วันเสาร์, มกราคม 28, 2566

Lae

 
การละความยึดถือกิเลสอันเป็นฝ่ายแห่งสมุทัยที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยมี
อาทิว่า เพื่อละทิฏฐิทั้งหลายในสันดานของตน ๆ โดยมรรคนั้น ๆ เพราะเจริญ
อริยมรรค ๔ แล้วโดยความไม่ให้เป็นไปอีกต่อไป นี้ชื่อว่า สมุจเฉทปหาน.
ความที่กิเลสทั้งหลายสงบ ในขณะแห่งผล นี้ชื่อว่าปฏิปัสสัทธิปหาน.
การดับอันเป็นการละเครื่องปรุงแต่งทั้งหมด เพราะสลัดเครื่องปรุง-
แต่งทั้งหมดได้แล้ว นี้ชื่อว่า นิสสรณปหาน.
ก็ปหานทั้งหมดนี้ชื่อว่าปหาน เพราะอรรถว่า สละ ชื่อว่า วินัย
เพราะอรรถว่า แนะนำให้วิเศษ ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปหานวินัย. อีก
อย่างหนึ่ง ปหานนี้เรียกว่า ปหานวินัย เพราะละอกุสลนั้น ๆ เพราะมีวินัยนั้น ๆ.
แม้ปหานวินัยพึงทราบว่าแบ่งออกเป็น ๕ อย่าง ด้วยประการฉะนี้.
วินัยนี้โดยสังเขปมี ๒ อย่าง อย่างนี้ และโดยประเภทมี ๑๐ อย่าง
ไม่มีแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับนี้ เพราะขาดสังวรและอาทิผิด อักขระเพราะไม่ละสิ่งที่ควรละฉะนั้น
ปุถุชนนี้ท่านจึงกล่าวว่าไม่ได้รับแนะนำ เพราะไม่มีวินัยนั้น. แม้ในบทว่า
สปฺปุริสานํ อทสฺสาวี สปฺปุริสธมฺมสฺส อโกวิโท สปฺปุริสธมฺเม
อวินีโต ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ไม่ได้รับคำแนะนำในธรรมของสัตบุรุษนี้ก็มีนัยนี้. โดยความบทนี้ ไม่มีเหตุ
ต่างกันเลย.
สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้ใดเป็นอริยะ ผู้นั้นเป็นสัตบุรุษ. ผู้ใดเป็น
สัตบุรุษผู้นั้นเป็นอริยะ. ธรรมใดของพระอริยะ ธรรมนั้นของสัตบุรุษ. ธรรม
ใดของสัตบุรุษ ธรรมนั้นของพระอริยะ. วินัยใดเป็นวินัยของพระอริยะ วินัย
นั้นเป็นวินัยของสัตบุรุษ. วินัยใดเป็นวินัยของสัตบุรุษ วินัยนั้นเป็นวินัยของ
พระอริยะ. รวมความว่า อริยะก็ดี สัตบุรุษก็ดี ธรรมของอริยะก็ดี ธรรมของ
 
๖๙/๓๖๑/๕๗

ไม่มีความคิดเห็น: