วันเสาร์, ธันวาคม 30, 2566

Sot

 
เหตุที่ ชื่อว่าการสอด (องคชาต) เข้าไปนั้น ไม่ใช่จะมีได้ด้วยความพยายาม
ของตนอย่างเดียวเท่านั้น ย่อมมีได้แม้ด้วยความพยายามของผู้อื่น และเมื่อ
ภิกษุยินดีในการสอด (องคชาต) เข้าไปด้วยความพยายามของผู้อื่นแม้นั้น
ก็เป็นอาบัติ, คือเมื่อภิกษุมีความพร้อมเพรียงด้วยปฏิเสวนจิตก็เป็นอาบัติ นอกนี้
ไม่เป็นอาบัติ จึงตรัสพระดำรัสว่า ภิกฺขุปจฺจตฺถิกา มนุสฺสิตฺถึ เป็นต้น.
ในคำว่า ปจฺจตฺถิกา เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- เหล่าชนผู้
ชื่อว่าเป็นข้าศึก เพราะอรรถว่าต้องการ คือ ปรารถนาเป็นปฏิปักษ์. ข้าศึก
ทั้งหลาย คือ พวกภิกษุ ชื่อว่า ภิกฺขุปจฺจตฺถิกา (ภิกษุผู้เป็นข้าศึก). คำว่า
ภิกขุปัจจัตถิกานั่น เป็นชื่อของพวกภิกษุผู้ก่อเวร ซึ่งเป็นวิสภาคกัน.
หลายบทว่า มนุสฺสิตฺถึ ภิกฺขุโน สนฺติเก อเนตฺวา ความว่า
พวกภิกษุผู้มีความริษยาปรารถนาจะทำให้ภิกษุนั้นฉิบหาย เอาอามิสหลอกล่อ
หรือพูดด้วยอำนาจมิตรสันถวะว่า ท่านจงทำกิจนี้ของพวกเราเถิด แล้วพาเอา
หญิงมนุษย์บางคนมายังโอกาส ซึ่งเป็นที่อยู่ของภิกษุนั้น ในเวลาราตรี.
หลายบทว่า วจฺจมคฺเคน องฺคชาตํ อภินีสีเทนฺติ ความว่า
จับภิกษุรูปนั้นที่อวัยวะมี มือ เท้า และศีรษะเป็นต้นอย่างมั่น คือให้ดิ้นรน
ไม่ได้ แล้วให้นั่งคร่อม คือให้ประกอบองคชาตของภิกษุรูปนั้น ด้วยวัจจมรรค
ของหญิง.
ในคำว่า โส เจ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- ถ้าภิกษุรูปนี้นั้นยินดี
คือยอมรับการสอดอาทิผิด อักขระองคชาตของตนเข้าไปร่วมในแห่งวัจจมรรค (ของหญิง)
คือเธอให้เสวนจิตปรากฏขึ้นในขณะนั้น ยินดี คือยอมรับการเข้าไปแล้ว, ใน
เวลาที่เข้าไปแล้ว เธอก็ให้เสวนจิตปรากฏขึ้นทั้งยินดี คือยอมรับการหยุดอยู่,
ในเวลาที่องคชาตถึงที่ เธอก็ให้เสวนจิตปรากฏขึ้นในเวลาที่หลั่งน้ำสุกกะ ทั้ง
 
๑/๗๘/๘๒๒

ไม่มีความคิดเห็น: