วันอาทิตย์, ธันวาคม 10, 2566

Sampanna

 
ในคำนั้น ที่ชื่อว่าอเสสะ เพราะไม่เหลือ, ชาติและมรณะที่ละได้
แล้วนั้น ไม่มีเหลือ อธิบายว่า ชาติและมรณะที่ละได้แล้ว ไม่เหลือ
อะไร ๆ เหมือนพระโสดาบันเป็นต้น.
บทว่า นิคฺคยฺห ได้แก่ ตระเตรียม.
บทว่า โธนํ ได้แก่ กำจัดบาปทั้งปวงได้แล้ว.
บทว่า วเทสฺสามิ ความว่า ข้าพระองค์จักขอให้ตรัสธรรม.
บทว่า น กามกาโร โหติ ปุถุชฺชนานํ ความว่า บุคคลผู้
กระทำตามความประสงค์ของบุคคล ๓ จำพวก มีปุถุชนและพระเสขะ
เป็นต้น ย่อมไม่มี คนทั้ง ๓ พวกนั้นย่อมไม่อาจรู้หรือกล่าวธรรมตามที่
ตนต้องการได้.
บทว่า สงฺเขยฺยกาโร จ ตถาคตานํ ความว่า ส่วนพระตถาคต
ทั้งหลาย มีการกระทำด้วยการพิจารณา คือมีการกระทำอันมีปัญญาเป็น
หัวหน้า อธิบายว่า พระตถาคตทั้งหลายนั้น ย่อมสามารถแท้ที่จะรู้หรือ
กล่าวธรรมที่ตนต้องการได้.
บัดนี้ พระเถระเมื่อจะประกาศการกระทำด้วยการพิจารณานั้น จึง
กล่าวคาถาว่า สมฺปนฺนอาทิผิด อักขระเวยฺยากรณํ ดังนี้เป็นต้น.
ความแห่งคำอันเป็นคาถานั้นว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า จริง
อย่างนั้น พระดำรัสนี้ พระองค์ผู้มีพระปัญญาตรงจริง คือมีพระปัญญา
อันดำเนินไปตรง เพราะไม่กระทบกระทั่งในที่ทุกสถาน พระองค์ตรัสไว้
คือประกาศไว้ชอบแล้ว เป็นพระดำรัสมีไวยากรณ์สมบูรณ์ ยึดถือได้
คือยึดถือได้โดยถูกต้อง เห็นได้อย่างไม่วิปริตผิดแผก มีอาทิอย่างนี้ว่า
สันตติมหาอำมาตย์เหาะขึ้นประมาณ ๗ ชั่วลำตาลแล้วจักปรินิพพาน, สุปป-
 
๕๓/๔๐๑/๕๕๐

ไม่มีความคิดเห็น: