วันอาทิตย์, ธันวาคม 31, 2566

Phiap Phrom

 
พรรณนาคุณแห่งความตายแก่อุบาสกนั้น ครั้นดำริฉะนั้นแล้ว จึงเข้าไปหา
อุบาสกนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนอุบาสก ท่านเป็นผู้ทำความดีไว้แล้ว ทำกุศล
ไว้แล้ว ทำความต้านทานต่อความขลาดไว้แล้ว มิได้ทำบาป มิได้ทำความชั่ว
มิได้ทำความเสียหาย ทำแต่ความดี ไม่ได้ทำบาป จะประโยชน์อะไรแก่ท่าน
ด้วยชีวิตอันแสนลำบากยากแค้นนี้ ท่านตายเสียดีกว่าเป็นอยู่ ตายจากโลกนี้แล้ว
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ท่านจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ จักได้รับบำเรอ
เพียบอาทิผิด อักขระพร้อมอิ่มเอิบด้วยเบญจกามคุณ อันเป็นทิพย์ ในสุคติโลกสวรรค์นั้น.
ครั้งนั้น อุบาสกนั้นเห็นจริงว่า ท่านพูดจริง เพราะเราทำความดีไว้
แล้ว ทำกุศลไว้แล้ว ทำความต้านทานต่อความขลาดไว้แล้ว มิได้ทำบาป
มิได้ทำความชั่ว มิได้ทำความเสียหาย เราทำแต่ความดี เรามิได้ทำความชั่ว
จะประโยชน์อะไรแก่เรา ด้วยชีวิตอันแสนลำบากยากแค้นนี้ เราตายเสียดีกว่า
เป็นอยู่ ตายจากโลกนี้แล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราจักเข้าถึง
สุคติโลกสวรรค์ จักได้รับบำเรอเพียบพร้อมอิ่มเอิบด้วยเบญจกามคุณอันเป็น
ทิพย์ ในสุคติโลกสวรรค์นั้น ดังนี้แล้ว เขาจึงรับประทานโภชนะที่แสลง
เคี้ยวขาทนียะที่แสลง ลิ้มสายนียะที่แสลง และดื่มปานะที่แสลง เมื่อเป็นเช่นนั้น
ความป่วยหนักก็เกิดขึ้น เขาถึงแก่กรรมเพราะความป่วยไข้นั่นเอง ภริยาของ
เขาจึงเพ่งโทษว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ เป็นผู้ไม่ละอาย
ทุศีล พูดเท็จ แท้จริง พระสมณะเหล่านี้ ยังปฏิญาณตนว่า เป็นผู้ประพฤติธรรม
ประพฤติสงบ ประพฤติพรหมจรรย์ กล่าวคำสัตย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม
ติเตียนว่า ความเป็นสมณะย่อมไม่มีแก่พระสมณะเหล่านี้ ความเป็นพราหมณ์
ของพระสมณะเหล่านี้หามีไม่ ความเป็นสมณะ ความเป็นพราหมณ์ของพระ
สมณะเหล่านี้ พินาศแล้ว ความเป็นสมณะ ความเป็นพราหมณ์ ของพระ-
 
๒/๑๘๐/๒๖๑

วันเสาร์, ธันวาคม 30, 2566

Sot

 
เหตุที่ ชื่อว่าการสอด (องคชาต) เข้าไปนั้น ไม่ใช่จะมีได้ด้วยความพยายาม
ของตนอย่างเดียวเท่านั้น ย่อมมีได้แม้ด้วยความพยายามของผู้อื่น และเมื่อ
ภิกษุยินดีในการสอด (องคชาต) เข้าไปด้วยความพยายามของผู้อื่นแม้นั้น
ก็เป็นอาบัติ, คือเมื่อภิกษุมีความพร้อมเพรียงด้วยปฏิเสวนจิตก็เป็นอาบัติ นอกนี้
ไม่เป็นอาบัติ จึงตรัสพระดำรัสว่า ภิกฺขุปจฺจตฺถิกา มนุสฺสิตฺถึ เป็นต้น.
ในคำว่า ปจฺจตฺถิกา เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- เหล่าชนผู้
ชื่อว่าเป็นข้าศึก เพราะอรรถว่าต้องการ คือ ปรารถนาเป็นปฏิปักษ์. ข้าศึก
ทั้งหลาย คือ พวกภิกษุ ชื่อว่า ภิกฺขุปจฺจตฺถิกา (ภิกษุผู้เป็นข้าศึก). คำว่า
ภิกขุปัจจัตถิกานั่น เป็นชื่อของพวกภิกษุผู้ก่อเวร ซึ่งเป็นวิสภาคกัน.
หลายบทว่า มนุสฺสิตฺถึ ภิกฺขุโน สนฺติเก อเนตฺวา ความว่า
พวกภิกษุผู้มีความริษยาปรารถนาจะทำให้ภิกษุนั้นฉิบหาย เอาอามิสหลอกล่อ
หรือพูดด้วยอำนาจมิตรสันถวะว่า ท่านจงทำกิจนี้ของพวกเราเถิด แล้วพาเอา
หญิงมนุษย์บางคนมายังโอกาส ซึ่งเป็นที่อยู่ของภิกษุนั้น ในเวลาราตรี.
หลายบทว่า วจฺจมคฺเคน องฺคชาตํ อภินีสีเทนฺติ ความว่า
จับภิกษุรูปนั้นที่อวัยวะมี มือ เท้า และศีรษะเป็นต้นอย่างมั่น คือให้ดิ้นรน
ไม่ได้ แล้วให้นั่งคร่อม คือให้ประกอบองคชาตของภิกษุรูปนั้น ด้วยวัจจมรรค
ของหญิง.
ในคำว่า โส เจ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- ถ้าภิกษุรูปนี้นั้นยินดี
คือยอมรับการสอดอาทิผิด อักขระองคชาตของตนเข้าไปร่วมในแห่งวัจจมรรค (ของหญิง)
คือเธอให้เสวนจิตปรากฏขึ้นในขณะนั้น ยินดี คือยอมรับการเข้าไปแล้ว, ใน
เวลาที่เข้าไปแล้ว เธอก็ให้เสวนจิตปรากฏขึ้นทั้งยินดี คือยอมรับการหยุดอยู่,
ในเวลาที่องคชาตถึงที่ เธอก็ให้เสวนจิตปรากฏขึ้นในเวลาที่หลั่งน้ำสุกกะ ทั้ง
 
