๘] สมัยนั้น มหานามศากยะ และอนุรุทธศากยะทั้ง ๒ เป็น
พี่น้องกัน อนุรุทธศากยะ เป็นสุขุมาลชาติ เธอมีปราสาท ๓ หลัง คือ สำหรับ
อยู่ในฤดูหนาวหลัง ๑ สำหรับอยู่ในฤดูร้อนหลัง ๑ สำหรับอยู่ในฤดูฝนหลัง ๑
เธออันเหล่าสตรีไม่มีบุรุษเจือปนบำเรอยู่ด้วยดนตรีตลอด ๔ เดือน ในปราสาท
สำหรับฤดูฝน ไม่ลงมาภายใต้ปราสาทเลย ครั้งนั้น มหานามศากยะคิดว่า
บัดนี้พวกศากยกุมารที่มีชื่อเสียงต่างออกผนวชตามพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงผนวช
แล้ว แต่สกุลของเราไม่มีใครออกบวชเลย ถ้ากระไร เราหรืออนุรุทธะพึงบวช
จึงเข้าไปหาอนุรุทธศากยะกล่าวว่า พ่ออนุรุทธะ บัดนี้ พวกศากยกุมารที่มีชื่อ
เสียงต่างออกผนวชตามพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงผนวชแล้ว แต่สกุลของเรา
ไม่มีใครออกบวชเลย ถ้าเช่นนั้น น้องจงบวช หรือพี่จักบวช.
อ. ฉันเป็นสุขุมาลชาติ ไม่สามารถจะออกบวชได้ พี่จงบวชเถิด.
ม. พ่ออนุรุทธะ น้องจงมา พี่จะพร่ำสอนเรื่องการครองเรือนแก่
น้องผู้อยู่ครองเรือน ชั้นต้นต้องให้ไถนา ครั้นแล้วให้หว่าน ให้ไขน้ำเข้า
ครั้นไขน้ำเข้ามากเกินไป ต้องให้ระบายน้ำออก ครั้นให้ระบายน้ำออกแล้ว
ต้องให้ถอนหญ้า ครั้นแล้วต้องให้เกี่ยว ให้ขน ให้ตั้งลอม ให้นวด ให้สง
 
๙/๓๓๗/๒๖๗

วันอาทิตย์, มกราคม 08, 2566

Kap

 
สมัยต่อมา พระมหาปทุมพุทธเจ้า มุนีผู้เลิศผู้มีคติเสมอด้วยโคอุสภะ
ทรงอาศัยกรุงอสุภวดีเข้าจำพรรษา พวกมนุษย์ชาวนครประสงค์จะเห็นพระผู้-
มีพระภาคเจ้า จึงพากันเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโปรด
ชนเหล่านั้น. มนุษย์เป็นอันมากในที่นั้น มีจิตเลื่อมใส ก็พากันบวช แต่นั้น
พระทศพลทรงปวารณาเป็นวิสุทธิปวารณากับอาทิผิด อักขระภิกษุเหล่านั้น และภิกษุสามแสน
อื่น ๆ นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒. ส่วนชนเหล่าใดยังไม่บวชในครั้งนั้น ชน
เหล่านั้น ฟังอานิสงส์กฐินแล้ว ก็พากันถวายกฐินจีวรที่ให้อานิสงส์ ๕ ในวัน
ปาฏิบท ๕ เดือน. แต่นั้น ภิกษุทั้งหลายอ้อนวอนพระสาลเถระ พระธรรม
เสนาบดีอัครสาวก ผู้มีปัญญาไพศาลนั้น เพื่อกรานกฐิน ได้ถวายกฐินจีวร
แก่พระสาลเถระนั้น. เมื่อกฐินจีวรของพระเถระอันภิกษุทั้งหลายทำกันอยู่ ภิกษุ
ทั้งหลายก็เป็นสหายช่วยกันเย็บ. ฝ่ายพระปทุมสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงร้อยด้าย
เข้ารูเข็มประทาน เมื่อจีวรสำเร็จแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จจาริกหลีกไป
พร้อมด้วยภิกษุสามแสน.
สมัยต่อมา พระพุทธสีหะ ประดุจบุรุษสีหะผู้ดำเนินไปด้วยความ
องอาจดังราชสีห์ เสด็จเข้าจำพรรษา ณ ป่าใหญ่ ที่มีดอกไม้หอมอย่างยิ่งมี
ผลไม้เป็นพวงมีกิ่งก้านอันอ่อนโน้ม มีค่าคบไม้ เสมือนป่าโคสิงคสาลวัน บริ-
บูรณ์ด้วยห้วงน้ำที่เย็นอร่อย ประดับด้วยบัวก้านบัวสายไร้มลทิน เป็นที่สัญจร
ของหมู่เนื้อเช่นกวาง จามรี ราชสีห์ เสือ ช้าง ม้า โค กระบือเป็นต้น อันฝูง
แมลงภู่และผึ้งสาว ที่มีใจติดกลิ่นดอกไม้อันหอมกรุ่น บินตอมว่อนเป็นฝูง ๆ
โดยรอบ อันเหล่านางนกดุเหว่า มีใจเบิกบานด้วยรสผลไม้ ส่งเสียงร้องไพเราะ
แผ่วเบาคล้ายขับกล่อมอยู่ น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง สงัดปราศจากผู้คน เหมาะ
แก่การประกอบความเพียร. พระตถาคตทศพล พระธรรมราชาพร้อมทั้งบริวาร
ประทับอยู่ ณ ป่าใหญ่นั้น รุ่งโรจน์ด้วยพระพุทธสิริ มนุษย์ทั้งหลายเห็นแล้ว
 
๗๓/๙/๔๓๓