๑/๗๘/๘๒๒

วันศุกร์, ธันวาคม 29, 2566

Lao

 
และข้าว เป็นต้น มีประการต่าง ๆ ที่แหลกด้วยสาก คือฟัน พลิกกลับไปมา
ด้วยมือ คือ ลิ้น คลุกเคล้าด้วยน้ำลาย ขณะนั้นแหละก็จะเป็นสิ่งที่ปราศจาก
คุณสมบัติของสี กลิ่น รส เป็นต้น เป็นเช่นกับข้าวย้อมด้ายของนายช่างหูก
หรือเป็นเช่นสุนัขกับรากสุนัข ครั้นตกลงไปในคอก็จะคลุกเคล้าด้วยน้ำดี น้ำ
เสลดเดือดขึ้นแล้วด้วยกำลังแห่งความเผาของไฟในท้อง (ธาตุไฟย่อยอาหาร)
อากูลไปด้วยหมู่หนอน ปล่อยพองขึ้นข้างบนโดยลำดับ ถึงซึ่งความเป็นสิ่ง
สกปรก มีกลิ่นเหม็นยิ่งนัก ตั้งอยู่ในอุทรนั้น เปรียบเหมือน เมื่อฝนเมล็ด
หนา ตกลงมาในฤดูแล้ง ซากสัตว์ต่าง ๆ จำเดิมแต่มูตร คูถ ท่อนหนัง
กระดูก เอ็น น้ำลาย น้ำมูก และเลือด เป็นต้น ที่น้ำพาไปตกลงที่แอ่ง
น้ำโสโครกใกล้ประตูบ้านของคนจัณฑาล และผสมเข้ากับโคลนตมสองสามวัน
ก็มีหมู่หนอนเกิดขึ้นแล้ว แอ่งน้ำนั้นเดือดขึ้นแล้วด้วยความร้อนด้วยกำลังแห่ง
แสงแดด ปล่อยฟองขึ้นข้างบนบ่อย ๆ เป็นของมีสีเขียวคล้ำ เป็นสิ่งน่ารังเกียจ
ด้วยกลิ่นเหม็นอย่างยิ่ง ถึงซึ่งความเป็นรูปไม่น่าเข้าไปใกล้ ไม่น่าเห็น จะป่วย
กล่าวไปไยถึงการเป็นสิ่งน่าดม น่าลิ้มเล่าอาทิผิด อักขระ แม้ฉันใด น้ำและข้าวเป็นต้นมี
ประการต่าง ๆ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อันสากคือฟันบดละเอียดแล้ว อันมือคือลิ้น
ตวัดพลิกกลับไปมา แล้วคลุกเคล้าด้วยน้ำลาย ปราศจากความถึงพร้อมด้วยสี
กลิ่นและรส เป็นต้นในทันที เสมือนรากสุนัขในรางสุนัข รวมกันคลุกเคล้า
ด้วยน้ำดีและเสลด เดือดด้วยแรงไฟและความร้อนในท้อง หนอนตระกูลใหญ่
น้อยปล่อยฟองฟอดขึ้นข้างบนถึงความเป็นกองขยะมีกลิ่นเหม็นน่าเกลียดอย่างยิ่ง
ตั้งอยู่ แม้เพราะฟังเรื่องอุทรไรเล่า ความไม่ชอบใจในน้ำและข้าว เป็นต้น
ก็เกิดขึ้นได้ จะกล่าวไปไยถึงความไม่ชอบใจในน้ำและข้าวเป็นต้น เพราะ
การแลดูด้วยปัญญาจักษุเล่า.
 
๗๘/๔๖๔/๘๑

วันพฤหัสบดี, ธันวาคม 28, 2566

Dang

 
อนึ่ง ภิกษุเข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบ ด้วยเมตตาในเพื่อนสพรหมจารี
ทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งทั้งในที่ลับ ธรรมแม้นี้เป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึงกัน
ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความ
ไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
อนึ่ง ภิกษุเข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนสพรหม-
จารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งทั้งในที่ลับ ธรรมแม้นี้เป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึก
ถึงกัน ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน
เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอัน
เดียวกัน.
อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ไม่หวงลาภที่เกิดโดยธรรม ที่ตนหาได้โดยชอบธรรม
โดยที่สุดแม้แต่อาหารที่นับเนื่องในบาตร ไว้บริโภคเป็นผู้บริโภคร่วมกับเพื่อน
สพรหมจารีผู้มีศีล ธรรมแม้นี้เป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึงกัน ทำให้เป็นที่รัก
ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อ
ความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีศีลเสมอกับเพื่อนสพรหมจารีใน ศีลทั้งหลาย ที่ไม่
ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่างอาทิผิด อักขระ ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันกิเลส
ไม่จับต้องเป็นไปเพื่อสมาธิ ทั้งในที่แจ้งทั้งในที่ลับอยู่ ธรรมแม้นี้เป็นที่ตั้ง
แห่งความให้ระลึกถึงกัน ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความ
สงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความ
เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีทิฏฐิเสมอกับเพื่อนสพรหมจารีในทิฏฐิอันประเสริฐ
นำออกจากทุกข์ นำไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้ทำตามพร่ำสอน ทั้งใน
 
๑๐/๘๕๖/๓๗๙

วันพุธ, ธันวาคม 27, 2566

Uphato

 
แสดงความที่พระอริยบุคคลทั้งหลายเป็นผู้ว่าง่ายด้วยการกำหนดมิใช่ฐานะและ
เพื่อแสดงความที่พระภัททาลิเถระเป็นผู้ว่ายาก พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบทนี้.
เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงปรารภเทศนาว่า อปิ นุ ตวํ
ตสฺมึ สมเย อุภโตอาทิผิด อักขระภาควิมุตฺโต ในสมัยนั้นเธอเป็นพระอริยบุคคลชื่อว่า
อุภโตภาควิมุต บ้างหรือหนอ. เพื่อข่มพระภัททาลิ. ในบทนี้มีอธิบายดังต่อไป
นี้ว่า ดูก่อนภัททาลิ พระอริยบุคคล ๗ จำพวกเหล่านี้เป็นทักขิไณยบุคคลใน
โลกเป็นเจ้าของในศาสนาของเรา เมื่อเราบัญญัติสิกขาบท เมื่อมีเหตุอันควรที่
พระอริยบุคคลจะพึงคัดค้าน การคัดค้านของพระอริยบุคคลเหล่านั้นจึงควร. แต่
เธอเป็นคนภายนอกจากศาสนาของเรา เมื่อเราบัญญัติสิกขาบท เธอไม่ควร
คัดค้าน. บทว่า วิตฺโต ตุจฺโฉ เธอเป็นคนว่างคนเปล่า คือ พระภัททาลิเป็น
คนว่างคนเปล่าเพราะไม่มีอริยคุณในภายใน ไม่มีอะไรๆ ในคำพูดเป็นอิสระ.
บทว่า สตฺถาปิ อุปวทติ แม้พระศาสดาก็ทรงติเตียนได้ ความว่า
ภิกษุผู้อยู่วัดโน้นเป็นสัทธิวิหาริกของพระเถระรูปโน้น ภิกษุชื่อนี้เป็นอันเตวาสิก
ของพระเถระรูปโน้น เข้าไปสู่ป่าเพื่อยังโลกุตตรธรรมให้เกิด แล้วทรงติเตียน
อย่างนี้ว่าเพราะเหตุไรภิกษุไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของเรา ด้วยการ
อยู่ป่าของภิกษุนั้น . แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. โดยที่แท้เทวดาไม่ติ-
เตียนอย่างเดียว ยังแสดงอารมณ์น่ากลัวแล้วทำให้หนีไปอีกด้วย. บทว่า อตฺตาปิ
อตฺตานํ แม้ตนก็ติเตียนตน ความว่า เมื่อภิกษุนึกถึงศีล ฐานะอันเศร้าหมอง
ย่อมปรากฏ. จิตย่อมแล่นไป กรรมฐานย่อมไม่ติด. ภิกษุนั้นมีความรำคาญ
ว่าประโยชน์อะไรด้วยการอยู่ป่าของภิกษุเช่นเรา ลุกหลีกไป. บทว่า อตฺตาปิ
อตฺตานํ อุปวทิโต แม้ตนเองก็ติเตียนตนได้ คือตนเองติเตียนแม้ด้วยตน.
ปาฐะเป็นอย่างนี้แหละ พึงทราบธรรมฝ่ายขาวโดยนัยตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.
 
๒๐/๑๗๔/๓๔๑

วันอังคาร, ธันวาคม 26, 2566

Haeng

 
ว่า เพศพรหมจรรย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเราพบแล้ว และความคืบหน้าของ
พระราชสาสน์ เราก็รู้แล้ว กามทั้งหลายมีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
ประโยชน์อะไรด้วยการอยู่ครอบครองราชสมบัติในบัดนี้ จึงทรงสละราชสมบัติ
ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ บวชอุทิศเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถือเอาบาตรที่ทำด้วยดิน ประพฤติเหมือนคนเทขยะ เมื่อมหาชนกำลังปริเทวนา
การอยู่นั่นแล ออกจากพระนคร เสด็จถึงกรุงราชคฤห์โดยลำดับ เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประทับอยู่ที่เงื้อมเขา ชื่อว่าสัปปโสณฑิกะ ในพระนคร
ราชคฤห์นั้น ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
พระศาสดาทรงแสดงธรรมแล้ว ท่านสดับพระธรรมเทศนา ถือเอา
กรรมฐานในวิปัสสนา หมั่นประกอบเนือง ๆ อยู่ ขวนขวายวิปัสสนา บรรลุ
พระอรหัตแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราเป็นนายช่างทำยานอยู่ในเมือง เป็นผู้ศึกษาดี
แล้ว ในงานของช่างไม้ เราได้ทำแผ่นกระดานด้วย
ไม้จันทน์ ถวายแด่พระสัมพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของ
โลก วิมานอันบุญกรรมนิรมิตดีแล้ว ด้วยทองคำนี้
ย่อมสว่างไสว ยานช้าง ยานม้า อันเป็นยานทิพย์
ปรากฏแก่เรา ปราสาทและวอ และแก้วอันประมาณ
มิได้ ย่อมบังเกิดแก่เราตามปรารถนา นี้เป็นผลแห่ง
การถวายแผ่นกระดาน ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เรา
ได้ถวายแผ่นกระดานใด ด้วยการถวายแผ่นกระดาน
นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งอาทิผิด อักขระการถวายแผ่น
กระดาน ในกัปที่ ๕๗ แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิ ๔ พระองค์ มีนามว่า “ นิมมิตะ ”
สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก. เราเผา
 
๕๐/๒๓๔/๔๕๓

วันจันทร์, ธันวาคม 25, 2566

Nguean

 
๙. กุจฺฉิตานํ สาสวธมฺมานํ อาโยติ กาโย ชื่อว่า กาย
เพราะอรรถว่า เป็นบ่อเกิดของธรรมมีอาสวะอันบัณฑิตเกลียด คำว่า อาโย
คือ ที่เกิด.
๑๐. ผุสฺสียตีติ โผฏฺพฺพํ ชื่อว่า โผฏัพพะ เพราะอรรถว่า
อันกายย่อมถูกต้อง.
๑๑. มนุยตีติ มโน ชื่อว่า มนะ เพราะอรรถว่า ย่อมรู้.
๑๒. อตฺตโน ลกฺขณํ ธารยตีติ ธมฺมา ชื่อว่า ธรรม เพราะ
อรรถว่า ย่อมทรงไว้ซึ่งลักษณะของตน.
แต่เมื่อว่าโดยอรรถไม่แปลกกัน พึงทราบว่า ที่ชื่อว่า อายตนะ
เพราะเป็นเครื่องต่อ (อายตนโต) ๑ เพราะการแผ่ธรรมอันเป็นบ่อเกิดแห่ง
อาสวะทั้งหลาย (อายานํ ตนนโต) ๑ เพราะนำไปสู่สังสารต่อไป (อายตสฺส
จ นยนโต ) ๑.
จริงอยู่ ในบรรดาอายตนะทั้งหลายมีจักขุและรูปเป็นต้น มีอธิบาย
ไว้ว่า ธรรมทั้งหลายคือจิตและเจตสิกมีอารมณ์ตามทวารนั้น ๆ ย่อมเจริญขึ้น
ย่อมตั้งขึ้น ย่อมสืบต่อ ย่อมขยายไปด้วยกิจ มีการเสวยอารมณ์เป็นต้นของตน ๆ
นี้เป็นคำอธิบายข้อที่ ๑.
ก็เมื่อธรรมอันเป็นอายะ (คือเป็นบ่อเกิดของอาสวะมีอยู่) ธรรมคือจิต
และเจตสิกเหล่านั้นก็ย่อมแผ่ไป คือย่อมยังธรรม อันเป็นบ่อเกิดแห่งอาสวะนี้
ให้กว้างขวาง นี้เป็นคำอธิบายข้อที่ ๒.
ก็อายตนะเหล่านั้นย่อมนำไป คือ ย่อมให้เป็นไปถ่ายเดียวสู่สังสารทุกข์
อันยาวนานมาแต่อดีต เป็นไปล่วงไปในสังสารอันมีเงื่อนอาทิผิด อาณัติกะเบื้องต้นและที่สุดอัน
รู้ไม่ได้ ให้หวนกลับมิได้ นี้เป็นคำอธิบายข้อที่ ๓.
 
๗๗/๙๘/๑๖๔

วันอาทิตย์, ธันวาคม 24, 2566

Matika

 
ตนเองทีเดียว.” อุบาสิกาคิดว่า “ ภิกษุผู้บุตรของเราประสงค์จะเห็นเรา
หวังการไปของเราอยู่,” ดังนี้แล้ว จึงให้คนถือโภชนะไปสู่วิหารแล้วได้
ถวายแก่ภิกษุนั้น.
ภิกษุนั้นทำภัตกิจแล้ว ถามว่า “ มหาอุบาสิกา ท่านหรือ ? ชื่อว่า
มาติกอาทิผิด อักขระมาตา.”
อุบาสิกา. ถูกแล้ว พ่อ.
ภิกษุ. อุบาสิกา ท่านทราบจิตของคนอื่นหรือ ?
อุบาสิกา. ถามดิฉันทำไม ? พ่อ.
ภิกษุ. ท่านได้ทำวัตถุทุก ๆ สิ่งที่ฉันคิดแล้วๆ, เพราะฉะนั้น ฉัน
จึงถามท่าน.
อุบาสิกา. พ่อ ภิกษุที่รู้จิตของคนอื่น ก็มีมาก.
ภิกษุ. ฉันไม่ได้ถามถึงคนอื่น, ถาม (เฉพาะตัว) ท่านอุบาสิกา.
แม้เป็นอย่างนั้น อุบาสิกาก็มิได้บอก (ตรง ๆ) ว่า “ ดิฉันรู้จิต
ของคนอื่น ” (กลับ) กล่าวว่า “ ลูกเอ๋ย ธรรมดาคนทั้งหลายผู้รู้จิต
ของคนอื่น ย่อมทำอย่างนั้นได้.”

ภิกษุลาอุบาสิกากลับไปเฝ้าพระศาสดา
ภิกษุนั้นคิดว่า “กรรมนี้หนักหนอ, ธรรมดาปุถุชน ย่อมคิดถึง
อารมณ์อันงามบ้าง ไม่งามบ้าง; ถ้าเราจักคิดสิ่งอันไม่สมควรแล้วไซร้,
อุบาสิกานี้ ก็พึงยังเราให้ถึงซึ่งประการอันแปลก เหมือนจับโจรที่มวยผม
พร้อมด้วยของกลางฉะนั้น; เราควรหนีไปเสียจากที่นี้” แล้วกล่าวว่า
“ อุบาสิกา ฉันจักลาไปละ.”
 
๔๐/๑๓/๔๐๑

วันเสาร์, ธันวาคม 23, 2566

Satsana

 
ครั้นแล้วพึงทำอุโบสถฟังปาติโมกข์ แต่ไม่พึงทำอันตรายแก่อุโบสถ เพราะข้อที่
สงสัยนั้นเป็นปัจจัย.

สงฆ์ต้องสภาคาบัติ
[๑๘๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่ง ๑ ถึงวันอุโบสถ สงฆ์
ทั้งหมดต้องสภาคาบัติ จึงภิกษุเหล่านั้นได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุจะแสดงสภาคาบัติไม่ได้ จะรับแสดงสภาคาบัติไม่ได้
ดังนี้ ก็สงฆ์หมู่นี้ ล้วนต้องสภาคาบัติแล้ว พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ ๆ
แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็ในอาวาสแห่ง ๑ ถึงวันอุโบสถ สงฆ์ทั้งหมดในศาสนาอาทิผิด อักขระนี้ ต้อง
สภาคาบัติ ภิกษุเหล่านั้นพึงส่งภิกษุรูป ๑ ไปสู่อาวาสใกล้เคียง พอจะกลับมา
ทันในวันนั้น ด้วยสั่งว่า อาวุโสเธอจงไปทำคืนอาบัตินั้นแล้วมา พวกเราจักทำ
คืนอาบัติในสำนักเธอ ถ้าได้ภิกษุเช่นนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุ
ผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ญัตติกรรมวาจา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ทั้งหมดนี้ต้อง
สภาคาบัติ เห็นภิกษุรูปอื่น ผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติเมื่อใด จักทำคืน
อาบัตินั้นในสำนักเธอเมื่อนั้น ครั้นแล้วพึงทำอุโบสถสวดปาติโมกข์
แต่ไม่พึงทำอันตรายแก่อุโบสถ เพราะข้อที่ต้องสภาคาบัตินั้นเป็น
ปัจจัย.
 
๖/๑๘๙/๔๗๘

วันศุกร์, ธันวาคม 22, 2566

Rong Hai

 
ชีวิต บัดนี้ ข้าพระองค์อนุญาตแก่ชาวเมืองแล้ว เพราะชาวเมืองพากันโกรธว่า
พวกเราไม่ได้เพื่อถวายทาน ตั้งแต่วันพรุ่งนี้ พวกพระคุณเจ้าทั้งหลายจงกระทำ
อนุเคราะห์แก่ชาวเมืองเหล่านั้นเกิด. ครั้นถึงวันที่สอง เสนาบดีตระเตรียมมหาทาน
แล้วกล่าวว่า วันนี้พวกท่านจงรักษาโดยที่คนอื่นบางคนจะไม่ถวายแม้ภิกษา
อย่างเดียวได้ ได้ตั้งบุรุษไว้โดยรอบ. ในวันนั้นภรรยาเศรษฐีร้องไห้อาทิผิด สระพูดกะลูก
สาวว่า ลูกเอ๋ย หากบิดาของลูกยังมีชีวิตอยู่ วันนี้แม่คงจะยังพระทศพลให้เสวย
ก่อน. ลูกสาวพูดกะแม่ว่า แม่จ๋าอย่าคิดไปเลย ลูกจักกระทำโดยที่หมู่ภิกษุมี
พระพุทธเจ้าเป็นประมุขจักเสวยภิกษาของพวกเราก่อน. แต่นั้นในถาดทองคำมี
ค่าประมาณหนึ่งแสน เต็มไปด้วยข้าวปายาสไม่มีน้ำ นางได้ปรุงเนยใส น้ำผึ้ง
น้ำตาลกรวดเป็นต้น เอาถาดใบอื่นครอบถาดทองคำล้อมถาดนั้นด้วยสายพวง
ดอกมะลิกระทำคล้ายเชือกร้อยดอกไม้ ในเวลาพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าสู่บ้าน
นางยกขึ้นเอง แวดล้อมด้วยหมู่พี่เลี้ยงออกจากเรือน. ในระหว่างทางพวกคนใช้
ของเสนาบดีกล่าวว่า ดูก่อนแม่นาง เจ้าอย่ามาทางนี้. ธรรมดาหญิงผู้มีบุญมาก
ย่อมมีคำพูดน่าพอใจ. เมื่อคนใช้ของเสนาบดีเหล่านั้นพูดบ่อย ๆ ก็ไม่อาจห้าม
ถ้อยคำของนางได้. นางกล่าวว่า อาจ๋า ลุงจ๋า น้าจ๋า เพราะเหตุไร พวกท่านจึง
ไม่ให้ฉันไปเล่า. คนรับใช้เหล่านั้นกล่าวว่า เสนาบดีตั้งเราไว้ว่า พวกท่านจง
อย่าให้ใคร ๆ อื่นถวายของเคี้ยวของบริโภคได้. นางกล่าวว่า ก็พวกท่านเห็น
ของเคี้ยวของบริโภคในมือของฉันหรือ. คนใช้ตอบว่า พวกเราเห็นพวงดอกไม้.
นางถามว่า เสนาบดีของพวกท่านไม่ให้เพื่อทำแม้การบูชาด้วยพวงดอกไม้ดอก
หรือ. คนใช้ตอบว่า ให้ซิแม่นาง. นางกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นพวกท่านจงหลีกไป
เถิด แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ากราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ขอพระองค์ทรงให้รับพวงดอกไม้นี้เถิด พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแล
ดูคนใช้ของเสนาบดีคนหนึ่งให้รับพวงดอกไม้. นางถวายบังคมพระผู้มีพระภาค
 
๑๓/๕๖/๑๕๙

วันพฤหัสบดี, ธันวาคม 21, 2566

Chai

 
ความเป็นสาว ดูหมิ่นหญิงอื่น ข้าพเจ้าประดับกายนี้
ให้วิจิตรงดงาม สำหรับลวงผู้ชายโง่ ๆ ได้ยืนอยู่ที่
ประตูเรือนหญิงแพศยา ดุจนายพรานที่คอยดักเนื้อ
ฉะนั้น ข้าพเจ้าแสดงเครื่องประดับต่าง ๆ และอวัยวะ
ที่ควรปกปิดเป็นอันมากให้ปรากฏ กระทำมายาหลาย
อย่างให้ชายอาทิผิด อักขระเป็นอันมากยินดี วันนี้ข้าพเจ้านั้นมีศีรษะ
โล้น ห่มผ้าสังฆาฏิเที่ยวบิณฑบาตแล้วมานั่งอยู่ที่โคน
ต้นไม้ ได้ฌานอันไม่มีวิตก ข้าพเจ้าตัดเครื่องเกาะ
เกี่ยวทั้งที่เป็นของทิพย์ทั้งที่เป็น ของมนุษย์ ได้ทั้งหมด
ทำอาสวะทั้งปวงให้สิ้นไป มีความเย็นดับสนิทแล้ว.
จบ วิมลาปุราณคณิกาเถรีคาถา
๒. อรรถกถาวิมลาเถรีคาถา
คาถาว่า มตฺตา วณฺเณน รูเปน เป็นต้น เป็นคาถาของพระ-
เถรีชื่อวิมลา.
แม้พระเถรีชื่อวิมลาองค์นี้ ก็ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้า
องค์ก่อนๆ สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ ใน
พุทธุปปาทกาลนี้ เกิดเป็นธิดาของหญิงผู้อาศัยรูปเลี้ยงชีพคนหนึ่งในกรุงเวสาลี
มีชื่อว่า วิมาลา นางวิมลาครั้นเจริญวัยแล้วก็เลี้ยงชีพอย่างนั้นเหมือนกัน
วันหนึ่งนางเห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะเที่ยวบิณฑบาตในกรุงเวสาลี มีจิต
ปฏิพัทธ์จึงไปถึงที่อยู่ของพระเถระเริ่มทำการเล้าโลมมุ่งพระเถระ อาจารย์บาง
ท่านกล่าวว่า ถูกพวกเดียรถีย์ส่งไปจึงได้ทำอย่างนั้น พระเถระคุกคามแล้วได้
๑. บาลี เป็น วิมลาปุราณคณิกาเถรีคาถา.
 
๕๔/๔๔๐/๑๒๙

วันพุธ, ธันวาคม 20, 2566

Mueang

 
กุมารเหล่านั้นรับว่าดีแล้ว ครั้นเวลาเที่ยงคืนนั้น ก็พากันถือ
เอาไถแล้วตอกหลักลงบนแผ่นดินที่ประตูเมืองทั้ง ๔ ด้านยืนอยู่ ขณะ
นั้น ยักษ์เพศลาก็ร้องขึ้น นครเริ่มจะเลื่อนลอย กุมารเหล่านั้นยืนอยู่
ที่ประตูเมืองอาทิผิด ทั้ง ๔ ด้าน จับไถเหล็ก ๔ คัน เอาโซ่เหล็กผูกกับไถล่าม
ไว้กับหลักเหล็ก นครก็ไม่อาจเขยื้อนขึ้นได้ ลำดับนั้นกุมาร ๑๐ พี่น้อง
ก็เข้านคร ปลงพระชนม์พระราชาแล้วยึดราชสมบัติได้ กุมารเหล่านั้น
ได้ใช้จักรปลงพระชนม์พระราชาทั้งหมดในนคร ๖ หมื่น ๓ พันนคร
แล้วมารวมกันอยู่ที่กรุงทวาราวดี แบ่งราชสมบัติเป็น ๑๐ ส่วน แต่หา
ทันนึกถึงอัญชนเทวีเชษฐภคินีไม่ ต่อมานึกขึ้นได้จึงปรึกษากันใหม่ว่า
จะแบ่งเป็น ๑๑ ส่วน อังกุรกุมารพูดขึ้นว่า ท่านทั้งหลายจงให้ส่วนของ
เราแก่อัญชนเทวีเชษฐภคินีเถิด เราจะทำการค้าขายเลี้ยงชีพ แต่ท่าน
ทั้งหลายต้องแบ่งส่วยในชนบทของตนให้แก่เราทุก ๆ คน พี่น้อง ๙ องค์
รับว่า ดีแล้ว ดังนี้แล้วมอบราชสมบัติส่วนของอังกุรกุมารให้แก่อัญชน-
เทวีเชษฐภคินี ได้เป็นพระราชา ๙ องค์กับเชษฐภคินี อยู่ด้วยกัน ใน
กรุงทวาราวดี ส่วนน้องกุรกุมารได้ทำการค้าขาย.
เมื่อพระราชาพี่น้องเหล่านั้นเจริญด้วยบุตรธิดาต่อ ๆ มาอีกอย่างนี้
ครั้นกาลล่วงไปนาน พระราชมารดาบิดาก็สิ้นพระชนม์ลง ได้ยินว่า
อายุกาลของมนุษย์ในครั้งนั้นถึง ๒๐,๐๐๐ ปี ครั้งนั้น พระปิโยรสองค์
๑ ของวาสุเทพมหาราชสิ้นพระชนม์ พระราชาทรงแต่เศร้าโศกละ
สรรพกิจเสีย นอนกอดแคร่พระแท่นบ่นเพ้ออยู่ กาลนั้น ฆตบัณฑิตคิด
 
๕๙/๑๔๙๒/๙๗๒

วันอังคาร, ธันวาคม 19, 2566

Chaem Chaeng

 
คำว่า มีสติ ความว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ ชื่อว่ามีสติ
เพราะเป็นผู้เจริญสติปัฏฐาน คือการพิจารณาเห็นกายในกาย ๑ ... การ
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ๑ ... การพิจารณาเห็นจิตในจิต๑ ...
การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย ๑ ฯ ล ฯ ภิกษุนั้นท่านเรียกว่า
ผู้มีสติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปราศจากตัณหา มีสติทุกเมื่อ.
[๑๑๐] ญาณ ปัญญา กิริยาที่รู้ ความเลือกเฟ้น ฯ ลฯ ความ
ไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม ปัญญาอันเห็นชอบ ชื่อว่า สังขา
ในอุเทศว่า สงฺขาย นิพฺพุโต ภิกฺขุ.
คำว่า ทราบแล้ว ความว่า ทราบ คือรู้ เทียบเคียง พิจารณา
เจริญทำให้แจ่มแจ้งแล้ว คือทราบ ... ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า สังขาร
ทั้งปวงไม่เที่ยง ... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ...
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ฯ ล ฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น
เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา.
อีกอย่างหนึ่ง ทราบ ... ทำให้แจ่มอาทิผิด อักขระแจ้งแล้วโดยความเป็นสภาพ
ไม่เที่ยง ... เป็นทุกข์ ... เป็นโรค ... เป็นดังหัวฝี ... เป็นดังลูกศร ฯล ฯ
โดยไม่มีอุบายเครื่องออกไป.
คำว่า ดับแล้ว ความว่า ชื่อว่าดับแล้ว เพราะเป็นผู้ดับราคะ
โทสะ โมหะ ... มทะ ปมาทะ กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวน
กระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลา-
ภิสังขารทั้งปวง.
คำว่า ภิกฺขุ ความว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ทำลายธรรม
 
๖๗/๑๑๐/๕๖

วันจันทร์, ธันวาคม 18, 2566

Samat

 
ที่ชื่อว่า อุปาทานิยะ เพราะเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่อุปทานทั้งหลาย โดย
เข้าถึงความเป็นอารมณ์แล้วสัมพันธ์กับอุปาทาน. คำว่า อุปาทานิยะ นี้
เป็นชื่อของธรรมที่เป็นอารัมมณปัจจัยของอุปาทาน. ชื่อว่า อุปาทินนุปาทา-
นิยะ เพระอรรถว่า เป็นอุปาทินนะด้วยเป็นอุปาทานิยะด้วย คำว่า อุปา-
ทินนุปาทานิยะ นี้ เป็นชื่อของรูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลายอันบังเกิดขึ้น
ด้วยกรรมที่มีอาสวะ. ใน ๒ บทที่เหลือ พึงทราบเนื้อความอันประโยชน์เกื้อกูล
แก่การปฏิเสธโดยนัยนี้.

ว่าด้วยสังกิลิฏฐติกะที่ ๕

พึงทราบวินิจฉัยในหมวด ๓ แห่งสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ต่อไป
ธรรมที่ชื่อว่า สังกิเลส เพราะอรรถว่า ยังสัตว์ให้เศร้าหมอง.
อธิบายว่า ย่อมเบียดเบียน คือให้สัตว์เร่าร้อน. ที่ชื่อว่า สังกิลิฏฐะ เพราะ
ประกอบพร้อมแล้วด้วยสังกิเลส. ชื่อว่า สังกิเลสิกะ เพราะอรรถว่า ย่อม
ควรแก่สังกิเลสโดยทำตนให้เป็นอารมณ์เป็นไป หรือว่าเข้าไปประกอบใน
สังกิเลส โดยความไม่ก้าวล่วงความเป็นอารมณ์ของสังกิเลสนั้น. คำว่า สังกิเล-
สิกะ นี้ เป็นชื่อของธรรมทั้งหลายที่เป็นอารัมมณปัจจัยของสังกิเลส. ชื่อว่า
สังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เพราะอรรถว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นสังกิลิฎฐะด้วยเป็น
สังกิเลสิกะด้วย สอง บทที่เหลือ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในติกะต้นนั่นแหละ.

ว่าด้วยวิตักกติกะที่ ๖

พึงทราบวินิจฉัยในหมวด ๓ แห่งวิตักกะ ต่อไป.
ธรรมที่ชื่อว่า สวิตักกะ เพราะเป็นไปกับด้วยวิตก คือเป็นไปอยู่
ด้วยสามารถอาทิผิด แห่งสัมปโยคะ ธรรมที่ชื่อว่า สวิจาระ เพราะเป็นไปกับด้วยวิจาระ
 
๗๕/๑/๑๖๐

วันอาทิตย์, ธันวาคม 17, 2566

Khun Mua

 
ชั่วเป็นต้น ชื่อว่า ผู้เป็นโอรสคือบุตร เพราะมีชาติอันความพยายามให้
เกิดแล้วที่พระอุระของพระองค์.
พระมหาเถระ ๒๖๔ องค์เหล่านั้นมีพระสุภูติเป็นองค์แรก มีพระ-
วังคีสะเป็นองค์สุดท้าย ท่านยกขึ้นไว้ในพระบาลี ณ ที่นี้ด้วยประการฉะนี้
พระมหาเถระเหล่านั้นเป็นอย่างเดียวกัน โดยความเป็นพระอเสขะ โดย
เป็นผู้ถอดกลอนแล้ว โดยเป็นผู้มีความเห็นเข้ากันได้ โดยเป็นผู้ถอน
เสาระเนียดขึ้นแล้ว โดยเป็นผู้ปลอดอุปสรรค โดยเป็นผู้มีทางไกล
อันถึงแล้ว โดยเป็นผู้ปลงภาระแล้ว โดยเป็นผู้พรากได้แล้ว และโดย
เป็นผู้มีธรรมเครื่องอยู่อันอยู่แล้วในอริยวาส ๑๐ ประการ เหมือนเป็น
อย่างเดียวกัน โดยความเป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
จริงอย่างนั้น พระมหาเถระเหล่านั้น ละองค์ ๕ ประกอบด้วย
องค์ ๖ มีธรรมเครื่องอารักขา ๑ มีธรรมเครื่องอิงอาศัย ๔ มีสัจจะ
เฉพาะอย่างบรรเทาแล้ว มีการแสวงหา ๖๐ ประการ อันเป็นไปร่วมกัน
มีความดำริไม่ขุ่นอาทิผิด อาณัติกะมัว มีกายสังขารสงบระงับ มีจิตพ้นดีแล้ว และมี
ปัญญาพ้นดีแล้ว. ท่านเป็นอย่างเดียวกัน โดยนัยมีอาทิดังพรรณนามา
ฉะนี้.
ท่านเป็น ๒ อย่าง คืออุปสมบทด้วยเอหิภิกขุ กับไม่อุปสมบท
ด้วยเอหิภิกขุ.
ในข้อที่ว่าเป็น ๒ อย่างนั้น พระปัญจวัคคีย์เถระมีพระอัญญา-
โกณฑัญญะเป็นประธาน พระยสเถระ สหายของท่าน ๔ คน คือวิมละ
สุพาหุ ปุณณชิ ควัมปติ สหายของท่านแม้อื่นอีก ๔๕ คน ภัททวัคคีย์ ๓๐
 
๕๓/๔๐๑/๕๕๕

วันเสาร์, ธันวาคม 16, 2566

Phakphian

 
เมืองเวรัญชาเกิดทุพภิกขภัย
หลายบทว่า เตน โข ปน สมเยน เวรญฺชา ทุพฺภิกฺขา โหติ
ความว่า โดยสมัยที่เวรัญชพราหมณ์ทูลขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยเมือง
เวรัญชาจำพรรษานั้น เมืองเวรัญชา เป็นเมืองมีภิกษาหาได้ยาก.
บทว่า ทุพฺภิกฺขา แปลว่า มีภิกษาหาได้โดยยาก. ก็ความมีภิกษา
หาได้ยากนั้น ย่อมมีในถิ่นที่พวกมนุษย์ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส ในเวลา
ที่ข้าวกล้าสมบูรณ์ดีก็ตาม ในเวลาปุพพัณณะและอปรัณณะมีราคาถูกก็ตาม
(มีราคาตกต่ำ). แต่ในเมืองเวรัญชา หาได้เป็นอย่างนั้นไม่ โดยที่แท้ ได้มี
เพราะโทษคือความอดยาก เหตุที่มีข้าวกล้าเสียหาย เพราะฉะนั้น ท่านพระ
อุบาลีเถระ เมื่อจะแสดงความข้อนั้น จึงกล่าวว่า ทฺวีหิติกา ดังนี้เป็นต้น.
ในคำว่า ทฺวีหิติกา เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ : -
บทว่า ทฺวีหิติกา ได้แก่ ความพยายามที่เป็นไปแล้ว ๒ อย่าง.
ความเคลื่อนไหว ชื่อว่า อีหิตะ (ความพยายาม). ความพยายามนี้เป็นไปแล้ว
๒ อย่างคือ จิตตอิริยา (ความเคลื่อนไหวแห่งจิต) ๑ จิตตอีหา (ความ
พากเพียรแห่งจิต) ๑.
ในบทว่า ทฺวีหิติกา นี้ มีอธิบายดังนี้ว่า ความเคลื่อนไหวแห่งจิต
ที่เป็นไปแล้ว ๒ อย่างนี้ คือ พวกเราขอวัตถุอะไร ๆ อยู่ในที่นี้จักได้หรือจัก
ไม่ได้หนอแล อีกอย่างหนึ่ง พวกเราจักอาจเพื่อเป็นอยู่หรือจักไม่อาจหนอแล.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ทฺวีหิติกา แปลว่า เป็นผู้อยู่อย่างฝืดเคือง.
จริงอยู่ บททั้งหลายเป็นต้นคือ อีหิตํ (ความพยายาม) อีหา (ความพากอาทิผิด อักขระเพียร)
 
๑/๙/๓๒๐

วันศุกร์, ธันวาคม 15, 2566

Tatiya

 
บทภาชนีย์
[๓๐๗] ที่ชื่อว่า อุตริมนุสธรรม ได้ แก่ ฌาน วิโมกข์
สมาธิ สมาบัติ ฌาณทัสสนะ การทำมรรคให้เกิด การทำผลให้แจ้ง
การละกิเลส ความเปิดจิต ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า.
[๓๐๘] ที่ชื่อว่า ฌาน ได้แก่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยอาทิผิด อักขระฌาน
จตุตถฌาน.
ที่ชื่อว่า วิโมกข์ ได้แก่ สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิ-
หิตวิโมกข์.
ที่ชื่อว่า สมาธิ ได้แก่ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ.
ที่ชื่อว่า สมาบัติ ได้แก่ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิต-
สมาบัติ
ที่ชื่อว่า ญาณ ได้แก่ วิชชา ๓.
ที่ชื่อว่า การทำมรรคให้เกิด ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘.
ที่ชื่อว่า การทำผลให้แจ้ง ได้แก่ การทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล
. . .สกทาคามิผล . . . อนาคามิผล . ..อรหัตผล.
ที่ชื่อว่า การละกิเลส ได้แก่ การละราคะ . . .โทสะ. . . . โมหะ.
ที่ชื่อว่า ความเปิดจิต ได้แก่ ความเปิดจิตจากราคะ ความเปิดจิต
จากโทสะ ความเปิดจิตจากโมหะ.
ที่ชื่อว่า ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า ได้แก่ ความยินดียิ่ง
ในเรือนอันว่างเปล่าด้วยปฐมฌาน . . . ด้วยทุติยฌาน .. . ด้วยตติยฌาน ... ด้วย
จตุตถฌาน.
 
๔/๓๐๘/๒๐๐

วันพฤหัสบดี, ธันวาคม 14, 2566

Patiyan

 
ทำตามปฏิญาณอาทิผิด อักขระเป็นธรรม
[๖๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การทำตามปฏิญาณเป็นธรรม
อย่างไร?
ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์ หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุ
รูปเดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ถูกละ
ท่าน ข้าพเจ้าต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติปาราชิก การ
ปรับอย่างนี้ ชื่อว่าทำตามปฏิญาณเป็นธรรม
ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส....
ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย....
ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์......
ภิกษุต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ....
ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ....
ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์ หรือภิกษุ ๒-๓ รูป หรือภิกษุ
รูปเดียว โจทเธอว่า ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต เธอกล่าวอย่างนี้ว่า
ถูกละท่าน ข้าพเจ้าต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติทุพภาสิต
การปรับ อย่างนี้ ชื่อว่าทำตามปฏิญาณเป็นธรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ทำตามปฏิญาณเป็นธรรม.
ระงับอธิกรณ์ด้วยเยภุยยสิกา
[๖๑๑] สมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายก่อความบาดหมาง ก่อความ
ทะเลาะถึงความวิวาทกัน ในท่ามกลางสงฆ์ กล่าวทิ่มแทงกันและกันด้วย
หอกคือปากอยู่ ไม่อาจเพื่อระงับอธิกรณ์นั้นได้ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
 
๘/๖๑๐/๕๓๔

วันพุธ, ธันวาคม 13, 2566

Maharat

 
เขาตอบว่า ผมเป็นนัดดาของพระเจ้าพิมพิสารมหาราชอาทิผิด อักขระ เป็นบุตร
ของอภัยราชกุมาร
แพทย์ถามว่า ก็เหตุไรเล่า พ่อจึงมาที่นี่ ?
ลำดับนั้น เขาจึงตอบว่า เพื่อศึกษาศิลปะในสำนักของท่าน. แล้ว
กล่าวว่า ท่านอาจารย์ ผมอยากศึกษาศิลปะ.
ข้อว่า พหุญฺจ คณฺหาติ มีความว่า ศิษย์เหล่าอื่นมีขัตติราชกุมาร
เป็นต้น ให้ทรัพย์แก่อาจารย์แล้ว ไม่กระทำการงานไร ๆ ศึกษาแต่ศิลปะเท่า
นั้นฉันใด, ชีวกนั้นหาได้กระทำฉันนั้นไม่. ส่วนเขาไม่ให้ทรัพย์ไร ๆ เป็น
อย่างธัมมันเตวาสิก กระทำการงานของอุปัชฌาย์ ในเวลาหนึ่ง ศึกษาในเวลา
หนึ่งเท่านั้น แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น กุลบุตรผู้สมบูรณ์ด้วยอภินิหาร เพราะตน
เป็นผู้มีปัญญา ย่อมเรียนได้มาก เรียนได้เร็ว ย่อมจำทรงไว้ดี ทั้งศิลปะที่
เขาเรียนแล้ว ย่อมไม่หลงลืม.
วินิจฉัยในคำว่า สตฺต จ เม วสฺสานิ อธิยนฺตสฺส นยิมสฺส
สิปฺปสฺส อนฺโต ปญฺญายติ นี้ พึงทราบดังนี้:-
ได้ยินว่า เพียง ๗ ปี ชีวกนี้เรียนแพทยศิลปะจบเท่าที่อาจารย์รู้ทั้ง
หมด ซึ่งศิษย์เหล่าอื่นเรียนถึง ๑๖ ปี.
ฝ่ายท้าวสักกเทวราชได้มีพระรำพึงอย่างนี้ว่า ชีวกนี้จักเป็นอุปัฏฐาก
มีความคุ้นเคยอย่างยอดของพระพุทธเจ้า เอาเถิด เราจะให้เขาศึกษาการประ-
กอบยา. จึงเข้าสิงในสรีระของอาจารย์ ให้ชีวกนั้นศึกษาการประกอบยา โดย
วิธีที่แพทย์สามารถรักษาโรคไม่มีส่วนเหลือยกเว้นวิบากของกรรมเสีย ให้หาย
ด้วยการประกอบยาขนานเดียวเท่านั้น.
 
๗/๑๗๓/๓๒๒

วันอังคาร, ธันวาคม 12, 2566

Thasakkhatthung

 
ทรงกระทำให้แจ้งอภิญญา ๖ ขณะนั้นนั่นเอง ก็ทรงกระทำให้แจ้งพระอรหัต
ซึ่งเป็นผลอันเลิศ.
บทว่า อจฺฉริยมพฺภุตํ ตํ นิพฺพานํ อาสิ ราชกญฺญาย ความว่า
ความดับสนิทจากกิเลสทั้งหลาย อันอัศจรรย์ ไม่เคยมี ก็ได้มีแก่พระนางสุเมธา
ราชบุตรี. หากจะถามว่า พระนางสุเมธา ทรงกระทำให้แจ้งอภิญญา ๖ หรือ
พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า ปุพฺเพนิวาสจริตํ ยถา พฺยากริ ปจฺฉิเม
กาเล ความว่า พระนางทรงพยากรณ์จริยาที่นับเนื่องในปุพเพนิวาสานุสสติ-
ญาณ ของพระองค์ในกาลสุดท้าย คือในเวลาดับขันธ์ปรินิพพานฉันใด บัณฑิต
ก็พึงทราบจริยานั้น ฉันนั้น.
ก็ปุพเพนิวาสญาณ พระนางทรงพยากรณ์แล้วโดยประการใด เพื่อ
ทรงแสดงประการนั้น พระนางจึงตรัสว่า ภควติ โกนาคมเน เป็นอาทิ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภควติ โกนาคมเน ความว่า เมื่อพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าพระนามว่า โกนาคมนะ ทรงอุบัติขึ้นในโลก. บทว่า สงฺฆารามมฺหิ
นวนิเวสมฺหิ ความว่า เมื่ออารามที่ข้าพระองค์สร้างอุทิศพระสงฆ์เสร็จใหม่ๆ.
บทว่า สขิโย ติสฺโส ชนิโย วิหารทานํ อทาสิมฺห ความว่า เรา ๓
สหาย คือ ธนัญชานี เขมา และข้าพระองค์ ได้ช่วยกันถวายวิหารเป็นอาราม
แด่พระสงฆ์.
บทว่า ทสกฺขตฺตุํอาทิผิด สตกฺขตฺตุํ ความว่า ด้วยอานุภาพของวิหาร
ทานนั่น เราเกิดในเทวดา ๑๐ ครั้ง ต่อจากนั้น ก็เกิดในมนุษย์แล้วเกิดใน
เทวดาอีก ๑๐๐ ครั้ง ต่อจากนั้น ก็เกิดในมนุษย์ แล้วเกิดในเทวดาอีก ๑๐๐
ครั้ง ๑๐ หน คือ ๑,๐๐๐ ครั้ง ต่อจากนั้น ก็เกิดในมนุษย์ ๑๐,๐๐๐ ครั้ง จะ
ป่วยกล่าวไปไยในมนุษย์ทั้งหลาย คือไม่มีถ้อยคำที่จะกล่าวในครั้งที่เกิดใน
มนุษย์ทั้งหลาย อย่างนั้น อธิบายว่า เราเกิดหลายพันครั้ง.
 
๕๔/๔๗๔/๕๒๙

วันจันทร์, ธันวาคม 11, 2566

Phai Nai

 
[การถือเสนาสนะในคราวจำพรรษา]
ส่วนในคราวจำพรรษา ย่อมมีอาคันตุกวัตร มีอาวาสิกวัตร. ใน
อาคันตุกะและเจ้าถิ่นนั้น ภิกษุอาคันตุกะก่อนใคร่จะละถิ่นของตนไปอยู่ที่อื่น
ไม่ควรไปในที่นั้นในวันเข้าพรรษา. เพราะว่าที่อยู่ในที่นั้นจะต้องเป็นที่คับ-
แคบกัน, หรือภิกษาจารจะไม่ทั่วถึง. ด้วยเหตุนั้น เธอจะอยู่ไม่ผาสุก เพราะ
ฉะนั้น พึงกะว่า ตั้งแต่บัดนี้ไปราวเดือนหนึ่งจักเข้าพรรษา แล้วเข้าไปสู่วิหาร
นั้น.
เมื่ออยู่ในวิหารนั้น ราวเดือนหนึ่ง ถ้ามีความต้องการเรียนบาลีจัก
กำหนดไว้ว่า การเรียนบาลีพร้อมมูล ถ้ามุ่งต่อกัมมัฏฐานจักกำหนดได้ด้วย
กัมมัฏฐานเป็นที่สบาย ถ้ามีความต้องการปัจจัยจักกำหนดปัจจัยลาภได้ จะอยู่
เป็นสุขภายอาทิผิด อักขระในพรรษา.
ก็แล เมื่อจะจากถิ่นของตนไปในที่นั้น ไม่ควรกระทบกระทั่งโคจร
คาม, คืออยู่ว่ากล่าวชาวบ้านในที่นั้น ว่า สลากภัตเป็นต้นก็ดี ยาคูและของควร
เคี้ยวก็ดี ผ้าจำนำพรรษาก็ดี ที่อาศัยพวกท่านย่อมไม่มี นี้บริขารของเจดีย์
นี้บริขารของโรงอุโบสถ นี้ดาลและกุญแจ ท่านจงรับที่อยู่ของท่าน. ที่ถูก ควร
จัดแจงเสนาสนะเก็บภัณฑะไม้และภัณฑะดิน บำเพ็ญคมิยวัตรให้เต็มแล้ว จึงไป.
แม้เมื่อจะไปอย่างนั้น พึงให้ภิกษุหนุ่มหิ้วห่อบาตรและจีวรเป็นต้น ให้
ช่วยถือกระบอกน้ำมันและไม้เท้าเป็นต้น กางร่มอย่าเชิดตนไปทางประตู
เลย, ควรไปตามข้างที่กำบัง เมื่อทางเข้าดงไม่มี ก็อย่าบุกพุ่มไม้เป็นต้นไป
เลย
อนึ่ง พึงบำเพ็ญคมิยวัตรตัดวิตก มีจิตผุดผ่องไปด้วยธรรมเนียม
แห่งการไปเท่านั้น
 
๙/๓๓๖/๑๙๕

วันอาทิตย์, ธันวาคม 10, 2566

Sampanna

 
ในคำนั้น ที่ชื่อว่าอเสสะ เพราะไม่เหลือ, ชาติและมรณะที่ละได้
แล้วนั้น ไม่มีเหลือ อธิบายว่า ชาติและมรณะที่ละได้แล้ว ไม่เหลือ
อะไร ๆ เหมือนพระโสดาบันเป็นต้น.
บทว่า นิคฺคยฺห ได้แก่ ตระเตรียม.
บทว่า โธนํ ได้แก่ กำจัดบาปทั้งปวงได้แล้ว.
บทว่า วเทสฺสามิ ความว่า ข้าพระองค์จักขอให้ตรัสธรรม.
บทว่า น กามกาโร โหติ ปุถุชฺชนานํ ความว่า บุคคลผู้
กระทำตามความประสงค์ของบุคคล ๓ จำพวก มีปุถุชนและพระเสขะ
เป็นต้น ย่อมไม่มี คนทั้ง ๓ พวกนั้นย่อมไม่อาจรู้หรือกล่าวธรรมตามที่
ตนต้องการได้.
บทว่า สงฺเขยฺยกาโร จ ตถาคตานํ ความว่า ส่วนพระตถาคต
ทั้งหลาย มีการกระทำด้วยการพิจารณา คือมีการกระทำอันมีปัญญาเป็น
หัวหน้า อธิบายว่า พระตถาคตทั้งหลายนั้น ย่อมสามารถแท้ที่จะรู้หรือ
กล่าวธรรมที่ตนต้องการได้.
บัดนี้ พระเถระเมื่อจะประกาศการกระทำด้วยการพิจารณานั้น จึง
กล่าวคาถาว่า สมฺปนฺนอาทิผิด อักขระเวยฺยากรณํ ดังนี้เป็นต้น.
ความแห่งคำอันเป็นคาถานั้นว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า จริง
อย่างนั้น พระดำรัสนี้ พระองค์ผู้มีพระปัญญาตรงจริง คือมีพระปัญญา
อันดำเนินไปตรง เพราะไม่กระทบกระทั่งในที่ทุกสถาน พระองค์ตรัสไว้
คือประกาศไว้ชอบแล้ว เป็นพระดำรัสมีไวยากรณ์สมบูรณ์ ยึดถือได้
คือยึดถือได้โดยถูกต้อง เห็นได้อย่างไม่วิปริตผิดแผก มีอาทิอย่างนี้ว่า
สันตติมหาอำมาตย์เหาะขึ้นประมาณ ๗ ชั่วลำตาลแล้วจักปรินิพพาน, สุปป-
 
๕๓/๔๐๑/๕๕๐

วันเสาร์, ธันวาคม 09, 2566

Sangkhati

 
วาจา ในการอธิษฐานด้วยวาจานั้น มีการอธิษฐาน ๒ วิธี. ถ้าผ้าสังฆาฏิ
อยู่ในหัตถบาส พึงเปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้าอธิษฐานสังฆาฏิอาทิผิด อักขระผืนนี้. ถ้าอยู่
ภายในห้อง ในปราสาทชั้นบน หรือในวัดใกล้เคียง พึงกำหนดที่เก็บ
สังฆาฏิไว้แล้วเปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้าอธิษฐานสังฆาฏินั่น. ในอุตราสงค์
และอันตรวาสก ก็มีนัยอย่างนี้. จริงอยู่ เพียงแต่ชื่อเท่านั้นที่แปลกกัน.
เพราะฉะนั้น พึงอธิษฐานจีวรทั้งหมดโดยชื่อของตนเท่านั้น อย่างนี้ว่า
สงฺฆาฏิํ อุตฺตราสงฺคํ อนฺตรวาสกํ ดังนี้.
ถ้าภิกษุกระทำจีวรมีสังฆาฏิเป็นต้นด้วยผ้าที่อธิษฐานเก็บไว้ เมื่อ
ย้อมและกัปปะเสร็จแล้วพึงถอนว่า ข้าพเจ้าถอนผ้านี้ แล้วอธิษฐานใหม่.
แต่เมื่อเย็บแผ่นผ้าใหม่ หรือขัณฑ์ใหม่เฉพาะที่ใหญ่กว่าเข้ากับจีวรที่อธิษ-
ฐานแล้ว ควรอธิษฐานใหม่. ในแผ่นผ้าที่เท่ากันหรือเล็กว่า ไม่มีกิจ
ด้วยการอธิษฐาน (ใหม่).
ถามว่า ก็ไตรจีวรจะอธิษฐานเป็นบริขารโจล ควรหรือไม่ควร ?
แก้ว่า ได้ทราบว่า พระมหาปทุมเถระกล่าวว่า ไตรจีวรพึง
อธิษฐานเป็นไตรจีวรอย่างเดียว, ถ้าว่า อธิษฐานเป็นบริขารโจลได้,
การบริหารที่ตรัสไว้ในอุทโทสิตสิกขาบท ก็จะพึงไร้ประโยชน์ไป. ได้ยิน
ว่า เมื่อพระมหาปทุมเถระกล่าวอย่างนี้ พวกภิกษุที่เหลือกล่าวว่า แม้
บริขารโจล พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่า พึงอธิษฐาน; เพราะเหตุนั้น
การอธิษฐานไตรจีวรให้เป็นบริขารโจล ย่อมสมควร.
แม้ในมหาปัจจรี ท่านก็กล่าวว่า ชื่อว่า บริขารโจลนี้เป็นเหตุแห่ง
การเก็บ (จีวรโดยความไม่เป็นนิสสัคคีย์) ไว้แผนกหนึ่ง. จะอธิษฐาน
 
๓/๙/๗๑๗

วันศุกร์, ธันวาคม 08, 2566

Khao

 
เหมือนหญ้าปล้อง มีฤทธิ์เหาะได้. พระเจ้ามหาสุทัสสนะทอดพระเนตรเห็น
ก็ทรงเลื่อมใส ตรัสว่า ผู้เจริญ ยานคือม้าถ้าฝึกหัดได้ ก็จะเป็นยานม้าที่ดี.
ทันใดนั้น อานนท์ ม้าแก้วนั้นก็เข้าถึงการฝึกหัดเหมือนม้าอาชาไนยชั้นดี ได้
รับการฝึกมาเป็นอย่างดีสิ้นกาลนาน. อานนท์ เล่ากันมาว่า พระเจ้ามหา-
สุทัสสนะจะทรงพิสูจน์ม้าแก้วนั้นเอง ตอนเช้าก็เสด็จขึ้นทรงแล้ว ควบไปทั่ว
แผ่นดินจนจรดขอบทะเล แล้วเสด็จกลับกรุงกุสาวดี เสวยพระกระยาหารเช้า.
อานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะ ทรงมีม้าแก้วเห็นปานนี้แล้ว.
[๑๖๗] อานนท์ ข้ออื่นยังมีอีก พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงมีแก้วมณี
เป็นแก้วมณีชนิดไพฑูรย์ ชั้นงาม มีกำเนิด แปดเหลี่ยม เจียระไนอย่างดี
สุกใสแวววาว มีอาการสมบูรณ์ทุกอย่าง. อานนท์ ก็แหละ แก้วมณีนั้นแล
มีรัศมีแผ่ไปตั้งโยชน์หนึ่งโดยรอบ. อานนท์ เคยมีเรื่องเล่าว่า พระเจ้ามหา-
สุทัสสนะ จะทรงทดลองแก้วมณีดวงนั้นเอง ทรงเตรียมกองทัพสี่เหล่าแล้ว
เอาแก้วมณีวางบนยอดธงเสด็จออกไปในกลางคืนที่มืดมิด. อานนท์ ก็แลพวก
ชาวบ้านโดยรอบต่างเข้าใจว่า เป็นกลางวัน จึงพากันประกอบการงานด้วยแสง
นั้น. อานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะได้ทรงมีแก้วมณีเห็นปานนี้แล้ว.
[๑๖๘] อานนท์ ยังมีข้ออื่นอีก นางแก้วได้ปรากฏขึ้นแก่พระเจ้า
มหาสุทัสสนะเป็นหญิงมีรูปงาม น่าชม น่าเลื่อมใส ถึงพร้อมด้วยผิวพรรณที่
งดงามอย่างยิ่ง ไม่สูงนัก ไม่เตี้ยนัก ไม่ผอมนัก ไม่อ้วนนัก ไม่ดำนัก ไม่
ขาวอาทิผิด อักขระนัก ไม่ถึงกับเป็นผิวทิพย์ แต่ก็ล่วงผิวหญิงมนุษย์. อานนท์ ก็แหละ
สัมผัสทางกายของนางแก้วนั้นแล เป็นดังนี้ คือเป็นเหมือนปุยนุ่นหรือปุยฝ้าย.
ก็แลอานนท์ เมื่ออากาศเย็น ตัวนางแก้วนั้นเอง ก็ร้อน เมื่ออากาศร้อน ก็
เย็น. อานนท์ ก็แล กลิ่นจันทร์ฟุ้งจากกาย กลิ่นอุบลฟุ้งจากปากของนาง
แก้วนั้นแหละ. อานนท์ ก็แลนางแก้วนั้นแล ตื่นก่อนนอนหลังพระเจ้ามหา-
 
๑๓/๑๖๘/๔๗๘